ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นิติมหาชน (พ.ศ. 2543)"
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
ลไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 7: | บรรทัดที่ 7: | ||
---- | ---- | ||
==พรรคนิติมหาชน== | |||
พรรคนิติมหาชน เรียกชื่อหรือเขียนชื่อย่อว่า “น.ม.” เรียกชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า “LAWYER PUBLIC PARTY” เรียกชื่อหรือเขียนชื่อเป็นภาษาอังกฤษโดยย่อว่า “L.P.P.” ขึ้นทะเบียนเป็นพรรคการเมืองเลขที่ 16/2543 ได้รับการจดทะเบียนเมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2543<ref>ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 117 ตอนพิเศษ 106 ง, วันที่ 13 ตุลาคม 2543, หน้า 15, 20-22.</ref> | พรรคนิติมหาชน เรียกชื่อหรือเขียนชื่อย่อว่า “น.ม.” เรียกชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า “LAWYER PUBLIC PARTY” เรียกชื่อหรือเขียนชื่อเป็นภาษาอังกฤษโดยย่อว่า “L.P.P.” ขึ้นทะเบียนเป็นพรรคการเมืองเลขที่ 16/2543 ได้รับการจดทะเบียนเมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2543<ref>ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 117 ตอนพิเศษ 106 ง, วันที่ 13 ตุลาคม 2543, หน้า 15, 20-22.</ref> | ||
บรรทัดที่ 22: | บรรทัดที่ 21: | ||
สีทอง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรืองของชนในชาติ | สีทอง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรืองของชนในชาติ | ||
ความหมายว่า พรรคนิติมหาชน มุ่งส่งเสริมความรู้ด้านกฎหมายพื้นฐานแก่ประชาชนทุกหมู่เหล่า ทั้งนี้เพื่อจะทำให้เกิดความสงบสุขและความเจริญรุ่งเรืองเกิดขึ้นในสังคมและประเทศชาติ | ความหมายว่า พรรคนิติมหาชน มุ่งส่งเสริมความรู้ด้านกฎหมายพื้นฐานแก่ประชาชนทุกหมู่เหล่า ทั้งนี้เพื่อจะทำให้เกิดความสงบสุขและความเจริญรุ่งเรืองเกิดขึ้นในสังคมและประเทศชาติ ตรายางเครื่องหมายสำหรับประทับรับรองเอกสารของพรรคเป็นเครื่องหมายย่อในลักษณะเดียวกัน หากแต่ใช้สีเดียวล้วน และสีพื้นของเครื่องหมายไม่มี <ref>ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 117 ตอนพิเศษ 106 ง, วันที่ 13 ตุลาคม 2543, หน้า 15, 20-22.</ref> | ||
ตรายางเครื่องหมายสำหรับประทับรับรองเอกสารของพรรคเป็นเครื่องหมายย่อในลักษณะเดียวกัน หากแต่ใช้สีเดียวล้วน และสีพื้นของเครื่องหมายไม่มี <ref>ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 117 ตอนพิเศษ 106 ง, วันที่ 13 ตุลาคม 2543, หน้า 15, 20-22.</ref> | |||
ที่ตั้งสำนักงานใหญ่พรรคนิติมหาชน ตั้งอยู่ที่ 56/21 หมู่ที่ 14 ถนนรามอินทรา 42 แขวงคันนายาว เขตคันนายาว กรุงเทพมหานคร 10230<ref>ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 117 ตอนพิเศษ 106 ง, วันที่ 13 ตุลาคม 2543, หน้า 22.</ref> | ที่ตั้งสำนักงานใหญ่พรรคนิติมหาชน ตั้งอยู่ที่ 56/21 หมู่ที่ 14 ถนนรามอินทรา 42 แขวงคันนายาว เขตคันนายาว กรุงเทพมหานคร 10230<ref>ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 117 ตอนพิเศษ 106 ง, วันที่ 13 ตุลาคม 2543, หน้า 22.</ref> | ||
==อุดมการณ์และวัตถุประสงค์ของพรรค<ref>ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 117 ตอนพิเศษ 106 ง, วันที่ 13 ตุลาคม 2543, หน้า 22.</ref>== | |||
