ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คำสั่งและประกาศ คปค.กับการเมืองไทย"
หน้าที่ถูกสร้างด้วย ''''ผู้เรียบเรียง''' กิตติพงศ์ กมลธรรมวงศ์ ---- '''ผู้ทรง...' |
ลไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 8: | บรรทัดที่ 8: | ||
==คำสั่งและประกาศ คปก.กับการเมืองไทย== | ==คำสั่งและประกาศ คปก.กับการเมืองไทย== | ||
คปก. หรือชื่อเต็มคือ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข | คปก. หรือชื่อเต็มคือ [[คณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย|คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข]] เป็นคณะรัฐประหารที่นำโดย[[พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน]] ผู้บัญชาการทหารบก ได้ทำการรัฐประหารยึดอำนาจจากรัฐบาลของ [[ทักษิณ ชินวัตร|พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร]] เมื่อวันที่ [[19 กันยายน 2549]] การรัฐประหารครั้งนี้ได้ก่อให้เกิดประเด็นวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง ซึ่งผลกระทบต่อการเมืองไทยก็ยังคงมีอยู่ให้เห็นจนถึงทุกวันนี้ แม้ในวันแรกของการยึดอำนาจรัฐได้จะมีประชาชนจำนวนมากออกมาสนับสนุนด้วยการนำดอกกุหลาบและสิ่งของต่างๆมาให้ทหารที่ปฏิบัติหน้าที่ก็ตาม รวมถึงสื่อมวลชน นักวิชาการหลายท่านที่แม้ไม่เห็นด้วยแต่ก็เข้าใจถึงเหตุผลของสภาพสถานการณ์ทางการเมืองที่ทำ เพราะเห็นว่าเป็นทางออกในการแก้ไขวิกฤตทางการเมือง เพื่อป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์ปะทะกันของประชาชนด้วยกันที่อาจจะเกิดขึ้นในวันรุ่งขึ้นที่มีการนัดชุมนุมกันของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กับผู้สนับสนุนอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร | ||
แต่ทั้งนี้บทสรุปผลงานของคณะรัฐประหารในสายตาประชาชนอีกหนึ่งปีต่อมา ก็คือ ฉายาต่างๆที่แสดงให้เห็นถึงความล้มเหลวของคณะรัฐประหารที่ใช้อำนาจไม่เด็ดขาด โดยไม่สามารถแก้ไขวิกฤตการเมืองได้จริง เช่น รัฐประหารหน่อมแน้ม รัฐประหารที่ฉี่ไม่สุด เป็นต้น ขณะที่มีบางภาคส่วนในสังคมไทยได้มีมุมมองว่าต้นเหตุของวิกฤตทางการเมืองปัจจุบันที่มีการแตกแยกทางความคิด ขัดแย้งรุนแรง ระหว่างผู้สนับสนุนในตัวอดีตนายกฯทักษิณ กับฝ่ายต่อต้าน ก็คือการรัฐประหารวันที่ 19 กันยายน 2549 นั่นเอง เพราะเชื่อว่าหากไม่มีการทำรัฐประหาร ถึงอย่างไรนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร คงไม่สามารถดำรงตำแหน่งได้เพราะกระแสสังคมและประชาชนทั่วไปไม่ยอมรับอย่างกว้างขวาง พลังของภาคประชาชนจะเป็นผู้ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองได้อย่างปรกติตามวิถีทางประชาธิปไตยได้ ซึ่งนับว่าเป็นการมองโลกอย่างสุขนิยมมากเพราะไม่เชื่อว่าจะเกิดเหตุการณ์ปะทะกันของประชาชนในวันที่ 20 กันยายน 2549 ขึ้น แต่ก็มีข้อเท็จจริงอีกทางหนึ่งที่ได้เปิดเผยให้สังคมทั่วไปได้รับทราบภายหลังเหตุการณ์รัฐประหารว่ามีแนวโน้มความรุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้นได้เพราะมีการเคลื่อนไหวที่ผิดปรกติของคนบางกลุ่ม | แต่ทั้งนี้บทสรุปผลงานของคณะรัฐประหารในสายตาประชาชนอีกหนึ่งปีต่อมา ก็คือ ฉายาต่างๆที่แสดงให้เห็นถึงความล้มเหลวของคณะรัฐประหารที่ใช้อำนาจไม่เด็ดขาด โดยไม่สามารถแก้ไขวิกฤตการเมืองได้จริง เช่น [[รัฐประหารหน่อมแน้ม]] [[รัฐประหารที่ฉี่ไม่สุด]] เป็นต้น ขณะที่มีบางภาคส่วนในสังคมไทยได้มีมุมมองว่าต้นเหตุของวิกฤตทางการเมืองปัจจุบันที่มีการแตกแยกทางความคิด ขัดแย้งรุนแรง ระหว่างผู้สนับสนุนในตัวอดีตนายกฯทักษิณ กับฝ่ายต่อต้าน ก็คือการรัฐประหารวันที่ 19 กันยายน 2549 นั่นเอง เพราะเชื่อว่าหากไม่มีการทำรัฐประหาร ถึงอย่างไรนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร คงไม่สามารถดำรงตำแหน่งได้เพราะกระแสสังคมและประชาชนทั่วไปไม่ยอมรับอย่างกว้างขวาง พลังของภาคประชาชนจะเป็นผู้ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองได้อย่างปรกติตามวิถีทางประชาธิปไตยได้ ซึ่งนับว่าเป็นการมองโลกอย่างสุขนิยมมากเพราะไม่เชื่อว่าจะเกิดเหตุการณ์ปะทะกันของประชาชนในวันที่ 20 กันยายน 2549 ขึ้น แต่ก็มีข้อเท็จจริงอีกทางหนึ่งที่ได้เปิดเผยให้สังคมทั่วไปได้รับทราบภายหลังเหตุการณ์รัฐประหารว่ามีแนวโน้มความรุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้นได้เพราะมีการเคลื่อนไหวที่ผิดปรกติของคนบางกลุ่ม | ||
การรัฐประหารวันที่ 19 กันยายน 2549 โดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้เกิดขึ้นและจบไปแล้ว แต่ข้อถกเถียงต่างๆและผลพ่วงจากการรัฐประหารครั้งนี้ก็ยังเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อเนื่องมาถึงสถานการณ์การเมืองไทยปัจจุบันที่พัฒนาประเด็นปัญหาให้มีความสลับซับซ้อนยิ่งขึ้น ไม่เพียงแต่เป็นปัญหาการเมืองในประเทศจากการเกิดขึ้นของกลุ่มนปช. หรือชื่อเต็มคือ แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ซึ่งสังคมไทยรู้จักกันดีว่ากลุ่มเสื้อแดง ที่ได้เคลื่อนไหวเรียกร้องในประเด็นต่างๆทางการเมืองมาโดยซึ่งสังคมไทยก็ทราบดีว่าเป็นพลังมวลชนที่สนับสนุนอดีตนายกฯทักษิณที่ถูกรัฐประหาร ซึ่งหากเป็นการเคลื่อนไหวตามปรกติย่อมเป็นสิทธิที่มีการรับรองไว้โดยรัฐธรรมนูญและยอมรับในฐานเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการประชาธิปไตย แต่สังคมไทยก็ทราบดีว่าการเคลื่อนไหวของคนกลุ่มนี้ได้ล้ำเส้นของการใช้สิทธิในวิถีทางประชาธิปไตยไปมากเพราะเป็นกลุ่มคนที่ก่อให้เกิดความวุ่ยวายจนทำให้การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนบวกสามที่พัทยาในช่วงเดือนเมษายน 2552 ต้องล้มเลิกกลางคันเพราะผู้ชุมนุมบุกรุกเข้าไปยังโรงแรมรอยัล คริฟ บีช ส่งผลเป็นการทำลายภาพพจน์ของประเทศและความเชื่อมั่นมหาศาล และกลายเป็นเหตุการณ์จลาจลในกรุงเทพมหานครในช่วงสงกรานต์ จากการใช้ความรุนแรงปิดถนน หลายสาย มีการเผาสิ่งของ รถโดยสารประจำทาง ตลอดจนมีการไล่ล่าทำร้ายบุคคลสำคัญในรัฐบาลที่กระทรวงมหาดไทย ปรากฏเป็นข่าวทั้งภาพและเสียงออกไปทั่วโลก จนในที่สุดได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติสถานการณ์ฉุกเฉินในเขคกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เพื่อเป็นเครื่องมือในการแก้ไขสถานการณ์โดยใช้กำลังทหารเข้าควบคุม และคลี่คลายได้ในที่สุด | การรัฐประหารวันที่ 19 กันยายน 2549 โดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้เกิดขึ้นและจบไปแล้ว แต่ข้อถกเถียงต่างๆและผลพ่วงจากการรัฐประหารครั้งนี้ก็ยังเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อเนื่องมาถึงสถานการณ์การเมืองไทยปัจจุบันที่พัฒนาประเด็นปัญหาให้มีความสลับซับซ้อนยิ่งขึ้น ไม่เพียงแต่เป็นปัญหาการเมืองในประเทศจากการเกิดขึ้นของกลุ่มนปช. หรือชื่อเต็มคือ แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ซึ่งสังคมไทยรู้จักกันดีว่ากลุ่มเสื้อแดง ที่ได้เคลื่อนไหวเรียกร้องในประเด็นต่างๆทางการเมืองมาโดยซึ่งสังคมไทยก็ทราบดีว่าเป็นพลังมวลชนที่สนับสนุนอดีตนายกฯทักษิณที่ถูกรัฐประหาร