ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รัฏฐาธิปัตย์"
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 13: | บรรทัดที่ 13: | ||
[[๑. รัฏฐาธิปัตย์]] : รัฐมีอำนาจอธิปไตย | [[๑. รัฏฐาธิปัตย์]] : รัฐมีอำนาจอธิปไตย | ||
[[๒. อำนาจอธิปไตย]] : อำนาจสูงสุดในทางการเมืองที่ไม่มีฐานะอำนาจอื่นอยู่เหนือกว่าอำนาจนี้ในการตัดสินใจทางการเมือง ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ รัฐที่จะติดต่อสัมพันธ์กับรัฐอื่นได้ต้องมีอำนาจอธิปไตย อำนาจอธิปไตยนี้มีอยู่ในรัฐ อำนาจอธิปไตยของรัฐคือกรอบที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ | [[๒. อำนาจอธิปไตย]] : อำนาจสูงสุดในทางการเมืองที่ไม่มีฐานะอำนาจอื่นอยู่เหนือกว่าอำนาจนี้ในการตัดสินใจทางการเมือง ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ รัฐที่จะติดต่อสัมพันธ์กับรัฐอื่นได้ต้องมีอำนาจอธิปไตย อำนาจอธิปไตยนี้มีอยู่ในรัฐ อำนาจอธิปไตยของรัฐคือกรอบที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ<ref>พจนานุกรมศัพท์รัฐศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, 2552 : 158</ref> | ||
บรรทัดที่ 19: | บรรทัดที่ 19: | ||
ด้านนิติศาสตร์ คำว่า รัฏฐาธิปัตย์ (Sovereignty) หมายถึง ผู้ทำให้เกิด[[กฎหมาย]] เช่น[[การรัฐประหาร]]ในหลายครั้งที่ผ่านมาของไทย นักวิชาการด้านกฎหมายอธิบายว่าคณะรัฐประหารคือรัฏฐาธิปัตย์ ย่อมมีอำนาจสูงสุด แม้แต่ศาลก็มิอาจก้าวล่วงไปพิจารณาพิพากษาเอาผิดแก่คณะรัฐประหารได้ | ด้านนิติศาสตร์ คำว่า รัฏฐาธิปัตย์ (Sovereignty) หมายถึง ผู้ทำให้เกิด[[กฎหมาย]] เช่น[[การรัฐประหาร]]ในหลายครั้งที่ผ่านมาของไทย นักวิชาการด้านกฎหมายอธิบายว่าคณะรัฐประหารคือรัฏฐาธิปัตย์ ย่อมมีอำนาจสูงสุด แม้แต่ศาลก็มิอาจก้าวล่วงไปพิจารณาพิพากษาเอาผิดแก่คณะรัฐประหารได้<ref>เอกสารทางวิชาการประกอบการประชุมเสวนา เรื่อง รัฏฐาธิปัตย์ เอื้อประโยชน์รัฐประหารหรือทำลายระบบนิติธรรม. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2555, หน้า 1-4. </ref> | ||
รุซโซ เจ้าของงานเขียน[[สัญญาประชาคม]] กล่าวถึงความหมายของรัฏฐาธิปัตย์ว่า เมื่อใดที่คนเรามารวมเป็นสังคม ประชาชนย่อมมีสองฐานะในตัวเอง ฐานะหนึ่งคือสมาชิกคนหนึ่งของรัฏฐาธิปัตย์ อีกฐานะหนึ่งคือสมาชิกคนหนึ่งของรัฐ รัฐและรัฏฐาธิปัตย์คืออะไรและแตกต่างกันอย่างไร รุซโซ กล่าวว่าทั้งสองคือสิ่งเดียวกันเพียงแต่ประชาชนทั้งมวลเมื่ออยู่ในฐานะถูกกระทำเรียกว่า “รัฐ” และเรียกว่า “รัฏฐาธิปัตย์” เมื่อเป็นฝ่ายกระทำ และเมื่อใดมีการกล่าวถึงรัฏฐาธิปัตย์นั่นย่อมหมายถึงประชาชนในสังคมโดยส่วนรวมไม่ใช่เพียงคนใดคนหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง โดยอำนาจในการออกกฎหมายนั้น รุซโซ มองว่าเป็นสิทธิโดยธรรมของรัฏฐาธิปัตย์ รัฐบาลหรือข้าราชการก็ดีย่อมเป็นได้เพียงผู้กระทำตามกฎหมายของรัฏฐาธิปัตย์เท่านั้น เพราะเมื่อใดที่ผู้กระทำ | รุซโซ เจ้าของงานเขียน[[สัญญาประชาคม]] กล่าวถึงความหมายของรัฏฐาธิปัตย์ว่า