ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วินัยการคลัง"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
บรรทัดที่ 18: บรรทัดที่ 18:
'''2. ความสำคัญของวินัยการคลัง '''
'''2. ความสำคัญของวินัยการคลัง '''


          วินัยการคลังเป็นหลักการที่สำคัญที่นำไปสู่การกำกับดูแลและบริหารด้านการคลังที่ดี โดยวินัยทางการคลังอาจอยู่ในรูปของกรอบหรือกฎเกณฑ์เชิงปริมาณ กล่าวคือมีการกำหนดตัวชี้วัดและเป้าหมายที่เป็นตัวเลขที่ชัดเจน เช่น การกำหนดเพดานของการกู้ยืม เป็นต้น หรืออาจอยู่ในรูปของแนวทางการปฏิบัติ เช่น รัฐบาลสามารถก่อหนี้เพื่อการลงทุนเท่านั้น เป็นต้น ซึ่งอาจมีการตรากฎหมายหรือเป็นเพียงจารีตปฏิบัติก็ได้ การขาดวินัยการคลังจะส่งผลต่อระดับหนี้สาธารณะ ทำให้ความน่าเชื่อถือในการชำระหนี้ของรัฐบาล และการลงทุนในประเทศลดลง รัฐบาลจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ความสำคัญในการกำหนดวินัยการคลังที่ครอบคลุมทั้งกิจกรรมในงบประมาณและกิจกรรมนอกงบประมาณ เพื่อเป็นกรอบในการดำเนินนโยบายการคลังและเป็นแนวทางในการบริหารงบประมาณให้เกิดความยั่งยืนและเสถียรภาพทางการคลัง[[#_ftn4|[4]]]
          วินัยการคลังเป็นหลักการที่สำคัญที่นำไปสู่การกำกับดูแลและบริหารด้านการคลังที่ดี โดยวินัยทางการคลังอาจอยู่ในรูปของกรอบหรือกฎเกณฑ์เชิงปริมาณ กล่าวคือมีการกำหนดตัวชี้วัดและเป้าหมายที่เป็นตัวเลขที่ชัดเจน เช่น การกำหนดเพดานของการกู้ยืม เป็นต้น หรืออาจอยู่ในรูปของแนวทางการปฏิบัติ เช่น รัฐบาลสามารถก่อหนี้เพื่อการลงทุนเท่านั้น เป็นต้น ซึ่งอาจมีการตรา[[กฎหมาย|กฎหมาย]]หรือเป็นเพียงจารีตปฏิบัติก็ได้ การขาดวินัยการคลังจะส่งผลต่อระดับหนี้สาธารณะ ทำให้ความน่าเชื่อถือในการชำระหนี้ของ[[รัฐบาล|รัฐบาล]] และการลงทุนในประเทศลดลง รัฐบาลจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ความสำคัญในการกำหนดวินัยการคลังที่ครอบคลุมทั้งกิจกรรมในงบประมาณและกิจกรรมนอกงบประมาณ เพื่อเป็นกรอบในการดำเนินนโยบายการคลังและเป็นแนวทางในการบริหารงบประมาณให้เกิดความยั่งยืนและเสถียรภาพทางการคลัง[[#_ftn4|[4]]]


'''3. ความเสี่ยงต่อการขาดวินัยการคลัง'''
'''3. ความเสี่ยงต่อการขาดวินัยการคลัง'''
บรรทัดที่ 24: บรรทัดที่ 24:
          '''- การใช้มาตรการกึ่งการคลัง'''
          '''- การใช้มาตรการกึ่งการคลัง'''


