ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ธรรมศาสตร์จะไม่ทน"
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 70: | บรรทัดที่ 70: | ||
| | ||
</div> </div> | </div> </div> | ||
[[Category:เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองไทย สมัย พ.ศ. 2520-ปัจจุบัน]][[Category:เหตุการณ์สำคัญทางการเมือง]][[Category:ว่าด้วยเหตุการณ์สำคัญทางการเมือง]][[Category:การมีส่วนร่วมทางการเมือง]] | | ||
[[Category:เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองไทย สมัย พ.ศ. 2520-ปัจจุบัน]][[Category:เหตุการณ์สำคัญทางการเมือง]][[Category:ว่าด้วยเหตุการณ์สำคัญทางการเมือง]][[Category:การมีส่วนร่วมทางการเมือง]][[Category:สารานุกรม คำศัพท์ต่าง ๆ]] |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 13:51, 14 มีนาคม 2566
ผู้เรียบเรียง : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิชุดา สาธิตพร และ ธีทัต จันทราพิชิต
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต
ธรรมศาสตร์จะไม่ทน เป็นชื่อกิจกรรมการชุมนุมประท้วง โดยกลุ่มธรรมศาสตร์และการชุมนุมต่อต้านรัฐบาลภายใต้การนำของ พลเอกประยุทธ์_จันทร์โอชา จัดขึ้นที่ลานพญานาค มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ในวันที่ 10 สิงหาคม 2563 และเป็นหนึ่งในการชุมนุมที่สำคัญและเป็นที่จดจำมากครั้งหนึ่งใน ปี 2563
ที่มา
กระแสการต่อต้านรัฐบาลพรรคพลังประชารัฐที่นำโดย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ปะทุขึ้นในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 จากการยุบพรรคอนาคตใหม่ จนทำให้กลุ่มนิสิต นักศึกษาทั่วประเทศต่างแสดงความไม่พอใจและออกมาชุมนุมต่อต้านอย่างแทบจะทันที โดยมีกิจกรรมจุดเทียนไว้อาลัยให้กับความยุติธรรมหรือประชาธิปไตยในหลายมหาวิทยาลัย หนึ่งในนั้นเป็นกลุ่มนักศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก็ได้มีการรวมตัวกันจุดเทียนไว้อาลัยให้กับความยุติธรรมและประชาธิปไตยไทยใน วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2563 ที่อุทยานการเรียนรู้ป๋วย 100 ปี[1]
กระแสการต่อต้านรัฐบาลเริ่มลุกลาม ไม่นานก็ได้มีการติดแฮชแท็กแสดงพลังต่อต้านรัฐบาล โดยที่มหาวิทยาลัยกว่า 20 แห่ง ต่างมีแฮชแท็กแสดงความไม่พอใจต่อรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ ไม่ว่าจะเป็น #เสาหลักจะไม่หักอีกต่อไป ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย #KUไม่ใช่ขนมหวานราดกะทิ ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ #ช้างเผือกจะไม่ทน #มหาวิทยาลัยหน้าบางแห่งหนึ่ง ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่[2] หรือ #ลูกพ่อขุนไม่รับใช้เผด็จการ ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง[3] ก่อนที่ต่อมาจะเริ่มมีการรวมตัวกันชุมนุมเพื่อแสดงความไม่พอใจและเรียกร้องให้เกิดการยุบสภาเลือกตั้งใหม่ขึ้นโดยทันที ทั้งนี้การชุมนุมจะจำกัดวงอยู่เฉพาะพื้นที่มหาวิทยาลัยเป็นหลัก จนกระทั่งเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอก ที่ 1 ทำให้การชุมนุมของมหาวิทยาลัยทั่วประเทศหยุดลง เพราะต้องทำตามมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม
ต่อมาในเดือนกรกฎาคม 2563 ได้เกิดกรณีทหารอียิปต์เข้ามาในประเทศไทย โดยที่ไม่ต้องทำการกักตัวแล้วได้แพร่เชื้อโควิด-19[4] ระหว่างที่มาเยือนประเทศไทยจนสร้างความไม่พอใจให้กับคนเป็นจำนวนมากที่มองว่าพวกเขาทำตามมาตรการอย่างเคร่งครัด แต่กลับมีคนบางกลุ่มได้สิทธิพิเศษเหนือคนอื่น ๆ
ในวันที่ 18 กรกฎาคม 2563 ได้มีการชุมนุมลงท้องถนนบริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยโดยกลุ่มเยาวชนปลดแอก [5]นับเป็นการชุมนุมครั้งแรกในรอบหลายเดือนและเป็นการชุมนุมครั้งแรกที่ออกนอกเขตมหาวิทยาลัย[6]
การชุมนุมนั้นได้จุดกระแสให้ขยายตัวเป็นวงกว้าง และทางผู้จัดการชุมนุมก็หาทางที่จะสร้างกิจกรรมที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการชุมนุมเพื่อเรียกร้องสิทธิของคนหลากหลายทางเพศอย่าง “ม็อบไม่มุ้งมิ้งแต่ตุ้งติ้งค่ะคุณรัฐบาล”[7] หรือ "กิจกรรมวิ่งกันนะแฮมทาโร่”[8] หนึ่งในกิจกรรมที่พยายามจะจัดขึ้นนั่นก็คือ “กิจกรรมเสกคาถาผู้พิทักษ์ปกป้องประชาธิปไตย”[9] ซึ่งมาในเนื้อหาของแฮร์รี่ พอตเตอร์โดยมีผู้จัดเป็นกลุ่มมหานครเพื่อประชาธิปไตยและกลุ่มมอกะเสดโดยในการชุมนุมครั้งนั้นได้มี อานนท์ นำภา ขึ้นกล่าวปราศรัยในหัวข้อเกี่ยวกับการขยายอำนาจของสถาบันพระมหากษัตริย์ และยังเน้นย้ำว่าจะไม่ขึ้นเวทีปราศรัยอีกหากไม่ให้พูดถึงเรื่องการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์หลังการปราศรัย อานนท์ นำภา ได้ถูกหมายจับในข้อหากว่า 7 ข้อหา[10] จนเกิดเป็นกระแสพูดถึงในโลกโซเซียลมีเดีย
พร้อมกันนั้นทางกลุ่มธรรมศาสตร์และการชุมนุมก็ได้ทำการวางแผนจะจัดการชุมนุมภายใต้ชื่อ ธรรมศาสตร์จะไม่ทน ในวันที่ 10 สิงหาคม 2563 ซึ่งเป็นวันเปิดภาคการศึกษาของมหาวิทยาลัย โดยประกาศตั้งแต่ วันที่ 29 กรกฎาคม 2563[11] และในวันที่ 9 สิงหาคม 2563 ทางแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุมก็ได้ทำการประกาศชื่อผู้ปราศรัยซึ่งก็ได้มีการใส่เงาของ อานนท์ นำภา และ ไมค์ ระยอง ที่ถูกกล่าวหากว่า 7 ข้อหา เข้าไปในกลุ่มผู้ปราศรัย[12] พร้อมกันนั้นก็ได้มีการแจกหนังสือถอดเทปการปราศรัยเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ของ อานนท์ นำภาด้วย[13] ทั้งหมดทำให้การชุมนุมครั้งนี้ได้รับการคาดหวังมากยิ่งขึ้น
การชุมนุม
การชุมนุมเริ่มในเวลา 17.00 น. โดยทางมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในตอนแรกได้แสดงท่าทีสนับสนุนการชุมนุมอย่างเต็มที่ พร้อมกันนั้นก็ได้มีการตั้งซุ้มล่ารายชื่อเพื่อแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญใหม่จาก iLaw อยู่ในงาน เนื่องจากเป็นวันเปิดภาคการศึกษาทำให้การชุมนุมนี้ต้องการจะดึงเอาเด็กนักศึกษา ปี 1 เข้าร่วมด้วย จนอาจกล่าวได้ว่าเป็นการรับเพื่อนใหม่ด้วยการชุมนุม ทว่าการชุมนุมนี้ไม่ได้มีแต่กลุ่มนักศึกษาเท่านั้นที่เข้าร่วม ยังมีกลุ่มอื่น ๆ อยู่อีกเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นอดีตมวลชนคนเสื้อแดง หรือผู้ต่อต้านรัฐบาลกลุ่มอื่น ๆ ก็ได้ทำการเข้าร่วมด้วย อีกทั้งในช่วงท้ายการชุมนุมแกนนำผู้ชุมนุมยังได้ทำการวิดิโอคอลกับ ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ ซึ่งในตอนนั้นเป็นที่รู้จักของกลุ่มเฟซบุ๊ครอยัลลิสต์มาร์เก็ตเพลส
