ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เอกสิทธิ์และความคุ้มกัน"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Panu (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Panu (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 39: บรรทัดที่ 39:
• ในกรณีมีการถ่ายทอดวิทยุกระจายเสียงหรือวิทยุโทรทัศน์ แล้วถ้อยคำที่กล่าวในที่ประชุมไปปรากฎนอกบริเวณสภา และการกล่าวถ้อยคำนั้นมีลักษณะเป็นความผิดทางอาญา และละเมิดสิทธิในทางแพ่งของบุคคลอื่น ซึ่งมิใช่รัฐมนตรีหรือสมาชิกแห่งสภานั้น สมาชิกผู้กล่าวถ้อยคำนั้นจะอ้างเอกสิทธิ์เพื่อให้คุ้มครองไม่ได้ เพราะบุคคลภายนอกไม่มีโอกาสอภิปรายชี้แจงโต้แย้ง และอาจส่งผลให้เกิดความเสียหายได้ ทั้งนี้ผู้เสียหายดังกล่าวมีสิทธิร้องขอให้ประธานแห่งสภานั้นจัดให้มีการโฆษณาคำชี้แจง ตามวิธีการและภายในระยะเวลาตามที่กำหนดในข้อบังคับการประชุมของสภานั้น โดยการร้องขอดังกล่าวจะไม่กระทบต่อสิทธิของบุคคลในการฟ้องคดีต่อศาล
• ในกรณีมีการถ่ายทอดวิทยุกระจายเสียงหรือวิทยุโทรทัศน์ แล้วถ้อยคำที่กล่าวในที่ประชุมไปปรากฎนอกบริเวณสภา และการกล่าวถ้อยคำนั้นมีลักษณะเป็นความผิดทางอาญา และละเมิดสิทธิในทางแพ่งของบุคคลอื่น ซึ่งมิใช่รัฐมนตรีหรือสมาชิกแห่งสภานั้น สมาชิกผู้กล่าวถ้อยคำนั้นจะอ้างเอกสิทธิ์เพื่อให้คุ้มครองไม่ได้ เพราะบุคคลภายนอกไม่มีโอกาสอภิปรายชี้แจงโต้แย้ง และอาจส่งผลให้เกิดความเสียหายได้ ทั้งนี้ผู้เสียหายดังกล่าวมีสิทธิร้องขอให้ประธานแห่งสภานั้นจัดให้มีการโฆษณาคำชี้แจง ตามวิธีการและภายในระยะเวลาตามที่กำหนดในข้อบังคับการประชุมของสภานั้น โดยการร้องขอดังกล่าวจะไม่กระทบต่อสิทธิของบุคคลในการฟ้องคดีต่อศาล


• การคุ้มครองนี้นอกจากจะคุ้มครองสมาชิกรัฐสภาแล้วยังครอบคลุมไปถึงบุคคลอื่นๆที่เกี่ยวข้องได้แก่  ผู้พิมพ์และผู้โฆษณารายงานการประชุมตามข้อบังคับของสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา หรือ รัฐสภา แล้วแต่กรณี, บุคคลซึ่งประธานในที่ประชุมอนุญาตให้แถลงข้อเท็จจริง หรือแสดงความคิดเห็นในที่ประชุม รวมทั้ง ผู้ดำเนินการถ่ายทอดการประชุมสภาทางวิทยุกระจายเสียง หรือ วิทยุโทรทัศน์ที่ได้รับอนุญาตจากประธานแห่งสภานั้น
• การคุ้มครองนี้นอกจากจะคุ้มครองสมาชิกรัฐสภาแล้วยังครอบคลุมไปถึงบุคคลอื่นๆที่เกี่ยวข้องได้แก่  ผู้พิมพ์และผู้โฆษณารายงานการประชุมตามข้อบังคับของสภาผู้แทนราษฎร [[วุฒิสภา]] หรือ รัฐสภา แล้วแต่กรณี, บุคคลซึ่งประธานในที่ประชุมอนุญาตให้แถลงข้อเท็จจริง หรือแสดงความคิดเห็นในที่ประชุม รวมทั้ง ผู้ดำเนินการถ่ายทอดการประชุมสภาทางวิทยุกระจายเสียง หรือ วิทยุโทรทัศน์ที่ได้รับอนุญาตจากประธานแห่งสภานั้น


