ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รัฐประหาร 2534 (รสช.)"
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 6: | บรรทัดที่ 6: | ||
| | ||
รัฐประหาร พ.ศ. 2534 โดย[[คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ|คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ]] หรือ '''รสช. (National Peace Keeping Council - NPKC)''' เกิดเมื่อ วันเสาร์ที่ [[23_กุมภาพันธ์_พ.ศ._2534]] เป็นการยึดอำนาจจากรัฐบาล พลเอก[[ชาติชาย_ชุณหะวัณ|ชาติชาย_ชุณหะวัณ]] ในวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2533 กองบัญชาการทหารสูงสุดแถลงการณ์ยึดรถโมบายยูนิตขององค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อสมท.) ซึ่งจอดอยู่บริเวณวัดไผ่เลี้ยง เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร เพราะต้องสงสัยทำให้ระบบสื่อสารของทหารถูกรบกวน เมื่อองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทยได้ขอทวงรถคืน แต่ถูกปฏิเสธจากพลเอก[[สุนทร_คงสมพงษ์|สุนทร_คงสมพงษ์]] ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ร้อยตำรวจเอก[[เฉลิม_อยู่บำรุง|เฉลิม_อยู่บำรุง]] รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคมวลชน จึงได้ให้สัมภาษณ์โจมตีพลเอกสุนทร เมื่อมีข่าวแพร่ออกไปว่าพรรคมวลชนทำหนังสือถึงสมาชิกให้เดินทางมาชุมนุมที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อให้กำลังใจร้อยตำรวจเอกเฉลิม พลเอก[[สุจินดา_คราประยูร|สุจินดา_คราประยูร]] ผู้บัญชาการทหารบก ได้อาศัยอำนาจของผู้อำนวยการรักษาพระนคร ออกคำสั่งที่ 43/2533 ตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน พ.ศ. 2519 ห้ามชุมนุมที่ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของความขัดแย้งที่ชัดเจนระหว่างรัฐบาลพลเอกชาติชายกับกลุ่มทหาร จปร. 5 ในเวลาต่อมา | |||
| การรัฐประหารใน วันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 เดิมทีคณะ รสช. ได้เตรียมการจะจับตัว พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ และพลเอก[[อาทิตย์_กำลังเอก|อาทิตย์_กำลังเอก]] ที่สนามบินกองทัพอากาศ (บน.6) ในเวลา 19.30 น. หลังจากการเข้าเฝ้าฯ พร้อมกับการเคลื่อนกำลังทหารเข้ายึดจุดสำคัญทั่วกรุงเทพมหานคร แต่แผนกลับเปลี่ยนแปลงในเช้าวันนั้น ซึ่งนายทหารที่ร่วมปฏิบัติการส่วนใหญ่เป็นทหารอากาศ เวลา 11.00 น. พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ พลเอกอาทิตย์ กำลังเอก เดินทางถึงห้องรับรองพร้อมหน่วยรักษาความปลอดภัยประมาณ 20 นาย ก่อนที่จะขึ้นเครื่องบิน ซี 130 ที่จอดพร้อมอยู่แล้ว ซึ่งนายกรัฐมนตรี พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ พลเอกอาทิตย์ กำลังเอก นายอนันต์ อนันตกูล เลขาธิการคณะรัฐมนตรีและปลัดกระทรวงมหาดไทยนั่งบริเวณที่นั่งวีไอพี ส่วนหน่วยรักษาความปลอดภัยถูกแยกไปอยู่ตอนท้ายของเครื่องทันทีที่เครื่องบิน ซี 130 เคลื่อนตัว ทหารบนเครื่องบินได้ควบคุมหน่วยรักษาความปลอดภัยทั้ง 20 คนเอาไว้พร้อม ๆ กับที่เครื่องบินลดความเร็วลงและ พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ อยู่ในสภาพถูกควบคุมตัวเรียบร้อย ขณะที่การปฏิบัติการเป็นไปตามแผนที่วางไว้ กำลังทหารบกก็เคลื่อนออกประจำจุดต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ พลอากาศเอกเกษตร โรจนนิล ผู้บัญชาการทหารอากาศ สมทบกับ พลเอกสุจินดา คราประยูร ผู้บัญชาการทหารบก พลเรือเอกประพัฒน์ กฤษณจันทร์ ผู้บัญชาการทหารเรือ และพลเอกสุนทร คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดออกแถลงการณ์กับประชาชนในเวลาต่อมา | ||
