ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รัฐประหาร พ.ศ. 2490"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Tora (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Tora (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัดที่ 66: บรรทัดที่ 66:
==การก่อตัวของการรัฐประหาร==
==การก่อตัวของการรัฐประหาร==


สัญญาณของความเคลื่อนไหวของกลุ่มทหารได้เริ่มต้นขึ้น เมื่อ 24 มีนาคม 2490 จอมพล ป. อดีตนายกรัฐมนตรีประกาศจะกลับคืนสู่การเมืองอีกครั้ง<ref>สยามนิกร (24 มีนาคม 2490) อ้างใน สุชิน ตันติกุล , รัฐประหาร พ.ศ.2490 ( นครหลวง : สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย,2515),หน้า 80.</ref>  ด้วยการจัดตั้งพรรคธรรมาธิปัตย์ ขึ้นสนับสนุนจอมพล ป. โดยมีหลวงวิจิตรวาทการเป็นหัวหน้าพรรค เพื่อลงแข่งขันในการเลือกตั้ง  ต่อมา กลุ่มทหารนอกราชการนำโดยพลโทผิน ชุนหะวัณและนาวาอากาศเอกกาจ กาจสงคราม นายทหารนอกราชการได้เริ่มความเคลื่อนไหวทางลับเพื่อก่อการรัฐประหารขึ้น  โดยพลโทผินไปพบจอมพล ป.หลายครั้งเพื่อชวนให้เข้าร่วม ไม่แต่เพียงการพบไปอดีตนายกรัฐมนตรีเท่านั้น ต่อมา พลโทผินและนาวาอากาศเอกกาจได้ไปประสานกับพรรคประชาธิปัตย์  และนายเลื่อน พงษ์โสภณ-สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคประชาธิปัตย์หลายครั้งเพื่อเตรียมแผนการ  จากนั้น แผนการเริ่มต้นจากความเคลื่อนไหวของพรรคประชาธิปัตย์ในการสั่นคลอนความชอบธรรมของรัฐบาล พลเรือตรี ถวัลย์ ด้วยการเปิดอภิปรายทั่วไปถึง 9 วัน ระหว่าง 19-27 พฤษภาคม 2490 ทำให้ประชาชนเริ่มเสื่อมความนิยมที่มีต่อรัฐบาลลง
สัญญาณของความเคลื่อนไหวของกลุ่มทหารได้เริ่มต้นขึ้น เมื่อ 24 มีนาคม 2490 จอมพล ป. อดีตนายกรัฐมนตรีประกาศจะกลับคืนสู่การเมืองอีกครั้ง<ref>สยามนิกร (24 มีนาคม 2490) อ้างใน สุชิน ตันติกุล , รัฐประหาร พ.ศ.2490 ( นครหลวง : สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย,2515),หน้า 80.</ref>  ด้วยการจัดตั้งพรรคธรรมาธิปัตย์ ขึ้นสนับสนุนจอมพล ป. โดยมีหลวงวิจิตรวาทการเป็นหัวหน้าพรรค เพื่อลงแข่งขันในการเลือกตั้ง  ต่อมา กลุ่มทหารนอกราชการนำโดยพลโทผิน ชุนหะวัณและนาวาอากาศเอกกาจ กาจสงคราม นายทหารนอกราชการได้เริ่มความเคลื่อนไหวทางลับเพื่อก่อการรัฐประหารขึ้น  โดยพลโทผินไปพบจอมพล ป.หลายครั้งเพื่อชวนให้เข้าร่วม ไม่แต่เพียงการพบไปอดีตนายกรัฐมนตรีเท่านั้น ต่อมา พลโทผินและนาวาอากาศเอกกาจได้ไปประสานกับพรรคประชาธิปัตย์  และนายเลื่อน พงษ์โสภณ-สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคประชาธิปัตย์หลายครั้งเพื่อเตรียมแผนการ<ref>บุณฑริกา บูรณะบุตร , “บทบาททางการเมืองของพลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์(พ.ศ.2475-2490) ” ; วิทยานิพนธ์อักษรศาสตร์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534,หน้า 183.</ref>   จากนั้น แผนการเริ่มต้นจากความเคลื่อนไหวของพรรคประชาธิปัตย์ในการสั่นคลอนความชอบธรรมของรัฐบาล พลเรือตรี ถวัลย์ ด้วยการเปิดอภิปรายทั่วไปถึง 9 วัน ระหว่าง 19-27 พฤษภาคม 2490 ทำให้ประชาชนเริ่มเสื่อมความนิยมที่มีต่อรัฐบาลลง




ท่ามกลางกระแสข่าวความพยายามก่อการรัฐประหารที่ยังคงดำรงอยู่ตลอดเวลา แต่พลเรือตรี ถวัลย์ นายกรัฐมนตรียังคงมีความมั่นใจในเสถียรภาพ จนกระทั่ง ได้เคยกล่าวว่า “นอนรอปฏิวัติมานานแล้ว ไม่เห็นปฏิวัติเสียที”  บุคคลในฝ่ายรัฐบาลที่ระมัดระวังเสถียรภาพทางการเมืองตลอดเวลา มีเพียงนายปรีดี เมื่อเริ่มได้รับรายงานจากตำรวจได้สืบพบความเคลื่อนไหวทางการเมืองของกล่มอนุรักษ์-กษัตริย์นิยมที่เคยก่อการกบฎทุกกรณีได้ร่วมกันเตรียมแผนการก่อการรัฐประหารแล้ว  ตลอดจน ได้รับรายงานการเคลื่อนไหวของทหารจากพลเอก อดุล อดุลเดชจรัส-ผู้บัญชาการทหารบก นายปรีดีจึงได้สั่งการให้นายทองเปลว ชลภูมิ นายปราโมช พึ่งสุนทร นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ และนายถวิล อุดล ออกหาข่าวการพยายามรัฐประหารเช่นกัน  
ท่ามกลางกระแสข่าวความพยายามก่อการรัฐประหารที่ยังคงดำรงอยู่ตลอดเวลา แต่พลเรือตรี ถวัลย์ นายกรัฐมนตรียังคงมีความมั่นใจในเสถียรภาพ จนกระทั่ง ได้เคยกล่าวว่า ''“นอนรอปฏิวัติมานานแล้ว ไม่เห็นปฏิวัติเสียที”''<ref>วิชัย ประสังสิต , ปฏิวัติ รัฐประหาร และกบฏจลาจลในสมัยประชาธิปไตยแห่งประเทศไทย ,(พระนคร : โรงพิมพ์บริษัทรัฐภักดี จำกัด , 2492) ,หน้า 187 และบุณฑริกา บูรณะบุตร , “บทบาททางการเมืองของพลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์(พ.ศ.2475-2490) ” ; วิทยานิพนธ์อักษรศาสตร์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534,หน้าบุณฑริกา บูรณะบุตร , “บทบาททางการเมืองของพลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์(พ.ศ.2475-2490) ” ; วิทยานิพนธ์อักษรศาสตร์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534,หน้า 188-189</ref> บุคคลในฝ่ายรัฐบาลที่ระมัดระวังเสถียรภาพทางการเมืองตลอดเวลา มีเพียงนายปรีดี เมื่อเริ่มได้รับรายงานจากตำรวจได้สืบพบความเคลื่อนไหวทางการเมืองของกล่มอนุรักษ์-กษัตริย์นิยมที่เคยก่อการกบฎทุกกรณีได้ร่วมกันเตรียมแผนการก่อการรัฐประหารแล้ว<ref>ร.ต.อ. เฉียบ อัมพุนันท์ , มหาวิทยาลัยของข้าพเจ้า , (พระนคร : ไทยสัมพันธ์, 2501), หน้า 411-412</ref> ตลอดจน ได้รับรายงานการเคลื่อนไหวของทหารจากพลเอก อดุล อดุลเดชจรัส-ผู้บัญชาการทหารบก นายปรีดีจึงได้สั่งการให้นายทองเปลว ชลภูมิ นายปราโมช พึ่งสุนทร นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ และนายถวิล อุดล ออกหาข่าวการพยายามรัฐประหารเช่นกัน<erf>วิชัย ประสังสิต , ปฏิวัติ รัฐประหาร และกบฏจลาจลในสมัยประชาธิปไตยแห่งประเทศไทย ,(พระนคร : โรงพิมพ์บริษัทรัฐภักดี จำกัด , 2492) , หน้า 188</ref>




