ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หลวงเดชสหกรณ์"
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 10: | บรรทัดที่ 10: | ||
''หลวงเดชสหกรณ์ (หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์)[[#_ftn1|'''[1]''']]'' | ''หลวงเดชสหกรณ์ (หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์)[[#_ftn1|'''[1]''']]'' | ||
“งานสหกรณ์” ในประเทศไทยนั้น ได้ถือกำเนิดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2459 โดยการริเริ่มของ[[พระวรวงศ์เธอ_กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์|พระวรวงศ์เธอ_กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์]] หลังจากนั้นอีกเกือบ 30 ปี จึงเกิดธนาคารเพื่อการสหกรณ์แห่งแรก ในปี พ.ศ. 2488 โดยมี “หลวงเดชสหกรณ์ (หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์)” นักเศรษฐศาสตร์ ผู้เติบโตมาในเส้นทางสหกรณ์ เป็นผู้จัดการธนาคาร นอกจากนี้หลวงเดชสหกรณ์ ยังมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนางานสหกรณ์และการเกษตรของประเทศไทยในช่วงหลัง[[การเปลี่ยนแปลงการปกครอง_24_มิถุนายน_2475|การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475]] โดยได้เป็น[[รัฐมนตรี|รัฐมนตรี]]ว่าการในกระทรวงต่าง ๆ เช่น กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตราธิการ กระทรวงเศรษฐกิจ นอกจากงานด้านการเมืองดังกล่าวแล้ว หลวงเดชสหกรณ์ ยังเคยดำรงตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยในช่วงปี พ.ศ. 2492-2495 และได้รับการแต่งตั้งให้เป็น[[องคมนตรี|องคมนตรี]]ในรัชกาลปัจจุบันด้วยหลวงเดชสหกรณ์ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น “ประธานองคมนตรี” ในปี พ.ศ. 2518 นับเป็นประธานองคมนตรีคนที่ 5 ในรัชกาลปัจจุบัน | “งานสหกรณ์” ในประเทศไทยนั้น ได้ถือกำเนิดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2459 โดยการริเริ่มของ[[พระวรวงศ์เธอ_กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์|พระวรวงศ์เธอ_กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์]] หลังจากนั้นอีกเกือบ 30 ปี จึงเกิดธนาคารเพื่อการสหกรณ์แห่งแรก ในปี พ.ศ. 2488 โดยมี “หลวงเดชสหกรณ์ (หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์)” นักเศรษฐศาสตร์ ผู้เติบโตมาในเส้นทางสหกรณ์ เป็นผู้จัดการธนาคาร นอกจากนี้หลวงเดชสหกรณ์ ยังมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนางานสหกรณ์และการเกษตรของประเทศไทยในช่วงหลัง[[การเปลี่ยนแปลงการปกครอง_24_มิถุนายน_2475|การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475]] โดยได้เป็น[[รัฐมนตรี|รัฐมนตรี]]ว่าการในกระทรวงต่าง ๆ เช่น กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตราธิการ กระทรวงเศรษฐกิจ นอกจากงานด้านการเมืองดังกล่าวแล้ว หลวงเดชสหกรณ์ ยังเคยดำรงตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยในช่วงปี พ.ศ. 2492-2495 และได้รับการแต่งตั้งให้เป็น[[องคมนตรี|องคมนตรี]]ในรัชกาลปัจจุบันด้วยหลวงเดชสหกรณ์ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น “ประธานองคมนตรี” ในปี พ.ศ. 2518 นับเป็นประธานองคมนตรีคนที่ 5 ในรัชกาลปัจจุบัน | ||
| | ||
บรรทัดที่ 16: | บรรทัดที่ 16: | ||
<u>ประวัติการศึกษาและชีวิตครอบครัว</u> | <u>ประวัติการศึกษาและชีวิตครอบครัว</u> | ||
หลวงเดชสหกรณ์ (หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์) เกิดเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2441 ณ วังพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ ตำบลป้อมปราบศัตรูพ่าย อำเภอป้อมปราบศัตรูพ่าย จังหวัดพระนคร เป็นบุตรคนที่ 3 ของพลเอก เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน กลาง สนิทวงศ์) กับท่านผู้หญิงวงษานุประพัทธ์ (ตาด สิงหเสนี) ในสายเจ้าพระยามุขมนตรี (เกด สิงหเสนี)[[#_ftn2|[2]]] มีพี่น้องต่างมารดารวมทั้งสิ้น 14 คน หนึ่งในนั้นคือ หม่อมหลวงบัว สนิทวงศ์ น้องสาวต่างมารดา ซึ่งเป็นพระชนนีใน[[สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์_พระบรมราชินีนาถ|สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์_พระบรมราชินีนาถ]] ดังนั้น หลวงเดชสหกรณ์จึงมีศักดิ์เป็นพระมาตุลาในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถด้วย[[#_ftn3|[3]]] | หลวงเดชสหกรณ์ (หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์) เกิดเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2441 ณ วังพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ ตำบลป้อมปราบศัตรูพ่าย อำเภอป้อมปราบศัตรูพ่าย จังหวัดพระนคร เป็นบุตรคนที่ 3 ของพลเอก เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน กลาง สนิทวงศ์) กับท่านผู้หญิงวงษานุประพัทธ์ (ตาด สิงหเสนี) ในสายเจ้าพระยามุขมนตรี (เกด สิงหเสนี)[[#_ftn2|[2]]] มีพี่น้องต่างมารดารวมทั้งสิ้น 14 คน หนึ่งในนั้นคือ หม่อมหลวงบัว สนิทวงศ์ น้องสาวต่างมารดา ซึ่งเป็นพระชนนีใน[[สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์_พระบรมราชินีนาถ|สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์_พระบรมราชินีนาถ]] ดังนั้น หลวงเดชสหกรณ์จึงมีศักดิ์เป็นพระมาตุลาในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถด้วย[[#_ftn3|[3]]] | ||
