ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การยุบสภาผู้แทนราษฎร วันที่ 9 พฤศจิกายน 2543"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Panu (คุย | ส่วนร่วม)
สร้างหน้าใหม่: '''ผู้เรียบเรียง''' สุภัทร คำมุงคุณ '''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทค...
 
Panu (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 5: บรรทัดที่ 5:
----
----


การยุบสภาเป็นกระบวนหนึ่งของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา และถือว่าการยุบสภาเป็นการคืนอำนาจการตัดสินใจทางการเมืองกลับไปยังประชาชน เพราะจะต้องจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขึ้นใหม่ เพื่อให้ประชาชนได้เลือกบุคคลจากพรรคการเมืองที่มีนโยบาย วิธีปฏิบัติ และคุณธรรม มาเป็นฝ่ายข้างมากในการออกกฎหมายและควบคุมรัฐบาล และเป็นฝ่ายจัดตั้งคณะรัฐมนตรีขึ้นเพื่อบริหารประเทศ<ref>แถลงการณ์สำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การยุบสภาผู้แทนราษฎรและการกำหนดวันเลือกตั้ง. '''ราชกิจจานุเบกษา''' เล่ม 117 ตอนที่ 102 ก วันที่ 9 พฤศจิกายน 2543 หน้า 3.</ref>
การยุบสภาเป็นกระบวนหนึ่งของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา และถือว่าการยุบสภาเป็นการคืนอำนาจการตัดสินใจทางการเมืองกลับไปยังประชาชน เพราะจะต้องจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขึ้นใหม่ เพื่อให้ประชาชนได้เลือกบุคคลจากพรรคการเมืองที่มีนโยบาย วิธีปฏิบัติ และคุณธรรม มาเป็นฝ่ายข้างมากในการออกกฎหมายและควบคุมรัฐบาล และเป็นฝ่ายจัดตั้ง[[คณะรัฐมนตรี]]ขึ้นเพื่อบริหารประเทศ<ref>แถลงการณ์สำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การยุบสภาผู้แทนราษฎรและการกำหนดวันเลือกตั้ง. '''ราชกิจจานุเบกษา''' เล่ม 117 ตอนที่ 102 ก วันที่ 9 พฤศจิกายน 2543 หน้า 3.</ref>


==ความหมาย==
==ความหมาย==


การยุบสภา หมายถึง การที่พระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นประมุขของประเทศประกาศให้สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงก่อนครบกำหนดวาระเพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ เป็นการเลือกตั้งทั่วไปซึ่งกระทำโดยพระราชกฤษฎีกา การยุบสภานี้เป็นมาตรการถ่วงดุลอำนาจระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร<ref>สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2550). '''75 ปีรัฐสภาไทย.''' หน้า 31.</ref>
การยุบสภา หมายถึง การที่[[พระมหากษัตริย์]]ซึ่งเป็นประมุขของประเทศประกาศให้สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงก่อนครบกำหนดวาระเพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ เป็นการเลือกตั้งทั่วไปซึ่งกระทำโดย[[พระราชกฤษฎีกา]] การยุบสภานี้เป็นมาตรการถ่วงดุลอำนาจระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร<ref>สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2550). '''75 ปีรัฐสภาไทย.''' หน้า 31.</ref>


นอกจากนั้นแล้ว มานิตย์ จุมปา (2549) ให้ความหมายของการยุบสภา (Dislution of Parliament) หมายถึง การที่ประมุขของรัฐในระบบรัฐสภาประกาศให้สมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลงพร้อมกันทุกคนก่อนครบกำหนดวาระการดำรงตำแหน่ง เพื่อจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่เร็วขึ้นกว่าวาระปกติของสภา<ref>มานิตย์ จุมปา. (2549). '''คำอธิบาย รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2540) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 พร้อมข้อเสนอสำหรับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ.2550)''' กรุงเทพ : นิติธรรม หน้า 573.</ref>
นอกจากนั้นแล้ว มานิตย์ จุมปา (2549) ให้ความหมายของการยุบสภา (Dislution of Parliament) หมายถึง การที่ประมุขของรัฐในระบบรัฐสภาประกาศให้สมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลงพร้อมกันทุกคนก่อนครบกำหนดวาระการดำรงตำแหน่ง เพื่อจัดให้มี[[การเลือกตั้ง]]ใหม่เร็วขึ้นกว่าวาระปกติของสภา<ref>มานิตย์ จุมปา. (2549). '''คำอธิบาย รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2540) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 พร้อมข้อเสนอสำหรับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ.2550)''' กรุงเทพ : นิติธรรม หน้า 573.</ref>


คณิน บุญสุวรรณ (2548) ได้กล่าวถึงความหมายของ การยุบสภา หมายถึง การดำเนินงานทางการเมือง เพื่อให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมดที่มีอยู่ในขณะใดขณะหนึ่งต้องพ้นจากสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไปพร้อมกัน และจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขึ้นใหม่เป็นการเลือกตั้งทั่วไป การยุบสภาที่ว่านี้ใช้กับสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น โดยไม่เกี่ยวข้องกับวุฒิสภา เพราะไม่มีการยุบวุฒิสภา การยุบสภาผู้แทนราษฎร เป็นหลักการสำคัญประการหนึ่งของการปกครองประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา ซึ่งให้อำนาจนายกรัฐมนตรีในการถ่วงดุลอำนาจฝ่ายนิติบัญญัติ<ref>คณิน บุญสุวรรณ. (2548). '''ปทานุกรมศัพท์รัฐสภา ฉบับสมบูรณ์.''' กรุงเทพ : สุขภาพใจ. หน้า 724.</ref>
คณิน บุญสุวรรณ (2548) ได้กล่าวถึงความหมายของ การยุบสภา หมายถึง การดำเนินงานทางการเมือง เพื่อให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมดที่มีอยู่ในขณะใดขณะหนึ่งต้องพ้นจากสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไปพร้อมกัน และจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขึ้นใหม่เป็นการเลือกตั้งทั่วไป การยุบสภาที่ว่านี้ใช้กับสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น โดยไม่เกี่ยวข้องกับ[[วุฒิสภา]] เพราะไม่มีการยุบวุฒิสภา [[การยุบสภาผู้แทนราษฎร]] เป็นหลักการสำคัญประการหนึ่งของการปกครองประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา ซึ่งให้อำนาจ[[นายกรัฐมนตรี]]ในการถ่วงดุลอำนาจฝ่ายนิติบัญญัติ<ref>คณิน บุญสุวรรณ. (2548). '''ปทานุกรมศัพท์รัฐสภา ฉบับสมบูรณ์.''' กรุงเทพ : สุขภาพใจ. หน้า 724.</ref>


