การดำรงตำแหน่งของประธานรัฐสภา

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า

ผู้เรียบเรียง : รองศาสตราจารย์ ดร.ยุทธพร อิสรชัย

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : ศาสตราจารย์ ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ

 

การดำรงตำแหน่งของประธานรัฐสภา

          ประธานรัฐสภาเป็นตำแหน่งสูงสุดของฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งเป็นหนึ่งในสามของอำนาจอธิปไตย โดยมีอำนาจและหน้าที่เป็นประธานของที่ประชุมรัฐสภา เป็นผู้กำหนดการประชุมรัฐสภา ควบคุมและดำเนินกิจการของรัฐสภา รักษาความสงบเรียบร้อยในที่ประชุมรัฐสภาตลอดถึงบริเวณของรัฐสภา เป็นผู้แทนรัฐสภาในกิจการภายนอก และอำนาจและหน้าที่อื่นตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้หรือตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับการประชุมรัฐสภา

          ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ได้มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎรเป็นครั้งแรก ในวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม ซึ่งที่ประชุมได้เลือก มหาอำมาตย์เอกเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎรคนแรก โดยรัฐธรรมนูญในขณะนั้นได้กำหนดให้รัฐสภามีสภาผู้แทนราษฎรเพียงสภาเดียว จึงถือว่าประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นประธานรัฐสภา

          รัฐธรรมนูญแต่ละฉบับที่ผ่านมาได้บัญญัติให้มีบุคคลทำหน้าที่ประธานรัฐสภา ถ้าช่วงใดที่ใช้รูปแบบสภาเดี่ยว เช่น สภาผู้แทนราษฎร สภาร่างรัฐธรรมนูญ[1] สภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน แล้วแต่กรณี ก็จะให้ประธานสภาดังกล่าวทำหน้าที่ในตำแหน่งประธานรัฐสภา แต่หากช่วงเวลาใดใช้รูปแบบสภาคู่ กล่าวคือ มีทั้งสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา จะต้องพิจารณาว่ารัฐธรรมนูญที่ใช้ในขณะนั้นบัญญัติให้ประธานของสภาใดเป็นประธานรัฐสภา ก็จะเป็นไปตามนั้น[2]

          การดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภาจึงมีความสัมพันธ์กับที่มาของประธานรัฐสภา และเป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญในแต่ละสมัย เช่น หากรัฐธรรมนูญบัญญัติว่า ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นประธานรัฐสภา ประธานวุฒิสภาเป็นรองประธานรัฐสภา ผู้ที่ได้รับเลือกเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎรก็จะมีฐานะเป็นประธานรัฐสภาโดยผลของรัฐธรรมนูญด้วย และผู้ดำรงตำแหน่งประธานวุฒิสภาก็จะมีฐานะเป็นรองประธานรัฐสภาเช่นเดียวกัน แต่ถ้ารัฐธรรมนูญบัญญัติว่าประธานวุฒิเป็นประธานรัฐสภา ผู้ที่ดำรงตำแหน่งประธานวุฒิสภาก็จะมีฐานะเป็นประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎรก็จะมีฐานะเป็นรองประธานรัฐสภา หรือในบางสมัยที่เป็นสภานิติบัญญัติแห่งชาติเมื่อเลือกประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติแล้วก็จะปฏิบัติหน้าที่ประธานรัฐสภา หรือในบางสมัยรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวก็กำหนดให้ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญหรือประธานสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดินเป็นประธานรัฐสภาเช่นเดียวกัน สำหรับการพ้นจากตำแหน่งของประธานรัฐสภาก็จะเป็นไปตามการพ้นจากตำแหน่งต่าง ๆ ดังที่กล่าวมาข้างต้น

          รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้กำหนดให้รัฐสภาไทยประกอบด้วยวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร โดยมาตรา 80 บัญญัติให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นประธานรัฐสภา ประธานวุฒิสภาเป็นรองประธานรัฐสภา