ก่อนการรัฐประหารจะเกิดขึ้น ในต้นเดือน พฤศจิกายน มีการประชุมกันที่บ้านพักที่ท่าช้างของนายปรีดี ระหว่าง นายปรีดี –อดีตนายกรัฐมนตรีและรัฐบุรุษอาวุโส  พลเรือตรี ถวัลย์ นายกรัฐมนตรี พลเรือตรีสังวร ยุทธกิจ-อธิบดีกรมตำรวจ และพลเอกอดุล  เรื่องการปรับปรุงรัฐบาล โดยพลเรือตรีถวัลย์ต้องการลาออกในจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน 2490 ดังนั้น ที่ประชุมเห็นชอบเสนอให้พลเอกอดุลเป็นนายกรัฐมนตรีแทน  โดยนายปรีดี เชื่อมั่นว่า พลเอก อดุล จะสามารถควบคุมสถานการณ์ในกลุ่มทหารบกได้  และมีการเตรียมแผนการจับกุมนายทหารที่วางแผนการรัฐประหารให้เสร็จสิ้นภายในก่อนเช้าวันที่ 9 พฤศจิกายน  เมื่อแผนการแผนการรัฐประหารรั่วไหล ฝ่ายรัฐบาลเริ่มรู้ การก่อการรัฐประหารต้องเร่งลงมือก่อนพวกเขาจะถูกจับกุม
ก่อนการรัฐประหารจะเกิดขึ้น ในต้นเดือน พฤศจิกายน มีการประชุมกันที่บ้านพักที่ท่าช้างของนายปรีดี ระหว่าง นายปรีดี –อดีตนายกรัฐมนตรีและรัฐบุรุษอาวุโส  พลเรือตรี ถวัลย์ นายกรัฐมนตรี พลเรือตรีสังวร ยุทธกิจ-อธิบดีกรมตำรวจ และพลเอกอดุล  เรื่องการปรับปรุงรัฐบาล โดยพลเรือตรีถวัลย์ต้องการลาออกในจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน 2490 ดังนั้น ที่ประชุมเห็นชอบเสนอให้พลเอกอดุลเป็นนายกรัฐมนตรีแทน<ref>จดหมายของพลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ถึง นายสุชิน ตันติกุล ลงวันที่ 1 มีนาคม 2514 อ้างใน สุชิน ตันติกุล , “ผลสะท้อนทางการเมืองของรัฐประหาร พ.ศ.2490”, วิทยานิพนธ์รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , 2517,หน้า 171.</ref>   โดยนายปรีดี เชื่อมั่นว่า พลเอก อดุล จะสามารถควบคุมสถานการณ์ในกลุ่มทหารบกได้<ref>ร.ต.อ. เฉียบ อัมพุนันท์ , มหาวิทยาลัยของข้าพเจ้า , (พระนคร : ไทยสัมพันธ์, 2501), หน้า 561.</ref>   และมีการเตรียมแผนการจับกุมนายทหารที่วางแผนการรัฐประหารให้เสร็จสิ้นภายในก่อนเช้าวันที่ 9 พฤศจิกายน<ref>วิชัย ประสังสิต , ปฏิวัติ รัฐประหาร และกบฏจลาจลในสมัยประชาธิปไตยแห่งประเทศไทย ,(พระนคร : โรงพิมพ์บริษัทรัฐภักดี จำกัด , 2492) , หน้า 192</ref>   เมื่อแผนการแผนการรัฐประหารรั่วไหล ฝ่ายรัฐบาลเริ่มรู้ การก่อการรัฐประหารต้องเร่งลงมือก่อนพวกเขาจะถูกจับกุม
 


==การรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน 2490==
==การรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน 2490==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:36, 25 กุมภาพันธ์ 2552

บทความนี้อยู่ในระหว่างการดำเนินการตรวจสอบความถูกต้องเรียบร้อยโดยผู้ืทรงคุณวุฒิ



ผู้เรียบเรียง ณัฐพล และ รศ.ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์



การรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน 2490 เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างกลุ่มทหารและกลุ่มอนุรักษ์-กษัตริย์นิยม มีผลทำให้รัฐบาลพลเรือนของกลุ่มนายปรีดี พนมยงค์ตกจากอำนาจไปและเป็นจุดเริ่มต้นของการกลับมามีอำนาจของกลุ่มทหารและกลุ่มอนุรักษ์-กษัตริย์นิยม ตลอดจนเป็นจุดการเริ่มต้นของการเพิ่มอำนาจทางการเมืองให้กับพระมหากษัตริย์อย่างสำคัญภายหลังการปฏิวัติ 2475


สภาพปัญหาทางการเมือง เศรษฐกิจภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

สภาพปัญหาทางการเมือง เศรษฐกิจ ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้มีผลกระทบต่อรัฐบาลพลเรือนอย่างต่อเนื่องหลายชุด นับตั้งแต่ รัฐบาลของนายทวี บุณยเกตุ , ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช , นายควง อภัยวงศ์ , นายปรีดี พนมยงค์ และรัฐบาลของพลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้


ปัญหาภายในประเทศ

1. ปัญหาเศรษฐกิจหลังสงครามของไทย

เกิดขึ้นจาก ปัญหาภาวะเงินเฟ้อและการขาดแคลนเงินตราต่างประเทศ ภายหลังสงครามค่าเงินบาทไทยตกลงมาก ในขณะที่ไทยไม่สามารถส่งออกสินค้าที่สำคัญได้อย่างเต็มที่ เช่น ยาง ดีบุกและไม้สัก เพื่อมีเงินตราต่างประเทศในการใช้ซื้อสินค้าจากภายนอกกลับเข้ามาแก้ไขการขาดแคลนสินค้าได้ทันการณ์ แม้รัฐบาลนายปรีดีได้ขอกู้เงินจากสหรัฐอเมริกาจำนวน 10 ล้านดอลลาร์และกู้เงินจากอินเดีย 50 ล้านรูปี เพื่อใช้ซื้อสินค้าเข้ามาบรรเทาความขาดแคลนภายในประเทศแล้วก็ตาม[1]


นอกจากปัญหาข้างต้น รัฐบาลพลเรือนต้องแก้ไขปัญหาข้าวขาดแคลน เนื่องจากไทยจำต้องส่งข้าวแบบให้เปล่าแก่อังกฤษ จำนวน 1.5 ล้านตัน ตาม”ความตกลงสมบูรณ์แบบ” ที่ไทยลงนามกับอังกฤษเมื่อ 1 มกราคม 2489 โดยรัฐบาล ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมชเพื่อชดเชยการจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามให้กับอังกฤษภายใน 1 กันยายน 2490 เวลาต่อมารัฐบาลนายปรีดี พนมยงค์ ได้เจรจาแก้ไขข้อตกลงใหม่ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2489 ทำให้ไทยสามารถขายข้าวให้อังกฤษแทนการส่งให้โดยไม่คิดมูลค่าและมีจำนวนลดลงเหลือเพียง 1.2 ล้านตันในราคาขายที่ 12.14 ปอนด์ ภายใน 1 ปี มิฉะนั้นไทยต้องส่งข้าวให้อังกฤษโดยไม่คิดมูลค่าอีก[2] ทำให้รัฐบาลนายปรีดีและรัฐบาลของพลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ผูกขาดการซื้อข้าวเพื่อเร่งส่งออกให้ทันข้อตกลงฯ ด้วยราคาซื้อที่ต่ำ ส่งผลให้เกิดการขาดแคลนข้าวภายในประเทศ ในขณะที่ราคาข้าวในตลาดโลกมีราคาสูง ทำให้พ่อค้ากักตุนข้าวและมีการลักลอบส่งออกนอกประเทศแทนการขายให้รัฐบาลและประชาชน ปัญหาจากข้อตกลงสมบูรณ์แบบทำให้เกิดการขาดแคลนข้าวและข้าวมีราคาสูง รัฐบาลได้จัดสรรข้าวขายให้กับประชาชน โดยประชาชนต้องเข้าแถวซื้อข้าวเพิ่มความเดือนร้อนให้ประชาชนภายหลังสงครามมาก


