ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การสาธารณสุข"
หน้าที่ถูกสร้างด้วย ''''ผู้เรียบเรียง''' : วิกัลย์ พงศ์พนิตานนท์ '''ผู้ทรงค...' |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 1: | บรรทัดที่ 1: | ||
'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' : นางสาวิตรี สุวรรณสถิตย์ | '''ผู้เรียบเรียง''' : วิกัลย์ พงศ์พนิตานนท์ | ||
'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' : นางสาวิตรี สุวรรณสถิตย์ | |||
== ความเป็นมา == | == ความเป็นมา == | ||
รัฐให้ความสำคัญการสาธารณสุขเนื่องจากเกี่ยวข้องโดยตรงต่อชีวิตประชาชนและส่งผลถึงความมั่นคงผาสุกของสังคมในสมัยสังคมจารีต การป้องกันโรคระบาดที่คร่าชีวิตผู้คนจำนวนมาก ส่วนใหญ่ทำตามความเชื่อเพื่อเป็นขวัญกำลังใจ เช่น พิธีอาพาธพินาศเมื่ออหิวาตกโรคระบาด และทำตามความรู้ที่ถ่ายทอดในสังคมรวมทั้งส่งผ่านจากภายนอก ได้แก่ การป้องกันไข้ทรพิษมีการปลูกฝีทรพิษตามแนวทางแพทย์จีนมาเป็นเวลายาวนาน ตราบกระทั่งผลสำเร็จจากการเพาะหนองฝีวัว เมื่อมิชชันนารีเผยแพร่สู่สยามในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น รัฐจึงสนับสนุนการปลูกฝีอย่างต่อเนื่อง ทำให้ไข้ทรพิษไม่เป็นปัญหาทางสาธารณสุขของประเทศอีกต่อไป | |||
[[ | ใน[[รัชกาลที่_๕|รัชกาลที่ ๕]] การพัฒนาบ้านเมืองปรากฏเป็นรูปธรรมชัดเจน เป็นยุคสมัยแห่งการเปลี่ยนผ่านสู่ความเป็นสมัยใหม่ ด้านการสาธารณสุขเริ่มต้นมีหน่วยงานระดับกรม ใน พ.ศ. ๒๔๓๑ คือ กรมพยาบาล ทำหน้าที่ดูแลกิจการโรงพยาบาล จัดการศึกษาวิชาแพทย์ รับผิดชอบการผลิตและจัดหายาและจัดการปลูกฝีเป็นทานแก่ประชาชน ต่อมา ใน พ.ศ. ๒๔๕๙ เปลี่ยนชื่อกรมพยาบาล เป็นกรมประชาภิบาล สังกัด[[กระทรวงมหาดไทย|กระทรวงมหาดไทย]] | ||
[[กฎหมาย|กฎหมาย]]ที่เกี่ยวข้องกับการสาธารณสุขประกาศใช้เป็นครั้งแรก คือ พระราชกำหนดศุขาภิบาล กรุงเทพฯ รัตนโกสินทร์ศก ๑๑๖ (พ.ศ. ๒๔๔๐) ตั้งกรมสุขาภิบาล ในกระทรวงนครบาล ทำหน้าที่รักษาความสะอาด ป้องกันโรคภยันตราย ในกรุงเทพฯ มีนายแพทย์สุขาภิบาล และเจ้าพนักงานตำแหน่งช่างใหญ่ศุขาภิบาล ผู้บัญชาการกรมศุขาภิบาลคนแรก คือ [[พระยาเทเวศรวงษ์วิวัฒน์|พระยาเทเวศรวงษ์วิวัฒน์]] (หม่อมราชวงศ์หลาน กุญชร ต่อมาเป็นเจ้าพระยา) | |||
พ.ศ. ๒๔๖๑ [[รัชกาลที่_6|รัชกาลที่ 6]] ทรงพระราชดำริว่าหน่วยงานดูแลรับผิดชอบการสาธารณสุขมีทั้งในกระทรวงนครบาล และกระทรวงมหาดไทย จึงโปรดเกล้าฯ ให้แยกการศุขาภิบาลออกจากกระทรวงนครบาล รวมกับกรมประชาภิบาลในกระทรวงมหาดไทย ตั้งขึ้นเป็นกรมสาธารณสุข สังกัดกระทรวงมหาดไทย มีหน้าที่ดำเนินการสาธารณสุขของประเทศโดยทั่วไป งานหน้าที่ของนายแพทย์สุขาภิบาลโอนรวมไว้ในกรมสาธารณสุข อธิบดีกรมสาธารณสุขเมื่อแรก คือ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนไชยนาทนเรนทร (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร) ทรงอยู่ในตำแหน่งจนถึง พ.