ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คณะราษมัม"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Trikao (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Trikao (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
บรรทัดที่ 2: บรรทัดที่ 2:
'''ผู้เรียบเรียง :''' ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ศุทธิกานต์ มีจั่น
'''ผู้เรียบเรียง :''' ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ศุทธิกานต์ มีจั่น


'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' : ดร.สติธร ธนานิธิโชติ
'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' ''':''' ดร.สติธร ธนานิธิโชติ


 
 
บรรทัดที่ 16: บรรทัดที่ 16:
 
 


'''ภาพ '''คณะราษมัมและญาติแกนนำม็อบราษฎรทำกิจกรรมหน้าศาลฎีกา ถนนราชดำเนิน เมื่อวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2564 [[#_ftn8|[8]]]
'''ภาพ : '''คณะราษมัมและญาติแกนนำม็อบราษฎรทำกิจกรรมหน้าศาลฎีกา ถนนราชดำเนิน เมื่อวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2564 [[#_ftn8|[8]]]


[[File:People's Mom (1).jpg|center|300x200px|People's Mom (1).jpg]]
[[File:People's Mom (1).jpg|center|300x200px|People's Mom (1).jpg]]
บรรทัดที่ 22: บรรทัดที่ 22:
 
 


'''ภาพ''' นางสุรีย์รัตน์ ชิวารักษ์ มารดาของ นายพริษฐ์ ชิวารักษ์ ได้ทำการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ผ่านการโกนผมเพื่อเรียกร้องให้ปล่อยบุตรชาย เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2564 บริเวณศาลอาญากรุงเทพ[[#_ftn9|[9]]]
'''ภาพ :''' นางสุรีย์รัตน์ ชิวารักษ์ มารดาของ นายพริษฐ์ ชิวารักษ์ ได้ทำการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ผ่านการโกนผมเพื่อเรียกร้องให้ปล่อยบุตรชาย เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2564 บริเวณศาลอาญากรุงเทพ[[#_ftn9|[9]]]


[[File:People's Mom (2).jpg|center|300x200px|People's Mom (2).jpg]]
[[File:People's Mom (2).jpg|center|300x200px|People's Mom (2).jpg]]
บรรทัดที่ 28: บรรทัดที่ 28:
 
 


'''ภาพ '''กลุ่ม '''‘คณะราษมัม’''' กิจกรรม '''‘ยืน หยุด ขัง’''' หน้าเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2564[[#_ftn10|[10]]]
'''ภาพ : '''กลุ่ม '''‘คณะราษมัม’''' กิจกรรม '''‘ยืน หยุด ขัง’''' หน้าเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2564[[#_ftn10|[10]]]


[[File:People's Mom (3).jpg|center|300x200px|People's Mom (3).jpg]]
[[File:People's Mom (3).jpg|center|300x200px|People's Mom (3).jpg]]
บรรทัดที่ 70: บรรทัดที่ 70:
 
 
</div> </div>  
</div> </div>  
[[Category:เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองไทย สมัย พ.ศ. 2520-ปัจจุบัน]] [[Category:เหตุการณ์สำคัญทางการเมือง]] [[Category:ว่าด้วยเหตุการณ์สำคัญทางการเมือง]] [[Category:การมีส่วนร่วมทางการเมือง]]
&nbsp;
 
[[Category:เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองไทย สมัย พ.ศ. 2520-ปัจจุบัน]][[Category:เหตุการณ์สำคัญทางการเมือง]][[Category:ว่าด้วยเหตุการณ์สำคัญทางการเมือง]][[Category:การมีส่วนร่วมทางการเมือง]][[Category:สารานุกรม คำศัพท์ต่าง ๆ]]

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 15:16, 15 มิถุนายน 2565

ผู้เรียบเรียง : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ศุทธิกานต์ มีจั่น

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : ดร.สติธร ธนานิธิโชติ

 

          คณะราษมัม หมายถึง กลุ่มมารดาและญาติของนักกิจกรรมทางการเมือง ที่ถูกควบคุมตัวในเรือนจำระหว่างพิจารณาคดี เป็นการรวมกลุ่มกันของพลเมืองที่เป็นแม่ ที่มารวมตัวกันเพื่อเรียกร้องให้ปล่อยตัวนักโทษทางการเมืองและแกนนำของกลุ่มคณะราษฎรที่ยังคงถูกควบคุมตัวอยู่ภายในเรือนจำให้ออกมาต่อสู้คดีตามกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังเป็นการสื่อสารให้สังคมรู้ว่าลูกและญาติของพวกเธอถูกคุมขังโดยไม่เป็นธรรมการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นมุ่งไปที่การเรียกร้องสิทธิประกันตัว และขอให้ศาลและผู้พิพากษาปฏิบัติหน้าที่อย่างเที่ยงธรรมตามหลักกฎหมาย ในการพิจารณาคืนสิทธิประกันตัวให้แก่ผู้ต้องหาระหว่างพิจารณาคดี เนื่องจากตามหลักกฎหมายทั่วไปนั้น ตราบใดที่การพิจารณาคดียังไม่สิ้นสุด คนเหล่านี้ยังเป็นผู้บริสุทธิ์ จึงควรได้สิทธิขั้นพื้นฐานในการได้รับการประกันตัว โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติภายใต้ความแตกต่างทางความเชื่อและอุดมการณ์[1]