==เหตุการณ์ที่นำไปสู่การยุบสภาผู้แทนราษฎร==
==เหตุการณ์ที่นำไปสู่การยุบสภาผู้แทนราษฎร==
บรรทัดที่ 31: บรรทัดที่ 31:
- เกิดปัญหาไม่อาจตั้งรัฐบาลได้ หรือต้องตั้งในรูปรัฐบาลผสมจากหลายพรรคมากเกินไป จึงยุบสภาเพื่อจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่อีกหน
- เกิดปัญหาไม่อาจตั้งรัฐบาลได้ หรือต้องตั้งในรูปรัฐบาลผสมจากหลายพรรคมากเกินไป จึงยุบสภาเพื่อจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่อีกหน


สำหรับสถานการณ์ทางการเมืองตอนปลายในสมัยรัฐบาลนายชวน หลีกภัย ก่อนการยุบสภาผู้แทนราษฎรในปี พ.ศ. 2543 นั้น ได้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจในปี 254o และความไม่พอใจในการบริหารประเทศของรัฐบาล โดยเฉพาะเมื่อเศรษฐกิจเกิดการหดตัวอย่างรุนแรงในช่วงต้นปี 2542 อันเนื่องมาจากการดำเนินงานตามเงื่อนไขของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ประกอบกับข้อมูลที่พรรคฝ่ายค้านได้นำมาอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล เมื่อเดือนมกราคม 2542 โดยมีประเด็นเจาะจงเกี่ยวกับนโยบายการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ โดยกล่าวว่าการรีบเร่งปิดธนาคารและสถาบันการเงินจนทำให้ระบบเครดิตหยุดชะงัก โดยเฉพาะการที่องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน(ปรส.) ขายสินทรัพย์ของบริษัทการเงินที่ถูกปิดด้วยการประมูล ทำให้บริษัทต่างประเทศได้กำไร นอกจากนี้ฝ่ายค้านยังกล่าวถึงค่าใช้จ่ายที่จ่ายให้บริษัทที่ปรึกษาต่างชาติเป็นจำนวนมากเพื่อให้ได้รับคำแนะนำ โดยหลังจากการยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ ที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบให้ฝ่ายรัฐบาลบริหารประเทศต่อไป แต่สำหรับพรรคร่วมฝ่ายค้านนั้น ได้เกิดการเปลี่ยนแปลง โดยต่อมาสมาชิกพรรคความหวังใหม่ กลุ่มวังน้ำเย็น ได้ลาออกจากพรรคความหวังใหม่แล้วย้ายเข้าไปสังกัดพรรคไทยรักไทย รวมทั้งได้มีการเตรียมที่จะย้ายพรรคของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคต่าง ๆ เข้าสู่พรรคไทยรักไทยอีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งภายหลังทำให้เหลือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสภาจำนวน 267 คน โดยเป็นสมาชิกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ทำหน้าที่ฝ่ายค้านเพียง 54 คน เพื่อหวังผลให้ยุบสภาผู้แทนราษฎร แต่อย่างไรก็ตามการกดดันดังกล่าวก็ไม่เป็นผล คณะรัฐมนตรียังคงบริหารประเทศต่อไปโดยยังคงมีเสียงข้างมากอยู่
สำหรับสถานการณ์ทางการเมืองตอนปลายในสมัยรัฐบาลนาย[[ชวน หลีกภัย]] ก่อนการยุบสภาผู้แทนราษฎรในปี พ.ศ. 2543 นั้น ได้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจในปี 254o และความไม่พอใจในการบริหารประเทศของรัฐบาล โดยเฉพาะเมื่อเศรษฐกิจเกิดการหดตัวอย่างรุนแรงในช่วงต้นปี 2542 อันเนื่องมาจากการดำเนินงานตามเงื่อนไขของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ประกอบกับข้อมูลที่พรรคฝ่ายค้านได้นำมาอภิปรายไม่ไว้วางใจ[[รัฐมนตรี]]เป็นรายบุคคล เมื่อเดือนมกราคม 2542 โดยมีประเด็นเจาะจงเกี่ยวกับนโยบายการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ โดยกล่าวว่าการรีบเร่งปิดธนาคารและสถาบันการเงินจนทำให้ระบบเครดิตหยุดชะงัก โดยเฉพาะการที่องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน(ปรส.) ขายสินทรัพย์ของบริษัทการเงินที่ถูกปิดด้วยการประมูล ทำให้บริษัทต่างประเทศได้กำไร นอกจากนี้ฝ่ายค้านยังกล่าวถึงค่าใช้จ่ายที่จ่ายให้บริษัทที่ปรึกษาต่างชาติเป็นจำนวนมากเพื่อให้ได้รับคำแนะนำ โดยหลังจากการยื่น[[ญัตติ]]อภิปรายไม่ไว้วางใจ ที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบให้ฝ่ายรัฐบาลบริหารประเทศต่อไป แต่สำหรับพรรคร่วมฝ่ายค้านนั้น ได้เกิดการเปลี่ยนแปลง โดยต่อมาสมาชิกพรรคความหวังใหม่ กลุ่มวังน้ำเย็น ได้ลาออกจาก[[พรรคความหวังใหม่]]แล้วย้ายเข้าไปสังกัด[[พรรคไทยรักไทย]] รวมทั้งได้มีการเตรียมที่จะย้ายพรรคของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคต่าง ๆ เข้าสู่พรรคไทยรักไทยอีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งภายหลังทำให้เหลือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสภาจำนวน 267 คน โดยเป็นสมาชิกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ทำหน้าที่ฝ่ายค้านเพียง 54 คน เพื่อหวังผลให้ยุบสภาผู้แทนราษฎร แต่อย่างไรก็ตามการกดดันดังกล่าวก็ไม่เป็นผล [[คณะรัฐมนตรี]]ยังคงบริหารประเทศต่อไปโดยยังคงมีเสียงข้างมากอยู่


