ผลต่างระหว่างรุ่นของ "7 คีย์แมน"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 9: บรรทัดที่ 9:
== ความหมาย ==
== ความหมาย ==


“7 คีย์แมน” หมายถึง ชนชั้นนำทางการเมืองซึ่งเป็นบุคคล หรือ กลุ่มบุคคลที่มีอิทธิพลและบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศ ในช่วงวิกฤตการเมืองของไทยระหว่างปลายปี 2556-2557 ประกอบด้วย บุคคลผู้มีบทบาทสำคัญในกองทัพ (พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร และ พล.อ.อักษรา เกิดผล) นักกฎหมายมหาชน-เทคโนแครต ผู้มีบทบาทร่างรัฐธรรมนูญหลายฉบับ (ศ.ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ) อดีตนายกรัฐมนตรีผู้ถูกมองว่าเป็นปมปัญหาการเมืองในรอบทศวรรษ (พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร) และผู้บริการพรรคการเมืองเก่าแก่อย่างพรรคประชาธิปัตย์ (อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะและ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ) แม้ชนชั้นนำกลุ่มนี้จะมีบทบาท สถานภาพ ความคิดเห็นทางการเมือง ท่าที การแสดงออกทางการเมืองที่ต่างกัน แต่ก็ถูกสังคมมองว่าเป็นกุญแจสำคัญในอันที่จะสร้างเงื่อนไขปัญหาทางการเมือง หรืออาจเป็นผู้ที่จะสามารถนำพาสังคมไทยก้ามข้ามความชะงักงันทางการเมืองไปได้ เพราะเป็นผู้ที่อยู่ในฐานะอำนาจที่จะกำหนดตัดสินใจความเป็นไปของบ้านเมือง
“7 คีย์แมน” หมายถึง ชนชั้นนำทางการเมืองซึ่งเป็นบุคคล หรือ กลุ่มบุคคลที่มีอิทธิพลและบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศ ในช่วงวิกฤตการเมืองของไทยระหว่างปลายปี 2556-2557 ประกอบด้วย บุคคลผู้มีบทบาทสำคัญในกองทัพ (พล.อ.[[ประวิตร วงษ์สุวรรณ]] พล.อ.[[อุดมเดช สีตบุตร]] และ พล.อ.[[อักษรา เกิดผล]]) นักกฎหมายมหาชน-[[เทคโนแครต]] ผู้มีบทบาทร่างรัฐธรรมนูญหลายฉบับ (ศ.ดร.[[บวรศักดิ์ อุวรรณโณ]]) อดีต[[นายกรัฐมนตรี]]ผู้ถูกมองว่าเป็นปมปัญหาการเมืองในรอบทศวรรษ (พ.ต.ท.[[ทักษิณ ชินวัตร]]) และผู้บริการพรรคการเมืองเก่าแก่อย่างพรรคประชาธิปัตย์ ([[อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ]]และ นาย[[สุเทพ เทือกสุบรรณ]]) แม้ชนชั้นนำกลุ่มนี้จะมีบทบาท สถานภาพ ความคิดเห็นทางการเมือง ท่าที การแสดงออกทางการเมืองที่ต่างกัน แต่ก็ถูกสังคมมองว่าเป็นกุญแจสำคัญในอันที่จะสร้างเงื่อนไขปัญหาทางการเมือง หรืออาจเป็นผู้ที่จะสามารถนำพาสังคมไทยก้ามข้ามความชะงักงันทางการเมืองไปได้ เพราะเป็นผู้ที่อยู่ในฐานะอำนาจที่จะกำหนดตัดสินใจความเป็นไปของบ้านเมือง


== ตำแหน่งแห่งที่ของ “7 คีย์แมน” ในวิกฤตการเมืองไทย ปี 2556-2557 ==
== ตำแหน่งแห่งที่ของ “7 คีย์แมน” ในวิกฤตการเมืองไทย ปี 2556-2557 ==
สถานการณ์วิกฤตความขัดแย้งทางการเมืองของไทยระหว่าง ปี 2556-2557 เริ่มก่อตัวขึ้นกลางปี 2556 เมื่อมีข่าวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี สนับสนุนการผลักดันกฎหมายนิรโทษกรรม จนกระทั่งในเดือนตุลาคม 2556 การผลักดัน “ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องจากการชุมนุมทางการเมืองการแสดงออกทางการเมืองของประชาชน พ.ศ. ....” ฉบับที่เสนอโดยนายวรชัย เหมะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคเพื่อไทย และคณะ กลับได้รับการต่อต้านทั้งจากพรรคการเมืองฝ่ายค้าน นักวิชาการ และกลุ่มองค์กรทางสังคม ซึ่งตามมาด้วยการจัดตั้งเวทีชุมนุมสามเสนต่อต้านพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคประชาธิปัตย์ อย่างไรก็ตามเมื่อประเด็นต่อต้านทวีความรุนแรงขึ้น นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์และ ส.ส. พรรคอีกส่วนหนึ่ง จึงตัดสินใจลาออกจากสมาชิกภาพ ส.ส. เพื่อเคลื่อนไหวชุมนุมประท้วงต่อต้านรัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ด้วยการจัดตั้งกลุ่มคณะกรรมการประชาชนเพื่อเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) ก่อนที่แกนนำ กปปส. จะยกระดับการชุมนุม  
สถานการณ์วิกฤต[[ความขัดแย้งทางการเมือง]]ของไทยระหว่าง ปี 2556-2557 เริ่มก่อตัวขึ้นกลางปี 2556 เมื่อมีข่าวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี สนับสนุนการผลักดันกฎหมายนิรโทษกรรม จนกระทั่งในเดือนตุลาคม 2556 การผลักดัน “ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องจากการชุมนุมทางการเมืองการแสดงออกทางการเมืองของประชาชน พ.ศ. ....” ฉบับที่เสนอโดยนายวรชัย เหมะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคเพื่อไทย และคณะ กลับได้รับการต่อต้านทั้งจากพรรคการเมืองฝ่ายค้าน นักวิชาการ และกลุ่มองค์กรทางสังคม ซึ่งตามมาด้วยการจัดตั้งเวทีชุมนุมสามเสนต่อต้านพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคประชาธิปัตย์ อย่างไรก็ตามเมื่อประเด็นต่อต้านทวีความรุนแรงขึ้น นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์และ ส.ส. พรรคอีกส่วนหนึ่ง จึงตัดสินใจลาออกจากสมาชิกภาพ ส.ส. เพื่อเคลื่อนไหวชุมนุมประท้วงต่อต้านรัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ด้วยการจัดตั้งกลุ่มคณะกรรมการประชาชนเพื่อเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) ก่อนที่แกนนำ กปปส. จะยกระดับการชุมนุม  