ซึ่งหากเป็นการเคลื่อนไหวตามปรกติย่อมเป็นสิทธิที่มีการรับรองไว้โดยรัฐธรรมนูญและยอมรับในฐานเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการประชาธิปไตย แต่สังคมไทยก็ทราบดีว่าการเคลื่อนไหวของคนกลุ่มนี้ได้ล้ำเส้นของการใช้สิทธิในวิถีทางประชาธิปไตยไปมากเพราะเป็นกลุ่มคนที่ก่อให้เกิดความวุ่ยวายจนทำให้การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนบวกสามที่พัทยาในช่วงเดือนเมษายน 2552 ต้องล้มเลิกกลางคันเพราะผู้ชุมนุมบุกรุกเข้าไปยังโรงแรมรอยัล คริฟ บีช ส่งผลเป็นการทำลายภาพพจน์ของประเทศและความเชื่อมั่นมหาศาล และกลายเป็นเหตุการณ์จลาจลในกรุงเทพมหานครในช่วงสงกรานต์ จากการใช้ความรุนแรงปิดถนน หลายสาย มีการเผาสิ่งของ รถโดยสารประจำทาง ตลอดจนมีการไล่ล่าทำร้ายบุคคลสำคัญในรัฐบาลที่กระทรวงมหาดไทย ปรากฏเป็นข่าวทั้งภาพและเสียงออกไปทั่วโลก จนในที่สุดได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติสถานการณ์ฉุกเฉินในเขคกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เพื่อเป็นเครื่องมือในการแก้ไขสถานการณ์โดยใช้กำลังทหารเข้าควบคุม และคลี่คลายได้ในที่สุด |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:50, 25 เมษายน 2554
ผู้เรียบเรียง กิตติพงศ์ กมลธรรมวงศ์
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร และ รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต
คำสั่งและประกาศ คปก.กับการเมืองไทย
คปก. หรือชื่อเต็มคือ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เป็นคณะรัฐประหารที่นำโดยพลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบก ได้ทำการรัฐประหารยึดอำนาจจากรัฐบาลของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 การรัฐประหารครั้งนี้ได้ก่อให้เกิดประเด็นวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง ซึ่งผลกระทบต่อการเมืองไทยก็ยังคงมีอยู่ให้เห็นจนถึงทุกวันนี้ แม้ในวันแรกของการยึดอำนาจรัฐได้จะมีประชาชนจำนวนมากออกมาสนับสนุนด้วยการนำดอกกุหลาบและสิ่งของต่างๆมาให้ทหารที่ปฏิบัติหน้าที่ก็ตาม รวมถึงสื่อมวลชน นักวิชาการหลายท่านที่แม้ไม่เห็นด้วยแต่ก็เข้าใจถึงเหตุผลของสภาพสถานการณ์ทางการเมืองที่ทำ เพราะเห็นว่าเป็นทางออกในการแก้ไขวิกฤตทางการเมือง เพื่อป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์ปะทะกันของประชาชนด้วยกันที่อาจจะเกิดขึ้นในวันรุ่งขึ้นที่มีการนัดชุมนุมกันของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กับผู้สนับสนุนอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร
แต่ทั้งนี้บทสรุปผลงานของคณะรัฐประหารในสายตาประชาชนอีกหนึ่งปีต่อมา ก็คือ ฉายาต่างๆที่แสดงให้เห็นถึงความล้มเหลวของคณะรัฐประหารที่ใช้อำนาจไม่เด็ดขาด โดยไม่สามารถแก้ไขวิกฤตการเมืองได้จริง เช่น รัฐประหารหน่อมแน้ม รัฐประหารที่ฉี่ไม่สุด เป็นต้น ขณะที่มีบางภาคส่วนในสังคมไทยได้มีมุมมองว่าต้นเหตุของวิกฤตทางการเมืองปัจจุบันที่มีการแตกแยกทางความคิด ขัดแย้งรุนแรง ระหว่างผู้สนับสนุนในตัวอดีตนายกฯทักษิณ กับฝ่ายต่อต้าน ก็คือการรัฐประหารวันที่ 19 กันยายน 2549 นั่นเอง เพราะเชื่อว่าหากไม่มีการทำรัฐประหาร ถึงอย่างไรนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร คงไม่สามารถดำรงตำแหน่งได้เพราะกระแสสังคมและประชาชนทั่วไปไม่ยอมรับอย่างกว้างขวาง พลังของภาคประชาชนจะเป็นผู้ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองได้อย่างปรกติตามวิถีทางประชาธิปไตยได้ ซึ่งนับว่าเป็นการมองโลกอย่างสุขนิยมมากเพราะไม่เชื่อว่าจะเกิดเหตุการณ์ปะทะกันของประชาชนในวันที่ 20 กันยายน 2549 ขึ้น แต่ก็มีข้อเท็จจริงอีกทางหนึ่งที่ได้เปิดเผยให้สังคมทั่วไปได้รับทราบภายหลังเหตุการณ์รัฐประหารว่ามีแนวโน้มความรุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้นได้เพราะมีการเคลื่อนไหวที่ผิดปรกติของคนบางกลุ่ม
การรัฐประหารวันที่ 19 กันยายน 2549 โดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้เกิดขึ้นและจบไปแล้ว แต่ข้อถกเถียงต่างๆและผลพ่วงจากการรัฐประหารครั้งนี้ก็ยังเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อเนื่องมาถึงสถานการณ์การเมืองไทยปัจจุบันที่พัฒนาประเด็นปัญหาให้มีความสลับซับซ้อนยิ่งขึ้น ไม่เพียงแต่เป็นปัญหาการเมืองในประเทศจากการเกิดขึ้นของกลุ่มนปช. หรือชื่อเต็มคือ แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ซึ่งสังคมไทยรู้จักกันดีว่ากลุ่มเสื้อแดง ที่ได้เคลื่อนไหวเรียกร้องในประเด็นต่างๆทางการเมืองมาโดยซึ่งสังคมไทยก็ทราบดีว่าเป็นพลังมวลชนที่สนับสนุนอดีตนายกฯทักษิณที่ถูกรัฐประหาร ซึ่งหากเป็นการเคลื่อนไหวตามปรกติย่อมเป็นสิทธิที่มีการรับรองไว้โดยรัฐธรรมนูญและยอมรับในฐานเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการประชาธิปไตย แต่สังคมไทยก็ทราบดีว่าการเคลื่อนไหวของคนกลุ่มนี้ได้ล้ำเส้นของการใช้สิทธิในวิถีทางประชาธิปไตยไปมากเพราะเป็นกลุ่มคนที่ก่อให้เกิดความวุ่ยวายจนทำให้การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนบวกสามที่พัทยาในช่วงเดือนเมษายน 2552 ต้องล้มเลิกกลางคันเพราะผู้ชุมนุมบุกรุกเข้าไปยังโรงแรมรอยัล คริฟ บีช ส่งผลเป็นการทำลายภาพพจน์ของประเทศและความเชื่อมั่นมหาศาล และกลายเป็นเหตุการณ์จลาจลในกรุงเทพมหานครในช่วงสงกรานต์ จากการใช้ความรุนแรงปิดถนน หลายสาย มีการเผาสิ่งของ รถโดยสารประจำทาง ตลอดจนมีการไล่ล่าทำร้ายบุคคลสำคัญในรัฐบาลที่กระทรวงมหาดไทย ปรากฏเป็นข่าวทั้งภาพและเสียงออกไปทั่วโลก จนในที่สุดได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติสถานการณ์ฉุกเฉินในเขคกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เพื่อเป็นเครื่องมือในการแก้ไขสถานการณ์โดยใช้กำลังทหารเข้าควบคุม และคลี่คลายได้ในที่สุด
ณ ขณะนี้ปัญหาการเมืองภายในประเทศได้พัฒนาไปสู่ปัญหาความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านคือ กัมพูชา ซึ่งได้มีการแต่ตั้งให้อดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ที่ถูกรัฐประหารโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และเป็นผู้ต้องโทษหนีคดีของศาลฏีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในคดีซื้อที่ดินรัชดา เป็นที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจของรัฐบาลกัมพูชา โดยเมื่อรัฐบาลไทยขอตัวให้ส่งผู้ร้ายข้ามแดนก็ถูกรัฐบาลกัมพูชาปฏิเสธ และตอบโต้ว่าเป็นการตัดสินคดีที่ไม่ชอบเพราะผลจากการรัฐประหาร
บรรดาเหตุการณ์ทางการเมืองต่างๆที่เกิดขึ้นภายหลังจากการรัฐประหารวันที่ 19 กันยาน 2549 จึงเป็นครั้งแรกของการรัฐประหารที่อดีตผู้นำรัฐบาลที่ถูกรัฐประหารออกนอกประเทศ ไม่เคยหยุดความต้องการที่จะกลับมามีอำนาจทางการเมืองใหม่อีกครั้ง บทเรียนการรัฐประหารครั้งนี้จึงเป็นสิ่งที่น่าศึกษาเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่จะทำความเข้าใจถึงอนาคตการเมืองไทยนับจากนี้ไป
องค์ประกอบของคณะ คปก.
คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีองค์ประกอบของคณะบุคคลอย่างเป็นทางการในครั้งแรก ภายหลังการทำรัฐประหารตามที่ปรากฎในประกาศ คณะคปค. ฉบับที่ 11 เรื่องแต่งตั้งบุคคลสำคัญดำรงตำแหน่งในคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ลงวันที่ 20 กันยายน 2549 จำนวน 6 ท่าน ดังนี้
1.พลเอกเรืองโรจน์ มหาศรานนท์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานที่ปรึกษาคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
2.พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบก เป็นหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
3.พลเรือเอก สถิรพันธ์ เกยานนท์ ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นรองหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข คนที่ 1
4.พลอากาศเอก ชลิต พุกพาสุข ผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็นรองหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข คนที่ 2
5.พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ ผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นรองหัวหน้า คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข คนที่ 3
6.พลเอก วินัย ภัททิยกุล เลขาธิการสภาความั่นคงแห่งชาติ เป็นเลขาธิการคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
แต่ทั้งนี้ ภายหลังไม่นานก็ได้มีการปรับปรุงองค์ประกอบของคณะ คปก.ใหม่โดยมีการยกเลิกประกาศ คปก.ฉบับที่ 11 และประกาศใช้ ประกาศคปก.ฉบับที่ 24 ลงวันที่ 29 กันยายน 2549 แทน ดังมีรายชื่อต่อไปนี้
1.พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน เป็นหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
2.พลอากาศเอก ชลิต พุกพาสุข เป็นสมาชิกคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข คนที่ 2
3.พลเรือเอก สถิรพันธ์ เกยานนท์ ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นสมาชิกคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
4.พลเอกบุญสร้าง เนียมประดิษฐ เป็นสมาชิกคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
5.พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ เป็นสมาชิกคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
6.พลเอก วินัย ภัททิยกุล เป็นเลขาธิการคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
7.พลโท สพรั่ง กัลยาณมิตร เป็นผู้ช่วยเลขาธิการคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
8.พลโท อนุพงษ์ เผ่าจินดา เป็นผู้ช่วยเลขาธิการคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
สำหรับสมาชิกของคณะรัฐประหาร ชุดนี้มีข้อสังเกตว่า หัวหน้าคณะและสมาชิกที่เป็นผู้บัญชาการเหล่าทัพต่างก็เป็นเพื่อนเรียนรุ่นเดียวกันที่สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 6 คล้ายกับกรณีคณะรัฐประหาร รสช. ที่ระดับผู้บัญชาการกองทัพต่างก็เป็นเพื่อนรุ่นเดียวกันคือจ.ป.ร. 5
สมาชิกของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ต่อมาเมื่อได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 ตามบทบัญญัติมาตรา 34 คณะคปก. ก็ได้เปลี่ยนสถานภาพไปเป็นสมาชิกของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ เป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นเพื่อประโยชน์ในการรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ประกอบด้วยบุคคลตามประกาศของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 24 ลงวันที่ 29 กันยายน พุทธศักราช 2549 โดยประธานคณะมนตรีความั่นคงแห่งชาติอาจแต่งตั้งสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติเพิ่มขึ้นได้อีกไม่เกินสิบห้าคน โดยมีอำนาจตามความในวรรคท้ายของมาตรา 34 ในกรณีที่เห็นสมควรประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติหรือนายกรัฐมนตรีอาจขอให้มีการประชุมร่วมกันของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติและคณะรัฐมนตรี เพื่อร่วมพิจารณาและแก้ไขปัญหาใดๆอันเกี่ยวกับการรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงแห่งชาติ รวมตลอดทั้งการปรึกษาหารือเป็นครั้งคราวในเรื่องอื่นใดก็ได้
เหตุแห่งการรัฐประหารโดย คณะคปก.