พลเอกสุจินดา คราประยูร ซึ่งเป็นผู้มีบทบาทมากที่สุดในครั้งนั้นกล่าวกับบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์ทุกฉบับในเช้าวันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 ว่า ''เราเห็นว่าระบอบนี้ ถ้าจะดำเนินการต่อไปนั้น บ้านเมืองก็จะมีแต่ความล่มจม เพราะว่าทุกพรรคหรือนักการเมืองที่เข้ามา ต่างคนต่างฝ่ายก็มุ่งหน้าหาเงินเข้าพรรค เพื่อจะใช้ในการเลือกตั้ง เพื่อจะเอาชนะในการเลือกตั้ง'' จนมีคำกล่าวกันว่าคณะรัฐมนตรีแบบที่เป็นอยู่นั้น เขาเรียกว่า '''"บุฟเฟต์ คาบิเน็ต"''' คือเข้ามาเพื่อแย่งกันกิน[[#_ftn1|<sup><sup>[1]</sup></sup>]] | พลเอกสุจินดา คราประยูร ซึ่งเป็นผู้มีบทบาทมากที่สุดในครั้งนั้นกล่าวกับบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์ทุกฉบับในเช้าวันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 ว่า ''เราเห็นว่าระบอบนี้ ถ้าจะดำเนินการต่อไปนั้น บ้านเมืองก็จะมีแต่ความล่มจม เพราะว่าทุกพรรคหรือนักการเมืองที่เข้ามา ต่างคนต่างฝ่ายก็มุ่งหน้าหาเงินเข้าพรรค เพื่อจะใช้ในการเลือกตั้ง เพื่อจะเอาชนะในการเลือกตั้ง'' จนมีคำกล่าวกันว่าคณะรัฐมนตรีแบบที่เป็นอยู่นั้น เขาเรียกว่า '''"บุฟเฟต์ คาบิเน็ต"''' คือเข้ามาเพื่อแย่งกันกิน[[#_ftn1|<sup><sup>[1]</sup></sup>]] | ||
บรรทัดที่ 18: | บรรทัดที่ 16: | ||
ในสมัย รสช. มีความเคลื่อนไหวจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นใหม่ ในช่วงแรกเรียกกันติดปากว่า '''“พรรคทหาร”''' กระทั่งได้ชื่อว่า '''“พรรคสามัคคีธรรม”''' หลังจากนายณรงค์ วงศ์วรรณ พ้นจากการถูกอายัดทรัพย์โดยประกาศ รสช. ก็ได้รับเลือกให้เป็นหัวหน้าพรรคสามัคคีธรรม พรรคการเมืองเดิม เช่น '''พรรคชาติไทย''' '''พรรคกิจสังคม''' ต่างได้เปลี่ยนแปลงตำแหน่งสำคัญของพรรคโดยเฉพาะมีบุคคลซึ่งใกล้ชิดคณะ คสช. เข้ามาดำรงตำแหน่งสำคัญของพรรค หลังการเลือกตั้งทั่วไปใน วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 พรรคการเมือง 5 พรรค คือ '''พรรคสามัคคีธรรม พรรคชาติไทย พรรคกิจสังคม พรรคประชากรไทย''' และ'''พรรคราษฎร''' ร่วมกันจัดตั้งรัฐบาลและสนับสนุนให้ พลเอก สุจินดา คราประยูร เป็นนายกรัฐมนตรี ก่อนหน้านั้น พรรคร่วม 5 พรรค ประกาศสนับสนุน ณรงค์ วงศ์วรรณ หัวหน้าพรรคสามัคคีธรรม ซึ่งมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากที่สุด แต่โฆษกกระทรวงต่างประเทศสหรัฐอเมริกาแถลงข่าวว่า ณรงค์ วงศ์วรรณ ติดบัญชีดำถูกห้ามเข้าสหรัฐอเมริกา เนื่องจากพัวพันกับขบวนการค้ายาเสพติด[[#_ftn2|<sup><sup>[2]</sup></sup>]] | ในสมัย รสช. มีความเคลื่อนไหวจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นใหม่ ในช่วงแรกเรียกกันติดปากว่า '''“พรรคทหาร”''' กระทั่งได้ชื่อว่า '''“พรรคสามัคคีธรรม”''' หลังจากนายณรงค์ วงศ์วรรณ พ้นจากการถูกอายัดทรัพย์โดยประกาศ รสช. ก็ได้รับเลือกให้เป็นหัวหน้าพรรคสามัคคีธรรม พรรคการเมืองเดิม เช่น '''พรรคชาติไทย''' '''พรรคกิจสังคม''' ต่างได้เปลี่ยนแปลงตำแหน่งสำคัญของพรรคโดยเฉพาะมีบุคคลซึ่งใกล้ชิดคณะ คสช. เข้ามาดำรงตำแหน่งสำคัญของพรรค หลังการเลือกตั้งทั่วไปใน วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 พรรคการเมือง 5 พรรค คือ '''พรรคสามัคคีธรรม พรรคชาติไทย พรรคกิจสังคม พรรคประชากรไทย''' และ'''พรรคราษฎร''' ร่วมกันจัดตั้งรัฐบาลและสนับสนุนให้ พลเอก สุจินดา คราประยูร เป็นนายกรัฐมนตรี ก่อนหน้านั้น พรรคร่วม 5 พรรค ประกาศสนับสนุน ณรงค์ วงศ์วรรณ หัวหน้าพรรคสามัคคีธรรม ซึ่งมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากที่สุด แต่โฆษกกระทรวงต่างประเทศสหรัฐอเมริกาแถลงข่าวว่า ณรงค์ วงศ์วรรณ ติดบัญชีดำถูกห้ามเข้าสหรัฐอเมริกา เนื่องจากพัวพันกับขบวนการค้ายาเสพติด[[#_ftn2|<sup><sup>[2]</sup></sup>]] | ||