ต่อมาในวันที่ 9 ธันวาคม 2556 น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จึงตัดสินใจประกาศยุบสภาและประกาศให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 แต่กระนั้นการตัดสินใจยุบสภาผู้แทนราษฎรของอดีตนายกรัฐมนตรีก็ไม่ได้สร้างความพึงพอใจแก่ผู้ชุมนุมแต่อย่างใด ทั้งยังประกาศจุดยืนชุมนุมยืดเยื้อเพื่อให้มีการ “ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง”  ส่งผลให้การเลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์ 2557 ไม่สามารถดำเนินการไปอย่างสำเร็จลุล่วงได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกิดกรณีการเสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มาตราที่เกี่ยวข้องกับที่มาของสมาชิกวุฒิสภา และมาตราที่เกี่ยวข้องกับการทำสนธิสัญญาระหว่างประเทศ “ร่างพระราชบัญญัติให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ พ.ศ....” และกรณีทุจริตโครงการจำนำข้าว ข้อเรียกร้องของกลุ่ม กปปส. ที่ส่งผ่านไปถึงรัฐบาลรักษาการให้ลาออกจากตำแหน่งก็ยิ่งสร้างเงื่อนไขให้ทหารเข้าแทรกแซงการเมืองยิ่งขึ้น ในสถานการณ์นี้สื่อมวลชนได้ตีแผ่แพร่หลายถึงบุคคลซึ่งควรจับตามองในฐานะผู้ที่จะสามารถเข้ามาแก้ไขปมวิกฤตความขัดแย้งทางการเมืองไทยได้
ต่อมาในวันที่ 9 ธันวาคม 2556 น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จึงตัดสินใจประกาศยุบสภาและประกาศให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 แต่กระนั้นการตัดสินใจยุบสภาผู้แทนราษฎรของอดีตนายกรัฐมนตรีก็ไม่ได้สร้างความพึงพอใจแก่ผู้ชุมนุมแต่อย่างใด ทั้งยังประกาศจุดยืนชุมนุมยืดเยื้อเพื่อให้มีการ “ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง”  ส่งผลให้การเลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์ 2557 ไม่สามารถดำเนินการไปอย่างสำเร็จลุล่วงได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกิดกรณีการเสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มาตราที่เกี่ยวข้องกับที่มาของสมาชิกวุฒิสภา และมาตราที่เกี่ยวข้องกับการทำสนธิสัญญาระหว่างประเทศ “ร่างพระราชบัญญัติให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ พ.ศ....” และกรณีทุจริตโครงการจำนำข้าว ข้อเรียกร้องของกลุ่ม กปปส. ที่ส่งผ่านไปถึงรัฐบาลรักษาการให้ลาออกจากตำแหน่งก็ยิ่งสร้างเงื่อนไขให้ทหารเข้าแทรกแซงการเมืองยิ่งขึ้น ในสถานการณ์นี้สื่อมวลชนได้ตีแผ่แพร่หลายถึงบุคคลซึ่งควรจับตามองในฐานะผู้ที่จะสามารถเข้ามาแก้ไขปมวิกฤตความขัดแย้งทางการเมืองไทยได้

รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:49, 17 พฤศจิกายน 2558

ผู้เรียบเรียง ฐิติกร สังข์แก้ว และดร.อรรถสิทธิ์ พานแก้ว


ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ ศาสตราจารย์ นรนิติ เศรษฐบุตร