          มาตรการกึ่งการคลัง (quasi-fiscal policy)[[#_ftn5|[5]]] เป็นกิจกรรมที่อาจดำเนินการโดยรัฐบาลหรือหน่วยงานที่ไม่สังกัดรัฐบาลโดยตรง เช่น รัฐวิสาหกิจ หรือธนาคารกลางของประเทศ หรือแม้แต่กองทุนต่างๆ ที่มีการจัดการการเงินนอกเหนือจากระบบงบประมาณของรัฐบาล  วิธีการนำมาใช้นั้นมีได้หลายรูปแบบ วิธีการที่ใช้อาจเป็นวิธีของการซ่อนเร้นภาษีที่ควรจะจัดเก็บได้ (implicit uncollected taxes) เงินอุดหนุน (subsidies) หรือผ่านการใช้จ่ายของรัฐวิสาหกิจทั้งที่เป็นหรือไม่เป็นสถาบันการเงินก็ตามที่ทำหน้าที่แทนรัฐบาลในการสนับสนุนกิจกรรมหรือส่งเสริมการดำเนินงานของภาคเศรษฐกิจที่รัฐบาลต้องการสนับสนุนเป็นพิเศษ
          มาตรการกึ่งการคลัง (quasi-fiscal policy)[[#_ftn5|[5]]] เป็นกิจกรรมที่อาจดำเนินการโดยรัฐบาลหรือหน่วยงานที่ไม่สังกัดรัฐบาลโดยตรง เช่น [[รัฐวิสาหกิจ|รัฐวิสาหกิจ]] หรือธนาคารกลางของประเทศ หรือแม้แต่กองทุนต่างๆ ที่มีการจัดการการเงินนอกเหนือจากระบบงบประมาณของรัฐบาล  วิธีการนำมาใช้นั้นมีได้หลายรูปแบบ วิธีการที่ใช้อาจเป็นวิธีของการซ่อนเร้นภาษีที่ควรจะจัดเก็บได้ (implicit uncollected taxes) [[เงินอุดหนุน|เงินอุดหนุน]] (subsidies) หรือผ่านการใช้จ่ายของรัฐวิสาหกิจทั้งที่เป็นหรือไม่เป็นสถาบันการเงินก็ตามที่ทำหน้าที่แทนรัฐบาลในการสนับสนุนกิจกรรมหรือส่งเสริมการดำเนินงานของภาคเศรษฐกิจที่รัฐบาลต้องการสนับสนุนเป็นพิเศษ


          ผลของความเสี่ยงจากการใช้มาตรการกึ่งการคลังของรัฐบาล[[#_ftn6|[6]]] ประกอบด้วย
          ผลของความเสี่ยงจากการใช้มาตรการกึ่งการคลังของรัฐบาล[[#_ftn6|[6]]] ประกอบด้วย
บรรทัดที่ 30: บรรทัดที่ 30:
          1) ปกปิดสถานะทางการคลังที่แท้จริงของรัฐ ซึ่งอาจส่งผลต่อการประเมินขีดความสามารถทางการคลังและการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจที่ผิดพลาด
          1) ปกปิดสถานะทางการคลังที่แท้จริงของรัฐ ซึ่งอาจส่งผลต่อการประเมินขีดความสามารถทางการคลังและการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจที่ผิดพลาด


          2) การใช้อำนาจบริหารของรัฐขาดความชอบธรรมเนื่องจากมิได้ผ่านการตรวจสอบจากฝ่ายนิติบัญญัติ
          2) การใช้อำนาจบริหารของรัฐขาด[[ความชอบธรรม|ความชอบธรรม]]เนื่องจากมิได้ผ่านการตรวจสอบจากฝ่ายนิติบัญญัติ


          3) ก่อให้เกิดภาระทางการเงินแก่รัฐ (contingent liability) ซึ่งขัดกับกฎหมาย อาทิ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 และ พ.ร.บ. วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
          3) ก่อให้เกิดภาระทางการเงินแก่รัฐ (contingent liability) ซึ่งขัดกับกฎหมาย อาทิ [[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พุทธศักราช_2550|รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550]] และ [[พ.ร.บ._วิธีการงบประมาณ_พ.ศ._2502]] และที่แก้ไขเพิ่มเติม


'''          - การขยายตัวของงบกลาง'''
'''          - การขยายตัวของงบกลาง'''


