ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประชาก้าวหน้า"
สร้างหน้าใหม่: '''ผู้เรียบเรียง''' นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ ---- '''ผู้ทรงคุณวุฒิป... |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 9: | บรรทัดที่ 9: | ||
== พรรคประชาก้าวหน้า == | == พรรคประชาก้าวหน้า == | ||
พรรคประชาก้าวหน้าเป็น[[พรรคการเมือง]]ที่จดทะเบียนจัดตั้งตาม[[พระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2517]] โดยมีนายสำราญ จุลเชาวน์ เป็น[[หัวหน้าพรรค]] นายวินัย สุวรรณพิบูลย์ เป็น[[เลขาธิการพรรค]] คำขวัญของพรรคคือ “อุ้มคนยาก ลากคนมี ตีคนชั่ว ทูนหัวคนใหญ่ (พระมหากษัตริย์) หัวใจคือชาติ” | |||
== นโยบายพรรคประชาก้าวหน้า == | == นโยบายพรรคประชาก้าวหน้า == | ||
นโยบายด้านการเมือง | นโยบายด้านการเมือง พรรคประชาก้าวหน้าเห็นว่า[[รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2517]] จำเป็นต้องมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลง โดยต้องให้มีโครงสร้างระบบเศรษฐกิจและการเมืองเป็นแบบ[[ประชาธิปไตย]]อย่างได้สมดุลกัน สำหรับ[[วุฒิสภา]]นั้น ควรจะยกเลิกไป | ||
พรรคประชาก้าวหน้ามองว่าปัญหาเศรษฐกิจเกิดจากความผิดพลาดในการบริหารงานของ[[รัฐบาล]]เป็นหลัก การแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ จะต้องใช้แนวทางใหม่ที่พรรคประชาก้าวหน้าเรียกว่า “ผจญสังคมนิยม” หมายถึง การส่งเสริมนายทุนน้อย และให้สัมปทานายทุนใหญ่ รัฐจะต้องสนับสนุนคนจนให้มีบทบาทอำนาจในทางเศรษฐกิจมากขึ้น ในขณะเดียวกันก็จะไม่กีดกันนายทุน อาจมีการออก[[กฎหมาย]]ตัดรอนนายทุนโดยรัฐบาล โดยรัฐไม่ต้องไปควบคุมการดำเนินธุรกิจ แต่ควบคุมตัดทอนรายได้ผลกำไรของนายทุนมาเฉลี่ยให้ประชาชนคนยากจน หรือคนใช้แรงงานให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น | |||
นโยบายด้านเศรษฐกิจ พรรคประชาก้าวหน้า จะให้รัฐบาลรับชำระหนี้ให้ชาวนาโดยประกาศพักชำระหนี้ 5 ปี ให้ผู้มีรายได้น้อยตั้งตัวได้ก่อน | นโยบายด้านเศรษฐกิจ พรรคประชาก้าวหน้า จะให้รัฐบาลรับชำระหนี้ให้ชาวนาโดยประกาศพักชำระหนี้ 5 ปี ให้ผู้มีรายได้น้อยตั้งตัวได้ก่อน สงวนอาชีพให้มากขึ้นและจริงจัง จะดำเนินมาตรการทางเศรษฐกิจแบบ “ผจญสังคมนิยม” โดยส่งเสริมนายทุนน้อยและให้สัปทานนายทุนใหญ่ ควบคู่กับการดำเนินเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม รัฐต้องปฏิรูประบบการจัดสรรที่ดิน โดยการนำที่ดินทำกินในความครอบครองของผู้ที่มีที่ดินจำนวนมาก มาจัดสรรให้แก่ราษฎรทั่วประเทศที่ไม่มีที่ดินทำกิน โดยรัฐใช้การผ่อนซื้อจากเจ้าของกรรมสิทธิ์เดิม และจำหน่ายแก่ประชาชนในราคาถูก และจะตั้งกรมใหม่ขึ้นกับกระทรวงพาณิชย์ สำหรับริดรอนกำไรอันมากเกินควรของนายทุน รัฐเป็นผู้ดำเนินกิจการธนาคารพาณิชย์ | ||
