ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ด้อมการเมือง"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Trikao (คุย | ส่วนร่วม)
สร้างหน้าด้วย " '''ผู้เรียบเรียง''' ''':''' ดร.ปุรวิชญ์ วัฒนสุข '''ผู้ทรงคุณวุฒิ..."
 
Trikao (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
บรรทัดที่ 26: บรรทัดที่ 26:
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 24 มีนาคม 2562 สื่อสังคมออนไลน์ (social media) ได้กลายเป็น '''“ตัวเปลี่ยนเกม”''' (game changer) ที่สำคัญในการเมืองไทยจนสามารถมีอิทธิพลต่อคะแนนเสียงในการเลือกตั้งได้[[#_ftn5|<sup><sup>[5]</sup></sup>]] ซึ่งในการเลือกตั้งครั้งนั้นเอง การเกิดขึ้นของ[[พรรคอนาคตใหม่|พรรคอนาคตใหม่]]ก็ได้กลายเป็นหมุดหมายสำคัญ เพราะมุ่งเน้นไปที่การหาเสียงบนโลกออนไลน์ ปรากฏการณ์ที่กลายเป็นหมุดหมายของการเกิดขึ้นของด้อมการเมืองของพรรคอนาคตใหม่ คือ ปรากฏการณ์ #ฟ้ารักพ่อ อันเกิดจากการที่แกนนำพรรคคนสำคัญอย่าง นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ,&nbsp;นายปิยบุตร แสงกนกกุล, นางสาวพรรณิการ์ วานิช และนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ได้เดินทางมาร่วมงานฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์-จุฬาฯ ครั้งที่ 73 ซึ่งมีเสียงตะโกนจากผู้สนับสนุนว่า '''“แด๊ดดี้ที่แปลว่าพ่อ ฟ้ารักพ่อค่ะ ฟ้ารักพ่อ ฟ้ารักพ่อที่สุด”''' จนเมื่อคลิปวิดีโอดังกล่าวถูกเผยแพร่บนสื่อสังคมออนไลน์ ก็กลายเป็นกระแสที่ถูกพูดถึงอย่างกว้างขวาง จนกลายเป็นกระแส #ฟ้ารักพ่อ เกิดขึ้น[[#_ftn6|<sup><sup>[6]</sup></sup>]]
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 24 มีนาคม 2562 สื่อสังคมออนไลน์ (social media) ได้กลายเป็น '''“ตัวเปลี่ยนเกม”''' (game changer) ที่สำคัญในการเมืองไทยจนสามารถมีอิทธิพลต่อคะแนนเสียงในการเลือกตั้งได้[[#_ftn5|<sup><sup>[5]</sup></sup>]] ซึ่งในการเลือกตั้งครั้งนั้นเอง การเกิดขึ้นของ[[พรรคอนาคตใหม่|พรรคอนาคตใหม่]]ก็ได้กลายเป็นหมุดหมายสำคัญ เพราะมุ่งเน้นไปที่การหาเสียงบนโลกออนไลน์ ปรากฏการณ์ที่กลายเป็นหมุดหมายของการเกิดขึ้นของด้อมการเมืองของพรรคอนาคตใหม่ คือ ปรากฏการณ์ #ฟ้ารักพ่อ อันเกิดจากการที่แกนนำพรรคคนสำคัญอย่าง นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ,&nbsp;นายปิยบุตร แสงกนกกุล, นางสาวพรรณิการ์ วานิช และนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ได้เดินทางมาร่วมงานฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์-จุฬาฯ ครั้งที่ 73 ซึ่งมีเสียงตะโกนจากผู้สนับสนุนว่า '''“แด๊ดดี้ที่แปลว่าพ่อ ฟ้ารักพ่อค่ะ ฟ้ารักพ่อ ฟ้ารักพ่อที่สุด”''' จนเมื่อคลิปวิดีโอดังกล่าวถูกเผยแพร่บนสื่อสังคมออนไลน์ ก็กลายเป็นกระแสที่ถูกพูดถึงอย่างกว้างขวาง จนกลายเป็นกระแส #ฟ้ารักพ่อ เกิดขึ้น[[#_ftn6|<sup><sup>[6]</sup></sup>]]


