ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กระแสคลื่นของการก่อการร้าย"
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 24: | บรรทัดที่ 24: | ||
ทั้งนี้ แร็พพอพอร์ต เสนอว่าแต่ละคลื่นล้วนมีชนวนเหตุ กลยุทธ์ และอาวุธที่ใช้ ซึ่งมีลักษณะเฉพาะตัว ตลอดจนจุดที่คลื่นค่อย ๆ ถดถอยจนก่อให้เกิดคลื่นลูกใหม่ อย่างไรก็ตามการหดหายไปของคลื่นลูกเก่าก็มักเหลื่อมซ้อนกับการเกิดขึ้นของคลื่นลูกใหม่เสมอ และคลื่นลูกเก่าก็มักตกตะกอนนอนก้นอยู่ในคลื่นลูกใหม่จนถูกรับมาปรับใช้ได้อยู่เสมอเช่นกัน กระแสคลื่นของการก่อการร้ายยุคใหม่นับถึงต้นทศวรรษแรกของศตวรรษที่ 21 มีทั้งสิ้น 4 ระลอก ประกอบด้วย คลื่นลูกแรก คือ ''อนาธิปไตย'' ''(Anarchist wave)'' เกิดขึ้นระหว่าง ค.ศ. 1878-1919 คลื่นลูกที่สอง คือ ''ขบวนการต่อต้านอาณานิคม'' ''(Anticolonial wave)'' เกิดขึ้นระหว่าง ทศวรรษ 1920 ถึงต้นทศวรรษ 1960 คลื่นลูกที่สาม คือ ''ขบวนการเคลื่อนไหวแนวซ้ายใหม่'' ''(New Left wave)'' ระหว่างกลางทศวรรษ 1960 ถึงทศวรรษ 1990 และคลื่นลูกที่สี่ คือ ''กระแสเคลื่อนไหวที่มีแรงจูงใจทางศาสนา'' ''(Religious wave)'' ซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1979 เป็นต้นมา | ทั้งนี้ แร็พพอพอร์ต เสนอว่าแต่ละคลื่นล้วนมีชนวนเหตุ กลยุทธ์ และอาวุธที่ใช้ ซึ่งมีลักษณะเฉพาะตัว ตลอดจนจุดที่คลื่นค่อย ๆ ถดถอยจนก่อให้เกิดคลื่นลูกใหม่ อย่างไรก็ตามการหดหายไปของคลื่นลูกเก่าก็มักเหลื่อมซ้อนกับการเกิดขึ้นของคลื่นลูกใหม่เสมอ และคลื่นลูกเก่าก็มักตกตะกอนนอนก้นอยู่ในคลื่นลูกใหม่จนถูกรับมาปรับใช้ได้อยู่เสมอเช่นกัน กระแสคลื่นของการก่อการร้ายยุคใหม่นับถึงต้นทศวรรษแรกของศตวรรษที่ 21 มีทั้งสิ้น 4 ระลอก ประกอบด้วย คลื่นลูกแรก คือ ''อนาธิปไตย'' ''(Anarchist wave)'' เกิดขึ้นระหว่าง ค.ศ. 1878-1919 คลื่นลูกที่สอง คือ ''ขบวนการต่อต้านอาณานิคม'' ''(Anticolonial wave)'' เกิดขึ้นระหว่าง ทศวรรษ 1920 ถึงต้นทศวรรษ 1960 คลื่นลูกที่สาม คือ ''ขบวนการเคลื่อนไหวแนวซ้ายใหม่'' ''(New Left wave)'' ระหว่างกลางทศวรรษ 1960 ถึงทศวรรษ 1990 และคลื่นลูกที่สี่ คือ ''กระแสเคลื่อนไหวที่มีแรงจูงใจทางศาสนา'' ''(Religious wave)'' ซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1979 เป็นต้นมา | ||
== <span style="font-size:x-large;">'''คลื่นลูกแรก''' ''':''' '''การก่อการร้ายอนาธิปไตย'''</span> == | == <span style="font-size:x-large;">''' คลื่นลูกแรก''' ''':''' '''การก่อการร้ายอนาธิปไตย'''</span> == | ||
คลื่นก่อการร้ายลูกแรกกินช่วงเวลาระหว่าง ค.ศ. 1878 ถึง 1919 โดยมีจุดเริ่มต้นจากเหตุการณ์ที่นักอนาธิปไตยอย่าง เวรา ซาซูลิช (Vera Zasulich) ลอบยิงผู้บัญชาการตำรวจจนได้รับบาดเจ็บ ณ กรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก เมื่อวันที่ 24 มกราคม 1878 เนื่องจาก ผู้บัญชาการรายนั้นทรมานนักโทษการเมืองหลายราย ระหว่างที่ซาซูลิชถูกดำเนินคดีในศาล เธอปฏิเสธข้อกล่าวหาด้วยการยืนยันว่า '''“ฉันเป็นผู้ก่อการร้ายไม่ใช่ฆาตกร“''' '''(I am a terrorist, not a killer)'''[[#_ftn7|[7]]] คดีถูกขยายผลไปสู่ผู้บัญชาการตำรวจรายนั้น ขณะที่ซาซูลิชถูกตัดสินว่าไม่มีความผิดและได้รับการปล่อยตัวจนกลายเป็นวีรสตรีที่ได้รับการสนับสนุนจากสาธารณชนอย่างล้นหลาม เป้าหมายของนักอนาธิปไตยไม่ใช่เพื่อหมายเอาชีวิตเจ้าหน้าที่รัฐ หากแต่เป็นการโจมตีเพื่อประณามระบอบซาร์ (Czarist regime) ของรัสเซีย จริงอยู่ คลื่นอนาธิปไตยอาจเริ่มต้นในรัสเซีย แต่ในเวลาไม่นานได้แพร่หลายไปยังภูมิภาคอื่น ๆ ทั่วโลก ทั้งในยุโรปตะวันออก สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จีน และอินเดีย จนนำไปสู่จุดสูงสุดของคลื่นลูกนี้ระหว่างทศวรรษ 1890 หรือที่รู้จักกันในชื่อ '''“ยุคทองของการลอบสังหารผู้นำ”''' '''(the Golden Age of Assassination)''' เมื่อพระมหากษัตริย์ ประธานาธิบดี และนายกรัฐมนตรี จำนวนมากต่างถูกปลิดชีพโดยมือสังหาร ซึ่งมักจะหลบหนีข้ามพรมแดนระหว่างประเทศไปได้โดยง่ายในยุคที่หนังสือเดินทางระหว่างประเทศยังไม่ใช่เอกสารจำเป็น[[#_ftn8|[8]]] | คลื่นก่อการร้ายลูกแรกกินช่วงเวลาระหว่าง ค.ศ. 1878 ถึง 1919 โดยมีจุดเริ่มต้นจากเหตุการณ์ที่นักอนาธิปไตยอย่าง เวรา ซาซูลิช (Vera Zasulich) ลอบยิงผู้บัญชาการตำรวจจนได้รับบาดเจ็บ ณ กรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก เมื่อวันที่ 24 มกราคม 1878 เนื่องจาก ผู้บัญชาการรายนั้นทรมานนักโทษการเมืองหลายราย ระหว่างที่ซาซูลิชถูกดำเนินคดีในศาล เธอปฏิเสธข้อกล่าวหาด้วยการยืนยันว่า '''“ฉันเป็นผู้ก่อการร้ายไม่ใช่ฆาตกร“''' '''(I am a terrorist, not a killer)'''[[#_ftn7|[7]]] คดีถูกขยายผลไปสู่ผู้บัญชาการตำรวจรายนั้น ขณะที่ซาซูลิชถูกตัดสินว่าไม่มีความผิดและได้รับการปล่อยตัวจนกลายเป็นวีรสตรีที่ได้รับการสนับสนุนจากสาธารณชนอย่างล้นหลาม เป้าหมายของนักอนาธิปไตยไม่ใช่เพื่อหมายเอาชีวิตเจ้าหน้าที่รัฐ หากแต่เป็นการโจมตีเพื่อประณามระบอบซาร์ (Czarist regime) ของรัสเซีย จริงอยู่ คลื่นอนาธิปไตยอาจเริ่มต้นในรัสเซีย แต่ในเวลาไม่นานได้แพร่หลายไปยังภูมิภาคอื่น ๆ ทั่วโลก ทั้งในยุโรปตะวันออก สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จีน และอินเดีย จนนำไปสู่จุดสูงสุดของคลื่นลูกนี้ระหว่างทศวรรษ 1890 หรือที่รู้จักกันในชื่อ '''“ยุคทองของการลอบสังหารผู้นำ”''' '''(the Golden Age of Assassination)''' เมื่อพระมหากษัตริย์ ประธานาธิบดี และนายกรัฐมนตรี จำนวนมากต่างถูกปลิดชีพโดยมือสังหาร ซึ่งมักจะหลบหนีข้ามพรมแดนระหว่างประเทศไปได้โดยง่ายในยุคที่หนังสือเดินทางระหว่างประเทศยังไม่ใช่เอกสารจำเป็น[[#_ftn8|[8]]] | ||
บรรทัดที่ 30: | บรรทัดที่ 30: | ||