สาเหตุของการรัฐประหารครั้งนี้ปรากฏเป็นถ้อยแถลงอย่างเป็นทางการตามแถลงการณ์คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 เวลา 23.50 น. ลงนามโดยพลเอกสนธิ บุณยรัตกลิน หัวหน้าคณะรัฐประหารดังต่อไปนี้
ด้วยเป็นที่ปรากฏความแน่ชัดว่า การบริหารราชการแผ่นดิน โดยรัฐบาลรักษาการปัจจุบันได้ก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้ง แบ่งฝ่าย สลายความรู้รักสามัคคีของชนในชาติ อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนให้ประวัติศาสตร์ชาติไทย ต่างฝ่ายต่างมุ่งหวังเอาชนะ ด้วยวิธีการหลากหลายรูปแบบ และมีแนวโน้มนับวันจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น โดยประชาชนส่วนใหญ่ เคลือบแคลงสงสัย การบริหารราชการแผ่นดิน อันส่อไปในทางทุจริตประพฤติมิชอบอย่างกว้างขวาง หน่วยงาน องค์กรอิสระถูกครอบงำทางการเมือง ไม่สามารถสนองตอบเจตนารมณ์ ตามที่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ทำให้การดำเนินกิจกรรมทางการเมืองเกิดปัญหาและอุปสรรคหลายประการ ตลอดจนหมิ่นเหม่ ต่อการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพแห่งองค์พระมหากษัตริย์ ผู้ทรงเป็นที่เคารพเทิดทูนของปวงชนชาวไทยอยู่บ่อยครั้ง แม้หลายภาคส่วนของสังคม จะได้พยายามประนีประนอม คลี่คลายสถานการณ์มาโดยต่อเนื่องแล้ว แต่ก็ยังไม่สามารถที่จะทำให้สถานการณ์ความขัดแย้งยุติลงได้ ดังนั้นคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขซึ่งประกอบด้วยผู้บัญชาการเหล่าทัพ และผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จึงมีความจำเป็นต้องยึดอำนาจการปกครองแผ่นดิน ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป โดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ขอยืนยันว่า ไม่มีเจตนาเข้ามาเป็นผู้บริหารราชการแผ่นดินเสียเอง แต่จะได้คืนอำนาจการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขกลับคืนสู่ปวงชนชาวไทยโดยเร็วที่สุด ทั้งนี้ เพื่อธำรงรักษาไว้ ซึ่งความสงบสุข และความมั่นคงของชาติ รวมทั้งเทิดทูนไว้ ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์อันเป็นที่เคารพยิ่งของปวงชนของชาวไทยทุกคน
การรัฐประหารครั้งนี้เป็นสิ่งที่สังคมไทยได้คาดเดามาก่อนว่า อาจเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ เมื่อย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่เมื่อใดมีความขัดแย้งรุนแรง หากไม่สามารถหาทางออกได้ตามระบอบประชาธิปไตย แล้วการรัฐประหารก็จะเกิดขึ้น ถ้าจะสืบสาวราวเรื่องขึ้นไปถึงเหตุแห่งการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ก็อาจกล่าวได้ว่าเป็นปัญหาวิกฤตทางการเมืองที่เริ่มสะสมมาตั้งแต่ที่สังคมไทยมีผู้คนหลายฝ่ายทั้งนักวิชาการ พรคฝ่ายค้าน สื่อสารมวลชนเริ่มต้นวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาลทักษิณที่ผ่านมาซึ่งมีการบริหารประเทศอย่างไม่น่าไว้วางใจ มีข้อโจมตีในความบกพร่องหลายประการซึ่งรู้จักดี ภายใต้นิยามที่เรียกว่า “ระบอบทักษิณ”
ชนวนของการนำไปสู่การรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 คงเป็นสิ่งที่ไม่มีใครเชื่อหากย้อนกลับไปดูการขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 23 ของประเทศไทย ที่ได้รับคะแนนนิยมอย่างมากมายที่สนับสนุนเลือกพรรคไทยรักไทยเข้ามามากเป็นอันดับหนึ่งในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2544 ภายใต้คำขวัญว่า คิดใหม่ ทำใหม่ และนโยบายประชานิยมที่สามารถซื้อใจคนชนบทและคนเมืองที่เห็นประสบการณ์ความสำเร็จในทางธุรกิจมาก่อน แต่ภายหลังการหลุดพ้นจากคดีซุกหุ้นของอดีตนายกทักษิณ ที่ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยให้ไม่มีความผิด การบริหารงานของรัฐบาลในเรื่องต่างๆก็ดูเบ็ดเสร็จเด็ดขาดมากยิ่งขึ้น อดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ นับเป็นนักการตลาดการเมืองชั้นนำคนหนึ่ง ที่ได้สร้างภาพภาวะผู้นำและทำการสื่อสารตรงกับประชาชน ขณะเดียวกันก็ดำเนินการควบรวมพรรคการเมืองต่างๆที่ร่วมรัฐบาล จนทำให้พรรคไทยรักไทยถือครองเสียงข้างมากในรัฐสภา โดยพรรคฝ่ายค้านไม่มีโอกาสใช้กลไกรัฐสภาตรวจสอบได้ จนทำให้บรรยากาศการเมืองเป็นเผด็จการรัฐสภาไป ซึ่งส่วนหนึ่งนักวิชาการได้มีการวิเคราะห์ว่าเป็นผลจากบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ที่สร้างให้เกิดฝ่ายบริหารเข้มแข็ง เช่นการอภิปรายไม่ไว้วางใจที่ทำได้ยากขึ้น ขณะเดียวกันจากการแทรกแซงองค์การอิสระและสื่อมวลชนก็ทำให้ระบบตรวจสอบการใช้อำนาจพังทลายลง
อย่างไรก็ดีอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ก็สามารถบริหารประเทศได้ครบระยะเวลา 4ปี นับจากวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2544 จนถึง 11 มีนาคม 2548 เป็นรัฐบาลพลเรือนไม่กี่ชุดที่สามารถอยู่ครบเทอมได้ตามวาระของสภาผู้แทนราษฎรที่ครบกำหนดในวันที่ 5 มกราคม 2548 และสามารถนำพรรคไทยรักไทยได้รับการเลือกตั้งกลับเข้ามามีคะแนนเสียงมากเป็นอันดับหนึ่งอีกครั้งในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2548 แต่การบริหารงานประเทศในสมัยที่สองนี้ก็ไม่ง่ายเมื่อสมัยแรกอีกต่อไป “ระบอบทักษิณ” “เผด็จการรัฐสภา” “การไม่จงรักภักดี” ฯลฯ คือข้อกล่าวหาที่เป็นคำถามให้อดีตนายกรัฐมนตรีตอบ แต่กลับไม่มีการชี้แจงคำตอบให้ประชาชนได้หายสงสัยในตัวผผู้นำรัฐบาลแต่อย่างใดวิกฤตศรัทธาต่อรัฐบาลได้ทวีความรุนแรงมากขึ้นๆ ปัญหาของปรากฏการณ์ของระบอบทักษิณ ที่มีวิวัฒนาการจากวีรบุรุษขี่ม้าขาว หรืออัศวินควายดำที่สังคมไทยเชื่อว่าจะเป็นกอบกู้เศรษฐกิจของประเทศภายหลังจากวิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้งที่ประเทศไทยต้องเข้ารับการช่วยเหลือจาก IMF (กองทุนการเงินระหว่างประเทศ) แต่ก็กลับกลายเป็นเผด็จการรัฐสภาโดยอาศัยกลไกของรัฐธรรมนูญที่มุ่งสร้างฝ่ายบริหารที่เข้มแข็งมาใช้เป็นเราะป้องกันตัวได้เป็นอย่างดี และกอดกติการัฐธรรมนูญไว้อยู่กับตัวโดยอ้างว่าตนทำถูกต้องตามรัฐธรรมนูญทุกประการ และได้รับความชอบธรรมจากการเลือกตั้งด้วยเสียงข้างมากที่ประชาชนเลือกเข้ามา 19 ล้านเสียง ตามระบอบประชาธิปไตย ซึ่งไม่ได้นำพาต่อเสียงคัดค้านของกลุ่มพลังประชาชนที่รวมตัวกันขับไล่ร้องตะโกนให้ “ทักษิณ .....ออกไป ๆๆ” และออกมาตอบโต้กล่าวหาว่าพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเป็นกลุ่มผู้เสียผลประโยชน์ จนทำให้สังคมไทยในช่วงเวลาตั้งแต่ต้นปี 2549 เกิดการแบ่งฝักแบ่งฝ่าย เลือกข้างจากประเด็นทางการเมืองที่เป็นวิกฤติจริยธรรมของผู้นำ ซึ่งไม่สามารถมีกระบวนการตรวจสอบตามกลไกที่มีอยู่ได้ จนทำให้วิกฤติได้พัฒนาความร้ายแรงกลายเป็นการเผชิญหน้าในการจัดชุมนุมใหญ่หลายครั้งของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
ท้ายที่สุดนายกฯทักษิณ ได้ตัดสินใจใช้อำนาจออกพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2549 และกำหนดให้มีวันเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 2เมษายน 2549 ซึ่งว่ากันตามจารีตประเพณีในการปกครองของประเทศไทยในการใช้อำนาจยุบสภานั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีความขัดแย้งกันระหว่างฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ แต่ครั้งนี้เหตุผลที่ใช้กลับไม่ได้เป็นเช่นนั้น[1]
ผลจากพระราชกฤษฎีกายุบสภานี้ ผลักดันให้การเมืองถึงทางตันมากขึ้น จากการประกาศไม่ลงสมัครรับเลือกตั้งของพรรครวมฝ่ายค้านประกอบด้วยพรรคประชาธิปัตย์ ชาติไทย และมหาชน ซึ่งสุดท้ายผลผลการเลือกตั้งก็ออกมาว่ามีคนมาลงคะแนนใช้สิทธิไม่ประสงค์จะลงคะแนน ถึง 9,051,706 หรือคิดเป็นร้อยละ 31.12 ในการลงคะแนนระบบบัญชีรายชื่อ และ การเลือกตั้งแบบแบ่งเขตการเลือกตั้ง 9,610,874 คะแนน หรือร้อยละ 33.14 โดยภายหลังจากการเลือกตั้งก็ยังไม่สามารถประกาศผลคะแนนทั้งหมดครบ 500 คนได้ โดยต้องจัดให้มีการเลือกตั้งในหลายเขตใหม่เพราะมีผู้สมัครได้คะแนนไม่ถึงเกณฑ์ร้อยละ 20ตามมาตรา 74 ของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2541 ในกรณีมีผู้สมัครคนเดียวในเขตเลือกตั้งนั้น และมีแนวโน้มว่าจะได้ไม่ครบและเปิดสภาได้ทันภายในกำหนดสามสิบวันนับแต่วันเลือกตั้งตามมาตรา 159 ของรัฐธรรมนูญ
ทางตันของการเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายน 2549 ได้ดึงเอาสถาบันต่างๆลงมาแก้ไขปัญหานับแต่สถาบันพระมหากษัตริย์ จากพระราชดำรัสเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2549 ที่มีต่อตุลาการศาลปกครองและผู้พิพากษาศาลยุติธรรม จนทำให้เกิดปรากฏการณ์ “ตุลาการภิวัตน์” ที่สถาบันศาลได้รับใส่เกล้าฯ ใช้อำนาจตุลาการเข้าแก้ไขปัญหา เริ่มจากการคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่9/2549 ลงวันที่ 8 พฤษภาคม 2549วินิจฉัยว่าการเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายน 2549 เป็นโมฆะ ตามมาด้วยคำพิพากษาของศาลอาญา วันที่ 25 กรกฎาคม 2549 ที่จำคุกกรรมการการเลือกตั้ง 3 คน (พล.ต.อ.วาสนา เพิ่มลาภ ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) นายปริญญา นาคฉัตรีย์ และนายวีระชัย แนวบุญเนียร กกต. ) ที่ตกเป็นจำเลย ในความผิดฐานกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2541 มาตรา 24, 42 และมาตรา 38 เป็นเวลาคนละ 4 ปี โดยไม่รอลงอาญา และให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนดคนละ 10 ปี จนนำไปสู่การสรรหา กกต.ชุดใหม่จากศาลฎีกา และกำลังประกาศให้มีการเลือกตั้งทั่วไปครั้งใหม่ แต่ความขัดแย้งทางการเมืองบนเวทีท้องถนนก็ยังคงไม่ยุติเพราะประชาชนฝ่ายต่อต้านรัฐบาลเชื่อว่าการเลือกตั้งถ้าจะเกิดขึ้นใหม่ ระบบอบทักษิณก็จะสามารถกลับเข้ามาได้เสียงข้างมากเช่นเดิมจากเครือข่ายและอำนาจเงินที่มีอยู่ ดังนั้นจึงต้องชุมนุมกดดันทางการเมืองต่อไปให้รักษาการนายกรัฐมนตรี วางมือทางการเมืองโดยการลาออกจากตำแหน่ง โดยมีการประกาศชุมนุมใหญ่ในวันที่ 20 กันยายน 2549 เพื่อไม่ให้นายกฯทักษิณเดินทางกลับเข้าประเทศภายหลังจากการเดินทางไปร่วมประชุมสหประชาชาติที่นครนิวยอรค์แต่ก็เกิดรัฐประหารเสียก่อน
แถลงการณ์ ประกาศและคำสั่งของคณะ คปก.
เมื่อเปรียบกับคณะรัฐประหารในอดีต คณะ คปก. มีการออกแถลงการณ์ ประกาศและคำสั่งไม่มากนัก และได้ใช้อำนาจในฐานะที่เป็นรัฎฐาธิปัตย์ เพียงระยะเวลาประมาณแค่สองอาทิตย์ เมื่อถึงวันที่ 1 ตุลาคม 2549 ประเทศไทยก็มีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 แต่หากพิจารณาถึงเนื้อหาสาระของแถลงการณ์ ประกาศและคำสั่งก็จะพบว่ามีความน่าสนใจอยู่ในที เพราะการรัฐประหารครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกภายหลังที่โครงสร้างการเมืองการปกครองไทยได้เปรียบโฉมหน้าไปอย่างมากภายหลังการปฏิรูปการเมืองที่ทำให้เกิดรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มีสถาบันทางการเมืองที่เรียกว่าองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญเกิดขึ้นหลายองค์กร ดังนั้นความยุ่งยากในการจัดการภายหลังการรัฐประหารจึงมีอยู่พอสมควร ประกอบกับสถานการณ์โลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากจากกระแสของประชาธิปไตยทั่วโลก และความเปลี่ยนแปลงในสภาพเศษฐกิจสังคม ที่เรียกว่าโลกาภิวัตน์ การรัฐประหารในประเทศใดประเทศหนึ่ง ในทางระหว่างประเทศจะทำให้ประเทศนั้นไม่ค่อยได้รับการยอมรับในสังคมโลก ซึ่งประเด็นนี้ทำให้ คณะคปก.เลือกที่จะอยู่ในอำนาจด้วยระยะเวลาที่สั้น และรีบประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวโดยเร็ว
เมื่อพิจารณาถึงแถลงการณ์ ประกาศและคำสั่งของคณะ คปก. ทั้งหมดสามารถแบ่งได้เป็นแถลงการรณ์ คปก. 2 ฉบับ ประกาศ คปก. จำนวน 36 ฉบับ คำสั่งหัวหน้าคณะคปก. จำนวน 20 ฉบับ และต่อมาเมื่อคณะคปก.เปลี่ยนสภาพเป็นคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติก็มีประกาศคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ จำนวน 7 ฉบับ[2] ในบรรดาแถลงการณ์ ประกาศ คำสั่งของคณะคปก. นั้น มีทั้งที่เป็นการชี้แจงทั่วไป การสั่งห้าม การสั่งให้ปฏิบัติดำเนินงาน การบังคับใช้เป็นกฎหมายทั้งแก้ไขเพิ่มเติม การยกเลิก และถือเป็นกฎหมายใหม่ โดยมีรายชื่อฉบับที่สำคัญ ดังนี้
1.แถลงการณ์คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ลงวันที่ 19 กันยายน 2549
2.ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 3 ลงวันที่ 19 กันยายน 2549
3.ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 11 เรื่องแต่งตั้งบุคคลสำคัญดำรงตำแหน่งในคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ลงวันที่ 20 กันยายน 2549
4.ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 12 เรื่อง ให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญบางฉบับมีผลบังคับใช้ต่อไป ลงวันที่ 20 กันยายน 2549
5.ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 13 เรื่อง ให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญบางฉบับมีผลบังคับใช้ต่อไป ลงวันที่ 20 กันยายน 2549
6.ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 14 เรื่อง ให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญบางฉบับมีผลบังคับใช้ต่อไป ลงวันที่ 21 กันยายน 2549
7.ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 15 เรื่อง ห้ามพรรคการเมืองประชุมหรือดำเนินกิจการอื่นใดทางการเมืองลงวันที่ 21 กันยายน 2549
8.ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 18 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยตำรวจแห่งชาติ ลงวันที่ 22 กันยายน 2549
9.ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 19 เรื่อง ให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญบางฉบับมีผลบังคับใช้ต่อไป ลงวันที่ 22 กันยายน 2549
10.ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 21 เรื่อง ห้ามการดักฟังโทรศัพท์หรือเครื่องมือสื่อสารใด ลงวันที่ 24 กันยายน 2549
11.ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 23 เรื่อง การตรวจสอบทรัพย์สิน ลงวันที่ 24 กันยายน 2549
12.ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 24 เรื่อง แต่งตั้งบุคคลสำคัญดำรงตำแหน่งในคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ลงวันที่ 29 กันยายน 2549
13.ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 25 เรื่อง การดำเนินการเกี่ยวกับการยุติธรรมทางอาญา ลงวันที่ 29 กันยายน 2549
14.ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 26 เรื่อง การแก้ไขประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 13 ลงวันที่ 20 กันยายน 2549 ประกาศ ณ วันที่ 29 กันยายน 2549
15.ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 27 เรื่อง การแก้ไขประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 15 ลงวันที่ 21 กันยายน 2549 ประกาศ ณ วันที่ 30 กันยายน 2549
16.ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 28 เรื่อง การแก้ไขประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 17 ลงวันที่ 22 กันยายน 2549 และฉบับที่18 ลงวันที่ 22 กันยายน 2549 ประกาศ ณ วันที่ 30 กันยายน 2549
17.ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 29 เรื่อง การแก้ไขประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 12 ลงวันที่ 20 กันยายน 2549 ประกาศ ณ วันที่ 30 กันยายน 2549
18.ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 30 เรื่อง การตรวจสอบการากระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ลงวันที่ 30 กันยายน 2549
19.ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 31 เรื่อง การดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ลงวันที่ 30 กันยายน 2549
20.ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 32 เรื่อง อำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ลงวันที่ 30 กันยายน 2549
21.ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 35 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ.2521 ลงวันที่ 30 กันยายน 2549
22.ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 36 เรื่อง กฎหมายว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยสถาบันพระมหากษัตริย์ ลงวันที่ 30 กันยายน 2549
ผลกระทบของแถลงการณ์ ประกาศและคำสั่งของคณะคปก. กับการเมืองไทย
