การเมืองไทยบนโลกออนไลน์
ผู้เรียบเรียง : อภิรมย์ สุวรรณชาติ
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : ดร.สติธร ธนานิธิโชติ
โลกออนไลน์ (Social Media)
โลกออนไลน์หรือโซเชียลมีเดีย (Social Media)[1] คือ แพลตฟอร์มหรือเว็บไซต์ที่ช่วยให้ผู้คนสามารถแบ่งปันเนื้อหาต่าง ๆ ได้ในรูปแบบของข้อความ รูปภาพ วิดีโอ และเสียง เป็นสื่อกลางที่ให้บุคคลทั่วไปมีส่วนร่วมสร้างและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่าง ๆ นอกจากนี้โลกออนไลน์ยังเป็นช่องทางในการประชาสัมพันธ์งานธุรกิจ การสร้างแบรนด์ และการแสดงความคิดเห็นหรือความเห็นในหลาย ๆ ประเด็น โดยผู้ใช้งานสามารถสร้างเนื้อหาของตัวเองและส่งต่อเนื้อหาของผู้อื่นได้ โดยเว็บไซต์หรือแพลตฟอร์มที่เป็นโลกออนไลน์มีหลายแบบ เช่น เฟซบุ๊ค (Facebook), ไลน์ (Line), ทวิตเตอร์ (Twitter), ยูทูป (YouTube), ลิงก์ดิน (LinkedIn), อินสตาแกรม (Instagram), ติ๊กต๊อก (TikTok) เป็นต้น
เปิดสถิติคนไทยใช้สื่อออนไลน์โซเชียลสูงอยู่ใน 50 อันดับแรกโลก[2]
We Are Social ดิจิทัลเอเยนซี่เปิดสถิติคนใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลก ซึ่งแสดงให้มีการเก็บสถิติการงานโซเชียลมีเดียในปี 2023 จากประชากรโลกทั้งหมดมีผู้ใช้โซเชียลมีเดีย จำนวน 4.76 พันล้านคน คิดเป็นสัดส่วน 59.4 % ของประชากรโลก โดยมีผู้ใช้งานโซเชียลมีเดียเพิ่มขึ้นจากปี 2022 จำนวน 137 ล้านคน คิดเป็นอัตราการเติบโต 3% ต่อปี

OVERVIEW OF SOCIAL MEDIA USE JAN 2023

SOCIAL MEDIA USES vs. POPULATION JAN 2023
จะเห็นได้ว่าสถิติในการใช้งานโซเซียลมีเดียของโลกจะเพิ่มขึ้น ประเทศไทยมีการใช้งานโซเซียลมีเดียอยู่ใน อันดับที่ 34 ซึ่งเมื่อมีการเจาะลึกลงไปในรายงาน Digital 2023 Global Overview Report ของ We Are Social[3] ผู้ใช้งานโซเชียลมีเดียในไทยมี 52.25 ล้านคน คิดเป็น 72.8% ของประชากรทั้งหมดของประเทศ ในขณะเดียวกันข้อมูลที่เผยแพร่ในเครื่องมือวางแผนโฆษณาของแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียชั้นนำต่าง ๆ ก็ยังระบุว่ามีผู้ใช้โซเชียลมีเดียได้ต้องมีอายุ 18 ปีขึ้นไป ในประเทศไทยประชากรที่มีอายุ18 ปีขึ้นไป มีจำนวน 49.40 ล้านคน ในปี 2566 คิดเป็น ร้อยละ 84.8 ของประชากรทั้งหมด จากสถิติการใช้งานโซเซียลมีเดียของประเทศไทยที่เพิ่มขึ้น ทำให้ช่องทางในการสื่อสารในเรื่องต่าง ๆ มีความเป็นไปได้มากขึ้น
การนำสื่อออนไลน์ไปใช้งาน
การนำสื่อออนไลน์ไปใช้มีหลายวิธีและประโยชน์หลายประเภท โดยขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และวิธีการที่ต้องการใช้สื่อนั้น ตัวอย่างของการนำสื่อออนไลน์ไปใช้ประโยชน์มีดังต่อไปนี้
1. การเรียนรู้และการศึกษา สื่อออนไลน์เป็นแหล่งข้อมูลที่มีอยู่ออนไลน์เป็นมากมายที่สามารถใช้เวลาเรียนรู้เกี่ยวกับหัวข้อที่สนใจ เพราะมีคอร์สออนไลน์ บทความออนไลน์ และความรู้จากวิดีโอบน YouTube หรือแพลตฟอร์มการเรียนรู้ออนไลน์อื่น ๆ อีกทั้งยังสามารถเป็นผู้สร้างความรู้ นำสื่อออนไลน์ ยังสามารถใช้ในการสนับสนุนความรู้ ความเข้าใจในเรื่องต่าง ๆ อย่างเช่น สร้างบล็อกความรู้ เป็น Youtuber สร้างเนื้อหาความรู้ตามที่ตัวเองสนใจ การแชร์ความรู้สึกผ่านโพสต์ หรือการแสดงความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์ในสื่อสังคมออนไลน์