พลเอกสุจินดา คราประยูร ได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 19 ของประเทศไทยเมื่อ วันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2535 เมื่อเข้าดำรงตำแหน่งกล่าวว่า '''“เสียสัตย์เพื่อชาติ”''' ทั้งที่เคยพูดว่าจะไม่รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จึงถูกคัดค้านจากกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองหลายกลุ่ม เช่น ร้อยตรีฉลาด วรฉัตร และพลตรี [[จำลอง_ศรีเมือง|จำลอง_ศรีเมือง]] เป็นผู้นำการชุมนุมของประชาชนเพื่อเรียกร้องให้พลเอกสุจินดาลาออก เนื่องจากเป็นการสืบทอดอำนาจเผด็จการ รสช. | พลเอกสุจินดา คราประยูร ได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 19 ของประเทศไทยเมื่อ วันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2535 เมื่อเข้าดำรงตำแหน่งกล่าวว่า '''“เสียสัตย์เพื่อชาติ”''' ทั้งที่เคยพูดว่าจะไม่รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จึงถูกคัดค้านจากกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองหลายกลุ่ม เช่น ร้อยตรีฉลาด วรฉัตร และพลตรี [[จำลอง_ศรีเมือง|จำลอง_ศรีเมือง]] เป็นผู้นำการชุมนุมของประชาชนเพื่อเรียกร้องให้พลเอกสุจินดาลาออก เนื่องจากเป็นการสืบทอดอำนาจเผด็จการ รสช. จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์พฤษภาประชาธรรมขึ้น ระหว่างวันที่ 17 พฤษภาคม ถึง 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 พลเอกสุจินดาจึงลาออกจากตำแหน่งเมื่อ วันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 เพื่อให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นไปโดยอิสระและเพื่อแสดงความรับผิดชอบทางการเมือง นาย[[มีชัย_ฤชุพันธุ์|มีชัย_ฤชุพันธุ์]] รองนายกรัฐมนตรีได้รักษาการแทนนายกรัฐมนตรี จนกระทั่งมีการแต่งตั้ง นาย[[อานันท์_ปันยารชุน|อานันท์_ปันยารชุน]] นายกรัฐมนตรีคนใหม่ใน วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2535 คณะรัฐมนตรีคณะที่ 48 ของรัฐบาลพลเอกสุจินดา คราประยูร จึงพ้นจากตำแหน่งไปตามวาระ[[#_ftn3|<sup><sup>[3]</sup></sup>]] นำไปสู่การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2535 และมีการยุบสภาจัดการเลือกตั้งใหม่ใน วันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2535 หรือที่นิยมเรียกกันสั้น ๆ ว่า การเลือกตั้ง 35/2 ซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดการสืบทอดอำนาจของคณะ รสช. หลังการรัฐประหาร พ.ศ. 2534 ในท้ายที่สุด | ||
| |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:13, 15 มิถุนายน 2565
ผู้เรียบเรียง : รองศาสตราจารย์ ดร.ยุทธพร อิสรชัย
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : ศาสตราจารย์พิเศษ นรนิติ เศรษฐบุตร