นโยบายด้านการทหาร พรรคประชาก้าวหน้าจะเลี่ยงการทำข้อผูกพันทางทหารที่ไม่จำเป็น การทำสนธิสัญญาต้องมุ่งเน้นด้านเศรษฐกิจมากกว่าเรื่องการเมือง เช่น ทำสัญญาการค้ากับประเทศจีน เป็นต้น พรรคประชาก้าวหน้า มีนโยบายในการประหยัดแรงงานของชาติ โดยให้พลเมืองชายที่ร่างกายสมบูรณ์เข้ารับการฝึกทหารทุกคน และในเวลาว่างรัฐจะใช้ทหารเป็นกำลังสำคัญในการเพิ่มผลผลิตในด้านการเกษตร อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม เพื่อป้องกันแรงงานสูญเปล่าในระหว่างที่เข้าประจำการสองปี ลดงบประมาณทางการทหาร | นโยบายด้านการทหาร พรรคประชาก้าวหน้าจะเลี่ยงการทำข้อผูกพันทางทหารที่ไม่จำเป็น การทำสนธิสัญญาต้องมุ่งเน้นด้านเศรษฐกิจมากกว่าเรื่องการเมือง เช่น ทำสัญญาการค้ากับประเทศจีน เป็นต้น พรรคประชาก้าวหน้า มีนโยบายในการประหยัดแรงงานของชาติ โดยให้พลเมืองชายที่ร่างกายสมบูรณ์เข้ารับการฝึกทหารทุกคน และในเวลาว่างรัฐจะใช้ทหารเป็นกำลังสำคัญในการเพิ่มผลผลิตในด้านการเกษตร อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม เพื่อป้องกันแรงงานสูญเปล่าในระหว่างที่เข้าประจำการสองปี ลดงบประมาณทางการทหาร | ||
บรรทัดที่ 23: | บรรทัดที่ 23: | ||
นโยบายด้านการเกษตร พรรคประชาก้าวหน้า จะเร่งรัดการจัดระบบชลประทาน โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคอิสาน และจะต้องส่งเสริมการผลิตเครื่องมือเครื่องจักรทางการเกษตรภายในประเทศ โดยส่งเสริมวิศวกรรมเฉพาะทาง เพื่อจัดตั้งโรงงานอุตสาหกรรมผลิตเครื่องมือการเกษตรของรัฐ ผลกำไรของการประกอบกิจการจะนำมาจัดสรรแก่ประชาชนทุกกลุ่มอย่างเป็นธรรม | นโยบายด้านการเกษตร พรรคประชาก้าวหน้า จะเร่งรัดการจัดระบบชลประทาน โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคอิสาน และจะต้องส่งเสริมการผลิตเครื่องมือเครื่องจักรทางการเกษตรภายในประเทศ โดยส่งเสริมวิศวกรรมเฉพาะทาง เพื่อจัดตั้งโรงงานอุตสาหกรรมผลิตเครื่องมือการเกษตรของรัฐ ผลกำไรของการประกอบกิจการจะนำมาจัดสรรแก่ประชาชนทุกกลุ่มอย่างเป็นธรรม | ||
นโยบายด้านการบริหารราชการ พรรคประชาก้าวหน้า จะช่วยเหลือเรื่องค่าครองชีพแก่ข้าราชการ | นโยบายด้านการบริหารราชการ พรรคประชาก้าวหน้า จะช่วยเหลือเรื่องค่าครองชีพแก่ข้าราชการ โดยจัดตั้งสหกรณ์ข้าราชการภายในเวลาหกเดือนนับแต่[[รัฐบาล]]เข้าบริหารประเทศ เพื่อให้ข้าราชการสามารถซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคในราคาถูก เช่น เสื้อผ้า ข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ และเพิ่มอัตราเงินเดือนข้าราชการตามอัตราความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เพื่อป้องกันปัญหาคอรัปชั่นในหมู่ข้าราชการ และจะใช้มาตรการรุนแรงในการปราบคอรัปชั่น เช่น โทษประหารชีวิต | ||
รัฐบาลจะต้องมีการกระจายอำนาจการบริหาร โดยกระจายหน่วยงานราชการไปยังส่วนภูมิภาค | รัฐบาลจะต้องมีการกระจายอำนาจการบริหาร โดยกระจายหน่วยงานราชการไปยังส่วนภูมิภาค มุ่งเน้น[[การบริหารราชการ]]ในภูมิภาคเพื่อให้ประชาชนได้รับความยุติธรรมในการพัฒนา รัฐควรส่งเสริมบทบาทของ[[เทศบาล]]ในการจัดการเก็บภาษีในท้องถิ่น เช่น ภาษีการค้า ภาษีเทศบาลต่าง ๆ อาจให้อำนาจเทศบาลในการกำกับควบคุมตำรวจในท้องที่ หรือแม้แต่การจัดตั้งโรงพยาบาลของเทศบาลเอง | ||