• ในมาตรา 135 วรรค 4 ได้กำหนดเพิ่มเติมให้[[คณะกรรมาธิการ]] ทั้งที่เป็น กรรมาธิการสามัญ และกรรมาธิการวิสามัญ รวมถึงผู้ที่คณะกรรมาธิการเรียกให้มาชี้แจงแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็นในสภา ได้รับเอกสิทธิ์ ตามมาตรา 130 ในการคุ้มครองด้วยเช่นกัน
• ในมาตรา 135 วรรค 4 ได้กำหนดเพิ่มเติมให้[[คณะกรรมาธิการ]] ทั้งที่เป็น กรรมาธิการสามัญ และกรรมาธิการวิสามัญ รวมถึงผู้ที่คณะกรรมาธิการเรียกให้มาชี้แจงแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็นในสภา ได้รับเอกสิทธิ์ ตามมาตรา 130 ในการคุ้มครองด้วยเช่นกัน

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:44, 13 สิงหาคม 2552

ผู้เรียบเรียง ปรียานุช คลอวุฒิวัฒน์

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จเร พันธุ์เปรื่อง


ในประเทศซึ่งมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยนั้นล้วนยึดหลัก “ความเสมอภาค” เป็นหลักการสำคัญในการปกครองและบริหารประเทศ เพื่อให้ประชาชนทุกหมู่เหล่าได้รับสิทธิพื้นฐานเท่าเทียมกัน โดยไม่เลือกปฏิบัติ แต่อย่างไรก็ตามในบางกรณีเพื่อประโยชน์โดยรวมของประเทศชาติก็จำเป็นต้องมีการยกเว้นหลักความเสมอภาคดังกล่าวนี้อยู่บ้าง ดังเช่นการกำหนดให้มีหลักเกณฑ์ในเรื่องของ เอกสิทธิ์และความคุ้มกัน สำหรับบุคคลบางประเภทให้มีสิทธิพิเศษเหนือบุคคลทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเอกสิทธิ์และความคุ้มกันของสมาชิกรัฐสภา ซึ่งเป็นกลุ่มบุคคลสำคัญทางการเมืองเพื่อให้สามารถทำหน้าที่ในฐานะตัวแทนของประชาชนในการพิจารณากฎหมายและควบคุมการบริหารประเทศของคณะรัฐมนตรี หรือพิจารณางบประมาณได้อย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ ประเทศไทยเองก็ได้ตระหนักถึงหลักการนี้และได้บัญญัติหลักดังกล่าวไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกฉบับเสมอมา

ความหมาย

เอกสิทธิ์ (Privilege) หมายถึง สิทธิพิเศษเฉพาะบุคคลบางคนหรือกลุ่มบุคคลบางประเภทที่มีคุณลักษณะพิเศษบางประการ ทำให้ผู้นั้นเกิดความชอบธรรมในการอ้างสิทธิเพื่อยืนยันผลประโยชน์บางประการเป็นพิเศษที่เหนือบุคคลอื่น[1] กล่าวคือ เจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานของรัฐจะมีเอกสิทธิ์หรือสิทธิพิเศษที่จะไม่ถูกฟ้องร้องกล่าวหาในทางใด ๆ อันเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่ เช่น เอกสิทธิ์ทางการฑูต และ เอกสิทธิ์ตามรัฐธรรมนูญของสมาชิกรัฐสภา เป็นต้น

เอกสิทธิ์ของสมาชิกรัฐสภา หมายถึง สิทธิเด็ดขาด ของสมาชิกรัฐสภาที่จะกล่าวแถลงข้อเท็จจริงแสดงความคิดเห็น ออกเสียงลงคะแนน หรือการกระทำอย่างอื่นในที่ประชุมสภา โดย มิให้บุคคลอื่นมาเกี่ยวข้อง จะไปฟ้องร้องว่ากล่าวในทางใดไม่ได้[2] ทั้งทางอาญาและทางแพ่ง และไม่อาจนำเรื่องนั้นไปฟ้องร้องได้อีกไม่ว่าเวลาจะล่วงเลยไปนานเท่าใดก็ตาม