1. พรรคจัดตั้งขึ้นมาเพื่อให้เป็นพรรคการเมืองของปวงชนชาวไทยและดำเนินทางการเมืองตามวิถีแห่ง[[ระบอบประชาธิปไตย]]อันมี[[พระมหากษัตริย์]]ทรงเป็นประมุข | 1. พรรคจัดตั้งขึ้นมาเพื่อให้เป็นพรรคการเมืองของปวงชนชาวไทยและดำเนินทางการเมืองตามวิถีแห่ง[[ระบอบประชาธิปไตย]]อันมี[[พระมหากษัตริย์]]ทรงเป็นประมุข | ||
บรรทัดที่ 43: | บรรทัดที่ 41: | ||
==นโยบายพรรคนิติมหาชน พ.ศ. 2543<ref>ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 117 ตอนพิเศษ 106 ง, วันที่ 13 ตุลาคม 2543, หน้า 15-20.</ref> == | |||
พรรคนิติมหาชน จะส่งเสริมความรู้ทางด้านกฎหมายชั้นพื้นฐานตลอดจนสิทธิอันพึงมีพึงได้จากรัฐแก่ประชาชนทั้งมวลเพื่อที่ประชาชนทุกคนควรต้องรู้กฎหมายขั้นพื้นฐานเพื่อเป็นการดำรงชีพประจำวันและจะทำให้เกิดความสงบสุขขึ้นในสังคมและประเทศชาติ | พรรคนิติมหาชน จะส่งเสริมความรู้ทางด้านกฎหมายชั้นพื้นฐานตลอดจนสิทธิอันพึงมีพึงได้จากรัฐแก่ประชาชนทั้งมวลเพื่อที่ประชาชนทุกคนควรต้องรู้กฎหมายขั้นพื้นฐานเพื่อเป็นการดำรงชีพประจำวันและจะทำให้เกิดความสงบสุขขึ้นในสังคมและประเทศชาติ | ||
บรรทัดที่ 80: | บรรทัดที่ 78: | ||
<references/> | <references/> | ||
[[หมวดหมู่:รายชื่อพรรคการเมืองไทย]] | [[หมวดหมู่:รายชื่อพรรคการเมืองไทย]] | ||
[[หมวดหมู่:ชาย ไชยชิต]] |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 11:54, 4 ตุลาคม 2554
ผู้เรียบเรียง ชาย ไชยชิต
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร และ รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต
พรรคนิติมหาชน
พรรคนิติมหาชน เรียกชื่อหรือเขียนชื่อย่อว่า “น.ม.” เรียกชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า “LAWYER PUBLIC PARTY” เรียกชื่อหรือเขียนชื่อเป็นภาษาอังกฤษโดยย่อว่า “L.P.P.” ขึ้นทะเบียนเป็นพรรคการเมืองเลขที่ 16/2543 ได้รับการจดทะเบียนเมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2543[1]
โดยมีเครื่องหมายสัญลักษณ์คือเป็นรูปวงกลม ภายในวงกลมด้านในเป็นรูปพานรัฐธรรมนูญ มีพื้นสีขาว ส่วนตราชูเป็นสีน้ำเงิน ลายกนกเป็นสีทอง และมีพื้นเป็นสีขาว ภายในวงกลมด้านนอกมีอักษรภาษาไทยว่า “พรรคนิติมหาชน” และอักษรภาษาอังกฤษว่า “LAWYER PUBLIC PARTY” เป็นสีน้ำเงินและลายกนกเป็นสีแดง ซึ่งมีความหมายของสีดังนี้ [2]
สีแดง หมายถึง ชาติ (ประชาชน)
สีขาว หมายถึง ประชาธิปไตยที่ขาวสะอาด บริสุทธิ์
สีน้ำเงิน หมายถึง ความมั่นคง
สีทอง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรืองของชนในชาติ
ความหมายว่า พรรคนิติมหาชน มุ่งส่งเสริมความรู้ด้านกฎหมายพื้นฐานแก่ประชาชนทุกหมู่เหล่า ทั้งนี้เพื่อจะทำให้เกิดความสงบสุขและความเจริญรุ่งเรืองเกิดขึ้นในสังคมและประเทศชาติ ตรายางเครื่องหมายสำหรับประทับรับรองเอกสารของพรรคเป็นเครื่องหมายย่อในลักษณะเดียวกัน หากแต่ใช้สีเดียวล้วน และสีพื้นของเครื่องหมายไม่มี [3]
ที่ตั้งสำนักงานใหญ่พรรคนิติมหาชน ตั้งอยู่ที่ 56/21 หมู่ที่ 14 ถนนรามอินทรา 42 แขวงคันนายาว เขตคันนายาว กรุงเทพมหานคร 10230[4]
อุดมการณ์และวัตถุประสงค์ของพรรค[5]
1. พรรคจัดตั้งขึ้นมาเพื่อให้เป็นพรรคการเมืองของปวงชนชาวไทยและดำเนินทางการเมืองตามวิถีแห่งระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
