AEC Blueprint
ประวัติความเป็นมา
ในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 9 เมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ.2003 ณ เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซียนั้น ผู้นำอาเซียนได้ลงนามในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน (Bali Concord II) [1] เห็นชอบให้มีการจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) [2] ทั้งนี้ เพื่อให้ทันกับสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่เปลี่ยนแปลงไป ในการประชุมสุดอาเซียนครั้งที่ 12 เมื่อเดือนมกราคม ค.ศ. 2007 ที่เมืองเซบู ประเทศฟิลิปปินส์ ผู้นำอาเซียนได้ลงนามในปฏิญญาเซบูว่าด้วยการเร่งรัดการจัดตั้งประชาคมอาเซียน ให้บรรลุผลจากเดิมที่กำหนดไว้ในปี ค.ศ. 2020 เป็น ค.ศ. 2015 ด้วยเหตุนี้เอง ส่งผลให้ ในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 13 ระหว่างวันที่ 18-22 พฤศจิกายน ค.ศ. 2007 ที่ประเทศสิงคโปร์ ผู้นำประเทศได้ลงนาม “ปฏิญญาว่าด้วยแผนงานการจัดตั้งประชาคมอาเซียน” ( Declaration of the ASEAN Economic Community Blueprint) [3] โดยแผนงานนี้สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน ได้แก่
1. แผนงานในเชิงบูรณาการในด้านเศรษฐกิจต่างๆ เพื่อนำไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ภายในปี ค.ศ. 2015 หรือพิมพ์เขียวเพื่อจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Blueprint)
2. ตารางเวลาดำเนินกิจกรรมต่างๆ (Strategic Schedule) [4]
วัตถุประสงค์ของ AEC Blueprint
AEC Blueprint มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดทิศทางและแผนงานในด้านเศรษฐกิจที่จะต้องดำเนินงานให้ชัดเจนตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด โดยประเทศสมาชิกอาเซียนจะต้องเจรจาตกลงกันว่า จะดำเนินการอย่างไรเพื่อให้บรรลุเป้าหมายเป็น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนภายในปี ค.ศ. 2015 [5] และสร้างข้อกำหนดระหว่างประเทศสมาชิกที่จะดำเนินการไปสู่เป้าหมายร่วมกันดังกล่าว ทั้งนี้การจัดให้มี AEC Blueprint นั้น คล้ายกับกรณีของการทำเกณฑ์อ้างอิง(Benchmark)ในด้านเศรษฐกิจตามช่วงระยะเวลาต่างๆของสหภาพยุโรป [6]
องค์ประกอบของ AEC Blueprint
แผนงานในเชิงบูรณาการในด้านเศรษฐกิจต่างๆหรือพิมพ์เขียวเพื่อจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC Blueprint) มีองค์ประกอบที่สำคัญทั้งหมด 4 เรื่อง[7] ได้แก่
1. การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว (Single Market & Production Base) ซึ่งองค์ประกอบนี้จะนำไปสู่การใช้กฎระเบียบการค้าในประเทศสมาชิกทั้งหมดเป็นอย่างเดียวกัน(Harmonization of Rules and Regulations) ทั้งในด้านมาตรฐาน คุณภาพ ราคา อัตราภาษีรวมถึงกฎระเบียบในการซื้อขาย การขจัดมาตรการและข้อกีดกันต่างๆรวมถึง การมีมาตรการอำนวย ความสะดวกทางการค้า เงื่อนไขการเคลื่อนย้ายบุคคล สัญชาติอาเซียน ประเภทการบริการและการลงทุนที่เสรีมากขึ้น[8] ตัวอย่างเช่น การยกเลิกภาษีศุลกากร การยกเลิกอุปสรรคทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (NTBs) การอำนวยความสะดวกทางการค้า การจัดตั้ง ASEAN Single Window ปรับประสานมาตรฐานและลดอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า รวมถึงการเปิดเสรีภาพทางการค้าและการลงทุน