ถึงแม้ว่าจะได้เข้ามาบริหารประเทศด้วยการสนับสนุนอย่างกว้างขวางของประชาชน โดยมีทีมเศรษฐกิจที่น่าเชื่อถือ แต่ประกอบกับสภาพเศรษฐกิจที่ทรุดโทรมลงมากในปี 2541 อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) ติดลบร้อยละ 10.2 ทำให้ความนิยมในช่วงปลายรัฐบาลลดลงเป็นอย่างมาก เมื่อคณะรัฐมนตรีได้เข้ามาบริหารประเทศจนใกล้ครบกำหนดอายุสภาผู้แทนราษฎร นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี จึงได้ประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2543<ref>สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. (2549). '''การเมืองการปกครอง : ยุคเผด็จการ – ยุคปฏิรูป.''' กรุงเทพ : เสนาธรรม. หน้า 823-827</ref>
ถึงแม้ว่าจะได้เข้ามาบริหารประเทศด้วยการสนับสนุนอย่างกว้างขวางของประชาชน โดยมีทีมเศรษฐกิจที่น่าเชื่อถือ แต่ประกอบกับสภาพเศรษฐกิจที่ทรุดโทรมลงมากในปี 2541 อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) ติดลบร้อยละ 10.2 ทำให้ความนิยมในช่วงปลายรัฐบาลลดลงเป็นอย่างมาก เมื่อคณะรัฐมนตรีได้เข้ามาบริหารประเทศจนใกล้ครบกำหนดอายุสภาผู้แทนราษฎร นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี จึงได้ประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2543<ref>สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. (2549). '''การเมืองการปกครอง : ยุคเผด็จการ – ยุคปฏิรูป.''' กรุงเทพ : เสนาธรรม. หน้า 823-827</ref>
บรรทัดที่ 37: บรรทัดที่ 37:
==แถลงการณ์สำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องการยุบสภาผู้แทนราษฎรและการกำหนดวันเลือกตั้ง==
==แถลงการณ์สำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องการยุบสภาผู้แทนราษฎรและการกำหนดวันเลือกตั้ง==


หลังจากที่ได้มีการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร ในวันพฤหัสบดีที่ 9 พฤศจิกายน 2543 เป็นเหตุให้สมาชิกภาพของสภาผู้แทนราษฎรทุกคนสิ้นสุดลง และต้องจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปภายใน 60 วัน ทั้งนี้ รัฐบาลได้ชี้แจงเกี่ยวกับการยุบสภาผู้แทนราษฎร โดยสรุปสาระสำคัญ ดังนี้<ref>แถลงการณ์สำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การยุบสภาผู้แทนราษฎรและการกำหนดวันเลือกตั้ง, อ้างแล้ว, หน้า 3-4.</ref>
หลังจากที่ได้มีการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร ในวันพฤหัสบดีที่ 9 พฤศจิกายน 2543 เป็นเหตุให้สมาชิกภาพของสภาผู้แทนราษฎรทุกคนสิ้นสุดลง และต้องจัดให้มี[[การเลือกตั้ง]]ทั่วไปภายใน 60 วัน ทั้งนี้ รัฐบาลได้ชี้แจงเกี่ยวกับการยุบสภาผู้แทนราษฎร โดยสรุปสาระสำคัญ ดังนี้<ref>แถลงการณ์สำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การยุบสภาผู้แทนราษฎรและการกำหนดวันเลือกตั้ง, อ้างแล้ว, หน้า 3-4.</ref>


1. การยุบสภาเป็นกระบวนปกติของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา และเป็นการคืนอำนาจการตัดสินใจทางการเมืองกลับไปยังประชาชน เพราะจะต้องจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขึ้นใหม่ ปัญหาทั้งปวงจะกลับไปยุติที่ประชาชนด้วยการเลือกตั้งให้ได้บุคคลจากพรรคการเมือง มาเป็นฝ่ายข้างมากในการออกกฎหมายและควบคุมรัฐบาล และเป็นฝ่ายจัดตั้งคณะรัฐมนตรีขึ้นบริหารประเทศ
1. การยุบสภาเป็นกระบวนปกติของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา และเป็นการคืนอำนาจการตัดสินใจทางการเมืองกลับไปยังประชาชน เพราะจะต้องจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขึ้นใหม่ ปัญหาทั้งปวงจะกลับไปยุติที่ประชาชนด้วยการเลือกตั้งให้ได้บุคคลจาก[[พรรคการเมือง]] มาเป็นฝ่ายข้างมากในการออกกฎหมายและควบคุมรัฐบาล และเป็นฝ่ายจัดตั้งคณะรัฐมนตรีขึ้นบริหารประเทศ


2. เมื่อคณะรัฐมนตรีได้เข้ามาบริหารแผ่นดินในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2543 ประเทศชาติประสบปัญหาวิกฤติทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอย่างรุนแรง และมีภารกิจสำคัญต้องจัดให้มีกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญและกฎหมายต่าง ๆ ที่ต้องตราขึ้นตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ให้ทันภายในกรอบเวลาที่รัฐธรรมนูญกำหนด และรัฐบาลได้ดำเนินการสำเร็จแล้วอันได้แก่  
2. เมื่อคณะรัฐมนตรีได้เข้ามาบริหารแผ่นดินในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2543 ประเทศชาติประสบปัญหาวิกฤติทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอย่างรุนแรง และมีภารกิจสำคัญต้องจัดให้มีกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญและกฎหมายต่าง ๆ ที่ต้องตราขึ้นตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ให้ทันภายในกรอบเวลาที่[[รัฐธรรมนูญ]]กำหนด และรัฐบาลได้ดำเนินการสำเร็จแล้วอันได้แก่  


- การดำเนินการเพื่อการตรากฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่น ๆ ประมาณ 30 ฉบับ
- การดำเนินการเพื่อการตรากฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่น ๆ ประมาณ 30 ฉบับ
บรรทัดที่ 51: บรรทัดที่ 51:
- จัดให้มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎรตลอดระยะเวลาสี่ปีของอายุสภาผู้แทนราษฎร  
- จัดให้มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎรตลอดระยะเวลาสี่ปีของอายุสภาผู้แทนราษฎร  


- ให้ความเห็นชอบกฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 อันจะเป็นเครื่องมือในการบริหารราชการแผ่นดิน สำหรับปีงบประมาณใหม่ และรัฐบาลใหม่ต่อไป
- ให้ความเห็นชอบกฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 อันจะเป็นเครื่องมือใน[[การบริหารราชการแผ่นดิน]] สำหรับปีงบประมาณใหม่ และรัฐบาลใหม่ต่อไป