ความต่อเนื่องจากสภาวะหลังสงคราม ความอดยาก การขาดแคลนอาหาร ยังผลให้เกิดปัญหาโจรผู้ร้ายชุกชุมหลังสงคราม เกิดเนื่องมาจากการปลดประจำการทหารอย่างฉับพลันกับปัญหาเศรษฐกิจหลังสงคราม ทำให้ทหารบางส่วนที่ถูกปลดปราศจากวินัยรวมตัวร่วมกับกลุ่มโจรทำการปล้นสะดม ไม่แต่เพียงเท่านั้นปัญหาความไม่สงบในสังคมเกิดจากอาวุธที่ตกค้างหลังสงครามจำนวนมหาศาลทั้งจากกองทัพญี่ปุ่น กองทัพไทยและอาวุธจากเสรีไทยที่แจกจ่ายอย่างกว้างขวางเพื่อเตรียมการต่อต้านญี่ปุ่น มีผลทำให้เกิดแพร่กระจายของอาวุธ สะดวกในการครอบอาวุธและการค้าอาวุธ ส่งผลให้การปล้นสะดมและการก่ออาชญากรรมเพิ่มจำนวนขึ้น[3] ปัญหานี้ได้ลดทอนความเชื่อมั่นรัฐบาลลงและเป็นเหตุให้เกิดการโจมตีประสิทธิภาพในการบริหารประเทศของรัฐบาลภายหลังสงคราม[4]


ด้วยเหตุภาวะความขาดแคลนและระส่ำระสายหลังสงคราม เปิดโอกาสให้ข้าราชการและนักการเมืองร่วมมือกับพ่อค้าแสวงหาประโยชน์จากการค้า การนำเข้าและส่งออกสินค้า ทำให้สินค้าขาดแคลนและมีราคาสูง ทำให้เกิดปัญหาการฉ้อราษฎรบังหลวง แม้รัฐบาลจะจัดตั้งองค์การสรรพาหารเพื่อแก้ไขปัญหาแล้วก็ตาม แต่การบรรเทาปัญหาความขาดแคลนสินค้ายังไม่เป็นผล ทำให้ประชาชนลดความเชื่อถือรัฐบาลลงและมีความต้องการผู้นำที่เข้มแข็งในการแก้ไขปัญหาที่เด็ดขาดในการขจัดปัญหาเศรษฐกิจหลังสงคราม


ปัญหาข้างต้น ส่งผลให้คนไทยที่เคยยินดีกับการรอดพ้นการพ่ายแพ้สงครามโลกจากการนำของรัฐบาลพลเรือนของนายปรีดีและพลเรือตรีถวัลย์ เริ่มเกิดความไม่พอใจในประสิทธิภาพของการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสั่นคลอนความชอบธรรมของรัฐบาลพลเรือนทั้งสองมากขึ้น


2. ปัญหาการเมือง

เมื่อสงครามโลกสิ้นสุดลง ไทยสามารถรอดพ้นจากการตกเป็นผู้แพ้สงครามได้ และด้วยความหวังที่จะลบความบาดหมางที่เคยเกิดขึ้นระหว่างคณะราษฎรและกลุ่มอนุรักษ์-กษัตริย์นิยม นายปรีดีจึงผลักดันให้รัฐบาลหลังสงครามนิรโทษกรรมความผิดให้กับกลุ่มอนุรักษ์-กษัตริย์นิยมที่ถูกจองจำจากความผิดฐานก่อกบฎ ต่อต้านการปฏิวัติ 2475 เช่น กรณีกบฏบวรเดช(2476) การลอบสังหารผู้นำรัฐบาล และกบฎ 2481 ฯลฯ ให้พ้นโทษตามสัญญาร่วมเป็น“ขบวนการเสรีไทย” ในช่วงสงคราม ระหว่างเสรีไทยในไทยและอังกฤษที่นายปรีดีเคยตกลงไว้กับ กับหม่อมเจ้าศุภสวัสดิ์วงศ์สนิท แกนนำกลุ่มอนุรักษ์-กษัตริย์นิยมที่ลี้ภัยไปอังกฤษ ให้ปลดปล่อยนักโทษการเมืองให้เป็นอิสระเพื่อการประนีประนอมและร่วมมือกันฟื้นฟูประเทศภายหลังสงคราม[5] ทำให้นักโทษการเมืองและพวกกบฏที่หลบหนีไปยังต่างประเทศกลับคืนมาสู่การเมืองได้อีกครั้ง หรืออาจกล่าวได้ว่านี่เป็นการปลดปล่อยกลุ่มอนุรักษ์-กษัตริย์นิยมครั้งใหญ่ แต่อดีตนักโทษการเมืองบางส่วน กลับไม่เห็นด้วยกับการแสวงหาการปรองดองกับรัฐบาล เช่น ม.จ.สิทธิพร กฤดากร ม.ร.ว.นิมิตร มงคล นวรัตน์ พระยาศราภัยวนิช สอ เสถบุตร โชติ คุ้มพันธ์ ได้ออกมาร่วมมือกับ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมชจัดตั้งพรรคก้าวหน้าเคลื่อนไหวการโจมตีรัฐบาลนายปรีดีและพลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ อย่างรุนแรง


นอกจากนี้ ปัญหาการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่อานันทมหิดลที่เกิดขึ้นอย่างปริศนาทำให้รัฐบาลนายปรีดี และพลเรือตรีถวัลย์ ต้องตกอยู่ในฐานะผู้รับผิดชอบในการสืบสวนหาผู้กระทำความผิด ท่ามกลางสภาพการแข่งขันทางการเมืองั้ขับเคี่ยวอย่างเข้มข้นระหว่างพรรคสหชีพ แนวรัฐธรรมนูญ –ฝ่ายรัฐบาล กับ ประชาธิปัตย์-ฝ่ายค้าน ทำให้เกิดการโจมตี ใส่ร้ายทางการเมืองเพื่อให้ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งโดยไม่พิจารณาปัญหาเสถียรภาพทางการเมืองในภาพรวม ด้วยเหตุที่การแข่งขันทางการเมืองที่มุ่งหวังแต่เพียงชัยชนะ พรรคประชาธิปัตย์ได้อาศัยประเด็นดังกล่าวในการโจมตีรัฐบาลและแสวงหาคะแนนนิยมจากประชาชน[6]

ปัญหาการเมืองระหว่างประเทศ

ภายหลังสงครามโลกสิ้นสุดลง ขบวนการกู้ชาติของประเทศเพื่อนบ้านได้มีการเคลื่อนไหวต่อสู้เพื่อเอกราชกันอย่างคึกคักในกลุ่มอินโดจีนที่ถูกฝรั่งเศสปกครอง เช่น ขบวนการกู้ชาติของชาวเวียดนามหรือ เวียตมินห์ ขบวนการลาวอิสระและขบวนการเขมรอิสระ


รัฐบาลนายปรีดีและรัฐบาลพลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ มีความเห็นใจในความมุ่งมั่นเพื่อเอกราชของประเทศเพื่อนบ้าน จึงได้ให้การสนับสนุนการเคลื่อนไหวด้วยการจัดตั้ง “สันนิบาติเอเชียอาคเนย์”ขึ้นในปลายปี 2490 ทั้งนี้ สมาชิกของสันนิบาตฯประกอบด้วย ไทยและขบวนการเวียตมินห์ ลาวอิสระ และเขมรอิสระ สันนิบาตฯนี้ มีวัตถุประสงค์ให้ความช่วยเหลือขบวนการกู้ชาติในอินโดจีนจากการปกครองของฝรั่งเศส[7] ทำให้นายปรีดีถูกจับตามองจากปรปักษ์ทางการเมืองและต่อมาถูกกล่าวว่าเป็นแกนนำของคอมมิวนิสต์ในเวลาต่อมา


ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น กลุ่มอนุรักษ์-กษัตริย์นิยมและพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเป็นปรปักษ์ทางการเมือง ได้ดำเนินการกล่าวหาโจมตีรัฐบาลของนายปรีดีและพลเรือตรี ถวัลย์ถึงความไม่สามารถแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจหลังสงคราม การฉ้อราษฎรบังหลวง การเป็นคอมมิวนิสต์ การไม่สามารถคลี่คลายการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล และนายปรีดีมีส่วนเกี่ยวข้องกับการสวรรคต ควรบันทึกด้วยว่า กลุ่มการเมืองที่สำคัญภายหลังสงครามโลกสิ้นสุดลง คือ

