ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประชาสันติ"
ลไม่มีความย่อการแก้ไข |
ลไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 1: | บรรทัดที่ 1: | ||
'''ผู้เรียบเรียง''' นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ | '''ผู้เรียบเรียง''' รองศาสตราจารย์ ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ | ||
---- | ---- | ||
บรรทัดที่ 24: | บรรทัดที่ 24: | ||
[[หมวดหมู่:รายชื่อพรรคการเมืองไทย]] | [[หมวดหมู่:รายชื่อพรรคการเมืองไทย]] | ||
[[หมวดหมู่:รองศาสตราจารย์ ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์]] |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 16:03, 5 ตุลาคม 2554
ผู้เรียบเรียง รองศาสตราจารย์ ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร และ รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต
พรรคประชาสันติ
หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 อันส่งผลให้การปกครองภายใต้รัฐบาลของจอมพลถนอม กิตติขจร สิ้นสุดลง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง นายสัญญา ธรรมศักดิ์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และจัดตั้งรัฐบาลรักษาการณ์ขึ้น พร้อมทั้งได้โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติขึ้นเพื่อทำหน้าที่จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ นั่นคือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2517 หลังจากประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่แล้ว รัฐบาลได้กำหนดให้มีการจัดการเลือกตั้งทั่วไปขึ้นในวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2518
ในขณะเดียวกันก็มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2517 ซึ่งถือเป็นพระราชบัญญัติพรรคการเมืองฉบับที่สาม ส่งผลให้กลุ่มการเมืองต่าง ๆ มีการเคลื่อนไหวรวมตัวจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นเป็นจำนวนมาก นับตั้งแต่การประกาศใช้พระราชบัญญัติพรรคการเมืองฉบับนี้จนถึงก่อนการเลือกตั้งทั่วไปวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2516 มีพรรคการเมืองที่จดทะเบียนจัดตั้งรวมแล้วกว่า 43 พรรค ซึ่งพรรคประชาสันติ เป็นหนึ่งในพรรคการเมืองที่จัดตั้งขึ้นในช่วงดังกล่าว
พรรคประชาสันติ มีนางธนาวดี บิณษรี เป็นหัวหน้าพรรค มีเลขาธิการพรรค คือ พ.ต.ชาญ ทันอินทรอาจ โดยพรรคประชาสันติประกาศแนวทางการดำเนินนโยบายแบบรัฐสวัสดิการ ในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2518 พรรคประชาสันติได้ส่งผู้สมัครของพรรคลงสมัครรับเลือกตั้งด้วย แต่ผู้สมัครของพรรคขบวนการมวลชนไม่ได้รับการเลือกตั้งแม้แต่คนเดียว
ที่มา
จเร พันธุ์เปรื่อง, “พรรคการเมืองกับการเลือกตั้งทั่วไป 2526,” รัฐสภาสาร ปีที่ 31 ฉบับที่ 4 (เมษายน 2526), หน้า 10-26.
เสนีย์ คำสุข, “ข้อมูลพื้นฐานพรรคการเมือง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475-2544,” รัฐสภาสาร ปีที่ 49 ฉบับที่ 11 (พฤศจิกายน 2544), หน้า 17-70.
สงวน คำวงษ์ศา, “พรรคการเมืองของไทย,” รัฐสภาสาร ปีที่ 26 ฉบับที่ 6 (มิถุนายน 2521), หน้า 1-16.