- ให้ความเห็นชอบและสามารถตราขึ้นบังคับใช้กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาฉบับแก้ไขเพิ่มเติม โดยศาลรัฐธรรมนูญมี
- ให้ความเห็นชอบและสามารถตราขึ้นบังคับใช้กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาฉบับแก้ไขเพิ่มเติม โดยศาลรัฐธรรมนูญมี
คำวินิจฉัยแล้วว่าไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ (รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540) อันจะเป็นเครื่องมือสำหรับคณะกรรมการการเลือกตั้งที่จะจัดให้มีการเลือกตั้งต่อไป
คำวินิจฉัยแล้วว่าไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ (รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540) อันจะเป็นเครื่องมือสำหรับ[[คณะกรรมการการเลือกตั้ง]]ที่จะจัดให้มี[[การเลือกตั้ง]]ต่อไป


ดังนั้น จึงคืนอำนาจการตัดสินใจทางการเมืองกลับไปให้ประชาชนด้วยการยุบสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขึ้นใหม่
ดังนั้น จึงคืนอำนาจการตัดสินใจทางการเมืองกลับไปให้ประชาชนด้วย[[การยุบสภาผู้แทนราษฎร]] เพื่อให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขึ้นใหม่


3. การเลือกตั้งจะต้องใช้หลักเกณฑ์และวิธีการใหม่หลายประการเป็นครั้งแรก ซึ่งประชาชนยังไม่คุ้นเคย จึงต้องมีระยะเวลาที่จะประชาสัมพันธ์และบริหารจัดการก่อนการเลือกตั้งอย่างรอบคอบ รัดกุม ซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้งเห็นว่าวันเลือกตั้งควรมีระยะเวลาห่างจากวันยุบสภา อย่างน้อย 50 วัน และสมควรจัดให้มีการเลือกตั้งวันเสาร์เพื่อระดมบุคลากรมาช่วยงานที่ต้องทำต่อเนื่องในวันถัดไปได้โดยสะดวก  
3. การเลือกตั้งจะต้องใช้หลักเกณฑ์และวิธีการใหม่หลายประการเป็นครั้งแรก ซึ่งประชาชนยังไม่คุ้นเคย จึงต้องมีระยะเวลาที่จะประชาสัมพันธ์และบริหารจัดการก่อนการเลือกตั้งอย่างรอบคอบ รัดกุม ซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้งเห็นว่าวันเลือกตั้งควรมีระยะเวลาห่างจากวันยุบสภา อย่างน้อย 50 วัน และสมควรจัดให้มีการเลือกตั้งวันเสาร์เพื่อระดมบุคลากรมาช่วยงานที่ต้องทำต่อเนื่องในวันถัดไปได้โดยสะดวก  
บรรทัดที่ 68: บรรทัดที่ 68:
==ผลจากการยุบสภาผู้แทนราษฎร==
==ผลจากการยุบสภาผู้แทนราษฎร==


การยุบสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2543 เป็นเหตุให้สมาชิกภาพของสภาผู้แทนราษฎรทุกคนสิ้นสุดลง และจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปภายใน 60 วัน ทำให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้ราษฎรในวันที่ 6 มกราคม 2544 ซึ่งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 กำหนดสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิก 500 คน โดยเป็นสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อจำนวน 100 คน และสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวน 400 คน<ref>รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540. '''ราชกิจจานุเบกษา.''' เล่มที่ 114 ตอนที่ 55 ก. วันที่ 11 ตุลาคม 2540. หน้า 19.</ref>  โดยผลการเลือกตั้งปรากฏว่า สมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อจำนวน 100 คน เป็นชาย 94 คน หญิง 6 คน และพรรคการเมืองที่มีผู้สมัครรับเลือกตั้งได้รับคะแนนเสียงเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อทั่วประเทศมีจำนวน 5 พรรคการเมือง คือ พรรคไทยรักไทย 48 คน พรรคประชาธิปัตย์ 31 คน พรรคความหวังใหม่ 8 คน พรรคชาติไทย 6 คน และพรรคชาติพัฒนา 7 คน  
การยุบสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2543 เป็นเหตุให้สมาชิกภาพของสภาผู้แทนราษฎรทุกคนสิ้นสุดลง และจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปภายใน 60 วัน ทำให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้ราษฎรในวันที่ 6 มกราคม 2544 ซึ่งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 กำหนดสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิก 500 คน โดยเป็นสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อจำนวน 100 คน และสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวน 400 คน<ref>รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540. '''ราชกิจจานุเบกษา.''' เล่มที่ 114 ตอนที่ 55 ก. วันที่ 11 ตุลาคม 2540. หน้า 19.</ref>  โดยผลการเลือกตั้งปรากฏว่า สมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อจำนวน 100 คน เป็นชาย 94 คน หญิง 6 คน และพรรคการเมืองที่มีผู้สมัครรับเลือกตั้งได้รับคะแนนเสียงเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อทั่วประเทศมีจำนวน 5 พรรคการเมือง คือ [[พรรคไทยรักไทย]] 48 คน [[พรรคประชาธิปัตย์]] 31 คน [[พรรคความหวังใหม่]] 8 คน [[พรรคชาติไทย]] 6 คน และ[[พรรคชาติพัฒนา]] 7 คน  


สำหรับสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวน 400 คน เป็นชาย 362 คน หญิง 38 คน และพรรคการเมืองที่มีผู้สมัครรับเลือกตั้งได้รับคะแนนเสียงเลือกตั้งแบบแบ่งเขตทั่วประเทศมีจำนวน 9 พรรคการเมือง คือ พรรคไทยรักไทย 200 คน พรรคประชาธิปัตย์ 97 คน พรรคความหวังใหม่ 28 คน พรรคชาติไทย 35 คน พรรคชาติพัฒนา 22 คน พรรคเสรีธรรม 14 คน พรรคถิ่นไทย 1 คน พรรคราษฎร 2 คน และพรรคกิจสังคม 1 คน  
สำหรับสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่ง[[เขตเลือกตั้ง]]จำนวน 400 คน เป็นชาย 362 คน หญิง 38 คน และพรรคการเมืองที่มีผู้สมัครรับเลือกตั้งได้รับคะแนนเสียงเลือกตั้งแบบแบ่งเขตทั่วประเทศมีจำนวน 9 พรรคการเมือง คือ พรรคไทยรักไทย 200 คน พรรคประชาธิปัตย์ 97 คน พรรคความหวังใหม่ 28 คน พรรคชาติไทย 35 คน พรรคชาติพัฒนา 22 คน พรรค[[เสรีธรรม]] 14 คน [[พรรคถิ่นไทย]] 1 คน [[พรรคราษฎร]] 2 คน และ[[พรรคกิจสังคม]] 1 คน  