นโยบายด้านการศึกษา พรรคประชาก้าวหน้า จะให้การศึกษาแก่เยาวชนโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงมหาวิทยาลัย กำหนดหลักเกณฑ์การสอบเข้ามหาวิทยาลัยโดยใช้วิธีคิด “ถัวเฉลี่ยเป็นภาค ๆ ไม่ต้องสอบเอนทรานซ์” ส่วนเด็กที่เหลือให้เข้ามหาวิทยาลัยเอกชนแบบการค้า โดยคนที่อยู่ในมหาวิทยาลัยของรัฐเรียนฟรี จะยึดโรงเรียนราษฎร์เป็นของชาติทั้งหมด และจะส่งเสริมสวัสดิการของครูโดยจะเพิ่มเงินกันดารสำหรับครู | นโยบายด้านการศึกษา พรรคประชาก้าวหน้า จะให้การศึกษาแก่เยาวชนโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงมหาวิทยาลัย กำหนดหลักเกณฑ์การสอบเข้ามหาวิทยาลัยโดยใช้วิธีคิด “ถัวเฉลี่ยเป็นภาค ๆ ไม่ต้องสอบเอนทรานซ์” ส่วนเด็กที่เหลือให้เข้ามหาวิทยาลัยเอกชนแบบการค้า โดยคนที่อยู่ในมหาวิทยาลัยของรัฐเรียนฟรี จะยึดโรงเรียนราษฎร์เป็นของชาติทั้งหมด และจะส่งเสริมสวัสดิการของครูโดยจะเพิ่มเงินกันดารสำหรับครู | ||
นโยบายด้านสังคม รัฐต้องสงวนอาชีพบางประเภทสำหรับประชาชนชาวไทยอย่างเข้มงวด รัฐต้องส่งเสริมการจัดตั้งสหพันธ์แรงงานเพื่อรับฟังความคิดเห็นและความต้องการของผู้ใช้แรงงาน | นโยบายด้านสังคม รัฐต้องสงวนอาชีพบางประเภทสำหรับประชาชนชาวไทยอย่างเข้มงวด รัฐต้องส่งเสริมการจัดตั้งสหพันธ์แรงงานเพื่อรับฟังความคิดเห็นและความต้องการของผู้ใช้แรงงาน ส่งเสริม[[สิทธิเสรีภาพ]]ของคนงาน จัดระบบประกันสังคมสำหรับผู้ใช้แรงงาน การจัดบริการทางการแพทย์ในโรงพยาบาลของรัฐจะต้องเป็นแบบให้เปล่า สำหรับปัญหาการว่างงาน รัฐจะต้องหางานให้ทำ เช่น กำหนดให้ร้านค้าหรือผู้ประกอบการธุรกิจที่มีคนงานตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ต้องรับนักศึกษาพาณิชย์ที่จบใหม่เข้าทำงานอย่างน้อย 3-4 คน เป็นต้น | ||
ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2518 พรรคประชาก้าวหน้าส่งผู้สมัครลงแข่งขันรับเลือกตั้งในเขตต่าง ๆ ทั่วประเทศรวมทั้งสิ้น 11 คน แต่ไม่ได้รับเลือกตั้งแม้แต่คนเดียว | ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2518 พรรคประชาก้าวหน้าส่งผู้สมัครลงแข่งขันรับเลือกตั้งในเขตต่าง ๆ ทั่วประเทศรวมทั้งสิ้น 11 คน แต่ไม่ได้รับเลือกตั้งแม้แต่คนเดียว |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:58, 30 สิงหาคม 2553
ผู้เรียบเรียง นครินทร์ เมฆไตรรัตน์
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร และ รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต
พรรคประชาก้าวหน้า
พรรคประชาก้าวหน้าเป็นพรรคการเมืองที่จดทะเบียนจัดตั้งตามพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2517 โดยมีนายสำราญ จุลเชาวน์ เป็นหัวหน้าพรรค นายวินัย สุวรรณพิบูลย์ เป็นเลขาธิการพรรค คำขวัญของพรรคคือ “อุ้มคนยาก ลากคนมี ตีคนชั่ว ทูนหัวคนใหญ่ (พระมหากษัตริย์) หัวใจคือชาติ”
