ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประชาธิปไตยครึ่งใบ"
ลไม่มีความย่อการแก้ไข |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 2: | บรรทัดที่ 2: | ||
---- | ---- | ||
'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' รศ.ดร.ปธาน สุวรรณมงคล | |||
---- | |||
'''ประชาธิปไตยครึ่งใบ''' | '''ประชาธิปไตยครึ่งใบ''' | ||
บรรทัดที่ 11: | บรรทัดที่ 16: | ||
ช่วงเวลาที่เรียกขานกันว่าประชาธิปไตยครึ่งใบเห็นจะได้แก่ยุคสมัย [[เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์|พล.อ. เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์]] และ [[เปรม ติณสูลานนท์|พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์]] เป็น[[นายกรัฐมนตรี]] ปี พ.ศ. 2520-2531 หรือในช่วงที่[[รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2521]] มีผลบังคับใช้ หลังจากนั้น เมื่อ [[พล.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณ]] หัวหน้าพรรค[[ชาติไทย]]ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี ในปี พ.ศ. 2531 เราไม่เรียกว่ายุคประชาธิปไตยครึ่งใบอีกต่อไป | ช่วงเวลาที่เรียกขานกันว่าประชาธิปไตยครึ่งใบเห็นจะได้แก่ยุคสมัย [[เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์|พล.อ. เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์]] และ [[เปรม ติณสูลานนท์|พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์]] เป็น[[นายกรัฐมนตรี]] ปี พ.ศ. 2520-2531 หรือในช่วงที่[[รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2521]] มีผลบังคับใช้ หลังจากนั้น เมื่อ [[พล.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณ]] หัวหน้าพรรค[[ชาติไทย]]ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี ในปี พ.ศ. 2531 เราไม่เรียกว่ายุคประชาธิปไตยครึ่งใบอีกต่อไป | ||
[[หมวดหมู่:สารานุกรมการเมืองไทย]] |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:41, 28 พฤษภาคม 2555
ผู้เรียบเรียง รศ.ดร.นิยม รัฐอมฤต
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รศ.ดร.ปธาน สุวรรณมงคล
ประชาธิปไตยครึ่งใบ
หมายถึงระบบการปกครองที่อำนาจอธิปไตยไม่ได้อยู่ที่ประชาชนหรือตัวแทนของประชาชนตามทฤษฎีประชาธิปไตย แต่อยู่ที่นักการเมืองและข้าราชการ สภาวการณ์ดังกล่าวเป็นผลสืบเนื่องมาจากระบบการเมืองของไทย ที่ชนชั้นข้าราชการเป็นชนชั้นที่มีอำนาจปกครองสังคมมาก่อนเก่า ในฐานะพระเนตรพระกัณณ์องพระมหากษัตริย์ และเป็นชนชั้นที่มีสถานภาพทางสังคมและการศึกษาสูงกว่าประชาชนคนธรรมดา
ภายใต้เงื่อนไขดังกล่าว แม้ว่าประเทศไทยจะมีการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์สู่ระบอบประชาธิปไตย ข้าราชการก็ยังคงอยู่ในฐานะผู้ปกครองเหมือนเดิม เพราะประชาชนคนธรรมดายังไม่พร้อมที่จะเข้ามามีบทบาททางการเมือง ในอีกด้านหนึ่งข้าราชการเองก็ยังไม่พร้อมที่จะยอมรับบทบาทของประชาชน ระบบการปกครองประเทศไทยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 จึงถูกเรียกว่า “อำมาตยาธิปไตย”
การเปลี่ยนแปลงในบทบาทของข้าราชการอันเกี่ยวพันกับบทบาทของประชาชนคนธรรมดาด้วยก็คือเหตุการณ์ 14 ตุลาคม ปี พ.ศ. 2516 ที่ทำให้ข้าราชการถูกลดบทบาททางการเมืองลง และนักการเมืองมีบทบาทเพิ่มมากขึ้น อันเนื่องมาจากประชาชนคนชั้นกลางมีความตื่นตัวทางการเมืองเพิ่มมากขึ้น ในช่วงเวลาดังกล่าวที่เริ่มมีการช่วงชิงอำนาจการนำระหว่างข้าราชการและนักการเมืองอย่างรุนแรง เป็นผลให้เกิดการใช้กำลังแย่งชิงอำนาจรัฐเกิดขึ้น และในที่สุดพัฒนาสู่ขั้นการออมชอมระหว่างพลังอำนาจทั้งสอง อาจกล่าวได้ว่าประชาธิปไตยครึ่งใบคือสภาวะของการออมชอมระหว่างกลุ่มอำนาจสองฝ่ายดังกล่าว
ช่วงเวลาที่เรียกขานกันว่าประชาธิปไตยครึ่งใบเห็นจะได้แก่ยุคสมัย พล.อ. เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ และ พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ปี พ.ศ. 2520-2531 หรือในช่วงที่รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2521 มีผลบังคับใช้ หลังจากนั้น เมื่อ พล.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณ หัวหน้าพรรคชาติไทยขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี ในปี พ.ศ. 2531 เราไม่เรียกว่ายุคประชาธิปไตยครึ่งใบอีกต่อไป