ศ. ๒๔๖๘ จึงทรงลาออกจากราชการ ส่วนการ[[นคราภิบาล|นคราภิบาล]] (Municipality) ให้ขึ้นกับกระทรวงนครบาลตามเดิม (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นกรมนคราทร แล้วเปลี่ยนเป็น กรมโยธาเทศบาล เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๖) | |||
| |||
== การสาธารณสุขในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว == | == การสาธารณสุขในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว == | ||
รัฐมอบหมายงานสาธารณสุขผ่านกรมสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย ซึ่งเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๑ [[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แยกงานแผนก Public Health (ป้องกันความป่วยไข้ ให้ความศุขแก่ประชาชน) จากกรมศุขาภิบาลไปรวมกับกรมสาธารณสุข แต่ในเวลานั้นมีเหตุทำให้ไม่สามารถดำเนินการได้ จนถึงเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๖๘ จึงดำเนินการโอนงานสาธารณสุขในกรมศุขาภิบาลไปรวมกับกรมสาธารณสุข กรมสาธารณสุขดำเนินงานในปีแรกของรัชกาล[[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ตามโครงสร้างใหม่ ดังนี้ | รัฐมอบหมายงานสาธารณสุขผ่านกรมสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย ซึ่งเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๑ [[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว|พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แยกงานแผนก Public Health (ป้องกันความป่วยไข้ ให้ความศุขแก่ประชาชน) จากกรมศุขาภิบาลไปรวมกับกรมสาธารณสุข แต่ในเวลานั้นมีเหตุทำให้ไม่สามารถดำเนินการได้ จนถึงเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๖๘ จึงดำเนินการโอนงานสาธารณสุขในกรมศุขาภิบาลไปรวมกับกรมสาธารณสุข กรมสาธารณสุขดำเนินงานในปีแรกของรัชกาล[[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว|พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ตามโครงสร้างใหม่ ดังนี้ | ||
๑ การปกครองและจัดการเกี่ยวแก่โรงพยาบาลต่าง ๆ มี | ๑ การปกครองและจัดการเกี่ยวแก่โรงพยาบาลต่าง ๆ มี | ||
ก. โรงพยาบาลกลาง | ก. โรงพยาบาลกลาง | ||
ข. โรงพยาบาลบางรัก | ข. โรงพยาบาลบางรัก | ||
ค. โรงพยาบาลคนเสียจริต | ค. โรงพยาบาลคนเสียจริต | ||
ฆ. | ฆ. โรงพยาบาลโรคติดต่อ | ||
๒ | ๒ ที่ทำการตรวจหาเชื้อโรคต่าง ๆ | ||
๓ | ๓ การตรวจ และป้องกันโรคฝ่ายบก (โรคติดต่อ) มี | ||
ก. | ก. ตรวจ และป้องกันไข้ทรพิษ | ||