ต่อมาได้มีการจัดตั้งรัฐบาลผสม โดยมีพรรคไทยรักไทยเป็นแกนนำ และพรรคความหวังใหม่ พรรคเสรีธรรม พรรคชาติไทย และพรรคชาติพัฒนา โดยมีสมาชิกพรรคจำนวน 372 คน ภายหลังพรรคความหวังใหม่ พรรคเสรีธรรม และพรรคชาติพัฒนาได้ยุบรวมตัวกับพรรคไทยรักไทย ทำให้พรรคไทยรักไทยเป็นพรรคเดียวที่มีเสียงข้างมาก และได้มีการจัดตั้งรัฐบาล โดยมีพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร หัวหน้าพรรคไทยรักไทย เป็นนายกรัฐมนตรี และเข้าบริหารประเทศเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2544<ref>สมบติ ธำรงธัญวงศ์, อ้างแล้ว, หน้า 833-834.</ref>
ต่อมาได้มีการจัดตั้งรัฐบาลผสม โดยมีพรรคไทยรักไทยเป็นแกนนำ และพรรคความหวังใหม่ พรรคเสรีธรรม พรรคชาติไทย และพรรคชาติพัฒนา โดยมีสมาชิกพรรคจำนวน 372 คน ภายหลังพรรคความหวังใหม่ พรรคเสรีธรรม และพรรคชาติพัฒนาได้ยุบรวมตัวกับพรรคไทยรักไทย ทำให้พรรคไทยรักไทยเป็นพรรคเดียวที่มีเสียงข้างมาก และได้มีการจัดตั้งรัฐบาล โดยมี[[ทักษิณ ชินวัตร|พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร]] หัวหน้าพรรคไทยรักไทย เป็นนายกรัฐมนตรี และเข้าบริหารประเทศเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2544<ref>สมบติ ธำรงธัญวงศ์, อ้างแล้ว, หน้า 833-834.</ref>


กล่าวโดยสรุปแล้วการยุบสภามีผลทำให้สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง<ref>รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540, อ้างแล้ว, หน้า 26.</ref> และต้องกำหนดวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่เป็นการเลือกตั้งทั่วไปภายใน 60 วันนับแต่วันที่มีการยุบสภา<ref>รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540, อ้างแล้ว, หน้า 25.</ref> และยังมีผลทำให้รัฐมนตรีทั้งคณะพ้นจากตำแหน่ง รวมทั้งรัฐมนตรีจะใช้อำนาจแต่งตั้งหรือโยกย้ายข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ หรือพนักงานของหน่วยงานรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ หรือบุคคลดังกล่าวพ้นจากตำแหน่งมิได้<ref>รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540, อ้างแล้ว, หน้า 55.</ref> ตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540ได้กำหนดไว้ นอกจากนั้นแล้วการยุบสภาในครั้งนี้พระราชกฤษฎียุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2543 ยังได้กำหนดให้นายกรัฐมนตรีและประธานคณะกรรมการการเลือกตั้งรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้<ref>พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2543. '''ราชกิจจานุเบกษา''' เล่ม 117 ตอนที่ 102 ก วันที่ 9 พฤศจิกายน 2543. หน้า 2.</ref>
กล่าวโดยสรุปแล้วการยุบสภามีผลทำให้สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง<ref>รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540, อ้างแล้ว, หน้า 26.</ref> และต้องกำหนดวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่เป็นการเลือกตั้งทั่วไปภายใน 60 วันนับแต่วันที่มีการยุบสภา<ref>รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540, อ้างแล้ว, หน้า 25.</ref> และยังมีผลทำให้รัฐมนตรีทั้งคณะพ้นจากตำแหน่ง รวมทั้งรัฐมนตรีจะใช้อำนาจแต่งตั้งหรือโยกย้ายข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ หรือพนักงานของหน่วยงานรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ หรือบุคคลดังกล่าวพ้นจากตำแหน่งมิได้<ref>รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540, อ้างแล้ว, หน้า 55.</ref> ตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540ได้กำหนดไว้ นอกจากนั้นแล้วการยุบสภาในครั้งนี้พระราชกฤษฎียุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2543 ยังได้กำหนดให้นายกรัฐมนตรีและประธานคณะกรรมการการเลือกตั้งรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้<ref>พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2543. '''ราชกิจจานุเบกษา''' เล่ม 117 ตอนที่ 102 ก วันที่ 9 พฤศจิกายน 2543. หน้า 2.</ref>

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:33, 8 มกราคม 2553

ผู้เรียบเรียง สุภัทร คำมุงคุณ

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จเร พันธุ์เปรื่อง


การยุบสภาเป็นกระบวนหนึ่งของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา และถือว่าการยุบสภาเป็นการคืนอำนาจการตัดสินใจทางการเมืองกลับไปยังประชาชน เพราะจะต้องจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขึ้นใหม่ เพื่อให้ประชาชนได้เลือกบุคคลจากพรรคการเมืองที่มีนโยบาย วิธีปฏิบัติ และคุณธรรม มาเป็นฝ่ายข้างมากในการออกกฎหมายและควบคุมรัฐบาล และเป็นฝ่ายจัดตั้งคณะรัฐมนตรีขึ้นเพื่อบริหารประเทศ[1]

ความหมาย

การยุบสภา หมายถึง การที่พระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นประมุขของประเทศประกาศให้สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงก่อนครบกำหนดวาระเพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ เป็นการเลือกตั้งทั่วไปซึ่งกระทำโดยพระราชกฤษฎีกา การยุบสภานี้เป็นมาตรการถ่วงดุลอำนาจระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร[2]