หลวงเดชสหกรณ์ เริ่มเข้ารับการศึกษาที่บ้านคุณหญิงหงษ์ ภรรยาของพระยาสิงหเสนีศรีสยามเมนทร์สวามิภักดิ์ ผู้มีศักดิ์เป็นป้า ต่อมาในปี พ.ศ. 2449 ได้เข้าเรียนที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ จนสอบไล่ได้ชั้น 2 ต่อมาทางการได้ย้ายโรงเรียนราชวิทยาลัยไปเปิดเป็นโรงเรียนกินนอนเฉพาะแบบ Public School ของอังกฤษ โดยสังกัดกระทรวงยุติธรรม ที่ตำบลบางขวาง จังหวัดนนทบุรี เมื่อ พ.ศ. 2454 หลวงเดชสหกรณ์ จึงได้เข้าศึกษาในโรงเรียนนี้พร้อมกับพี่ชายและน้องชายอีก 3 คน จนกระทั่งสอบไล่ได้ชั้น 6[[#_ftn4|[4]]] | หลวงเดชสหกรณ์ เริ่มเข้ารับการศึกษาที่บ้านคุณหญิงหงษ์ ภรรยาของพระยาสิงหเสนีศรีสยามเมนทร์สวามิภักดิ์ ผู้มีศักดิ์เป็นป้า ต่อมาในปี พ.ศ. 2449 ได้เข้าเรียนที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ จนสอบไล่ได้ชั้น 2 ต่อมาทางการได้ย้ายโรงเรียนราชวิทยาลัยไปเปิดเป็นโรงเรียนกินนอนเฉพาะแบบ Public School ของอังกฤษ โดยสังกัดกระทรวงยุติธรรม ที่ตำบลบางขวาง จังหวัดนนทบุรี เมื่อ พ.ศ. 2454 หลวงเดชสหกรณ์ จึงได้เข้าศึกษาในโรงเรียนนี้พร้อมกับพี่ชายและน้องชายอีก 3 คน จนกระทั่งสอบไล่ได้ชั้น 6[[#_ftn4|[4]]] | ||
ในปี พ.ศ. 2457 หลวงเดชสหกรณ์ ได้รับทุนรัฐบาลให้ไปศึกษาต่อ ณ ประเทศเยอรมนี พร้อมกับ[[หม่อมหลวงอุดม_สนิทวงศ์|หม่อมหลวงอุดม_สนิทวงศ์]] ต่อมา[[สงครามโลกครั้งที่_1|สงครามโลกครั้งที่_1]] ได้อุบัติขึ้น เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2457 โดยในช่วงเวลาแรกนั้น การศึกษาของหลวงเดชสหกรณ์ ยังไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใด และสามารถเรียนจบชั้น 6 ได้ ในปี พ.ศ. 2460 แต่เมื่อ[[รัฐบาล|รัฐบาล]]ไทยได้ประกาศสงครามกับเยอรมนี เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2460 รัฐบาลเยอรมนีจึงได้จับกุมหลวงเดชสหกรณ์ (หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์) พร้อมนักเรียนไทยอีก 4 คน คือ นายเติม บุนนาค [[ตั้ว_ลพานุกรม|นายตั้ว ลพานุกรม]] นายประจวบ บุนนาค และหม่อมหลวงอุดม สนิทวงศ์[[#_ftn5|[5]]] ต่อมาในปี พ.ศ. 2461 เกิดการปฏิวัติขึ้นในประเทศเยอรมนี นักเรียนไทยที่ถูกจับเป็นเชลยอยู่ได้รับการปล่อยตัวหลวงเดชสหกรณ์ จึงได้เข้าร่วมเป็น “ทหารอาสา” ร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรบุกเข้ายึดประเทศเยอรมนี ภายหลังสิ้นสุดสงครามได้ย้ายไปศึกษาต่อ ณ กรุงเบอร์น ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในปี พ.ศ. 2462 และสามารถสอบเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยกรุงเบอร์น ได้ในปี พ.ศ. 2463 และสำเร็จการศึกษาในระดับดุษฎีบัณฑิต (Doktorrerum Politicarum) เกียรตินิยม (Cum Laude) ในปี พ.ศ. 2468 หลังจากนั้นได้เดินทางไปศึกษาค้นคว้าประวัติศาสตร์เศรษฐศาสตร์ และการค้าระหว่างไทยกับสหราชอาณาจักรอีก 6 เดือน ก่อนจะกลับประเทศไทยในปี พ.ศ. 2469[[#_ftn6|[6]]] | ในปี พ.ศ. 2457 หลวงเดชสหกรณ์ ได้รับทุนรัฐบาลให้ไปศึกษาต่อ ณ ประเทศเยอรมนี พร้อมกับ[[หม่อมหลวงอุดม_สนิทวงศ์|หม่อมหลวงอุดม_สนิทวงศ์]] ต่อมา[[สงครามโลกครั้งที่_1|สงครามโลกครั้งที่_1]] ได้อุบัติขึ้น เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2457 โดยในช่วงเวลาแรกนั้น การศึกษาของหลวงเดชสหกรณ์ ยังไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใด และสามารถเรียนจบชั้น 6 ได้ ในปี พ.ศ. 2460 แต่เมื่อ[[รัฐบาล|รัฐบาล]]ไทยได้ประกาศสงครามกับเยอรมนี เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2460 รัฐบาลเยอรมนีจึงได้จับกุมหลวงเดชสหกรณ์ (หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์) พร้อมนักเรียนไทยอีก 4 คน คือ นายเติม บุนนาค [[ตั้ว_ลพานุกรม|นายตั้ว ลพานุกรม]] นายประจวบ บุนนาค และหม่อมหลวงอุดม สนิทวงศ์[[#_ftn5|[5]]] ต่อมาในปี พ.ศ. 2461 เกิดการปฏิวัติขึ้นในประเทศเยอรมนี นักเรียนไทยที่ถูกจับเป็นเชลยอยู่ได้รับการปล่อยตัวหลวงเดชสหกรณ์ จึงได้เข้าร่วมเป็น “ทหารอาสา” ร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรบุกเข้ายึดประเทศเยอรมนี ภายหลังสิ้นสุดสงครามได้ย้ายไปศึกษาต่อ ณ กรุงเบอร์น ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในปี พ.ศ. 2462 และสามารถสอบเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยกรุงเบอร์น ได้ในปี พ.ศ. 2463 และสำเร็จการศึกษาในระดับดุษฎีบัณฑิต (Doktorrerum Politicarum) เกียรตินิยม (Cum Laude) ในปี พ.ศ. 2468 หลังจากนั้นได้เดินทางไปศึกษาค้นคว้าประวัติศาสตร์เศรษฐศาสตร์ และการค้าระหว่างไทยกับสหราชอาณาจักรอีก 6 เดือน ก่อนจะกลับประเทศไทยในปี พ.ศ. 2469[[#_ftn6|[6]]] | ||