นโยบายพรรคประชาก้าวหน้า
นโยบายด้านการเมือง พรรคประชาก้าวหน้าเห็นว่ารัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2517 จำเป็นต้องมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลง โดยต้องให้มีโครงสร้างระบบเศรษฐกิจและการเมืองเป็นแบบประชาธิปไตยอย่างได้สมดุลกัน สำหรับวุฒิสภานั้น ควรจะยกเลิกไป
พรรคประชาก้าวหน้ามองว่าปัญหาเศรษฐกิจเกิดจากความผิดพลาดในการบริหารงานของรัฐบาลเป็นหลัก การแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ จะต้องใช้แนวทางใหม่ที่พรรคประชาก้าวหน้าเรียกว่า “ผจญสังคมนิยม” หมายถึง การส่งเสริมนายทุนน้อย และให้สัมปทานายทุนใหญ่ รัฐจะต้องสนับสนุนคนจนให้มีบทบาทอำนาจในทางเศรษฐกิจมากขึ้น ในขณะเดียวกันก็จะไม่กีดกันนายทุน อาจมีการออกกฎหมายตัดรอนนายทุนโดยรัฐบาล โดยรัฐไม่ต้องไปควบคุมการดำเนินธุรกิจ แต่ควบคุมตัดทอนรายได้ผลกำไรของนายทุนมาเฉลี่ยให้ประชาชนคนยากจน หรือคนใช้แรงงานให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
นโยบายด้านเศรษฐกิจ พรรคประชาก้าวหน้า จะให้รัฐบาลรับชำระหนี้ให้ชาวนาโดยประกาศพักชำระหนี้ 5 ปี ให้ผู้มีรายได้น้อยตั้งตัวได้ก่อน สงวนอาชีพให้มากขึ้นและจริงจัง จะดำเนินมาตรการทางเศรษฐกิจแบบ “ผจญสังคมนิยม” โดยส่งเสริมนายทุนน้อยและให้สัปทานนายทุนใหญ่ ควบคู่กับการดำเนินเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม รัฐต้องปฏิรูประบบการจัดสรรที่ดิน โดยการนำที่ดินทำกินในความครอบครองของผู้ที่มีที่ดินจำนวนมาก มาจัดสรรให้แก่ราษฎรทั่วประเทศที่ไม่มีที่ดินทำกิน โดยรัฐใช้การผ่อนซื้อจากเจ้าของกรรมสิทธิ์เดิม และจำหน่ายแก่ประชาชนในราคาถูก และจะตั้งกรมใหม่ขึ้นกับกระทรวงพาณิชย์ สำหรับริดรอนกำไรอันมากเกินควรของนายทุน รัฐเป็นผู้ดำเนินกิจการธนาคารพาณิชย์
นโยบายด้านการทหาร พรรคประชาก้าวหน้าจะเลี่ยงการทำข้อผูกพันทางทหารที่ไม่จำเป็น การทำสนธิสัญญาต้องมุ่งเน้นด้านเศรษฐกิจมากกว่าเรื่องการเมือง เช่น ทำสัญญาการค้ากับประเทศจีน เป็นต้น พรรคประชาก้าวหน้า มีนโยบายในการประหยัดแรงงานของชาติ โดยให้พลเมืองชายที่ร่างกายสมบูรณ์เข้ารับการฝึกทหารทุกคน และในเวลาว่างรัฐจะใช้ทหารเป็นกำลังสำคัญในการเพิ่มผลผลิตในด้านการเกษตร อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม เพื่อป้องกันแรงงานสูญเปล่าในระหว่างที่เข้าประจำการสองปี ลดงบประมาณทางการทหาร
นโยบายด้านการเกษตร พรรคประชาก้าวหน้า จะเร่งรัดการจัดระบบชลประทาน โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคอิสาน และจะต้องส่งเสริมการผลิตเครื่องมือเครื่องจักรทางการเกษตรภายในประเทศ โดยส่งเสริมวิศวกรรมเฉพาะทาง เพื่อจัดตั้งโรงงานอุตสาหกรรมผลิตเครื่องมือการเกษตรของรัฐ ผลกำไรของการประกอบกิจการจะนำมาจัดสรรแก่ประชาชนทุกกลุ่มอย่างเป็นธรรม