อาวุธหลักที่ผู้ก่อการร้ายในคลื่นลูกแรกนิยมใช้ คือ ปืน และระเบิดไดนาไมต์ ขณะที่เทคโนโลยีการสื่อสารและการคมนาคมที่พัฒนาขึ้นในยุคนี้ ไม่ว่าจะเป็นโทรเลข หนังสือพิมพ์รายวัน และทางรถไฟ เป็นปัจจัยเกื้อหนุนให้หลักการปฏิวัติของกลุ่มอนาธิปไตยแพร่หลายอย่างรวดเร็ว ที่สำคัญก็คือนอกจากกลุ่มอนาธิปไตยจะสามารถมีอิทธิพลต่อผู้เข้าร่วมขบวนการในประเทศแล้ว ยังสามารถปลุกเร้าและฝึกฝนกลุ่มอื่นภายนอกประเทศได้อีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชุมชนผู้พลัดถิ่น เช่น กลุ่ม Terrorist Brigade ซึ่งมีศูนย์บัญชาการใหญ่อยู่ในสวิตเซอร์แลนด์ ได้เปิดการโจมตี เมื่อปี ค.ศ.1905 ในประเทศฟินแลนด์ ซึ่งขณะนั้นเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิรัสเซีย กลุ่ม Terrorist Brigade ได้รับอาวุธยุทโธปกรณ์จากกลุ่มก่อการร้ายอาร์เมเนียที่ถูกฝึกฝนโดยชาวรัสเซียและได้รับทุนสนับสนุนจากชาวญี่ปุ่นที่ฟอกเงินผ่านมหาเศรษฐีชาวอเมริกัน[[#_ftn9|[9]]] กล่าวได้ว่า คลื่นลูกแรกของการก่อการร้ายได้ตัดเส้นแบ่งจากการก่อการร้ายในอดีตและเปลี่ยนไปสู่การก่อการร้ายสากล ทั้งยังวางหลักปฏิบัติให้กับคลื่นก่อการร้ายลูกต่อมาหลังจากนั้น | อาวุธหลักที่ผู้ก่อการร้ายในคลื่นลูกแรกนิยมใช้ คือ ปืน และระเบิดไดนาไมต์ ขณะที่เทคโนโลยีการสื่อสารและการคมนาคมที่พัฒนาขึ้นในยุคนี้ ไม่ว่าจะเป็นโทรเลข หนังสือพิมพ์รายวัน และทางรถไฟ เป็นปัจจัยเกื้อหนุนให้หลักการปฏิวัติของกลุ่มอนาธิปไตยแพร่หลายอย่างรวดเร็ว ที่สำคัญก็คือนอกจากกลุ่มอนาธิปไตยจะสามารถมีอิทธิพลต่อผู้เข้าร่วมขบวนการในประเทศแล้ว ยังสามารถปลุกเร้าและฝึกฝนกลุ่มอื่นภายนอกประเทศได้อีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชุมชนผู้พลัดถิ่น เช่น กลุ่ม Terrorist Brigade ซึ่งมีศูนย์บัญชาการใหญ่อยู่ในสวิตเซอร์แลนด์ ได้เปิดการโจมตี เมื่อปี ค.ศ.1905 ในประเทศฟินแลนด์ ซึ่งขณะนั้นเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิรัสเซีย กลุ่ม Terrorist Brigade ได้รับอาวุธยุทโธปกรณ์จากกลุ่มก่อการร้ายอาร์เมเนียที่ถูกฝึกฝนโดยชาวรัสเซียและได้รับทุนสนับสนุนจากชาวญี่ปุ่นที่ฟอกเงินผ่านมหาเศรษฐีชาวอเมริกัน[[#_ftn9|[9]]] กล่าวได้ว่า คลื่นลูกแรกของการก่อการร้ายได้ตัดเส้นแบ่งจากการก่อการร้ายในอดีตและเปลี่ยนไปสู่การก่อการร้ายสากล ทั้งยังวางหลักปฏิบัติให้กับคลื่นก่อการร้ายลูกต่อมาหลังจากนั้น | ||
== <span style="font-size:x-large;">'''คลื่นลูกที่สอง''' ''':''' '''การก่อการร้ายต่อต้านอาณานิคม'''</span> == | == <span style="font-size:x-large;">''' คลื่นลูกที่สอง''' ''':''' '''การก่อการร้ายต่อต้านอาณานิคม'''</span> == | ||
ภายหลังสิ้นสุด[[สงครามโลกครั้งที่_1|สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง]] คลื่นลูกที่สองก็ก่อตัวขึ้นและกินช่วงเวลาระหว่างทศวรรษ 1920 ถึงต้นทศวรรษ 1960 จุดเริ่มต้นของคลื่นลูกนี้มาจากผลพวงของสนธิสัญญาสันติภาพแวร์ซาย (Versailles Peace Treaty) ที่มีผลผูกพันให้มหาอำนาจกลางซึ่งเป็นผู้แพ้สงครามต้องยุบเลิกจักรวรรดิของตนเอง ขณะที่ประเทศผู้แพ้สงครามนอกยุโรปต้องตกเป็นดินแดนในอาณัติของสันนิบาตชาติ (League of Nations Mandates) โดยที่ชาติมหาอำนาจที่ชนะสงครามมีหน้าที่บริหารดินแดนเหล่านั้นโดยตรงจนกว่าจะพร้อมได้รับเอกราช กลุ่มก่อการร้ายที่เคยคาดหวังว่าจะสามารถปลดปล่อยชาติของตนให้เป็นเอกราชจึงกลับมาเคลื่อนไหวอีกครั้ง กองทัพสาธารณรัฐไอร์แลนด์ (Irish Republic Army: IRA) ในไอร์แลนด์เหนือเป็นขบวนการก่อการร้ายแรก ๆ ของคลื่นลูกที่สองในช่วงทศวรรษ 1920 ทว่าประสบความสำเร็จไม่มากนัก การเคลื่อนไหวของกลุ่มก่อการร้ายคลื่นลูกที่สองเต็มรูปแบบจึงเกิดขึ้นหลัง[[สงครามโลกครั้งที่_2|สงครามโลกครั้งที่สอง]] หรือกว่า 25 ปี นับตั้งแต่สนธิสัญญาแวร์ซาย ลักษณะเด่นของกลุ่มก่อการร้ายในคลื่นลูกนี้ คือ มีเป้าหมายหลักเพื่อเรียกร้องเอกราชเหนือดินแดนโดยให้เจ้าอาณานิคมถอนตัวออกไป องค์กรที่โดดเด่นนอกจากกลุ่ม IRA แล้ว ยังรวมถึง กลุ่ม Irgun ที่ต่อสู้เพื่อสถาปนารัฐชาวยิวในปาเลสไตน์ กลุ่ม EOKA ในไซปรัส และ Front de Liberation Nationale ในแอลจีเรีย เป็นต้น[[#_ftn10|[10]]] ตัวแบบความสำเร็จสูงสุด คือ กรณี Irgun ที่มีส่วนรับผิดชอบสังหารโหดหลายครั้ง ทว่าผู้นำกลุ่มอย่างเมนาเฮม เบกิน (Menachem Begin) กลับได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในปี ค.ศ. 1978[[#_ftn11|[11]]] | ภายหลังสิ้นสุด[[สงครามโลกครั้งที่_1|สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง]] คลื่นลูกที่สองก็ก่อตัวขึ้นและกินช่วงเวลาระหว่างทศวรรษ 1920 ถึงต้นทศวรรษ 1960 จุดเริ่มต้นของคลื่นลูกนี้มาจากผลพวงของสนธิสัญญาสันติภาพแวร์ซาย (Versailles Peace Treaty) ที่มีผลผูกพันให้มหาอำนาจกลางซึ่งเป็นผู้แพ้สงครามต้องยุบเลิกจักรวรรดิของตนเอง ขณะที่ประเทศผู้แพ้สงครามนอกยุโรปต้องตกเป็นดินแดนในอาณัติของสันนิบาตชาติ (League of Nations Mandates) โดยที่ชาติมหาอำนาจที่ชนะสงครามมีหน้าที่บริหารดินแดนเหล่านั้นโดยตรงจนกว่าจะพร้อมได้รับเอกราช กลุ่มก่อการร้ายที่เคยคาดหวังว่าจะสามารถปลดปล่อยชาติของตนให้เป็นเอกราชจึงกลับมาเคลื่อนไหวอีกครั้ง กองทัพสาธารณรัฐไอร์แลนด์ (Irish Republic Army: IRA) ในไอร์แลนด์เหนือเป็นขบวนการก่อการร้ายแรก ๆ ของคลื่นลูกที่สองในช่วงทศวรรษ 1920 ทว่าประสบความสำเร็จไม่มากนัก การเคลื่อนไหวของกลุ่มก่อการร้ายคลื่นลูกที่สองเต็มรูปแบบจึงเกิดขึ้นหลัง[[สงครามโลกครั้งที่_2|สงครามโลกครั้งที่สอง]] หรือกว่า 25 ปี นับตั้งแต่สนธิสัญญาแวร์ซาย ลักษณะเด่นของกลุ่มก่อการร้ายในคลื่นลูกนี้ คือ มีเป้าหมายหลักเพื่อเรียกร้องเอกราชเหนือดินแดนโดยให้เจ้าอาณานิคมถอนตัวออกไป องค์กรที่โดดเด่นนอกจากกลุ่ม IRA แล้ว ยังรวมถึง กลุ่ม Irgun ที่ต่อสู้เพื่อสถาปนารัฐชาวยิวในปาเลสไตน์ กลุ่ม EOKA ในไซปรัส และ Front de Liberation Nationale ในแอลจีเรีย เป็นต้น[[#_ftn10|[10]]] ตัวแบบความสำเร็จสูงสุด คือ กรณี Irgun ที่มีส่วนรับผิดชอบสังหารโหดหลายครั้ง ทว่าผู้นำกลุ่มอย่างเมนาเฮม เบกิน (Menachem Begin) กลับได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในปี ค.ศ. 1978[[#_ftn11|[11]]] | ||
บรรทัดที่ 36: | บรรทัดที่ 36: | ||