หลวงเดชสหกรณ์ได้สมรสกับท่านผู้หญิงประยงค์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา บุตรีพระยาอุเทนเทพโกสินทร์ (ประสาน บุรณศิริ) กับคุณหญิงเยื้อน อุเทนเทพโกสินทร์ (เยื้อน สโรบล) เมื่อปี พ.ศ. 2471 มีบุตรธิดารวมทั้งสิ้น 4 คน คือ นางสาววรุณยุพา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา นายพิสิษฐ์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา นายมนูเสรี สนิทวงศ์ ณ อยุธยา และนายเกษม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา[[#_ftn7|[7]]] หลวงเดชสหกรณ์ ถึงแก่อสัญกรรมด้วยโรคมะเร็งปอด ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2518 เวลา 22.33 น. สิริรวมอายุ 77 ปี[[#_ftn8|[8]]] | หลวงเดชสหกรณ์ได้สมรสกับท่านผู้หญิงประยงค์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา บุตรีพระยาอุเทนเทพโกสินทร์ (ประสาน บุรณศิริ) กับคุณหญิงเยื้อน อุเทนเทพโกสินทร์ (เยื้อน สโรบล) เมื่อปี พ.ศ. 2471 มีบุตรธิดารวมทั้งสิ้น 4 คน คือ นางสาววรุณยุพา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา นายพิสิษฐ์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา นายมนูเสรี สนิทวงศ์ ณ อยุธยา และนายเกษม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา[[#_ftn7|[7]]] หลวงเดชสหกรณ์ ถึงแก่อสัญกรรมด้วยโรคมะเร็งปอด ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2518 เวลา 22.33 น. สิริรวมอายุ 77 ปี[[#_ftn8|[8]]] | ||
| | ||
บรรทัดที่ 40: | บรรทัดที่ 40: | ||
หลวงเดชสหกรณ์ มีความสำคัญเกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประชาชนอย่างมาก ทั้งในรูปแบบของการจัดตั้ง “สหกรณ์” เพื่อให้ประชาชนสามารถรวมกลุ่ม เพื่อให้มีอำนาจต่อรองกับตลาดมากขึ้น ทั้งยังมีความคล่องตัวกว่าระบบราชการ ในการที่จะประสานความต้องการของประชาชนในแต่พื้นที่อีกด้วย[[#_ftn16|[16]]] ซึ่งหลวงเดชสหกรณ์ ยังให้ความสำคัญกับการที่ภาครัฐจะต้องเข้าไปสนับสนุนงานสหกรณ์ ด้วยการสนับสนุนความรู้ในการดำเนินงานสหกรณ์ ผ่านการจัดอบรมให้สหกรณ์ประเภทต่าง ๆ เพื่อให้ชาวสหกรณ์เข้าใจหลักการของสหกรณ์ที่ถูกต้อง[[#_ftn17|[17]]] หลวงเดชสหกรณ์ ยังเสนอให้มีการจัดตั้ง “สหกรณ์อเนกประสงค์” เพื่อให้สหกรณ์สามารถแก้ปัญหาของประชาชนได้หลายแนวทาง[[#_ftn18|[18]]] | หลวงเดชสหกรณ์ มีความสำคัญเกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประชาชนอย่างมาก ทั้งในรูปแบบของการจัดตั้ง “สหกรณ์” เพื่อให้ประชาชนสามารถรวมกลุ่ม เพื่อให้มีอำนาจต่อรองกับตลาดมากขึ้น ทั้งยังมีความคล่องตัวกว่าระบบราชการ ในการที่จะประสานความต้องการของประชาชนในแต่พื้นที่อีกด้วย[[#_ftn16|[16]]] ซึ่งหลวงเดชสหกรณ์ ยังให้ความสำคัญกับการที่ภาครัฐจะต้องเข้าไปสนับสนุนงานสหกรณ์ ด้วยการสนับสนุนความรู้ในการดำเนินงานสหกรณ์ ผ่านการจัดอบรมให้สหกรณ์ประเภทต่าง ๆ เพื่อให้ชาวสหกรณ์เข้าใจหลักการของสหกรณ์ที่ถูกต้อง[[#_ftn17|[17]]] หลวงเดชสหกรณ์ ยังเสนอให้มีการจัดตั้ง “สหกรณ์อเนกประสงค์” เพื่อให้สหกรณ์สามารถแก้ปัญหาของประชาชนได้หลายแนวทาง[[#_ftn18|[18]]] | ||
หลวงเดชสหกรณ์ ยังให้ความสำคัญกับปัญหาของเกษตรกร ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศในขณะนั้น โดยท่านเป็นผู้ริเริ่มในการจัดตั้ง “กรมส่งเสริมการเกษตร” ซึ่งเป็นแนวทางพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านเกษตรกรรมให้แก่เกษตรกร รวมทั้งยังเป็นผู้ริเริ่มให้มีการจัดตั้ง “ธนาคารสหกรณ์” และได้พัฒนาไปเป็น “ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์” ในปัจจุบัน[[#_ftn19|[19]]] นอกจากนี้ในปี พ.ศ. 2513 หลวงเดชสหกรณ์ ยังเป็นผู้แก้ปัญหาของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม อำเภอหนองโพ จังหวัดราชบุรี โดยใช้รูปแบบสหกรณ์เข้าไปแก้ปัญหา ส่งผลให้เกษตรกรมีความเข้มแข็งอยู่ได้ และพัฒนาผลิตผลของเกษตรกรโคนมดังกล่าวให้กลายเป็นที่รู้จักในชื่อ “นมหนองโพ” จนถึงปัจจุบัน[[#_ftn20|[20]]] | หลวงเดชสหกรณ์ ยังให้ความสำคัญกับปัญหาของเกษตรกร ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศในขณะนั้น โดยท่านเป็นผู้ริเริ่มในการจัดตั้ง “กรมส่งเสริมการเกษตร” ซึ่งเป็นแนวทางพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านเกษตรกรรมให้แก่เกษตรกร รวมทั้งยังเป็นผู้ริเริ่มให้มีการจัดตั้ง “ธนาคารสหกรณ์” และได้พัฒนาไปเป็น “ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์” ในปัจจุบัน[[#_ftn19|[19]]] นอกจากนี้ในปี พ.ศ. 2513 หลวงเดชสหกรณ์ ยังเป็นผู้แก้ปัญหาของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม อำเภอหนองโพ จังหวัดราชบุรี โดยใช้รูปแบบสหกรณ์เข้าไปแก้ปัญหา ส่งผลให้เกษตรกรมีความเข้มแข็งอยู่ได้ และพัฒนาผลิตผลของเกษตรกรโคนมดังกล่าวให้กลายเป็นที่รู้จักในชื่อ “นมหนองโพ” จนถึงปัจจุบัน[[#_ftn20|[20]]] | ||