ข. | ข. การตรวจ และป้องกันอหิวาตกะโรค | ||
ค. | ค. การตรวจ และป้องกันกาฬโรค รวมทั้งการทำลายสัตว์ร้ายต่าง ๆ | ||
๔ | ๔ การตรวจศพ | ||
๕ | ๕ การตรวจ และป้องกันโรคร้ายทางทะเล | ||
วันที่ ๑๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๘ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อน[[หม่อมเจ้าสกลวรรณากร]] ผู้ช่วยอธิบดีกรมสาธารณสุขขึ้นเป็นอธิบดีกรมสาธารณสุข | วันที่ ๑๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๘ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อน[[หม่อมเจ้าสกลวรรณากร|หม่อมเจ้าสกลวรรณากร]] ผู้ช่วยอธิบดีกรมสาธารณสุขขึ้นเป็นอธิบดีกรมสาธารณสุข | ||
พ.ศ. ๒๔๗๑ | พ.ศ. ๒๔๗๑ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งสภาการสาธารณสุขประจำชาติ เนื่องด้วยการผดุงและสงวนไว้ซึ่งอนามัยของประชาชน เป็นกิจการสำคัญสำหรับชาติ การสาธารณสุข ประกอบด้วย การสุขาภิบาล การบำบัดโรค การป้องกันและปราบปรามโรคระบาด และโรคร้ายแรงบางชนิด การอนามัยพิทักษ์ การอนามัยศึกษา ฯลฯ แต่มีหน่วยงานทั้งของรัฐและเอกชนดำเนินการต่างฝ่ายต่างทำ สภาการสาธารณสุขประจำชาติที่ตั้งขึ้นนี้ทำหน้าที่ประสานระหว่างหน่วยงาน แบ่งปันหน้าที่มิให้ซับซ้อนก้าวก่าย วางแผนป้องกันปราบปรามโรคระบาดโรคร้ายบางชนิด และการบรรเทาทุกข์สาธารณภัย อธิบดีกรมสาธารณสุขเป็นสภานายกโดยตำแหน่ง มีกรรมการจากกระทรวงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง | ||
'''เหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวเนื่องกับงานสาธารณสุขในรัชกาล''' | '''เหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวเนื่องกับงานสาธารณสุขในรัชกาล''' | ||
'''''อหิวาตกโรคระบาด พ.ศ. ๒๔๖๙''''' นับเป็นการระบาดใหญ่ในพระนคร | '''''อหิวาตกโรคระบาด พ.ศ. ๒๔๖๙''''' นับเป็นการระบาดใหญ่ในพระนคร พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ บริษัทห้างร้าน และเอกชน ร่วมกันต่อสู้โรคร้ายมีการจัดตั้งโรงพยาบาลชั่วคราวเพื่อรับผู้ป่วยไว้รักษา ดังเช่น พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมขุนไชยนาทนเรนทร อดีตอธิบดีกรมสาธารณสุข ประทานวังเดิมให้เป็นโรงพยาบาลชั่วคราว สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสามาตุจฉาเจ้า พระราชทานยาไอซาลสำหรับพ่นทำลายเชื้อในสิ่งขับถ่ายที่ออกมาจากผู้ป่วยแก่โรงพยาบาลชั่วคราว และโรงพยาบาลบางรัก สภากาชาดสยามให้วัคซีนป้องกันอหิวาตกโรคแก่กรมสาธารณสุข ให้ยืมรถยนต์พยาบาลรับส่งผู้ป่วย มีบริษัทห้างร้านข้าราชการให้ยืมรถยนต์ เรือยนต์ สำหรับรับส่งผู้ป่วย มอบเครื่องพ่นยาไอซาลและเครื่องทำลายเชื้อโรคแก่กรมสาธารณสุข | ||
