ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หมวดหมู่:เอกสารวิชาการ"
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 12: | บรรทัดที่ 12: | ||
[[ถึงเวลาหรือยังที่จะต้องคุยกับกลุ่มขบวนการ?]] | [[ถึงเวลาหรือยังที่จะต้องคุยกับกลุ่มขบวนการ?]] | ||
รายงานปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้:บทวิเคราะห์และแนวทางการแก้ปัญหาเชิงรุกที่ยั่งยืนด้วยสันติวิธี” | |||
โดย นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูง “การเสริมสร้างสังคมสันติสุข” รุ่นที่ ๑ สำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า | |||
----------------------------------------------------------------------------- | |||
ปัญหาใจกลาง:ปัญหาใจกลางของความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้คือการต่อสู้เพื่อแบ่งแยกดินแดนของขบวนการต่อสู้ที่ปาตานีซึ่งมีกลุ่มบีอาร์เอ็น โคออร์ดิเนตและพูโลเป็นแกนหลัก ผสมเข้ากับกลุ่มต่อต้านอำนาจรัฐที่ไม่ได้ต้องการแบ่งแยกดินแดน หากแต่ต้องการตอบโต้การกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐบางส่วนที่ทางกลุ่มรู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม โดยมีประชาชนส่วนใหญ่เป็นผู้ได้รับผลกระทบ | |||
รากเหง้าของปัญหา: ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในพื้นที่เป็นเพียงอาการของความขัดแย้งทางการเมืองที่เกี่ยวเนื่องกับมิติทางวัฒนธรรม ซึ่งมีรากเหง้ามาจาก | |||
๑)ความไม่เข้าใจกันอย่างแท้จริงของสองชาติพันธุ์คือไทยและมลายูปาตานีที่ทำให้เกิดอดติลึกๆต่อกัน | |||
๒)บาดแผลทางประวัติศาสตร์ของรัฐปัตตานีที่เคยรุ่งเรืองจากการกระทำของรัฐสยามในอดีต | |||
๓)โครงสร้างการจัดการบริหารปกครอง รวมทั้งกฎหมาย และนโยบายทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมวัฒนธรรมที่ยังมีบางส่วนไม่สอดคล้องกับอัตลักษณ์และวิถีชีวิตของคนในพื้นที่ ตลอดจนไม่เอื้อต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในระดับที่สามารถสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของได้อย่างแท้จริงและเท่าเทียม | |||
ทั้งหมดนี้ทำให้คนมลายูปาตานีโดยเฉพาะกลุ่มที่ใช้ความรุนแรงรู้สึกว่าไม่สามารถเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทยได้อย่างมีเกียรติและมีคุณค่า ผู้เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาทุกภาคส่วนจะต้องตระหนักถึงปัญหาใจกลางและรากเหง้าดังกล่าว และรวมศูนย์ความสนใจที่ประเด็นนี้ ไม่เช่นนั้นจะไม่สามารถกำหนดทิศทางแก้ปัญหาที่ถูกต้องได้ | |||
โจทย์สำคัญต่อการแก้ปัญหา: มาตรการในการแก้ไขปัญหาของภาครัฐควรต้องคำนึงถึงโจทย์สำคัญ ๒ ข้อที่เชื่อมโยงกับรากเหง้าของปัญหาตามที่กล่าวไป คือ | |||
๑) ทำอย่างไรที่จะให้ประชาชนในพื้นที่ รวมถึงผู้ที่เห็นต่างจากรัฐได้มีส่วนร่วมทางการเมืองในการแก้ไขปัญหาและขับเคลื่อนกิจกรรมหรือนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตอย่างแท้จริง ผ่านโครงสร้างการจัดการบริหารปกครอง กฎหมาย และนโยบายที่สอดคล้องกับ อัตลักษณ์ของคนในพื้นที่ | |||
๒) ทำอย่างไรที่รัฐ ประชาชนในสังคมใหญ่และในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จะเกิดความเข้าใจ ยอมรับ และเห็นคุณค่าความหลากหลายทางวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์อย่างเพียงพอที่ไม่รู้สึกหวาดระแวงว่าความแตกต่างดังกล่าวจะเป็นภัยต่อความมั่นคงของตน | |||
กรอบคิดทิศทางในการแก้ปัญหา: การแก้ไขปัญหาต้องอยู่ในกรอบของสันติวิธีโดยใช้การเมืองนำการทหารอย่างแท้จริง ไม่ใช่การทหารนำการเมืองในแง่ของการปฏิบัติดังเช่นในปัจจุบัน สันติวิธีมิได้ปฏิเสธการใช้การทหาร หากแต่ต้องใช้การทหารอย่างจำกัดภายใต้หลักนิติธรรมในลักษณะที่คุมความรุนแรงมิให้ขยายตัว และต้องสนับสนุนและตอบสนองต่อเป้าหมายของงานการเมืองเท่านั้น โดยนอกจากรัฐจะใช้งานการเมืองในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่แล้ว รัฐยังจำเป็นต้องใช้งานการเมืองในเชิงรุกต่อกลุ่มขบวนการที่ไม่ใช่แค่การยันในทางยุทธการเท่านั้นด้วย | |||
