ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์)"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 8: บรรทัดที่ 8:
<u>'''นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์)'''</u>
<u>'''นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์)'''</u>


&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; “พี่วร ฯ” เป็นชื่อที่ข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศ และสมาชิกสโมสรสราญรมย์ในยุคเริ่มแรกมีความคุ้นชินเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นชื่อที่ใช้เรียกอดีตรัฐมนตรี ผู้ที่มีความผูกพันกับกระทรวงการต่างประเทศอย่างยิ่ง นั่นคือ “นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์)” นักการเมืองผู้เคยผ่านมาในหลายตำแหน่ง นับตั้งแต่มหาดเล็กห้องที่พระบรรทมในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ตลอดจนการเป็นนักการเมืองท้องถิ่น ในตำแหน่ง “นายกเทศมนตรีเทศบาลนครเชียงใหม่” ซึ่งนับว่าเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งแรกของประเทศไทย ก่อนที่จะก้าวเข้าสู่การเมืองในระดับชาติ โดยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงรายหลายสมัย นอกจากนี้นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) ยังเป็นบุคคลที่ร่วมงานใกล้ชิดกับ[[ป_พิบูลสงคราม|จอมพล ป. พิบูลสงคราม]]มาโดยตลอด จนกระทั่งจอมพล ป. สิ้นสุดบทบาททางการเมืองลงไป ส่งให้บทบาทของนายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) เงียบหายไปด้วย ทว่าชื่อของนายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) กลับมาอีกครั้ง ในฐานะ “ประธานรัฐสภา” อันเป็นประมุขของฝ่ายนิติบัญญัติ และเป็นตำแหน่งสุดท้ายในทางการเมืองของนายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) ด้วยเช่นกัน
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; “พี่วร ฯ” เป็นชื่อที่ข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศ และสมาชิกสโมสรสราญรมย์ในยุคเริ่มแรกมีความคุ้นชินเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นชื่อที่ใช้เรียกอดีต[[รัฐมนตรี|รัฐมนตรี]] ผู้ที่มีความผูกพันกับกระทรวงการต่างประเทศอย่างยิ่ง นั่นคือ “นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์)” นักการเมืองผู้เคยผ่านมาในหลายตำแหน่ง นับตั้งแต่มหาดเล็กห้องที่พระบรรทมใน[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว|พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ตลอดจนการเป็น[[นักการเมืองท้องถิ่น|นักการเมืองท้องถิ่น]] ในตำแหน่ง “[[นายกเทศมนตรี|นายกเทศมนตรี]]เทศบาลนครเชียงใหม่” ซึ่งนับว่าเป็น[[องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น|องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น]]แห่งแรกของประเทศไทย ก่อนที่จะก้าวเข้าสู่การเมืองในระดับชาติ โดยเป็น[[สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร|สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร]]จังหวัดเชียงรายหลายสมัย นอกจากนี้นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) ยังเป็นบุคคลที่ร่วมงานใกล้ชิดกับ[[ป_พิบูลสงคราม|จอมพล ป. พิบูลสงคราม]]มาโดยตลอด จนกระทั่งจอมพล ป. สิ้นสุดบทบาททางการเมืองลงไป ส่งให้บทบาทของนายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) เงียบหายไปด้วย ทว่าชื่อของนายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) กลับมาอีกครั้ง ในฐานะ “ประธานรัฐสภา” อันเป็นประมุขของ[[ฝ่ายนิติบัญญัติ|ฝ่ายนิติบัญญัติ]] และเป็นตำแหน่งสุดท้ายในทางการเมืองของนายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) ด้วยเช่นกัน


'''<u>ประวัติการศึกษาและชีวิตครอบครัว</u>'''
'''<u>ประวัติการศึกษาและชีวิตครอบครัว</u>'''
บรรทัดที่ 14: บรรทัดที่ 14:
นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) เกิดเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2446 ณ บ้านริมแม่น้ำปิง ตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ (ปัจจุบันเป็นจวนผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่) เป็นบุตรคนแรกของพระพิจิตรโอสถ (รอด สุตันตานนท์) และเจ้ากาบแก้ว ณ ลำพูน (เชื้อสายเจ้าเมืองลำพูน)[[#_ftn2|[2]]]
นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) เกิดเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2446 ณ บ้านริมแม่น้ำปิง ตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ (ปัจจุบันเป็นจวนผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่) เป็นบุตรคนแรกของพระพิจิตรโอสถ (รอด สุตันตานนท์) และเจ้ากาบแก้ว ณ ลำพูน (เชื้อสายเจ้าเมืองลำพูน)[[#_ftn2|[2]]]