          ในกรณีที่ไม่มีประธานสภาผู้แทนราษฎร หรือประธานสภาผู้แทนราษฎรไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ประธานรัฐสภาได้ ให้ประธานวุฒิสภาทำหน้าที่ประธานรัฐสภาแทน ในระหว่างที่ประธานวุฒิสภาต้องทำหน้าที่ประธานรัฐสภา แต่ไม่มีประธานวุฒิสภาและเป็นกรณีที่เกิดขึ้นในระหว่างไม่มีสภาผู้แทนราษฎรให้รองประธานวุฒิสภาทำหน้าที่ประธานรัฐสภา ถ้าไม่มีรองประธานวุฒิสภาให้สมาชิกวุฒิสภาซึ่งมีอายุมากที่สุดในขณะนั้น ทำหน้าที่ประธานรัฐสภาและให้ดำเนินการเลือกประธานวุฒิสภาโดยเร็ว

          ตลอดระยะเวลากว่า 89 ปี (พ.ศ. 2475 - 2564) มีบุคคลผลัดเปลี่ยนมาดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภาแล้วทั้งสิ้น จำนวน 31 คน ดังตารางที่ 1

 

ตารางที่ 1 : รายชื่อและการดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภาของไทย

ลำดับ
(สมัย)

ชื่อ

การดำรงตำแหน่ง

ตำแหน่ง

เริ่มวาระ

สิ้นสุดวาระ

ระยะเวลา

 

1
(1)

เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา)

28 มิถุนายน พ.ศ. 2475

1 กันยายน พ.ศ. 2475

0 ปี 65 วัน

ประธานสภาผู้แทนราษฎร

2

เจ้าพระยาพิชัยญาติ (ดั่น บุนนาค)

2 กันยายน พ.ศ. 2475

10 ธันวาคม พ.ศ. 2476

1 ปี 99 วัน

ประธานสภาผู้แทนราษฎร

1
(2)

เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา)

15 ธันวาคม พ.ศ. 2476

26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2477

0 ปี 73 วัน

ประธานสภาผู้แทนราษฎร

3
(1)

พลเรือตรี พระยาศรยุทธเสนี (กระแส ประวาหะนาวิน)

26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2477

22 กันยายน พ.ศ. 2477

0 ปี 208 วัน

ประธานสภาผู้แทนราษฎร

4

เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา)

22 กันยายน พ.ศ. 2477

31 กรกฎาคม พ.ศ. 2479

1 ปี 313 วัน

ประธานสภาผู้แทนราษฎร

5
(1-8)

พระยามานวราชเสวี (ปลอด วิเชียร ณ สงขลา)

3 สิงหาคม พ.ศ. 2479

10 ธันวาคม พ.ศ. 2480

6 ปี 325 วัน

ประธานสภาผู้แทนราษฎร

10 ธันวาคม พ.ศ. 2480

24 มิถุนายน พ.ศ. 2481

28 มิถุนายน พ.ศ. 2481

10 ธันวาคม พ.ศ. 2481

12 ธันวาคม พ.ศ. 2481

24 มิถุนายน พ.ศ. 2482

28 มิถุนายน พ.ศ. 2482

24 มิถุนายน พ.ศ. 2483

1 กรกฎาคม พ.ศ. 2483

24 มิถุนายน พ.ศ. 2484

1 กรกฎาคม พ.ศ. 2484

24 มิถุนายน พ.ศ. 2485

30 มิถุนายน พ.ศ. 2485

24 มิถุนายน พ.ศ. 2486

3
(2)

พลเรือตรี พระยาศรยุทธเสนี (กระแส ประวาหะนาวิน)

6 กรกฎาคม พ.ศ. 2486

24 มิถุนายน พ.ศ. 2487

0 ปี 354 วัน

ประธานสภาผู้แทนราษฎร

5
(9-10)

พระยามานวราชเสวี (ปลอด วิเชียร ณ สงขลา)

2 กรกฎาคม พ.ศ. 2487

26 มิถุนายน พ.ศ. 2488

1 ปี 105 วัน

ประธานสภาผู้แทนราษฎร

29 มิถุนายน พ.ศ. 2488

15 ตุลาคม พ.ศ. 2488

6

พันตรีวิลาศ โอสถานนท์

4 มิถุนายน พ.ศ. 2489

24 สิงหาคม พ.ศ. 2489

0 ปี 81 วัน

ประธานวุฒิสภา

3
(3-4)