2. พรรคจักเป็นตัวแทนของปวงชนชาวไทยทั้งปวงโดยไม่จำกัดเชื้อชาติ ศาสนา และไม่เลือกว่าปวงชนนั้นๆจะอยู่ในองค์กรใด เว้นไว้แต่บุคคลหรือองค์กรนั้นๆ เป็นปรปักษ์ต่อความมั่นคงของชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์
3. พรรคจักรักษาวัฒนธรรม คุณธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของชาติ
4. พรรคจักยึดมั่นและปฏิบัติตามข้อบังคับและนโยบายของพรรคด้วยวิธีการประชาธิปไตย
5. พรรคจักปฏิบัติงานทางการเมืองเพื่อมุ่งมั่นที่จะรักษาผลประโยชน์ของปวงชนชาวไทยและประเทศชาติเป็นหลัก
6. พรรคจักรักษาและสร้างเสริมสัมพันธไมตรีกับทุกชาติทุกประเทศในสากลโลกในลักษณะประสานประโยชน์และอย่างมีเกียรติแก่กันและกัน
นโยบายพรรคนิติมหาชน พ.ศ. 2543[6]
พรรคนิติมหาชน จะส่งเสริมความรู้ทางด้านกฎหมายชั้นพื้นฐานตลอดจนสิทธิอันพึงมีพึงได้จากรัฐแก่ประชาชนทั้งมวลเพื่อที่ประชาชนทุกคนควรต้องรู้กฎหมายขั้นพื้นฐานเพื่อเป็นการดำรงชีพประจำวันและจะทำให้เกิดความสงบสุขขึ้นในสังคมและประเทศชาติ
1. นโยบายด้านการเมืองและการปกครอง เทิดทูนพระมหากษัตริย์และยึดมั่นการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทางเป็นประมุข ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการปกครอง สร้างระบบบริหารจัดการของภาครัฐให้มีความโปร่งใส เสริมสร้างกระบวนการปฏิรูปการเมืองและการสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองที่ดีอย่างต่อเนื่อง และผลักดันกระบวนการปฏิรูปราชการ
2. นโยบายด้านเศรษฐกิจ ส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน เพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจของพื้นที่ชายแดน ปรับกลไกมาตรการและกฎระเบียบภาครัฐที่เอื้ออำนวยต่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ปรับโครงสร้างการผลิตเพื่อพัฒนาฐานการผลิต พัฒนาเศรษฐกิจมหภาค และส่งเสริมระบบสถาบันการเงินและสนับสนุนเงินบาทให้เป็นเงินสกุลสากล
3. นโยบายด้านสังคมและวัฒนธรรม ขจัดแก่งอบายมุข ยาเสพย์ติด และสิ่งที่เป็นภัยต่อสังคมและวัฒนธรรมไทย จัดที่อยู่ให้แก่ผู้มีรายได้น้อย ให้การสงเคราะห์ผู้ไร้ที่พึ่ง คนพิการ ทุพพลภาพ และผู้ไม่สามารถช่วยตัวเองได้อย่างทั่วถึง ส่งเสริมสิทธิของสตรีให้มีความเท่าเทียมกับชาย และจัดให้ระบบบริการพื้นฐานแก่คนจนอย่างทั่วถึง
4. นโยบายด้านการศึกษา ขยายการศึกษาภาคบังคับให้ถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย ส่งเสริมการศึกษานอกระบบ ปฏิรูปการศึกษาตั้งแต่ชั้นอนุบาล เน้นวิธีคิดที่ริเริ่มสร้างสรรค์และมีจินตนาการ และกระจายอำนาจการศึกษาสู่ท้องถิ่นให้มีส่วนร่วมทางการศึกษา
5. นโยบายด้านสาธารณสุข พัฒนาระบบบริการสาธารณสุขและระบบสวัสดิการทางสังคมที่มีคุณธรรมและเป็นธรรมทั่วถึงและคุ้มครองต่อเนื่อง และจัดตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชนที่บริหารโดยชุมชนและสนับสนุนให้เชื่อมโยงเป็นเครือข่าย
6. นโยบายด้านแรงงาน พัฒนาฝีมือแรงงาน เพื่อยกระดับแรงงานของไทย รวมถึงยกระดับมาตรฐานการดำรงชีพ และคุ้มครองแรงงานเด็ก สตรีไม่ให้ถูกเอารัดเอาเปรียบจากนายจ้าง
7. นโยบายด้านความมั่นคงและการต่างประเทศ ส่งเสริมและสนับสนุนให้กองทัพกระทำตามบทบาทหน้าที่ที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ ส่งเสริมพัฒนากำลังคนทุกระดับให้มีความรู้ทักษะด้านวิศวกรรม ด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีเพื่อพัฒนากองทัพและประเทศ และพัฒนาสวัสดิการแก่ทหารและครอบครัว