          งบกลาง (unallocated budget)[[#_ftn7|[7]]] เป็นเงินจัดสรรต่างหากจากงบประมาณรายจ่ายของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์กรของรัฐ ทั้งนี้ ธรรมเนียมปฏิบัติที่ผ่านมาจะเป็นการตั้งเป็นรายจ่ายฉุกเฉินหรือกรณีจำเป็นที่อาจเกิดขึ้นได้ในระหว่างปีงบประมาณโดยไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้า และการอนุมัติใช้งบประมาณดังกล่าวจะอยู่ในอำนาจของคณะรัฐมนตรี
          งบกลาง (unallocated budget)[[#_ftn7|[7]]] เป็นเงินจัดสรรต่างหากจากงบประมาณรายจ่ายของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์กรของรัฐ ทั้งนี้ ธรรมเนียมปฏิบัติที่ผ่านมาจะเป็นการตั้งเป็นรายจ่ายฉุกเฉินหรือกรณีจำเป็นที่อาจเกิดขึ้นได้ในระหว่างปีงบประมาณโดยไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้า และการอนุมัติใช้งบประมาณดังกล่าวจะอยู่ในอำนาจของ[[คณะรัฐมนตรี|คณะรัฐมนตรี]]


          ผลจากการใช้จ่ายเงินจากงบกลางในการดำเนินโครงการของรัฐบาล จะส่งผลต่อการเกิดความเสี่ยง โดยทำให้ขาดประสิทธิภาพในการจัดสรรทรัพยากร การใช้จ่ายเงินงบประมาณแผ่นดินขาดความชอบธรรมเนื่องจากรัฐบาลอาจมีการใช้จ่ายงบกลางไปในกิจกรรมที่เอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มผลประโยชน์ของตนได้ อาทิ การใช้มาตรการรายจ่ายภาษี (tax expenditure) ฯลฯ นอกจากนี้การใช้จ่ายเงินจากงบกลางอาจส่งผลให้ขาดวินัยการคลังในระยะยาวได้
          ผลจากการใช้จ่ายเงินจากงบกลางในการดำเนินโครงการของรัฐบาล จะส่งผลต่อการเกิดความเสี่ยง โดยทำให้ขาดประสิทธิภาพในการจัดสรรทรัพยากร การใช้จ่ายเงินงบประมาณแผ่นดินขาดความชอบธรรมเนื่องจากรัฐบาลอาจมีการใช้จ่ายงบกลางไปในกิจกรรมที่เอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มผลประโยชน์ของตนได้ อาทิ การใช้มาตรการรายจ่ายภาษี (tax expenditure) ฯลฯ นอกจากนี้การใช้จ่ายเงินจากงบกลางอาจส่งผลให้ขาดวินัยการคลังในระยะยาวได้
บรรทัดที่ 46: บรรทัดที่ 46:
          1) ช่วยให้รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจมหภาคและลดความผันผวนทางเศรษฐกิจผ่านการดำเนินนโยบายการคลังแบบหดตัวในช่วงที่เศรษฐกิจขยายตัวดี และดำเนินนโยบายการคลังแบบขยายตัวในช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำ ซึ่งช่วยลดหรือขจัดการขาดดุลการคลัง
          1) ช่วยให้รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจมหภาคและลดความผันผวนทางเศรษฐกิจผ่านการดำเนินนโยบายการคลังแบบหดตัวในช่วงที่เศรษฐกิจขยายตัวดี และดำเนินนโยบายการคลังแบบขยายตัวในช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำ ซึ่งช่วยลดหรือขจัดการขาดดุลการคลัง


          2) สามารถพัฒนากรอบโครงสร้างเศรษฐกิจระยะปานกลางและระยะยาว เนื่องจากการรักษาวินัยการคลังจะต้องคำนึงถึงผลสัมฤทธิ์จากการดำเนินนโยบายในระยะปานกลางและระยะยาว มิใช่คำนึงถึงแต่ผลสัมฤทธิ์ในระยะสั้น ซึ่งเป็นผลจากการดำเนินนโยบายเพื่อหาเสียงหรือจูงใจประชาชน
          2) สามารถพัฒนากรอบโครงสร้างเศรษฐกิจระยะปานกลางและระยะยาว เนื่องจากการรักษาวินัยการคลังจะต้องคำนึงถึงผลสัมฤทธิ์จากการดำเนินนโยบายในระยะปานกลางและระยะยาว มิใช่คำนึงถึงแต่ผลสัมฤทธิ์ในระยะสั้น ซึ่งเป็นผลจากการดำเนินนโยบายเพื่อ[[หาเสียง|หาเสียง]]หรือจูงใจประชาชน