ผลงานที่สำคัญอีกด้านหนึ่งคือ “การพาณิชย์” โดยเมื่อครั้งที่หลวงเดชสหกรณ์ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์อยู่นั้น เกิดปัญหาได้มีการผลักดันให้จัดตั้งบริษัทของรัฐ เพื่อรองรับพืชผลที่เกษตรกรและสหกรณ์ผลิตได้ บริษัทดังกล่าวได้แก่ บริษัท ข้าวไทย จำกัด, บริษัท พืชผลไทย จำกัด, บริษัท พืชกสิกรรม จำกัด, บริษัท ปอไทย จำกัด และองค์การคลังสินค้า[[#_ftn21|[21]]] ซึ่งบริษัทดังกล่าวจะตัดกลไกของพ่อค้าคนกลางลง ทำให้เกษตรกรขายผลผลิตได้ในราคาที่ดี และผู้บริโภคก็กำลังซื้อด้วย | ผลงานที่สำคัญอีกด้านหนึ่งคือ “การพาณิชย์” โดยเมื่อครั้งที่หลวงเดชสหกรณ์ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์อยู่นั้น เกิดปัญหาได้มีการผลักดันให้จัดตั้งบริษัทของรัฐ เพื่อรองรับพืชผลที่เกษตรกรและสหกรณ์ผลิตได้ บริษัทดังกล่าวได้แก่ บริษัท ข้าวไทย จำกัด, บริษัท พืชผลไทย จำกัด, บริษัท พืชกสิกรรม จำกัด, บริษัท ปอไทย จำกัด และองค์การคลังสินค้า[[#_ftn21|[21]]] ซึ่งบริษัทดังกล่าวจะตัดกลไกของพ่อค้าคนกลางลง ทำให้เกษตรกรขายผลผลิตได้ในราคาที่ดี และผู้บริโภคก็กำลังซื้อด้วย | ||
ผลงานอีกด้านหนึ่งคือ “การปลูกป่า” หลวงเดชสหกรณ์ ให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำเป็นอย่างยิ่ง โดยในช่วงปั้นปลายชีวิตของท่าน ได้ทุ่มเทไปกับงานด้านนี้ โดยได้ขอให้องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้จัดทำโครงการปลูกป่าขึ้น และให้มีการจัดตั้งหมู่บ้านป่าไม้ขึ้นในบริเวณที่จะปลูกป่า ซึ่งโครงการนี้องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ได้ดำเนินการจนเป็นผลสำเร็จ และได้ขยายโครงการเรื่อยมา[[#_ftn22|[22]]] | ผลงานอีกด้านหนึ่งคือ “การปลูกป่า” หลวงเดชสหกรณ์ ให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำเป็นอย่างยิ่ง โดยในช่วงปั้นปลายชีวิตของท่าน ได้ทุ่มเทไปกับงานด้านนี้ โดยได้ขอให้องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้จัดทำโครงการปลูกป่าขึ้น และให้มีการจัดตั้งหมู่บ้านป่าไม้ขึ้นในบริเวณที่จะปลูกป่า ซึ่งโครงการนี้องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ได้ดำเนินการจนเป็นผลสำเร็จ และได้ขยายโครงการเรื่อยมา[[#_ftn22|[22]]] | ||
ในส่วนของเศรษฐกิจมหภาคนั้น หลวงเดชสหกรณ์ได้มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการจัดทำ “แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1” ซึ่งเริ่มต้นมาจากการทำ “ผังเศรษฐกิจ” ในสมัยที่ท่านดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการบริหาร ก.ส.ธ. ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี และเป็นประธานคณะกรรมการจัดทำผังเศรษฐกิจ โดยหลวงเดชสหกรณ์ เป็นรองประธาน และแผนดังกล่าวได้ต่อยอดมาเป็น[[แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ_ฉบับที่_1|แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ_ฉบับที่_1]] ในสมัย[[สฤษดิ์_ธนะรัชต์|จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์]] เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งในฉบับดังกล่าวหลวงเดชสหกรณ์ (หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์) ก็เป็นหนึ่งในคณะกรรมการจัดทำด้วย[[#_ftn23|[23]]] | ในส่วนของเศรษฐกิจมหภาคนั้น หลวงเดชสหกรณ์ได้มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการจัดทำ “แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1” ซึ่งเริ่มต้นมาจากการทำ “ผังเศรษฐกิจ” ในสมัยที่ท่านดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการบริหาร ก.ส.ธ. ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี และเป็นประธานคณะกรรมการจัดทำผังเศรษฐกิจ โดยหลวงเดชสหกรณ์ เป็นรองประธาน และแผนดังกล่าวได้ต่อยอดมาเป็น[[แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ_ฉบับที่_1|แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ_ฉบับที่_1]] ในสมัย[[สฤษดิ์_ธนะรัชต์|จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์]] เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งในฉบับดังกล่าวหลวงเดชสหกรณ์ (หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์) ก็เป็นหนึ่งในคณะกรรมการจัดทำด้วย[[#_ftn23|[23]]] | ||