&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) เริ่มเข้ารับการศึกษา ณ โรงเรียนมหาดเล็กหลวง จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2459 หลังจากนั้นได้เดินทางเข้ามาศึกษาต่อ ณ โรงเรียนมหาดเล็กหลวง กรุงเทพมหานคร (ปัจจุบันคือโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย) จนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 8 ตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ ในปี พ.ศ. 2462 ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบ จึงมีรับสั่งให้เบิกตัวเข้าเฝ้า และแต่งตั้งให้เป็น “นายรองสนิท” มหาดเล็กห้องที่พระบรรทม เมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2463 ต่อมาในวันที่ 20 เมษายน ทรงมอบหมายให้อยู่ในความดูแลหรืออีกนัยหนึ่งคือเป็นบุตรบุญธรรมของพระยาอนิรุทธเทวา (หม่อมหลวงฟื้น พึ่งบุญ)[[#_ftn3|[3]]]
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) เริ่มเข้ารับการศึกษา ณ โรงเรียนมหาดเล็กหลวง จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2459 หลังจากนั้นได้เดินทางเข้ามาศึกษาต่อ ณ โรงเรียนมหาดเล็กหลวง กรุงเทพมหานคร (ปัจจุบันคือโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย) จนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 8 ตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ ในปี พ.ศ. 2462 ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบ จึงมีรับสั่งให้เบิกตัวเข้าเฝ้า และแต่งตั้งให้เป็น “นายรองสนิท” มหาดเล็กห้องที่พระบรรทม เมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2463 ต่อมาในวันที่ 20 เมษายน ทรงมอบหมายให้อยู่ในความดูแลหรืออีกนัยหนึ่งคือเป็นบุตรบุญธรรมของ[[พระยาอนิรุทธเทวา|พระยาอนิรุทธเทวา]] (หม่อมหลวงฟื้น พึ่งบุญ)[[#_ftn3|[3]]]


&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) ปฏิบัติราชการเป็นที่ต้องพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นอย่างยิ่ง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) ไปศึกษาต่อวิชาการแพทย์ ณ ประเทศอังกฤษ ด้วยทุนส่วนพระองค์ เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2465 กระทั่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต จึงได้เดินทางกลับประเทศไทย[[#_ftn4|[4]]]
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) ปฏิบัติราชการเป็นที่ต้องพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นอย่างยิ่ง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) ไปศึกษาต่อวิชาการแพทย์ ณ ประเทศอังกฤษ ด้วยทุนส่วนพระองค์ เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2465 กระทั่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต จึงได้เดินทางกลับประเทศไทย[[#_ftn4|[4]]]
บรรทัดที่ 28: บรรทัดที่ 28:
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ในปี พ.ศ. 2476 ได้เดินทางกลับภูมิลำเนา ในจังหวัดเชียงใหม่ จนศึกษาวิชากฎหมายได้เนติบัณฑิต ต่อมาในปี พ.ศ. 2478&nbsp; ได้รับฐานะจากสุขาภิบาลเมืองเชียงใหม่ขึ้นเป็น “เทศบาลนครเชียงใหม่” มีพื้นที่รับผิดชอบ 17.50 ตารางกิโลเมตร มีอำนาจหน้าที่ตามบทบัญญัติในพระราชบัญญัติจัดระเบียบเทศบาล พ.ศ. 2476 ทุกประการนับเป็น “เทศบาลนครแห่งแรกในประเทศไทย”[[#_ftn9|[9]]] ในการนี้นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) ได้ดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีเทศบาลนครเชียงใหม่เป็นคนแรก โดยอยู่ในตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2479 ถึงวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2480[[#_ftn10|[10]]] และเป็นผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นคนแรกของประเทศไทยด้วย[[#_ftn11|[11]]]
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ในปี พ.ศ. 2476 ได้เดินทางกลับภูมิลำเนา ในจังหวัดเชียงใหม่ จนศึกษาวิชากฎหมายได้เนติบัณฑิต ต่อมาในปี พ.ศ. 2478&nbsp; ได้รับฐานะจากสุขาภิบาลเมืองเชียงใหม่ขึ้นเป็น “เทศบาลนครเชียงใหม่” มีพื้นที่รับผิดชอบ 17.50 ตารางกิโลเมตร มีอำนาจหน้าที่ตามบทบัญญัติในพระราชบัญญัติจัดระเบียบเทศบาล พ.ศ. 2476 ทุกประการนับเป็น “เทศบาลนครแห่งแรกในประเทศไทย”[[#_ftn9|[9]]] ในการนี้นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) ได้ดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีเทศบาลนครเชียงใหม่เป็นคนแรก โดยอยู่ในตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2479 ถึงวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2480[[#_ftn10|[10]]] และเป็นผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นคนแรกของประเทศไทยด้วย[[#_ftn11|[11]]]