          3) เสริมสร้างความน่าเชื่อถือในกรอบนโยบายของรัฐบาลผ่านการกำหนดระเบียบแบบแผนเพื่อวางกรอบและทิศทางการบริหารจัดการด้านการคลัง เช่น กฎหมายว่าด้วยการรับผิดชอบทางการคลัง ฯลฯ
          3) เสริมสร้างความน่าเชื่อถือในกรอบนโยบายของรัฐบาลผ่านการกำหนดระเบียบแบบแผนเพื่อวางกรอบและทิศทางการบริหารจัดการด้านการคลัง เช่น กฎหมายว่าด้วยการรับผิดชอบทางการคลัง ฯลฯ

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 18:21, 1 ธันวาคม 2562

เรียบเรียงโดย  เจตน์  ดิษฐอุดม

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รศ.ดร.ปธาน สุวรรณมงคล


1. ความหมายของวินัยการคลัง

          วินัยการคลัง (fiscal discipline)[1] หมายถึง การชดเชยการขาดดุลในการดำเนินงานประจำของรัฐบาล กล่าวคือ รัฐบาลควรจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำจากรายได้ประจำเท่านั้น ถึงแม้ว่าการขาดดุลอาจเกิดประโยชน์ต่อประชาชนและได้รับการสนับสนุนทางการเมือง แต่เป็นการเพิ่มภาระภาษีให้แก่ผู้ชำระภาษีในอนาคต

          วินัยการคลัง[2] หมายถึง การกำหนดเพดานของการใช้จ่ายเพื่อรองรับงบประมาณของรัฐบาลที่มีอยู่อย่างจำกัด วินัยการคลังเป็นส่วนหนึ่งของการควบคุมการใช้จ่ายเงินงบประมาณโดยช่วยขับเคลื่อนให้เกิดการกำหนดและบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการงบประมาณและช่วยกระตุ้นให้หน่วยงานของรัฐมีความมุ่งมั่นในการควบคุมดูแลการใช้จ่ายให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด  

          วินัยการคลัง[3] หมายถึง สภาวะการมีดุลยภาพระหว่างรายได้และรายจ่าย โดยการควบคุมดูแลให้รายจ่ายสาธารณะและภาระผูกพันทางการเงินของรัฐบาลทั้งในปัจจุบันและในอนาคตอยู่ในระดับที่สมดุล หรือไม่เกินขีดความสามารถในการจัดหารายได้ของรัฐบาล หรือเท่ากับขีดความสามารถในการรับภาระภาษีและค่าบริหารของประชาชนพลเมืองในช่วงเวลานั้นๆ  

          จากความหมายของวินัยการคลังดังกล่าว สามารถสรุปได้ว่า วินัยการคลังเป็นการควบคุมการใช้จ่ายและผลการดำเนินงานทางการคลังของรัฐบาล อาทิ รายจ่าย การก่อหนี้ ตลอดจนภาระผูกพันทางงบประมาณอื่นของรัฐบาล ฯลฯ เพื่อให้เป็นไปตามระดับที่กฎหมายกำหนด และไม่เป็นภาระต่องบประมาณในอนาคต