ข้อเสนอแนะงานการเมืองเชิงรุก: ข้อเสนอแนะ ๗ ข้อนี้เป็นการใช้งานการเมืองเชิงรุกสู่การแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ยั่งยืนบนหลักการ “เปิดพื้นที่/มีส่วนร่วม – รับฟังเสียง – สร้างความเข้าใจ – สอดคล้องอัตลักษณ์” | |||
๑) จัดการพูดคุยเพื่อสันติภาพ (Peace Talks) กับกลุ่มขบวนการที่เห็นต่างจากรัฐ เพื่อทำความเข้าใจว่ามีความต้องการอะไร และจะหาทางออกร่วมกันอย่างสันติได้อย่างไรเพื่อการแก้ปัญหาที่ตรงจุด อันจะนำไปสู่การยุติความสูญเสียของทุกฝ่ายให้เร็วที่สุด ทั้งนี้ ต้องย้ำว่าการพูดคุยดังกล่าวไม่ใช่การเจรจา (Negotiation) แต่เป็นการเน้นทำความเข้าใจระหว่างกัน | |||
๒) ร่วมสร้างเครือข่ายสันติภาพชายแดนใต้ (PeaceNet) ที่มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ ตลอดจนเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่ภาคประชาสังคม | |||
๓) กำหนดยุทธศาสตร์สื่อสารสังคมเพื่อสร้างความเข้าใจระหว่างคนในสังคมใหญ่กับในพื้นที่ในการที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสันติบนความหลากหลายภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรมไทย | |||
๔) ส่งเสริมการศึกษาและพัฒนาการจัดการบริหารปกครองที่สอดคล้องกับอัตลักษณ์และวัฒนธรรมในพื้นที่และเอื้อต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนตามกรอบของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย | |||
๕) ส่งเสริมการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งศาลกฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดกภายใต้สำนักงานศาลยุติธรรมไทย | |||
๖) ส่งเสริมการใช้ภาษามลายูเป็นภาษาทำงานควบคู่กับภาษาไทย | |||
๗) ส่งเสริมการศึกษาทั้งข้อดีและข้อจำกัดของการใช้กฎหมายพิเศษในพื้นที่เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นที่ยอมรับได้ของทั้งฝ่ายความมั่นคงและประชาชนในพื้นที่ | |||
อนึ่ง ข้อเสนอที่ ๑ ถือเป็นกุญแจสำคัญที่จะเปิดประตูไปสู่สันติภาพ เพื่อยุติความรุนแรง ข้อเสนอที่ ๒ เป็นข้อเสนอเชิงกระบวนการเพื่อให้มีกลไกซึ่งเชื่อมถึงฐานรากในการเปิดพื้นที่การมีส่วนร่วมของประชาชน และข้อเสนอที่ ๓ เป็นการสื่อสารเพื่อเน้นสร้างความเข้าใจกับสังคมใหญ่ให้เห็นประโยชน์ของสันติวิธีและเห็นแนวทางของการอยู่ร่วมกันอย่างสันติภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรม ซึ่งทั้งข้อ ๑ – ๓ นี้เป็นข้อเสนอหลักของคณะนักศึกษา ในขณะที่ข้อเสนอที่ ๔ – ๗ นั้นเป็นข้อเสนอรองที่เห็นควรสนับสนุนส่งเสริมให้ผู้เกี่ยวข้องดำเนินการเพิ่มเติมจากเดิมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง อันจะเป็นการซื้อใจคนมลายูปาตานี ทำให้เขารู้สึกว่ารัฐและสังคมใหญ่ยอมรับและเห็นคุณค่าในตัวตนของเขาอย่างจริงจังและจริงใจ สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีเกียรติมีศักดิ์ศรี ไม่รู้สึกแปลกแยก และมีความภาคภูมิใจที่เกิดเป็นพลเมืองไทยเชื้อสายมลายูในสังคมไทยที่หลากหลายและเป็นธรรม | |||
|
รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:01, 18 มิถุนายน 2552
ความผิดฐาน “หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ”: เอกลักษณ์ประชาธิปไตยไทยในกระแสประชาธิปไตยโลก
สรุปผลการสำรวจความคิดเห็นประชาชน หลังการเลือกตั้ง 23 ธันวาคม 2550
สกว.กับงานวิจัยใน 3 จชต.(3)ตอนชาวบ้านทำวิจัย
แผนพัฒนาประชาธิปไตย เรื่อง“ก้าวต่อก้าว การพัฒนาประชาธิปไตย ไทย เกาหลีใต้และมาเลเซีย”
การบริหารด้านการเมืองการปกครอง ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
ถึงเวลาหรือยังที่จะต้องคุยกับกลุ่มขบวนการ?
รายงานปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้:บทวิเคราะห์และแนวทางการแก้ปัญหาเชิงรุกที่ยั่งยืนด้วยสันติวิธี”
โดย นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูง “การเสริมสร้างสังคมสันติสุข” รุ่นที่ ๑ สำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า
ปัญหาใจกลาง:ปัญหาใจกลางของความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้คือการต่อสู้เพื่อแบ่งแยกดินแดนของขบวนการต่อสู้ที่ปาตานีซึ่งมีกลุ่มบีอาร์เอ็น โคออร์ดิเนตและพูโลเป็นแกนหลัก ผสมเข้ากับกลุ่มต่อต้านอำนาจรัฐที่ไม่ได้ต้องการแบ่งแยกดินแดน หากแต่ต้องการตอบโต้การกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐบางส่วนที่ทางกลุ่มรู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม โดยมีประชาชนส่วนใหญ่เป็นผู้ได้รับผลกระทบ
รากเหง้าของปัญหา: ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในพื้นที่เป็นเพียงอาการของความขัดแย้งทางการเมืองที่เกี่ยวเนื่องกับมิติทางวัฒนธรรม ซึ่งมีรากเหง้ามาจาก
๑)ความไม่เข้าใจกันอย่างแท้จริงของสองชาติพันธุ์คือไทยและมลายูปาตานีที่ทำให้เกิดอดติลึกๆต่อกัน
๒)บาดแผลทางประวัติศาสตร์ของรัฐปัตตานีที่เคยรุ่งเรืองจากการกระทำของรัฐสยามในอดีต
๓)โครงสร้างการจัดการบริหารปกครอง รวมทั้งกฎหมาย และนโยบายทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมวัฒนธรรมที่ยังมีบางส่วนไม่สอดคล้องกับอัตลักษณ์และวิถีชีวิตของคนในพื้นที่ ตลอดจนไม่เอื้อต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในระดับที่สามารถสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของได้อย่างแท้จริงและเท่าเทียม
ทั้งหมดนี้ทำให้คนมลายูปาตานีโดยเฉพาะกลุ่มที่ใช้ความรุนแรงรู้สึกว่าไม่สามารถเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทยได้อย่างมีเกียรติและมีคุณค่า ผู้เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาทุกภาคส่วนจะต้องตระหนักถึงปัญหาใจกลางและรากเหง้าดังกล่าว และรวมศูนย์ความสนใจที่ประเด็นนี้ ไม่เช่นนั้นจะไม่สามารถกำหนดทิศทางแก้ปัญหาที่ถูกต้องได้
โจทย์สำคัญต่อการแก้ปัญหา: มาตรการในการแก้ไขปัญหาของภาครัฐควรต้องคำนึงถึงโจทย์สำคัญ ๒ ข้อที่เชื่อมโยงกับรากเหง้าของปัญหาตามที่กล่าวไป คือ ๑) ทำอย่างไรที่จะให้ประชาชนในพื้นที่ รวมถึงผู้ที่เห็นต่างจากรัฐได้มีส่วนร่วมทางการเมืองในการแก้ไขปัญหาและขับเคลื่อนกิจกรรมหรือนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตอย่างแท้จริง ผ่านโครงสร้างการจัดการบริหารปกครอง กฎหมาย และนโยบายที่สอดคล้องกับ อัตลักษณ์ของคนในพื้นที่ ๒) ทำอย่างไรที่รัฐ ประชาชนในสังคมใหญ่และในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จะเกิดความเข้าใจ ยอมรับ และเห็นคุณค่าความหลากหลายทางวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์อย่างเพียงพอที่ไม่รู้สึกหวาดระแวงว่าความแตกต่างดังกล่าวจะเป็นภัยต่อความมั่นคงของตน
กรอบคิดทิศทางในการแก้ปัญหา: การแก้ไขปัญหาต้องอยู่ในกรอบของสันติวิธีโดยใช้การเมืองนำการทหารอย่างแท้จริง ไม่ใช่การทหารนำการเมืองในแง่ของการปฏิบัติดังเช่นในปัจจุบัน สันติวิธีมิได้ปฏิเสธการใช้การทหาร หากแต่ต้องใช้การทหารอย่างจำกัดภายใต้หลักนิติธรรมในลักษณะที่คุมความรุนแรงมิให้ขยายตัว และต้องสนับสนุนและตอบสนองต่อเป้าหมายของงานการเมืองเท่านั้น โดยนอกจากรัฐจะใช้งานการเมืองในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่แล้ว รัฐยังจำเป็นต้องใช้งานการเมืองในเชิงรุกต่อกลุ่มขบวนการที่ไม่ใช่แค่การยันในทางยุทธการเท่านั้นด้วย