&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; สำหรับตำแหน่งทางการเมืองนั้น นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) ได้เริ่มต้นจากการเป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในช่วงปี พ.ศ. 2487-2489 และ พ.ศ. 2490-2491 ต่อมาได้รวมในคณะรัฐมนตรีของจอมพล ป. พิบูลสงคราม โดยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีสั่งราชการกระทรวงการต่างประเทศ ในวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2491 จนกระทั่งถึงวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2491 จากนั้นได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีสั่งราชการกระทรวงคมนาคม ตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2491 จนกระทั่งถึงวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2492 ต่อมาได้แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ระหว่างวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2492 ถึงวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2493 และได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กระทั่งถึงวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2495[[#_ftn12|[12]]] และได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ จนถึงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2497 จากนั้นนายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) ได้ขยับขึ้นไปดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี จนกระทั่งถึงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 จากนั้นนายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) ได้เข้ามาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2500 จนกระทั่งถึงวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2500[[#_ftn13|[13]]] ซึ่งพ้นจากตำแหน่งโดยการยึดอำนาจของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทำให้อำนาจทางการเมืองของจอมพล ป. พิบูลสงคราม หมดลงอย่างสิ้นเชิง ส่งผลให้นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) ไม่ได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีอีกเลย
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; สำหรับตำแหน่งทางการเมืองนั้น นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) ได้เริ่มต้นจากการเป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในช่วงปี พ.ศ. 2487-2489 และ พ.ศ. 2490-2491 ต่อมาได้รวมในคณะรัฐมนตรีของจอมพล ป. พิบูลสงคราม โดยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีสั่งราชการกระทรวงการต่างประเทศ ในวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2491 จนกระทั่งถึงวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2491 จากนั้นได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีสั่งราชการกระทรวงคมนาคม ตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2491 จนกระทั่งถึงวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2492 ต่อมาได้แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ระหว่างวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2492 ถึงวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2493 และได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กระทั่งถึงวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2495[[#_ftn12|[12]]] และได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ จนถึงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2497 จากนั้นนายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) ได้ขยับขึ้นไปดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี จนกระทั่งถึงวันที่ [[26_กุมภาพันธ์_พ.ศ._2500]] จากนั้นนายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) ได้เข้ามาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2500 จนกระทั่งถึงวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2500[[#_ftn13|[13]]] ซึ่งพ้นจากตำแหน่งโดยการยึดอำนาจของ[[จอมพล_สฤษดิ์_ธนะรัชต์|จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์]] ทำให้อำนาจทางการเมืองของจอมพล ป. พิบูลสงคราม หมดลงอย่างสิ้นเชิง ส่งผลให้นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) ไม่ได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีอีกเลย


&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ในส่วนของการดำรงตำแหน่งในฝ่ายนิติบัญญัตินั้น นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหลายสมัย โดยสมัครรับเลือกตั้งในเขตจังหวัดเชียงราย เริ่มจากในการเลือกตั้ง วันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2480 เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเชียงราย เขต 2 ต่อมาในการเลือกตั้ง วันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเชียงราย เขต 2 สมัยที่สอง ในการเลือกตั้งวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2491 เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเชียงราย ในการเลือกตั้งวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495 เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประเภทที่ 1 จังหวัดเชียงราย ในการเลือกตั้งวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเชียงราย สังกัดพรรคเสรีมนังคศิลา และในการเลือกตั้งวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2500 เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเชียงราย สังกัดพรรคเสรีมนังคศิลา[[#_ftn14|[14]]] นอกจากนี้นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) ยังเคยดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา ระหว่างปี พ.ศ. 2511-2514 โดยได้รับการแต่งตั้งให้เป็นประธานวุฒิสภา ตั้งแต่วันที่ 22 กรกฏาคม พ.ศ. 2511 ถึงวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 และเป็น “ประธานรัฐสภา” โดยตำแหน่งด้วย[[#_ftn15|[15]]]
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ในส่วนของการดำรงตำแหน่งในฝ่ายนิติบัญญัตินั้น นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหลายสมัย โดยสมัครรับเลือกตั้งในเขตจังหวัดเชียงราย เริ่มจากในการเลือกตั้ง วันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2480 เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเชียงราย เขต 2 ต่อมาในการเลือกตั้ง วันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเชียงราย เขต 2 สมัยที่สอง ในการเลือกตั้งวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2491 เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเชียงราย ในการเลือกตั้งวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495 เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประเภทที่ 1 จังหวัดเชียงราย ในการเลือกตั้งวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเชียงราย สังกัดพรรคเสรีมนังคศิลา และในการเลือกตั้งวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2500 เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเชียงราย สังกัดพรรคเสรีมนังคศิลา[[#_ftn14|[14]]] นอกจากนี้นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) ยังเคยดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา ระหว่างปี พ.ศ. 2511-2514 โดยได้รับการแต่งตั้งให้เป็นประธานวุฒิสภา ตั้งแต่วันที่ 22 กรกฏาคม พ.ศ. 2511 ถึงวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 และเป็น “ประธานรัฐสภา” โดยตำแหน่งด้วย[[#_ftn15|[15]]]
บรรทัดที่ 40: บรรทัดที่ 40:
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ในส่วนของการเป็นรัฐมนตรีนั้น เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศนั้น นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้ง “สโมสรสราญรมย์” อันเป็นสโมสรของข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศ โดยนายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) ได้ดำรงตำแหน่งนายกสโมสรสราญรมย์เรื่อยมา แม้ว่าจะพ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไปแล้วก็ตาม อีกทั้งยังมีการบริจาคสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ให้กับสโมสรอยู่เป็นระยะ อาทิเช่น โต๊ะบิลเลียด “ตู้เพลง วรการบัญชา” ฯลฯ[[#_ftn17|[17]]] นอกจากนี้ยังได้มีการริเริ่มก่อตั้งหนังสือสราญรมย์ออกมาเพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ของกระทรวงการต่างประเทศ นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) มีความผูกพันกับกระทรวงการต่างประเทศเป็นอย่างมาก และมักจะเชิญชวนข้าราชการรวมถึงเจ้าหน้าที่สโมสรสราญรมย์ไปทานอาหารที่บ้านพักริมคลองประปาอยู่เสมอ ส่งผลให้ทุกคนเรียกท่านว่า “พี่วร ฯ”[[#_ftn18|[18]]] ขณะที่ในช่วงที่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการนั้น ก็มีบทบาทสำคัญในการสร้างความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจให้แก่รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม และเป็นผู้หนึ่งที่มีความใกล้ชิดจอมพล ป. อย่างยิ่ง จนสามารถเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย ในการประชุมสมัชชาสหประชาชาติด้วย[[#_ftn19|[19]]]
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ในส่วนของการเป็นรัฐมนตรีนั้น เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศนั้น นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้ง “สโมสรสราญรมย์” อันเป็นสโมสรของข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศ โดยนายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) ได้ดำรงตำแหน่งนายกสโมสรสราญรมย์เรื่อยมา แม้ว่าจะพ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไปแล้วก็ตาม อีกทั้งยังมีการบริจาคสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ให้กับสโมสรอยู่เป็นระยะ อาทิเช่น โต๊ะบิลเลียด “ตู้เพลง วรการบัญชา” ฯลฯ[[#_ftn17|[17]]] นอกจากนี้ยังได้มีการริเริ่มก่อตั้งหนังสือสราญรมย์ออกมาเพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ของกระทรวงการต่างประเทศ นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) มีความผูกพันกับกระทรวงการต่างประเทศเป็นอย่างมาก และมักจะเชิญชวนข้าราชการรวมถึงเจ้าหน้าที่สโมสรสราญรมย์ไปทานอาหารที่บ้านพักริมคลองประปาอยู่เสมอ ส่งผลให้ทุกคนเรียกท่านว่า “พี่วร ฯ”[[#_ftn18|[18]]] ขณะที่ในช่วงที่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการนั้น ก็มีบทบาทสำคัญในการสร้างความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจให้แก่รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม และเป็นผู้หนึ่งที่มีความใกล้ชิดจอมพล ป. อย่างยิ่ง จนสามารถเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย ในการประชุมสมัชชาสหประชาชาติด้วย[[#_ftn19|[19]]]