2. ความสำคัญของวินัยการคลัง 

          วินัยการคลังเป็นหลักการที่สำคัญที่นำไปสู่การกำกับดูแลและบริหารด้านการคลังที่ดี โดยวินัยทางการคลังอาจอยู่ในรูปของกรอบหรือกฎเกณฑ์เชิงปริมาณ กล่าวคือมีการกำหนดตัวชี้วัดและเป้าหมายที่เป็นตัวเลขที่ชัดเจน เช่น การกำหนดเพดานของการกู้ยืม เป็นต้น หรืออาจอยู่ในรูปของแนวทางการปฏิบัติ เช่น รัฐบาลสามารถก่อหนี้เพื่อการลงทุนเท่านั้น เป็นต้น ซึ่งอาจมีการตรากฎหมายหรือเป็นเพียงจารีตปฏิบัติก็ได้ การขาดวินัยการคลังจะส่งผลต่อระดับหนี้สาธารณะ ทำให้ความน่าเชื่อถือในการชำระหนี้ของรัฐบาล และการลงทุนในประเทศลดลง รัฐบาลจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ความสำคัญในการกำหนดวินัยการคลังที่ครอบคลุมทั้งกิจกรรมในงบประมาณและกิจกรรมนอกงบประมาณ เพื่อเป็นกรอบในการดำเนินนโยบายการคลังและเป็นแนวทางในการบริหารงบประมาณให้เกิดความยั่งยืนและเสถียรภาพทางการคลัง[4]

3. ความเสี่ยงต่อการขาดวินัยการคลัง

          - การใช้มาตรการกึ่งการคลัง

          มาตรการกึ่งการคลัง (quasi-fiscal policy)[5] เป็นกิจกรรมที่อาจดำเนินการโดยรัฐบาลหรือหน่วยงานที่ไม่สังกัดรัฐบาลโดยตรง เช่น รัฐวิสาหกิจ หรือธนาคารกลางของประเทศ หรือแม้แต่กองทุนต่างๆ ที่มีการจัดการการเงินนอกเหนือจากระบบงบประมาณของรัฐบาล  วิธีการนำมาใช้นั้นมีได้หลายรูปแบบ วิธีการที่ใช้อาจเป็นวิธีของการซ่อนเร้นภาษีที่ควรจะจัดเก็บได้ (implicit uncollected taxes) เงินอุดหนุน (subsidies) หรือผ่านการใช้จ่ายของรัฐวิสาหกิจทั้งที่เป็นหรือไม่เป็นสถาบันการเงินก็ตามที่ทำหน้าที่แทนรัฐบาลในการสนับสนุนกิจกรรมหรือส่งเสริมการดำเนินงานของภาคเศรษฐกิจที่รัฐบาลต้องการสนับสนุนเป็นพิเศษ

          ผลของความเสี่ยงจากการใช้มาตรการกึ่งการคลังของรัฐบาล[6] ประกอบด้วย

          1) ปกปิดสถานะทางการคลังที่แท้จริงของรัฐ ซึ่งอาจส่งผลต่อการประเมินขีดความสามารถทางการคลังและการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจที่ผิดพลาด

          2) การใช้อำนาจบริหารของรัฐขาดความชอบธรรมเนื่องจากมิได้ผ่านการตรวจสอบจากฝ่ายนิติบัญญัติ

          3) ก่อให้เกิดภาระทางการเงินแก่รัฐ (contingent liability) ซึ่งขัดกับกฎหมาย อาทิ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 และ พ.ร.บ._วิธีการงบประมาณ_พ.ศ._2502 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

          - การขยายตัวของงบกลาง

          งบกลาง (unallocated budget)[7] เป็นเงินจัดสรรต่างหากจากงบประมาณรายจ่ายของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์กรของรัฐ ทั้งนี้ ธรรมเนียมปฏิบัติที่ผ่านมาจะเป็นการตั้งเป็นรายจ่ายฉุกเฉินหรือกรณีจำเป็นที่อาจเกิดขึ้นได้ในระหว่างปีงบประมาณโดยไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้า และการอนุมัติใช้งบประมาณดังกล่าวจะอยู่ในอำนาจของคณะรัฐมนตรี

          ผลจากการใช้จ่ายเงินจากงบกลางในการดำเนินโครงการของรัฐบาล จะส่งผลต่อการเกิดความเสี่ยง โดยทำให้ขาดประสิทธิภาพในการจัดสรรทรัพยากร การใช้จ่ายเงินงบประมาณแผ่นดินขาดความชอบธรรมเนื่องจากรัฐบาลอาจมีการใช้จ่ายงบกลางไปในกิจกรรมที่เอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มผลประโยชน์ของตนได้ อาทิ การใช้มาตรการรายจ่ายภาษี (tax expenditure) ฯลฯ นอกจากนี้การใช้จ่ายเงินจากงบกลางอาจส่งผลให้ขาดวินัยการคลังในระยะยาวได้