ความคุ้มกัน (Immunity) หมายถึง การที่คอยป้องกันให้ปลอดภัย, คุ้มครองให้พ้นจากบางสิ่งบางอย่าง เช่น คุ้มกันโรค คุ้มกันไม่ให้ถูกฟ้องร้อง[3]

ความคุ้มกันของสมาชิกรัฐสภา หมายถึง ความคุ้มกันที่รัฐธรรมนูญให้แก่สมาชิกรัฐสภาที่จะไปประชุมตามหน้าที่ โดยไม่อาจถูกจับกุม คุมขัง หรือดำเนินคดีใดๆในลักษณะที่จะขัดขวางต่อการมาประชุมในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง[4] หรือในระหว่างสมัยประชุม เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากสภาที่ผู้นั้นเป็นสมาชิกอยู่เสียก่อน ความคุ้มกันนี้ไม่ให้ใช้บังคับแก่การพิจารณาคดีของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง[5] ทั้งนี้เมื่อพ้นเวลาดังกล่าวความคุ้มกันจะหมดไปและอาจดำเนินคดีต่อไปได้

วัตถุประสงค์ และ ความเป็นมา

วัตถุประสงค์ของการกำหนดหลักเรื่อง เอกสิทธิ์และความคุ้มกันของสมาชิกรัฐสภา นี้ขึ้นก็เพื่อใช้คุ้มครองสมาชิกรัฐสภาในขณะทำหน้าที่ผู้แทนปวงชนชาวไทย เพื่อประโยชน์สุขของประเทศชาติและประชาชน[6] เพื่อให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ตามที่ตามที่ได้ปฏิญาณตนไว้ต่อหน้าพระบรมสาทิสลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในที่ประชุมสภา อย่างอิสระ สะดวกสบาย และปลอดภัย ด้วยความสุจริตใจ ปราศจากความกดดันและการคุกคาม ป้องกันมิให้มีการกลั่นแกล้ง หน่วงเหนี่ยว กักขัง หรือทำร้าย[7] ในระหว่างการประชุม และเนื่องจากหลักนี้เป็นบทยกเว้นหลักความเสมอภาค จึงจำเป็นต้องมีการจำกัดขอบเขตของสิทธิพิเศษนี้ให้ชัดเจนเพื่อไม่ให้ใช้ในสิทธิในทางที่ผิดเอาเปรียบบุคคลอื่นๆ จนกลายเป็นอภิสิทธิ์ หรือการใช้เอกสิทธิ์โดยมิชอบ (misuse)

ความเป็นมาของหลักเรื่องเอกสิทธิ์และความคุ้มกันนี้มีจุดกำเนิดมาจากประเทศอังกฤษ เพื่อคุ้มกันสมาชิกสภาสามัญซึ่งเป็นตัวแทนประชาชนจากอำนาจของรัฐบาลที่พระมหากษัตริย์แต่งตั้งขึ้น โดยได้มีการกำหนดขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรก ใน “พระราชบัญญัติว่าด้วยสิทธิ” (Bill of Rights) ปี คริสตศักราช 1689 มาตรา 9 โดยกำหนดหลักเรื่องนี้ไว้ว่า การพูดและการอภิปรายหรือดำเนินการใดๆในรัฐสภานั้นเป็นเสรีภาพไม่อาจนำไปฟ้องร้องเป็นคดีในศาลใดศาลหนึ่ง ซึ่งหลักการดังกล่าวนี้จึงกลายเป็นแบบอย่างให้ประเทศอื่นๆนำหลักเรื่องเอกสิทธิ์และความคุ้มกันนี้ไปบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญของประเทศตน โดยอาจมีการดัดแปลงแก้ไขหรือเพิ่มเติมตามความเหมาะสม [8] ตัวอย่างประเทศที่มีการนำหลักเรื่องเอกสิทธิ์และความคุ้มกันไปใช้ ได้แก่ ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส และ เยอรมัน[9]