หากย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์การเมืองไทย คงไม่มีการรัฐประหารครั้งใด ที่ได้สร้างผลกระทบกระเทือนต่องสังคมไทยได้มากถึงขนาดนี้ และผลกระทบหลายส่วนก็ยังส่งผลต่อเนื่องมาถึงการเมืองไทยปัจุบัน ถ้าพิจารณาภาพรวมผลกระทบส่วนใหญ่ได้เกิดขึ้นและสิ้นสุดลงไปพร้อมกับการใช้อำนาจของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขในช่วงเวลาตั้งแต่ 19 กันยายน 2549 จนถึง 30 กันยายน 2549 ก่อนหน้าที่จะประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2549 ไม่ว่าเป็นการสิ้นสุดลงของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ที่ในประวัติศาสตร์การเมืองไทยเป็นรัฐธรรมนูญที่ดีที่สุดฉบับหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นโดยเจตนารมณ์สำคัญในการเป็นเครื่องมือเพื่อการปฏิรูปการเมือง นอกจากนี้ตามประกาศ คปก.ฉบับที่ 3 ที่ให้รัฐธรรมนูญดังกล่าวสิ้นสุดลง ก็ยังมีวุฒิสภา สภาผู้แทนราษฎร คณะรัฐมนตรี และศาลรัฐธรรมนูญ สิ้นสุดลงพร้อมกับรัฐธรรมนูญ สำหรับสถาบันการเมืองที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องสิ้นสุดลงได้แก่ องคมนตรี และศาลทั้งหลายนอกจากศาลรัฐธรรมนูญ
สิ่งที่น่าสังเกตจากผลของการรัฐประหารครั้งนี้จะพบว่าพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญหลายฉบับที่ออกตามความในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ไม่ได้สิ้นสุดลงไปด้วย และกฎหมายบางฉบับก็ได้รับการแก้ไขปรับปรุงโดยอำนาจของคณะคปก. ตามที่ปรากฏในประกาศคปก.ที่ให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญบางฉบับมีผลบังคับใช้ต่อไป ได้แก่ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ.2542 (ประกาศคปก.ฉบับที่ 12)พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2541 (ประกาศคปก.ฉบับที่ 13) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา พ.ศ.2542 (ประกาศคปก.ฉบับที่ 14) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 (ประกาศคปก.ฉบับที่ 15) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 (ประกาศคปก.ฉบับที่ 19) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2542 (ประกาศคปก.ฉบับที่ 19)
บรรดาประกาศของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่มีอยู่หลายฉบับและมีสถานเป็นกฎหมายนั้น จะพบว่ามีประกาศสำคัญบางฉบับที่ส่งผลต่อการเมืองไทยที่ทำให้เกิดปมประเด็นปัญหาของสถานการณ์ความขัดแย้งหลายเรื่องจากการใช้อำนาจของ คปก. สื่บเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน โดยมีเรื่องที่สำคัญ 2 กรณี ได้แก่ประเด็นความชอบด้วยกฎหมายจากการตรากฎหมายให้มีผลย้อนหลังในเรื่องการลงโทษเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรคการเมืองมีกำหนดห้าปีนับแต่วันที่ที่ศาลรัฐธรรรมนูญมีคำสั่งให้ยุบพรรคการเมือง (ประกาศคปก.ฉบับที่ 27) และ การตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (ประกาศคปก.ฉบับที่ 30) ซึ่งจะได้พิจารณาเป็นลำดับ ดังนี้
1)ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 27 เรื่องการแก้ไขประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 15 ลงวันที่ 21 กันยายน พ.ศ.2549
ประเด็นสำคัญของการใช้อำนาจตามประกาศดังกล่าวอยู่ใน ข้อ 3 ที่กำหนดให้ ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญหรือองค์กรอื่นที่ทำหน้าที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้ยุบพรรคการเมืองใด เพราะเหตุกระทำการต้องห้ามตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรคการเมือง พ.ศ.2541 ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรคการเมืองนั้น มีกำหนดห้าปีนับแต่วันที่มีคำสั่งให้ยุบพรรคการเมือง
โดยผลของประกาศคปก.ฉบับที่ 27 จึงทำให้เป็นการเพิ่มการกำหนดโทษให้มีการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรคการเมืองมีกำหนดห้าปีนับแต่วันที่มีคำสั่งให้ยุบพรรคการเมือง ซึ่งแต่เดิมพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรคการเมือง พ.ศ.2541 ไม่ได้บัญญัติไว้ และบทบัญญัตินี้ต่อมาในการตัดสินคดีที่อัยการสูงสุดขอให้มีคำสั่งยุบพรรคพัฒนาชาติไทย พรรคแผ่นดินไทย และพรรคไทยรักไทย คณะตุลาการรัฐธรรมนูญที่จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2549 มาตรา 35 ซึ่งทำหน้าที่ศาลรัฐธรรมนูญ ก็ได้นำมาประกอบการวินิจฉัยในคำวินิจฉัยที่ 3-5 /2550 30 ลงวันที่ 30 พฤษภาคม 2550
โดยได้มีคำสั่งให้ยุบพรรคไทยรักไทย ผู้ถูกร้องที่ 1 ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 มาตรา 67 ประกอบมาตรา 66(1) และ(3) และให้ยุบพรรคพัฒนาชาติไทย ผู้ถูกร้องที่ 2 และพรรคแผ่นดินไทย ผู้ถูกร้องที่ 3 ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 มาตรา 67 ประกอบมาตรา 66(2) และ(3) กับให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 จำนวน 111 คน ตามประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่องตอบรับการเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย ฉบับลงวันที่ 4 พฤษภาคม 2549 เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 จำนวน 19 คน ตามประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่องตอบรับการเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรคพัฒนาชาติไทย ฉบับลงวันที่ 25 กรกฎาคม 2548 และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรคผู้ถูกร้องที่ 3 จำนวน 3 คน ตามประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่องตอบรับการเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรคแผ่นดินไทย ฉบับลงวันที่ 1 มีนาคม 2549 มีกำหนดห้าปีนับแต่วันที่มีคำสั่งให้ยุบพรรคการเมือง ตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 27 ลงวันที่ 30 กันยายน 2549
สิ่งที่เป็นประเด็นถกเถียงมาจนถึงทุกวันนี้จากการวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญที่อ้างอิง ประกาศ คปก. ฉบับที่ 27 ก็คือ ประกาศดังกล่าวเป็นการออกกฎหมายให้มีผลย้อนหลังในทางที่เป็นโทษหรือไม่ ซึ่งตามหลักกฎหมายทั่วไปในทางอาญาสากลนั้น มีข้อห้ามเช่นนี้อยู่ การไม่เห็นด้วยต่อการวินิจฉัยดังกล่าวเพราะประกาศ คปก.ฉบับที่ 27 ฝ่าฝืนหลักกฎหมายไม่มีผลย้อนหลัง นั้นปรากฏอย่างเป็นทางการครั้งแรกในคำแถลงการณ์กลุ่มห้าอาจารย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรื่อง บทวิเคราะห์คำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ กรณีการยุบพรรคการเมือง ลงวันที่ 6 มิถุนายน 2550 โดยมีรายชื่ออาจารย์ลงนามท้ายแถลงการณ์ ประกอบด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ รองศาสตราจารย์ ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช อาจารย์ ดร.ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล อาจารย์ ปิยบุตร แสงกนกกุล และอาจารย์ธีระ สุธีวรางกูร
แต่ทั้งนี้ก็ยังมีนักกฎหมายอีกกลุ่มหนึ่งที่สนับสนุนคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวเพราะเห็นว่าการลงโทษเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งนั้นสามารถทำได้ เนื่องจากไม่ได้เป็นโทษทางอาญา การใช้กฎหมายย้อนหลังในคดีนี้โดยใช้อำนาจประกาศ คปก.ฉบับที่ 27 จึงไม่ขัดต่อหลักกฎหมายอาญาทั่วไป[3] ตามเหตุผลในคำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญที่ได้ตัดสินในคดีนี้[4]
2)ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 30 เรื่องการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ลงวันที่ 30 กันยายน 2549
ประกาศฉบับดังกล่าวได้จัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบคณะหนึ่ง ประกอบด้วยกรรมการ 12 ท่าน ซึ่งได้กำหนดให้เลือกกันเองเป็นประธานกรรมการคนหนึ่ง คือ นายนาม ยิ้ม แย้มมีหน่วยงานที่ดูแลงานด้านธุรการคือ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ซึ่งรายชื่อกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งตามประกาศฉบับดังกล่าว ได้แก่
1.นายกล้าณรงค์ จันทิก
2.นายแก้วสรร อติโพธิ
3.คุณหญิงจารุวรรณ เมณฆกา
4.นายจิรนิติ หะวานนท์