4. ประโยชน์ของการรักษาวินัยการคลัง

          การรักษาวินัยการคลังของรัฐบาลโดยใช้กรอบวินัยการคลัง เครื่องมือและระเบียบวิธีการต่างๆ ในการกำหนดนโยบายการคลัง ส่งผลให้เกิดประโยชน์ดังนี้[8]

          1) ช่วยให้รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจมหภาคและลดความผันผวนทางเศรษฐกิจผ่านการดำเนินนโยบายการคลังแบบหดตัวในช่วงที่เศรษฐกิจขยายตัวดี และดำเนินนโยบายการคลังแบบขยายตัวในช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำ ซึ่งช่วยลดหรือขจัดการขาดดุลการคลัง

          2) สามารถพัฒนากรอบโครงสร้างเศรษฐกิจระยะปานกลางและระยะยาว เนื่องจากการรักษาวินัยการคลังจะต้องคำนึงถึงผลสัมฤทธิ์จากการดำเนินนโยบายในระยะปานกลางและระยะยาว มิใช่คำนึงถึงแต่ผลสัมฤทธิ์ในระยะสั้น ซึ่งเป็นผลจากการดำเนินนโยบายเพื่อหาเสียงหรือจูงใจประชาชน

          3) เสริมสร้างความน่าเชื่อถือในกรอบนโยบายของรัฐบาลผ่านการกำหนดระเบียบแบบแผนเพื่อวางกรอบและทิศทางการบริหารจัดการด้านการคลัง เช่น กฎหมายว่าด้วยการรับผิดชอบทางการคลัง ฯลฯ

          4) ช่วยในการรับมือความท้าทายและเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากกระแสโลกาภิวัตน์ทางการเงินและเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการเปิดเสรีทางการค้าและเปิดเสรีในตลาดทุน

          5) ช่วยลดความผันผวนจากการเปลี่ยนแปลงในภาวะตลาดและความผันผวนในกระแสเงินทุนเคลื่อนย้าย รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของวิกฤติทางด้านหนี้

          6) ช่วยลดแรงกดดันทางการคลังและป้องกันความเสี่ยงที่ไม่คาดคิด ซึ่งเกิดจากการดำเนินกิจกรรมทางการคลังที่ต้องใช้เงินนอกงบประมาณหรือการดำเนินกิจกรรมกึ่งการคลังผ่านรัฐวิสาหกิจและสถาบันการเงินของรัฐ อาทิ การค้ำประกันหนี้ให้แก่รัฐวิสาหกิจ การประกันราคา การบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ ฯลฯ เป็นต้น

5. กรอบวินัยการคลังของประเทศไทย

          สำหรับประเทศไทยได้มีการกรอบของวินัยการคลังเอาไว้ ดังต่อไปนี้[9]

  • สัดส่วนยอดหนี้สาธารณะคงค้างต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ไม่เกินร้อยละ 60
  • ภาระหนี้สาธารณะต่องบประมาณไม่เกินร้อยละ 15
  • การจัดทำงบประมาณสมดุล ซึ่งกระทรวงการคลังมีเป้าหมายในการจัดทำงบประมาณสมดุล โดยไม่นับรวมการจัดสรรภาระดอกเบี้ยและเงินต้น
  • สัดส่วนรายจ่ายลงทุนต่องบประมาณไม่ต่ำกว่าร้อยละ 25

         

กรอบวินัยการคลังข้างต้นยังไม่ได้ถูกกำหนดบังคับใช้จริงจังในกฎหมาย นอกจากนี้รัฐบาลยังไม่ได้มีการนำเงื่อนไขบางประการมายึดถือเป็นแนวทางการปฏิบัติ อาทิ รายจ่ายลงทุนต่องบประมาณในช่วงที่ผ่านล้วนอยู่ในระดับต่ำกว่าร้อยละ 25 ของงบประมาณรายจ่ายทั้งหมด

 

บรรณานุกรม

ภาษาไทย

จรัส สุวรรณมาลา. ระบบงบประมาณและการจัดการแบบมุ่งผลสำเร็จในภาครัฐ': ความสัมพันธ์          ระหว่างรัฐกับพลเมืองยุคใหม่'. กรุงเทพฯ: ธนธัชการพิมพ์, 2546.