ด้วยความร่วมมือของหมู่ชนทุกระดับ ทำให้กรมสาธารณสุขสามารถควบคุมโรคระบาดครั้งนั้นได้รวดเร็วมีประสิทธิภาพ | ด้วยความร่วมมือของหมู่ชนทุกระดับ ทำให้กรมสาธารณสุขสามารถควบคุมโรคระบาดครั้งนั้นได้รวดเร็วมีประสิทธิภาพ | ||
'''''การป้องกันไข้ทรพิษ''''' ในช่วงเวลาที่ไข้ทรพิษเป็นปัญหาทางสาธารณสุข กรมสาธารณสุขจ่ายหนองฝีแก่เจ้าพนักงานไปจัดการปลูกป้องกันตามท้องที่ต่าง ๆ | '''''การป้องกันไข้ทรพิษ''''' ในช่วงเวลาที่ไข้ทรพิษเป็นปัญหาทางสาธารณสุข กรมสาธารณสุขจ่ายหนองฝีแก่เจ้าพนักงานไปจัดการปลูกป้องกันตามท้องที่ต่าง ๆ | ||
ในรัชสมัย เมื่อพ.ศ. ๒๔๗๐ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ มีประกาศให้ใช้[[พระราชบัญญัติจัดการป้องกันไข้ทรพิษ_พระพุทธศักราช_๒๔๕๖|พระราชบัญญัติจัดการป้องกันไข้ทรพิษ พระพุทธศักราช ๒๔๕๖]] ใน[[มณฑลอุดร|มณฑลอุดร]] ทั้งนี้ เนื่องจากเมื่อประกาศใช้มีความว่า''ถ้าจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้พระราชบัญัตินี้ในมณฑลใด จะได้ประกาศในหนังสือ[[ราชกิจจานุเบกษา|ราชกิจจานุเบกษา]]เป็นสำคัญ'' | |||
'''''การกำกับตรวจตราคนต่างด้าวเข้าประเทศสยาม'''''กำหนดโรคของคนต่างด้าวทำให้เป็นคนไม่พึงปรารถนาคือ โรคเรื้อน (Leprosy) ริดสีดวงตา (Trachoma) วัณโรค (Tuberculosis) และกามโรค (Venereal Diseases) นอกเหนือจากบุคคลซึ่งยังมิได้ปลูกฝีป้องกันทรพิษ และไม่ยอมปลูกฝีตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ หรือเป็นผู้มีร่างกายพิการหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคซึ่งทำให้ไม่สามารถประกอบการหาเลี้ยงชีพได้ ให้ส่งไปควบคุมไว้ยังโรงพยาบาลซึ่งนายแพทย์จะได้กะกำหนดให้เพื่อจัดการต่อไป หรือจะสั่งให้กักไว้ในยานพาหนะทางน้ำซึ่งนำคนต่างด้าวผู้นั้นเข้ามา หรือจะสั่งให้กลับออกไปโดยยานพาหนะทางน้ำนั้นก็ทำได้ แล้วแต่จะเป็นสมควร | |||
นอกเหนือจากงานสาธารณสุขในความรับผิดชอบของ[[รัฐบาล|รัฐบาล]] สภากาชาดสยามทำการบำบัดโรคและการอนามัยมีหน่วยงานเอกชน เช่น คณะมิชชันนารีทำการบำบัดโรคเรื้อน และเปิดสถานพยาบาล | |||
วันที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๖ รัฐบาลขอโอนโรงพยาบาลโรคเรื้อนที่พระประแดง ในสังกัดสภากาชาดสยาม เป็นโรงพยาบาลของรัฐ ตามที่รัฐบาลเห็นว่ารัฐให้เงินอุดหนุนเป็นส่วนใหญ่ สภากาชาดจึงโอนงานและสำนักคนป่วยโรคเรื้อนที่พระประแดงพร้อมทั้งเจ้าหน้าที่ และเงินค่าใช้จ่ายส่วนการโรคเรื้อน ให้กระทรวงมหาดไทยรับไปดำเนินการ ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๗ | |||