ความแตกต่างที่สำคัญระหว่างคลื่นลูกแรกกับคลื่นลูกที่สอง ก็คือขณะที่ผู้ก่อเหตุหรือองค์กรในคลื่นลูกแรกมักนิยามตนเองว่าเป็น '''“ผู้ก่อการร้าย”''' ซึ่งใช้วิธีการลอบสังหารผู้นำทางการเมืองคนสำคัญหรือการระเบิดพลีชีพและแสวงหาเงินทุนสนับสนุนองค์กรด้วยการปล้นธนาคาร กลุ่มก่อการร้ายในคลื่นลูกที่สองพยายามหลีกเลี่ยงการนิยามตนเองว่าเป็น “ผู้ก่อการร้าย” เนื่องจากเมื่อล่วงเลยมาถึงทศวรรษ 1940 คำนี้ได้มีความหมายเชิงลบจนไม่ได้รับการสนับสนุนจากสาธารณชนอีกต่อไป แต่ถูกแทนที่ด้วยการเรียกตนเองว่า '''“นักรบเพื่ออิสรภาพ”''' '''(Freedom Fighters)''' แหล่งทุนของขบวนการเปลี่ยนมาเป็นเงินสนับสนุนจากชุมชนผู้พลัดถิ่นและยังได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลต่างชาติอีกด้วย สำหรับเป้าหมายของการโจมตีนั้นเปลี่ยนจากผู้นำคนสำคัญที่มีจำนวนจำกัดมาเป็นตำรวจทั่ว ๆ ไป ที่มีจำนวนมากกว่า โดยอาศัยยุทธวิธีแบบกองโจร (guerrilla) ที่เน้นการจู่โจมและล่าถอยอย่างรวดเร็ว (hit-and-run) องค์ประกอบที่สำคัญอีกประการหนึ่ง ก็คือการก่อตั้งสหประชาชาติขึ้นแทนที่สันนิบาตชาติได้ดึงดูดให้รัฐเกิดใหม่ซึ่งเคยเป็นอาณานิคมเข้าร่วมเป็นสมาชิก รัฐเกิดใหม่เหล่านั้นจึงยิ่งกระตุ้นเร้าให้อารมณ์ต่อต้านอาณานิคมยิ่งทวีความรุนแรงขึ้น[[#_ftn12|[12]]] จนกระทั่งถึงทศวรรษ 1960 การต่อสู้เพื่อปลดปล่อยชาติต่าง ๆ ให้เป็นเอกราชก็ประสบความสำเร็จ คลื่นลูกที่สองของการก่อการร้ายจึงค่อย ๆ อ่อนกำลังลง | ความแตกต่างที่สำคัญระหว่างคลื่นลูกแรกกับคลื่นลูกที่สอง ก็คือขณะที่ผู้ก่อเหตุหรือองค์กรในคลื่นลูกแรกมักนิยามตนเองว่าเป็น '''“ผู้ก่อการร้าย”''' ซึ่งใช้วิธีการลอบสังหารผู้นำทางการเมืองคนสำคัญหรือการระเบิดพลีชีพและแสวงหาเงินทุนสนับสนุนองค์กรด้วยการปล้นธนาคาร กลุ่มก่อการร้ายในคลื่นลูกที่สองพยายามหลีกเลี่ยงการนิยามตนเองว่าเป็น “ผู้ก่อการร้าย” เนื่องจากเมื่อล่วงเลยมาถึงทศวรรษ 1940 คำนี้ได้มีความหมายเชิงลบจนไม่ได้รับการสนับสนุนจากสาธารณชนอีกต่อไป แต่ถูกแทนที่ด้วยการเรียกตนเองว่า '''“นักรบเพื่ออิสรภาพ”''' '''(Freedom Fighters)''' แหล่งทุนของขบวนการเปลี่ยนมาเป็นเงินสนับสนุนจากชุมชนผู้พลัดถิ่นและยังได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลต่างชาติอีกด้วย สำหรับเป้าหมายของการโจมตีนั้นเปลี่ยนจากผู้นำคนสำคัญที่มีจำนวนจำกัดมาเป็นตำรวจทั่ว ๆ ไป ที่มีจำนวนมากกว่า โดยอาศัยยุทธวิธีแบบกองโจร (guerrilla) ที่เน้นการจู่โจมและล่าถอยอย่างรวดเร็ว (hit-and-run) องค์ประกอบที่สำคัญอีกประการหนึ่ง ก็คือการก่อตั้งสหประชาชาติขึ้นแทนที่สันนิบาตชาติได้ดึงดูดให้รัฐเกิดใหม่ซึ่งเคยเป็นอาณานิคมเข้าร่วมเป็นสมาชิก รัฐเกิดใหม่เหล่านั้นจึงยิ่งกระตุ้นเร้าให้อารมณ์ต่อต้านอาณานิคมยิ่งทวีความรุนแรงขึ้น[[#_ftn12|[12]]] จนกระทั่งถึงทศวรรษ 1960 การต่อสู้เพื่อปลดปล่อยชาติต่าง ๆ ให้เป็นเอกราชก็ประสบความสำเร็จ คลื่นลูกที่สองของการก่อการร้ายจึงค่อย ๆ อ่อนกำลังลง | ||
== <span style="font-size:x-large;">'''คลื่นลูกที่สาม''' ''':''' '''การก่อการร้ายแนวซ้ายใหม่'''</span> == | == <span style="font-size:x-large;">''' คลื่นลูกที่สาม''' ''':''' '''การก่อการร้ายแนวซ้ายใหม่'''</span> == | ||
สงครามเวียดนามเป็นเหตุการณ์ที่เร่งเร้าให้เกิดคลื่นลูกที่สามของการก่อการร้าย ทั้งนี้ไม่ใช่เพียงเพราะว่าเวียดกงได้แสดงให้เห็นถึงวิธีการต่อสู้กับมหาอำนาจอเมริกันเท่านั้น หากแต่สงครามเวียดนามยังก่อให้เกิดแรงกระเพื่อมตามมาในทางวัฒนธรรม ไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรมต่อต้านสงครามและการต่อต้านความเป็นอเมริกันไปทั่วโลก ในบริบทสงครามเย็นนี่เองสหภาพโซเวียตประสบความสำเร็จในการทำให้สหรัฐฯ มีภาพเป็นผู้กระหายสงคราม ขณะที่ตนเองและโลกคอมมิวนิสต์มีภาพเป็นผู้รักสันติ อย่างไรก็ตามภายใต้ภาพของความสันติสุขนั้น สหภาพโซเวียตก็ใช้โอกาสนี้ให้การสนับสนุนทางการเงิน อาวุธ เทคนิควิทยาการ และการข่าวแก่กลุ่มก่อการร้ายทั้งในยุโรป เอเชีย และตะวันออกกลาง อาทิ กลุ่ม Weather Underground ในสหรัฐฯ กลุ่ม Red Army Faction (RAF) ในเยอรมนีตะวันตก กลุ่ม Red Brigades ในอิตาลี กลุ่ม Red Army ในญี่ปุ่น และกลุ่ม Action Directe ในฝรั่งเศส ด้วยเหตุนี้ ลักษณะเด่นประการหนึ่งของคลื่นลูกที่สาม ก็คือ การก่อการร้ายที่มีรัฐคอยหนุนหลัง (state-sponsored terrorism)[[#_ftn13|[13]]] ด้วยเทคโนโลยีโทรทัศน์ที่แพร่หลายมากขึ้น กลุ่มก่อการร้ายจึงเปลี่ยนกลยุทธ์จากการโจมตีตำรวจและทหารมาสู่ '''“เป้าหมายเชิงนาฏกรรม”''' '''(theatrical targets)''' กล่าวคือ แทนที่จะหมายเอาชีวิตเหยื่อเพื่อแสดงให้เห็นว่าอำนาจรัฐไร้ความชอบธรรม กลุ่มก่อการร้ายเลือกใช้การจี้เครื่องบินโดยสารระหว่างประเทศและการลักพาตัวบุคคลสำคัญโดยพยายามทำให้ตัวประกันสูญเสียน้อยที่สุด ดังจะเห็นได้ว่าระหว่างทศวรรษ 1960 ถึงทศวรรษ 1980 มีเหตุจี้เครื่องบินกว่า 700 ครั้ง ขณะที่ระหว่างปี ค.ศ. 1968-1982 มีเหตุลักพาตัวระหว่างประเทศมากถึง 409 ครั้ง ซึ่งมีตัวประกันรวมกันมากถึง 951 ราย[[#_ftn14|[14]]] | สงครามเวียดนามเป็นเหตุการณ์ที่เร่งเร้าให้เกิดคลื่นลูกที่สามของการก่อการร้าย ทั้งนี้ไม่ใช่เพียงเพราะว่าเวียดกงได้แสดงให้เห็นถึงวิธีการต่อสู้กับมหาอำนาจอเมริกันเท่านั้น หากแต่สงครามเวียดนามยังก่อให้เกิดแรงกระเพื่อมตามมาในทางวัฒนธรรม ไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรมต่อต้านสงครามและการต่อต้านความเป็นอเมริกันไปทั่วโลก ในบริบทสงครามเย็นนี่เองสหภาพโซเวียตประสบความสำเร็จในการทำให้สหรัฐฯ มีภาพเป็นผู้กระหายสงคราม ขณะที่ตนเองและโลกคอมมิวนิสต์มีภาพเป็นผู้รักสันติ อย่างไรก็ตามภายใต้ภาพของความสันติสุขนั้น สหภาพโซเวียตก็ใช้โอกาสนี้ให้การสนับสนุนทางการเงิน อาวุธ เทคนิควิทยาการ และการข่าวแก่กลุ่มก่อการร้ายทั้งในยุโรป เอเชีย และตะวันออกกลาง อาทิ กลุ่ม Weather Underground ในสหรัฐฯ กลุ่ม Red Army Faction (RAF) ในเยอรมนีตะวันตก กลุ่ม Red Brigades ในอิตาลี กลุ่ม Red Army ในญี่ปุ่น และกลุ่ม Action Directe ในฝรั่งเศส ด้วยเหตุนี้ ลักษณะเด่นประการหนึ่งของคลื่นลูกที่สาม ก็คือ การก่อการร้ายที่มีรัฐคอยหนุนหลัง (state-sponsored terrorism)[[#_ftn13|[13]]] ด้วยเทคโนโลยีโทรทัศน์ที่แพร่หลายมากขึ้น กลุ่มก่อการร้ายจึงเปลี่ยนกลยุทธ์จากการโจมตีตำรวจและทหารมาสู่ '''“เป้าหมายเชิงนาฏกรรม”''' '''(theatrical targets)''' กล่าวคือ แทนที่จะหมายเอาชีวิตเหยื่อเพื่อแสดงให้เห็นว่าอำนาจรัฐไร้ความชอบธรรม กลุ่มก่อการร้ายเลือกใช้การจี้เครื่องบินโดยสารระหว่างประเทศและการลักพาตัวบุคคลสำคัญโดยพยายามทำให้ตัวประกันสูญเสียน้อยที่สุด ดังจะเห็นได้ว่าระหว่างทศวรรษ 1960 ถึงทศวรรษ 1980 มีเหตุจี้เครื่องบินกว่า 700 ครั้ง ขณะที่ระหว่างปี ค.ศ. 1968-1982 มีเหตุลักพาตัวระหว่างประเทศมากถึง 409 ครั้ง ซึ่งมีตัวประกันรวมกันมากถึง 951 ราย[[#_ftn14|[14]]] | ||
บรรทัดที่ 42: | บรรทัดที่ 42: | ||