          การรวมตัวกันของ “คณะราษมัม” นั้น เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2564 ที่หน้าเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร เพื่อยืนยันสิทธิการปล่อยตัวชั่วคราว ซึ่งก่อนหน้านี้สมาชิกบางส่วนเคยร่วมกิจกรรม “เดินทะลุฟ้า” คืนอำนาจประชาชนร่วมกับกลุ่มราษฎร และ People Go Network ซึ่งจัดขึ้นในรูปแบบเดินเท้าจาก จังหวัดนครราชสีมา ถึง กรุงเทพมหานคร รวมระยะทาง 247.5 กิโลเมตร[2]

          สมาชิกของคณะราษมัม นำโดย นางสุรีย์รัตน์ ชิวารักษ์ มารดาของ นายพริษฐ์ ชิวารักษ์ หรือ เพนกวิน นางสุริยา สิทธิจิรวัฒนกุล มารดาของ นางสาวปนัสยา หรือ รุ้ง นางอรวรรณ แก้ววิบูลย์พันธุ์ มารดาของ นายไชยอมร แก้ววิบูลย์พันธุ์ หรือ “แอมมี่ เดอะ บอตทอมบลูส์” นางมาลัย นำภา มารดาของ นายอานนท์ นำภา ทนายความด้านสิทธิมนุษยชน และ นางยุพิน มะณีวงศ์มารดาของ นายภาณุพงศ์ จาดนอก หรือ ไมค์ระยอง เป็นต้น โดยสมาชิกเหล่านี้ไม่ใช่นักกิจกรรมทางการเมือง ไม่เคยเคลื่อนไหวทางการเมืองและไม่ได้รู้จักกันมาก่อน ซึ่งการเคลื่อนไหวของคณะราษมัมนั้นเป็นการนัดกันออกมาทำกิจกรรม ยืน หยุด ขัง ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวริเริ่มโดยกลุ่มพลเมืองโต้กลับ ที่กำหนดให้ผู้เข้าร่วมยืนสงบนิ่งเป็นเวลา 112 นาที พร้อมชูป้ายหรือห้อยคอรูปคนหนุ่มสาวที่เป็นแกนนำม๊อบราษฎรที่ยังไม่ได้ประกันตัว พร้อมข้อความเรียกร้องสิทธิประกันตัว เช่น “ปล่อยลูกเรา” และ “ปล่อยลูกแม่” ซึ่งจะออกมายืนร่วมกันทุกวันเสาร์ เวลา 17.00 น. หน้าเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร จนกว่าจะได้รับการปล่อยตัว นอกจากนี้ยังมีการจัดกิจกรรมในพื้นที่อื่น ๆ เช่น การจัดกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ “#ยืนหยุดขังday22” 112 นาที กับคณะราษมัมที่หน้าศาลฎีกา เมื่อวันที่ 13 เมษายน 2564 และยังได้มีการนำรูปแบบการจัดกิจกรรมนี้กระจายจัดขึ้นในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ

          อย่างไรก็ดี การดำเนินกิจกรรมและการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์มีความเข้มข้นมากขึ้นเมื่อ นายพริษฐ์ ชิวารักษ์ แกนนำคณะราษฎร ที่ถูกสั่งฟ้องและคุมขังตั้งแต่วันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 จากข้อกล่าวหาในความผิดตาม​ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และข้อกล่าวหาจากการกระทำความผิดจากการชุมนุม “ทวงอำนาจคืนให้ราษฎร” ของแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม รวมทั้งคดีชุมนุม “MOB FEST” ซึ่งยังไม่ได้รับสิทธิประกันตัว อีกทั้งนายพริษฐ์อยู่ระหว่างการอดอาหารประท้วงเพื่อเรียกร้องสิทธิของตนในเรือนจำเป็นเวลากว่า 46 วัน[3] และมีปัญหาสุขภาพที่เข้าสู่ภาวะวิกฤตมากขึ้นภายใต้การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ภายในเรือนจำ โดยในเมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2564 นางสุรีย์รัตน์ ชิวารักษ์ มารดาของ นายพริษฐ์ ชิวารักษ์ ร่วมกับทนายความศูนย์ทนายความสิทธิมนุษยชน เดินทางมาเพื่อยื่นขอปล่อยชั่วคราวบุตรชายเป็น ครั้งที่ 10 ที่ศาลอาญากรุงเทพ หลังจากก่อนหน้านี้ถูกปฏิเสธการประกันตัวด้วยเหตุผลว่า ไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิมที่เคยสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยในระหว่างพิจารณา ซึ่งการยื่นของประกันตัวครั้งนี้นางสุรีย์รัตน์ได้ทำการโกนศีรษะ เพื่อเป็นการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ถึงความไม่ยุติธรรมเช่นเดียวกับบุตรชายที่อดอาหารอยู่ภายในเรือนจำ [4] โดยเน้นย้ำถึงการขจัดความอยุติธรรมออกไปจากสังคม เพื่อไม่ให้มีใครสูญเสียหรือเจ็บปวดแบบครอบครัวของตนเองอีก[5] ซึ่งการดำเนินกิจกรรมของคณะราษมัมนั้น นอกจากจะมีประชาชนจำนวนหนึ่งเข้าร่วมกิจกรรมด้วยแล้ว ยังได้รับการสนับสนุนและร่วมแสดงจุดยืนจากนักวิชาการผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เช่น สุรพศ ทวีศักดิ์ นักวิชาการด้านปรัชญาและศาสนา ที่ได้โพสต์ข้อความและรูปของตนเองโกนหัว เพื่อสนับสนุนการยืนหยัดต่อสู้เคียงข้างลูกของนางสุรีย์รัตน์[6] เป็นต้น ซึ่งในวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 ศาลอาญาอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว นายพริษฐ์ ชิวารักษ์ และ นายไชยอมร แก้ววิบูลย์พันธุ์ ภายใต้เงื่อนไขห้ามกระทำการเสื่อมเสียต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ การห้ามก่อความวุ่นวาย การห้ามออกนอกราชอาณาจักรเว้นแต่ได้รับอนุญาต และให้มาตามนัดศาล เช่นเดียวกับ นายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือไผ่ ดาวดิน และ นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข จำเลยในคดีเดียวกันที่ได้รับการปล่อยชั่วคราวไปก่อนหน้านี้[7]

 

ภาพ : คณะราษมัมและญาติแกนนำม็อบราษฎรทำกิจกรรมหน้าศาลฎีกา ถนนราชดำเนิน เมื่อวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2564 [8]

People's Mom (1).jpg
People's Mom (1).jpg

 

ภาพ : นางสุรีย์รัตน์ ชิวารักษ์ มารดาของ นายพริษฐ์ ชิวารักษ์ ได้ทำการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ผ่านการโกนผมเพื่อเรียกร้องให้ปล่อยบุตรชาย เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2564 บริเวณศาลอาญากรุงเทพ[9]

People's Mom (2).jpg
People's Mom (2).jpg

 

ภาพ : กลุ่ม ‘คณะราษมัม’ กิจกรรม ‘ยืน หยุด ขัง’ หน้าเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2564[10]

People's Mom (3).jpg
People's Mom (3).jpg

 

          อย่างไรก็ดี กรณีการเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มแม่เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมให้แก่ลูกของตนเองนี้ ประจักษ์ ก้องกีรติ ได้หยิบยกกรณีการเคลื่อนไหวของ “กลุ่มแม่แห่งพลาซา เดอ เมโย” (Mothers of the Plaza de Mayo) ที่กลุ่มแม่ของพลเมืองที่ถูกอุ้มหายโดยรัฐบาลเผด็จการทหารอาร์เจนตินา ช่วงระหว่าง ปี ค.ศ. 1976-1983 ออกมาต่อสู้เรียกร้องความเป็นธรรมให้แก่ลูกของตนเอง เป็นตัวอย่างของการเคลื่อนไหวที่ทรงพลังและทำให้ระบอบเผด็จการทหารของอาร์เจนตินาเสื่อมความชอบธรรมจนกระทั่งสิ้นสุดอำนาจไปในท้ายที่สุด[11]