5.นายบรรรเจิด สิงคะเนติ
6.นายวิโรจน์ เลาหะพันธ์
7.นายสวัสดิ์ โชติพานิช
8.นายสัก กอแสงเรือง
9.นางเสาวนีย์ อัศวโรจน์
10.นายอุดม เฟื่องฟุง
11.นายอำนวย ธันธรา
คณะกรรมการตรวจสอบมีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ใน ข้อ 5 ของประกาศคปก.ฉบับที่ 30 ดังนี้
(1)ตรวจสอบการดำเนินงานหรือโครงการที่ได้รับอนุมัติหรือหรือเห็นชอบโดยบุคคลในคณะรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีซึ่งพ้นจากตำแหน่งโดยผลของการปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าจะเป็นไปโดยทุจริตหรือประพฤติมิชอบ
(2)ตรวจสอบสัญญา สัญญาสัมปทานหรือการจัดซื้อจัดจ้างของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานขอรัฐอื่น ที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าจะมีการกระทำที่เอื้อประโยชน์แก่เอกชนโดยมิชอบหรือมีการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือมีการกระทำที่ทุจริตหรือประพฤติมิชอบ
(3)ตรวจสอบการปฏิบัติราชการใดๆ ของเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าจะมีการดำเนินการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือมีการกระทำที่ทุจริตหรือประพฤติมิชอบ
(4)ตรวจสอบการกระทำของของบุคคลใดๆที่เห็นว่าเป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือหลีกเลี่ยงกฎหมายว่าด้วยภาษีอากร อันเป็นการกระทำให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ
นอกจากนี้ในกรณีที่เห็นว่าการดำเนินการในเรื่องที่ตรวจสอบมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่ามีการทุจริตหรือประพฤติมิชอบ และมีพฤติการณ์ว่าบุคคลใดเกี่ยวข้องกับการทุจริตหรือประพฤติมิชอบ หรือร่ำรวยผิดปรกติ หรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นปรกติ ให้คณะกรรมการตรวจสอบมีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องของผู้นั้น คู่สมรสและบุตรซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะของผู้นั้นไว้ก่อนก็ได้
การดำเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินได้ปฏิบัติหน้าที่เป็นระยะเวลารวม 1 ปี 9 เดือน ตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน 2549 - 30 มิถุนายน 2551 มีผลงานสำคัญในการพิจารณาเรื่องที่เข้าสู่กระบวนการตรวจสอบของ คตส.จำนวน 13 เรื่อง ได้แก่[5]
1)เรื่องจัดซื้อชุดอุปกรณ์ตรวจสอบวัตถุระเบิด CTX
2)เรื่องท่อร้อยสายไฟฟ้าใต้ดินสนามบินสุวรรณภูมิ
3)เรื่องกรณีภาษีเงินได้เกี่ยวกับการซื้อขายหุ้น
4)เรื่องเงินกู้ EXIM BANK
5)เรื่องการออกสลากพิเศษแบบเลขท้าย 3 ตัวและ 2 ตัว
6)เรื่องการจัดซื้อต้นกล้ายางพารา
7)เรื่องการจ้างก่อสร้างและจัดซื้ออุปกรณ์ ห้องปฏิบัติการกลางฯ (Central Lab)
8)เรื่องแอร์พอร์ต ลิงค์
9)เรื่องกล่าวหาธนาคารกรุงไทย
10)เรื่องการจัดซื้อจัดจ้างเอกชนโดยการเคหะแห่งชาติ บ้านเอื้ออาทร
11)เรื่องกิจการโทรคมนาคมในส่วนภาษีสรรพสามิต
12)เรื่องการจัดซื้อรถและเรือดับเพลิงของกทม.
13)การจัดซื้อที่ดินของกองทุนฟื้นฟู (ที่ดินรัชดาภิเษก)
การดำเนินงานของคณะกรรมการ คตส.นี้ อาจกล่าวได้ว่าเป็นผลงานความสำเร็จของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่สามารถพิสูจน์ให้สาธารณชนและสังคมไทย เห็นว่าการทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 มีเหตุผลรองรับถึงความจำเป็น ซึ่งแตกต่างจากการดำเนินงานของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติที่ไม่สามารถเอาผิดกับนักการเมืองที่ทุจริตได้ ปัจจัยสำคัญในความสำเร็จของการใช้อำนาจของคณะคปก.นี้ คือการศึกษาบทเรียนความล้มเหลวของคณะ รสช. และพยายามดำเนินการตามกลไกต่างๆ ที่มีอยู่ในการตรวจสอบการใช้อำนาจของนักการเมืองที่ได้วางไว้ตั้งแต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ดังจะเห็นได้จากไม่ได้มีการประกาศยกเลิกกฎหมายสำคัญที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ.2542 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2542 ดังนั้นจะเห็นว่ากระบวนการตัดสินทั้งหมดจะมีความชอบธรรม โปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้ และถึงแม้ว่าจะมีการฟ้องคดีให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยถึงความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของประกาศ คปก. ฉบับที่ 27 ศาลรัฐธรรมนูญก็ได้มีการตัดสินยืนยันถึงความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของประกาศดังกล่าวเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2551 ตามคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ที่ 5/2551
ในบรรดาคดีซึ่ง คณะกรรมการ คตส. ได้เข้าไปตรวจสอบนั้น ณ เดือนธันวาคม ปี พ.ศ. 2552 ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ได้ตัดสินไปแล้วสองคดี คือ คดีทุจริตที่ดินรัชดาภิเษกจำนวน 33 ไร่ มูลค่า 772 ล้านบาทเศษ และคดีทุจริตกล้ายาง โดยผลของคดีทุจริตที่ดินรัชดาภิเษก ศาลได้ตัดสินเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2551 ว่า จำเลยที่ 1อดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร มีความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 100 (1) วรรค สาม และมาตรา 122 วรรคแรก ให้ลงโทษจำคุก 2 ปี ส่วนความผิดฐานอื่นและคำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก และยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 คุณหญิง พจมาน ชินวัตร
ส่วนคดีทุจริตกล้ายางนั้น ศาลได้ตัดสินเมือวันที่ 21 กันยายน 2552 พิพากษายกฟ้องนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ อดีตรองนายกฯ นายเนวิน ชิดชอบ อดีตรมช.เกษตรและสหกรณ์ ในฐานะผู้ริเริ่มโครงการปลูกยางพารา ยกระดับรายได้และความมั่นคงให้เกษตรกร ในแหล่งปลูกยางใหม่ภาคอีสานและภาคเหนือ และพวกรวม 44 คน ซึ่งประกอบกลุ่มคณะกรรมการนโยบาย และมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) กลุ่มคณะกรรมการบริหารโครงการและพิจารณาประกวดราคาการจัดซื้อต้นกล้ายางพารา 90 ล้านต้น ของกรมวิชาการเกษตร และบริษัทเอกชนในความผิดที่ปปช.ยื่นฟ้องว่าเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ฉ้อโกง ตามประมวลกฎหมายอาญา และพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับเสนอราคาต่อหน่วยงานรัฐ พ.ศ.2542 และพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การ หรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 กรณีที่มีการนำเงินของกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรไปใช้ในการจัดซื้อต้นกล้ายางพาราคา 1,440 ล้านบาท ซึ่งศาลวิเคราะห์พยานหลักฐานแล้วเห็นว่า การดำเนินโครงการดังกล่าวมีความเป็นมา จากการที่รัฐบาลในยุคพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ต้องการที่จะพัฒนาการปลูกพืชผลด้านการเกษตร โดยการเสนอโครงการนั้นก็มิได้ เนินการโดยลำพังของนายเนวินจำเลยที่ 4 หรืออธิบดีกรมวิชาการเกษตรจำเลยที่ 19 แต่ยังได้มีหน่วยงานอื่น ร่วมดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลในครั้งนั้นด้วย ส่วนการประกวดราคากลุ่มเอกชน ก็ไม่ได้ทำการฝ่าฝืน เกี่ยวกับระเบียบการประกวดราคา โดยมิชอบด้วยกฎหมาย แต่อย่างใด
สิ่งที่ต้องติดตามต่อไปถึงความสำเร็จในผลของการรัฐประหารโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่จะพิสูจน์ข้อกล่าวหาการทุจริจของอดีตรัฐบาลทักษิณ ก็คือการตัดสินคดียึดทรัพย์ของอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร มูลค่า 7.6 หมื่นล้าน ที่คาดว่าการตัดสินจะออกมาในตอนต้นปี พ.ศ.2553 นั้นก็จะเป็นจุดเปลี่ยนของการเมืองไทยอีกครั้งหนึ่ง ว่าจะเปลี่ยนโฉมหน้าไปอย่างไร ท่ามกลางความขัดแย้งระหว่างประชาชนที่ยังคงสนับสนุนในตัวอดีตนายกรัฐมนตรีอยู่มากพอสมควร และอีกฟากหนึ่งคือคนไทยที่รู้ทันทักษิณกันหมดแล้ว ผลกระทบจากการรัฐประการเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 คงเป็นภาพยนตร์เรื่องยาวที่แบ่งเป็นหลายภาคซึ่งต้องติดตามชมกันต่อไปอย่าได้กะพริบตา
ที่มา
คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ . คตส.ฝากไว้ในแผ่นดิน. กรุงเทพฯ : (มปท),2551.
เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง .รู้ทันทักษิณ เล่ม 1-5. กรุงเทพฯ : ขอคิดด้วยคน , 2547.
เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง และอมรา ประสิทธิรัฐสินธ์. รู้ทันภาษา รู้ทันทางเมือง : ทักษิณสมัย . กรุงเทพฯ : ขอคิดด้วยคน , 2547.
สมคิด เลิศไพฑูรย์และเอกบุญ วงศ์สวัสดิ์กุล. รัฐธรรมนูญ บทกฎหมายและเอกสารสำคัญในทางการเมืองของประเทศไทย เล่ม 6 . กรุงเทพฯ : คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ , 2552 .
เอกบุญ วงส์สวัสดิ์กุล (บรรณาธิการ) . การบังคับใช้กฎหมายย้อนหลัง . กรุงเทพฯ : คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ , 2552.
อ้างอิง
- ↑ .... โดยที่นายกรัฐมนตรีได้นำความกราบบังคมทูลฯ ว่า ตามที่ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้นำความกราบบังคมทูลฯ เมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2548 ขอให้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีตามมติเห็นชอบข้างมากเกินกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ลงคะแนนโดยเปิดเผยในสภาผู้แทนราษฎร และได้มีการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีขึ้นบริหารราชการแผ่นดินแล้วนั้น ต่อมา ได้เกิดการชุมนุมสาธารณะตั้งข้อเรียกร้องในทางการเมืองขึ้น ซึ่งแม้ระยะแรกจะอยู่ในกรอบของกฎหมาย แต่เมื่อนานวันเข้าการชุมนุมเรียกร้องได้ขยายตัวไปในทางที่กว้างขวางและอาจรุนแรงขึ้น รวมทั้งส่อเค้าว่าจะมีการเผชิญหน้าจนอาจปะทะกับฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย และอาจมีการสอดแทรกฉวยโอกาสจากผู้ที่ประสงค์จะเห็นความไม่สงบเรียบร้อยในบ้านเมืองจุดชนวนให้เกิดความรู้สึกที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกัน จนลุกลามถึงขั้นก่อการจลาจลวุ่นวาย สร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินได้ ครั้นใช้อำนาจเจ้าหน้าที่ฝ่ายบ้านเมืองเข้าควบคุมดูแลอย่างเข้มงวด หรือแม้แต่รัฐบาลได้พยายามดำเนินการตามวิถีทางรัฐธรรมนูญด้วยการขอเปิดอภิปรายทั่วไปโดยไม่มีลงมติในที่ประชุมรัฐสภาแล้ว ก็ยังไม่อาจแก้ไขปัญหาและความคิดเห็นพื้นฐานที่แตกต่างกันทั้งระหว่างกลุ่มผู้ชุมนุมเรียกร้องกับรัฐบาล และระหว่างกลุ่มผู้ชุมนุมเรียกร้องกับกลุ่มอื่น ๆ ที่ไม่เห็นด้วยและประสงค์จะเคลื่อนไหวบ้างจนอาจเกิดการปะทะกันได้ สภาพเช่นว่านี้ย่อมไม่เป็นผลดีต่อเศรษฐกิจของประเทศ การเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยภายใต้ระบบรัฐสภาและความสงบเรียบร้อยของสังคม โดยเฉพาะในขณะนี้ ซึ่งควรจะสร้างความสามัคคีปรองดอง การดูแลรักษาสภาพของบ้านเมืองที่สงบร่มเย็นน่าอยู่อาศัยน่าลงทุน และการเผยแพร่ความวิจิตรอลังการ ตลอดจนความดีงามตามแบบฉบับของไทยให้เป็นที่ประจักษ์ เมื่อปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นความคิดเห็นในสังคมที่หลากหลายและยังคงแตกต่างกันจนกลายเป็นความขัดแย้งทางการเมืองที่รุนแรงเช่นนี้ ครั้นจะดำเนินการเพื่อตรวจสอบความประสงค์อันแท้จริงของประชาชนโดยประการอื่น เพื่อให้ทุกฝ่ายหยั่งทราบแล้วยอมรับให้เป็นไปตามกลไกในระบอบประชาธิปไตยก็ทำได้ยาก ทางออกในระบอบประชาธิปไตยที่เคยปฏิบัติมาในนานาประเทศ และแม้แต่ในประเทศไทย คือการคืนอำนาจการตัดสินใจทางการเมืองกลับไปสู่ประชาชนด้วยการยุบสภาผู้แทนราษฎร เพื่อจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไปขึ้นใหม่ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยต่อไป ”
- ↑ สามารถค้นหาข้อมูลทั้งหมดได้จาก หนังสือ รัฐธรรมนูญ บทกฎหมายและเอกสารสำคัญในทางการเมืองของประเทศไทย เล่ม 6 รวบรวมโดย ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์และอาจารย์ ดร.เอกบุญ วงศ์สวัสดิ์กุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ , 2552 . หรือ ฐานข้อมูลการเมืองการปกครองไทย บนเวบไซต์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (www.law.tu.ac.th)
- ↑ โปรดดูรายละเอียดเพิ่มเติมการถกเถียงทางวิชาการระหว่างผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยในการตัดสินของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ที่ใช้อำนาจตามประกาศ คปก. ฉบับที่ 27 ในหนังสือ การบังคับใช้กฎหมายย้อนหลัง รวบรวมโดย อาจารย์ดร.เอกบุญ วงศ์ สวัสดิ์กุล . กรุงเทพฯ : คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ , 2552.
- ↑ คำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ที่ 3 – 5 /2550 เรื่องอัยการสูงสุดขอให้มีคำสั่งยุบพรรคพัฒนาชาติไทย พรรคแผ่นดินไทย และพรรคไทยรักไทย ลงวันที่ 30 พฤษภาค 2550 สามารถค้นรายละเอียดได้ในเวบไซต์ของสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ www.constitutionalcourt.or.th
- ↑ รายละเอียนดผลงานของคณะกรรมการตรวจสอบโปรดดู ในหนังสือ ปัจฉิมบท คตส. คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ พันธกิจการตรวจสอบแทนประชาชน 30ก.ย.2549 -30 มิ.ย.2551 ฝากไว้ในแผ่นดิน . กรุงเทพฯ : (มปท.), 2551