&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ส่วนพรรคเพื่อไทยนั้น ก็มีด้อมการเมืองที่สำคัญ คือ แฟนด้อมของ นางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ ส.ส. กรุงเทพมหานคร หรือ '''“ส.ส. อิ่ม”''' และนางสาวจิราพร สินธุไพร ส.ส. จังหวัดสกลนคร หรือ '''“ส.ส. น้ำ”''' ซึ่งแฟนด้อมทั้งหลายเรียกว่า '''“คูมธีคูมจิ”''' เริ่มต้นขึ้นในปี 2564 เมื่อทั้งคู่ได้ให้สัมภาษณ์ทางสื่อออนไลน์ถึงความสนิทสนมกันจากการทำงานร่วมกันในหลายคณะกรรมการของพรรค จนทำให้เจอกันทุกวันและสนิทกัน[[#_ftn7|<sup><sup>[7]</sup></sup>]] จนต่อมากลายเป็นแฟนด้อมของพรรคเพื่อไทยที่เรียกว่า #พี่อิ่มน้องน้ำ แฟนคลับได้ตัดต่อคลิปของทั้งคู่ลง Tiktok และมีการแพร่หลายมากจนมี Instagram ของแฟนคลับลงรูปช่วงเวลาความน่ารักของทั้งคู่ มีกลุ่ม Line Openchat ที่มีสมาชิกกว่า 500 คน และกลุ่ม Facebook ซึ่งมีสมาชิกกว่า 3,000 คน ซึ่งมีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 18-24 ปี รวมทั้งมีกิจกรรมแจกรูป แก้ว กระเป๋า หรือเสื้อที่มีรูป ส.ส. อิ่ม และ ส.ส. น้ำ รวมตัวไปต้อนรับเวลาลงพื้นที่ และขยายไปยัง ส.ส. คนอื่นในพรรคเพื่อไทยจนทำให้มีผู้ติดตาม Instagram มากยิ่งขึ้นอีกด้วย[[#_ftn8|<sup><sup>[8]</sup></sup>]]
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ส่วนพรรคเพื่อไทยนั้น ก็มีด้อมการเมืองที่สำคัญ คือ แฟนด้อมของ นางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ สส. กรุงเทพมหานคร หรือ '''“สส. อิ่ม”''' และนางสาวจิราพร สินธุไพร สส. จังหวัดสกลนคร หรือ '''“สส. น้ำ”''' ซึ่งแฟนด้อมทั้งหลายเรียกว่า '''“คูมธีคูมจิ”''' เริ่มต้นขึ้นในปี 2564 เมื่อทั้งคู่ได้ให้สัมภาษณ์ทางสื่อออนไลน์ถึงความสนิทสนมกันจากการทำงานร่วมกันในหลายคณะกรรมการของพรรค จนทำให้เจอกันทุกวันและสนิทกัน[[#_ftn7|<sup><sup>[7]</sup></sup>]] จนต่อมากลายเป็นแฟนด้อมของพรรคเพื่อไทยที่เรียกว่า #พี่อิ่มน้องน้ำ แฟนคลับได้ตัดต่อคลิปของทั้งคู่ลง Tiktok และมีการแพร่หลายมากจนมี Instagram ของแฟนคลับลงรูปช่วงเวลาความน่ารักของทั้งคู่ มีกลุ่ม Line Openchat ที่มีสมาชิกกว่า 500 คน และกลุ่ม Facebook ซึ่งมีสมาชิกกว่า 3,000 คน ซึ่งมีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 18-24 ปี รวมทั้งมีกิจกรรมแจกรูป แก้ว กระเป๋า หรือเสื้อที่มีรูป สส. อิ่ม และ สส. น้ำ รวมตัวไปต้อนรับเวลาลงพื้นที่ และขยายไปยัง สส. คนอื่นในพรรคเพื่อไทยจนทำให้มีผู้ติดตาม Instagram มากยิ่งขึ้นอีกด้วย[[#_ftn8|<sup><sup>[8]</sup></sup>]]