นอกจากนั้นแล้ว มานิตย์ จุมปา (2549) ให้ความหมายของการยุบสภา (Dislution of Parliament) หมายถึง การที่ประมุขของรัฐในระบบรัฐสภาประกาศให้สมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลงพร้อมกันทุกคนก่อนครบกำหนดวาระการดำรงตำแหน่ง เพื่อจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่เร็วขึ้นกว่าวาระปกติของสภา[3]

คณิน บุญสุวรรณ (2548) ได้กล่าวถึงความหมายของ การยุบสภา หมายถึง การดำเนินงานทางการเมือง เพื่อให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมดที่มีอยู่ในขณะใดขณะหนึ่งต้องพ้นจากสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไปพร้อมกัน และจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขึ้นใหม่เป็นการเลือกตั้งทั่วไป การยุบสภาที่ว่านี้ใช้กับสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น โดยไม่เกี่ยวข้องกับวุฒิสภา เพราะไม่มีการยุบวุฒิสภา การยุบสภาผู้แทนราษฎร เป็นหลักการสำคัญประการหนึ่งของการปกครองประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา ซึ่งให้อำนาจนายกรัฐมนตรีในการถ่วงดุลอำนาจฝ่ายนิติบัญญัติ[4]

เหตุการณ์ที่นำไปสู่การยุบสภาผู้แทนราษฎร

แต่เดิมนั้น การยุบสภาจะเป็นไปด้วยวัตถุประสงค์ในการถ่วงดุลหรือควบคุมอำนาจฝ่ายนิติบัญญัติโดยฝ่ายบริหาร แต่ต่อมาสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไป แม้จะไม่มีกรณีเป็นการถ่วงดุลกัน แต่การดำเนินงานในระบบรัฐสภาอาจเกิดความขัดแย้งขึ้น จนเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบเรียบร้อย รัฐบาลและรัฐสภาไม่อาจตัดสินใจกับปัญหาที่เกิดขึ้นได้ จึงสมควรให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจจากการเลือกตั้ง การยุบสภาจะทำให้ข้อขัดแย้งเป็นอันยุติได้โดยประชาชน โดยเหตุการณ์ที่นำไปสู่การยุบสภาที่ผ่านมานั้น ได้แก่[5]

- มีการขัดแย้งระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติ เช่น ฝ่ายบริหารเสนอร่างกฎหมายที่สำคัญสู่สภา แต่ฝ่ายนิติบัญญัติไม่เห็นด้วย

- มีการขัดแย้งระหว่างสภาสูง กับสภาล่างในการจัดทำกฎหมายสำคัญ

- มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญใหม่ ซึ่งยังไม่ทราบว่าประชาชนเห็นด้วยกับฝ่ายที่ขอให้แก้ไขหรือไม่

- ต้องการเร่งกำหนดเลือกตั้งใหม่เร็วขึ้นในขณะที่ฝ่ายบริหารกำลังได้รับความนิยมจากประชาชน

- สมาชิกสภากำลังจะลงมติหรือเข้าชื่อกันลงมติไม่ไว้วางใจฝ่ายบริหาร จึงสมควรให้ประชาชนตัดสิน

- เกิดปัญหาไม่อาจตั้งรัฐบาลได้ หรือต้องตั้งในรูปรัฐบาลผสมจากหลายพรรคมากเกินไป จึงยุบสภาเพื่อจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่อีกหน

สำหรับสถานการณ์ทางการเมืองตอนปลายในสมัยรัฐบาลนายชวน หลีกภัย ก่อนการยุบสภาผู้แทนราษฎรในปี พ.ศ. 2543 นั้น ได้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจในปี 254o และความไม่พอใจในการบริหารประเทศของรัฐบาล โดยเฉพาะเมื่อเศรษฐกิจเกิดการหดตัวอย่างรุนแรงในช่วงต้นปี 2542 อันเนื่องมาจากการดำเนินงานตามเงื่อนไขของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ประกอบกับข้อมูลที่พรรคฝ่ายค้านได้นำมาอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล เมื่อเดือนมกราคม 2542 โดยมีประเด็นเจาะจงเกี่ยวกับนโยบายการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ โดยกล่าวว่าการรีบเร่งปิดธนาคารและสถาบันการเงินจนทำให้ระบบเครดิตหยุดชะงัก โดยเฉพาะการที่องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน(ปรส.) ขายสินทรัพย์ของบริษัทการเงินที่ถูกปิดด้วยการประมูล ทำให้บริษัทต่างประเทศได้กำไร นอกจากนี้ฝ่ายค้านยังกล่าวถึงค่าใช้จ่ายที่จ่ายให้บริษัทที่ปรึกษาต่างชาติเป็นจำนวนมากเพื่อให้ได้รับคำแนะนำ โดยหลังจากการยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ ที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบให้ฝ่ายรัฐบาลบริหารประเทศต่อไป แต่สำหรับพรรคร่วมฝ่ายค้านนั้น ได้เกิดการเปลี่ยนแปลง โดยต่อมาสมาชิกพรรคความหวังใหม่ กลุ่มวังน้ำเย็น ได้ลาออกจากพรรคความหวังใหม่แล้วย้ายเข้าไปสังกัดพรรคไทยรักไทย รวมทั้งได้มีการเตรียมที่จะย้ายพรรคของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคต่าง ๆ เข้าสู่พรรคไทยรักไทยอีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งภายหลังทำให้เหลือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสภาจำนวน 267 คน โดยเป็นสมาชิกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ทำหน้าที่ฝ่ายค้านเพียง 54 คน เพื่อหวังผลให้ยุบสภาผู้แทนราษฎร แต่อย่างไรก็ตามการกดดันดังกล่าวก็ไม่เป็นผล คณะรัฐมนตรียังคงบริหารประเทศต่อไปโดยยังคงมีเสียงข้างมากอยู่

ถึงแม้ว่าจะได้เข้ามาบริหารประเทศด้วยการสนับสนุนอย่างกว้างขวางของประชาชน โดยมีทีมเศรษฐกิจที่น่าเชื่อถือ แต่ประกอบกับสภาพเศรษฐกิจที่ทรุดโทรมลงมากในปี 2541 อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) ติดลบร้อยละ 10.2 ทำให้ความนิยมในช่วงปลายรัฐบาลลดลงเป็นอย่างมาก เมื่อคณะรัฐมนตรีได้เข้ามาบริหารประเทศจนใกล้ครบกำหนดอายุสภาผู้แทนราษฎร นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี จึงได้ประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2543[6]