'''''ยาเสพติดให้โทษ'''''เป็นปัญหาใหญ่ของสังคม รัฐควบคุมการนำเข้ามา ขายไป และจำนวนคงอยู่ และรายงานไปยังสันนิบาตชาติเป็นประจำปี ยาเสพติดดังกล่าว ได้แก่ มอร์ฟีน โคคะอีน เฮโรอิน ฝิ่นยา โคเดอีน และไดโอนีน ยาเสพติดให้โทษนี้หากมีปริมาณที่ลักลอบนำเข้าผิดกฎหมาย ให้กรมศุลกากรยึดส่งกรมสาธารณสุข | |||
'''''ยาเสพติดให้โทษ'''''เป็นปัญหาใหญ่ของสังคม รัฐควบคุมการนำเข้ามา ขายไป และจำนวนคงอยู่ และรายงานไปยังสันนิบาตชาติเป็นประจำปี ยาเสพติดดังกล่าว ได้แก่ มอร์ฟีน โคคะอีน เฮโรอิน ฝิ่นยา โคเดอีน และไดโอนีน ยาเสพติดให้โทษนี้หากมีปริมาณที่ลักลอบนำเข้าผิดกฎหมาย | |||
สรุปได้ว่างานสาธารณสุขในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวดำเนินการโดยหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานเอกชน พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ และประชาชน นับเป็นยุคสมัยการบุกเบิกเป็นรากฐานการสาธารณสุขได้พัฒนาหน่วยงานขึ้นเป็นกระทรวงในเวลาต่อมา | สรุปได้ว่างานสาธารณสุขในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวดำเนินการโดยหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานเอกชน พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ และประชาชน นับเป็นยุคสมัยการบุกเบิกเป็นรากฐานการสาธารณสุขได้พัฒนาหน่วยงานขึ้นเป็นกระทรวงในเวลาต่อมา | ||
| |||
== บรรณานุกรม == | |||
พระยาบริรักษ์เวชชการ และ คณะ. ๒๔๗๗. การสาธารณสุขและสาธารณูปการ. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง. เว็บไซต์ฐานข้อมูลราชกิจจานุเบกษาและการพัฒนากฎหมายอิเล็กทรอนิกส์ ๒๕๕๗: สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา. [http://www.ratchakitcha.soc.go.th http://www.ratchakitcha.soc.go.th]. (สืบค้นเมื่อ กันยายน-ตุลาคม ๒๕๕๗) | |||
[[หมวดหมู่:พระปกเกล้าศึกษา]] | |||
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 12:59, 19 พฤษภาคม 2560
ผู้เรียบเรียง : วิกัลย์ พงศ์พนิตานนท์
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : นางสาวิตรี สุวรรณสถิตย์
ความเป็นมา
รัฐให้ความสำคัญการสาธารณสุขเนื่องจากเกี่ยวข้องโดยตรงต่อชีวิตประชาชนและส่งผลถึงความมั่นคงผาสุกของสังคมในสมัยสังคมจารีต การป้องกันโรคระบาดที่คร่าชีวิตผู้คนจำนวนมาก ส่วนใหญ่ทำตามความเชื่อเพื่อเป็นขวัญกำลังใจ เช่น พิธีอาพาธพินาศเมื่ออหิวาตกโรคระบาด และทำตามความรู้ที่ถ่ายทอดในสังคมรวมทั้งส่งผ่านจากภายนอก ได้แก่ การป้องกันไข้ทรพิษมีการปลูกฝีทรพิษตามแนวทางแพทย์จีนมาเป็นเวลายาวนาน ตราบกระทั่งผลสำเร็จจากการเพาะหนองฝีวัว เมื่อมิชชันนารีเผยแพร่สู่สยามในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น รัฐจึงสนับสนุนการปลูกฝีอย่างต่อเนื่อง ทำให้ไข้ทรพิษไม่เป็นปัญหาทางสาธารณสุขของประเทศอีกต่อไป