&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ในด้านอื่น ๆ นั้น ชื่อของ “นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์)” เป็นที่ไว้วางใจของผู้นำทางการเมืองทั้งหลาย เห็นได้จากการได้รับพระราชทานยศ “พันเอก” ประจำกรมทหารราบที่ 1 รักษาพระองค์ ในปี พ.ศ. 2495[[#_ftn20|[20]]] เนื่องจากได้รับความไว้วางใจจากจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ซึ่งมีอำนาจอย่างมากในขณะนั้น&nbsp; และในช่วงสุดท้ายของชีวิตทางการเมือง นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) ได้รับการแต่งตั้งเป็น “ประธานวุฒิสภา” และเป็น “ประธานรัฐสภา” เนื่องจากเป็นนักการเมืองอาวุโส และเป็นที่เคารพยกย่องของบรรดานักการเมือง นายทหาร และประชาชนทั้งหลาย
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ในด้านอื่น ๆ นั้น ชื่อของ “นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์)” เป็นที่ไว้วางใจของผู้นำทางการเมืองทั้งหลาย เห็นได้จากการได้รับพระราชทานยศ “พันเอก” ประจำกรมทหารราบที่ 1 รักษาพระองค์ ในปี พ.ศ. 2495[[#_ftn20|[20]]] เนื่องจากได้รับความไว้วางใจจากจอมพล ป. พิบูลสงคราม [[นายกรัฐมนตรี|นายกรัฐมนตรี]] ซึ่งมีอำนาจอย่างมากในขณะนั้น&nbsp; และในช่วงสุดท้ายของชีวิตทางการเมือง นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) ได้รับการแต่งตั้งเป็น “[[ประธานวุฒิสภา|ประธานวุฒิสภา]]” และเป็น “[[ประธานรัฐสภา|ประธานรัฐสภา]]” เนื่องจากเป็นนักการเมืองอาวุโส และเป็นที่เคารพยกย่องของบรรดานักการเมือง นายทหาร และประชาชนทั้งหลาย


'''<u>บรรณานุกรม</u>'''
'''<u>บรรณานุกรม</u>'''
บรรทัดที่ 102: บรรทัดที่ 102:
[[#_ftnref20|[20]]] เพิ่งอ้าง, น. (5).
[[#_ftnref20|[20]]] เพิ่งอ้าง, น. (5).
</div> </div>  
</div> </div>  
[[Category:สมาชิกคณะราษฎร]]
&nbsp;
 
[[Category:บุคคลสำคัญด้านอื่นๆ]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:44, 1 ธันวาคม 2562

ผู้เรียบเรียง : ผศ.ดร.อรรถสิทธิ์ พานแก้ว

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ :  ศ.นรนิติ เศรษฐบุตร


“พี่วร ฯ” ซึ่งเป็นคำเรียกชื่อที่บรรดาสมาชิก
สโมสรสราญรมย์ทั้งหลายเรียกท่านด้วยความเคารพรัก
และนับถือโดยบริสุทธิ์ใจ

คำไว้อาลัย...นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์)[1]

นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์)

          “พี่วร ฯ” เป็นชื่อที่ข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศ และสมาชิกสโมสรสราญรมย์ในยุคเริ่มแรกมีความคุ้นชินเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นชื่อที่ใช้เรียกอดีตรัฐมนตรี ผู้ที่มีความผูกพันกับกระทรวงการต่างประเทศอย่างยิ่ง นั่นคือ “นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์)” นักการเมืองผู้เคยผ่านมาในหลายตำแหน่ง นับตั้งแต่มหาดเล็กห้องที่พระบรรทมในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ตลอดจนการเป็นนักการเมืองท้องถิ่น ในตำแหน่ง “นายกเทศมนตรีเทศบาลนครเชียงใหม่” ซึ่งนับว่าเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งแรกของประเทศไทย ก่อนที่จะก้าวเข้าสู่การเมืองในระดับชาติ โดยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงรายหลายสมัย นอกจากนี้นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) ยังเป็นบุคคลที่ร่วมงานใกล้ชิดกับจอมพล ป. พิบูลสงครามมาโดยตลอด จนกระทั่งจอมพล ป. สิ้นสุดบทบาททางการเมืองลงไป ส่งให้บทบาทของนายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) เงียบหายไปด้วย ทว่าชื่อของนายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) กลับมาอีกครั้ง ในฐานะ “ประธานรัฐสภา” อันเป็นประมุขของฝ่ายนิติบัญญัติ และเป็นตำแหน่งสุดท้ายในทางการเมืองของนายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) ด้วยเช่นกัน

ประวัติการศึกษาและชีวิตครอบครัว

นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) เกิดเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2446 ณ บ้านริมแม่น้ำปิง ตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ (ปัจจุบันเป็นจวนผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่) เป็นบุตรคนแรกของพระพิจิตรโอสถ (รอด สุตันตานนท์) และเจ้ากาบแก้ว ณ ลำพูน (เชื้อสายเจ้าเมืองลำพูน)[2]

          นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) เริ่มเข้ารับการศึกษา ณ โรงเรียนมหาดเล็กหลวง จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2459 หลังจากนั้นได้เดินทางเข้ามาศึกษาต่อ ณ โรงเรียนมหาดเล็กหลวง กรุงเทพมหานคร (ปัจจุบันคือโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย) จนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 8 ตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ ในปี พ.ศ. 2462 ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบ จึงมีรับสั่งให้เบิกตัวเข้าเฝ้า และแต่งตั้งให้เป็น “นายรองสนิท” มหาดเล็กห้องที่พระบรรทม เมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2463 ต่อมาในวันที่ 20 เมษายน ทรงมอบหมายให้อยู่ในความดูแลหรืออีกนัยหนึ่งคือเป็นบุตรบุญธรรมของพระยาอนิรุทธเทวา (หม่อมหลวงฟื้น พึ่งบุญ)[3]

          นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) ปฏิบัติราชการเป็นที่ต้องพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นอย่างยิ่ง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) ไปศึกษาต่อวิชาการแพทย์ ณ ประเทศอังกฤษ ด้วยทุนส่วนพระองค์ เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2465 กระทั่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต จึงได้เดินทางกลับประเทศไทย[4]

          หลังจากนั้นนายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) ได้ลาพระยาอนิรุทธเทวา เดินทางกลับจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อมาช่วยกิจการของบิดาบังเกิดเกล้า โดยได้ทำหน้าที่ดูแลผลประโยชน์ที่จังหวัดเชียงราย  และในโอกาสนั้นนายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) ได้ใช้เวลาศึกษาค้นคว้าวิชากฎหมาย จนสามารถสอบได้ปริญญานิติศาสตร์ (เนติบัณฑิต) เมื่อปี พ.ศ. 2476[5]

          นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) สมรสครั้งแรกกับคุณหญิงฉวี วรการบัญชา โดยทั้งคู่ไม่มีบุตรด้วยกัน ต่อมาสมรสครั้งที่สองกับนางจันทร์ฟอง สุตันตานนท์ มีบุตรธิดารวมทั้งสิ้น 3 คน คือ ร้อยตำรวจตรี บัณฑิต วรการบัญชา นางกิ่งแก้ว ณ เชียงใหม่ และ นายธีระ สุตันตานนท์  ต่อมาได้สมรสครั้งที่สามกับนางคำเอ้ย สุตันตานนท์ มีบุตรด้วยกัน 1 คน คือ นายเมธี สุตันตานนท์[6] นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) ถึงแก่อนิจกรรม เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2517 ณ โรงพยาบาลศิริราช สิริรวมอายุได้ 71 ปี[7]

หน้าที่การงานและตำแหน่งทางการเมืองที่สำคัญ

          นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) เริ่มรับราชการครั้งแรก ด้วยการถวายงานพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในตำแหน่งมหาดเล็กเวรศักดิ์ (มหาดเล็กห้องพระบรรทม) ในกรมมหาดเล็ก ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “นายรองสนิท” ในปี พ.ศ. 2463 ต่อมาในปี พ.ศ. 2465 ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “นายวรการบัญชา” และเลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็นมหาดเล็กหุ้มแพรวิเศษ ในกรมมหาดเล็ก[8]

          ในปี พ.ศ. 2476 ได้เดินทางกลับภูมิลำเนา ในจังหวัดเชียงใหม่ จนศึกษาวิชากฎหมายได้เนติบัณฑิต ต่อมาในปี พ.ศ. 2478  ได้รับฐานะจากสุขาภิบาลเมืองเชียงใหม่ขึ้นเป็น “เทศบาลนครเชียงใหม่” มีพื้นที่รับผิดชอบ 17.50 ตารางกิโลเมตร มีอำนาจหน้าที่ตามบทบัญญัติในพระราชบัญญัติจัดระเบียบเทศบาล พ.ศ. 2476 ทุกประการนับเป็น “เทศบาลนครแห่งแรกในประเทศไทย”[9] ในการนี้นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) ได้ดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีเทศบาลนครเชียงใหม่เป็นคนแรก โดยอยู่ในตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2479 ถึงวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2480[10] และเป็นผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นคนแรกของประเทศไทยด้วย[11]

          สำหรับตำแหน่งทางการเมืองนั้น นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) ได้เริ่มต้นจากการเป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในช่วงปี พ.ศ. 2487-2489 และ พ.ศ. 2490-2491 ต่อมาได้รวมในคณะรัฐมนตรีของจอมพล ป. พิบูลสงคราม โดยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีสั่งราชการกระทรวงการต่างประเทศ ในวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2491 จนกระทั่งถึงวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2491 จากนั้นได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีสั่งราชการกระทรวงคมนาคม ตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2491 จนกระทั่งถึงวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2492 ต่อมาได้แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ระหว่างวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2492 ถึงวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2493 และได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กระทั่งถึงวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2495[12] และได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ จนถึงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2497 จากนั้นนายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) ได้ขยับขึ้นไปดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี จนกระทั่งถึงวันที่ 26_กุมภาพันธ์_พ.ศ._2500 จากนั้นนายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) ได้เข้ามาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2500 จนกระทั่งถึงวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2500[13] ซึ่งพ้นจากตำแหน่งโดยการยึดอำนาจของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทำให้อำนาจทางการเมืองของจอมพล ป. พิบูลสงคราม หมดลงอย่างสิ้นเชิง ส่งผลให้นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) ไม่ได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีอีกเลย

          ในส่วนของการดำรงตำแหน่งในฝ่ายนิติบัญญัตินั้น นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหลายสมัย โดยสมัครรับเลือกตั้งในเขตจังหวัดเชียงราย เริ่มจากในการเลือกตั้ง วันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2480 เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเชียงราย เขต 2 ต่อมาในการเลือกตั้ง วันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเชียงราย เขต 2 สมัยที่สอง ในการเลือกตั้งวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2491 เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเชียงราย ในการเลือกตั้งวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495 เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประเภทที่ 1 จังหวัดเชียงราย ในการเลือกตั้งวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเชียงราย สังกัดพรรคเสรีมนังคศิลา และในการเลือกตั้งวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2500 เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเชียงราย สังกัดพรรคเสรีมนังคศิลา[14] นอกจากนี้นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) ยังเคยดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา ระหว่างปี พ.ศ. 2511-2514 โดยได้รับการแต่งตั้งให้เป็นประธานวุฒิสภา ตั้งแต่วันที่ 22 กรกฏาคม พ.ศ. 2511 ถึงวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 และเป็น “ประธานรัฐสภา” โดยตำแหน่งด้วย[15]

ผลงานที่สำคัญในทางการเมือง

          นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) เป็นบุคคลที่ผ่านการรับราชการมาตั้งแต่ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยการถวายงานรับใช้ใกล้ชิดพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ตลอดจนได้มีโอกาสทำงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นั่นคือ เทศบาลนครเชียงใหม่ และได้เข้าสู่แวดวงการเมืองด้วยการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในจังหวัดเชียงราย ก่อนที่จะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีในรัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม และจอมพล ป. หมดบทบาททางการเมืองลงไปนั้น ย่อมส่งผลให้นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) หมดบทบาททางการเมืองลงไปเป็นเวลายาวนาน ทว่าชื่อของนายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) กลับมาอีกครั้งโดยการดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา และเป็นประธานรัฐสภา ซึ่งเป็นประมุขของฝ่ายนิติบัญญัติ แม้ว่าจะไม่มีบทบาททางการเมืองมากนักก็ตาม

          ในสมัยที่นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) ดำรงตำแหน่งนากยกเทศมนตรีเทศบาลนครเชียงใหม่อยู่นั้น ได้มีบทบาทสำคัญในการวางรากฐานให้เทศบาลนครเชียงใหม่ เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งภายในระยะเวลาเพียง 40 ปี สามารถขยายเขตเทศบางออกไปได้ถึง 40.216 ตารางกิโลเมตร และแบ่งออกเป็น 4 แขวง ประกอบด้วย แขวงศรีวิชัย แขวงนครพิงค์ แขวงกาวิละ และแขวงเม็งราย[16] ซึ่งนับว่าเป็นรูปแบบที่แตกต่างไปจากเทศบาลอื่น ๆ ของประเทศไทย

          ในส่วนของการเป็นรัฐมนตรีนั้น เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศนั้น นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้ง “สโมสรสราญรมย์” อันเป็นสโมสรของข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศ โดยนายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) ได้ดำรงตำแหน่งนายกสโมสรสราญรมย์เรื่อยมา แม้ว่าจะพ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไปแล้วก็ตาม อีกทั้งยังมีการบริจาคสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ให้กับสโมสรอยู่เป็นระยะ อาทิเช่น โต๊ะบิลเลียด “ตู้เพลง วรการบัญชา” ฯลฯ[17] นอกจากนี้ยังได้มีการริเริ่มก่อตั้งหนังสือสราญรมย์ออกมาเพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ของกระทรวงการต่างประเทศ นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) มีความผูกพันกับกระทรวงการต่างประเทศเป็นอย่างมาก และมักจะเชิญชวนข้าราชการรวมถึงเจ้าหน้าที่สโมสรสราญรมย์ไปทานอาหารที่บ้านพักริมคลองประปาอยู่เสมอ ส่งผลให้ทุกคนเรียกท่านว่า “พี่วร ฯ”[18] ขณะที่ในช่วงที่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการนั้น ก็มีบทบาทสำคัญในการสร้างความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจให้แก่รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม และเป็นผู้หนึ่งที่มีความใกล้ชิดจอมพล ป. อย่างยิ่ง จนสามารถเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย ในการประชุมสมัชชาสหประชาชาติด้วย[19]