นอกจากนี้ หลัง[[สงครามโลกครั้งที่_2|สงครามโลกครั้งที่ 2 ]]ในช่วงเวลาที่หลวงเดชสหกรณ์ ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยอยู่นั้น อังกฤษได้ประกาศลดค่าเงินปอนด์ลง ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของไทยด้วย โดยภาวะเศรษฐกิจที่ไทยเผชิญขณะนั้นคือ การขาดแคลนเงินตราต่างประเทศ และปัญหาเงินเฟ้อ หลวงเดชสหกรณ์ จึงแก้ปัญหาด้วยการประกาศลดค่าเงินบาทลงด้วยเช่นเดียวกัน ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยในขณะนั้นต้องควบคุมอัตราดังกล่าวอย่างใกล้ชิด เพราะหากผิดพลาด ย่อมหมายถึงเศรษฐกิจของประเทศจะพังลงไปด้วย นอกจากนี้หลวงเดชสหกรณ์ ได้เริ่มใช้วิธีการพิเศษกับญี่ปุ่น ที่เรียกว่า สัญญาการค้าและชำระเงินแบบทวิภาคี (Bilateral Trade and Payments Agreement) ซึ่งช่วยให้ไทยประหยัดเงินตราต่างประเทศได้ส่วนหนึ่ง และเป็นสร้างตลาดที่ค่อนข้างแน่นอน นอกจากนี้ หลวงเดชสหกรณ์ยังผลักดันให้มีการกู้เงินจากธนาคารโลกเพื่อพัฒนาระบบชลประทาน ก่อตั้งการท่าเรือแห่งประเทศไทย และพัฒนาการรถไฟแห่งประเทศไทย โดยรัฐบาลได้มอบหมายให้หลวงเดชสหกรณ์เป็นผู้แทนไทยในการเจรจาขอกู้เงินในครั้งนี้ด้วย[[#_ftn24|[24]]] | นอกจากนี้ หลัง[[สงครามโลกครั้งที่_2|สงครามโลกครั้งที่ 2 ]]ในช่วงเวลาที่หลวงเดชสหกรณ์ ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยอยู่นั้น อังกฤษได้ประกาศลดค่าเงินปอนด์ลง ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของไทยด้วย โดยภาวะเศรษฐกิจที่ไทยเผชิญขณะนั้นคือ การขาดแคลนเงินตราต่างประเทศ และปัญหาเงินเฟ้อ หลวงเดชสหกรณ์ จึงแก้ปัญหาด้วยการประกาศลดค่าเงินบาทลงด้วยเช่นเดียวกัน ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยในขณะนั้นต้องควบคุมอัตราดังกล่าวอย่างใกล้ชิด เพราะหากผิดพลาด ย่อมหมายถึงเศรษฐกิจของประเทศจะพังลงไปด้วย นอกจากนี้หลวงเดชสหกรณ์ ได้เริ่มใช้วิธีการพิเศษกับญี่ปุ่น ที่เรียกว่า สัญญาการค้าและชำระเงินแบบทวิภาคี (Bilateral Trade and Payments Agreement) ซึ่งช่วยให้ไทยประหยัดเงินตราต่างประเทศได้ส่วนหนึ่ง และเป็นสร้างตลาดที่ค่อนข้างแน่นอน นอกจากนี้ หลวงเดชสหกรณ์ยังผลักดันให้มีการกู้เงินจากธนาคารโลกเพื่อพัฒนาระบบชลประทาน ก่อตั้งการท่าเรือแห่งประเทศไทย และพัฒนาการรถไฟแห่งประเทศไทย โดยรัฐบาลได้มอบหมายให้หลวงเดชสหกรณ์เป็นผู้แทนไทยในการเจรจาขอกู้เงินในครั้งนี้ด้วย[[#_ftn24|[24]]] | ||
| |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 17:56, 19 พฤศจิกายน 2562
ผู้เรียบเรียง : ผศ.ดร.อรรถสิทธิ์ พานแก้ว
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : รศ.ดร.นิยม รัฐอมฤต
“ผมเห็นว่างานสหกรณ์เป็นงานที่มีความสำคัญ
และจำเป็นสำหรับประเทศไทยในอันที่จะใช้เป็นเครื่องมือ
สำหรับแก้ไขความเป็นอยู่ของชาวชนบท
ให้มีฐานะในทางเศรษฐกิจดีขึ้น”
หลวงเดชสหกรณ์ (หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์)[1]
“งานสหกรณ์” ในประเทศไทยนั้น ได้ถือกำเนิดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2459 โดยการริเริ่มของพระวรวงศ์เธอ_กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ หลังจากนั้นอีกเกือบ 30 ปี จึงเกิดธนาคารเพื่อการสหกรณ์แห่งแรก ในปี พ.ศ. 2488 โดยมี “หลวงเดชสหกรณ์ (หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์)” นักเศรษฐศาสตร์ ผู้เติบโตมาในเส้นทางสหกรณ์ เป็นผู้จัดการธนาคาร นอกจากนี้หลวงเดชสหกรณ์ ยังมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนางานสหกรณ์และการเกษตรของประเทศไทยในช่วงหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 โดยได้เป็นรัฐมนตรีว่าการในกระทรวงต่าง ๆ เช่น กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตราธิการ กระทรวงเศรษฐกิจ นอกจากงานด้านการเมืองดังกล่าวแล้ว หลวงเดชสหกรณ์ ยังเคยดำรงตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยในช่วงปี พ.ศ. 2492-2495 และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นองคมนตรีในรัชกาลปัจจุบันด้วยหลวงเดชสหกรณ์ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น “ประธานองคมนตรี” ในปี พ.ศ. 2518 นับเป็นประธานองคมนตรีคนที่ 5 ในรัชกาลปัจจุบัน
ประวัติการศึกษาและชีวิตครอบครัว
หลวงเดชสหกรณ์ (หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์) เกิดเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2441 ณ วังพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ ตำบลป้อมปราบศัตรูพ่าย อำเภอป้อมปราบศัตรูพ่าย จังหวัดพระนคร เป็นบุตรคนที่ 3 ของพลเอก เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน กลาง สนิทวงศ์) กับท่านผู้หญิงวงษานุประพัทธ์ (ตาด สิงหเสนี) ในสายเจ้าพระยามุขมนตรี (เกด สิงหเสนี)[2] มีพี่น้องต่างมารดารวมทั้งสิ้น 14 คน หนึ่งในนั้นคือ หม่อมหลวงบัว สนิทวงศ์ น้องสาวต่างมารดา ซึ่งเป็นพระชนนีในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์_พระบรมราชินีนาถ ดังนั้น หลวงเดชสหกรณ์จึงมีศักดิ์เป็นพระมาตุลาในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถด้วย[3]