นโยบายด้านการบริหารราชการ พรรคประชาก้าวหน้า จะช่วยเหลือเรื่องค่าครองชีพแก่ข้าราชการ โดยจัดตั้งสหกรณ์ข้าราชการภายในเวลาหกเดือนนับแต่รัฐบาลเข้าบริหารประเทศ เพื่อให้ข้าราชการสามารถซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคในราคาถูก เช่น เสื้อผ้า ข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ และเพิ่มอัตราเงินเดือนข้าราชการตามอัตราความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เพื่อป้องกันปัญหาคอรัปชั่นในหมู่ข้าราชการ และจะใช้มาตรการรุนแรงในการปราบคอรัปชั่น เช่น โทษประหารชีวิต
รัฐบาลจะต้องมีการกระจายอำนาจการบริหาร โดยกระจายหน่วยงานราชการไปยังส่วนภูมิภาค มุ่งเน้นการบริหารราชการในภูมิภาคเพื่อให้ประชาชนได้รับความยุติธรรมในการพัฒนา รัฐควรส่งเสริมบทบาทของเทศบาลในการจัดการเก็บภาษีในท้องถิ่น เช่น ภาษีการค้า ภาษีเทศบาลต่าง ๆ อาจให้อำนาจเทศบาลในการกำกับควบคุมตำรวจในท้องที่ หรือแม้แต่การจัดตั้งโรงพยาบาลของเทศบาลเอง
นโยบายด้านการศึกษา พรรคประชาก้าวหน้า จะให้การศึกษาแก่เยาวชนโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงมหาวิทยาลัย กำหนดหลักเกณฑ์การสอบเข้ามหาวิทยาลัยโดยใช้วิธีคิด “ถัวเฉลี่ยเป็นภาค ๆ ไม่ต้องสอบเอนทรานซ์” ส่วนเด็กที่เหลือให้เข้ามหาวิทยาลัยเอกชนแบบการค้า โดยคนที่อยู่ในมหาวิทยาลัยของรัฐเรียนฟรี จะยึดโรงเรียนราษฎร์เป็นของชาติทั้งหมด และจะส่งเสริมสวัสดิการของครูโดยจะเพิ่มเงินกันดารสำหรับครู
นโยบายด้านสังคม รัฐต้องสงวนอาชีพบางประเภทสำหรับประชาชนชาวไทยอย่างเข้มงวด รัฐต้องส่งเสริมการจัดตั้งสหพันธ์แรงงานเพื่อรับฟังความคิดเห็นและความต้องการของผู้ใช้แรงงาน ส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของคนงาน จัดระบบประกันสังคมสำหรับผู้ใช้แรงงาน การจัดบริการทางการแพทย์ในโรงพยาบาลของรัฐจะต้องเป็นแบบให้เปล่า สำหรับปัญหาการว่างงาน รัฐจะต้องหางานให้ทำ เช่น กำหนดให้ร้านค้าหรือผู้ประกอบการธุรกิจที่มีคนงานตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ต้องรับนักศึกษาพาณิชย์ที่จบใหม่เข้าทำงานอย่างน้อย 3-4 คน เป็นต้น
ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2518 พรรคประชาก้าวหน้าส่งผู้สมัครลงแข่งขันรับเลือกตั้งในเขตต่าง ๆ ทั่วประเทศรวมทั้งสิ้น 11 คน แต่ไม่ได้รับเลือกตั้งแม้แต่คนเดียว
ที่มา
สุจิต บุญบงการ, การพัฒนาการเมืองของไทย: ปฏิสัมพันธ์ระหว่างทหาร สถาบันทางการเมือง และการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531
เสริมศักดิ์ พงษ์พานิช, การสมัครรับเลือกตั้งในนามของพรรคการเมืองในประเทศไทย, วิทยานิพนธ์หลักสูตรชั้นปริญญาโท ภาค 2 ทางรัฐศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2519
วสันต์ หงสกุล, 37 พรรคการเมือง ปัจจัยพิจารณาเปรียบเทียบ, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ตะวันนา, 2518
ปรีชา หงษ์ไกรเลิศ, พรรคการเมืองและปัญหาพรรคการเมืองไทย, กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช, 2524