เมื่อใดที่คนเรามารวมเป็นสังคม ประชาชนย่อมมีสองฐานะในตัวเอง ฐานะหนึ่งคือสมาชิกคนหนึ่งของรัฏฐาธิปัตย์ อีกฐานะหนึ่งคือสมาชิกคนหนึ่งของรัฐ รัฐและรัฏฐาธิปัตย์คืออะไรและแตกต่างกันอย่างไร รุซโซ กล่าวว่าทั้งสองคือสิ่งเดียวกันเพียงแต่ประชาชนทั้งมวลเมื่ออยู่ในฐานะถูกกระทำเรียกว่า “รัฐ” และเรียกว่า “รัฏฐาธิปัตย์” เมื่อเป็นฝ่ายกระทำ และเมื่อใดมีการกล่าวถึงรัฏฐาธิปัตย์นั่นย่อมหมายถึงประชาชนในสังคมโดยส่วนรวมไม่ใช่เพียงคนใดคนหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง โดยอำนาจในการออกกฎหมายนั้น รุซโซ มองว่าเป็นสิทธิโดยธรรมของรัฏฐาธิปัตย์ รัฐบาลหรือข้าราชการก็ดีย่อมเป็นได้เพียงผู้กระทำตามกฎหมายของรัฏฐาธิปัตย์เท่านั้น เพราะเมื่อใดที่ผู้กระทำ | ||
ตามกฎหมายมีอำนาจออกกฎหมายเสียเองแล้ว กฎหมายและการกระทำตามกฎหมายนั้นก็จะปะปนไปจนไม่มีใครบอกได้ว่าอะไรคือกฎหมายและอะไรไม่ใช่อันจะนำไปสู่ความรุนแรงที่ขัดแย้งกับวัตถุประสงค์ของการเข้ามารวมกันเป็นสังคมในที่สุด | ตามกฎหมายมีอำนาจออกกฎหมายเสียเองแล้ว กฎหมายและการกระทำตามกฎหมายนั้นก็จะปะปนไปจนไม่มีใครบอกได้ว่าอะไรคือกฎหมายและอะไรไม่ใช่อันจะนำไปสู่ความรุนแรงที่ขัดแย้งกับวัตถุประสงค์ของการเข้ามารวมกันเป็นสังคมในที่สุด<ref>สุขุม นวลสกุล และ โกศล โรจนพันธ์. ทฤษฎีการเมืองสมัยโบราณและสมัยกลาง, ครั้งที่ 9 กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2539, หน้า 48 – 49. </ref> | ||
==คำสั่งของรัฏฐาธิปัตย์เป็นกฎหมาย== | ==คำสั่งของรัฏฐาธิปัตย์เป็นกฎหมาย== | ||
บรรทัดที่ 30: | บรรทัดที่ 30: | ||
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2372/2535 | คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2372/2535 | ||
''ที่ดินพิพาทมี[[พระบรมราชโองการ]]แสดงถึงพระราชประสงค์ ของ[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ในการพระราชทานที่ดินแก่เจ้ามรดกเพื่อใช้เป็นที่ทำฮวงซุ้ยฝังศพบุคคลในตระกูลตลอดไปไม่พึงประสงค์ให้บุคคลภายนอกละเมิดสิทธิ เมื่อเจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมยกที่พิพาทให้ผู้สืบตระกูล ต่างมีสิทธิร่วมกันในที่ดินมิให้โอนขายจำหน่ายสิทธิ ทั้งระบุให้ผู้สืบตระกูลมีหน้าที่ปฏิบัติตามพินัยกรรมนั้น หากทำตามความประสงค์ไม่ได้ ก็มีทางแก้ไขเฉพาะวิธีการทำฎีกาทูลเกล้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แม้ข้อความในพินัยกรรมดังกล่าวจะมีลักษณะคล้ายเป็นการก่อตั้งทรัสต์ แต่เมื่อได้กระทำก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ใช้บังคับเมื่อ พ.