8. นโยบายด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม รณรงค์การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน สร้างจิตสำนึกการอนุรักษ์ป่าและสิ่งแวดล้อม และแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้ทันสมัยและกำหนดมาตรการลงโทษทางสังคม
พรรคนิติมหาชนเคยมีส่วนร่วมในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2544 โดยยื่นบัญชีรายชื่อผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 4 คน (1. นายรณยุทธ ศรียิ่งยงค์ 2. พล.อ.อำพน อมรวิสัยสรเดช 3. พ.อ.ศุภกิจ ประเสริฐพงศ์ธร 4. พ.อ.นันทน์ นวลศรี)[7] ซึ่งได้หมายเลขของส.ส.บัญชีรายชื่อหมายเลข 4 และเคยแถลงนโยบายของพรรคที่โทรทัศน์ช่อง 7 วันที่ 12 ธันวาคม 2543 เวลา 7.30 น.[8]
จนกระทั่งศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งที่ 16/2544 ลงวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2544 ให้ยุบพรรคนิติมหาชนตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 มาตรา 65 วรรคสอง เนื่องจากไม่ดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 ที่บัญญัติว่า ต้องจัดทำรายงานการดำเนินกิจการของพรรคการเมืองในรอบปีปฏิทินที่ผ่านมา (พ.ศ. 2543) ให้ถูกต้องตามความเป็นจริง ตามวิธีการที่นายทะเบียนพรรคการเมืองกำหนด และแจ้งให้นายทะเบียนพรรคการเมืองทราบภายในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2544 เพื่อประกาศให้สาธารณชนทราบ ซึ่งเมื่อพ้นระยะเวลาที่กำหนดแล้ว พรรคนิติมหาชนไม่ดำเนินการให้เป็นไปตามพรบ.ดังกล่าว ซึ่งหัวหน้าพรรคนิติมหาชนส่งคำชี้แจงลงวันที่ 22 มิถุนายน 2544 โต้แย้งว่า พรรคนิติมหาชนใช้จ่ายเงินในการดำเนินกิจการของพรรคจากทุนทรัพย์ที่พรรคจัดหามาเองมิใช่เงินสนับสนุนจากกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง อีกทั้ง นายทะเบียนพรรคการเมืองมิได้มีหนังสือเตือนให้พรรคจัดส่งรายงานการดำเนินกิจการของพรรคแต่อย่างใด ดังนั้นจึงเป็นความผิดพลาดที่มิได้เจตนาและจงใจประการใด แต่ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาแล้วเห็นว่ารับฟังไม่ได้จึงมีคำสั่งให้ยุบพรรค [9]
นอกจากนี้ยังมีสมาชิกพรรคนิติมหาชน 44 คน ที่ไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินตาม พ.ร.บ.พรรคการเมือง[10]
อ้างอิง
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 117 ตอนพิเศษ 106 ง, วันที่ 13 ตุลาคม 2543, หน้า 15, 20-22.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 117 ตอนพิเศษ 106 ง, วันที่ 13 ตุลาคม 2543, หน้า 15, 20-22.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 117 ตอนพิเศษ 106 ง, วันที่ 13 ตุลาคม 2543, หน้า 15, 20-22.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 117 ตอนพิเศษ 106 ง, วันที่ 13 ตุลาคม 2543, หน้า 22.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 117 ตอนพิเศษ 106 ง, วันที่ 13 ตุลาคม 2543, หน้า 22.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 117 ตอนพิเศษ 106 ง, วันที่ 13 ตุลาคม 2543, หน้า 15-20.
- ↑ http://www.ryt9.com/s/refg/240877/
- ↑ เดลินิวส์, 12 ธันวาคม 2543.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 118 ตอนพิเศษ 120 ง, 3 ธันวาคม 2544, หน้า 38. และราชกิจจานุเบกษา เล่ม 119 ตอนที่ 46 ก, 21 พฤษภาคม 2545, หน้า 109-112.
- ↑ มติชน, 18 มีนาคม 2546.