ในคลื่นก่อการร้ายลูกที่สามนี้ วิถีปฏิบัติหลายประการที่เคยปรากฏในคลื่นลูกแรก ซึ่งถูกล้มเลิกไปในคลื่นลูกที่สองได้รับการรื้อฟื้นคืนกลับมาที่สำคัญ ได้แก่ การลอบสังหารบุคคลสำคัญทางการเมืองที่ไม่ใช่เพียงเพราะบุคคลเหล่านั้นมีตำแหน่งสำคัญ หากแต่เพราะต้องการลงโทษการกระทำที่บุคคลเหล่านั้นมีต่อองค์กร ก่อการร้าย อีกประการหนึ่ง คือ การเชื่อมโยงกับเครือข่ายก่อการร้ายสากลซึ่งเคยลดบทบาทลงในช่วงคลื่นลูกที่สองเพราะมีเป้าหมายทางการเมืองเพียงเพื่อปลดปล่อยชาติของตนให้เป็นเอกราช แต่เมื่อมาถึงคลื่นลูกที่สามนี้ การปฏิวัติสากลกลายเป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญของกลุ่มก่อการร้าย[[#_ftn15|[15]]] กระนั้นก็ตาม เมื่อถึงทศวรรษ 1980 คลื่นลูกที่สามก็อ่อนกำลังลงอันเป็นผลมาจากความร่วมมือระดับรัฐบาลและในระดับองค์กรระหว่างประเทศโดยเฉพาะสหประชาชาติในอันที่จะต่อต้านการก่อการร้ายสากล[[#_ftn16|[16]]] การสิ้นสุดสงครามเวียดนามจึงทำให้เกิดการอพยพของชาวเอเชียที่หลั่งไหลเข้าสู่สหรัฐฯ ยุโรป และสหภาพโซเวียต ในบรรดาผู้อพยพเหล่านั้นรวมถึงครูและผู้รู้ทั้งหลายซึ่งต่อมาได้กลายเป็นผู้วางรากฐานให้กับกลุ่มเคลื่อนไหวทางศาสนารุ่นใหม่ในคลื่นลูกที่สี่นั่นเอง | ในคลื่นก่อการร้ายลูกที่สามนี้ วิถีปฏิบัติหลายประการที่เคยปรากฏในคลื่นลูกแรก ซึ่งถูกล้มเลิกไปในคลื่นลูกที่สองได้รับการรื้อฟื้นคืนกลับมาที่สำคัญ ได้แก่ การลอบสังหารบุคคลสำคัญทางการเมืองที่ไม่ใช่เพียงเพราะบุคคลเหล่านั้นมีตำแหน่งสำคัญ หากแต่เพราะต้องการลงโทษการกระทำที่บุคคลเหล่านั้นมีต่อองค์กร ก่อการร้าย อีกประการหนึ่ง คือ การเชื่อมโยงกับเครือข่ายก่อการร้ายสากลซึ่งเคยลดบทบาทลงในช่วงคลื่นลูกที่สองเพราะมีเป้าหมายทางการเมืองเพียงเพื่อปลดปล่อยชาติของตนให้เป็นเอกราช แต่เมื่อมาถึงคลื่นลูกที่สามนี้ การปฏิวัติสากลกลายเป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญของกลุ่มก่อการร้าย[[#_ftn15|[15]]] กระนั้นก็ตาม เมื่อถึงทศวรรษ 1980 คลื่นลูกที่สามก็อ่อนกำลังลงอันเป็นผลมาจากความร่วมมือระดับรัฐบาลและในระดับองค์กรระหว่างประเทศโดยเฉพาะสหประชาชาติในอันที่จะต่อต้านการก่อการร้ายสากล[[#_ftn16|[16]]] การสิ้นสุดสงครามเวียดนามจึงทำให้เกิดการอพยพของชาวเอเชียที่หลั่งไหลเข้าสู่สหรัฐฯ ยุโรป และสหภาพโซเวียต ในบรรดาผู้อพยพเหล่านั้นรวมถึงครูและผู้รู้ทั้งหลายซึ่งต่อมาได้กลายเป็นผู้วางรากฐานให้กับกลุ่มเคลื่อนไหวทางศาสนารุ่นใหม่ในคลื่นลูกที่สี่นั่นเอง | ||
== <span style="font-size:x-large;">'''คลื่นลูกที่สี่''' ''':''' '''การก่อการร้ายที่มีแรงจูงใจทางศาสนา'''</span> == | == <span style="font-size:x-large;">''' คลื่นลูกที่สี่''' ''':''' '''การก่อการร้ายที่มีแรงจูงใจทางศาสนา'''</span> == | ||
การปฏิวัติอิหร่าน (Iranian Revolution, 1979-1980) และการบุกอัฟกานิสถานของโซเวียต (Soviet invasion, 1979) เป็นสองชนวนเหตุที่เร่งให้เกิดคลื่นลูกที่สี่ ทั้งสองกรณีกลุ่มหัวรุนแรงทางศาสนามักใช้ข้ออ้างแบบเดียวกับขบวนการชาตินิยมเพื่อให้ความชอบธรรมกับการก่อเหตุของตนเอง ในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 การก่อความรุนแรงโดยมีแรงจูงใจทางศาสนาเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นแพร่หลายทั่วโลก ตั้งแต่ชาวซิกข์ในอินเดียเข้าโจมตีชาวฮินดูเพื่อแยกรัฐศาสนาในแคว้นปัญจาบ ชาวฮินดูและชาวมุสลิมในอินเดียต่างใช้ความรุนแรงห้ำหั่นกันในกรณีพิพาทเหนือแคว้นแคชเมียร์ ลัทธิโอมชินริเกียว (Aum Shinrikyo) ในญี่ปุ่น ซึ่งผสมผสานความเชื่อพุทธศาสนา ฮินดู และคริสตศาสนา ปล่อยแก๊สพิษเข้าสู่ระบบรถไฟใต้ดินกรุงโตเกียว อันเป็นผลให้มีผู้เสียชีวิต 12 คน และบาดเจ็บอีกกว่า 3,000 คน ส่วนในสหรัฐฯ นั้น กลุ่มที่เรียกตัวเองว่า '''“Heaven’s Gate”''' กระทำการฆ่าตัวตายหมู่บนความเชื่อที่ว่าจะไปจุติบนยานอวกาศนอกโลก เหล่านี้ล้วนสะท้อนให้เห็นเหตุก่อการร้ายที่มีแรงจูงใจทางศาสนาทั้งสิ้น[[#_ftn17|[17]]] อย่างไรก็ตาม การก่อการร้ายในคลื่นลูกที่สี่นี้ มีศูนย์กลางอยู่ที่กลุ่มหัวรุนแรงอิสลามที่ก่อเหตุอันส่งผลสะเทือนไปทั่วโลกและมีอิทธิพลต่อกลุ่มก่อการร้ายทางศาสนาอื่น ๆ อีกด้วย | การปฏิวัติอิหร่าน (Iranian Revolution, 1979-1980) และการบุกอัฟกานิสถานของโซเวียต (Soviet invasion, 1979) เป็นสองชนวนเหตุที่เร่งให้เกิดคลื่นลูกที่สี่ ทั้งสองกรณีกลุ่มหัวรุนแรงทางศาสนามักใช้ข้ออ้างแบบเดียวกับขบวนการชาตินิยมเพื่อให้ความชอบธรรมกับการก่อเหตุของตนเอง ในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 การก่อความรุนแรงโดยมีแรงจูงใจทางศาสนาเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นแพร่หลายทั่วโลก ตั้งแต่ชาวซิกข์ในอินเดียเข้าโจมตีชาวฮินดูเพื่อแยกรัฐศาสนาในแคว้นปัญจาบ ชาวฮินดูและชาวมุสลิมในอินเดียต่างใช้ความรุนแรงห้ำหั่นกันในกรณีพิพาทเหนือแคว้นแคชเมียร์ ลัทธิโอมชินริเกียว (Aum Shinrikyo) ในญี่ปุ่น ซึ่งผสมผสานความเชื่อพุทธศาสนา ฮินดู และคริสตศาสนา ปล่อยแก๊สพิษเข้าสู่ระบบรถไฟใต้ดินกรุงโตเกียว อันเป็นผลให้มีผู้เสียชีวิต 12 คน และบาดเจ็บอีกกว่า 3,000 คน ส่วนในสหรัฐฯ นั้น กลุ่มที่เรียกตัวเองว่า '''“Heaven’s Gate”''' กระทำการฆ่าตัวตายหมู่บนความเชื่อที่ว่าจะไปจุติบนยานอวกาศนอกโลก เหล่านี้ล้วนสะท้อนให้เห็นเหตุก่อการร้ายที่มีแรงจูงใจทางศาสนาทั้งสิ้น[[#_ftn17|[17]]] อย่างไรก็ตาม การก่อการร้ายในคลื่นลูกที่สี่นี้ มีศูนย์กลางอยู่ที่กลุ่มหัวรุนแรงอิสลามที่ก่อเหตุอันส่งผลสะเทือนไปทั่วโลกและมีอิทธิพลต่อกลุ่มก่อการร้ายทางศาสนาอื่น ๆ อีกด้วย |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 16:23, 7 กรกฎาคม 2566
ผู้เรียบเรียง : ฐิติกร สังข์แก้ว
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต
บทนำ
กระแสคลื่นของการก่อการร้าย (waves of terrorism) เป็นทฤษฎีที่ใช้อธิบายแนวโน้มของเหตุก่อการร้ายสากลที่เริ่มปรากฏ นับตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1880 ถึงปัจจุบัน การก่อการร้ายได้รับการพิจารณาว่าเป็นระลอกคลื่น เนื่องจากเหตุก่อการร้ายที่ปรากฏขึ้นในคาบช่วงเวลาเฉพาะหนึ่ง ๆ มักมีกลยุทธ์ ยุทธศาสตร์ และแรงจูงใจ/อุดมการณ์ที่คล้ายคลึงกัน กระแสคลื่นของการก่อการร้ายจึงสามารถแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มของปรากฏการณ์ระดับโลก ซึ่งเริ่มปรากฏและเพิ่มจำนวนความถี่ไปถึงจุดสูงสุด ก่อนที่จำนวนการก่อเหตุอันมีลักษณะคล้ายคลึงกันนี้จะมีแนวโน้มลดลง จนกระทั่งมีคลื่นลูกใหม่เข้ามาแทนที่คลื่นลูกเก่า ทฤษฎีกระแสคลื่นของการก่อการร้ายได้รับการอธิบายไว้ ครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 2004 โดยเดวิด ซี แร็พพอพอร์ต (David C. Rapoport) ศาสตราจารย์สาขารัฐศาสตร์ ในบทความที่โด่งดัง เรื่อง “The Four Waves of Modern Terrorism” ซึ่งนับถึงปัจจุบันมีกระแสคลื่นของการก่อการร้าย 4 ระลอกตามลำดับ ได้แก่