ศ. 2468 ก็นับว่าพินัยกรรมส่วนนี้สมบูรณ์ใช้ได้ไม่ขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 1686 '''พระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย่อม มีผลเป็นกฎหมาย''' เมื่อมิได้มีพระบรมราชโองการของพระองค์ท่านเองหรืออำนาจเด็ดขาดอื่นใดยกเลิกเพิกถอนโดยเฉพาะแล้ว พระบรมราชโองการนั้นย่อมมีผลอยู่ ฉะนั้น [[การที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ทรงมีพระบรมราชโองการรับรองความถูกต้องของพินัยกรรมให้ที่ดินพิพาทเป็นที่ฝังศพของบุคคลในตระกูลเจ้ามรดกเป็นการถาวร ดังความในพินัยกรรม ทั้งทรงห้ามบุคคลใดฟ้องร้องเพื่อบังคับเอาที่ดินพิพาทไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ หากมีการฟ้องร้องดังกล่าวก็ห้ามมิให้ผู้พิพากษารับฟ้องรับวินิจฉัยคดีให้ผิดไปจากพินัยกรรมนั้น ย่อมมีผลรวมถึงการห้ามมิให้ฟ้องร้องเอาที่ดินพิพาทโดยอ้างการครอบครองปรปักษ์ด้วย เพราะมิฉะนั้นแล้วอาจเป็นช่องทางให้ทายาท หรือผู้จัดการมรดกหลีกเลี่ยงข้อความในพินัยกรรมและขัดต่อพระราชประสงค์ โดยวิธีปล่อยให้ผู้รับโอนที่ดินพิพาทครอบครองปรปักษ์ และใช้ที่ดินพิพาทไปแสวงประโยชน์อย่างอื่นนอกจากใช้เป็นที่ฝังศพของตระกูล เป็นการทำให้วัตถุประสงค์ในพินัยกรรมไร้ผลเมื่อเป็นเช่นนี้ จำเลยจึงไม่อาจยกเอาอายุความครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทขึ้นต่อสู้โจทก์ซึ่ง เป็นผู้จัดการมรดกได้ .'' | ''ที่ดินพิพาทมี[[พระบรมราชโองการ]]แสดงถึงพระราชประสงค์ ของ[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ในการพระราชทานที่ดินแก่เจ้ามรดกเพื่อใช้เป็นที่ทำฮวงซุ้ยฝังศพบุคคลในตระกูลตลอดไปไม่พึงประสงค์ให้บุคคลภายนอกละเมิดสิทธิ เมื่อเจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมยกที่พิพาทให้ผู้สืบตระกูล ต่างมีสิทธิร่วมกันในที่ดินมิให้โอนขายจำหน่ายสิทธิ ทั้งระบุให้ผู้สืบตระกูลมีหน้าที่ปฏิบัติตามพินัยกรรมนั้น หากทำตามความประสงค์ไม่ได้ ก็มีทางแก้ไขเฉพาะวิธีการทำฎีกาทูลเกล้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แม้ข้อความในพินัยกรรมดังกล่าวจะมีลักษณะคล้ายเป็นการก่อตั้งทรัสต์ แต่เมื่อได้กระทำก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ใช้บังคับเมื่อ พ.ศ. 2468 ก็นับว่าพินัยกรรมส่วนนี้สมบูรณ์ใช้ได้ไม่ขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 1686 '''พระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย่อม มีผลเป็นกฎหมาย''' เมื่อมิได้มีพระบรมราชโองการของพระองค์ท่านเองหรืออำนาจเด็ดขาดอื่นใดยกเลิกเพิกถอนโดยเฉพาะแล้ว พระบรมราชโองการนั้นย่อมมีผลอยู่ ฉะนั้น [[การที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ทรงมีพระบรมราชโองการรับรองความถูกต้องของพินัยกรรมให้ที่ดินพิพาทเป็นที่ฝังศพของบุคคลในตระกูลเจ้ามรดกเป็นการถาวร ดังความในพินัยกรรม ทั้งทรงห้ามบุคคลใดฟ้องร้องเพื่อบังคับเอาที่ดินพิพาทไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ หากมีการฟ้องร้องดังกล่าวก็ห้ามมิให้ผู้พิพากษารับฟ้องรับวินิจฉัยคดีให้ผิดไปจากพินัยกรรมนั้น ย่อมมีผลรวมถึงการห้ามมิให้ฟ้องร้องเอาที่ดินพิพาทโดยอ้างการครอบครองปรปักษ์ด้วย เพราะมิฉะนั้นแล้วอาจเป็นช่องทางให้ทายาท หรือผู้จัดการมรดกหลีกเลี่ยงข้อความในพินัยกรรมและขัดต่อพระราชประสงค์ โดยวิธีปล่อยให้ผู้รับโอนที่ดินพิพาทครอบครองปรปักษ์ และใช้ที่ดินพิพาทไปแสวงประโยชน์อย่างอื่นนอกจากใช้เป็นที่ฝังศพของตระกูล เป็นการทำให้วัตถุประสงค์ในพินัยกรรมไร้ผลเมื่อเป็นเช่นนี้ จำเลยจึงไม่อาจยกเอาอายุความครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทขึ้นต่อสู้โจทก์ซึ่ง เป็นผู้จัดการมรดกได้ .''<ref>คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2372/2535</ref> | ||