สำหรับประเทศไทยได้มีการนำหลักเอกสิทธิ์มาใช้เป็นครั้งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งแต่ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย คือ ในพระราชบัญญัติองคมนตรี พุทธศักราช 2470 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชทานเอกสิทธิ์เพื่อเป็นหลักประกันให้แก่กรรมการองคมนตรี และบุคคลที่สภาเชิญมาชี้แจงว่า สามารถแสดงความคิดเห็น หรือ ออกเสียงลงคะแนนในที่ประชุมสภาองคมนตรีได้อย่างเต็มที่ ไม่ต้องหวาดเกรงภัยใดๆไม่สามารถนำไปเป็นเหตุฟ้องร้องได้ สิ่งนี้นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์ไทยที่ทรงบัญญัติกฎหมายในทำนองจำกัดอำนาจพระองค์เอง เพื่อประโยชน์ของปวงชน และต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปีพุทธศักราช 2475 แล้วก็ยังคงนำหลักการเรื่อง เอกสิทธิ์มาบัญญัติในรัฐธรรมนูญทุกฉบับ ส่วนหลักเรื่องความคุ้มกันของสมาชิกรัฐสภาที่จะไม่ถูกจับกุม คุมขัง หรือดำเนินคดีในระหว่างสมัยประชุมนั้นได้มีการบัญญัติขึ้นใช้ครั้งแรกใน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475[10] และหลักนี้ยังคงอยู่ในรัฐธรรมนูญของไทยตลอดมา

เอกสิทธิ์และความคุ้มกันของสมาชิกรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญ

เอกสิทธิ์และความคุ้มกันสมาชิกรัฐสภาของไทยนั้นได้มีการบัญญัติรับรองไว้เป็นลายลักษณ์อักษรในรัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ โดยใน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550[11]

มาตรา 130 ได้บัญญัติหลักการเรื่อง เอกสิทธิ์ เอาไว้ ซึ่งพอจะสรุปได้ดังนี้

• สมาชิกรัฐสภามีเอกสิทธิ์โดยเด็ดขาด (absolute) ในการกล่าวถ้อยคำใดในทางแถลงข้อเท็จจริง แสดงความคิดเห็น และออกเสียงลงคะแนน ได้อย่างอิสระ ผู้ใดจะนำไปเป็นเหตุฟ้องร้องมิได้ ตลอดไปไม่ว่าเมื่อใด

• การคุ้มครองนี้จะคุ้มครองสมาชิกจากรัฐสภาจากการดำเนินคดีทุกกรณี ทั้งในคดีแพ่ง คดีอาญา หรือ ความผิดทางวินัย

• การคุ้มครองนี้จำกัดเฉพาะ การกล่าวถ้อยคำ การแถลงข้อเท็จจริง การแสดงความคิดเห็น และการออกเสียงลงคะแนน ซึ่งเป็นการปฏิบัติหน้าที่ในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่ประชุมวุฒิสภา และ ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา เท่านั้น ไม่รวมถึงการที่สมาชิกกระทำความผิดในกรณีอื่นๆ

• ในกรณีมีการถ่ายทอดวิทยุกระจายเสียงหรือวิทยุโทรทัศน์ แล้วถ้อยคำที่กล่าวในที่ประชุมไปปรากฎนอกบริเวณสภา และการกล่าวถ้อยคำนั้นมีลักษณะเป็นความผิดทางอาญา และละเมิดสิทธิในทางแพ่งของบุคคลอื่น ซึ่งมิใช่รัฐมนตรีหรือสมาชิกแห่งสภานั้น สมาชิกผู้กล่าวถ้อยคำนั้นจะอ้างเอกสิทธิ์เพื่อให้คุ้มครองไม่ได้ เพราะบุคคลภายนอกไม่มีโอกาสอภิปรายชี้แจงโต้แย้ง และอาจส่งผลให้เกิดความเสียหายได้ ทั้งนี้ผู้เสียหายดังกล่าวมีสิทธิร้องขอให้ประธานแห่งสภานั้นจัดให้มีการโฆษณาคำชี้แจง ตามวิธีการและภายในระยะเวลาตามที่กำหนดในข้อบังคับการประชุมของสภานั้น โดยการร้องขอดังกล่าวจะไม่กระทบต่อสิทธิของบุคคลในการฟ้องคดีต่อศาล