1) คลื่นก่อการร้ายอนาธิปไตย (Anarchist wave)
2) คลื่นก่อการร้ายต่อต้านอาณานิคม (Anticolonial wave)
3) คลื่นก่อการร้ายแนวซ้ายใหม่ (New Left wave)
4) คลื่นก่อการร้ายที่มีแรงจูงใจทางศาสนา (Religious wave) ทั้งนี้ ข้อเสนอของแร็พพอพอร์ตได้กลายเป็นกรอบการวิเคราะห์พื้นฐานของการศึกษาการก่อการร้ายในมุมมองเชิงเปรียบเทียบที่ตามมาอย่างกว้างขวาง ขณะเดียวกัน ก็นำมาซึ่งข้อวิพากษ์วิจารณ์ทางวิชาการถึงความเที่ยงตรงในการวิเคราะห์และการทำความเข้าใจเหตุก่อการร้ายสากลที่มีความสลับซับซ้อนมากขึ้นในปัจจุบัน
การก่อการร้าย : อดีตและปัจจุบัน
การก่อการร้าย (terrorism) เกิดขึ้นได้ทั้งในบริบทของการกระทำเพื่อผลประโยชน์แห่งรัฐและการกระทำเพื่อต่อต้านรัฐ หากกระทำไปเพื่อประโยชน์ของรัฐมักเรียกว่า “การก่อการร้ายที่มีรัฐสนับสนุน” (state-sponsored terrorism) แต่หากกระทำเพื่อต่อต้านรัฐก็มักมีเป้าหมายเพื่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง โดยองค์กรที่สมรู้ร่วมคิดกันใช้หรือขู่ว่าจะใช้ความรุนแรงต้องการส่งสาร (message) บางอย่างไปสู่สาธารณชนวงกว้าง ในแง่นี้เหยื่อหรือเป้าหมายของการโจมตีโดยผู้ก่อการร้ายจึงมีความสำคัญน้อยกว่าปฏิกิริยาตอบสนองของผู้รับสาร[1] แม้สังคมในปัจจุบันมักจะเชื่อมโยงการก่อการร้ายเข้ากับกลุ่มเคลื่อนไหวที่มีแรงจูงใจทางศาสนา แต่การก่อการร้ายก็ดำรงอยู่มาอย่างยาวนานตลอดช่วงประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ ความแตกต่างสำคัญระหว่างการก่อการร้ายยุคก่อนกับการก่อการร้ายยุคใหม่จึงอยู่ตรงที่การก่อการร้ายยุคก่อนมีขอบเขตจำกัดทางภูมิศาสตร์ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วกระทำ โดยรัฐ หรือ กลุ่มก่อการร้ายบางกลุ่มในรัฐหนึ่ง แต่ไม่ได้เกิดความร่วมมือกับกลุ่มอื่นแบบข้ามชาติ[2] ในทางกลับกันการก่อการร้ายยุคใหม่เป็นปรากฏการณ์สากลที่เริ่มตั้งแต่ทศวรรษ 1880 เนื่องจากปัจจัย 2 ประการ ได้แก่ ประการแรก การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีการสื่อสารและการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนสมัยใหม่ ได้ทำให้เหตุโจมตีในเมืองหนึ่งเป็นข่าวแพร่หลายไปสู่เมืองหรือประเทศอื่นอย่างรวดเร็ว เช่นเดียวกับการขนส่งมวลชนที่ผู้นำกลุ่มก่อการร้ายสามารถเดินทางข้ามประเทศไปปลูกฝังความคิดและฝึกฝนสมาชิกกลุ่มในชุมชนผู้อพยพได้ไม่ยากนัก อีกประการหนึ่ง คือ การสร้างหลักคำสอน (doctrine) ขึ้นเพื่ออธิบายกลยุทธ์และยุทธศาสตร์การก่อความหวาดกลัว อันถูกศึกษา ฝึกฝน และส่งผ่านไปสู่สมาชิกภายในกลุ่มและนอกกลุ่มอย่างกว้างขวาง[3] ด้วยแบบแผนดังกล่าวย่อมทำให้การก่อการร้ายยุคใหม่มีลักษณะเป็นกระแสคลื่น ซึ่งองค์กรเคลื่อนไหวในคลื่นลูกหนึ่งมักมีกลยุทธ์และ/หรือ เป้าหมายบางอย่างร่วมกัน
ทฤษฎี “สี่กระแสคลื่นของการก่อการร้ายสมัยใหม่” (the Four Waves of Modern Terrorism) ได้รับการนำเสนอครั้งแรก ในปี ค.ศ. 2004 โดย เดวิด ซี แร็พพอพอร์ต (David C. Rapoport) ศาสตราจารย์ด้านรัฐศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส ซึ่งอธิบายว่าการก่อการร้ายสมัยใหม่นับตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 19 จนกระทั่งต้นศตวรรษที่ 21 มีลักษณะเป็นกระแสคลื่นเนื่องจาก “(คลื่น)… เป็นวัฏจักรของกิจกรรมในคาบช่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งวัฏจักรหนึ่งมีลักษณะยืดและหดตัว จุดเด่นสำคัญก็คือลักษณะความเป็นสากล กิจกรรมที่คล้ายคลึงกันเกิดขึ้นในหลายประเทศ ขับเคลื่อนโดยพลังเด่น ๆ ร่วมกันซึ่งก่อรูปคุณลักษณะและความสัมพันธ์ร่วมกันของกลุ่มที่เข้าไปมีส่วนร่วมด้วย”[4] ควรกล่าวด้วยว่าองค์กรก่อการร้ายถือเป็นองค์ประกอบหนึ่งของกระแสคลื่น หากพลังขับเคลื่อนกระแสคลื่นหนึ่งไม่สามารถให้แรงบันดาลใจในการก่อเกิดองค์กรใหม่ ๆ ได้อีกต่อไป คลื่นลูกนั้นก็จะโรยราลง ในทางกลับกันหากองค์กรใดสามารถปฏิบัติการได้ยาวนานเหนือกระแสคลื่นเดียว นั่นย่อมหมายความว่าองค์กรเหล่านั้นได้รับอิทธิพลจากกระแสคลื่นลูกใหม่[5] ที่สำคัญก็คือทุกกระแสคลื่นล้วนมีเป้าหมายปลายทางเพื่อ “การปฏิวัติ” (revolution) ซึ่งหมายถึง “การสร้างหลักแหล่งความชอบธรรมขึ้นใหม่อย่างฉับพลันโดยประสานเข้ากับระบบเดิมที่ดำรงอยู่”[6] สำหรับแร็พพอพอร์ตแล้ว การก่อการร้ายสากลจึงมีเป้าหมายเพื่อเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างหรือการเปลี่ยนแปลงขั้นมูลฐานในหลักการที่ใช้อ้างความชอบธรรมมากกว่าที่จะเคลื่อนไหวก่อเหตุเฉพาะประเด็น (single-issue movement)
ทั้งนี้ แร็พพอพอร์ต เสนอว่าแต่ละคลื่นล้วนมีชนวนเหตุ กลยุทธ์ และอาวุธที่ใช้ ซึ่งมีลักษณะเฉพาะตัว ตลอดจนจุดที่คลื่นค่อย ๆ ถดถอยจนก่อให้เกิดคลื่นลูกใหม่ อย่างไรก็ตามการหดหายไปของคลื่นลูกเก่าก็มักเหลื่อมซ้อนกับการเกิดขึ้นของคลื่นลูกใหม่เสมอ และคลื่นลูกเก่าก็มักตกตะกอนนอนก้นอยู่ในคลื่นลูกใหม่จนถูกรับมาปรับใช้ได้อยู่เสมอเช่นกัน กระแสคลื่นของการก่อการร้ายยุคใหม่นับถึงต้นทศวรรษแรกของศตวรรษที่ 21 มีทั้งสิ้น 4 ระลอก ประกอบด้วย คลื่นลูกแรก คือ อนาธิปไตย (Anarchist wave) เกิดขึ้นระหว่าง ค.ศ. 1878-1919 คลื่นลูกที่สอง คือ ขบวนการต่อต้านอาณานิคม (Anticolonial wave) เกิดขึ้นระหว่าง ทศวรรษ 1920 ถึงต้นทศวรรษ 1960 คลื่นลูกที่สาม คือ ขบวนการเคลื่อนไหวแนวซ้ายใหม่ (New Left wave) ระหว่างกลางทศวรรษ 1960 ถึงทศวรรษ 1990 และคลื่นลูกที่สี่ คือ กระแสเคลื่อนไหวที่มีแรงจูงใจทางศาสนา (Religious wave) ซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1979 เป็นต้นมา
คลื่นลูกแรก : การก่อการร้ายอนาธิปไตย
คลื่นก่อการร้ายลูกแรกกินช่วงเวลาระหว่าง ค.ศ. 1878 ถึง 1919 โดยมีจุดเริ่มต้นจากเหตุการณ์ที่นักอนาธิปไตยอย่าง เวรา ซาซูลิช (Vera Zasulich) ลอบยิงผู้บัญชาการตำรวจจนได้รับบาดเจ็บ ณ กรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก เมื่อวันที่ 24 มกราคม 1878 เนื่องจาก ผู้บัญชาการรายนั้นทรมานนักโทษการเมืองหลายราย ระหว่างที่ซาซูลิชถูกดำเนินคดีในศาล เธอปฏิเสธข้อกล่าวหาด้วยการยืนยันว่า “ฉันเป็นผู้ก่อการร้ายไม่ใช่ฆาตกร“ (I am a terrorist, not a killer)[7] คดีถูกขยายผลไปสู่ผู้บัญชาการตำรวจรายนั้น ขณะที่ซาซูลิชถูกตัดสินว่าไม่มีความผิดและได้รับการปล่อยตัวจนกลายเป็นวีรสตรีที่ได้รับการสนับสนุนจากสาธารณชนอย่างล้นหลาม เป้าหมายของนักอนาธิปไตยไม่ใช่เพื่อหมายเอาชีวิตเจ้าหน้าที่รัฐ หากแต่เป็นการโจมตีเพื่อประณามระบอบซาร์ (Czarist regime) ของรัสเซีย จริงอยู่ คลื่นอนาธิปไตยอาจเริ่มต้นในรัสเซีย แต่ในเวลาไม่นานได้แพร่หลายไปยังภูมิภาคอื่น ๆ ทั่วโลก ทั้งในยุโรปตะวันออก สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จีน และอินเดีย จนนำไปสู่จุดสูงสุดของคลื่นลูกนี้ระหว่างทศวรรษ 1890 หรือที่รู้จักกันในชื่อ “ยุคทองของการลอบสังหารผู้นำ” (the Golden Age of Assassination) เมื่อพระมหากษัตริย์ ประธานาธิบดี และนายกรัฐมนตรี จำนวนมากต่างถูกปลิดชีพโดยมือสังหาร ซึ่งมักจะหลบหนีข้ามพรมแดนระหว่างประเทศไปได้โดยง่ายในยุคที่หนังสือเดินทางระหว่างประเทศยังไม่ใช่เอกสารจำเป็น[8]