ข้อเสนอแนะงานการเมืองเชิงรุก: ข้อเสนอแนะ ๗ ข้อนี้เป็นการใช้งานการเมืองเชิงรุกสู่การแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ยั่งยืนบนหลักการ “เปิดพื้นที่/มีส่วนร่วม – รับฟังเสียง – สร้างความเข้าใจ – สอดคล้องอัตลักษณ์” ๑) จัดการพูดคุยเพื่อสันติภาพ (Peace Talks) กับกลุ่มขบวนการที่เห็นต่างจากรัฐ เพื่อทำความเข้าใจว่ามีความต้องการอะไร และจะหาทางออกร่วมกันอย่างสันติได้อย่างไรเพื่อการแก้ปัญหาที่ตรงจุด อันจะนำไปสู่การยุติความสูญเสียของทุกฝ่ายให้เร็วที่สุด ทั้งนี้ ต้องย้ำว่าการพูดคุยดังกล่าวไม่ใช่การเจรจา (Negotiation) แต่เป็นการเน้นทำความเข้าใจระหว่างกัน ๒) ร่วมสร้างเครือข่ายสันติภาพชายแดนใต้ (PeaceNet) ที่มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ ตลอดจนเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่ภาคประชาสังคม ๓) กำหนดยุทธศาสตร์สื่อสารสังคมเพื่อสร้างความเข้าใจระหว่างคนในสังคมใหญ่กับในพื้นที่ในการที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสันติบนความหลากหลายภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรมไทย ๔) ส่งเสริมการศึกษาและพัฒนาการจัดการบริหารปกครองที่สอดคล้องกับอัตลักษณ์และวัฒนธรรมในพื้นที่และเอื้อต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนตามกรอบของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ๕) ส่งเสริมการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งศาลกฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดกภายใต้สำนักงานศาลยุติธรรมไทย ๖) ส่งเสริมการใช้ภาษามลายูเป็นภาษาทำงานควบคู่กับภาษาไทย
๗) ส่งเสริมการศึกษาทั้งข้อดีและข้อจำกัดของการใช้กฎหมายพิเศษในพื้นที่เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นที่ยอมรับได้ของทั้งฝ่ายความมั่นคงและประชาชนในพื้นที่
อนึ่ง ข้อเสนอที่ ๑ ถือเป็นกุญแจสำคัญที่จะเปิดประตูไปสู่สันติภาพ เพื่อยุติความรุนแรง ข้อเสนอที่ ๒ เป็นข้อเสนอเชิงกระบวนการเพื่อให้มีกลไกซึ่งเชื่อมถึงฐานรากในการเปิดพื้นที่การมีส่วนร่วมของประชาชน และข้อเสนอที่ ๓ เป็นการสื่อสารเพื่อเน้นสร้างความเข้าใจกับสังคมใหญ่ให้เห็นประโยชน์ของสันติวิธีและเห็นแนวทางของการอยู่ร่วมกันอย่างสันติภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรม ซึ่งทั้งข้อ ๑ – ๓ นี้เป็นข้อเสนอหลักของคณะนักศึกษา ในขณะที่ข้อเสนอที่ ๔ – ๗ นั้นเป็นข้อเสนอรองที่เห็นควรสนับสนุนส่งเสริมให้ผู้เกี่ยวข้องดำเนินการเพิ่มเติมจากเดิมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง อันจะเป็นการซื้อใจคนมลายูปาตานี ทำให้เขารู้สึกว่ารัฐและสังคมใหญ่ยอมรับและเห็นคุณค่าในตัวตนของเขาอย่างจริงจังและจริงใจ สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีเกียรติมีศักดิ์ศรี ไม่รู้สึกแปลกแยก และมีความภาคภูมิใจที่เกิดเป็นพลเมืองไทยเชื้อสายมลายูในสังคมไทยที่หลากหลายและเป็นธรรม
ปัจจุบันหมวดหมู่นี้ไม่มีหน้าหรือสื่อใด