&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 14 พฤษภาคม 2566 เป็นการเลือกตั้งอีกครั้งหนึ่งที่สื่อสังคมออนไลน์ได้เข้ามามีบทบาทอย่างสำคัญ ไม่เพียงแต่การโพสต์หรือสร้างแฮชแท็กเท่านั้น แต่ยังกลายเป็นพื้นที่สร้างกระแสความนิยมให้กับพรรคการเมืองหรือนักการเมือง จนเกิดเป็นปรากฏการณ์ '''“หัวคะแนนธรรมชาติ”''' ขึ้นมา ซึ่งแฟนคลับของพรรคการเมืองและนักการเมืองก็สร้างคอนเทนต์เพื่อสนับสนุน และมีการผลิตซ้ำไปมาจากผู้ใช้และประชาชนจนกลายเป็นไวรัล กลายเป็นกระแสในวงกว้างขึ้นมา[[#_ftn9|<sup><sup>[9]</sup></sup>]] ปรากฏการณ์ด้อมการเมืองที่สำคัญที่เกิดขึ้นในการเลือกตั้งครั้งนี้ คือ '''“ด้อมส้ม”''' ซึ่งเป็นแฟนคลับของพรรคก้าวไกล โดยใช้สีส้มซึ่งเป็นสีของพรรคก้าวไกลเป็นสัญลักษณ์ ประกาศตัวเป็น “หัวคะแนนธรรมชาติ” โดยการทำแคมเปญต่าง ๆ ลงสื่อสังคมออนไลน์โดยใช้เลข 31 ซึ่งเป็นหมายเลขของพรรคก้าวไกลแบบบัญชีรายชื่อและใช้สีส้มในการสร้างคอนเทนต์ โดยยึดโยงกับกระแสที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันให้เห็นเนื้อหาและเรื่องเดียวกัน คือ รูปส้มและสีส้ม[[#_ftn10|<sup><sup>[10]</sup></sup>]] “ด้อมส้ม” เริ่มกลายเป็นปรากฏการณ์ในช่วงการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง และมีการวิเคราะห์จากแกนนำคนนำสำคัญของพรรคว่า ด้อมส้มเกิดจาก
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 14 พฤษภาคม 2566 เป็นการเลือกตั้งอีกครั้งหนึ่งที่สื่อสังคมออนไลน์ได้เข้ามามีบทบาทอย่างสำคัญ ไม่เพียงแต่การโพสต์หรือสร้างแฮชแท็กเท่านั้น แต่ยังกลายเป็นพื้นที่สร้างกระแสความนิยมให้กับพรรคการเมืองหรือนักการเมือง จนเกิดเป็นปรากฏการณ์ '''“หัวคะแนนธรรมชาติ”''' ขึ้นมา ซึ่งแฟนคลับของพรรคการเมืองและนักการเมืองก็สร้างคอนเทนต์เพื่อสนับสนุน และมีการผลิตซ้ำไปมาจากผู้ใช้และประชาชนจนกลายเป็นไวรัล กลายเป็นกระแสในวงกว้างขึ้นมา[[#_ftn9|<sup><sup>[9]</sup></sup>]] ปรากฏการณ์ด้อมการเมืองที่สำคัญที่เกิดขึ้นในการเลือกตั้งครั้งนี้ คือ '''“ด้อมส้ม”''' ซึ่งเป็นแฟนคลับของพรรคก้าวไกล โดยใช้สีส้มซึ่งเป็นสีของพรรคก้าวไกลเป็นสัญลักษณ์ ประกาศตัวเป็น “หัวคะแนนธรรมชาติ” โดยการทำแคมเปญต่าง ๆ ลงสื่อสังคมออนไลน์โดยใช้เลข 31 ซึ่งเป็นหมายเลขของพรรคก้าวไกลแบบบัญชีรายชื่อและใช้สีส้มในการสร้างคอนเทนต์ โดยยึดโยงกับกระแสที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันให้เห็นเนื้อหาและเรื่องเดียวกัน คือ รูปส้มและสีส้ม[[#_ftn10|<sup><sup>[10]</sup></sup>]] '''“ด้อมส้ม”''' เริ่มกลายเป็นปรากฏการณ์ในช่วงการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง และมีการวิเคราะห์จากแกนนำคนนำสำคัญของพรรคว่า ด้อมส้มเกิดจาก