1. กลุ่มนายปรีดี ซึ่งประกอบด้วยพวกเสรีไทย สมาชิกสภาผู้แทนภาคอีสาน และกลุ่มนักศึกษาและอาจารย์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง เป็นกลุ่มที่มีบทบาทสำคัญและได้เป็นรัฐบาล
2. กลุ่มทหารที่เคยเกี่ยวข้องกับการเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้หมดอำนาจการเมืองลงไป แต่ต้องการกลับสู่อำนาจและ ฟื้นฟูเกียรติภูมิ และ
3. กลุ่มอนุรักษ์-กษัตริย์นิยม และพรรคประชาธิปัตย์ ที่เคยสูญเสียอำนาจและต้องการกลับมามีอำนาจทางการเมือง


การก่อตัวของการรัฐประหาร

สัญญาณของความเคลื่อนไหวของกลุ่มทหารได้เริ่มต้นขึ้น เมื่อ 24 มีนาคม 2490 จอมพล ป. อดีตนายกรัฐมนตรีประกาศจะกลับคืนสู่การเมืองอีกครั้ง[8] ด้วยการจัดตั้งพรรคธรรมาธิปัตย์ ขึ้นสนับสนุนจอมพล ป. โดยมีหลวงวิจิตรวาทการเป็นหัวหน้าพรรค เพื่อลงแข่งขันในการเลือกตั้ง ต่อมา กลุ่มทหารนอกราชการนำโดยพลโทผิน ชุนหะวัณและนาวาอากาศเอกกาจ กาจสงคราม นายทหารนอกราชการได้เริ่มความเคลื่อนไหวทางลับเพื่อก่อการรัฐประหารขึ้น โดยพลโทผินไปพบจอมพล ป.หลายครั้งเพื่อชวนให้เข้าร่วม ไม่แต่เพียงการพบไปอดีตนายกรัฐมนตรีเท่านั้น ต่อมา พลโทผินและนาวาอากาศเอกกาจได้ไปประสานกับพรรคประชาธิปัตย์ และนายเลื่อน พงษ์โสภณ-สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคประชาธิปัตย์หลายครั้งเพื่อเตรียมแผนการ[9] จากนั้น แผนการเริ่มต้นจากความเคลื่อนไหวของพรรคประชาธิปัตย์ในการสั่นคลอนความชอบธรรมของรัฐบาล พลเรือตรี ถวัลย์ ด้วยการเปิดอภิปรายทั่วไปถึง 9 วัน ระหว่าง 19-27 พฤษภาคม 2490 ทำให้ประชาชนเริ่มเสื่อมความนิยมที่มีต่อรัฐบาลลง


ท่ามกลางกระแสข่าวความพยายามก่อการรัฐประหารที่ยังคงดำรงอยู่ตลอดเวลา แต่พลเรือตรี ถวัลย์ นายกรัฐมนตรียังคงมีความมั่นใจในเสถียรภาพ จนกระทั่ง ได้เคยกล่าวว่า “นอนรอปฏิวัติมานานแล้ว ไม่เห็นปฏิวัติเสียที”[10] บุคคลในฝ่ายรัฐบาลที่ระมัดระวังเสถียรภาพทางการเมืองตลอดเวลา มีเพียงนายปรีดี เมื่อเริ่มได้รับรายงานจากตำรวจได้สืบพบความเคลื่อนไหวทางการเมืองของกล่มอนุรักษ์-กษัตริย์นิยมที่เคยก่อการกบฎทุกกรณีได้ร่วมกันเตรียมแผนการก่อการรัฐประหารแล้ว[11] ตลอดจน ได้รับรายงานการเคลื่อนไหวของทหารจากพลเอก อดุล อดุลเดชจรัส-ผู้บัญชาการทหารบก นายปรีดีจึงได้สั่งการให้นายทองเปลว ชลภูมิ นายปราโมช พึ่งสุนทร นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ และนายถวิล อุดล ออกหาข่าวการพยายามรัฐประหารเช่นกัน<erf>วิชัย ประสังสิต , ปฏิวัติ รัฐประหาร และกบฏจลาจลในสมัยประชาธิปไตยแห่งประเทศไทย ,(พระนคร : โรงพิมพ์บริษัทรัฐภักดี จำกัด , 2492) , หน้า 188</ref>


ก่อนการรัฐประหารจะเกิดขึ้น ในต้นเดือน พฤศจิกายน มีการประชุมกันที่บ้านพักที่ท่าช้างของนายปรีดี ระหว่าง นายปรีดี –อดีตนายกรัฐมนตรีและรัฐบุรุษอาวุโส พลเรือตรี ถวัลย์ นายกรัฐมนตรี พลเรือตรีสังวร ยุทธกิจ-อธิบดีกรมตำรวจ และพลเอกอดุล เรื่องการปรับปรุงรัฐบาล โดยพลเรือตรีถวัลย์ต้องการลาออกในจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน 2490 ดังนั้น ที่ประชุมเห็นชอบเสนอให้พลเอกอดุลเป็นนายกรัฐมนตรีแทน[12] โดยนายปรีดี เชื่อมั่นว่า พลเอก อดุล จะสามารถควบคุมสถานการณ์ในกลุ่มทหารบกได้[13] และมีการเตรียมแผนการจับกุมนายทหารที่วางแผนการรัฐประหารให้เสร็จสิ้นภายในก่อนเช้าวันที่ 9 พฤศจิกายน[14] เมื่อแผนการแผนการรัฐประหารรั่วไหล ฝ่ายรัฐบาลเริ่มรู้ การก่อการรัฐประหารต้องเร่งลงมือก่อนพวกเขาจะถูกจับกุม

การรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน 2490

ฉากสุดท้ายก่อนการรัฐประหารจะเกิดขึ้นนั้น เริ่มจาก คืนวันที่ 7 พฤศจิกายน เวลา 21.00 น พรรคประชาธิปัตย์ได้จัดการการกุศลชื่อ “เมตตาบันเทิง”ขึ้นที่สวนอัมพร เป็นงานเต้นรำการกุศล กิจกรรมสำคัญในคืนนั้น คือพลเรือตรี ถวัลย์ และนายควง อภัยวงศ์ ผู้นำฝ่ายค้าน ผู้มีความขัดแย้งกันอย่างลึกซึ้งนั้น ได้ร่วมกันนั่งรถสามล้อคันเดียวกัน โดยมี โชติ คุ้มพันธุ์ อดีตนักโทษการเมืองและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคประชาธิปัตย์เป็นผู้ขี่สามล้อวนไปรอบๆเวทีเต้นรำที่สวนอัมพร ภาพดังกล่าวได้สร้างเสียงแสดงความดีใจให้กับผู้เข้าร่วมงานเป็นอย่างมาก ท่ามกลางความสนุกสนานและความหวังที่จะประนีประนอม ต่อมาพลเรือตรี ถวัลย์ ได้รับรายงานว่ามีทหารจำนวนหนึ่งได้เคลื่อนกำลังทหารตรงมาจะจับกุม นายกรัฐมนตรีได้ปลีกตัวออกจากงานทันที จากนั้น การรัฐประหารก็ได้เริ่มต้นขึ้น


กลุ่มทหารดำเนินการรัฐประหาร มีดังนี้

กลุ่มที่ 1 มีนาวาอากาศเอก กาจ กาจสงครามเป็นแกนนำ
กลุ่มที่ 2 มีพลโทผิน ชุณหะวัณ และ
กลุ่มที่ 3 มี พันเอกสวัสดิ์ สวัสดิรณชัย


ในคืนยามดึกของคืนวันที่ 7 ต่อ วันที่ 8 กำลังทหารได้มุ่งตรงไปยังเป้าหมายหลายแห่งเพื่อจับกุมตัวบุคคลสำคัญในรัฐบาลตามแผนการ ดังนี้

สายที่ 1 มีพันโท ก้าน จำนงภูมิเวท นำกำลังทหารพร้อมพันเอก เผ่า ศรียานนท์ พันโทละม้าย อุทยานานนท์ พันโท เฉลิม พงศ์สวัสดิ์ นำกำลังทหารจากหน่วยปืนต่อสู้อากาศยานและ ร.1 พัน 2 ไปจับกุมนายปรีดี ที่บ้านพักทำเนียบท่าช้าง


สายที่ 2 มีร้อยเอก ขุนปรีชารณเสฏฐ์ นำกำลังทหารหน่วยปืนต่อสู้อากาศยานและ ร.1 พัน 3 ไปจับกุมพลเรือตรี ถวัลย์ ที่บ้านพักถนนราชวิถี