แถลงการณ์สำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องการยุบสภาผู้แทนราษฎรและการกำหนดวันเลือกตั้ง

หลังจากที่ได้มีการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร ในวันพฤหัสบดีที่ 9 พฤศจิกายน 2543 เป็นเหตุให้สมาชิกภาพของสภาผู้แทนราษฎรทุกคนสิ้นสุดลง และต้องจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปภายใน 60 วัน ทั้งนี้ รัฐบาลได้ชี้แจงเกี่ยวกับการยุบสภาผู้แทนราษฎร โดยสรุปสาระสำคัญ ดังนี้[7]

1. การยุบสภาเป็นกระบวนปกติของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา และเป็นการคืนอำนาจการตัดสินใจทางการเมืองกลับไปยังประชาชน เพราะจะต้องจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขึ้นใหม่ ปัญหาทั้งปวงจะกลับไปยุติที่ประชาชนด้วยการเลือกตั้งให้ได้บุคคลจากพรรคการเมือง มาเป็นฝ่ายข้างมากในการออกกฎหมายและควบคุมรัฐบาล และเป็นฝ่ายจัดตั้งคณะรัฐมนตรีขึ้นบริหารประเทศ

2. เมื่อคณะรัฐมนตรีได้เข้ามาบริหารแผ่นดินในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2543 ประเทศชาติประสบปัญหาวิกฤติทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอย่างรุนแรง และมีภารกิจสำคัญต้องจัดให้มีกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญและกฎหมายต่าง ๆ ที่ต้องตราขึ้นตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ให้ทันภายในกรอบเวลาที่รัฐธรรมนูญกำหนด และรัฐบาลได้ดำเนินการสำเร็จแล้วอันได้แก่

- การดำเนินการเพื่อการตรากฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่น ๆ ประมาณ 30 ฉบับ

- การแก้ไขเยียวยาปัญหาภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งจะเป็นพื้นฐานรองรับการดำเนินการต่อไป

- มีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาเสร็จสิ้น จนสามารถเรียกประชุมได้แล้ว

- จัดให้มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎรตลอดระยะเวลาสี่ปีของอายุสภาผู้แทนราษฎร

- ให้ความเห็นชอบกฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 อันจะเป็นเครื่องมือในการบริหารราชการแผ่นดิน สำหรับปีงบประมาณใหม่ และรัฐบาลใหม่ต่อไป

- ให้ความเห็นชอบและสามารถตราขึ้นบังคับใช้กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาฉบับแก้ไขเพิ่มเติม โดยศาลรัฐธรรมนูญมี คำวินิจฉัยแล้วว่าไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ (รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540) อันจะเป็นเครื่องมือสำหรับคณะกรรมการการเลือกตั้งที่จะจัดให้มีการเลือกตั้งต่อไป

ดังนั้น จึงคืนอำนาจการตัดสินใจทางการเมืองกลับไปให้ประชาชนด้วยการยุบสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขึ้นใหม่

3. การเลือกตั้งจะต้องใช้หลักเกณฑ์และวิธีการใหม่หลายประการเป็นครั้งแรก ซึ่งประชาชนยังไม่คุ้นเคย จึงต้องมีระยะเวลาที่จะประชาสัมพันธ์และบริหารจัดการก่อนการเลือกตั้งอย่างรอบคอบ รัดกุม ซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้งเห็นว่าวันเลือกตั้งควรมีระยะเวลาห่างจากวันยุบสภา อย่างน้อย 50 วัน และสมควรจัดให้มีการเลือกตั้งวันเสาร์เพื่อระดมบุคลากรมาช่วยงานที่ต้องทำต่อเนื่องในวันถัดไปได้โดยสะดวก

4.การยุบสภาก่อนที่อายุของสภาผู้แทนราษฎรจะครบกำหนดนั้น เท่ากับเร่งให้สามารถจัดเลือกตั้งได้เร็วขึ้น เมื่อคำนึงถึงความต้องการของประชาชนที่ประสงค์ให้มีการเลือกตั้งโดยเร็วที่สุด ประกอบกับอายุของสภาผู้แทนราษฎรจะครบกำหนดอยู่แล้ว

5. เมื่อยุบสภาแล้ว คณะรัฐมนตรีย่อมสิ้นสุดลงแต่จำเป็นต้องปฏิบัติหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญกำหนด ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้ทุกฝ่ายปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ และดำเนินการให้การเลือกตั้งเป็นไปด้วยความสุจริตและเที่ยงธรรม

6. ขอให้ประชาชนให้ความสำคัญกับการเลือกตั้งในวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2544 ด้วยการเตรียมไปใช้สิทธิและทำหน้าที่ของตน เพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยสุจริต และเที่ยงธรรม

ผลจากการยุบสภาผู้แทนราษฎร

การยุบสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2543 เป็นเหตุให้สมาชิกภาพของสภาผู้แทนราษฎรทุกคนสิ้นสุดลง และจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปภายใน 60 วัน ทำให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้ราษฎรในวันที่ 6 มกราคม 2544 ซึ่งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 กำหนดสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิก 500 คน โดยเป็นสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อจำนวน 100 คน และสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวน 400 คน[8] โดยผลการเลือกตั้งปรากฏว่า สมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อจำนวน 100 คน เป็นชาย 94 คน หญิง 6 คน และพรรคการเมืองที่มีผู้สมัครรับเลือกตั้งได้รับคะแนนเสียงเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อทั่วประเทศมีจำนวน 5 พรรคการเมือง คือ พรรคไทยรักไทย 48 คน พรรคประชาธิปัตย์ 31 คน พรรคความหวังใหม่ 8 คน พรรคชาติไทย 6 คน และพรรคชาติพัฒนา 7 คน

สำหรับสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวน 400 คน เป็นชาย 362 คน หญิง 38 คน และพรรคการเมืองที่มีผู้สมัครรับเลือกตั้งได้รับคะแนนเสียงเลือกตั้งแบบแบ่งเขตทั่วประเทศมีจำนวน 9 พรรคการเมือง คือ พรรคไทยรักไทย 200 คน พรรคประชาธิปัตย์ 97 คน พรรคความหวังใหม่ 28 คน พรรคชาติไทย 35 คน พรรคชาติพัฒนา 22 คน พรรคเสรีธรรม 14 คน พรรคถิ่นไทย 1 คน พรรคราษฎร 2 คน และพรรคกิจสังคม 1 คน