อาวุธหลักที่ผู้ก่อการร้ายในคลื่นลูกแรกนิยมใช้ คือ ปืน และระเบิดไดนาไมต์ ขณะที่เทคโนโลยีการสื่อสารและการคมนาคมที่พัฒนาขึ้นในยุคนี้ ไม่ว่าจะเป็นโทรเลข หนังสือพิมพ์รายวัน และทางรถไฟ เป็นปัจจัยเกื้อหนุนให้หลักการปฏิวัติของกลุ่มอนาธิปไตยแพร่หลายอย่างรวดเร็ว ที่สำคัญก็คือนอกจากกลุ่มอนาธิปไตยจะสามารถมีอิทธิพลต่อผู้เข้าร่วมขบวนการในประเทศแล้ว ยังสามารถปลุกเร้าและฝึกฝนกลุ่มอื่นภายนอกประเทศได้อีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชุมชนผู้พลัดถิ่น เช่น กลุ่ม Terrorist Brigade ซึ่งมีศูนย์บัญชาการใหญ่อยู่ในสวิตเซอร์แลนด์ ได้เปิดการโจมตี เมื่อปี ค.ศ.1905 ในประเทศฟินแลนด์ ซึ่งขณะนั้นเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิรัสเซีย กลุ่ม Terrorist Brigade ได้รับอาวุธยุทโธปกรณ์จากกลุ่มก่อการร้ายอาร์เมเนียที่ถูกฝึกฝนโดยชาวรัสเซียและได้รับทุนสนับสนุนจากชาวญี่ปุ่นที่ฟอกเงินผ่านมหาเศรษฐีชาวอเมริกัน[9] กล่าวได้ว่า คลื่นลูกแรกของการก่อการร้ายได้ตัดเส้นแบ่งจากการก่อการร้ายในอดีตและเปลี่ยนไปสู่การก่อการร้ายสากล ทั้งยังวางหลักปฏิบัติให้กับคลื่นก่อการร้ายลูกต่อมาหลังจากนั้น
คลื่นลูกที่สอง : การก่อการร้ายต่อต้านอาณานิคม
ภายหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง คลื่นลูกที่สองก็ก่อตัวขึ้นและกินช่วงเวลาระหว่างทศวรรษ 1920 ถึงต้นทศวรรษ 1960 จุดเริ่มต้นของคลื่นลูกนี้มาจากผลพวงของสนธิสัญญาสันติภาพแวร์ซาย (Versailles Peace Treaty) ที่มีผลผูกพันให้มหาอำนาจกลางซึ่งเป็นผู้แพ้สงครามต้องยุบเลิกจักรวรรดิของตนเอง ขณะที่ประเทศผู้แพ้สงครามนอกยุโรปต้องตกเป็นดินแดนในอาณัติของสันนิบาตชาติ (League of Nations Mandates) โดยที่ชาติมหาอำนาจที่ชนะสงครามมีหน้าที่บริหารดินแดนเหล่านั้นโดยตรงจนกว่าจะพร้อมได้รับเอกราช กลุ่มก่อการร้ายที่เคยคาดหวังว่าจะสามารถปลดปล่อยชาติของตนให้เป็นเอกราชจึงกลับมาเคลื่อนไหวอีกครั้ง กองทัพสาธารณรัฐไอร์แลนด์ (Irish Republic Army: IRA) ในไอร์แลนด์เหนือเป็นขบวนการก่อการร้ายแรก ๆ ของคลื่นลูกที่สองในช่วงทศวรรษ 1920 ทว่าประสบความสำเร็จไม่มากนัก การเคลื่อนไหวของกลุ่มก่อการร้ายคลื่นลูกที่สองเต็มรูปแบบจึงเกิดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง หรือกว่า 25 ปี นับตั้งแต่สนธิสัญญาแวร์ซาย ลักษณะเด่นของกลุ่มก่อการร้ายในคลื่นลูกนี้ คือ มีเป้าหมายหลักเพื่อเรียกร้องเอกราชเหนือดินแดนโดยให้เจ้าอาณานิคมถอนตัวออกไป องค์กรที่โดดเด่นนอกจากกลุ่ม IRA แล้ว ยังรวมถึง กลุ่ม Irgun ที่ต่อสู้เพื่อสถาปนารัฐชาวยิวในปาเลสไตน์ กลุ่ม EOKA ในไซปรัส และ Front de Liberation Nationale ในแอลจีเรีย เป็นต้น[10] ตัวแบบความสำเร็จสูงสุด คือ กรณี Irgun ที่มีส่วนรับผิดชอบสังหารโหดหลายครั้ง ทว่าผู้นำกลุ่มอย่างเมนาเฮม เบกิน (Menachem Begin) กลับได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในปี ค.ศ. 1978[11]
ความแตกต่างที่สำคัญระหว่างคลื่นลูกแรกกับคลื่นลูกที่สอง ก็คือขณะที่ผู้ก่อเหตุหรือองค์กรในคลื่นลูกแรกมักนิยามตนเองว่าเป็น “ผู้ก่อการร้าย” ซึ่งใช้วิธีการลอบสังหารผู้นำทางการเมืองคนสำคัญหรือการระเบิดพลีชีพและแสวงหาเงินทุนสนับสนุนองค์กรด้วยการปล้นธนาคาร กลุ่มก่อการร้ายในคลื่นลูกที่สองพยายามหลีกเลี่ยงการนิยามตนเองว่าเป็น “ผู้ก่อการร้าย” เนื่องจากเมื่อล่วงเลยมาถึงทศวรรษ 1940 คำนี้ได้มีความหมายเชิงลบจนไม่ได้รับการสนับสนุนจากสาธารณชนอีกต่อไป แต่ถูกแทนที่ด้วยการเรียกตนเองว่า “นักรบเพื่ออิสรภาพ” (Freedom Fighters) แหล่งทุนของขบวนการเปลี่ยนมาเป็นเงินสนับสนุนจากชุมชนผู้พลัดถิ่นและยังได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลต่างชาติอีกด้วย สำหรับเป้าหมายของการโจมตีนั้นเปลี่ยนจากผู้นำคนสำคัญที่มีจำนวนจำกัดมาเป็นตำรวจทั่ว ๆ ไป ที่มีจำนวนมากกว่า โดยอาศัยยุทธวิธีแบบกองโจร (guerrilla) ที่เน้นการจู่โจมและล่าถอยอย่างรวดเร็ว (hit-and-run) องค์ประกอบที่สำคัญอีกประการหนึ่ง ก็คือการก่อตั้งสหประชาชาติขึ้นแทนที่สันนิบาตชาติได้ดึงดูดให้รัฐเกิดใหม่ซึ่งเคยเป็นอาณานิคมเข้าร่วมเป็นสมาชิก รัฐเกิดใหม่เหล่านั้นจึงยิ่งกระตุ้นเร้าให้อารมณ์ต่อต้านอาณานิคมยิ่งทวีความรุนแรงขึ้น[12] จนกระทั่งถึงทศวรรษ 1960 การต่อสู้เพื่อปลดปล่อยชาติต่าง ๆ ให้เป็นเอกราชก็ประสบความสำเร็จ คลื่นลูกที่สองของการก่อการร้ายจึงค่อย ๆ อ่อนกำลังลง
คลื่นลูกที่สาม : การก่อการร้ายแนวซ้ายใหม่
สงครามเวียดนามเป็นเหตุการณ์ที่เร่งเร้าให้เกิดคลื่นลูกที่สามของการก่อการร้าย ทั้งนี้ไม่ใช่เพียงเพราะว่าเวียดกงได้แสดงให้เห็นถึงวิธีการต่อสู้กับมหาอำนาจอเมริกันเท่านั้น หากแต่สงครามเวียดนามยังก่อให้เกิดแรงกระเพื่อมตามมาในทางวัฒนธรรม ไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรมต่อต้านสงครามและการต่อต้านความเป็นอเมริกันไปทั่วโลก ในบริบทสงครามเย็นนี่เองสหภาพโซเวียตประสบความสำเร็จในการทำให้สหรัฐฯ มีภาพเป็นผู้กระหายสงคราม ขณะที่ตนเองและโลกคอมมิวนิสต์มีภาพเป็นผู้รักสันติ อย่างไรก็ตามภายใต้ภาพของความสันติสุขนั้น สหภาพโซเวียตก็ใช้โอกาสนี้ให้การสนับสนุนทางการเงิน อาวุธ เทคนิควิทยาการ และการข่าวแก่กลุ่มก่อการร้ายทั้งในยุโรป เอเชีย และตะวันออกกลาง อาทิ กลุ่ม Weather Underground ในสหรัฐฯ กลุ่ม Red Army Faction (RAF) ในเยอรมนีตะวันตก กลุ่ม Red Brigades ในอิตาลี กลุ่ม Red Army ในญี่ปุ่น และกลุ่ม Action Directe ในฝรั่งเศส ด้วยเหตุนี้ ลักษณะเด่นประการหนึ่งของคลื่นลูกที่สาม ก็คือ การก่อการร้ายที่มีรัฐคอยหนุนหลัง (state-sponsored terrorism)[13] ด้วยเทคโนโลยีโทรทัศน์ที่แพร่หลายมากขึ้น กลุ่มก่อการร้ายจึงเปลี่ยนกลยุทธ์จากการโจมตีตำรวจและทหารมาสู่ “เป้าหมายเชิงนาฏกรรม” (theatrical targets) กล่าวคือ แทนที่จะหมายเอาชีวิตเหยื่อเพื่อแสดงให้เห็นว่าอำนาจรัฐไร้ความชอบธรรม กลุ่มก่อการร้ายเลือกใช้การจี้เครื่องบินโดยสารระหว่างประเทศและการลักพาตัวบุคคลสำคัญโดยพยายามทำให้ตัวประกันสูญเสียน้อยที่สุด ดังจะเห็นได้ว่าระหว่างทศวรรษ 1960 ถึงทศวรรษ 1980 มีเหตุจี้เครื่องบินกว่า 700 ครั้ง ขณะที่ระหว่างปี ค.ศ. 1968-1982 มีเหตุลักพาตัวระหว่างประเทศมากถึง 409 ครั้ง ซึ่งมีตัวประกันรวมกันมากถึง 951 ราย[14]