รัฐประหาร พ.ศ. 2534 โดยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ หรือ รสช. (National Peace Keeping Council - NPKC) เกิดเมื่อ วันเสาร์ที่ 23_กุมภาพันธ์_พ.ศ._2534 เป็นการยึดอำนาจจากรัฐบาล พลเอกชาติชาย_ชุณหะวัณ ในวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2533 กองบัญชาการทหารสูงสุดแถลงการณ์ยึดรถโมบายยูนิตขององค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อสมท.) ซึ่งจอดอยู่บริเวณวัดไผ่เลี้ยง เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร เพราะต้องสงสัยทำให้ระบบสื่อสารของทหารถูกรบกวน เมื่อองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทยได้ขอทวงรถคืน แต่ถูกปฏิเสธจากพลเอกสุนทร_คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ร้อยตำรวจเอกเฉลิม_อยู่บำรุง รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคมวลชน จึงได้ให้สัมภาษณ์โจมตีพลเอกสุนทร เมื่อมีข่าวแพร่ออกไปว่าพรรคมวลชนทำหนังสือถึงสมาชิกให้เดินทางมาชุมนุมที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อให้กำลังใจร้อยตำรวจเอกเฉลิม พลเอกสุจินดา_คราประยูร ผู้บัญชาการทหารบก ได้อาศัยอำนาจของผู้อำนวยการรักษาพระนคร ออกคำสั่งที่ 43/2533 ตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน พ.ศ. 2519 ห้ามชุมนุมที่ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของความขัดแย้งที่ชัดเจนระหว่างรัฐบาลพลเอกชาติชายกับกลุ่มทหาร จปร. 5 ในเวลาต่อมา
การรัฐประหารใน วันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 เดิมทีคณะ รสช. ได้เตรียมการจะจับตัว พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ และพลเอกอาทิตย์_กำลังเอก ที่สนามบินกองทัพอากาศ (บน.6) ในเวลา 19.30 น. หลังจากการเข้าเฝ้าฯ พร้อมกับการเคลื่อนกำลังทหารเข้ายึดจุดสำคัญทั่วกรุงเทพมหานคร แต่แผนกลับเปลี่ยนแปลงในเช้าวันนั้น ซึ่งนายทหารที่ร่วมปฏิบัติการส่วนใหญ่เป็นทหารอากาศ เวลา 11.00 น. พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ พลเอกอาทิตย์ กำลังเอก เดินทางถึงห้องรับรองพร้อมหน่วยรักษาความปลอดภัยประมาณ 20 นาย ก่อนที่จะขึ้นเครื่องบิน ซี 130 ที่จอดพร้อมอยู่แล้ว ซึ่งนายกรัฐมนตรี พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ พลเอกอาทิตย์ กำลังเอก นายอนันต์ อนันตกูล เลขาธิการคณะรัฐมนตรีและปลัดกระทรวงมหาดไทยนั่งบริเวณที่นั่งวีไอพี ส่วนหน่วยรักษาความปลอดภัยถูกแยกไปอยู่ตอนท้ายของเครื่องทันทีที่เครื่องบิน ซี 130 เคลื่อนตัว ทหารบนเครื่องบินได้ควบคุมหน่วยรักษาความปลอดภัยทั้ง 20 คนเอาไว้พร้อม ๆ กับที่เครื่องบินลดความเร็วลงและ พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ อยู่ในสภาพถูกควบคุมตัวเรียบร้อย ขณะที่การปฏิบัติการเป็นไปตามแผนที่วางไว้ กำลังทหารบกก็เคลื่อนออกประจำจุดต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ พลอากาศเอกเกษตร โรจนนิล ผู้บัญชาการทหารอากาศ สมทบกับ พลเอกสุจินดา คราประยูร ผู้บัญชาการทหารบก พลเรือเอกประพัฒน์ กฤษณจันทร์ ผู้บัญชาการทหารเรือ และพลเอกสุนทร คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดออกแถลงการณ์กับประชาชนในเวลาต่อมา
พลเอกสุจินดา คราประยูร ซึ่งเป็นผู้มีบทบาทมากที่สุดในครั้งนั้นกล่าวกับบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์ทุกฉบับในเช้าวันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 ว่า เราเห็นว่าระบอบนี้ ถ้าจะดำเนินการต่อไปนั้น บ้านเมืองก็จะมีแต่ความล่มจม เพราะว่าทุกพรรคหรือนักการเมืองที่เข้ามา ต่างคนต่างฝ่ายก็มุ่งหน้าหาเงินเข้าพรรค เพื่อจะใช้ในการเลือกตั้ง เพื่อจะเอาชนะในการเลือกตั้ง จนมีคำกล่าวกันว่าคณะรัฐมนตรีแบบที่เป็นอยู่นั้น เขาเรียกว่า "บุฟเฟต์ คาบิเน็ต" คือเข้ามาเพื่อแย่งกันกิน[1]