สายที่ 3 มีพันเอก หลวงสถิตยุทธการ นำกำลังหน่วยปืนต่อสู้อากาศยานและ ร.1 พัน 1 ไปจับกุมพลเรือตรี สังวร สุวรรณชีพ ที่บ้านที่ตำบลบางกะปิ แต่การจับกุมไม่เป็นผล เนื่องจากนายปรีดี ได้ลงเรือหลบหนีไปได้ก่อน ส่วนพลเรือตรี ถวัลย์ สามารถหลบหนีไปได้ระหว่างงานเมตตาบันเทิงที่สวนอัมพร ส่วนพลเรือตรี สังวรณ์ หลบหนีไปได้ก่อนเช่นกัน


เช้าวันที่ 8 พฤศจิกายน 2490 คณะทหารที่เรียกตนเองว่า “คณะรัฐประหาร” สามารถยึดอำนาจรัฐได้สำเร็จ โดยประกาศ ข้ออ้างในการรัฐประหารคือ

1.รัฐประหารเพื่อประเทศชาติ
2.รัฐประหารล้มรัฐบาลพลเรือตรีถวัลย์ เพื่อสถาปนา การเทิดทูลชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และประพฤติตามรัฐธรรมนูญอย่างแท้จริง
3.รัฐประหารเพื่อเชิดชูเกียรติของทหารบกที่ถูกย่ำยีให้ฟื้นกลับคืน
4.รัฐประหารเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ ค่าครองชีพให้แก่ประชาชน
5.สืบหาผู้ปลงพระชนม์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลและนำตัวฟ้องร้องตามกฎหมาย และ
6.รัฐประหารเพื่อขจัดลัทธิคอมมิวนิสต์


รายชื่อ “คณะรัฐประหาร” มีดังนี้


นายทหารนอกประจำการ มีจำนวน 12 คน คือ

1.จอมพล ป. พิบูลสงคราม 7.พันโท ณรงค์ วรบุตร
2.พลโท ผิน ชุณหะวัณ 8.พันโท โต๊ะ ปั้นตระกูล
3.นาวาอากาศเอก กาจ กาจสงคราม 9.พันโท ศิลป พิบูลภานุวัตร
4.พันเอก ก้าน จำนงภูมิเวท 10.พันตรี ชาญ บุญญะสิทธิ์
5.พันเอก น้อม เกตุนุติ 11.ร้อย เอกขุนปรีชารณเสฏฐ์(เลื่อน ปรีชาแจ่ม)
6.พันเอก เผ่า ศรียานนท์ 12.ร้อยตรี ทองคำ ยิ้มกำภู


นายทหารบกประจำการ มีจำนวน 38 นาย คือ

1.พันเอก สฤษดิ์ ธนะรัชต์ 20.พันตรี ศิริ ศิริโยธิน
2.พันโท บัญญัติ เทพหัสดิน ณ อยุทธยา 21.พันตรี พงษ์ ปุณณกันต์
3. พันโท สุดใจ พูนทรัพย์ 22.พันตรี ประมาณ อดิเรกสาร
4.พันโท ประภาส จารุเสถียร 23.พันเอก ไสว ไสวแสนยากร
5.พันโท ตรี บุษยะกนิษฐ์ 24.พันโท สาย เชนยะวนิช
6.พันโท ชลอ จารุกลัส 25.พันโท เผชิญ นิมิตบุตร
7.ร้อยโท ชาญณรงค์ วิจารณบุตร 26.พันโท ถนอม กิตติขจร
8.พันเอก เจริญ สุวรรณวิสูตร์ 27.พันโท อัครเดช ยงยุทธ
9.พันตรี จิตต์ สุนทานนท์ 28.พันโท ปรุง รังสิยานนท์
10.พันตรี ผาด ตุงคะสมิต 29.พันโท สวัสดิ์ สีมานนท์ปริญญา
11.ร้อยเอก ประจวบ สุนทรางกูร 30.พันตรี จำรูญ วีณะคุปต์
12.พันโท กฤช ปุณณกันต์ 31.ร้อยเอก อนันต์ พิบูลสงคราม
13.ร้อยเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ 32.ร้อยเอก วิฑูร หงสเวช
14.พันเอก หลวงสวัสดิสรยุทธ 33.พันโท หลวงสถิตยุทธการ
15.พันโท เฉลิม พงษ์สวัสดิ์ 34.พันโท ชูศักดิ์ วัฒนรณชัย
16.พันโท ประเสริฐ รุจิระวงศ์ 35.พันโท ละม้าย อุทยานานนท์
17.พันโท เล็ก สงวนชาติสรไกร 36.ร้อยเอกลิขิต หงสนันท์
18.พันเอก สวัสดิ์ สวัสดิ์เกียรติ 37.ร้อยเอก วรมัน ณ ระนอง
19.ร้อยเอก ณรงค์ สาลีรัฐวิภาค 38.ร้อยเอก ทม จิตรวิมล


นายทหารเรือประจำการ มีจำนวน 2 คน คือ

1. นาวาเอก หลวงชำนาญอรรถยุทธ 2. นาวาตรี สุนทร สุนทรนาวิน


นายทหารอากาศประจำการ มีจำนวน 2 นาย คือ

1. นาวาอากาศโท เฉลิมเกียรติ วัฒนางกูร 2. นาวาตรี นักรบ บิณษรี


ตำรวจ มีจำนวน 5 คน คือ

1.พันตำรวจเอก หลวงพิชิตธุรการ 4.ร้อยตำรวจโท สกล สถิตยุทธการ
2.ร้อยตำรวจเอก เกษียร ศรุตานนท์ 5.ร้อยตำรวจตรี วิจัย สวัสดิ์เกียรติ
3.ร้อยตำรวจโท บันเทิง กัมปนาทแสนยากร


ข้าราชการพลเรือนที่เกี่ยวข้อง มีจำนวน 9 คน คือ

1.นายกมล พหลโยธิน 6.นายประพันธ์ ศิริกาญจน์
2.หม่อมเจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธ์ 7.นายประไพ ตุงคะเศรณี
3.นายเฉลิม เชี่ยวสกุล 8.ม.ล.ปืนไท มาลากุล
4.นายจวน จนิษฐ์ 9.หม่อมวิภา จักรพันธ์
5.นายเทพ สาริกบุตร



ส่วนอื่นๆ เช่น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ข้าราชการบำนาญ อาชีพส่วนตัว จำนวน 5 คน คือ

1. นายเลื่อน พงษ์โสภณ 4. นายอยู่ ชุ่มไพโรจน์
2.นายเขมชาติ บุณยรัตพันธ์ 5.นายเสรี วีระวัฒน์
3.นายวรการบัญชา


ทันทีที่การรัฐประหารเสร็จสิ้นลงโดยปราศจากการต่อต้าน “คณะรัฐประหาร” นำโดยนาวาอากาศเอกกาจ ได้ให้หม่อมเจ้า จักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธ์ ผู้เป็นบุตรเขย ให้พา “คณะรัฐประหาร”เข้าสมเด็จพระเจ้าบรมวรวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร หนึ่งในคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระมหากษัตริย์ ให้ทรงลงนามประกาศใช้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2490 (ฉบับชั่วคราว)แต่เพียงพระองค์เดียวเดียว ในขณะที่พระยามานวราชเสวี-ผู้สำเร็จราชการแทนพระมหากษัตริย์อีกคนนั้น ไม่ยอมลงนาม ทำให้การประกาศรัฐธรรมนูญใช้มีผลไม่สมบูรณ์เนื่องจากคณะผู้สำเร็จฯลงนามไม่ครบ อย่างไรก็ตาม รัฐธรรมนูญฉบับนี้ถูกประกาศใช้สำเร็จในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2490 โดยมีผู้สำเร็จราชการฯลงพระนามเพียงคนเดียว


“ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉะบับชั่วคราว) ตราไว้ ณ วันที่ ๙ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๙๐ รังสิต กรมขุนชัยนาทนเรนทร เป็นปีที่ ๒ ในรัชชกาลปัจจุบัน


มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประกาศว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ที่ตราไว้และได้ใช้เป็นกฎหมายปกครองประเทศชาติมาตั้งแต่พ.ศ. ๒๔๗๕ และได้มาเปลี่ยนแปลงแก้ไขประกาศใช้เป็นฉะบับใหม่เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๙ นั้น นับว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่เหมาะสมกับประเทศชาติในกาลสมัยที่ล่วงแล้วมา