2. การสื่อสารและเชื่อมต่อ สื่อออนไลน์เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถสื่อสารและเชื่อมต่อกับคนอื่นได้อย่างง่ายดาย คุณสามารถใช้อีเมล ข้อความ แชทออนไลน์ หรือสื่อสังคมออนไลน์เพื่อเข้าสัมพันธ์กับคนในวงกว้าง หากนำไปปรับใช้ในงานอย่างเหมาะสมก็สามาราถทำให้การประสานงานทำได้รวดเร็วขึ้น
3. การทำงานและการทำธุรกิจ สื่อออนไลน์เป็นส่วนสำคัญของการทำงานและธุรกิจในปัจจุบันผู้ประกอบการสามารถใช้อีเมลเพื่อสื่อสารภายในบริษัทหรือในการทำธุรกิจออนไลน์ ทำโฆษณาจากสื่อออนไลน์ และจากข้อมูลจากสมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย (AAT) และสมาคมโฆษณาดิจิทัลแห่งประเทศไทย (DAAT) ชี้ว่ามูลค่าการโฆษณาผ่านช่องทาง Facebook มีเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาถึง 6% ทำให้การขายสินค้าหรือบริการผ่านเว็บไซต์ออนไลน์ ทำให้ผู้ประกอบการหันมาทำการตลาดผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น
4. การเผยแพร่ข้อมูลและการตรวจสอบข้อมูล สื่อออนไลน์มีข้อมูลมากมายที่สามารถนำใช้นำเสนอข้อมูลในด้านต่าง ๆ ที่ต้องการ เช่น การเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลสรุปงานวิชาการ และหากต้องการนำข้อมูลนั้นไปใช้งานต่อก็สามารถตรวจสอบแหล่งที่มาในการอ้างอิงได้ เมื่อได้ข้อมูลแล้วก็ยังสามารถนำข้อมูลมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลต่อเพื่อนำไปขยายผลได้อย่างรวดเร็ว เพราะเป็นข้อมูลที่ได้รับมาจากสื่อออนไลน์ เช่น การค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับตลาดหรือข้อมูลทางการเมือง
จริง ๆ แล้วการนำสื่อออนไลน์ไปใช้ต่อมีความหลากหลายและสามารถนำมาใช้ในหลายด้านของชีวิตประจำวัน ดังนั้นควรใช้สื่อนี้อย่างมีสติสำหรับวัตถุประสงค์ที่เหมาะสมและรับข้อมูลอย่างรอบคอบเมื่อต้องการข้อมูลที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพในการใช้ชีวิตประจำวัน
การเคลื่อนไหวทางการเมืองบนโลกออนไลน์ในประเทศไทย
หากมองเห็นถึงที่มาของข้อมูลและการนำไปประยุกต์ใช้งาน เมื่อกล่าวถึงการเคลื่อนไหวทางการเมืองบนโลกออนไลน์ในประเทศไทย ก็จะเห็นได้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคดิจิทัลเช่นกัน การเมืองเป็นหัวข้อที่มีความหลากหลายและสำคัญในสื่อออนไลน์ มีหลายแหล่งที่คุณสามารถหาข้อมูลและข่าวสารเกี่ยวกับการเมืองออนไลน์ได้ เว็บไซต์ข่าวหลายเว็บไซต์ข่าวมีส่วนเฉพาะที่รายงานเรื่องการเมืองอย่างละเอียด เช่น BBC, CNN, Reuters, The Guardian, หรือ Al Jazeera เป็นเว็บไซต์ที่มีข้อมูลการเมืองมากมาย ส่วนในโซเชียลมีเดียเองก็ร้อนแรงไม่แพ้กัน