ต่อมาได้มีการจัดตั้งรัฐบาลผสม โดยมีพรรคไทยรักไทยเป็นแกนนำ และพรรคความหวังใหม่ พรรคเสรีธรรม พรรคชาติไทย และพรรคชาติพัฒนา โดยมีสมาชิกพรรคจำนวน 372 คน ภายหลังพรรคความหวังใหม่ พรรคเสรีธรรม และพรรคชาติพัฒนาได้ยุบรวมตัวกับพรรคไทยรักไทย ทำให้พรรคไทยรักไทยเป็นพรรคเดียวที่มีเสียงข้างมาก และได้มีการจัดตั้งรัฐบาล โดยมีพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร หัวหน้าพรรคไทยรักไทย เป็นนายกรัฐมนตรี และเข้าบริหารประเทศเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2544[9]

กล่าวโดยสรุปแล้วการยุบสภามีผลทำให้สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง[10] และต้องกำหนดวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่เป็นการเลือกตั้งทั่วไปภายใน 60 วันนับแต่วันที่มีการยุบสภา[11] และยังมีผลทำให้รัฐมนตรีทั้งคณะพ้นจากตำแหน่ง รวมทั้งรัฐมนตรีจะใช้อำนาจแต่งตั้งหรือโยกย้ายข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ หรือพนักงานของหน่วยงานรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ หรือบุคคลดังกล่าวพ้นจากตำแหน่งมิได้[12] ตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540ได้กำหนดไว้ นอกจากนั้นแล้วการยุบสภาในครั้งนี้พระราชกฤษฎียุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2543 ยังได้กำหนดให้นายกรัฐมนตรีและประธานคณะกรรมการการเลือกตั้งรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้[13]

ทั้งนี้การยุบสภาในประวัติศาสตร์การเมืองของไทย นับแต่เปลี่ยนแปลงการปกครองในปี 2475 ประเทศไทยได้มีการยุบสภามาแล้วทั้งสิ้น 12 ครั้ง โดยมีการยุบสภาครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2549 ในสมัย พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี[14]

อ้างอิง

  1. แถลงการณ์สำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การยุบสภาผู้แทนราษฎรและการกำหนดวันเลือกตั้ง. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 117 ตอนที่ 102 ก วันที่ 9 พฤศจิกายน 2543 หน้า 3.
  2. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2550). 75 ปีรัฐสภาไทย. หน้า 31.
  3. มานิตย์ จุมปา. (2549). คำอธิบาย รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2540) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 พร้อมข้อเสนอสำหรับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ.2550) กรุงเทพ : นิติธรรม หน้า 573.
  4. คณิน บุญสุวรรณ. (2548). ปทานุกรมศัพท์รัฐสภา ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพ : สุขภาพใจ. หน้า 724.
  5. มานิตย์ จุมปา, อ้างแล้ว, หน้า 574-575.
  6. สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. (2549). การเมืองการปกครอง : ยุคเผด็จการ – ยุคปฏิรูป. กรุงเทพ : เสนาธรรม. หน้า 823-827
  7. แถลงการณ์สำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การยุบสภาผู้แทนราษฎรและการกำหนดวันเลือกตั้ง, อ้างแล้ว, หน้า 3-4.
  8. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540. ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 114 ตอนที่ 55 ก. วันที่ 11 ตุลาคม 2540. หน้า 19.
  9. สมบติ ธำรงธัญวงศ์, อ้างแล้ว, หน้า 833-834.
  10. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540, อ้างแล้ว, หน้า 26.
  11. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540, อ้างแล้ว, หน้า 25.
  12. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540, อ้างแล้ว, หน้า 55.
  13. พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2543. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 117 ตอนที่ 102 ก วันที่ 9 พฤศจิกายน 2543. หน้า 2.
  14. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, อ้างแล้ว, หน้า 31-37.

หนังสือแนะนำให้อ่านต่อ

ณฐพร วรปัญญาตระกูล. (2543). การยุบสภา (DISSOLUTION OF PARLIAMENT). รัฐสภาสาร. ปีที่ 48 ฉบับที่ 2

มานิตย์ จุมปา. (2549). คำอธิบาย รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2540) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 พร้อมข้อเสนอสำหรับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ.2550) กรุงเทพ : นิติธรรม.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 114 ตอนที่ 55 ก. 11 ตุลาคม 2540 วันที่ 11ตุลาคม 2540.

สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. (2549). การเมืองการปกครองยุคเผด็จการ-ยุคปฏิรูป. กรูงเทพ : เสนาธรรม.

บรรณานุกรม

คณิน บุญสุวรรณ. (2548). ปทานุกรมศัพท์รัฐสภา ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพ : สุขภาพใจ.

จิรศักดิ์ ไกรเพชร. (2541). อำนาจบริหารกับการยุบสภาผู้แทนราษฎรในการเมืองไทย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ณฐพร วรปัญญาตระกูล. การยุบสภา (DISSOLUTION OF PARLIAMENT). รัฐสภาสาร. ปีที่ 48 ฉบับที่ 2 เดือน ธันวาคม 2543.

แถลงการณ์สำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การยุบสภาผู้แทนราษฎรและการกำหนดวันเลือกตั้ง. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 117 ตอนที่ 102 ก วันที่ 9 พฤศจิกายน 2543.

พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2543. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 117 ตอนที่ 102 ก วันที่ 9 พฤศจิกายน 2543.

มานิตย์ จุมปา. (2549). คำอธิบาย รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2540) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 พร้อมข้อเสนอสำหรับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ.2550). กรุงเทพ : นิติธรรม.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540. ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 114 ตอนที่ 55 ก 11 ตุลาคม 2540 วันที่ 11ตุลาคม 2540.

วัชรา ไชยสาร. (2549). ยุทธวิธีแก้ปัญหาทางตันทางการเมือง หรือเหตุนำไปสู่ทางตัน. รัฐสภาสาร. ปีที่ 54 ฉบับที่ 5

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. 2550. 75 ปีรัฐสภาไทย.

สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. (2549). การเมืองการปกครองยุคเผด็จการ-ยุคปฏิรูป. กรูงเทพ : เสนาธรรม.

อุมาสีว์ สอาดเอี่ยม. (2531). ผลกระทบจากการยุบสภา. รัฐสภาสาร. ปี่ที่ 36 ฉบับที่ 5