บัดนี้ประเทศชาติตกอยู่ในภาวะวิกฤตกาล ประชาชนพลเมืองได้รับความลำบากเดือดร้อนเพราะขาดอาหารขาดเครื่องนุ่งห่ม และขาดแคลนสิ่งอื่นๆ นานัปปการ เครื่องบริโภคและอุปโภคทุกอย่างมีราคาสูงขึ้นกว่าแต่ก่อนเป็นอันมาก เป็นเหตุให้เกิดความเสื่อมทรามในศีลธรรมอย่างไม่เคยมีมาแต่กาลก่อนขึ้นในประชาชน บรรดาผู้บริหารราชการแผ่นดินและสภาไม่อาจดำเนินการแก้ไขสิ่งที่ไม่ดีให้กลับเข้าสู่ภาวะอย่างเดิมได้ การดำเนินการของรัฐบาลและการควบคุมราชการฝ่ายบริหารของรัฐสภาเพื่อมุ่งหมายที่จะช่วยกันแก้ไขให้ดีขึ้น ตามวิถีทางที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญฉะบับนั้น ไม่ประสพผลดีเลยแม้แต่น้อยเป็นการผิดหวังของประชาชนทั้งประเทศ และตรงกันข้ามกลับทำให้เห็นว่า การแก้ไขทุกอย่างเป็นเหตุที่ทำให้ประเทศชาติทรุดโทรมลงเป็นลำดับ ถ้าจะคงปล่อยให้เป็นไปตามยะถากรรมก็จะนำมาซึ่งความหายนะแก่ประเทศชาติอย่างไม่มีสุดสิ้น จนถึงกับว่าจะไม่ดำรงอยู่ในภาวะอันควรแก่ความเป็นไทยต่อไปอีกได้


ราษฎรไทยส่วนมากผู้สนใจต่อการนี้พร้อมด้วยทหารของชาติได้พร้อมใจกันนำความขึ้นกราบบังคมทูล ขอให้เลิกใช้รัฐธรรมนูญปัจจุบัน และประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉะบับใหม่อันจะเป็นวิถีทางจรรโลงประเทศชาติให้วัฒนาถาวร อีกทั้งจะเป็นทางบำบัดยุคเข็ญของประชาชนทั้งปวงให้เข้าสู่ภาวะปกติได้สืบไป


จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เลิกใช้รัฐธรรมนูญฉะบับปัจจุบัน และให้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉะบับใหม่ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ”


จากหลักฐานในบันทึกของเอ็ดวิน สแตนตัน(Edwin F. Stanton)เอกอัครราชทูตสหรัฐฯประจำไทยขณะนั้นได้บันทึกเหตุการณ์ในช่วงเวลาดังกล่าวไว้ว่า กรมพระยาชัยนาทนเรนทรผู้สำเร็จราชการฯได้มีส่วนสำคัญในการกล่าวรับรองการรัฐประหารครั้งนี้กับสหรัฐฯว่า การรัฐประหารครั้งนี้มีความชอบธรรมเนื่องจากไม่มีการนองเลือดในการรัฐประหารเพราะการนองเลือดเป็นสิ่งที่ชาวพุทธรังเกียจ ( “ bloodshed is abhorrent to us as Buddhists” ) ทรงเห็นว่ารัฐบาลชุดเก่าไม่สมควรทำการต่อต้านเพื่อกลับสู่อำนาจอีก ดังนั้น รัฐบาลชุดเก่าควรพ้นไปจากอำนาจอย่างสงบอันจะทำให้การเมืองไทยจะเข้าสู่ห้วงเวลาใหม่ที่ดีกว่ารัฐบาลเก่าคิดต่อต้าน( “more propitious moment” ) นอกจากนี้ ในสายพระเนตรของพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร(พระองค์เจ้าธานีนิวัต) ได้ทรงมีบันทึกให้ความเห็นถึงรัฐประหารครั้งนี้ว่า “เมืองไทยเปลี่ยนฉาก แสงเงินแสงทอง ความมืดมิดหายไปแสงสว่างกลับมา”


จากนั้น “คณะรัฐประหาร” ได้ส่งหม่อมเจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธ์ เป็นผู้แทนเดินทางไปรายงานให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบันทรงทราบที่สวิสเซอร์แลนด์ โดยพระองค์ได้ทรงส่งพระราชหัตถเลขาจากเมืองโลซานน์ถึงจอมพล ป. พิบูลสงคราม ความว่า


“โลซานน์


25 พฤศจิกายน 2490


ถึงจอมพล ป. พิบูสงคราม


ฉันได้รับหนังสือลงวันที่ 14 เดือนนี้ ทราบความตลอดแล้ว เมื่อเหตุการณ์ได้บังเกิดขึ้นเช่นนี้ ก็มีความหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ประชาชนพลเมืองที่รักของฉัน ซึ่งฉันได้เป็นห่วงในความทุกข์สุขของเขาอยู่เสมอมา คงจะได้บรรเทาและปลดเปลื้อง ความลำบากยากแค้นต่างๆลงไปจนหมดสิ้น และมีความสุขสบายตามสมควรของเขา


ฉันรู้สึกพอใจยิ่งนักที่ทราบว่า เหตุการณ์ที่ได้บังเกิดขึ้นนี้มิได้เสียเลือดเนื้อ และชีวิตคนไทยด้วยกันเลย อนึ่ง ที่ได้บอกมาว่าทุกๆคนที่ได้ร่วมปฏิบัติการครั้งนี้ได้ตกลงแน่วแน่ว่าไม่ต้องการช่วงชิงอำนาจ หาความดีใส่ตนเองเลย มีจุดประสงค์เพียงแต่จะให้รัฐบาลใหม่ที่เข้มแข็งได้เข้ามาบริหาราชการ ทำนุบำรุงประเทศให้เจริญรุ่งเรืองและปลดเปลื้องความทุกข์ยาก ที่บังเกิดขึ้นเฉพาะหน้าในบัดนี้ให้บรรเทาเบาบางลง ให้ประชาชนได้รับความสงบสุขร่มเย็นตามสมควรแก่สภาพ และให้ประเทศชาติได้รับการทำนุบำรุงให้เจริญ ฯลฯ นั้น ก็เป็นการแสดงให้เห็นในอุดมคติอันดียิ่ง และเป็นความซื่อสัตย์ต่อประเทศชาติโดยแท้จริง เมื่อได้ยึดถืออุดมคติดังกล่าวนี้นำมาปฏิบัติ นอกจากจะปรากฎเป็นประวัติศาสตร์แล้ว ก็ยังมีเป็นตัวอย่างอันดีงามแก่ข้าราชการและประชาชนทั่วไปอีกด้วย ขอให้ทุกๆฝ่ายจงช่วยกัน ร่วมมือประสานงานด้วยดี เพื่อนำมาซึ่งความเจริญรุ่งเรืองให้แก่ประเทศชาติที่รักของเรา จะเป็นความพอใจสูงสุดของฉัน


การที่ขอให้ฉันกลับเข้าเมืองไทย ในโอกาสที่ฉันไดบรรลุนิติภาวะ ณ วันที่ 5 ธันวาคม ศกนี้นั้น ฉันขอขอบใจมาด้วย นอกจากเวลาจะได้กระชั้นชิดจนเกินไปแล้ว ยังมีเหตุผลอื่นๆที่ฉันเข้าไปไม่ได้ ฉันได้สั่งให้หม่อมเจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธ์ ไปแจ้งให้เข้าใจโดยละเอียดแล้ว แต่อย่างไรก็ดี ฉันมีความประสงค์จะกลับเข้ากรุงเทพฯชั่วคราว เพื่อถวายพระเพลิงสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศในมีนาคมหน้านี้ ตามที่ได้กะกันไว้ ในขณะที่อยู่กรุงเทพฯชั่วคราวนี้ ฉันหวังว่าจะได้ช่วยทำประโยชน์ ให้แก่ประเทศชาติบ้านเมือง ได้บ้างไม่มากก็น้อย


(พระปรมาภิไธย) ภูมิพลอดุลยเดช ”