ความหมาย

“7 คีย์แมน” หมายถึง ชนชั้นนำทางการเมืองซึ่งเป็นบุคคล หรือ กลุ่มบุคคลที่มีอิทธิพลและบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศ ในช่วงวิกฤตการเมืองของไทยระหว่างปลายปี 2556-2557 ประกอบด้วย บุคคลผู้มีบทบาทสำคัญในกองทัพ (พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร และ พล.อ.อักษรา เกิดผล) นักกฎหมายมหาชน-เทคโนแครต ผู้มีบทบาทร่างรัฐธรรมนูญหลายฉบับ (ศ.ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ) อดีตนายกรัฐมนตรีผู้ถูกมองว่าเป็นปมปัญหาการเมืองในรอบทศวรรษ (พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร) และผู้บริการพรรคการเมืองเก่าแก่อย่างพรรคประชาธิปัตย์ (อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะและ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ) แม้ชนชั้นนำกลุ่มนี้จะมีบทบาท สถานภาพ ความคิดเห็นทางการเมือง ท่าที การแสดงออกทางการเมืองที่ต่างกัน แต่ก็ถูกสังคมมองว่าเป็นกุญแจสำคัญในอันที่จะสร้างเงื่อนไขปัญหาทางการเมือง หรืออาจเป็นผู้ที่จะสามารถนำพาสังคมไทยก้ามข้ามความชะงักงันทางการเมืองไปได้ เพราะเป็นผู้ที่อยู่ในฐานะอำนาจที่จะกำหนดตัดสินใจความเป็นไปของบ้านเมือง

ตำแหน่งแห่งที่ของ “7 คีย์แมน” ในวิกฤตการเมืองไทย ปี 2556-2557

สถานการณ์วิกฤตความขัดแย้งทางการเมืองของไทยระหว่าง ปี 2556-2557 เริ่มก่อตัวขึ้นกลางปี 2556 เมื่อมีข่าวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี สนับสนุนการผลักดันกฎหมายนิรโทษกรรม จนกระทั่งในเดือนตุลาคม 2556 การผลักดัน “ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องจากการชุมนุมทางการเมืองการแสดงออกทางการเมืองของประชาชน พ.ศ. ....” ฉบับที่เสนอโดยนายวรชัย เหมะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคเพื่อไทย และคณะ กลับได้รับการต่อต้านทั้งจากพรรคการเมืองฝ่ายค้าน นักวิชาการ และกลุ่มองค์กรทางสังคม ซึ่งตามมาด้วยการจัดตั้งเวทีชุมนุมสามเสนต่อต้านพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคประชาธิปัตย์ อย่างไรก็ตามเมื่อประเด็นต่อต้านทวีความรุนแรงขึ้น นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์และ ส.ส. พรรคอีกส่วนหนึ่ง จึงตัดสินใจลาออกจากสมาชิกภาพ ส.ส. เพื่อเคลื่อนไหวชุมนุมประท้วงต่อต้านรัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ด้วยการจัดตั้งกลุ่มคณะกรรมการประชาชนเพื่อเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) ก่อนที่แกนนำ กปปส. จะยกระดับการชุมนุม

ต่อมาในวันที่ 9 ธันวาคม 2556 น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จึงตัดสินใจประกาศยุบสภาและประกาศให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 แต่กระนั้นการตัดสินใจยุบสภาผู้แทนราษฎรของอดีตนายกรัฐมนตรีก็ไม่ได้สร้างความพึงพอใจแก่ผู้ชุมนุมแต่อย่างใด ทั้งยังประกาศจุดยืนชุมนุมยืดเยื้อเพื่อให้มีการ “ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง” ส่งผลให้การเลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์ 2557 ไม่สามารถดำเนินการไปอย่างสำเร็จลุล่วงได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกิดกรณีการเสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มาตราที่เกี่ยวข้องกับที่มาของสมาชิกวุฒิสภา และมาตราที่เกี่ยวข้องกับการทำสนธิสัญญาระหว่างประเทศ “ร่างพระราชบัญญัติให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ พ.ศ....” และกรณีทุจริตโครงการจำนำข้าว ข้อเรียกร้องของกลุ่ม กปปส. ที่ส่งผ่านไปถึงรัฐบาลรักษาการให้ลาออกจากตำแหน่งก็ยิ่งสร้างเงื่อนไขให้ทหารเข้าแทรกแซงการเมืองยิ่งขึ้น ในสถานการณ์นี้สื่อมวลชนได้ตีแผ่แพร่หลายถึงบุคคลซึ่งควรจับตามองในฐานะผู้ที่จะสามารถเข้ามาแก้ไขปมวิกฤตความขัดแย้งทางการเมืองไทยได้

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ จบการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมทหาร (ตท.) รุ่น 6 และ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (จปร.) รุ่น 17 เคยดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก (1 ตุลาคม 2547-30 กันยายน 2548) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกระทรวงกลาโหม ในรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ถือเป็นพี่ใหญ่แห่งบูรพาพยัคฆ์และพี่ใหญ่ของ “กลุ่ม 3 ป.” (ป้อม-ป๊อก-ประยุทธ์) [1] ในช่วงวิกฤตการเมือง 2556 มีข่าวลือว่า พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ ได้รับการทาบทามจากนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. ให้ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แทน นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร [2]

พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร จบการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมทหาร (ตท.) รุ่น 14 และ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (จปร.) รุ่น 25 ในช่วงวิกฤตการเมือง 2556 พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร ดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการทหารบก ซึ่งเป็นคนใกล้ชิดกับ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) และถูกคาดการณ์ว่าจะได้รับการแต่งตั้งเป็น ผบ.ทบ. คนต่อไป [3] ทั้งนี้เนื่องจาก พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร เป็นสายคุมกำลังมาโดยตลอด และเคยดำรงตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ 1 ซึ่งเป็นสายกำลังสำคัญในการเข้ารัฐประหารยึดอำนาจทุกยุคทุกสมัยในการเมืองไทย