ไม่ว่าจะเป็นช่องทางของนักการเมืองหรือพรรคการเมืองใช้เป็นสื่อในการประชาสัมพันธ์ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดจากการเลือกตั้งปี 2566 ที่ผ่านมาก็จะเห็นได้ว่าไม่ว่าจะเป็น Facebook, TikTok หรือ Twitter (เปลี่ยนชื่อเป็น X ในปัจจุบัน) ก็มีความร้อนแรงของการประชาสัมพันธ์ข่าวการเมือง นโยบายการเลือกตั้ง พรรคการเมือง การระบุตัวผู้สมัครที่ชอบ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น #กกตมีไว้ทำไม #พิธา #พรรคก้าวไกล #พรรคเพื่อไทย #พรรคพลังประชารัฐ
ตัวอย่างการใช้สื่อโซเชียลมีเดียในการลงโฆษณาประชาสัมพันธ์
Facebook ก็เป็นอีกแพลตฟอร์มหนึ่งที่ในการเลือกตั้งที่สำคัญที่ผ่านมา เป็นสื่อประชาสัมพันธ์และการโฆษณาที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งที่ของพรรคการเมืองต่าง ๆ จากข่าวไทยพีบีเอสออนไลน์ได้มีการรายงานผลการรวบรวม 10 อันดับ พรรคการเมืองที่ใช้เงิน "ยิงแอด" มากที่สุดในรอบ 90 วัน[4] ตั้งแต่ วันที่ 9 ก.พ. - 9 พ.ค. 2566 และเก็บข้อมูลเฉพาะเพจหลักของพรรคการเมืองนั้น ๆ ลงโฆษณาเป็นเงินจำนวนเท่าไหร่ ดังนี้
อันดับ 1 พรรคเปลี่ยน 5,433,990 บาท
อันดับ 2 พรรคไทยสร้างไทย 718,288 บาท
อันดับ 3 พรรครวมไทยสร้างชาติ 540,507 บาท
อันดับ 4 พรรคเพื่อไทย 485,5258 บาท
อันดับ 5 พรรคชาติพัฒนากล้า 271,186 บาท
อันดับ 6 พรรคพลังธรรมใหม่ 208,710 บาท
อันดับ 7 พรรคประชาธิปัตย์ 156,676 บาท
อันดับ 8 พรรคภูมิใจไทย 110,600 บาท
อันดับ 9 พรรคเสมอภาค 61,262 บาท
อันดับ 10 พรรคเส้นด้าย 59,432 บาท
สื่อโซเชียลมีเดียที่ฮอตฮิตในช่วงเลือกตั้ง[5]
จากการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์จากการฟังเสียงประชาชนในสังคมออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์ม DXT360 ของ บริษัท ดาต้าเซ็ต ในช่วงเลือกตั้งที่ผ่านมาก็มีการเก็บข้อมูลที่น่าสนใจว่าในช่วงเลือกตั้ง 66 TikTok เป็นแพลตฟอร์มที่มีการกล่าวถึงและการมีส่วนร่วมสูงสุดด้วย จำนวน 186,393,775 ครั้ง หรือคิดเป็น ร้อยละ 63 ของโซเชียลมีเดียทั้งหมด และตามมาด้วย Facebook เป็นอันดับ 2 จำนวน 54,729,106 ครั้ง คิดเป็น ร้อยละ 18 ของโซเชียลมีเดียทั้งหมดและ Twitter จำนวน 45,026,759 ครั้ง คิดเป็น ร้อยละ 15 เป็นอันดับ 3 ขณะที่ Instagram เป็นอันดับ 4 จำนวน 7,468,309 ครั้ง คิดเป็น ร้อยละ 3 และ Youtube น้อยที่สุดอยู่ที่ 3,985,168 คิดเป็น ร้อยละ 1 อยู่ในอันดับสุดท้าย
การรวมตัวกันของผู้มีความคิดเห็นเหมือนกันทางการเมือง
แฮชแท็กก็เป็นการแสดงออกทางสัญลักษณ์ในทางออนไลน์ สำหรับประชาชนส่วนใหญ่ร่วมแสดงความคิดเห็นไปในทิศทางเดียวกันในหลาย ๆ กรณี เช่น #กกต.มีไว้ทำไม ขึ้นเทรนด์ อันดับ 1 บนทวิตเตอร์ของไทยใน วันที่ 8 พ.ค. 2566 ที่ผ่านมาอย่างรวดเร็ว หลังเสร็จสิ้นการเลือกตั้งล่วงหน้าใน วันที่ 7 พ.ค. 2566 เหตุเพราะมีรายงานพบความผิดพลาดของกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง การเขียนเขตเลือกตั้งที่หน้าซองบรรจุบัตรเลือกตั้งผิดหรือบางหน่วยเลือกตั้งไม่เขียนรายละเอียดบนหน้าซองบัตรเลือกตั้ง ทำให้เกิดกระแสความไม่พอใจต่อการทำงานของ กกต. เกิดขึ้น และกระแส #พิธานายกคนที่30 ยังคงฟีเวอร์ครองพื้นที่โซเชียลทุกช่องทางในเวลาต่อมาเมื่อเลือกตั้งเรียบร้อยแล้ว หรือหากจะกล่าวถึงแฮชแท็กที่มาจากข่าวดาราบันเทิงที่โยงเข้าสู่การเมืองเข้มข้นถึงขั้นข้ามประเทศคงไม่พ้น #MilkTeaAlliance หรือ พันธมิตรชานม