ในรัชกาลที่ ๕ การพัฒนาบ้านเมืองปรากฏเป็นรูปธรรมชัดเจน เป็นยุคสมัยแห่งการเปลี่ยนผ่านสู่ความเป็นสมัยใหม่ ด้านการสาธารณสุขเริ่มต้นมีหน่วยงานระดับกรม ใน พ.ศ. ๒๔๓๑ คือ กรมพยาบาล ทำหน้าที่ดูแลกิจการโรงพยาบาล จัดการศึกษาวิชาแพทย์ รับผิดชอบการผลิตและจัดหายาและจัดการปลูกฝีเป็นทานแก่ประชาชน ต่อมา ใน พ.ศ. ๒๔๕๙ เปลี่ยนชื่อกรมพยาบาล เป็นกรมประชาภิบาล สังกัดกระทรวงมหาดไทย
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการสาธารณสุขประกาศใช้เป็นครั้งแรก คือ พระราชกำหนดศุขาภิบาล กรุงเทพฯ รัตนโกสินทร์ศก ๑๑๖ (พ.ศ. ๒๔๔๐) ตั้งกรมสุขาภิบาล ในกระทรวงนครบาล ทำหน้าที่รักษาความสะอาด ป้องกันโรคภยันตราย ในกรุงเทพฯ มีนายแพทย์สุขาภิบาล และเจ้าพนักงานตำแหน่งช่างใหญ่ศุขาภิบาล ผู้บัญชาการกรมศุขาภิบาลคนแรก คือ พระยาเทเวศรวงษ์วิวัฒน์ (หม่อมราชวงศ์หลาน กุญชร ต่อมาเป็นเจ้าพระยา)
พ.ศ. ๒๔๖๑ รัชกาลที่ 6 ทรงพระราชดำริว่าหน่วยงานดูแลรับผิดชอบการสาธารณสุขมีทั้งในกระทรวงนครบาล และกระทรวงมหาดไทย จึงโปรดเกล้าฯ ให้แยกการศุขาภิบาลออกจากกระทรวงนครบาล รวมกับกรมประชาภิบาลในกระทรวงมหาดไทย ตั้งขึ้นเป็นกรมสาธารณสุข สังกัดกระทรวงมหาดไทย มีหน้าที่ดำเนินการสาธารณสุขของประเทศโดยทั่วไป งานหน้าที่ของนายแพทย์สุขาภิบาลโอนรวมไว้ในกรมสาธารณสุข อธิบดีกรมสาธารณสุขเมื่อแรก คือ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนไชยนาทนเรนทร (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร) ทรงอยู่ในตำแหน่งจนถึง พ.ศ. ๒๔๖๘ จึงทรงลาออกจากราชการ ส่วนการนคราภิบาล (Municipality) ให้ขึ้นกับกระทรวงนครบาลตามเดิม (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นกรมนคราทร แล้วเปลี่ยนเป็น กรมโยธาเทศบาล เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๖)
การสาธารณสุขในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัฐมอบหมายงานสาธารณสุขผ่านกรมสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย ซึ่งเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๑ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แยกงานแผนก Public Health (ป้องกันความป่วยไข้ ให้ความศุขแก่ประชาชน) จากกรมศุขาภิบาลไปรวมกับกรมสาธารณสุข แต่ในเวลานั้นมีเหตุทำให้ไม่สามารถดำเนินการได้ จนถึงเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๖๘ จึงดำเนินการโอนงานสาธารณสุขในกรมศุขาภิบาลไปรวมกับกรมสาธารณสุข กรมสาธารณสุขดำเนินงานในปีแรกของรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ตามโครงสร้างใหม่ ดังนี้
๑ การปกครองและจัดการเกี่ยวแก่โรงพยาบาลต่าง ๆ มี
ก. โรงพยาบาลกลาง
ข. โรงพยาบาลบางรัก
ค. โรงพยาบาลคนเสียจริต
ฆ. โรงพยาบาลโรคติดต่อ