          นอกจากการเกิดขึ้นของกลุ่มคณะราษมัมแล้ว ยังมีการจัดตั้งและมีกิจกรรมภายใต้ชื่อกลุ่มต่าง ๆ เช่น “คณะราษแดนซ์” หรือ กลุ่มนักเต้นที่ออกมาแสดงการเต้นที่สอดแทรกมุมมองเกี่ยวกับประชาธิปไตยเข้าไปในการเต้นด้วยบนท้องถนนในช่วงของการชุมนุมทางการเมือง เพื่อสื่อให้เห็นถึง “สิทธิเสรีภาพ” เผยแพร่ผ่านการเต้นที่พวกเขามีสิทธิเหนือร่างกายตนเอง และการเรียกร้องให้มีพื้นที่สาธารณะซึ่งเป็นพื้นที่แห่งการแสดงออก ซึ่งทำให้การเต้นนั้นเกี่ยวข้องกับการเรียกร้องประชาธิปไตย เป็นต้น[12] รวมไปถึงการรวมกลุ่มในนาม “คณะราษเก็ต” หรือ “Sk8tizen” เพื่อยืนยันว่า การเล่นสเก็ตบอร์ดก็คือการแสดงออกทางการเมือง ผ่านการสื่อสารผ่านลวดลายและเนื้อหาบนตัวสเก็ตบอร์ดและการออกมาเล่นสเก็ตบอร์ดร่วมกับประชาชนที่ออกมาชุมนุมเพื่อเป็นการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ถึงความไม่พอใจต่อการบริหารงานและประสิทธิภาพของรัฐบาล[13] เป็นต้น

 

อ้างอิง

[1] ประจักษ์ ก้องกีรติ.“เราจะยืนจนกว่าจะล้มลง” : การต่อสู้ของ ‘ราษมัม’”. สืบค้นจาก https://decode.plus/20210501/(16 มิถุนายน 2564).

[2] “แม่เพนกวิ้น ร่วม เดินทะลุฟ้า เรียกร้องให้ปล่อยลูก และนักโทษทางการเมือง”. สืบค้นจาก https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_5992604(16 มิถุนายน 2564).

[3] “แม่เพนกวินโกนผม หน้าศาลอาญา เรียกร้องความยุติธรรมให้ลูก พร้อมระบุ อาการลูกวิกฤต ไม่สามารถให้น้ำเกลือได้แล้ว” . สืบค้นจาก https://thematter.co/brief/141711/141711(16 มิถุนายน 2564).

[4] “"แม่เพนกวิน" โกนหัวเรียกร้องความยุติธรรมให้ลูก ก่อนยื่นขอประกันตัวอีกรอบ”. สืบค้นจาก https://www.thairath.co.th/news/ local/bangkok/2081253(16 มิถุนายน 2564).

[5] “ ‘แม่เพนกวิน’ หลั่งน้ำตา โกนหัว ร้องขอความเป็นธรรม คืนสิทธิประกันตัวให้ลูก”. สืบค้นจาก https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_2699613(16 มิถุนายน 2564).

[6] “เพื่อแม่-เพื่อศิษย์ สปิริตสองอาจารย์ โกนหัว-ตอบโต้รัฐมนตรี”. สืบค้นจาก https://voicetv.co.th/read/bYj1QH2Rp(24 มิถุนายน 2564).

[7] “ศาลให้ประกันตัว "เพนกวิน-แอมมี่" หลังยอมรับ 4 เงื่อนไข”. สืบค้นจาก https://news.thaipbs.or.th/content/304247(24 มิถุนายน 2564).

[8] “"คณะราษมัม" ตากฝน ทำกิจกรรม "ยืน หยุด ขัง 112 นาที" ร้องประกัน แกนนำม็อบ”. สืบค้นจาก https://www.thairath.co.th/ news/politic/2067708(16 มิถุนายน 2564).

[9] “แม่เพนกวิน โกนผม เรียกร้องปล่อยตัวลูกชาย ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว เพื่อนำไปรักษายังโรงพยาบาล” . สืบค้นจาก https://www.thereporters.co/tw-politics/300420211634/(24 มิถุนายน 2564).

[10] “ราษมัม ‘ยืน หยุด ขัง’ หน้าเรือนจำ สัปดาห์ที่ 3 แม่เพนกวินมีความหวังว่าลูกชายจะได้ประกัน”. สืบค้นจาก https://thestandard.co/ stand-stop-caged-week-3-hope-will-get-bailed/(24 มิถุนายน 2564).

[11] ประจักษ์ ก้องกีรติ.“เราจะยืนจนกว่าจะล้มลง” : การต่อสู้ของ ‘ราษมัม’”. สืบค้นจาก https://decode.plus/20210501/(16 มิถุนายน 2564) และ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน “HISTORY OF ABUELAS DE PLAZA DE MAYO” . สืบค้นจาก https://abuelas.org.ar/idiomas/english/ history.htm(24 มิถุนายน 2564).

[12] “คณะราษแดนซ์” ประชาชนผู้เปลี่ยนถนนเป็นฟลอร์แห่งเสรีภาพ”. สืบค้นจาก https://www.sanook.com/news/8304210/(24 มิถุนายน 2564).

[13] “คณะราษเก็ต” ราษฎรผู้ไถสเก็ตท้าทายอำนาจรัฐ”. สืบค้นจาก https://www.sanook.com/news/8294462/(24 มิถุนายน 2564).