ลูกพ่อขุนผาเมือง
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร และ รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต
พรรคลูกพ่อขุนผาเมือง
หลังจากเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองเดือนตุลา 2 ครั้ง คือวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 และ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 และการรัฐประหาร 2 ครั้ง นายธานินทร์ กรัยวิเชียร นายกรัฐมนตรีกล่าวว่าจะใช้ระยะเวลา 12 ปี ปรับปรุงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่มั่นคง แต่ในวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ.2520 คณะทหารเข้ายึดอำนาจแล้วตั้งตั้ง พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์เป็นนายกรัฐมนตรี และประกาศรัฐธรรมนูญฉบับวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ.2521 และได้จัดการเลือกตั้งในวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2522 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในครั้งนี้ยังจำเป็นต้องให้ ส.ส.ต้องสังกัดพรรคการเมือง (เพราะบทเฉพาะกาลระบุว่าจะใช้เมื่อ 4 ปีหลังจากมีการตั้งวุฒิสมาชิก)
การเลือกตั้งครั้งนี้จึงมีผู้ลงรับสมัครที่ไม่สังกัดพรรคจำนวนถึง 615 คน การมีพรรคการเมืองมากในการเลือกตั้งครั้งนี้ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการตั้งพรรคยังไม่ต้องจดทะเบียนกับกระทรวงมหาดไทย ซึ่งต้องมีขั้นตอน และในจำนวนนี้มี 19 พรรคที่มีผู้สมัครเพียงคนเดียวและน่าจะเรียกผู้สมัครไม่สังกัดพรรคมากกว่า(จากจำนวนนี้ได้รับเลือกตั้ง 63 คน) และยังเกิดพรรคจำนวนมากที่ไม่ได้จัดตั้งอย่างเป็นทางการ ซึ่งรวมถึงพรรคลูกพ่อขุนผาเมืองที่ส่งผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง 1 คน และสอบตก
ที่มา
เชาวนะ ไตรมาศ. ข้อมูลพื้นฐาน 66 ปีประชาธิปไตยไทย. กรุงเทพฯ : สถาบันนโยบายศึกษา, 2542.
พรรคการเมืองไทย. http://www.weopenmind.com/board/index.php?topic=5929.msg47927