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 1) การเปิดรับบริจาคแบบไมโครโดเนชัน (micro donation) ของพรรคก้าวไกล ที่ทำให้ประชาชนรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของพรรค
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 1) การเปิดรับบริจาคแบบไมโครโดเนชัน (micro donation) ของพรรคก้าวไกล ที่ทำให้ประชาชนรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของพรรค
บรรทัดที่ 38: บรรทัดที่ 38:
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 4) รูปแบบการหาเสียงที่น่าสนใจ เช่น การสแกนคิวอาร์โค้ดอ่านหนังสือพิมพ์ '''“ก้าวไกลพอร์ตเตอร์”''' และการรับชมวิดีโอการปราศรัยและเนื้อหาอื่น ๆ ได้แบบ AR (augmented reality)
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 4) รูปแบบการหาเสียงที่น่าสนใจ เช่น การสแกนคิวอาร์โค้ดอ่านหนังสือพิมพ์ '''“ก้าวไกลพอร์ตเตอร์”''' และการรับชมวิดีโอการปราศรัยและเนื้อหาอื่น ๆ ได้แบบ AR (augmented reality)


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 5) ผู้สมัคร ส.ส. ที่เป็น '''“อินฟลูเอนเซอร์”''' ของพรรค ผ่านการเคลื่อนไหวบนสื่อสังคมออนไลน์ จนเกิดเป็นฐานแฟนคลับย่อย (sub-dom)
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 5) ผู้สมัคร สส. ที่เป็น '''“อินฟลูเอนเซอร์”''' ของพรรค ผ่านการเคลื่อนไหวบนสื่อสังคมออนไลน์ จนเกิดเป็นฐานแฟนคลับย่อย (sub-dom)


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ด้อมส้มเป็นปรากฏการณ์สำคัญภายหลังพรรคก้าวไกลชนะการเลือกตั้ง และมีข่าวว่ามีการเจรจาจัดตั้งรัฐบาลกับพรรคชาติพัฒนากล้า จนทำให้เกิดกระแสต่อต้านในหมู่แฟนด้อมอย่างกว้างขวางบนสื่อสังคมออนไลน์ กลายเป็นแฮชแท็ก #มีกรณ์ไม่มีกู และพรรคก้าวไกลต้องยุติการเจรจากับพรรคชาติพัฒนากล้าในเวลาเพียงไม่ถึง 24 ชั่วโมง[[#_ftn11|<sup><sup>[11]</sup></sup>]]
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ด้อมส้มเป็นปรากฏการณ์สำคัญภายหลังพรรคก้าวไกลชนะการเลือกตั้ง และมีข่าวว่ามีการเจรจาจัดตั้งรัฐบาลกับพรรคชาติพัฒนากล้า จนทำให้เกิดกระแสต่อต้านในหมู่แฟนด้อมอย่างกว้างขวางบนสื่อสังคมออนไลน์ กลายเป็นแฮชแท็ก #มีกรณ์ไม่มีกู และพรรคก้าวไกลต้องยุติการเจรจากับพรรคชาติพัฒนากล้าในเวลาเพียงไม่ถึง 24 ชั่วโมง[[#_ftn11|<sup><sup>[11]</sup></sup>]]

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 14:18, 6 สิงหาคม 2567

ผู้เรียบเรียง : ดร.ปุรวิชญ์ วัฒนสุข

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล

 

          ด้อมการเมือง (political fandom) กลายเป็นปรากฏการณ์ทางการเมืองร่วมสมัยที่สำคัญที่เกิดขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก รวมถึงในประเทศไทยในช่วงเวลาที่ผ่านมา เป็นปรากฏการณ์ที่แสดงถึงความคลั่งไคล้และการสนับสนุนอย่างแรงกล้าและเข้มข้นที่มีต่อนักการเมือง พรรคการเมือง หรืออุดมการณ์ทางการเมือง ในลักษณะเช่นเดียวกับความคลั่งไคล้ในบุคคลที่มีชื่อเสียง (celebrity) ในวงการบันเทิง

 

ความหมายและลักษณะของ “ด้อมการเมือง” (political fandom)