• การคุ้มครองนี้นอกจากจะคุ้มครองสมาชิกรัฐสภาแล้วยังครอบคลุมไปถึงบุคคลอื่นๆที่เกี่ยวข้องได้แก่ ผู้พิมพ์และผู้โฆษณารายงานการประชุมตามข้อบังคับของสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา หรือ รัฐสภา แล้วแต่กรณี, บุคคลซึ่งประธานในที่ประชุมอนุญาตให้แถลงข้อเท็จจริง หรือแสดงความคิดเห็นในที่ประชุม รวมทั้ง ผู้ดำเนินการถ่ายทอดการประชุมสภาทางวิทยุกระจายเสียง หรือ วิทยุโทรทัศน์ที่ได้รับอนุญาตจากประธานแห่งสภานั้น

• ในมาตรา 135 วรรค 4 ได้กำหนดเพิ่มเติมให้คณะกรรมาธิการ ทั้งที่เป็น กรรมาธิการสามัญ และกรรมาธิการวิสามัญ รวมถึงผู้ที่คณะกรรมาธิการเรียกให้มาชี้แจงแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็นในสภา ได้รับเอกสิทธิ์ ตามมาตรา 130 ในการคุ้มครองด้วยเช่นกัน

มาตรา 131 ได้บัญญัติหลักการเรื่อง ความคุ้มกัน เอาไว้ ซึ่งพอจะสรุปได้ดังนี้

• ในระหว่างสมัยประชุม ห้ามมิให้จับ คุมขัง หรือหมายเรียกตัวสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกวุฒิสภา ไปทำการสอบสวนในฐานะที่สมาชิกผู้นั้นเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญา เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากสภาที่ผู้นั้นเป็นสมาชิก หรือในกรณีที่จับในขณะกระทำความผิด

• สำหรับในกรณีที่มีการจับสมาชิกรัฐสภาในขณะกระทำความผิดนี้ให้รายงานไปยังสภาซึ่งผู้นั้นเป็นสมาชิกโดยพลัน ทั้งนี้ประธานอาจสั่งให้ปล่อยสมาชิกผู้ถูกจับได้

• กรณีที่มีการฟ้องสมาชิกรัฐสภาในคดีอาญาไม่ว่าจะฟ้องในหรือนอกสมัยประชุม ศาลจะพิจารณาคดีระหว่างสมัยประชุมมิได้ (ฟ้องร้องได้แต่พิจารณาคดีไม่ได้)ยกเว้น 2 กรณี คือได้รับอนุญาตจากสภาที่ผู้นั้นเป็นสมาชิก หรือ กรณีที่เป็นคดีเกี่ยวกับพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา, พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง หรือ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง แต่การพิจารณาคดีต้องไม่เป็นการขัดขวางต่อการที่สมาชิกผู้นั้นจะมาประชุมสภา

• การคุ้มกันนี้จะคุ้มครองเฉพาะบุคคลที่มีสถานภาพเป็นสมาชิกรัฐสภาเท่านั้นไม่ครอบคลุมถึงบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง เหมือนกรณีเอกสิทธิ์

• การคุ้มกันคุ้มครองเฉพาะกรณีของคดีอาญาเท่านั้นไม่ว่าจะเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่สมาชิกรัฐสภาหรือไม่ แต่จะไม่ให้ความคุ้มครองในคดีแพ่ง

• การคุ้มครองดังกล่าวเป็นเพียงการคุ้มครองชั่วคราวในระหว่างสมัยประชุมเท่านั้นเมื่อพ้นสมัยประชุมการคุ้มกันนี้จะหมดไปด้วย ต่างจากเอกสิทธิ์ซึ่งคุ้มครองถาวรและเด็ดขาด

• ความคุ้มกันไม่คุ้มครองถึงการพิจารณาพิพากษาคดีที่ศาลได้กระทำไปก่อนมีคำอ้างว่าจำเลยเป็นสมาชิกรัฐสภา คำพิพากษาดังกล่าวเป็นอันใช้ได้

