ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เสด็จฯ เยือนญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และแคนาดา"
ลไม่มีความย่อการแก้ไข |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 1: | บรรทัดที่ 1: | ||
ภายหลังการเสด็จประพาสประเทศเพื่อนบ้านในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สองครั้ง ครั้งแรกคือสิงคโปร์ ชวา บาหลี และครั้งที่สอง คือ อินโดจีนของฝรั่งเศส | ภายหลังการเสด็จประพาสประเทศเพื่อนบ้านในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สองครั้ง ครั้งแรกคือสิงคโปร์ ชวา บาหลี และครั้งที่สอง คือ อินโดจีนของฝรั่งเศส ต่อมา[[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]]และ[[สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี]] ได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และแคนาดา ในพุทธศักราช ๒๔๗๔ | ||
นอกจากเป็นการเสด็จพระราชดำเนินไปเข้ารับการผ่าตัดพระเนตรที่สหรัฐอเมริกาแล้ว ทรงถือโอกาสในการเจริญพระราชไมตรีไปในคราวเดียวกันนี้ด้วย | นอกจากเป็นการเสด็จพระราชดำเนินไปเข้ารับการผ่าตัดพระเนตรที่สหรัฐอเมริกาแล้ว ทรงถือโอกาสในการเจริญพระราชไมตรีไปในคราวเดียวกันนี้ด้วย | ||
กล่าวได้ว่าทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่ได้เสด็จพระราชดำเนินไปเจริญพระราชไมตรีกับประเทศทั้งสามด้วยพระองค์เอง | กล่าวได้ว่าทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่ได้เสด็จพระราชดำเนินไปเจริญพระราชไมตรีกับประเทศทั้งสามด้วยพระองค์เอง ก่อนหน้านั้นเมื่อ[[สงครามโลกครั้งที่ ๑]] สิ้นสุดลง [[รัฐบาล]]ไทยได้เริ่มเจรจาขอแก้ไขสนธิสัญญาที่ไม่เสมอภาคซึ่งได้ลงนามไว้กับประเทศต่างๆรวมทั้งสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ในที่สุดทั้งสองประเทศได้ยินยอมให้มีการแก้ไขสนธิสัญญาที่ไม่เสมอภาคดังกล่าว นับเป็นการปลดเปลื้องพันธนาการทางอธิปไตยตลอดจนลดความเสียเปรียบทางเศรษฐกิจที่ฉุดรั้งการพัฒนาประเทศไทยมายาวนานนับทศวรรษ | ||
ขณะเดียวกันนับเป็นการเสด็จพระราชดำเนินเยือนชาติมหาอำนาจครั้งแรกของพระมหากษัตริย์ไทยด้วย สถานะที่ไทยมีความเสมอภาคทัดเทียมกับประเทศที่ได้เสด็จพระราชดำเนินเยือน การเสด็จพระราชดำเนินเพื่อการเจริญพระราชไมตรีครั้งนี้ นับเป็นหนึ่งในพระราชกรณียกิจด้านการต่างประเทศที่มีความสำคัญที่ได้ทรงสานต่อพระราชไมตรีที่พระมหากษัตริย์รัชกาลก่อนๆได้ทรงสานสายสัมพันธ์ไว้ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น และดำรงสืบมาตราบจนทุกวันนี้ | ขณะเดียวกันนับเป็นการเสด็จพระราชดำเนินเยือนชาติมหาอำนาจครั้งแรกของพระมหากษัตริย์ไทยด้วย สถานะที่ไทยมีความเสมอภาคทัดเทียมกับประเทศที่ได้เสด็จพระราชดำเนินเยือน การเสด็จพระราชดำเนินเพื่อการเจริญพระราชไมตรีครั้งนี้ นับเป็นหนึ่งในพระราชกรณียกิจด้านการต่างประเทศที่มีความสำคัญที่ได้ทรงสานต่อพระราชไมตรีที่พระมหากษัตริย์รัชกาลก่อนๆได้ทรงสานสายสัมพันธ์ไว้ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น และดำรงสืบมาตราบจนทุกวันนี้ |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:40, 10 กุมภาพันธ์ 2559
ภายหลังการเสด็จประพาสประเทศเพื่อนบ้านในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สองครั้ง ครั้งแรกคือสิงคโปร์ ชวา บาหลี และครั้งที่สอง คือ อินโดจีนของฝรั่งเศส ต่อมาพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และแคนาดา ในพุทธศักราช ๒๔๗๔
นอกจากเป็นการเสด็จพระราชดำเนินไปเข้ารับการผ่าตัดพระเนตรที่สหรัฐอเมริกาแล้ว ทรงถือโอกาสในการเจริญพระราชไมตรีไปในคราวเดียวกันนี้ด้วย
กล่าวได้ว่าทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่ได้เสด็จพระราชดำเนินไปเจริญพระราชไมตรีกับประเทศทั้งสามด้วยพระองค์เอง ก่อนหน้านั้นเมื่อสงครามโลกครั้งที่ ๑ สิ้นสุดลง รัฐบาลไทยได้เริ่มเจรจาขอแก้ไขสนธิสัญญาที่ไม่เสมอภาคซึ่งได้ลงนามไว้กับประเทศต่างๆรวมทั้งสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ในที่สุดทั้งสองประเทศได้ยินยอมให้มีการแก้ไขสนธิสัญญาที่ไม่เสมอภาคดังกล่าว นับเป็นการปลดเปลื้องพันธนาการทางอธิปไตยตลอดจนลดความเสียเปรียบทางเศรษฐกิจที่ฉุดรั้งการพัฒนาประเทศไทยมายาวนานนับทศวรรษ
ขณะเดียวกันนับเป็นการเสด็จพระราชดำเนินเยือนชาติมหาอำนาจครั้งแรกของพระมหากษัตริย์ไทยด้วย สถานะที่ไทยมีความเสมอภาคทัดเทียมกับประเทศที่ได้เสด็จพระราชดำเนินเยือน การเสด็จพระราชดำเนินเพื่อการเจริญพระราชไมตรีครั้งนี้ นับเป็นหนึ่งในพระราชกรณียกิจด้านการต่างประเทศที่มีความสำคัญที่ได้ทรงสานต่อพระราชไมตรีที่พระมหากษัตริย์รัชกาลก่อนๆได้ทรงสานสายสัมพันธ์ไว้ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น และดำรงสืบมาตราบจนทุกวันนี้
ที่มา
บทสารคดี “ปกเกล้าธรรมราชา” สารคดีเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่ในวโรกาสครบ ๑๒๐ ปี แห่งวันพระบรมราชสมภพและเป็นบุคคลสำคัญของโลก โดยองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ประจำปี ๒๕๕๖