          ด้อมการเมือง (political fandom) หมายถึง การมีอารมณ์ร่วมและการสนับสนุนนักการเมือง พรรคการเมือง หรืออุดมการณ์ทางการเมืองอย่างแข็งขัน[1] ซึ่งด้อมการเมืองนั้นก็จะมีลักษณะคล้ายกับแฟนด้อมของวัฒนธรรมป๊อป (pop culture) เช่น แฟนด้อมศิลปิน แฟนด้อมทีมกีฬา โดยที่แต่ละแฟนด้อมก็จะมีพื้นที่แลกเปลี่ยนพูดคุยในหมู่แฟนด้อมเอง เรียกว่า ชุมชน (community) ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งบนโลกออนไลน์ เช่น สื่อสังคมออนไลน์ การสร้างแฮชแท็ก หรือออฟไลน์ เช่น การจัดกิจกรรมพบปะ ซึ่งเกิดขึ้นโดยความตั้งใจและความสมัครใจของแฟนคลับเอง ปรากฏการณ์แฟนด้อมการเมืองไม่ใช่เรื่องบังเอิญ แต่เป็นผลพวงของปรากฏการณ์การเมืองแบบเซเลบริตี้ (celebrity politics) ที่มุ่งเน้นการทำการเมืองผ่านมุมมองแบบวงการบันเทิง เน้นการสื่อสารและใช้เทคนิคทางการตลาด เช่น การชักชวนดารานักแสดงช่วยรณรงค์ การขายภาพลักษณ์ของนักการเมือง การออกรายการเพื่อพูดคุยเรื่องอื่นที่ไม่ใช่การเมือง ซึ่งการเมืองแบบนี้ก็เกิดจากสองปัจจัยสำคัญ คือ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการสื่อสาร โดยเฉพาะสื่อสังคมออนไลน์ (social media) ทำให้นักการเมืองสามารถสื่อสารกับประชาชนได้โดยตรงโดยที่ไม่ต้องผ่านสื่อมวลชนรายใหญ่ และความรู้สีกเบื่อหน่ายทางการเมือง (anti-political sentiment) ที่ทำให้นักการเมืองต้องปรับตัวเพื่อดึงดูดให้คนกลับมาสนใจมากยิ่งขึ้น[2] ทั้งนี้ คำว่าแฟนด้อม (fandom) มาจากคำสองคำ คือ คำว่า fanclub และ kingdom[3]

 

ตัวอย่างด้อมการเมืองในต่างประเทศ

          ปรากฏการณ์ด้อมการเมืองในปัจจุบันสามารถสืบย้อนกลับไปได้ในช่วงทศวรรษ 2010 ซึ่งตัวอย่างที่โด่งดังที่สุดในโลกตะวันตก คือ ในสหราชอาณาจักร เอ็ดเวิร์ด มิลิแบนด์ (Edward Miliband) อดีตหัวหน้าพรรคแรงงานของสหราชอาณาจักรในปี 2015 ซึ่งมีแฟนด้อมที่เรียกว่า “Milifandom” ซึ่งกลายเป็นแฮชแท็กยอดนิยมในการเลือกตั้งสหราชอาณาจักรในปีนั้น ซึ่งเริ่มต้นจากการริเริ่มโดยเด็กสาวชาวอังกฤษวัยเพียง 17 ปี ที่ต้องการสนับสนุนเขา จึงสร้าง Milifandom โดยมีวัยรุ่นจำนวนมากร่วมสร้างเนื้อหา มีม ภาพตัดต่อ วิดีโอต่าง ๆ จนกลายเป็นกระแสไปทั่วทั้งโลกออนไลน์ การเกิดขึ้นของ Milifandom ได้ทำให้เกิดแฟนด้อมการเมืองอื่น ๆ ตามมา เช่น แฟนด้อมของ เจเรมี คอร์บิน (Jeremy Corbyn) อดีตหัวหน้าพรรคแรงงานที่มีแฟนด้อมของตัวเองที่เรียกว่า “Corbynmania” ซึ่งมีการสร้างแฮชแท็กเฉพาะกลุ่มแฟนคลับพูดถึงการปราศรัย ผลิตสินค้า ภาพวาด การ์ตูน และเพลงเชียร์ หรือแฟนด้อมของ เจคอบ รีส์-ม็อกก์ (Jacob Rees-Mogg) นักการเมืองพรรคอนุรักษ์นิยมที่เรียกว่า Moggmentum ซึ่งผลักดันสนับสนุนให้ม็อกก์ขึ้นเป็นหัวหน้าพรรคอนุรักษ์นิยมคนใหม่ในปี 2017 บรรดาแฟนคลับได้ช่วยกันสร้างมีมและระดมเงินสนับสนุนได้กว่า 7,000 ปอนด์ และลงรายชื่อสนับสนุนได้ถึง 13,000 คน ในระยะเวลาเพียง 2 วัน ในขณะเดียวกัน ปรากฏการณ์ด้อมการเมืองก็เกิดขึ้นในเกาหลีใต้เช่นกัน มุนแจอิน (Moon Jae-in) อดีตประธานาธิบดีเกาหลีใต้ ก็มีแฟนด้อมที่เรียกว่า “Moonoppa” สนับสนุนอดีตประธานาธิบดีและแก้ไขประเด็นที่สื่อโจมตีอยู่เสมอ รวมทั้งผลิตสินค้า คอนเทนต์ มีมต่าง ๆ เพื่อแลกเปลี่ยนในหมู่แฟนด้อมกันเองและสื่อสารไปยังภายนอกให้ได้รับรู้ด้วยเช่นกัน[4]