หลวงเดชสหกรณ์ เริ่มเข้ารับการศึกษาที่บ้านคุณหญิงหงษ์ ภรรยาของพระยาสิงหเสนีศรีสยามเมนทร์สวามิภักดิ์ ผู้มีศักดิ์เป็นป้า ต่อมาในปี พ.ศ. 2449 ได้เข้าเรียนที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ จนสอบไล่ได้ชั้น 2 ต่อมาทางการได้ย้ายโรงเรียนราชวิทยาลัยไปเปิดเป็นโรงเรียนกินนอนเฉพาะแบบ Public School ของอังกฤษ โดยสังกัดกระทรวงยุติธรรม ที่ตำบลบางขวาง จังหวัดนนทบุรี เมื่อ พ.ศ. 2454 หลวงเดชสหกรณ์ จึงได้เข้าศึกษาในโรงเรียนนี้พร้อมกับพี่ชายและน้องชายอีก 3 คน จนกระทั่งสอบไล่ได้ชั้น 6[4]
ในปี พ.ศ. 2457 หลวงเดชสหกรณ์ ได้รับทุนรัฐบาลให้ไปศึกษาต่อ ณ ประเทศเยอรมนี พร้อมกับหม่อมหลวงอุดม_สนิทวงศ์ ต่อมาสงครามโลกครั้งที่_1 ได้อุบัติขึ้น เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2457 โดยในช่วงเวลาแรกนั้น การศึกษาของหลวงเดชสหกรณ์ ยังไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใด และสามารถเรียนจบชั้น 6 ได้ ในปี พ.ศ. 2460 แต่เมื่อรัฐบาลไทยได้ประกาศสงครามกับเยอรมนี เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2460 รัฐบาลเยอรมนีจึงได้จับกุมหลวงเดชสหกรณ์ (หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์) พร้อมนักเรียนไทยอีก 4 คน คือ นายเติม บุนนาค นายตั้ว ลพานุกรม นายประจวบ บุนนาค และหม่อมหลวงอุดม สนิทวงศ์[5] ต่อมาในปี พ.ศ. 2461 เกิดการปฏิวัติขึ้นในประเทศเยอรมนี นักเรียนไทยที่ถูกจับเป็นเชลยอยู่ได้รับการปล่อยตัวหลวงเดชสหกรณ์ จึงได้เข้าร่วมเป็น “ทหารอาสา” ร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรบุกเข้ายึดประเทศเยอรมนี ภายหลังสิ้นสุดสงครามได้ย้ายไปศึกษาต่อ ณ กรุงเบอร์น ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในปี พ.ศ. 2462 และสามารถสอบเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยกรุงเบอร์น ได้ในปี พ.ศ. 2463 และสำเร็จการศึกษาในระดับดุษฎีบัณฑิต (Doktorrerum Politicarum) เกียรตินิยม (Cum Laude) ในปี พ.ศ. 2468 หลังจากนั้นได้เดินทางไปศึกษาค้นคว้าประวัติศาสตร์เศรษฐศาสตร์ และการค้าระหว่างไทยกับสหราชอาณาจักรอีก 6 เดือน ก่อนจะกลับประเทศไทยในปี พ.ศ. 2469[6]
หลวงเดชสหกรณ์ได้สมรสกับท่านผู้หญิงประยงค์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา บุตรีพระยาอุเทนเทพโกสินทร์ (ประสาน บุรณศิริ) กับคุณหญิงเยื้อน อุเทนเทพโกสินทร์ (เยื้อน สโรบล) เมื่อปี พ.ศ. 2471 มีบุตรธิดารวมทั้งสิ้น 4 คน คือ นางสาววรุณยุพา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา นายพิสิษฐ์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา นายมนูเสรี สนิทวงศ์ ณ อยุธยา และนายเกษม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา[7] หลวงเดชสหกรณ์ ถึงแก่อสัญกรรมด้วยโรคมะเร็งปอด ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2518 เวลา 22.33 น. สิริรวมอายุ 77 ปี[8]
หน้าที่การงานและตำแหน่งทางการเมืองที่สำคัญ
หลวงเดชสหกรณ์เริ่มรับราชการครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2469 เป็นนายเวร กรมบัญชาการ กระทรวงพาณิชย์ ต่อมา พ.ศ. 2471 ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “หลวงเดชสหกรณ์” (ซึ่งลาออกจากบรรดาศักดิ์ใน พ.ศ. 2484)[9] พ.ศ. 2472 เป็นสารวัตรสหกรณ์ ปี พ.ศ. 2475 เป็นอธิบดีกรมสหกรณ์และนายทะเบียนสหกรณ์ กระทรวงเกษตรพาณิชยการ ปี พ.ศ. 2477 เป็นปลัดทบวงเกษตราธิการ พ.ศ. 2478 เป็นปลัดกระทรวงเกษตราธิการ พ.ศ. 2481 รักษาการตำแหน่งอธิบดีกรมที่ดินและโลหกิจ ปี พ.ศ. 2485 เป็นปลัดกระทรวงเศรษฐกิจ และเป็นรักษาการในตำแหน่งปลัดกระทรวงพาณิชย์ในปีเดียวกัน ปี พ.ศ. 2488 เป็นผู้อำนวยการองค์การข้าว ปี พ.ศ. 2490 เป็นผู้จัดการธนาคารเพื่อสหกรณ์ พ.ศ. 2491 เป็นกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) พ.ศ. 2492 เป็นผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2493 เป็นกรรมการสภาเศรษฐกิจแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2496 เป็นประธานคณะกรรมการดำเนินการทำผังเศรษฐกิจของประเทศ และประธานคณะกรรมการร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการกับต่างประเทศ (ก.ศ.ว.) พ.ศ. 2498 เป็นผู้อำนวยการองค์การอุตสาหกรรมห้องเย็น พ.ศ. 2499 เป็นประธานคณะกรรมการร่วมมือกับคณะสำรวจเศรษฐกิจของธนาคารโลก (ก.ส.ธ.) และประธานคณะกรรมการบริหาร ก.ส.ธ. ด้วย ต่อมา พ.ศ. 2501 เป็นประธานที่ปรึกษาหัวหน้าคณะปฏิวัติทางด้านเศรษฐกิจ พ.ศ. 2502 เป็นประธานกรรมการบริหาร สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. 2503 เป็นประธานคณะกรรมการบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2504 เป็นประธานอนุกรรมการวางแผนพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ พ.ศ. 2510 เป็นที่ปรึกษาพิเศษของคณะกรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร[10]