• ถ้าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกวุฒิสภาถูกคุมขังในระหว่างสอบสวนหรือพิจารณาอยู่ก่อนสมัยประชุม เมื่อถึงสมัยประชุม พนักงานสอบสวนหรือศาล แล้วแต่กรณี ต้องสั่งปล่อยทันทีหากมีการร้องขอจากแห่งสภาที่ผู้นั้นเป็นสมาชิก โดยคำสั่งปล่อยจะมีผลตั้งแต่วันสั่งปล่อย จนถึงวันสุดท้ายของสมัยประชุม

• ในมาตรา 277 วรรคท้าย ได้บัญญัติเกี่ยวข้องกับความคุ้มกันของสมาชิกรัฐสภาไว้ว่า บทบัญญัติว่าด้วยความคุ้มกันของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาตามมาตรา 131 มิให้นำมาใช้บังคับกับ การพิจารณาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

ความคุ้มกันที่รัฐธรรมนูญบัญญัติเป็นกรณีพิเศษให้กับคณะกรรมการการเลือกตั้ง

นอกเหนือจากที่ กฎหมายรัฐธรรมนูญของไทยจะได้กำหนดเอกสิทธิ์และความคุ้มกันให้แก่สมาชิกรัฐสภาแล้ว ก็ยังมีการกำหนดความคุ้มกันให้กลุ่มบุคคลอีกประเภทหนึ่งที่จำเป็นต้องได้รับความคุ้มกันเป็นกรณีพิเศษเพื่อประโยชน์โดยรวมของชาติและประชาชน ได้แก่ ความคุ้มกันของคณะกรรมการการเลือกตั้ง เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่เป็นไปอย่างเรียบร้อยราบรื่น และมีอิสระ โดยไม่ถูกขัดขวางและกลั่นแกล้ง โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550[12] มาตรา 241 ได้บัญญัติให้ความคุ้มกันแก่คณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งสรุปได้ดังนี้

• ในระหว่างที่พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกวุฒิสภา ประกาศให้มีการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา ประกาศให้มีการออกเสียงประชามติ มีผลบังคับใช้ ห้ามไม่ให้ จับ คุมขัง หรือหมายเรียกตัวคณะกรรมการการเลือกตั้งไปทำการสอบสวน

• ความคุ้มกันดังกล่าวมีข้อยกเว้น 2 กรณี ได้แก่ กรณีที่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง และกรณีที่จับในขณะกระทำความผิด

• ในกรณีที่มีการจับคณะกรรมการการเลือกตั้งในขณะกระทำความผิด หรือ จับ หรือคุมขังคณะกรรมการการเลือกตั้งในกรณีอื่น ให้รายงานไปยังประธานคณะกรรมการการเลือกตั้งโดยด่วน และประธานอาจสั่งให้ปล่อยผู้ถูกจับนั้นได้ แต่หากผู้ถูกจับหรือถูกคุมขังคือประธานคณะกรรมการการเลือกตั้งก็ให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการเลือกตั้งเท่าที่มีอยู่เป็นผู้ดำเนินการสั่งให้ปล่อย

จะเห็นได้ว่า เอกสิทธิ์และความคุ้มกัน นั้นเป็นเรื่องสำคัญที่ประเทศที่มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยล้วนให้การยอมรับในระดับสากล เพราะเป็นมาตรการที่จะช่วยให้สมาชิกรัฐสภาซึ่งเป็นตัวแทนของประชาชนทำงานได้อย่างสะดวก อิสระ ราบรื่น โดยมิอาจถูกขัดขวาง หรือกลั่นแกล้งแต่อย่างใด อย่างไรก็ดีการบัญญัติหลักการดังกล่าวเอาไว้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศก็จำเป็นต้องระบุขอบเขตและข้อจำกัดไว้ให้ชัดเจนเพื่อไม่ให้สมาชิกรัฐสภานำเอกสิทธิ์และความคุ้มกันของสมาชิกรัฐสภามาอ้างเพื่อกระทำความผิด หรือกล่าวถ้อยคำใดๆ โดยไม่รับผิดชอบ หรือใช้สิทธิในทางที่ผิด อันขัดเจตนารมณ์ของกฎหมายเรื่องนี้ที่มุ่งประโยชน์ของปวงชนเป็นหลัก