ในคลื่นก่อการร้ายลูกที่สามนี้ วิถีปฏิบัติหลายประการที่เคยปรากฏในคลื่นลูกแรก ซึ่งถูกล้มเลิกไปในคลื่นลูกที่สองได้รับการรื้อฟื้นคืนกลับมาที่สำคัญ ได้แก่ การลอบสังหารบุคคลสำคัญทางการเมืองที่ไม่ใช่เพียงเพราะบุคคลเหล่านั้นมีตำแหน่งสำคัญ หากแต่เพราะต้องการลงโทษการกระทำที่บุคคลเหล่านั้นมีต่อองค์กร ก่อการร้าย อีกประการหนึ่ง คือ การเชื่อมโยงกับเครือข่ายก่อการร้ายสากลซึ่งเคยลดบทบาทลงในช่วงคลื่นลูกที่สองเพราะมีเป้าหมายทางการเมืองเพียงเพื่อปลดปล่อยชาติของตนให้เป็นเอกราช แต่เมื่อมาถึงคลื่นลูกที่สามนี้ การปฏิวัติสากลกลายเป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญของกลุ่มก่อการร้าย[15] กระนั้นก็ตาม เมื่อถึงทศวรรษ 1980 คลื่นลูกที่สามก็อ่อนกำลังลงอันเป็นผลมาจากความร่วมมือระดับรัฐบาลและในระดับองค์กรระหว่างประเทศโดยเฉพาะสหประชาชาติในอันที่จะต่อต้านการก่อการร้ายสากล[16] การสิ้นสุดสงครามเวียดนามจึงทำให้เกิดการอพยพของชาวเอเชียที่หลั่งไหลเข้าสู่สหรัฐฯ ยุโรป และสหภาพโซเวียต ในบรรดาผู้อพยพเหล่านั้นรวมถึงครูและผู้รู้ทั้งหลายซึ่งต่อมาได้กลายเป็นผู้วางรากฐานให้กับกลุ่มเคลื่อนไหวทางศาสนารุ่นใหม่ในคลื่นลูกที่สี่นั่นเอง
คลื่นลูกที่สี่ : การก่อการร้ายที่มีแรงจูงใจทางศาสนา
การปฏิวัติอิหร่าน (Iranian Revolution, 1979-1980) และการบุกอัฟกานิสถานของโซเวียต (Soviet invasion, 1979) เป็นสองชนวนเหตุที่เร่งให้เกิดคลื่นลูกที่สี่ ทั้งสองกรณีกลุ่มหัวรุนแรงทางศาสนามักใช้ข้ออ้างแบบเดียวกับขบวนการชาตินิยมเพื่อให้ความชอบธรรมกับการก่อเหตุของตนเอง ในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 การก่อความรุนแรงโดยมีแรงจูงใจทางศาสนาเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นแพร่หลายทั่วโลก ตั้งแต่ชาวซิกข์ในอินเดียเข้าโจมตีชาวฮินดูเพื่อแยกรัฐศาสนาในแคว้นปัญจาบ ชาวฮินดูและชาวมุสลิมในอินเดียต่างใช้ความรุนแรงห้ำหั่นกันในกรณีพิพาทเหนือแคว้นแคชเมียร์ ลัทธิโอมชินริเกียว (Aum Shinrikyo) ในญี่ปุ่น ซึ่งผสมผสานความเชื่อพุทธศาสนา ฮินดู และคริสตศาสนา ปล่อยแก๊สพิษเข้าสู่ระบบรถไฟใต้ดินกรุงโตเกียว อันเป็นผลให้มีผู้เสียชีวิต 12 คน และบาดเจ็บอีกกว่า 3,000 คน ส่วนในสหรัฐฯ นั้น กลุ่มที่เรียกตัวเองว่า “Heaven’s Gate” กระทำการฆ่าตัวตายหมู่บนความเชื่อที่ว่าจะไปจุติบนยานอวกาศนอกโลก เหล่านี้ล้วนสะท้อนให้เห็นเหตุก่อการร้ายที่มีแรงจูงใจทางศาสนาทั้งสิ้น[17] อย่างไรก็ตาม การก่อการร้ายในคลื่นลูกที่สี่นี้ มีศูนย์กลางอยู่ที่กลุ่มหัวรุนแรงอิสลามที่ก่อเหตุอันส่งผลสะเทือนไปทั่วโลกและมีอิทธิพลต่อกลุ่มก่อการร้ายทางศาสนาอื่น ๆ อีกด้วย
กล่าวให้เฉพาะเจาะจงก็คือการปฏิวัติในอิหร่านได้ให้แรงบันดาลใจต่อการก่อตัวของกลุ่มชีอะห์หัวรุนแรงในอีรัก ซาอุดิอาระเบีย คูเวต และโดยเฉพาะในเลบานอนที่ให้กำเนิดกลุ่ม Hezbollah ในปี ค.ศ. 1983 ถึง 1984 ขณะที่การรุกรานอัฟกานิสถานของสหภาพโซเวียต ได้ปลุกความไม่พอใจในหมู่ชาวซุนนีทั่วโลก ตามมาด้วยการประกาศญิฮาด (jihad) เปิดรับอาสาสมัครเข้าร่วมกองกำลังปลดปล่อยของมูญาฮีดีน (Mujahideen) ซึ่งท้ายที่สุดนำไปสู่การก่อตัวของเครือข่าย Al-Qaeda ภายใต้การนำของ อุซามะห์ บิน ลาดิน (Osama bin Laden) ซึ่งมีสมาชิกกว่า 5,000 คน กระจายปฏิบัติงานอยู่ใน 72 ประเทศทั่วโลก[18] ในระยะแรกเป้าหมายการโจมตีของกลุ่มอิสลามหัวรุนแรงพุ่งตรงไปที่ทหารและพลเรือนอเมริกันเพื่อให้กองทัพสหรัฐฯ ถอนตัวออกจากตะวันออกกลาง สำหรับยุทธวิธีหลักนั้นก็คือ ระเบิดพลีชีพบนความเชื่อที่ว่าการกระทำเช่นนั้นจะได้นำผู้พลีชีพไปสู่สรวงสวรรค์[19] โดยเหตุการณ์ที่ดึงดูดความสนใจจากสาธารณชนทั่วโลกมากที่สุด ก็คือเหตุโจมตีสหรัฐฯ วันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001 หรือ เหตุการณ์ 9/11 ขณะเดียวกันก็สร้างผลลัพธ์ให้เกิดปฏิกิริยาตอบโต้การก่อการร้ายอย่างรุนแรงจากรัฐบาลชาติตะวันตก เมื่อประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู บุช (George W. Bush) ประกาศ “สงครามต่อต้านการก่อการร้าย” (War on Terror) จนมีชาติสมาชิกสหประชาชาติกว่าร้อยประเทศเข้าร่วมบุกอัฟกานิสถาน ส่งผลให้ผู้นำ Al-Qaeda หลายคนเสียชีวิตในเวลาต่อมา นับจากนั้นเป็นต้นมา กลุ่ม Al-Qaeda ก็ลดอิทธิพลลงอย่างรวดเร็ว และท้ายที่สุดเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม ค.ศ. 2011 ประธานาธิบดี บารัค โอบามา (Barack Obama) ก็ได้ออกมาประกาศอย่างเป็นทางการว่าผู้นำกลุ่มอย่าง บิน ลาดิน ได้เสียชีวิตลงแล้วระหว่างปฏิบัติการพิเศษของกองทัพสหรัฐฯ บริเวณชายแดนากีสถาน[20]
นัยสำคัญต่อการศึกษาการก่อการร้าย
ทฤษฎีกระแสคลื่นของการก่อการร้ายได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในแวดวงการศึกษาการก่อการร้ายในมุมมองเชิงเปรียบเทียบในฐานะตัวแบบที่ใช้อธิบายการเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์และแนวโน้มการก่อการร้ายระดับสากล ขณะที่การก่อการร้ายยุคโบราณวางอยู่บนพื้นฐานทางศาสนาเป็นหลักและจำกัดขอบเขตทางภูมิศาสตร์อยู่ในพื้นที่เฉพาะของตนเอง การก่อการร้ายยุคใหม่มีลักษณะเป็นสากล เชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายข้ามชาติ เก็บ รับ เรียนรู้ ตลอดจนได้รับการฝึกฝนจากองค์กรที่มีอิทธิพลระดับโลก[21] อย่างไรก็ตาม ทฤษฎีกระแสคลื่นของการก่อการร้ายก็ตกอยู่ภายใต้การวิพากษ์วิจารณ์ถึงความเที่ยงตรงในการวิเคราะห์และการทำความเข้าใจการเคลื่อนไหวของกลุ่มก่อการร้ายในปัจจุบัน ข้อถกเถียงสำคัญมาจากมุมมองที่ต่างออกไปอย่างน้อย 3 ประการ