การชุมนุมธรรมศาสตร์จะไม่ทน เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในการชุมนุมประท้วง ปี 2563 เนื้อหาส่วนใหญ่ของปราศรัยพุ่งตรงไปที่สถาบันพระมหากษัตริย์ และก่อนที่จะทำการยุติการชุมนุม มีข้อเสนอให้ทำการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ แบ่งออกได้เป็นทั้งสิ้น 10 ข้อ ก่อนที่จะทำการยุติการชุมนุม
ผลของการชุมนุม
หลังการการชุมนุมธรรมศาสตร์จะไม่ทน ทำให้ท่าทีการสนับสนุนของผู้บริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เปลี่ยนไป แต่ขณะเดียวกันก็ได้มีการพูดถึงประเด็นเรื่องการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์มากยิ่งขึ้นแทบทุกการชุมนุม หลังจากนั้นประเด็นดังกล่าวจะกลายเป็นหนึ่งในประเด็นหลักควบคู่กับประเด็นการยุบสภาและแก้ไขรัฐธรรมนูญ
อ้างอิง
[1] มติชน, 2563, ชาวธรรมศาสตร์ จุดเทียนอาลัยความยุติธรรมไทย หน้ารูปปั้น อ.ปรีดี-ป๋วย. เข้าถึงจาก https://www.matichon.co.th/politics/news_1994062
[2] มติชน, 2563, ส่องแฮชแท็กดัง มหา’ลัยทั่วประเทศ เมื่อเหล่านิสิตนักศึกษาออกมาแสดงพลัง. เข้าถึงจาก https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_2002069
[3] ผู้จัดการ, 2563, มหา'ลัยทั่วประเทศ แห่ตั้งชื่อแฮชแท็กต้านรัฐบาล ปมยุบพรรคอนาคตใหม่. เข้าถึงจาก https://mgronline.com/onlinesection/detail/9630000018810
[4] ไทยรัฐ, 2563, ไทม์ไลน์ “ทหารอียิปต์” ติดโคโรนาไวรัส เข้าออกไทย ไปเดินห้าง ไม่กักตัว (คลิป). เข้าถึงจาก https://www.thairath.co.th/news/politic/1888124
[5] ไทยโพสต์, 2563, ประมวลภาพ 'เยาวชนปลดแอก' ม็อบถอนรากถอนโคนเผด็จการ.เข้าถึงจาก https://www.thaipost.net/main/detail/71821
[6] มติชน,2563, นักวิชาการย้อน 1 ปี ‘ม็อบปลดแอก’ 18 ก.ค. วิเคราะห์ชุมนุมใหญ่บ่ายนี้ ชี้ไม่จำนนชะตากรรม. เข้าถึงจาก https://www.matichon.co.th/politics/news_2835118
[7]Work Point, 2563, สรุป ‘ม็อบไม่มุ้งมิ้งแต่ตุ้งติ้งค่ะคุณรัฐบาล’ สนับสนุนเยาวชนปลดแอก เรียกร้องสมรสเท่าเทียม. เข้าถึงจาก https://workpointtoday.com/lgbt-flash-mob/
[8] Work Point, 2563, สรุป ‘วิ่งกันนะแฮมทาโร่’ เปล่งเสียง “ยุบสภา” รอบอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย. เข้าถึงจาก https://workpointtoday.com/run-hamtaro-ad2020/
[9] The Standard,2563, ม็อบแฮร์รี่ พอตเตอร์ เสกคาถาฯ ปกป้องประชาธิปไตย. เข้าถึงจาก https://thestandard.co/harry-potter-themed-protest-at-democracy-monument/
[10] ไทยพีบีเอช, 2563, ตำรวจกางหมายจับ 7 ข้อหา รวบ "ทนายอานนท์". เข้าถึงจาก https://news.thaipbs.or.th/content/295278
[11] แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม, 2563,ธรรมศาสตร์จะไม่ทน ประกาศวันนัดชุมนุม. เข้าถึงจาก https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=108142767660519&id=104134454728017
[12]แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม ,2563, ประกาศ!!! เวลาที่ทุกท่านรอคอยมาถึงแล้ว... .เข้าถึงจาก https://www.facebook.com/ThammasatUFTD/posts/116090960199033
[13] แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม ,2563, งาน “ธรรมศาสตร์จะไม่ทน” วันพรุ่งนี้ จะมีแจกหนังสือถอดเทปของทนายอานนท์ เรื่อง “สถาบันพระมหากษัตริย์กับสังคมไทย” สำหรับ 1,000 คนแรกที่มาถึงงาน. เข้าถึงจาก https://www.facebook.com/ThammasatUFTD/photos/116064043535058