๒ ที่ทำการตรวจหาเชื้อโรคต่าง ๆ
๓ การตรวจ และป้องกันโรคฝ่ายบก (โรคติดต่อ) มี
ก. ตรวจ และป้องกันไข้ทรพิษ
ข. การตรวจ และป้องกันอหิวาตกะโรค
ค. การตรวจ และป้องกันกาฬโรค รวมทั้งการทำลายสัตว์ร้ายต่าง ๆ
๔ การตรวจศพ
๕ การตรวจ และป้องกันโรคร้ายทางทะเล
วันที่ ๑๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๘ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนหม่อมเจ้าสกลวรรณากร ผู้ช่วยอธิบดีกรมสาธารณสุขขึ้นเป็นอธิบดีกรมสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๔๗๑ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งสภาการสาธารณสุขประจำชาติ เนื่องด้วยการผดุงและสงวนไว้ซึ่งอนามัยของประชาชน เป็นกิจการสำคัญสำหรับชาติ การสาธารณสุข ประกอบด้วย การสุขาภิบาล การบำบัดโรค การป้องกันและปราบปรามโรคระบาด และโรคร้ายแรงบางชนิด การอนามัยพิทักษ์ การอนามัยศึกษา ฯลฯ แต่มีหน่วยงานทั้งของรัฐและเอกชนดำเนินการต่างฝ่ายต่างทำ สภาการสาธารณสุขประจำชาติที่ตั้งขึ้นนี้ทำหน้าที่ประสานระหว่างหน่วยงาน แบ่งปันหน้าที่มิให้ซับซ้อนก้าวก่าย วางแผนป้องกันปราบปรามโรคระบาดโรคร้ายบางชนิด และการบรรเทาทุกข์สาธารณภัย อธิบดีกรมสาธารณสุขเป็นสภานายกโดยตำแหน่ง มีกรรมการจากกระทรวงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
เหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวเนื่องกับงานสาธารณสุขในรัชกาล
อหิวาตกโรคระบาด พ.ศ. ๒๔๖๙ นับเป็นการระบาดใหญ่ในพระนคร พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ บริษัทห้างร้าน และเอกชน ร่วมกันต่อสู้โรคร้ายมีการจัดตั้งโรงพยาบาลชั่วคราวเพื่อรับผู้ป่วยไว้รักษา ดังเช่น พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมขุนไชยนาทนเรนทร อดีตอธิบดีกรมสาธารณสุข ประทานวังเดิมให้เป็นโรงพยาบาลชั่วคราว สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสามาตุจฉาเจ้า พระราชทานยาไอซาลสำหรับพ่นทำลายเชื้อในสิ่งขับถ่ายที่ออกมาจากผู้ป่วยแก่โรงพยาบาลชั่วคราว และโรงพยาบาลบางรัก สภากาชาดสยามให้วัคซีนป้องกันอหิวาตกโรคแก่กรมสาธารณสุข ให้ยืมรถยนต์พยาบาลรับส่งผู้ป่วย มีบริษัทห้างร้านข้าราชการให้ยืมรถยนต์ เรือยนต์ สำหรับรับส่งผู้ป่วย มอบเครื่องพ่นยาไอซาลและเครื่องทำลายเชื้อโรคแก่กรมสาธารณสุข
ด้วยความร่วมมือของหมู่ชนทุกระดับ ทำให้กรมสาธารณสุขสามารถควบคุมโรคระบาดครั้งนั้นได้รวดเร็วมีประสิทธิภาพ
การป้องกันไข้ทรพิษ ในช่วงเวลาที่ไข้ทรพิษเป็นปัญหาทางสาธารณสุข กรมสาธารณสุขจ่ายหนองฝีแก่เจ้าพนักงานไปจัดการปลูกป้องกันตามท้องที่ต่าง ๆ