คณะผู้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวได้ลักลอบร่างกันขึ้นก่อนการรัฐประหาร ซึ่งมีรายชื่อ ดังต่อไปนี้ หม่อมราชวงศ์ เสนีย์ อดีตนายกรัฐมนตรีและหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช นักการเมืองและนักหนังสือพิมพ์ พระยาลัดพลีธรรมประคัลภ์ อธิบดีศาลฎีกา พระยารักตประจิตธรรมจำรัส อดีตกรรมการศาลฎีกา พันเอก สุวรรณ์ เพ็ญจันทร์ เจ้ากรมพระธรรมนูญทหารบก ร้อยเอก ประเสริฐ สุดบรรทัด นายเลื่อนพงษ์ โสภณ สมาชิกสภาผู้แทนพรรคประชาธิปัตย์ และนายเขมชาติ บุญยรัตพันธ์ เข้าร่วมร่างรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวด้วย ต่อมานาวาอากาศเอกกาจ แกนนำ”คณะรัฐประหาร” และผู้อำนวยการร่างรัฐธรรมนูญ ได้ให้สัมภาษณ์แก่หนังสือพิมพ์ยืนยันถึงสาระสำคัญในรัฐธรรมนูญฉบับนี้ว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้เพิ่มอำนาจบริหารให้แก่พระมหากษัตริย์มากขึ้น


แม้เรัฐธรรมนูญนี้ หรือ “รัฐธรรมนูญฉบับใต้ตุ่ม” ถูกร่างขึ้นจากตัวแทนทางการเมือง 2 กลุ่มสำคัญ คือ “คณะรัฐประหาร” กับ กลุ่มอนุรักษ์-กษัตริย์นิยมก็ตาม แต่แนวความคิดของกลุ่มอนุรักษ์-กษัตรินิยมมีอิทธิพลมากกว่าคณะทหาร ซึ่งสามารถพิจารณาได้จากสาระสำคัญของรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวดังนี้ สาระสำคัญคือเปลี่ยนแปลงจากหลักการของรัฐธรรมนูญหลังการปฏิวัติ2475 ที่จำกัดอำนาจพระมหากษัตริย์ให้ กลายเป็นรัฐธรรมนูญที่ถวายอำนาจให้พระมหากษัตริย์เป็นอย่างมาก เช่น ถวายอำนาจให้พระมหากษัตริย์ทรงมีอำนาจที่เกี่ยวข้องกับฝ่ายบริหาร (มาตรา 74 75, 77) ซึ่งกำหนดให้ทรงมีอำนาจในการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี และมีพระราชอำนาจในการปลดนายกรัฐมนตรี(มาตรา 78)โดยให้ประธานอภิรัฐมนตรีเป็นผู้สนองพระบรมราชโองการ ทั้งนี้อภิรัฐมนตรีได้รับการแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์ (มาตรา 9 ) อีกทั้ง พระมหากษัตริย์มีอำนาจในการเพิกถอนรัฐมนตรีได้ด้วยพระบรมราชโองการ(มาตรา79)และมีพระราชอำนาจในการเลือกวุฒิสภา (มาตรา33) ทรงมีอำนาจในการตราพระราชบัญญัติในกรณีฉุกเฉินและกรณีการเงิน (มาตรา 80, 81) เป็นต้น ดังนั้นใน รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ส่งผลให้การกระทำของพระองค์ปราศจากผู้สนองพระบรมราชโองการ และขัดต่อหลักพระมหากษัตริย์ทรงอยู่ในฐานะที่ละเมิดมิได้ นอกจากรัฐธรรมนูญฉบับนี้ถวายอำนาจให้พระมหากษัตริย์มากและมีการรื้อฟื้นองค์กรทางการเมืองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชกลับมา เช่น การรื้อฟื้นอภิรัฐมนตรี เป็นต้น


นอกจากนี้ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร ทรงเรียกบรรยากาศทางการเมืองหลังการรัฐประหารว่า “วันใหม่ของชาติ” ในขณะที่ พลเรือตรีถวัลย์ อดีตนายกรัฐมนตรีที่ถูกโค่นล้ม ได้วิจารณ์รัฐธรรมนูญฉบับ 2490 “รัฐธรรมนูญใหม่นี้เป็นเรื่องถอยหลังเข้าคลอง…อำนาจสิทธิ์ขาดไปอยู่ที่พระมหากษัตริย์ อย่างนี้คุณเรียกได้หรือว่าประชาธิปไตย” สอดคล้องกับความเห็นของแสตนตัน ซึ่งเห็นว่า การรัฐประหารขับไล่รัฐบาลและสาระในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ 2490 ที่เกิดขึ้นนั้นเป็นการหมุนเวลาถอยหลัง(set back the hands of the clock) จากนั้น ระบอบการปกครองของไทยภายหลังการปฏิวัติก็เริ่มต้นบิดผันไปจากเจตนารมย์ของการปฏิวัติ 2475

ผลกระทบภายหลังการรัฐประหาร



1.ล้มเลิกรัฐธรรมนูญ 2489 และประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2490(ฉบับชั่วคราว) หรือ “รัฐธรรมนูญฉบับใต้ตุ่ม”ที่ให้อำนาจแก่พระมหากษัตริย์มาก และมีการฟื้นฟู“อภิรัฐมนตรี” องค์กรตามระบอบเก่าให้กลับมาอีกครั้งภายหลังการปฏิวัติ 2475


2.กลุ่มนายปรีดีหมดอำนาจ ในขณะที่กลุ่มอนุรักษ์-กษัตริย์นิยมและกลุ่มทหารกลับมามีอำนาจ ตลอดจน การที่รัฐบาลนายควงต้องการเอาใจ “คณะรัฐประหาร” เพื่อสร้างความมั่นคงให้กับรัฐบาลของตน จึงออกพระราชบัญญัติคุ้มครองความสงบสุข พ.ศ.2490 ที่ให้อำนาจทหาร เข้าปราบปราม จับกุมฝ่ายต่อต้านการรัฐบาลหรือกลุ่มนายปรีดี ซึ่งนำไปสู่การจับกุมบุคคลสำคัญในรัฐบาลและรัฐสภาในชุดก่อนการรัฐประหารจำนวนมาก


3.การรัฐประหารที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างกลุ่มอนุรักษ์-กษัตริย์นิยมและ “คณะรัฐประหาร”ครั้งนี้ ทำให้อำนาจทางการเมืองของคณะราษฎรได้เริ่มเลื่อมคลายลง นอกจาก เนื้อหาสาระในรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ได้เพิ่มอำนาจพระมหากษัตริย์มากขึ้นและมีการรื้อฟื้นองคกรในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชกลับมาอีกครั้ง นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรีของรัฐบาลนายควงที่ตั้งขึ้นหลังการรัฐประหารประกอบขึ้นจาก พระราชวงศ์ และขุนนางเก่า มากอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนหลังการปฏิวัติ 2475


อ้างอิง

  1. สุชิน ตันติกุล , รัฐประหาร พ.ศ.2490 ( นครหลวง : สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย,2515),หน้า 33-41.
  2. ดิเรก ชัยนาม , ไทยกับสงครามโลกครั้งที่ 2 , (พระนคร : แพร่พิทยา , 2510),หน้า 579-580
  3. Chalong Soontravanich, “ The small arms industry in Thailand and the Asian crisis ” , Takeshi Hamashita and Takashi Shiraishi (edited) , Hegemony, technocracy, networks : papers presented at Core University Program Workshop on networks, hegemony and technocracy , Kyoto, March 25-26 2002 , Kyoto : The Networks, 2002
  4. สิริรัตน์ เรืองวงษ์วาร , “บทบาททางการเมืองของนายควง อภัยวงศ์ ตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 - 2491”, วิทยานิพนธ์อักษรศาสตร์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , 2521 ,หน้า 263-264.
  5. หม่อมเจ้าศุภสวัสดิ์วงศ์สนิท สวัสดิวัตน , 1 ศตวรรษ ศุภสวัสดิ์ .กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง,2543),หน้า517-518.
  6. สิริรัตน์ เรืองวงษ์วาร , “บทบาททางการเมืองของนายควง อภัยวงศ์ ตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 - 2491”, วิทยานิพนธ์อักษรศาสตร์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์ , 2521 ,หน้า 251
  7. Kobkua Suwannathat - Pain , Politics and National Interests : Negotiations for The Settlement of The Franco-Siamese Territorial Dispute 1945-1947 , Tokyo : Sophia University , 1994.
  8. สยามนิกร (24 มีนาคม 2490) อ้างใน สุชิน ตันติกุล , รัฐประหาร พ.ศ.2490 ( นครหลวง : สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย,2515),หน้า 80.
  9. บุณฑริกา บูรณะบุตร , “บทบาททางการเมืองของพลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์(พ.ศ.2475-2490) ” ; วิทยานิพนธ์อักษรศาสตร์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534,หน้า 183.
  10. วิชัย ประสังสิต , ปฏิวัติ รัฐประหาร และกบฏจลาจลในสมัยประชาธิปไตยแห่งประเทศไทย ,(พระนคร : โรงพิมพ์บริษัทรัฐภักดี จำกัด , 2492) ,หน้า 187 และบุณฑริกา บูรณะบุตร , “บทบาททางการเมืองของพลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์(พ.ศ.2475-2490) ” ; วิทยานิพนธ์อักษรศาสตร์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534,หน้าบุณฑริกา บูรณะบุตร , “บทบาททางการเมืองของพลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์(พ.ศ.2475-2490) ” ; วิทยานิพนธ์อักษรศาสตร์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534,หน้า 188-189
  11. ร.ต.อ. เฉียบ อัมพุนันท์ , มหาวิทยาลัยของข้าพเจ้า , (พระนคร : ไทยสัมพันธ์, 2501), หน้า 411-412
  12. จดหมายของพลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ถึง นายสุชิน ตันติกุล ลงวันที่ 1 มีนาคม 2514 อ้างใน สุชิน ตันติกุล , “ผลสะท้อนทางการเมืองของรัฐประหาร พ.ศ.2490”, วิทยานิพนธ์รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , 2517,หน้า 171.
  13. ร.ต.อ. เฉียบ อัมพุนันท์ , มหาวิทยาลัยของข้าพเจ้า , (พระนคร : ไทยสัมพันธ์, 2501), หน้า 561.
  14. วิชัย ประสังสิต , ปฏิวัติ รัฐประหาร และกบฏจลาจลในสมัยประชาธิปไตยแห่งประเทศไทย ,(พระนคร : โรงพิมพ์บริษัทรัฐภักดี จำกัด , 2492) , หน้า 192