 

ปรากฏการณ์ด้อมการเมืองในประเทศไทย

          ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 24 มีนาคม 2562 สื่อสังคมออนไลน์ (social media) ได้กลายเป็น “ตัวเปลี่ยนเกม” (game changer) ที่สำคัญในการเมืองไทยจนสามารถมีอิทธิพลต่อคะแนนเสียงในการเลือกตั้งได้[5] ซึ่งในการเลือกตั้งครั้งนั้นเอง การเกิดขึ้นของพรรคอนาคตใหม่ก็ได้กลายเป็นหมุดหมายสำคัญ เพราะมุ่งเน้นไปที่การหาเสียงบนโลกออนไลน์ ปรากฏการณ์ที่กลายเป็นหมุดหมายของการเกิดขึ้นของด้อมการเมืองของพรรคอนาคตใหม่ คือ ปรากฏการณ์ #ฟ้ารักพ่อ อันเกิดจากการที่แกนนำพรรคคนสำคัญอย่าง นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ, นายปิยบุตร แสงกนกกุล, นางสาวพรรณิการ์ วานิช และนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ได้เดินทางมาร่วมงานฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์-จุฬาฯ ครั้งที่ 73 ซึ่งมีเสียงตะโกนจากผู้สนับสนุนว่า “แด๊ดดี้ที่แปลว่าพ่อ ฟ้ารักพ่อค่ะ ฟ้ารักพ่อ ฟ้ารักพ่อที่สุด” จนเมื่อคลิปวิดีโอดังกล่าวถูกเผยแพร่บนสื่อสังคมออนไลน์ ก็กลายเป็นกระแสที่ถูกพูดถึงอย่างกว้างขวาง จนกลายเป็นกระแส #ฟ้ารักพ่อ เกิดขึ้น[6]

          ส่วนพรรคเพื่อไทยนั้น ก็มีด้อมการเมืองที่สำคัญ คือ แฟนด้อมของ นางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ สส. กรุงเทพมหานคร หรือ “สส. อิ่ม” และนางสาวจิราพร สินธุไพร สส. จังหวัดสกลนคร หรือ “สส. น้ำ” ซึ่งแฟนด้อมทั้งหลายเรียกว่า “คูมธีคูมจิ” เริ่มต้นขึ้นในปี 2564 เมื่อทั้งคู่ได้ให้สัมภาษณ์ทางสื่อออนไลน์ถึงความสนิทสนมกันจากการทำงานร่วมกันในหลายคณะกรรมการของพรรค จนทำให้เจอกันทุกวันและสนิทกัน[7] จนต่อมากลายเป็นแฟนด้อมของพรรคเพื่อไทยที่เรียกว่า #พี่อิ่มน้องน้ำ แฟนคลับได้ตัดต่อคลิปของทั้งคู่ลง Tiktok และมีการแพร่หลายมากจนมี Instagram ของแฟนคลับลงรูปช่วงเวลาความน่ารักของทั้งคู่ มีกลุ่ม Line Openchat ที่มีสมาชิกกว่า 500 คน และกลุ่ม Facebook ซึ่งมีสมาชิกกว่า 3,000 คน ซึ่งมีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 18-24 ปี รวมทั้งมีกิจกรรมแจกรูป แก้ว กระเป๋า หรือเสื้อที่มีรูป สส. อิ่ม และ สส. น้ำ รวมตัวไปต้อนรับเวลาลงพื้นที่ และขยายไปยัง สส. คนอื่นในพรรคเพื่อไทยจนทำให้มีผู้ติดตาม Instagram มากยิ่งขึ้นอีกด้วย[8]

          การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 14 พฤษภาคม 2566 เป็นการเลือกตั้งอีกครั้งหนึ่งที่สื่อสังคมออนไลน์ได้เข้ามามีบทบาทอย่างสำคัญ ไม่เพียงแต่การโพสต์หรือสร้างแฮชแท็กเท่านั้น แต่ยังกลายเป็นพื้นที่สร้างกระแสความนิยมให้กับพรรคการเมืองหรือนักการเมือง จนเกิดเป็นปรากฏการณ์ “หัวคะแนนธรรมชาติ” ขึ้นมา ซึ่งแฟนคลับของพรรคการเมืองและนักการเมืองก็สร้างคอนเทนต์เพื่อสนับสนุน และมีการผลิตซ้ำไปมาจากผู้ใช้และประชาชนจนกลายเป็นไวรัล กลายเป็นกระแสในวงกว้างขึ้นมา[9] ปรากฏการณ์ด้อมการเมืองที่สำคัญที่เกิดขึ้นในการเลือกตั้งครั้งนี้ คือ “ด้อมส้ม” ซึ่งเป็นแฟนคลับของพรรคก้าวไกล โดยใช้สีส้มซึ่งเป็นสีของพรรคก้าวไกลเป็นสัญลักษณ์ ประกาศตัวเป็น “หัวคะแนนธรรมชาติ” โดยการทำแคมเปญต่าง ๆ ลงสื่อสังคมออนไลน์โดยใช้เลข 31 ซึ่งเป็นหมายเลขของพรรคก้าวไกลแบบบัญชีรายชื่อและใช้สีส้มในการสร้างคอนเทนต์ โดยยึดโยงกับกระแสที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันให้เห็นเนื้อหาและเรื่องเดียวกัน คือ รูปส้มและสีส้ม[10] “ด้อมส้ม” เริ่มกลายเป็นปรากฏการณ์ในช่วงการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง และมีการวิเคราะห์จากแกนนำคนนำสำคัญของพรรคว่า ด้อมส้มเกิดจาก

          1) การเปิดรับบริจาคแบบไมโครโดเนชัน (micro donation) ของพรรคก้าวไกล ที่ทำให้ประชาชนรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของพรรค

          2) การทำให้ผู้สนับสนุนกลายเป็น “แอคทีฟ โหวตเตอร์” (active voter) ที่ช่วยกระจายนโยบายของพรรค ที่เรียกว่า “หัวคะแนนธรรมชาติ”

          3) ยุทธศาสตร์การหาเสียงของพรรคที่พยายามให้ประชาชนมีส่วนร่วม เช่น ระบบติดตาม GPS ของคาราวานก้าวไกล

          4) รูปแบบการหาเสียงที่น่าสนใจ เช่น การสแกนคิวอาร์โค้ดอ่านหนังสือพิมพ์ “ก้าวไกลพอร์ตเตอร์” และการรับชมวิดีโอการปราศรัยและเนื้อหาอื่น ๆ ได้แบบ AR (augmented reality)

          5) ผู้สมัคร สส. ที่เป็น “อินฟลูเอนเซอร์” ของพรรค ผ่านการเคลื่อนไหวบนสื่อสังคมออนไลน์ จนเกิดเป็นฐานแฟนคลับย่อย (sub-dom)

          ด้อมส้มเป็นปรากฏการณ์สำคัญภายหลังพรรคก้าวไกลชนะการเลือกตั้ง และมีข่าวว่ามีการเจรจาจัดตั้งรัฐบาลกับพรรคชาติพัฒนากล้า จนทำให้เกิดกระแสต่อต้านในหมู่แฟนด้อมอย่างกว้างขวางบนสื่อสังคมออนไลน์ กลายเป็นแฮชแท็ก #มีกรณ์ไม่มีกู และพรรคก้าวไกลต้องยุติการเจรจากับพรรคชาติพัฒนากล้าในเวลาเพียงไม่ถึง 24 ชั่วโมง[11]