อ้างอิง

  1. ปรีดี เกษมทรัพย์, กฎหมายแพ่ง : หลักทั่วไป, กรุงเทพฯ : เจริญวิทย์การพิมพ์, 2525, หน้า 88.
  2. มานิตย์ จุมปา, สารานุกรมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ.2540) หมวดองค์กรทางการเมือง เรื่อง 9 เอกสิทธิ์และความคุ้มกัน, กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, 2544, หน้า 2.
  3. ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542. กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์ พับบิเคชั่นส์, 2546, หน้า 254.
  4. อธิคม อินทุภูติ, “วิชากฎหมายรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ 5/49 เอกสิทธิ์และความคุ้มกัน” [ออนไลน์] สืบค้นจาก http://www.sittigorn.net/documents/con_atikom_59_p_5.pdf เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2552.
  5. เดโช สวนานนท์, “ความคุ้มกันในระหว่างสมัยประชุม” ใน พจนานุกรมศัพท์การเมือง, (หน้า 85) หน้าต่างสู่โลกกว้าง : กรุงเทพฯ, 2545, หน้า 85.
  6. คณิน บุญสุวรรณ, “เอกสิทธิ์” ใน ปทานุกรมศัพท์รัฐสภาและการเมืองไทย. (หน้า 1090-1091) กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ, 2548, หน้า 1090.
  7. คณิน บุญสุวรรณ, “เอกสิทธิ์” ใน ปทานุกรมศัพท์รัฐสภาและการเมืองไทย. (หน้า 1090-1091) กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ, 2548, หน้า 1090.
  8. มานิตย์ จุมปา, สารานุกรมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ.2540) หมวดองค์กรทางการเมือง เรื่อง 9 เอกสิทธิ์และความคุ้มกัน, กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, 2544, หน้า 3-4.
  9. ภิรมย์ เจริญรุ่ง, ขอบเขตและเอกสิทธิและความคุ้มกันของสมาชิกรัฐสภา. วิทยานิพนธ์นิติศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2542, หน้า 2-3.
  10. มานิตย์ จุมปา, สารานุกรมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ.2540) หมวดองค์กรทางการเมือง เรื่อง 9 เอกสิทธิ์และความคุ้มกัน, กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, 2544, หน้า5-6.
  11. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550, กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2550, หน้า 104-110.
  12. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550, กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2550, หน้า 204.

หนังสือแนะนำให้อ่านต่อ

ยุทธนา สุวรรณวิวัฒน์. เอกสิทธิ์และความคุ้มกันตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ. วิทยานิพนธ์นิติศาสตร์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525.

เอกสิทธิ์ของสมาชิกสภา. กรุงเทพฯ : ศูนย์บริการทางวิชาการและกฎหมาย สำนักงานเลขาธิการรัฐสภา, ม.ป.ป.

บรรณานุกรม

คณิน บุญสุวรรณ. “เอกสิทธิ์” ใน ปทานุกรมศัพท์รัฐสภาและการเมืองไทย. กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ, 2548.

เดโช สวนานนท์. “ความคุ้มกันในระหว่างสมัยประชุม” ใน พจนานุกรมศัพท์การเมือง. หน้าต่างสู่โลกกว้าง : กรุงเทพฯ, 2545.

ปรีดี เกษมทรัพย์. กฎหมายแพ่ง : หลักทั่วไป. กรุงเทพฯ : เจริญวิทย์การพิมพ์, 2525.

ภิรมย์ เจริญรุ่ง. ขอบเขตและเอกสิทธิและความคุ้มกันของสมาชิกรัฐสภา. วิทยานิพนธ์นิติศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2542.

มานิตย์ จุมปา. สารานุกรมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ.2540) หมวดองค์กรทางการเมือง เรื่อง 9 เอกสิทธิ์และความคุ้มกัน. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, 2544.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2550.

ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542. กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์พับบิเคชั่นส์, 2546.

อธิคม อินทุภูติ, “วิชากฎหมายรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ 5/49 เอกสิทธิ์และความคุ้มกัน” [ออนไลน์] สืบค้นจาก http://www.sittigorn.net/documents/con_atikom_59_p_5.pdf เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2552.


ดูเพิ่มเติม