ต่อมามีการออกประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 26 ลงนามโดย พลเอกสุนทร คงสมพงษ์ ก็ปรากฏออกมา แต่งตั้งให้ พลเอกสิทธิ จิรโรจน์ อดีตรัฐมนตรีว่ากระทรวงมหาดไทย เป็นประธานกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน ให้อำนาจในการอายัดและห้ามจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สินของนักการเมืองที่มีพฤติกรรมอันอาจส่อแสดงว่ามีทรัพย์สินร่ำรวยผิดปรกติ
ในสมัย รสช. มีความเคลื่อนไหวจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นใหม่ ในช่วงแรกเรียกกันติดปากว่า “พรรคทหาร” กระทั่งได้ชื่อว่า “พรรคสามัคคีธรรม” หลังจากนายณรงค์ วงศ์วรรณ พ้นจากการถูกอายัดทรัพย์โดยประกาศ รสช. ก็ได้รับเลือกให้เป็นหัวหน้าพรรคสามัคคีธรรม พรรคการเมืองเดิม เช่น พรรคชาติไทย พรรคกิจสังคม ต่างได้เปลี่ยนแปลงตำแหน่งสำคัญของพรรคโดยเฉพาะมีบุคคลซึ่งใกล้ชิดคณะ คสช. เข้ามาดำรงตำแหน่งสำคัญของพรรค หลังการเลือกตั้งทั่วไปใน วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 พรรคการเมือง 5 พรรค คือ พรรคสามัคคีธรรม พรรคชาติไทย พรรคกิจสังคม พรรคประชากรไทย และพรรคราษฎร ร่วมกันจัดตั้งรัฐบาลและสนับสนุนให้ พลเอก สุจินดา คราประยูร เป็นนายกรัฐมนตรี ก่อนหน้านั้น พรรคร่วม 5 พรรค ประกาศสนับสนุน ณรงค์ วงศ์วรรณ หัวหน้าพรรคสามัคคีธรรม ซึ่งมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากที่สุด แต่โฆษกกระทรวงต่างประเทศสหรัฐอเมริกาแถลงข่าวว่า ณรงค์ วงศ์วรรณ ติดบัญชีดำถูกห้ามเข้าสหรัฐอเมริกา เนื่องจากพัวพันกับขบวนการค้ายาเสพติด[2]
พลเอกสุจินดา คราประยูร ได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 19 ของประเทศไทยเมื่อ วันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2535 เมื่อเข้าดำรงตำแหน่งกล่าวว่า “เสียสัตย์เพื่อชาติ” ทั้งที่เคยพูดว่าจะไม่รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จึงถูกคัดค้านจากกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองหลายกลุ่ม เช่น ร้อยตรีฉลาด วรฉัตร และพลตรี จำลอง_ศรีเมือง เป็นผู้นำการชุมนุมของประชาชนเพื่อเรียกร้องให้พลเอกสุจินดาลาออก เนื่องจากเป็นการสืบทอดอำนาจเผด็จการ รสช. จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์พฤษภาประชาธรรมขึ้น ระหว่างวันที่ 17 พฤษภาคม ถึง 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 พลเอกสุจินดาจึงลาออกจากตำแหน่งเมื่อ วันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 เพื่อให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นไปโดยอิสระและเพื่อแสดงความรับผิดชอบทางการเมือง นายมีชัย_ฤชุพันธุ์ รองนายกรัฐมนตรีได้รักษาการแทนนายกรัฐมนตรี จนกระทั่งมีการแต่งตั้ง นายอานันท์_ปันยารชุน นายกรัฐมนตรีคนใหม่ใน วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2535 คณะรัฐมนตรีคณะที่ 48 ของรัฐบาลพลเอกสุจินดา คราประยูร จึงพ้นจากตำแหน่งไปตามวาระ[3] นำไปสู่การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2535 และมีการยุบสภาจัดการเลือกตั้งใหม่ใน วันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2535 หรือที่นิยมเรียกกันสั้น ๆ ว่า การเลือกตั้ง 35/2 ซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดการสืบทอดอำนาจของคณะ รสช. หลังการรัฐประหาร พ.ศ. 2534 ในท้ายที่สุด
อ้างอิง
[1] วิกิพีเดีย. รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. '2534.' สืบค้นเมื่อ 20 Aug 2021 จาก https://th.wikipedia.org/wiki/รัฐประหารในประเทศไทย_พ.ศ._2534
[2] เรื่องเดียวกัน
[3] วิกิพีเดีย. สุจินดา คราประยูร. สืบค้นเมื่อ 20 Aug 2021 จาก https://th.wikipedia.org/wiki/สุจินดา_คราประยูร