ภาวิน ศิริประภานุกูล. บทวิเคราะห์กฎหมายส่งเสริมวินัยการเงินการคลัง (ข้อเสนอว่าด้วยร่าง          พระราชบัญญัติวินัยทางการคลังและการเงิน พ.ศ. ...), 2556.

วีระศักดิ์ เครือเทพ. ความเสี่ยงทางการคลัง ความเสี่ยงของรัฐ : กรอบวิเคราะห์เบื้องต้นพร้อมบทวิเคราะห์ร่างรัฐธรรมนูญหมวดการเงิน การคลังและการงบประมาณ. กรุงเทพฯ: ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550.

สกนธ์ วรัญญูวัฒนา และดวงมณี เลาวกุล. ความเสี่ยงจากการใช้เครื่องมือการคลังเพื่อการพัฒนาประเทศ.บทความนำเสนอการสัมมนาทิศทางเศรษฐกิจไทยปี 2548 สมาคมเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์, 2548.

สำนักนโยบายการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง. รายงานฉบับสมบูรณ์ เรื่อง การศึกษาวินัยทางการคลังของประเทศไทย (อดีตสู่ปัจจุบัน) และแนวทางในการเสริมสร้างวินัยทางการคลังตามหลักสากล, 2551.

พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

ภาษาอังกฤษ

Mikesell, J. Fiscal administration. New York: Harcourt Brace College, 1999. 

Musgrave.R & Musgrave P. Public Finance in Theory and Practice. New York: The McGraw-Hill Companies, 1989.

   

อ้างอิง 

          [1] Musgrave.R & Musgrave P. Public Finance in Theory and Practice, (New York: The McGraw-Hill Companies), 1989,101.

          [2] Mikesell, J. Fiscal administration. (New York: Harcourt Brace College), 1999, 44-45. 

          [3]จรัส สุวรรณมาลา, ระบบงบประมาณและการจัดการแบบมุ่งผลสำเร็จในภาครัฐ': ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับพลเมืองยุคใหม่, (กรุงเทพฯ: : ธนธัชการพิมพ์, 2546), หน้า 30.  

          [4] สำนักนโยบายการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง. รายงานฉบับสมบูรณ์ เรื่อง การศึกษาวินัยทางการคลังของประเทศไทย (อดีตสู่ปัจจุบัน) และแนวทางในการเสริมสร้างวินัยทางการคลังตามหลักสากล, 2551. หน้า 1 – 2  

          [5] สกนธ์ วรัญญูวัฒนา และดวงมณี เลาวกุล. ความเสี่ยงจากการใช้เครื่องมือการคลังเพื่อการพัฒนาประเทศ.บทความนำเสนอการสัมมนาทิศทางเศรษฐกิจไทยปี 2548 (สมาคมเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์, 2548), หน้า 120.

          [6] วีระศักดิ์ เครือเทพ. ความเสี่ยงทางการคลัง ความเสี่ยงของรัฐ : กรอบวิเคราะห์เบื้องต้นพร้อมบทวิเคราะห์ร่างรัฐธรรมนูญหมวดการเงิน การคลังและการงบประมาณ, (กรุงเทพฯ: ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550), หน้า 75.

          [7] มาตรา 10 ของพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

          [8] สำนักนโยบายการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง,  อ้างแล้ว ,  หน้า 7-8.

          [9] ภาวิน ศิริประภานุกูล. บทวิเคราะห์กฎหมายส่งเสริมวินัยการเงินการคลัง (ข้อเสนอว่าด้วยร่างพระราชบัญญัติวินัยทางการคลังและการเงิน พ.ศ. ...), 2556, หน้า 8.