2. การสร้างอาเซียนให้เป็นภูมิภาคที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูงในเวทีการค้าโลก (Highly Competitive Economic Region) คือ การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของอาเซียน ซึ่งจะให้ความสำคัญกับประเด็นนโยบายอื่นๆที่จะช่วยการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ เช่น การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา โดยการออกกฎหมายสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น การขนส่ง เป็นต้น การจัดระบบการค้าให้มีการแข่งขันที่เป็นธรรม และ มาตรฐานทางภาษีที่เหมาะสม
3. การพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างเท่าเทียมกันระหว่างสมาชิกอาเซียน(Equitable Economic Development) กรณีนี้จะเป็นการสนับสนุนและพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เน้นการมีส่วนร่วมและขยายตัวของ SMEs การลดช่องว่างระดับการพัฒนาระหว่างประเทศสมาชิกใหม่ (CLMV)[9] และสมาชิกเก่า(ASEAN6)ผ่านโครงการต่างๆ เช่น โครงการ Initiative for ASEAN Integration (IAI) และ ASEAN-help-ASEAN Program เป็นต้น
4. การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก (Integration into Global Economy)องค์ประกอบนี้จะเน้นการปรับประสานนโยบายเศรษฐกิจ ของอาเซียนกับประเทศภายนอกภูมิภาค โดยดำเนิน 2 มาตรการ [10]ประกอบด้วย
1.การจัดทําเขตการค้าเสรี(FTA) การให้สิทธิพิเศษด้านการลงทุนภายใต้เขตการลงทุนอาเซียน (AIA : ASEAN Investment Area) กับนักลงทุนภายนอกอาเซียน และ
2. การมีส่วนร่วมในเครือข่ายห่วงโซ่อุปทาน คือการมีส่วนร่วมในการผลิตและจำหน่าย เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังมีองค์ประกอบอื่นๆอีก [11] ได้แก่ การปรับปรุงกลไกด้านสถาบันโดยการจัดตั้งกลไกการหารือระดับสูง ประกอบด้วยผู้แทนระดับรัฐมนตรีทุกสาขาที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งภาคเอกชนอาเซียนตลอดจนการพัฒนากลไกการตรวจสอบติดตามผลการดำเนิน (Peer Review) และจัดหาแหล่งทรัพยากรสำหรับการดำเนินงานกิจกรรมต่างๆอย่างมีประสิทธิภาพ
ตารางสรุปรายละเอียดAEC Blueprint[12]
1. การเป็นตลาดเดียว และฐานการผลิตร่วมกัน
1) เปิดเสรีทางการค้าสินค้า (AFTA)
2) เปิดเสรีการค้าบริการ (AFAS)
3) เปิดเสรีการลงทุน (AIA)
4) เคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างกันได้ดีขึ้น
5) เปิดเสรีการเคลื่อนย้าย แรงงานฝีมือ
6) รวมกลุ่มสาขาอุตสาหกรรม สําคัญให้เป็นห่วงโซ่อุปทาน
2. ส่งเสริมขีดความสามารถ ในการแข่งขัน ส่งเสริม การสร้าง ความสามารถ ในด้านต่างๆ
ได้แก่
1) นโยบายการแข่งขัน
2) การคุ้มครองผู้บริโภค
3) ทรัพย์สินทางปัญญา
4) กฎระเบียบภาษีอากร
5) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น การเงิน การขนส่งและเทคโนโลยี สารสนเทศ
3. การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค เป็นการส่งเสริมการรวมกลุ่มทาง
เศรษฐกิจของสมาชิกและ ลดช่องว่างของระดับการ พัฒนาระหว่างสมาชิกเก่า และใหม่ เช่น
1) การพัฒนา SMEs
2) แผนงานการริเริ่มการรวมตัวอาเซียน
3) Initiative for ASEAN Integration: IAI
4. การบูรณาการเข้ากับ เศรษฐกิจโลก ส่งเสริมการรวมกลุ่มเข้ากับ ประชาคมโลก โดยเน้นการ
ปรับประสานนโยบาย เศรษฐกิจของอาเซียนกับ ประเทศ ภายนอกภูมิภาค เช่น
1) การจัดทําเขตการค้าเสรี
2) การสร้างเครือข่ายในด้าน การผลิตและจําหน่าย เป็นต้น
บรรณานุกรม
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม.2013.องค์ประกอบของ AEC Blueprint. http://www.dip.go.th/Portals/0/AEC/องค์ประกอบของAEC_Blueprint.pdf (accessed April 23.2015).
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.2555.ประชาคมอาเซียนกับตัวชี้วัดความสำเร็จ. http://tdri.or.th/tdri-insight/asean_measures/(accessed April 24 2015).