พล.อ.อักษรา เกิดผล เป็นบุตรชายของ พลเอก สายหยุด เกิดผล (อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด) จบการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมทหาร (ตท.) รุ่น 14 และ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (จปร.) รุ่น 25 ในช่วงวิกฤตการเมือง 2556 พลเอกอักษรา เกิดผล ดำรงตำแหน่งเสนาธิการทหารบก (เสธ.ทบ.) และเลขาธิการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (ลธ.รมน.) โดยได้รับมอบหมายจาก อดีตนายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ให้จัดทำแผนปฏิบัติการรับมือการชุมนุมใหญ่ของกลุ่ม กปปส. ในวันที่ 5 มกราคม 2557 [4] โดยก่อนหน้านี้มีเอกสารราชการเปิดเผยว่าเป็นลงนามขออนุมัติใช้ “พลแม่นปืน” และ “พลซุ่มยิง” (sniper) เพื่อรักษาความปลอดภัยที่ตั้งสำคัญ จุดตรวจ และด่านตรวจ ของศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ในช่วงวิกฤตการเมือง 2552-2553 [5]

ศ.ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ นักกฎหมายมหาชนผู้มีบทบาทในการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่ 2540 และรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ถือเป็นนักวิชาการกฎหมายที่มีประสบการณ์ทางการเมืองในหลายรัฐบาล อดีตเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้าและอุปนายกราชบัณฑิตยสถานคนที่ 1 ทั้งนี้ ในช่วงวิกฤตการเมืองปลายปี 2556 มีข่าวว่าวันที่ 7 ธันวาคม 2556 ศ.ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ และพลเอกนินนาท เบี้ยวไข่มุก (นายทหารคนสนิท พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์) เข้าพบ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส.[6] ต่อมา ศ.ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ได้เข้าร่วมเดินขบวนชุมนุมประท้วงรัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร พร้อมแสดงความว่าเห็นว่าประชาชนหมดความศรัทธาในรัฐบาลแล้ว [7] และเสนอให้ยกฐานะของศาลรัฐธรรมนูญให้อยู่เหนือฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร เพื่อคลี่คลายวิกฤตการเมืองของประเทศ [8]

พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี (2544-2549) ภายหลังจากการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 โดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ซึ่งมีพลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน เป็นหัวหน้าคณะ ทำให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรต้องลี้ภัยทางการเมืองอยู่ในหลายประเทศ แต่ยังคงมีอิทธิพลต่อการเมืองไทยมาจนกระทั่งปัจจุบัน ทั้งยังถูกมองว่าอยู่เบื้องหลังการเคลื่อนไหวของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.)[9] และการจัดตั้งรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ และนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร [10] ในช่วงวิกฤตการเมือง 2556 พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร มีบทบาทสำคัญในฐานะ “คีย์แมน” ที่เร่งผลักดันพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม จนเรียกกันอย่างแพร่หลายในการเมืองไทยว่า “ซุปเปอร์ดีล” [11] เพราะเป็นเสมือนการทำข้อตกลงสงบศึกกับฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และอดีตนายกรัฐมนตรี (2551-2554) ในช่วงวิกฤตการเมืองปลายปี 2556 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีบทบาทสำคัญในฐานะผู้นำฝ่ายค้านทั้งในและนอกสภาที่ดำเนินการขับเคลื่อนต่อต้านการลงมติรับรอง “ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องจากการชุมนุมทางการเมืองการแสดงออกทางการเมืองของประชาชน พ.ศ. ....” จนนำไปสู่การจัดตั้งเวทีชุมนุมสามเสน ซึ่งสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์และประชาชนเข้าร่วมชุมนุมอย่างคึกคัก [12] ก่อนที่จะตัดสินใจคว่ำบาตรการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป ซึ่งจัดให้มีขึ้นในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 [13] อันเป็นยุทธศาสตร์ทางการเมืองเดียวกันกับที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และพรรคประชาธิปัตย์ (ร่วมกับพรรคชาติไทย และพรรคมหาชน) เคยใช้เมื่อคราวการเลือกตั้ง วันที่ 2 เมษายน 2549 เพื่อคว่ำบาตรการเลือกตั้งและขับไล่รัฐบาลรักษาการของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ผลที่สุดก็คือ การเคลื่อนไหวทางการเมืองนอกสภาผ่านการชุมนุมประท้วงขับไล่รัฐบาล และการบอยคอตไม่ลงสมัครรับเลือกตั้ง ได้สร้างเงื่อนไขให้เกิดความชะงักงันทางการเมืองจนเหนี่ยวนำให้ทหารเข้ากระทำการรัฐประหารยึดอำนาจการปกครองแผ่น เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557

นายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรัฐมนตรีหลายสมัย และเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ในช่วงวิกฤตการเมือง 2552-2553 นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ในฐานะรองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง และผู้อำนวยศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ได้กลายเป็นคู่ขัดแย้งโดยตรงกับกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) จากกรณีสั่งทหารให้ขอคืนพื้นที่บริเวณแยกคอกวัว จนทำให้มีผู้เสียชีวิต และปรากฏเอกสารเผยแพร่ว่าเป็นผู้ลงนามอนุมัติให้ใช้ “พลแม่นปืน” และ “พลซุ่มยิง” (sniper) ตามที่ พล.อ.อักษรา เกิดผล ได้เสนอขึ้นมา [14] ในช่วงวิกฤตการเมืองไทย 2556-2557 นายสุเทพ เทือกสุบรรณ กลับมามีบทบาทโดดเด่นอีกครั้ง ด้วยการประกาศลาออกจากเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ พร้อมกับสมาชิกพรรคคนอื่น เพื่อออกมาเดินขบวนต่อต้านรัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร[15] อันเป็นจุดเริ่มต้นของการจัดตั้งกลุ่ม กปปส. ที่มี นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นเลขาธิการ และประกาศจุดยืน “ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง” ชุมนุมแตกหักขัดขวางการเลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์ 2557 [16]

การเมืองของชนชั้นนำไทย : ข้อสังเกตเชิงวิพากษ์

ตลอดระยะเวลากว่า 80 ปี ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 แม้อำนาจการเมืองจะเปลี่ยนมือจากสถาบันพระมหากษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาสู่ผู้นำทางการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข แต่ด้วยโครงสร้างสังคมการเมืองแบบ “รัฐแข็ง-สังคมอ่อน” อำนาจจึงกระจุกตัวอยู่ในหมู่ชนชั้นนำทางการเมือง สภาพการเมืองที่ชนชั้นนำผูกขาดอำนาจปราศจากรากฐานสังคมเข้มแข็ง ก็ทำให้กระบวนการพัฒนาการเมืองของไทยไม่ต่างไปจาก “ประชาธิปไตยที่มติมหาชน” ซึ่งเป็นเงื่อนไขเอื้ออำนวยให้ทหารเข้าแทรกแซงการเมืองได้อยู่เสมอ [17] การปรากฏตัวของ “ประชาชน” ในระบบการเมืองแบบปิดจึงมักถือกำเนิดขึ้นในห้วงเวลาแห่งวิกฤตความชอบธรรมของรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 เหตุการณ์เดือนพฤษภาคม 2535 เหตุการณ์การชุมนุมประท้วงขับไล่รัฐบาลทักษิณช่วงปี 2549 วิกฤตการเมืองไทยช่วง 2552-2553 และวิกฤตการเมืองไทยช่วง 2556-2557

อย่างไรก็ตาม เมื่อข้อร้องเรียงของประชาชนกลุ่มต่อต้านบรรลุผลสัมฤทธิ์ หรืออย่างน้อยรัฐบาลยินยอมรอมชอมตามข้อเรียกร้องทั้งหลาย ประชาชนก็มักจะกลับสู่ตำแหน่งที่ตั้งเดิมของตน ในแง่นี้พลังกดดันของประชาชนจึงเป็นเพียงตัวแปรหนึ่ง (ในจำนวนตัวแปรอื่นๆ) ซึ่งถูกนำมาคิดคำนวณในการตัดสินใจกระทำทางการเองของชนชั้นนำเท่านั้น เมื่ออำนาจที่เป็นจริงตกอยู่ในมือของชนชั้นนำทางการเมือง การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองจึงเป็นเรื่องจากบนสู่ล่าง หรือไม่เช่นนั้นก็เป็นการเปลี่ยนตัวผู้นำ/คณะผู้นำซึ่งกุมอำนาจเท่านั้น นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมกรอบมโนทัศน์เรื่อง “วงจรอุบาทว์การเมืองไทย” จึงเป็นสิ่งที่สามารถใช้อธิบายสภาพการประชันขันแข่งแย่งชิงอำนาจได้ทุกยุคสมัย[18] จริงอยู่ ทุกรูปแบบการปกครองล้วนประกอบด้วยชนชั้นนำผู้ปกครอง และชนชั้นผู้ถูกปกครอง แต่ในระบอบเสรีประชาธิปไตย (liberal democracy) ประชาชนจะเป็นผู้กำหนดตัดสินใจเลือกผู้ปกครองผ่านกระบวนการเลือกตั้งที่จัดให้มีขึ้นเป็นระยะอย่างเสรีและเป็นธรรม ในส่วนของผู้ถูกเลือกก็มีพันธะผูกพันในอันที่จะรับผิดชอบต่อภารกิจหน้าที่ที่ตนมีต่อประชาชน (responsibility) ขณะเดียวกันก็ต้องมีกลไกการรับผิดทางการเมืองและทางกฎหมาย (accountability) เพื่อควบคุมพฤติกรรมของผู้นำที่ได้รับเลือก ดังนั้นการกระทำทางการเมืองใดๆ ของผู้นำในระบอบเสรีประชาธิปไตยจึงต้องเกิดขึ้นในองค์กร/สถาบันทางการเมืองที่เป็นทางการ (เช่น คณะรัฐมนตรี รัฐสภา และพรรคการเมือง) ก็เพื่อให้บุคคลสาธารณะอยู่ในตำแหน่งแห่งที่อันเปิดเผยซึ่งพร้อมที่จะถูกตรวจสอบควบคุมจากประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย

แต่เมื่อคุณลักษณะการเมืองไทยเป็น “การเมืองแบบปิดของชนชั้นนำ” วิธีการต่อรองเพื่อกระทำทางการเมืองที่สำคัญจึงกลายเป็นเรื่อง “การตกลงหลังฉาก” อย่างหลีกเลี่ยงมิได้ การที่สื่อมวลชนจำนวนมากกล่าวถึง “7 คีย์แมน” อยู่บ่อยครั้งในช่วงวิกฤตการเมืองปลายปี 2556 จึงชี้ให้เห็นว่าความเป็นไปของบ้านเมืองไม่ได้ขึ้นอยู่กับเจตจำนงของประชาชนแต่อย่างใด เพราะที่สุดแล้วไม่ว่าความคิดเห็นของสาธารณชนจะออกมาทิศทางใด ชะตากรรมทางการเมืองของไทยก็ขึ้นอยู่กับชนชั้นนำทางการเมืองกลุ่มเล็กๆ หากพิจารณาจากภูมิหลังของบุคคลทั้งเจ็ดแล้ว จึงย่อมสะท้อนให้เห็นชัดเจนว่า บุคคลระดับอดีตผู้นำประเทศ+ผู้นำกองทัพ/ผู้คุมกำลัง+นักกฎหมาย/เทคโนแครต เป็นผู้ที่มีบทบาทและอิทธิพลสำคัญในการกำกับจังหวะก้าวการเมืองไทยอยู่เสมอ สิ่งที่เป็นเครื่องยืนยันถึงการให้เหตุผลทำนองนี้ได้ดีที่สุด ดูจะเป็นกรณีการเสนอ “ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องจากการชุมนุมทางการเมืองการแสดงออกทางการเมืองของประชาชน พ.ศ. ....” ซึ่งครอบคลุมประเด็นและบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ทางการเมืองจำนวนมาก ดังที่ นิธิ เอียวศรีวงศ์ ได้ตั้งข้อสังเกตว่า


ถ้าเรียกสิ่งนี้ว่าการ “เกี้ยเซี้ย” มันไม่ใช่การ “เกี้ยเซี้ย” ระหว่างคนที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกัน (อย่างเปิดเผยหรือโดยนัยะ) เท่านั้น ที่สำคัญกว่าคือการ “เกี้ยเซี้ย” เพื่อจรรโลงระบบอำนาจเดิมเอาไว้ โดยชนชั้นนำทุกกลุ่ม ไม่ว่าเก่าหรือใหม่ได้หมด เป็นการหันคืนสู่ “ความสงบเรียบร้อย” อย่างที่เอื้อต่อประโยชน์ของชนชั้นนำมานานแล้ว...
...จนถึงที่สุด เราจะมีสถาบันทางการเมืองที่ตรวจสอบไม่ได้อยู่ต่อไป ตรวจสอบไม่ได้เพราะการตกลงกันหลังฉากระหว่างผู้นำยังมีความสำคัญกว่าการตรวจสอบต่อสาธารณชนซึ่งเป็นเพียง “ป่าหี่” หรือตรวจสอบไม่ได้เพราะมีกฎหมายห้ามตรวจสอบก็เหมือนกัน [19]


ผลของการ “เกี้ยเซี้ย” หรือการประนีประนอมรอมชอมหลังฉากในระหว่าง/ภายหลังวิกฤตการเมืองไทยทุกยุคสมัยย่อมผลักรุนให้ประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจโดยแท้จริงต้องสยบยอมต่ออำนาจชนชั้นนำทางการเมืองทั้งเก่าและใหม่ กอปรกับการล่าถอยกลับสู่ถิ่นที่เดิมอย่างสงบราบคาบก็ยิ่งทำให้ที่ผ่านมาประชาชนถูกปิดกั้นช่องทางการตั้งตนเป็นอีกสถาบันหนึ่งเพื่อคัดคานอำนาจของผู้นำทางการเมือง[20] หรืออย่างดีที่สุด ก็กลายเป็นยุทธวิธีที่ชนชั้นนำฉวยใช้เป็นเครื่องมือให้ได้มาซึ่งอำนาจในเวทีทางการเมือง ดังนั้น การสร้างประชาธิปไตยที่จะสามารถเติบใหญ่ขยายตัว พร้อมกับสามารถหยั่งรากถาวรลงในสังคมการเมืองไทยจึงต้องมุ่งเน้นการให้อำนาจประชาชน ไม่เพียงแต่จะมีส่วนเสียงในการเมืองการปกครองประเทศเท่านั้น แต่ยังเป็นผู้กำหนดตัดสินใจสุดท้ายในประเด็นสาธารณะที่กระทบกระเทือนความเป็นอยู่ของประชาชนด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพิ่มอำนาจประชาชนในอันที่จะตรวจสอบควบคุมกลไกการเมืองที่เป็นทางการผ่านประชาธิปไตยทางตรง หรือประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม ขณะเดียวกันก็ไม่ควรละเลยกลไกสร้างความพร้อมรับผิดของผู้นำทางการเมืองที่จะถูกตรวจสอบท้าถามจากสังคมสาธารณะเพื่อเร่งรุดกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตยต่อไป

บรรณานุกรม

นิธิ เอียวศรีวงศ์. “อะไรอยู่ในเข่ง.” มติชนรายวัน. (28 ตุลาคม 2556), 6.

“บิ๊กแป๊ะผงาดปลัดกลาโหมเบียดบิ๊กอ๋อยไปทบ.คลอดแล้ว861อัตรา.” เดลินิวส์. (16 กันยายน 2556), 19.