ประการแรก ทฤษฎีกระแสคลื่นจัดจำแนกคลื่นออกเป็นสี่ระลอกอันวางอยู่บนพื้นฐานของพลังที่ขับเคลื่อนคลื่นลูกต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นอนาธิปไตย การต่อต้านอาณานิคม ซ้ายใหม่ หรือแรงจูงใจทางศาสนา ด้วยเหตุนี้จึงส่งผลให้ไม่สามารถจัดองค์กรก่อการร้ายบางประเภทให้สอดคล้องกับคลื่นดังกล่าวได้ อาทิ กลุ่มขวาจัดอย่าง Ku Klux Klan ในสหรัฐฯ กลุ่ม Black Hundreds ในรัสเซีย กลุ่ม Secret Army Organization ในแอลจีเรีย และกลุ่ม Grey Wolve ในตุรกี[22] หรือแม้แต่กลุ่มที่เป็นข้อยกเว้นอย่าง Palestine Liberation Organization (PLO) ที่ถือกำเนิดในคลื่นลูกที่สาม ทว่ามีแรงจูงใจแนวชาตินิยมแบบคลื่นลูกที่สอง กระนั้นก็มีเครือข่ายโยงใยในระดับนานาชาติแบบคลื่นลูกที่สาม มีความโน้มเอียงแบบฆราวาสนิยมและได้รับอิทธิพลจากอุดมการสังคมนิยม แต่ก็ต่อต้านเครือข่ายของขบวนการภารดรภาพมุสลิมอย่างกลุ่ม Hamas ตามอย่างโลกตะวันตก[23]
ประการที่สอง แนวคิดของแร็พพอพอร์ตที่มองการก่อการร้ายสมัยใหม่เป็นคลื่นแสดงให้เห็นการเกิดขึ้นซ้ำ ๆ ของความรุนแรงทางการเมืองซึ่งขับเคลื่อนโดยแนวโน้มทางประวัติศาสตร์สากลที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องกัน ทำให้มีข้อจำกัดในการอธิบายปรากฏการณ์ที่กลุ่มก่อการร้ายลอกเลียนแบบและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน ในแง่นี้การก่อการร้ายจึงควรถูกพิจารณาในฐานะ "สายพันธุ์" (strain) ที่กลุ่มก่อการร้ายแลกเปลี่ยนและพัฒนากลยุทธ ยุทธศาสตร์ และเป้าหมายจนแพร่จากคนกลุ่มหนึ่งไปสู่อีกกลุ่มหนึ่งอันมีจุดกำเนิดจากช่วงเวลาเดียวกัน หากแต่แยกกันพัฒนาและกลายพันธุ์บนเส้นทางของตนเอง ทั้งนี้ตราบจนปัจจุบันอาจจัดได้ว่าการก่อการร้ายประกอบด้วยสี่สายพันธุ์หลัก ได้แก่ ชาตินิยม (nationalism) สังคมนิยม (socialism) กระบวนการหัวรุนแรงทางศาสนา (religious extremism) และ การกีดกันทางสังคม (social exclusion)24]
ประการที่สาม ทฤษฎีกระแสคลื่นของการก่อการร้ายทำนายว่าคลื่นแต่ละลูกจะมีอายุขัยประมาณ 40 ปี และหากนับคลื่นลูกที่สี่อันมีจุดเริ่มต้นเมื่อปี ค.ศ. 1979 แล้ว ดังนั้น คลื่นลูกใหม่ก็น่าจะเริ่มขึ้นแล้ว ข้อเสนอต่าง ๆ มีตั้งแต่คลื่นลูกที่สี่กำลังอ่อนแรงลงเนื่องจากกลุ่มก่อการร้ายทางศาสนาล้มเลิกไปเอง และ/หรือเพราะว่าปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายของรัฐบาลที่กระทำอย่างเข้มข้น[25] ไปจนถึงข้อเสนอที่ว่าคลื่นลูกที่ห้าได้เริ่มขึ้นแล้วซึ่งอาจจะเป็นคลื่นก่อการร้ายแนวชาตินิยมเชิงชาติพันธุ์ (ethno-nationalist terrorism)[26] หรือคลื่นก่อการร้ายด้านสิ่งแวดล้อม (eco-terrorism)[27] เป็นต้น แม้ข้อถกเถียงในประเด็นคลื่นลูกที่ห้าจะยังคงดำเนินต่อไป แต่นั่นก็ย่อมหมายถึงการตอกย้ำยืนยันว่าทฤษฎีกระแสคลื่นของการก่อการร้ายยังคงได้รับการยอมรับและสามารถอธิบายปรากฏการณ์ในปัจจุบันได้อย่างเที่ยงตรงระดับหนึ่ง
บรรณานุกรม
“Bin Laden Is Dead, Obama Says." New York Times (May 1, 2011). Available <https://www.nytimes.com/2011/05/02/world/asia/osama-bin-laden-is-killed.html>. Accessed November 28, 2022.
Rapoport, David C. (2022). Waves of Global Terrorism: From 1879 to the Present. New York: Columbia University Press.
Rapoport, David C. (2004). "The Four Waves of Modern Terrorism." In A. Cronin and J. Ludes (eds.). Attacking Terrorism: Elements of a Grand Strategy, pp. 47-65. Washington, DC: Georgetown University Press.
Kaplan, Jeffrey (2007). "The Fifth Wave: The New Tribalism?." Terrorism and Political Violence. 19(4): 545-570.
Jeffrey Kaplan, "Waves of Political Terrorism." Oxford Research Encyclopedia of Politics (22 November 2016). Available < https://doi.org/10.1093/acrefore/9780190228637.013.24>. Accessed November 29, 2022.
Silva, Joao Raphael da (2020). "The Eco-Terrorist Wave." Behavioral Sciences of Terrorism and Political Aggression. 12 (3): 203-216.
Weinberg, Leonard and William Eubank (2010). "An End to the Fourth Wave of Terrorism?." Studies in Conflict and Terrorism. 33(7): 594-602.
Crenshaw, Martha (2011). Explaining Terrorism: Causes, Processes and Consequences. London: Routledge.
Parker, Tom and Nick Sitter (2016). "The Four Horsemen of Terrorism: It's Not Waves, It's Strains." Terrorism and Political Violence. 28 (2): 197-216.
อ้างอิง
[1] Martha Crenshaw, Explaining Terrorism: Causes, Processes and Consequences (London: Routledge, 2011), p. 34.
[2] David C. Rapoport, Waves of Global Terrorism: From 1879 to the Present (New York: Columbia University Press, 2022), p. 1.
[3] David C. Rapoport, "The Four Waves of Modern Terrorism," In A. Cronin, & J. Ludes (eds.), Attacking Terrorism: Elements of a Grand Strategy, p. 49 (Washington, DC: Georgetown University Press, 2004).
[4] Ibid., p. 47.
[5] Ibid., p. 48.
[6] David C. Rapoport, Waves of Global Terrorism, p. 3.
[7] David C. Rapoport, "The Four Waves of Modern Terrorism," p. 50.
[8] Ibid., p. 52.
[9] Ibid.
[10] Ibid., pp. 53-54.
[11] Jeffrey Kaplan, "Waves of Political Terrorism," Oxford Research Encyclopedia of Politics. Available < https://doi.org/10.1093/acrefore/9780190228637.013.24>. Accessed November 29, 2022, p. 5.
[12] David C. Rapoport, "The Four Waves of Modern Terrorism," p. 55.
[13] Ibid., p. 59.
[14] Ibid., 57.
[15] Ibid., pp. 57-58.
[16] Ibid., p. 60.
[17] Ibid., p. 61.
[18] Ibid., p. 62.
[19] Ibid.
[20] "Bin Laden Is Dead, Obama Says," New York Times (May 1, 2011). Available <https://www.nytimes.com/2011/05/02/world/asia/osama-bin-laden-is-killed.html>. Accessed November 28, 2022.
[21] Jeffrey Kaplan, "Waves of Political Terrorism," p. 14.
[22] Leonard Weinberg and William Eubank, "An End to the Fourth Wave of Terrorism?," Studies in Conflict and Terrorism, 33(7) 2010: 596.
[23] Jeffrey Kaplan, "Waves of Political Terrorism," p. 7.
[24] Tom Parker and Nick Sitter, "The Four Horsemen of Terrorism: It's Not Waves, It's Strains," Terrorism and Political Violence, 28 (2) 2016: 197-216.
[25] Leonard Weinberg and William Eubank, "An End to the Fourth Wave of Terrorism?," 598.
[26] Jeffrey Kaplan, "The Fifth Wave: The New Tribalism?," Terrorism and Political Violence, 19(4) 2007: 545-570.
[27] Joao Raphael da Silva, "The Eco-Terrorist Wave," Behavioral Sciences of Terrorism and Political Aggression, 12 (3) 2020: 203-216.