สำหรับตำแหน่งทางการเมืองนั้น หลวงเดชสหกรณ์ ได้ร่วมกับคณะรัฐมนตรีของพระยามโนปกรณ์นิติธาดา ใน พ.ศ. 2475 โดยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีลอย[11] ต่อมาในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ใน พ.ศ. 2481 ได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีลอยในช่วงแรก และปรับเปลี่ยนมาเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตราธิการ ต่อมาในปี พ.ศ. 2485 เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ ในสมัยหลวงโกวิทอภัยวงศ์ (นายควง อภัยวงศ์) เป็นนายกรัฐมนตรี ใน พ.ศ. 2487 หลวงเดชสหกรณ์ ได้เข้าร่วมคณะรัฐมนตรีด้วย โดยดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และได้ร่วมรัฐบาลของหลวงโกวิทอภัยวงศ์ (นายควง อภัยวงศ์) เรื่อยมา โดยใน พ.ศ. 2490 ได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์อีกสมัยหนึ่ง และ พ.ศ. 2491 ได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีสั่งราชการสำนักนายกรัฐมนตรี[12]
ตำแหน่งที่สำคัญของหลวงเดชสหกรณ์ คือการได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นองคมนตรี เมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2490 และเป็น “ประธานองคมนตรี” ในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518[13] นับว่าเป็น “ประธานองคมนตรีคนที่ 5 ในรัชกาลปัจจุบัน”[14] นอกจากนี้ตำแหน่งอื่น ๆ ของหลวงเดชสหกรณ์ ที่อยู่ในภาคเอกชน มักจะเป็นกรรมการบริษัทต่าง ๆ ได้แก่ บริษัท ไทยเศรษฐกิจประกันภัย จำกัด, บริษัท สหเกียรติ จำกัด, บริษัท ธนบุรี พานิช จำกัด, ธนาคารไทยทนุ จำกัด, บริษัท ธนบุรีประกอบรถยนต์ จำกัด, บริษัท ดูเม็กซ์ จำกัด, บริษัท ไฟร์สโตน (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด, บริษัท สินอุตสาหกรรมไทย จำกัด และบริษัท เมืองโบราณ จำกัด[15]
ผลงานที่สำคัญในทางการเมือง
หลวงเดชสหกรณ์ มีความสำคัญเกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประชาชนอย่างมาก ทั้งในรูปแบบของการจัดตั้ง “สหกรณ์” เพื่อให้ประชาชนสามารถรวมกลุ่ม เพื่อให้มีอำนาจต่อรองกับตลาดมากขึ้น ทั้งยังมีความคล่องตัวกว่าระบบราชการ ในการที่จะประสานความต้องการของประชาชนในแต่พื้นที่อีกด้วย[16] ซึ่งหลวงเดชสหกรณ์ ยังให้ความสำคัญกับการที่ภาครัฐจะต้องเข้าไปสนับสนุนงานสหกรณ์ ด้วยการสนับสนุนความรู้ในการดำเนินงานสหกรณ์ ผ่านการจัดอบรมให้สหกรณ์ประเภทต่าง ๆ เพื่อให้ชาวสหกรณ์เข้าใจหลักการของสหกรณ์ที่ถูกต้อง[17] หลวงเดชสหกรณ์ ยังเสนอให้มีการจัดตั้ง “สหกรณ์อเนกประสงค์” เพื่อให้สหกรณ์สามารถแก้ปัญหาของประชาชนได้หลายแนวทาง[18]
หลวงเดชสหกรณ์ ยังให้ความสำคัญกับปัญหาของเกษตรกร ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศในขณะนั้น โดยท่านเป็นผู้ริเริ่มในการจัดตั้ง “กรมส่งเสริมการเกษตร” ซึ่งเป็นแนวทางพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านเกษตรกรรมให้แก่เกษตรกร รวมทั้งยังเป็นผู้ริเริ่มให้มีการจัดตั้ง “ธนาคารสหกรณ์” และได้พัฒนาไปเป็น “ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์” ในปัจจุบัน[19] นอกจากนี้ในปี พ.ศ. 2513 หลวงเดชสหกรณ์ ยังเป็นผู้แก้ปัญหาของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม อำเภอหนองโพ จังหวัดราชบุรี โดยใช้รูปแบบสหกรณ์เข้าไปแก้ปัญหา ส่งผลให้เกษตรกรมีความเข้มแข็งอยู่ได้ และพัฒนาผลิตผลของเกษตรกรโคนมดังกล่าวให้กลายเป็นที่รู้จักในชื่อ “นมหนองโพ” จนถึงปัจจุบัน[20]
ผลงานที่สำคัญอีกด้านหนึ่งคือ “การพาณิชย์” โดยเมื่อครั้งที่หลวงเดชสหกรณ์ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์อยู่นั้น เกิดปัญหาได้มีการผลักดันให้จัดตั้งบริษัทของรัฐ เพื่อรองรับพืชผลที่เกษตรกรและสหกรณ์ผลิตได้ บริษัทดังกล่าวได้แก่ บริษัท ข้าวไทย จำกัด, บริษัท พืชผลไทย จำกัด, บริษัท พืชกสิกรรม จำกัด, บริษัท ปอไทย จำกัด และองค์การคลังสินค้า[21] ซึ่งบริษัทดังกล่าวจะตัดกลไกของพ่อค้าคนกลางลง ทำให้เกษตรกรขายผลผลิตได้ในราคาที่ดี และผู้บริโภคก็กำลังซื้อด้วย
ผลงานอีกด้านหนึ่งคือ “การปลูกป่า” หลวงเดชสหกรณ์ ให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำเป็นอย่างยิ่ง โดยในช่วงปั้นปลายชีวิตของท่าน ได้ทุ่มเทไปกับงานด้านนี้ โดยได้ขอให้องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้จัดทำโครงการปลูกป่าขึ้น และให้มีการจัดตั้งหมู่บ้านป่าไม้ขึ้นในบริเวณที่จะปลูกป่า ซึ่งโครงการนี้องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ได้ดำเนินการจนเป็นผลสำเร็จ และได้ขยายโครงการเรื่อยมา[22]