“ปชป. ชี้ขาดปมเลือกตั้ง 21 ธ.ค..” ผู้จัดการรายวัน. (20 ธันวาคม 2556), 7-8.

“ประวิตร วงษ์สุวรรณ: ชื่อนี้ไม่ธรรมดา.” คมชัดลึก. (9 สิงหาคม 2557), 2.

“ปูด ทส. “บิ๊กแอ้ด” พบเทือก.” เดลินิวส์. (9 ธันวาคม 2556), 11.

พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์. “ทักษิณกับคนเสื้อแดงผู้ร่วมทางประชาธิปไตย.” โลกวันนี้วันสุข. (20 กรกฎาคม 2556), 6.

ลิขิต ธีรเวคิน. (2554). วิวัฒนาการการเมืองการปกครองไทย. พิมพ์ครั้งที่ 10 แก้ไขปรับปรุง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

“สุเทพ” พร้อม 8 ส.ส.ลาออกนำม็อบ.” ไทยรัฐ. (12 พฤศจิกายน 2556), 17.

“สุเทพมอบตัวคดีสลายม็อบแลกเลิกชุมนุมแดงเสนอพร้อมให้เปิดพีทีวี.” มติชนรายวัน. (11 พฤษภาคม 2553), 15.

เสน่ห์ จามริก. (2549). การเมืองไทยกับพัฒนาการรัฐธรรมนูญ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.

“อภิสิทธิ์” ยัน “ฆ่า-เผา” ไม่ควรนิรโทษ.” ไทยรัฐ. (2 พฤศจิกายน), 11.

สื่ออิเล็กทรอนิกส์

“คณิน” ซัด “บวรศักดิ์” สมคบคิด กปปส..” เดลินิวส์ออนไลน์. (26 เมษายน 2557.). เข้าถึงจาก <http://www.dailynews.co.th/politics/233097>. เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2558.

“คำสั่งรักษาด่านศอฉ.ใช้ “พลแม่นปืน” หากผู้ก่อเหตุปะปนผู้ชุมนุม-หากยิงไม่ได้ให้ใช้ “สไนเปอร์”.” ประชาไท. (18 สิงหาคม 2555). เข้าถึงจาก <http://www.prachatai.com/journal/2012 /08/42125>. เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2558.

“บวรศักดิ์” ชี้ประชาชนหมดความนับถือรัฐบาลแล้ว.” โพสต์ทูเดย์ออนไลน์. (9 ธันวาคม 2556). เข้าถึงจาก <http://www.posttoday.com/politic/263874>. เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2558.

“ประจักษ์ ก้องกีรติ: ระบบการเมืองแบบใหม่ เมื่อชนชั้นนำไทยไม่ต้องการ ‘ม้าพยศ’.” ประชาไท. (15 มกราคม 2558). เข้าถึงจาก <http://www.prachatai.com/journal/2015/01/57419>. เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2558.

“บิ๊กป้อม ปัด เทือก เข้าหารือ-ชงเป็นนายกฯแทน ปู.” ข่าวสด. (11 ธันวาคม 2556). เข้าถึงจาก <http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNNE5qY3pOREl6TVE9PQ==&subcatid=>. เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2558.

“ยิ่งลักษณ์” ถกมั่นคงรับมือ กปปส.ชุมนุมต้านรัฐบาล.” เดลินิวส์ออนไลน์. (3 มกราคม 2557). เข้าถึงจาก <http://www.dailynews.co.th/politics/206196>. เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2558.

วีรพัฒน์ ปริยวงศ์. “นิรโทษกรรม: ‘ทักษิณ’ พลาดแล้วจริงหรือ ?.” ประชาไท. (4 พฤศจิกายน 2556). เข้าถึงจาก <http://www.prachatai.com/journal/2013/11/49567>. เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2558.

สามารถ มังสัง. “ตุลาการกับทหาร: อวสานระบอบทักษิณ.” ผู้จัดการออนไลน์. (19 พฤษภาคม 2557). เข้าถึงจาก <http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=95700000553 36>. เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2558.

“สุเทพ เทือกสุบรรณเสนอแผน 1 ปี 5 ปฏิรูป แล้วจัดเลือกตั้ง.” ประชาไท. (17 ธันวาคม 2556). เข้าถึงจาก <http://www.prachatai.com/journal/2013/12/50482>. เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2558.

เอกสารอ่านเพิ่มเติม

นิธิ เอียวศรีวงศ์. “พลวัตของชนชั้นนำไทย (1).” มติชนรายวัน. (1 ตุลาคม 2555), 6.

นิธิ เอียวศรีวงศ์. “พลวัตของชนชั้นนำไทย (2).” มติชนรายวัน. (8 ตุลาคม 2555), 6.

วิทยากร เชียงกูล. “กับดักประเทศที่มีชนชั้นนำคุณภาพปานกลาง.” กรุงเทพธุรกิจ. (23 กุมภาพันธ์ 2558), 10.

Mills, C. Wright. (1956). The Power Elite. New York: Oxford University Press.

Morgan, Matthew C. (2012). “A Temporary Alteration in the Thai Elite: The Rise and Fall of Thaksin Shinawatra.” Stanford Journal of East Asian Affairs, 12(1).