ในรัชสมัย เมื่อพ.ศ. ๒๔๗๐ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ มีประกาศให้ใช้พระราชบัญญัติจัดการป้องกันไข้ทรพิษ พระพุทธศักราช ๒๔๕๖ ในมณฑลอุดร ทั้งนี้ เนื่องจากเมื่อประกาศใช้มีความว่าถ้าจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้พระราชบัญัตินี้ในมณฑลใด จะได้ประกาศในหนังสือราชกิจจานุเบกษาเป็นสำคัญ
การกำกับตรวจตราคนต่างด้าวเข้าประเทศสยามกำหนดโรคของคนต่างด้าวทำให้เป็นคนไม่พึงปรารถนาคือ โรคเรื้อน (Leprosy) ริดสีดวงตา (Trachoma) วัณโรค (Tuberculosis) และกามโรค (Venereal Diseases) นอกเหนือจากบุคคลซึ่งยังมิได้ปลูกฝีป้องกันทรพิษ และไม่ยอมปลูกฝีตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ หรือเป็นผู้มีร่างกายพิการหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคซึ่งทำให้ไม่สามารถประกอบการหาเลี้ยงชีพได้ ให้ส่งไปควบคุมไว้ยังโรงพยาบาลซึ่งนายแพทย์จะได้กะกำหนดให้เพื่อจัดการต่อไป หรือจะสั่งให้กักไว้ในยานพาหนะทางน้ำซึ่งนำคนต่างด้าวผู้นั้นเข้ามา หรือจะสั่งให้กลับออกไปโดยยานพาหนะทางน้ำนั้นก็ทำได้ แล้วแต่จะเป็นสมควร
นอกเหนือจากงานสาธารณสุขในความรับผิดชอบของรัฐบาล สภากาชาดสยามทำการบำบัดโรคและการอนามัยมีหน่วยงานเอกชน เช่น คณะมิชชันนารีทำการบำบัดโรคเรื้อน และเปิดสถานพยาบาล
วันที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๖ รัฐบาลขอโอนโรงพยาบาลโรคเรื้อนที่พระประแดง ในสังกัดสภากาชาดสยาม เป็นโรงพยาบาลของรัฐ ตามที่รัฐบาลเห็นว่ารัฐให้เงินอุดหนุนเป็นส่วนใหญ่ สภากาชาดจึงโอนงานและสำนักคนป่วยโรคเรื้อนที่พระประแดงพร้อมทั้งเจ้าหน้าที่ และเงินค่าใช้จ่ายส่วนการโรคเรื้อน ให้กระทรวงมหาดไทยรับไปดำเนินการ ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๗
ยาเสพติดให้โทษเป็นปัญหาใหญ่ของสังคม รัฐควบคุมการนำเข้ามา ขายไป และจำนวนคงอยู่ และรายงานไปยังสันนิบาตชาติเป็นประจำปี ยาเสพติดดังกล่าว ได้แก่ มอร์ฟีน โคคะอีน เฮโรอิน ฝิ่นยา โคเดอีน และไดโอนีน ยาเสพติดให้โทษนี้หากมีปริมาณที่ลักลอบนำเข้าผิดกฎหมาย ให้กรมศุลกากรยึดส่งกรมสาธารณสุข
สรุปได้ว่างานสาธารณสุขในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวดำเนินการโดยหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานเอกชน พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ และประชาชน นับเป็นยุคสมัยการบุกเบิกเป็นรากฐานการสาธารณสุขได้พัฒนาหน่วยงานขึ้นเป็นกระทรวงในเวลาต่อมา
บรรณานุกรม
พระยาบริรักษ์เวชชการ และ คณะ. ๒๔๗๗. การสาธารณสุขและสาธารณูปการ. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง. เว็บไซต์ฐานข้อมูลราชกิจจานุเบกษาและการพัฒนากฎหมายอิเล็กทรอนิกส์ ๒๕๕๗: สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา. http://www.ratchakitcha.soc.go.th. (สืบค้นเมื่อ กันยายน-ตุลาคม ๒๕๕๗)