พลเรือตรี พระยาศรยุทธเสนี (กระแส ประวาหะนาวิน)

31 สิงหาคม พ.ศ. 2489

8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490

5 ปี 90 วัน

ประธานวุฒิสภา

26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490

29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494

7
(1-9)

พลเอก พระประจนปัจจนึก (พุก มหาดิลก)

1 ธันวาคม พ.ศ. 2494

17 มีนาคม พ.ศ. 2495

5 ปี 289 วัน

ประธานสภาผู้แทนราษฎร

22 มีนาคม พ.ศ. 2495

23 มิถุนายน พ.ศ. 2495

28 มิถุนายน พ.ศ. 2495

23 มิถุนายน พ.ศ. 2496

2 กรกฎาคม พ.ศ. 2496

23 มิถุนายน พ.ศ. 2497

29 มิถุนายน พ.ศ. 2497

23 มิถุนายน พ.ศ. 2498

2 กรกฎาคม พ.ศ. 2497

23 มิถุนายน พ.ศ. 2499

25 มิถุนายน พ.ศ. 2499

25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500

16 มีนาคม พ.ศ. 2500

23 มิถุนายน พ.ศ. 2500

28 มิถุนายน พ.ศ. 2500

16 กันยายน พ.ศ. 2500

8
(1)

พลเอก หลวงสุทธิสารรณกร (สุทธิ สุขะวาที)

20 กันยายน พ.ศ. 2500

14 ธันวาคม พ.ศ. 2500

0 ปี 85 วัน

ประธานสภาผู้แทนราษฎร

7
(10-11)

พลเอก พระประจนปัจจนึก (พุก มหาดิลก)

27 ธันวาคม พ.ศ. 2500

23 มิถุนายน พ.ศ. 2501

0 ปี 297 วัน

ประธานสภาผู้แทนราษฎร

25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2501

20 ตุลาคม พ.ศ. 2501

8
(2)

พลเอก หลวงสุทธิสารรณกร (สุทธิ สุขะวาที)

6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502

2 พฤษภาคม พ.ศ. 2511

8 ปี 245 วัน

ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ

9

ทวี บุณยเกตุ

8 พฤษภาคม พ.ศ. 2511

20 มิถุนายน พ.ศ. 2511

0 ปี 43 วัน

ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ

10
(1-2)

พันเอก นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์)

22 กรกฎาคม พ.ศ. 2511

6 กรกฎาคม พ.ศ. 2514

3 ปี 118 วัน

ประธานวุฒิสภา

7 กรกฎาคม พ.ศ. 2514

17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514

11

พลตรีศิริ สิริโยธิน

18 ธันวาคม พ.ศ. 2515

11 ธันวาคม พ.ศ. 2516

0 ปี 358 วัน

ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

12

พลตรี หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช

29 ธันวาคม พ.ศ. 2516

7 ตุลาคม พ.ศ. 2517

0 ปี 282 วัน

ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

13

ประภาศน์ อวยชัย

17 ตุลาคม พ.ศ. 2517

25 มกราคม พ.ศ. 2518

0 ปี 100 วัน

ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

14

ประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์

7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518

12 มกราคม พ.ศ. 2519

0 ปี 339 วัน

ประธานสภาผู้แทนราษฎร

15
(1)

อุทัย พิมพ์ใจชน

19 เมษายน พ.ศ. 2519

6 ตุลาคม พ.ศ. 2519

0 ปี 170 วัน

ประธานสภาผู้แทนราษฎร

16

พลเอกกมล เดชะตุงคะ

22 ตุลาคม พ.ศ. 2519

20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2519

0 ปี 29 วัน

ประธานสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน

17
(1-3)

พลอากาศเอกหะริน หงสกุล

28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2519

20 ตุลาคม พ.ศ. 2520

6 ปี 111 วัน

ประธานสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน

25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520

22 เมษายน พ.ศ. 2522

ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

9 พฤษภาคม พ.ศ. 2522

19 มีนาคม พ.ศ. 2526

ประธานวุฒิสภา

18

ร้อยโทจารุบุตร เรืองสุวรรณ

26 เมษายน พ.ศ. 2526

19 มีนาคม พ.ศ. 2527

0 ปี 328 วัน

ประธานวุฒิสภา

19
(1-3)