อ้างอิง

  1. “ประวิตร วงษ์สุวรรณ: ชื่อนี้ไม่ธรรมดา,” คมชัดลึก, (9 สิงหาคม 2557), 2.
  2. “บิ๊กป้อม ปัด เทือก เข้าหารือ-ชงเป็นนายกฯแทน ปู,” ข่าวสด, (11 ธันวาคม 2556). เข้าถึงจาก <http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNNE5qY3pOREl6TVE9PQ==&subcatid=>. เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2558.
  3. “บิ๊กแป๊ะผงาดปลัดกลาโหมเบียดบิ๊กอ๋อยไปทบ.คลอดแล้ว861อัตรา,” เดลินิวส์, (16 กันยายน 2556), 19.
  4. ““ยิ่งลักษณ์” ถกมั่นคงรับมือ กปปส.ชุมนุมต้านรัฐบาล,” เดลินิวส์ออนไลน์, (3 มกราคม 2557). เข้าถึงจาก <http://www.dailynews.co.th/politics/206196>. เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2558.
  5. “คำสั่งรักษาด่านศอฉ.ใช้ “พลแม่นปืน” หากผู้ก่อเหตุปะปนผู้ชุมนุม - หากยิงไม่ได้ให้ใช้ “สไนเปอร์”,” ประชาไท, (18 สิงหาคม 2555). เข้าถึงจาก <http://www.prachatai.com/journal/2012/08/42125>. เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2558.
  6. “ปูด ทส. “บิ๊กแอ้ด” พบเทือก,” เดลินิวส์, (9 ธันวาคม 2556), 11.
  7. “บวรศักดิ์”ชี้ประชาชนหมดความนับถือรัฐบาลแล้ว,” โพสต์ทูเดย์ออนไลน์, (9 ธันวาคม 2556). เข้าถึงจาก <http://www.posttoday.com/politic/263874>. เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2558.
  8. “คณิน” ซัด “บวรศักดิ์” สมคบคิด กปปส.,” เดลินิวส์ออนไลน์, (26 เมษายน 2557.). เข้าถึงจาก <http://www.dailynews.co.th/politics/233097>. เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2558.
  9. พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์, “ทักษิณกับคนเสื้อแดงผู้ร่วมทางประชาธิปไตย,” โลกวันนี้วันสุข, (20 กรกฎาคม 2556), 6.
  10. สามารถ มังสัง, “ตุลาการกับทหาร: อวสานระบอบทักษิณ,” ผู้จัดการออนไลน์, (19 พฤษภาคม 2557). เข้าถึงจาก <http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9570000055336>. เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2558.
  11. วีรพัฒน์ ปริยวงศ์, “นิรโทษกรรม: ‘ทักษิณ’ พลาดแล้วจริงหรือ ?,” ประชาไท, (4 พฤศจิกายน 2556). เข้าถึงจาก <http://www.prachatai.com/journal/2013/11/49567>. เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2558.
  12. “อภิสิทธิ์” ยัน “ฆ่า-เผา” ไม่ควรนิรโทษ,” ไทยรัฐ, (2 พฤศจิกายน), 11.
  13. “ปชป. ชี้ขาดปมเลือกตั้ง 21 ธ.ค.,” ผู้จัดการรายวัน, (20 ธันวาคม 2556), 7-8.
  14. “สุเทพมอบตัวคดีสลายม็อบแลกเลิกชุมนุมแดงเสนอพร้อมให้เปิดพีทีวี,” มติชนรายวัน, (11 พฤษภาคม 2553), 15. และ “คำสั่งรักษาด่านศอฉ.ใช้ “พลแม่นปืน” หากผู้ก่อเหตุปะปนผู้ชุมนุม - หากยิงไม่ได้ให้ใช้ “สไนเปอร์”,” ประชาไท, (18 สิงหาคม 2555). เข้าถึงจาก <http://www.prachatai.com/journal/2012/08/42125>. เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2558.
  15. “สุเทพ” พร้อม 8 ส.ส.ลาออกนำม็อบ,” ไทยรัฐ, (12 พฤศจิกายน 2556), 17.
  16. “สุเทพ เทือกสุบรรณเสนอแผน 1 ปี 5 ปฏิรูป แล้วจัดเลือกตั้ง,” ประชาไท, (17 ธันวาคม 2556). เข้าถึงจาก <http://www.prachatai.com/journal/2013/12/50482>. เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2558.
  17. ขอให้ดูการอภิปรายประเด็นนี้ใน เสน่ห์ จามริก, การเมืองไทยกับพัฒนาการรัฐธรรมนูญ, พิมพ์ครั้งที่ 3 (กรุงเทพฯ: สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2549), หน้า 146-147.
  18. ลิขิต ธีรเวคิน, วิวัฒนาการการเมืองการปกครองไทย, พิมพ์ครั้งที่ 10 แก้ไขปรับปรุง (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2554), หน้า 157.
  19. นิธิ เอียวศรีวงศ์, “อะไรอยู่ในเข่ง,” มติชนรายวัน, (28 ตุลาคม 2556), 6.
  20. “ประจักษ์ ก้องกีรติ: ระบบการเมืองแบบใหม่ เมื่อชนชั้นนำไทยไม่ต้องการ ‘ม้าพยศ’,” ประชาไท, (15 มกราคม 2558). เข้าถึงจาก <http://www.prachatai.com/journal/2015/01/57419>. เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2558.