พลังแผ่นดิน (พ.ศ. 2549)
พรรคพลังแผ่นดิน
พรรคพลังแผ่นดินจดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2549 [1] โดยมีนายสมใจ คงแจ่ม ดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าพรรคและนายอำพล พนังแก้ว ดำรงตำแหน่งเป็นเลขาธิการพรรค ต่อมาเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2550 [2] นายอำพล พนังแก้ว ได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคเลขาธิการพรรค สุดท้ายเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2551[3] นายสมใจ คงแจ่ม ได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคและหัวหน้าพรรคพลังแผ่นดินทำให้กรรมการบริหารพรรคพลังแผ่นดินที่เหลืออยู่ต้องพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะตามข้อบังคับของพรรคแต่อย่างไรก็ตามจากข้อบังคับของพรรคที่กำหนดไว้ว่าถ้าเกิดกรณีดังกล่าวขึ้นให้กรรมการบริหารพรรคที่ต้องพ้นจากตำแหน่งได้บริหารพรรคต่อไปจนกว่าที่นายทะเบียนพรรคการเมืองจะตอนรับการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารชุดใหม่ของพรรค
ในการเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองอย่างเป็นทางการของพรรคพลังแผ่นดินนั้น การเลือกตั้งในปี 2550 พรรคได้ส่งสมาชิกลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งและแบบสัดส่วนจำนวนทั้งสิ้น 73 คน แบ่งเป็นแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวน 33 คน และแบบสัดส่วนจำนวน 40 คน ซึ่งทั้งหมดมิได้ถูกรับเลือกเลยแม้แต่ผู้เดียว รายละเอียดเกี่ยวกับนโยบายและการดำเนินการที่สำคัญมีดังต่อไปนี้คือ [4]
ด้านการเมือง
1.การปกครองและสังคม
2.กำจัดการทุจริตคอรัปชันในเชิงวิชาการ เชิงนโยบายของภาครัฐ
3.แก้ไขหนี้สินภาคประชาชน ภาครัฐและภาคเอกชน
4.ส่งเสริมการกระจายอำนาจ
6.จัดตั้งกองทุนประกันสังคมทุกหมู่บ้าน
7.จัดการเลือกตั้งทุกประเภทผ่านระบบออนไลน์
8.ให้นักบวชทุกศาสนามีสิทธิเลือกตั้งได้
ด้านเกษตร และอุตสาหกรรม
1.ปรับปรุงระบบการชลประทานและระบบส่งน้ำด้วยท่อผสมผสานกับคลองส่งน้ำให้ทั่วถึง
2.ประกันราคาผลผลิตทางการเกษตรและอุตสาหกรรมพร้อมทั้งการควบคุมราคาสินค้า
3.จัดตั้งกองทุนพัฒนาเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
4.จัดสรรที่ดินทำกินให้เกษตรกร
5.จัดตั้งสมาพันธ์ปาล์มน้ำมันแห่งประเทศไทย
6.จัดตั้งโครงการพัฒนาน้ำมันไบโอดีเซล
7.จัดตั้งสมาพันธ์ยางพาราแห่งประเทศไทย
8.จัดให้มีนิคมอุตสาหกรรมทั่วทุกภูมิภาค
9.วางแผนการใช้ที่ดินอย่างเหมาะสม
ด้านเศรษฐกิจ
1.จัดให้มีอาชีพที่มั่นคงและสร้างงานไว้รองรับผู้จบการศึกษา
2.สนับสนุนอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม
3.สนับสนุนรวมกลุ่มประเทศผู้ผลิตสินค้าการเกษตร
ด้านการศึกษา
1.จัดตั้งโรงเรียนทุกเขตพื้นที่การศึกษา
2.เรียนฟรีจนถึงระดับปริญญาตรี
3.บรรจุหลักการทางศาสนาเข้ามาในหลักสูตรการเรียน
4.ตรวจสอบมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาเอกชนโดยคณะกรรมการการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ
ด้านศาสนาและศิลปวัฒนธรรม
1.เผยแพร่ขนบธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรมไทยไปทั่วโลก
2.อนุรักษ์ศิลปะการแสดงทุกๆด้านไว้เป็นศิลปะประจำชาติ
3.จัดตั้งกองทุนทำนุบำรุงทุกศาสนา
ด้านการสาธารณสุข
1.จัดให้มีการรักษาพยาบาลโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย
2.ปรับปรุงการบริการทางด้านสาธารณะสุข
3.ควบคุมและป้องกันโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ
4.ส่งเสริมการออกกำลังกาย
ด้านแรงงานและสวัสดิการสังคม
1.ตรวจสอบควบคุมแรงงานต่างด้าว
2.ปรับปรุงกฎหมายแรงงาน
3.พัฒนามาตรฐานแรงงาน
4.ผลิตแรงงานในสาขาที่ขาดแคลน
5.ดูแลแรงงานไทยในต่างประเทศ
ด้านการคมนาคม
1.ปรับปรุงเครือข่ายคมนาคมให้มีประสิทธิภาพ
2.เชื่อมโยงเครือข่ายคมนาคมกับประเทศเพื่อนบ้านโดยให้ไทยเป็นศูนย์กลาง
3.ควบคุมการก่อสร้างถนนทั่วประเทศให้ได้มาตรฐาน
ด้านการต่างประเทศ
1.ดำเนินนโยบายทางการทูตที่เป็นอิสระและเป็นมิตรกับทุกประเทศ
2.ร่วมมือกับต่างประเทศตามมติของยูเนสโกแต่ต้องผ่านมติคณะรัฐมนตรีก่อน
3.กระชับความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะประเทศที่มีพรมแดนติดกับไทย