อุกฤษ มงคลนาวิน

30 เมษายน พ.ศ. 2527

30 เมษายน พ.ศ. 2528

4 ปี 357 วัน

ประธานวุฒิสภา

1 พฤษภาคม พ.ศ. 2528

23 เมษายน พ.ศ. 2530

24 เมษายน พ.ศ. 2530

22 เมษายน พ.ศ. 2532

20

ร้อยตำรวจตรีวรรณ ชันซื่อ

4 พฤษภาคม พ.ศ. 2532

23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534

1 ปี 295 วัน

ประธานวุฒิสภา

19
(4-5)

อุกฤษ มงคลนาวิน

2 เมษายน พ.ศ. 2534

21 มีนาคม พ.ศ. 2535

1 ปี 54 วัน

ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

3 เมษายน พ.ศ. 2535

26 พฤษภาคม พ.ศ. 2535

ประธานวุฒิสภา

21
(1)

มีชัย ฤชุพันธุ์

28 มิถุนายน พ.ศ. 2535

29 มิถุนายน พ.ศ. 2535

0 ปี 1 วัน

ประธานวุฒิสภา

22

มารุต บุนนาค

22 กันยายน พ.ศ. 2535

19 พฤษภาคม พ.ศ. 2538

2 ปี 239 วัน

ประธานสภาผู้แทนราษฎร

23

พลตรีบุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ

11 กรกฎาคม พ.ศ. 2538

27 กันยายน พ.ศ. 2539

1 ปี 78 วัน

ประธานสภาผู้แทนราษฎร

24

วันมูหะมัดนอร์ มะทา

24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539

27 มิถุนายน พ.ศ. 2543

3 ปี 216 วัน

ประธานสภาผู้แทนราษฎร

25

พิชัย รัตตกุล

30 มิถุนายน พ.ศ. 2543

9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543

0 ปี 132 วัน

ประธานสภาผู้แทนราษฎร

15
(2)

อุทัย พิมพ์ใจชน

6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544

5 มกราคม พ.ศ. 2548

3 ปี 334 วัน

ประธานสภาผู้แทนราษฎร

26

โภคิน พลกุล

8 มีนาคม พ.ศ. 2548

24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549

0 ปี 353 วัน

ประธานสภาผู้แทนราษฎร

21
(2)

มีชัย ฤชุพันธุ์

25 ตุลาคม พ.ศ. 2549

28 มกราคม พ.ศ. 2551

1 ปี 95 วัน

ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

27

ยงยุทธ ติยะไพรัช

13 มกราคม พ.ศ. 2551

30 เมษายน พ.ศ. 2551

0 ปี 108 วัน

ประธานสภาผู้แทนราษฎร

28

ชัย ชิดชอบ

15 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

2 ปี 360 วัน

ประธานสภาผู้แทนราษฎร

29

สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์

2 สิงหาคม พ.ศ. 2554

9 ธันวาคม พ.ศ. 2556

2 ปี 129 วัน

ประธานสภาผู้แทนราษฎร

30

พรเพชร วิชิตชลชัย

17 สิงหาคม พ.ศ. 2557

21 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

4 ปี 277 วัน

ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

31

ชวน หลีกภัย

28 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

ปัจจุบัน

2 ปี 98 วัน

ประธานสภาผู้แทนราษฎร

 

ที่มา : วิกิพีเดีย, 2021. รายชื่อประธานรัฐสภาไทย. สืบค้นเมื่อ 31 Aug 2021 จาก https://th.wikipedia.org/wiki/รายชื่อประธานรัฐสภาไทย#รายชื่อประธานรัฐสภาไทย

 

อ้างอิง

[1] ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502 มาตรา 6 บัญญัติให้ สภาร่างรัฐธรรมนูญมีฐานะเป็นรัฐสภา ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญจึงมีสถานะเป็นประธานรัฐสภาในเวลานั้นด้วย

[2] พิพิธภัณฑ์รัฐสภา สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2564. ประธานรัฐสภา พ.ศ. 2475 – ปัจจุบัน. สืบค้นเมื่อ 31 Aug 2021 จาก https://parliamentmuseum.go.th/89y/content3.html