ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พลังแผ่นดิน (พ.ศ. 2549)"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Teeraphan (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Teeraphan (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
บรรทัดที่ 1: บรรทัดที่ 1:
'''พรรคพลังแผ่นดิน'''
'''พรรคพลังแผ่นดิน'''


พรรคพลังแผ่นดินจดทะเบียนจัดตั้ง[[พรรคการเมือง]]ขึ้นเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2549 <ref> ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 123 ตอนที่ 70ง หน้า 70</ref> โดยมีนายสมใจ คงแจ่ม ดำรงตำแหน่งเป็น[[หัวหน้าพรรค]]และนายอำพล พนังแก้ว ดำรงตำแหน่งเป็น[[เลขาธิการพรรค]] ต่อมาเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2550 <ref>ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 125 ตอน 3ง หน้า 19</ref> นายอำพล พนังแก้ว ได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคเลขาธิการพรรค สุดท้ายเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2551<ref>ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 125 ตอน 101ง หน้า 85</ref>  นายสมใจ คงแจ่ม ได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคและหัวหน้าพรรคพลังแผ่นดินทำให้กรรมการบริหารพรรคพลังแผ่นดินที่เหลืออยู่ต้องพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะตามข้อบังคับของพรรคแต่อย่างไรก็ตามจากข้อบังคับของพรรคที่กำหนดไว้ว่าถ้าเกิดกรณีดังกล่าวขึ้นให้กรรมการบริหารพรรคที่ต้องพ้นจากตำแหน่งได้บริหารพรรคต่อไปจนกว่าที่นายทะเบียนพรรคการเมืองจะตอนรับการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารชุดใหม่ของพรรค
พรรคพลังแผ่นดินจดทะเบียนจัดตั้ง[[พรรคการเมือง]]ขึ้นเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2549 <ref> ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 123 ตอนที่ 70ง หน้า 70</ref> โดยมีนายสมใจ คงแจ่ม ดำรงตำแหน่งเป็น[[หัวหน้าพรรค]]และนายอำพล พนังแก้ว ดำรงตำแหน่งเป็น[[เลขาธิการพรรค]] ต่อมาเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2550 <ref>ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 125 ตอน 3ง หน้า 19</ref> นายอำพล พนังแก้ว ได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคเลขาธิการพรรค สุดท้ายเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2551<ref>ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 125 ตอน 101ง หน้า 85</ref>  นายสมใจ คงแจ่ม ได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคและหัวหน้าพรรคพลังแผ่นดินทำให้กรรมการบริหารพรรคพลังแผ่นดินที่เหลืออยู่ต้องพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะตามข้อบังคับของพรรคแต่อย่างไรก็ตามจากข้อบังคับของพรรคที่กำหนดไว้ว่าถ้าเกิดกรณีดังกล่าวขึ้นให้กรรมการบริหารพรรคที่ต้องพ้นจากตำแหน่งได้บริหารพรรคต่อไปจนกว่าที่[[นายทะเบียนพรรคการเมือง]]จะตอนรับการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารชุดใหม่ของพรรค


ในการเข้าร่วม[[กิจกรรมทางการเมือง]]อย่างเป็นทางการของพรรคพลังแผ่นดินนั้น การเลือกตั้งในปี 2550 พรรคได้ส่งสมาชิกลงสมัครรับเลือกตั้ง[[สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร]]ทั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งและแบบสัดส่วนจำนวนทั้งสิ้น 73 คน แบ่งเป็นแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวน 33 คน และแบบสัดส่วนจำนวน 40 คน ซึ่งทั้งหมดมิได้ถูกรับเลือกเลยแม้แต่ผู้เดียว
ในการเข้าร่วม[[กิจกรรมทางการเมือง]]อย่างเป็นทางการของพรรคพลังแผ่นดินนั้น [[การเลือกตั้ง]]ในปี 2550 พรรคได้ส่งสมาชิกลงสมัครรับเลือกตั้ง[[สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร]]ทั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งและแบบสัดส่วนจำนวนทั้งสิ้น 73 คน แบ่งเป็นแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวน 33 คน และแบบสัดส่วนจำนวน 40 คน ซึ่งทั้งหมดมิได้ถูกรับเลือกเลยแม้แต่ผู้เดียว
รายละเอียดเกี่ยวกับนโยบายและการดำเนินการที่สำคัญมีดังต่อไปนี้คือ <ref> สรุปความจากราชกิจจานุเบกษา เล่ม 123 ตอนที่ 70ง หน้า 70-73</ref>
รายละเอียดเกี่ยวกับนโยบายและการดำเนินการที่สำคัญมีดังต่อไปนี้คือ <ref> สรุปความจากราชกิจจานุเบกษา เล่ม 123 ตอนที่ 70ง หน้า 70-73</ref>



รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 20:37, 10 กรกฎาคม 2553

พรรคพลังแผ่นดิน

พรรคพลังแผ่นดินจดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2549 [1] โดยมีนายสมใจ คงแจ่ม ดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าพรรคและนายอำพล พนังแก้ว ดำรงตำแหน่งเป็นเลขาธิการพรรค ต่อมาเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2550 [2] นายอำพล พนังแก้ว ได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคเลขาธิการพรรค สุดท้ายเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2551[3] นายสมใจ คงแจ่ม ได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคและหัวหน้าพรรคพลังแผ่นดินทำให้กรรมการบริหารพรรคพลังแผ่นดินที่เหลืออยู่ต้องพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะตามข้อบังคับของพรรคแต่อย่างไรก็ตามจากข้อบังคับของพรรคที่กำหนดไว้ว่าถ้าเกิดกรณีดังกล่าวขึ้นให้กรรมการบริหารพรรคที่ต้องพ้นจากตำแหน่งได้บริหารพรรคต่อไปจนกว่าที่นายทะเบียนพรรคการเมืองจะตอนรับการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารชุดใหม่ของพรรค

ในการเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองอย่างเป็นทางการของพรรคพลังแผ่นดินนั้น การเลือกตั้งในปี 2550 พรรคได้ส่งสมาชิกลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งและแบบสัดส่วนจำนวนทั้งสิ้น 73 คน แบ่งเป็นแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวน 33 คน และแบบสัดส่วนจำนวน 40 คน ซึ่งทั้งหมดมิได้ถูกรับเลือกเลยแม้แต่ผู้เดียว รายละเอียดเกี่ยวกับนโยบายและการดำเนินการที่สำคัญมีดังต่อไปนี้คือ [4]


ด้านการเมือง

1.การปกครองและสังคม

2.กำจัดการทุจริตคอรัปชันในเชิงวิชาการ เชิงนโยบายของภาครัฐ

3.แก้ไขหนี้สินภาคประชาชน ภาครัฐและภาคเอกชน

4.ส่งเสริมการกระจายอำนาจ

5.ปฏิรูประบบราชการ

6.จัดตั้งกองทุนประกันสังคมทุกหมู่บ้าน

7.จัดการเลือกตั้งทุกประเภทผ่านระบบออนไลน์

8.ให้นักบวชทุกศาสนามีสิทธิเลือกตั้งได้


ด้านเกษตร และอุตสาหกรรม

1.ปรับปรุงระบบการชลประทานและระบบส่งน้ำด้วยท่อผสมผสานกับคลองส่งน้ำให้ทั่วถึง

2.ประกันราคาผลผลิตทางการเกษตรและอุตสาหกรรมพร้อมทั้งการควบคุมราคาสินค้า

3.จัดตั้งกองทุนพัฒนาเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

4.จัดสรรที่ดินทำกินให้เกษตรกร

5.จัดตั้งสมาพันธ์ปาล์มน้ำมันแห่งประเทศไทย

6.จัดตั้งโครงการพัฒนาน้ำมันไบโอดีเซล

7.จัดตั้งสมาพันธ์ยางพาราแห่งประเทศไทย

8.จัดให้มีนิคมอุตสาหกรรมทั่วทุกภูมิภาค

9.วางแผนการใช้ที่ดินอย่างเหมาะสม


ด้านเศรษฐกิจ

1.จัดให้มีอาชีพที่มั่นคงและสร้างงานไว้รองรับผู้จบการศึกษา

2.สนับสนุนอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม

3.สนับสนุนรวมกลุ่มประเทศผู้ผลิตสินค้าการเกษตร


ด้านการศึกษา

1.จัดตั้งโรงเรียนทุกเขตพื้นที่การศึกษา

2.เรียนฟรีจนถึงระดับปริญญาตรี

3.บรรจุหลักการทางศาสนาเข้ามาในหลักสูตรการเรียน

4.ตรวจสอบมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาเอกชนโดยคณะกรรมการการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ


ด้านศาสนาและศิลปวัฒนธรรม

1.เผยแพร่ขนบธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรมไทยไปทั่วโลก

2.อนุรักษ์ศิลปะการแสดงทุกๆด้านไว้เป็นศิลปะประจำชาติ

3.จัดตั้งกองทุนทำนุบำรุงทุกศาสนา


ด้านการสาธารณสุข

1.จัดให้มีการรักษาพยาบาลโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย

2.ปรับปรุงการบริการทางด้านสาธารณะสุข

3.ควบคุมและป้องกันโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ

4.ส่งเสริมการออกกำลังกาย


ด้านแรงงานและสวัสดิการสังคม

1.ตรวจสอบควบคุมแรงงานต่างด้าว

2.ปรับปรุงกฎหมายแรงงาน

3.พัฒนามาตรฐานแรงงาน

4.ผลิตแรงงานในสาขาที่ขาดแคลน

5.ดูแลแรงงานไทยในต่างประเทศ


ด้านการคมนาคม

1.ปรับปรุงเครือข่ายคมนาคมให้มีประสิทธิภาพ

2.เชื่อมโยงเครือข่ายคมนาคมกับประเทศเพื่อนบ้านโดยให้ไทยเป็นศูนย์กลาง

3.ควบคุมการก่อสร้างถนนทั่วประเทศให้ได้มาตรฐาน


ด้านการต่างประเทศ

1.ดำเนินนโยบายทางการทูตที่เป็นอิสระและเป็นมิตรกับทุกประเทศ

2.ร่วมมือกับต่างประเทศตามมติของยูเนสโกแต่ต้องผ่านมติคณะรัฐมนตรีก่อน

3.กระชับความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะประเทศที่มีพรมแดนติดกับไทย

อ้างอิง

  1. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 123 ตอนที่ 70ง หน้า 70
  2. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 125 ตอน 3ง หน้า 19
  3. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 125 ตอน 101ง หน้า 85
  4. สรุปความจากราชกิจจานุเบกษา เล่ม 123 ตอนที่ 70ง หน้า 70-73