จะเห็นได้ว่าการเมืองไทยบนโลกออนไลน์มีลักษณะและผลกระทบที่หลากหลายตามความเชื่อของแต่ละบุคคลและกลุ่มคนที่มีความสนใขทางการเมือง ภาพรวมของการเมืองไทยบนโลกออนไลน์สามารถสรุปคือโซเชียลมีเดียเป็นเวทีการแสดงความคิดเห็น การเมืองไทยได้รับผลกระทบจากการแพร่กระจายข่าวสารและความคิดเห็นผ่านโซเชียลมีเดียอย่างมาก ทั้งการโพสต์ในเว็บไซต์สังคมออนไลน์ เช่น Facebook, Twitter, Instagram, และ YouTube รวมถึงการสร้างแรงกดดันจากความคิดเห็นของบุคคลที่มีผู้ติดตามจำนวนมากเหล่านี้ สามารถมีผลต่อการสร้างสื่อร่วมมือระหว่างกลุ่มคนที่มีความคิดเห็นคล้ายคลึงกัน การกระทำแบบออนไลน์ การเมืองไทยบนโลกออนไลน์ไม่ได้เกี่ยวข้องเพียงแค่การแสดงความคิดเห็นเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการกระทำแบบออนไลน์ที่ส่งผลต่อการเมือง เช่น การแชร์ข่าวปลอม เผยแพร่ข้อมูลที่สร้างความสับสน การแกล้งหรือการถูกกล่าวหาผิด รวมทั้งการใช้สื่อออนไลน์เพื่อก่อการร้ายและการรุกรานต่อผู้อื่น การเมืองไทยบนโลกออนไลน์มีความสำคัญอย่างมากเนื่องจากการเข้าถึงข้อมูลที่หลากหลายและการสร้างสื่อร่วมมือในระดับโลก อย่างไรก็ตาม การเผชิญหน้ากับการแพร่ระบาดของข่าวปลอมและข้อมูลที่สร้างความสับสนก็เป็นปัญหาที่ต้องจัดการอย่างเคร่งครัดในระดับส่วนตัวและระดับรัฐบาลเช่นกัน ดังนั้นการรับข้อมูลบนโลกออนไลน์ต้องทำการตรวจสอบข้อมูลจากแหล่งที่มีความเชื่อถือเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและครบถ้วน เนื่องจากการเมืองมักมีการสื่อสารและการมองเห็นจากมุมมองต่าง ๆ การเรียนรู้เพื่อที่จะเข้าใจหลายมุมมอง และความน่าเชื่อถือของข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญเสมอในการที่จะเข้าใจสถานการณ์การเมืองที่เป็นไปอยู่ในประเทศหรือทั่วโลกได้อย่างถูกต้องและอย่างเต็มรูปแบบ
อ้างอิง
[1] สื่อสังคม จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี สืบค้นจาก https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1
[2] DIGITAL 2023 GLOBAL OVERVIEW REPORT THE ESSENTIAL GUIDE TO THE WORLD'S CONNECTED BEHAVIOURS สืบค้นจาก https://wearesocial.com/wp-content/uploads/2023/03/Digital-2023-Global-Overview-Report.pdf
[4] ข่าวไทยพีบีเอสออนไลน์ : 10 พรรคการเมือง ยิง Ads Facebook มากที่สุด สืบค้นจาก https://www.thaipbs.or.th/news/content/327664
[5] ฟังเสียงโซเชียลช่วงเลือกตั้ง “ก้าวไกล” สุดฮอต กระแสนำโด่งทั้งคนทั้งพรรค สืบค้นจาก https://www.dataxet.co/insight-social-trends-thailand-election-2023