          “ด้อมการเมือง” จึงกลายเป็นปรากฏการณ์ทางการเมืองใหม่ในการเมืองไทย ซึ่งสะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2 ครั้งที่ผ่านมาในปี 2562 และ 2566 ปรากฏการณ์นี้ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ หากแต่เป็นผลพวงมาจากปรากฏการณ์การเมืองแบบเซเลบริตี้ (celebrity politics) ซึ่งส่วนหนึ่งที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการเกิดปรากฏการณ์นี้ คือ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการสื่อสาร โดยเฉพาะสื่อสังคมออนไลน์ (social media) ทำให้นักการเมืองต้องปรับตัวต่อความเปลี่ยนแปลงนี้เพื่อช่วงชิงความนิยมของตนเอง ปรากฏการณ์นี้จะยังคงดำรงอยู่ต่อไปและและจะมีการพัฒนาเทคนิคให้มีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ เพราะสื่อสังคมออนไลน์มีบทบาทอย่างสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์การเมืองไทย

 

อ้างอิง

[1] Cornel Sandvoss, 2005. Fans: The Mirror of Consumption. Malden, Massachusetts. Polity Press, p. 3.

[2] "‘Political Fandom’ ปรากฏการณ์แฟนด้อมและความมีส่วนร่วมในการเมืองสมัยใหม่."The Matter (5 พฤษภาคม 2566). เข้าถึงจาก <https://thematter.co/social/political-fandom/202560>. เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2567.

[3] "โดนตกจนเป็นติ่ง!: สำรวจความรักและวัฒนธรรม ‘แฟนด้อม’ นักการเมืองไทย." The101.World (2 พฤศจิกายน 2566). เข้าถึงจาก <https://www.the101.world/political-fandom/>. เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2567

[4] "‘Political Fandom’ ปรากฏการณ์แฟนด้อมและความมีส่วนร่วมในการเมืองสมัยใหม่."The Matter (5 พฤษภาคม 2566). เข้าถึงจาก <https://thematter.co/social/political-fandom/202560>. เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2567.

[5] "‘และนี่คือเสียงของชาวเน็ต’ : เมื่อโซเชียลมีเดียคือ game changer การเมืองไทย?." The101.World (2 ตุลาคม 2566). เข้าถึงจาก <https://www.the101.world/social-media-game-changer>. เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2567.

[6] "‘Political Fandom’ ปรากฏการณ์แฟนด้อมและความมีส่วนร่วมในการเมืองสมัยใหม่."The Matter (5 พฤษภาคม 2566). เข้าถึงจาก <https://thematter.co/social/political-fandom/202560>. เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2567.

[7] "ส่องประวัติ "คูมธีคูมจิ" คู่จิ้นนักการเมืองที่กำลังมาแรงในด้อมคนรุ่นใหม่." PPTV Online (4 พฤศจิกายน 2564). เข้าถึงจาก <https://www.pptvhd36.com/news/การเมือง/159858>. เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2567.

[8] "#พี่อิ่มน้องน้ำ คู่จิ้นการเมือง! ในวันที่ Shipper กลายเป็น Voter." Sanook (5 พฤศจิกายน 2564). เข้าถึงจาก <https://www.sanook.com/news/8469450/>. เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2567.

[9] "‘การเมือง’ หลังเลือกตั้ง 66 การเปลี่ยนแปลงกับ ‘พลังสื่อโซเชียล’." มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (7 มิถุนายน 2566). เข้าถึงจาก <https://tu.ac.th/thammasat-070666-politics-after-the-election>. เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2567

[10] "เลือกตั้ง2566 : “ด้อมส้ม” ระดมแคมเปญ “31” สะเทือนโลกออนไลน์ ดัน “ก้าวไกล” เข้าสภาฯ." ThaiPBS (16 พฤษภาคม 2566). เข้าถึงจาก <https://www.thaipbs.or.th/news/content/327872>. เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2567.

[11] "บทเรียนจาก #มีกรณ์ไม่มีกู พรรคก้าวไกลควรบริหาร "ด้อมส้ม" อย่างไร เมื่อแฟนด้อมกลายเป็นดาบสองคม." BBC News ไทย (2 มิถุนายน 2566). เข้าถึงจาก <https://www.bbc.com/thai/articles/c848w4elj4lo>. เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2567.