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ.2013. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) : โอกาสและผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมไทย บทวิเคราะห์โอกาสและผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมไทย จากการเข้าร่วมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC). http://www.senate.go.th/km_senate2/doc/asean/asean4%20Thai_Industry_and_AEC.pdf (accessed April 23. 2015).
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม.2553.ถนนสู่ AEC เพื่อ SMEs ไทย. www.sme.go.th/Documents/internationalization/ถนนสู่%20AEC%20เพื่อ%20SMEs%20ไทย.pdf2553 (accessed April 23.2015).
สภาปฏิรูปแห่งชาติ.2555.ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. https://edoc.parliament.go.th/getfile.aspx?id=589926&file=04.%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99.pdf&download=1.(accessed April 24 2015).
สำนักอาเซียน.2550.พิมพ์เขียวเพื่อการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Blueprint). http://www.thailandaec.com/files/834/1/aec_blueprint1.pdf (accessed April 23 2015).
ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและพยากรณ์ทางการเกษตร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้.2013.AEC Blueprint. http://www.maejopoll.mju.ac.th/goverment/20111119104835_2011_maejopoll/Doc_25570616153529_431996.pdf (accessed April 24 2015).
Xinhua .2013.Backgrounder: Chronology of previous ASEAN summits. http://www.globaltimes.cn/content/816159.shtml. (accessed April 24 2015).
อ้างอิง
- ↑ ปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน (Bali Concord II) เกิดขึ้นเนื่องจาก รัฐภาคีอาเซียนเห็นพ้องร่วมกันที่จะขยายความร่วมมือในเชิงลึกมากขึ้น ด้วยการพัฒนาความร่วมมือในการก่อตั้ง 3 เสาหลัก ที่ประกอบด้วยด้านการเมืองและความมั่นคง ด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคม วัฒนธรรม เพื่อทำให้รัฐภาคีร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดมากขึ้น และนำมาซึ่งผลประโยชน์ด้านสันติภาพ เสถียรภาพ อันจะก่อให้เกิดความรุ่งเรืองในภูมิภาคมากยิ่งขึ้น ภายใต้กรอบที่มีความเป็นพลวัตร มีความยืดหยุ่นท่ามกลางการอยู่ร่วมกันในประชาคมอาเซียน
- ↑ ประชาคมอาเซียนประกอบไปด้วย 3 เสาหลัก คือ 1. ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community–ASC) 2. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community-AEC ) เเละ 3.ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community-ASCC)
- ↑ Xinhua .2013.“Backgrounder: Chronology of previous ASEAN summits”.http://www.globaltimes.cn/content/816159.shtml. (accessed April 24 2015).
- ↑ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ.2013. “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) : โอกาสและผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมไทย บทวิเคราะห์โอกาสและผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมไทย จากการเข้าร่วมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)”. http://www.senate.go.th/km_senate2/doc/asean/asean4%20Thai_Industry_and_AEC.pdf (accessed April 23. 2015).
- ↑ สภาปฏิรูปแห่งชาติ.2555.”ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน”.
- ↑ สำนักอาเซียน.2550.”พิมพ์เขียวเพื่อการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซ๊ยน (AEC Blueprint)”. http://www.thailandaec.com/files/834/1/aec_blueprint1.pdf (accessed April 23 2015).
- ↑ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม.2013.”องค์ประกอบของ AEC Blueprint “ http://www.dip.go.th/Portals/0/AEC/องค์ประกอบของAEC_Blueprint.pdf (accessed April 23.2015).
- ↑ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางเเละขนาดย่อม.2553.”ถนนสู่ AEC เพื่อ SMEs ไทย”. http://www.sme.go.th/Documents/internationalization/ถนนสู่%20AEC%20เพื่อ%20SMEs%20ไทย.pdf2553(accessed April 23.2015).
- ↑ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.2555.”ประชาคมอาเซียนกับตัวชี้วัดความสำเร็จ”. http://tdri.or.th/tdri-insight/asean_measures/(accessed April 24 2015).
- ↑ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและพยากรณ์ทางการเกษตร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้.2013.”AEC Blueprint”. http://www.maejopoll.mju.ac.th/goverment/20111119104835_2011_maejopoll/Doc_25570616153529_431996.pdf (accessed April 24 2015).
- ↑ สำนักอาเซียน.2550.อ้างแล้ว.
- ↑ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม.2013. อ้างแล้ว.