          ในด้านอื่น ๆ นั้น ชื่อของ “นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์)” เป็นที่ไว้วางใจของผู้นำทางการเมืองทั้งหลาย เห็นได้จากการได้รับพระราชทานยศ “พันเอก” ประจำกรมทหารราบที่ 1 รักษาพระองค์ ในปี พ.ศ. 2495[20] เนื่องจากได้รับความไว้วางใจจากจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ซึ่งมีอำนาจอย่างมากในขณะนั้น  และในช่วงสุดท้ายของชีวิตทางการเมือง นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) ได้รับการแต่งตั้งเป็น “ประธานวุฒิสภา” และเป็น “ประธานรัฐสภา” เนื่องจากเป็นนักการเมืองอาวุโส และเป็นที่เคารพยกย่องของบรรดานักการเมือง นายทหาร และประชาชนทั้งหลาย

บรรณานุกรม

คณะข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศ, มรรยาทในการเข้าสังคม อนุสรณ์ในงานพระราชทาน'เพลิงศพ ฯพณฯ พันเอก นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) ป.จ.', ม.ป.ช., ม.ว.ม., (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์พระจันทร์, 2517).

ประกายศรี ศรีรุ่งเรือง, นักการเมืองท้องถิ่น จังหวัดเชียงราย, (กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า, 2550).

เว็บไซต์

รายพระนาม นาม เหล่าพระประยูรญาติ และเชื้อสายเจ้านายฝ่ายเหนือ, เข้าถึงจาก <http://www.globalgroup.in.th/encyclopedia_lanna.html>  เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2559.

ข้อมูลเทศบาลนครเชียงใหม่, เข้าถึงจาก <http://www.cmcity.go.th/cmcity/index.php/th/s-menu-detail-th> เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2559.

Names of Past Foreign Minister, เข้าถึงจาก  <http://www.mfa.go.th/main/en/organize/19299-Names-of-Past-Foreign-Ministers.html> เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2559.

ทำเนียบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง, เข้าถึงจาก <http://www.mof.go.th/home/warakorn.html> เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2559.

ทำเนียบประธานรัฐสภา, เข้าถึงจาก http://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/ewt_w3c/ewt_news.php?nid=2369&filename=>  เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2559.

อ้างอิง 

[1] คณะข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศ, มรรยาทในการเข้าสังคม อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ฯพณฯ พันเอก นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) ป.จ., ม.ป.ช., ม.ว.ม., (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์พระจันทร์, 2517), น. (9).

[2] รายพระนาม นาม เหล่าพระประยูรญาติ และเชื้อสายเจ้านายฝ่ายเหนือ, เข้าถึงจาก http://www.globalgroup.in.th/encyclopedia_lanna.html  เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2559.

[3] คณะข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศ, อ้างแล้ว, น. (2).

[4] เพิ่งอ้าง.

[5] เพิ่งอ้าง, น. (3).

[6] เพิ่งอ้าง, น. (1).

[7] เพิ่งอ้าง, น. (3).

[8] เพิ่งอ้าง, น. (5).

[9] ข้อมูลเทศบาลนครเชียงใหม่, เข้าถึงจาก http://www.cmcity.go.th/cmcity/index.php/th/s-menu-detail-th เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2559.

[10] คณะข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศ, อ้างแล้ว, น. (4).

[11] เพิ่งอ้าง, น. (3).

[12] Names of Past Foreign Minister, เข้าถึงจาก  http://www.mfa.go.th/main/en/organize/19299-Names-of-Past-Foreign-Ministers.html เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2559.

[13] ทำเนียบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง, เข้าถึงจาก http://www.mof.go.th/home/warakorn.html เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2559.

[14] ประกายศรี ศรีรุ่งเรือง, นักการเมืองท้องถิ่น จังหวัดเชียงราย, (กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า, 2550), น. 253-254.

[15] ทำเนียบประธานรัฐสภา, เข้าถึงจาก http://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/ewt_w3c/ewt_news.php?nid=2369&filename= เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2559.

[16] ข้อมูลเทศบาลนครเชียงใหม่, เข้าถึงจาก http://www.cmcity.go.th/cmcity/index.php/th/s-menu-detail-th เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2559.

[17] คณะข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศ, อ้างแล้ว, น. (10).

[18] เพิ่งอ้าง.

[19] เพิ่งอ้าง, น. (11).

[20] เพิ่งอ้าง, น. (5).