หนังสือที่แนะนำให้อ่าน

ณัฐพล ใจจริง , “ คว่ำปฏิวัติ-โค่นคณะราษฎร : การก่อตัวของ ‘ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข’ ” , ฟ้าเดียวกัน ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มีนาคม 2551), หน้า 104-146.

สุชิน ตันติกุล (2515) รัฐประหาร พ.ศ.2490 . นครหลวง : สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย.

สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ (2550) แผนชิงชาติไทย : ว่าด้วยรัฐและการต่อต้านรัฐสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ครั้งที่ 2 (พ.ศ.2491-2500). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ 6 ตุลารำลึก .

ศุภสวัสดิ์วงศ์สนิท สวัสดิวัตน ,หม่อมเจ้า(2543) 1 ศตวรรษ ศุภสวัสดิ์ .กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

Fineman , Danial (1997) A Special Relationship : The United States and Military Government in Thailand , 1947-1958. Honolulu : University of Hawaii Press


บรรณานุกรม

เฉียบ อัมพุนันท์,ร.ต.อ. (2501) มหาวิทยาลัยของข้าพเจ้า . พระนคร: ไทยสัมพันธ์ .

ผิน ชุณหะวัณ, จอมพล .(2513) ชีวิตกับเหตุการณ์ . พระนคร : โรงพิมพ์ประเสริฐศิริ.

พิทยลาภพฤฒิยากร,กรมหมื่น(2512) เจ็ดรอบอายุกรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร , พระนคร :พระจันทร์.

วิชัย ประสังสิต(2492) ปฏิวัติ รัฐประหาร และกบฏจลาจลในสมัยประชาธิปไตยแห่งประเทศไทย .พระนคร: โรงพิมพ์บริษัทรัฐภักดี .

ภูมิพลอดุลยเดช , พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว , “ (สำเนา) พระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดช ถึง จอมพล ป. พิบูลสงคราม วันที่ 25 พฤศจิกายน 2490”, วิชัย ประสังสิต (2498) เบื้องหลังการ สวรรคต ร. 8. พระนคร : ธรรมเสวี.

“แมลงหวี่”(หม่อมราชวงศ์ เสนีย์ ปราโมช) (2491) เบื้องหลังประวัติศาสตร์ เล่ม 1 . พระนคร : สหอุปกรณ์การพิมพ์.

ดิเรก ชัยนาม (2510) ไทยกับสงครามโลกครั้งที่ 2 ,พระนคร : แพร่พิทยา.

ณัฐพล ใจจริง , “ คว่ำปฏิวัติ-โค่นคณะราษฎร : การก่อตัวของ ‘ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข’ ” , ฟ้าเดียวกัน ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มีนาคม 2551), หน้า 104-146.

ยวด เลิศฤทธิ์ “ระลึกถึงมือกฎหมายคณะรัฐประหาร 2490”, อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายเขม ชาติ บุญยรัตพันธุ์ (ณ เมรุ วัดธาตุทอง วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2538), กรุงเทพฯ : ม.ป.ท.

ศุภกาญจน์ ตันตราภรณ์ (2542) “ รัฐธรรมนูญและสถาบันทางการเมือง : ศึกษารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉบับชั่วคราว)พุทธศักราช2490 ” วิทยานิพนธ์นิติศาสตร์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศุภสวัสดิ์วงศ์สนิท สวัสดิวัตน ,หม่อมเจ้า(2543) 1 ศตวรรษ ศุภสวัสดิ์ .กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ (2550) แผนชิงชาติไทย : ว่าด้วยรัฐและการต่อต้านรัฐสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ครั้งที่ 2 (พ.ศ.2491-2500). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ 6 ตุลารำลึก .

สุชิน ตันติกุล (2515) รัฐประหาร พ.ศ.2490 . นครหลวง : สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย.สุชิน ตันติกุล (2517) “ผลสะท้อนทางการเมืองของรัฐประหาร พ.ศ. 2490” , วิทยานิพนธ์ รัฐศาสตร์มหาบััณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สรศักดิ์ งามขจรกุลกิจ (2535) ขบวนการเสรีไทยกับความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศไทย ระหว่าง พ.ศ.2481 – 2492 .กรุงเทพฯ : สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

หยุด แสงอุทัย ( 2495) คำอธิบายรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2475-95 . พระนคร : โรงพิมพ์ชูสิน.

อนันต์ พิบูลสงคราม , พลตรี (2540) จอมพล ป. พิบูลสงคราม 2 เล่ม . กรุงเทพฯ : ตระกูลพิบูลสงคราม.

อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พันเอกช่วง เชวงศักดิ์สงคราม (ณ เมรุ หน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 18 มิถุนายน 2505). กรุงเทพฯ: กรมชลประทาน.

อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พลเรือตรี หลวง สังวรณ์ยุทธกิจ (ณ เมรุ วัด ธาตุทอง วันที่ 29 ธันวาคม 2516), กรุงเทพฯ:ชวนพิมพ์.

อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายเขม ชาติ บุญยรัตพันธุ์ (ณ เมรุ วัดธาตุทอง วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2538), กรุงเทพฯ : ม.ป.ท.

อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ จอมพลผิน ชุณหะวัณ ( ณ เมรุ วัดพระศรีมหาธาตุ วันที่ 7 พฤษภาคม 2516), กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์.

Chalong Soontravanich, “ The small arms industry in Thailand and the Asian crisis ” , Takeshi Hamashita and Takashi Shiraishi (edited) , Hegemony, technocracy, networks : papers

presented at Core University Program Workshop on networks, hegemony and technocracy , Kyoto, March 25-26 2002 , Kyoto : The Networks, 2002

Fineman , Danial (1997) A Special Relationship : The United States and Military Government in Thailand , 1947-1958. Honolulu : University of Hawaii Press

Kobkua Suwannathat - Pain (1994) Politics and National Interests : Negotiations for The Settlement of The Franco-Siamese Territorial Dispute 1945-1947 , Tokyo : Sophia University.

Kobkua Suwannathat-Pian,(1995) Thailand’s Durable Premier : Phibun through Three Decades 1932 – 1957. Kuala Lumpur : Oxford University Press .

Stanton, Edwin F. (1956) Brief authority : excursions of a common man in an uncommon World .New York : Harper.

Tarling ,Nicholas (1996) “Britain and the coup 1947 in Siam” ,International Association of Historians of Asia , Chulalongkorn University , Bangkok 20-24 May.

Thanet Aphornsuvan (1987)“The United States and the coming of the coup of 1947 in Siam”, Journal of The Siam Society ,75, pp.187-214.


ดูเพิ่มเติม