ในส่วนของเศรษฐกิจมหภาคนั้น หลวงเดชสหกรณ์ได้มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการจัดทำ “แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1” ซึ่งเริ่มต้นมาจากการทำ “ผังเศรษฐกิจ” ในสมัยที่ท่านดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการบริหาร ก.ส.ธ. ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี และเป็นประธานคณะกรรมการจัดทำผังเศรษฐกิจ โดยหลวงเดชสหกรณ์ เป็นรองประธาน และแผนดังกล่าวได้ต่อยอดมาเป็นแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ_ฉบับที่_1 ในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งในฉบับดังกล่าวหลวงเดชสหกรณ์ (หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์) ก็เป็นหนึ่งในคณะกรรมการจัดทำด้วย[23]
นอกจากนี้ หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในช่วงเวลาที่หลวงเดชสหกรณ์ ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยอยู่นั้น อังกฤษได้ประกาศลดค่าเงินปอนด์ลง ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของไทยด้วย โดยภาวะเศรษฐกิจที่ไทยเผชิญขณะนั้นคือ การขาดแคลนเงินตราต่างประเทศ และปัญหาเงินเฟ้อ หลวงเดชสหกรณ์ จึงแก้ปัญหาด้วยการประกาศลดค่าเงินบาทลงด้วยเช่นเดียวกัน ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยในขณะนั้นต้องควบคุมอัตราดังกล่าวอย่างใกล้ชิด เพราะหากผิดพลาด ย่อมหมายถึงเศรษฐกิจของประเทศจะพังลงไปด้วย นอกจากนี้หลวงเดชสหกรณ์ ได้เริ่มใช้วิธีการพิเศษกับญี่ปุ่น ที่เรียกว่า สัญญาการค้าและชำระเงินแบบทวิภาคี (Bilateral Trade and Payments Agreement) ซึ่งช่วยให้ไทยประหยัดเงินตราต่างประเทศได้ส่วนหนึ่ง และเป็นสร้างตลาดที่ค่อนข้างแน่นอน นอกจากนี้ หลวงเดชสหกรณ์ยังผลักดันให้มีการกู้เงินจากธนาคารโลกเพื่อพัฒนาระบบชลประทาน ก่อตั้งการท่าเรือแห่งประเทศไทย และพัฒนาการรถไฟแห่งประเทศไทย โดยรัฐบาลได้มอบหมายให้หลวงเดชสหกรณ์เป็นผู้แทนไทยในการเจรจาขอกู้เงินในครั้งนี้ด้วย[24]
บรรณานุกรม
จีรวัฒน์ ครองแก้ว, องคมนตรี ศักดิ์ศรีแผ่นดิน, (กรุงเทพฯ : มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ, 2550).
ธนาคารแห่งประเทศไทย, อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์ ป.จ. ,ม.ป.ช.,ม.ว.ม., (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ศิวพร, 2518).
คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์ กับงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์บพิธ, 2518).
'อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์ ป.จ.',ม.ป.ช.,ม.ว.ม., (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์พระจันทร์, 2518).
[1] คำกล่าวปิดการสัมมนา เรื่อง “งานสหกรณ์กับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม” ของ หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์ จัดโดยคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ 21-22 กันยายน พ.ศ. 2515 ณ ศูนย์สารนิเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[2] ธนาคารแห่งประเทศไทย, อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์ ป.จ.,ม.ป.ช.,ม.ว.ม., (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ศิวพร, 2518), น. 3.
[3] อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์ ป.จ.,ม.ป.ช.,ม.ว.ม., (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์พระจันทร์, 2518), น. (20).
[4] ธนาคารแห่งประเทศไทย, อ้างแล้ว, น. 4.
[5] เพิ่งอ้าง, น. 5.
[6] เพิ่งอ้าง, น. 6.
[7] อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์ ป.จ.,ม.ป.ช.,ม.ว.ม., น. (7).
[8] เพิ่งอ้าง, น. (18).
[9] เพิ่งอ้าง, น. (15).
[10] ธนาคารแห่งประเทศไทย, อ้างแล้ว, น. 9-10.
[11] เพิ่งอ้าง, น. 8.
[12] เพิ่งอ้าง, น. 9.
[13] อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์ ป.จ.,ม.ป.ช.,ม.ว.ม., น. (9).
[14] จีรวัฒน์ ครองแก้ว, องคมนตรี ศักดิ์ศรีแผ่นดิน, (กรุงเทพฯ : มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ, 2550), น. 230.
[15] อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์ ป.จ.,ม.ป.ช.,ม.ว.ม., น. (16)-(17).
[16] คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์ กับงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์บพิธ, 2518), น. (5).
[17] อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์ ป.จ.,ม.ป.ช.,ม.ว.ม., น. 233.
[18] เพิ่งอ้าง, น. 234.
[19] คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, อ้างแล้ว, น. (4).
[20] เพิ่งอ้าง, น. 119-140.
[21] เพิ่งอ้าง, น. (6).
[22] เพิ่งอ้าง, น. (7).
[23] เพิ่งอ้าง, น. 26-35.
[24] ธนาคารแห่งประเทศไทย, อ้างแล้ว, น. 1-2.