คำพิพากษาฎีกาที่ 2745/2554 | คำพิพากษาฎีกาที่ 2745/2554 | ||
''การที่ ว. และ ป. จัดจำหน่ายที่ดินติดต่อกันเป็นแปลงย่อย มีจำนวนตั้งแต่ 10 แปลงขึ้นไปและมีการทำทางออกสู่ถนนสาธารณะคือทางพิพาท อันเป็นการจัดให้มีสาธารณูปโภค ซึ่งเข้าหลักเกณฑ์ของการจัดสรรที่ดิน'''ตามข้อ 1 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น'''''ตัวหนังสือที่เป็นตัวเอน'' และโดยผลของประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าวในข้อ 30 วรรคหนึ่ง ทำให้ทางพิพาทตกอยู่ในภาระจำยอม เพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรร ซึ่งรวมทั้งที่ดินของโจทก์ทั้งหก และเป็นหน้าที่ของผู้จัดสรรหรือผู้รับโอนกรรมสิทธิ์คนต่อไปที่จะบำรุงรักษากิจการดังกล่าวให้คงสภาพดังเช่นที่ได้จัดทำขึ้นโดยตลอดไป และจะกระทำการใด ๆ อันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกมิได้ ดังนี้ ผู้จัดสรรคือ ว. และ ป. หรือผู้รับโอนกรรมสิทธิ์คือจำเลยทั้งสามย่อมอยู่ในบังคับของบทกฎหมายดังกล่าว ทั้งนี้ไม่ว่าบุคคลดังกล่าวจะได้ขออนุญาตจัดสรรที่ดินหรือไม่ก็ตาม เมื่อทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมโดยผลแห่งกฎหมายเฉพาะแล้ว จึงไม่จำต้องคำนึงถึงว่าโจทก์ทั้งหกได้ใช้ทางพิพาทจนตกเป็นทางภาระจำยอมโดยอายุความหรือไม่ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์ทั้งหกจะมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) '' | ''การที่ ว. และ ป. จัดจำหน่ายที่ดินติดต่อกันเป็นแปลงย่อย มีจำนวนตั้งแต่ 10 แปลงขึ้นไปและมีการทำทางออกสู่ถนนสาธารณะคือทางพิพาท อันเป็นการจัดให้มีสาธารณูปโภค ซึ่งเข้าหลักเกณฑ์ของการจัดสรรที่ดิน'''ตามข้อ 1 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น'''''ตัวหนังสือที่เป็นตัวเอน'' และโดยผลของประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าวในข้อ 30 วรรคหนึ่ง ทำให้ทางพิพาทตกอยู่ในภาระจำยอม เพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรร ซึ่งรวมทั้งที่ดินของโจทก์ทั้งหก และเป็นหน้าที่ของผู้จัดสรรหรือผู้รับโอนกรรมสิทธิ์คนต่อไปที่จะบำรุงรักษากิจการดังกล่าวให้คงสภาพดังเช่นที่ได้จัดทำขึ้นโดยตลอดไป และจะกระทำการใด ๆ อันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกมิได้ ดังนี้ ผู้จัดสรรคือ ว. และ ป. หรือผู้รับโอนกรรมสิทธิ์คือจำเลยทั้งสามย่อมอยู่ในบังคับของบทกฎหมายดังกล่าว ทั้งนี้ไม่ว่าบุคคลดังกล่าวจะได้ขออนุญาตจัดสรรที่ดินหรือไม่ก็ตาม เมื่อทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมโดยผลแห่งกฎหมายเฉพาะแล้ว จึงไม่จำต้องคำนึงถึงว่าโจทก์ทั้งหกได้ใช้ทางพิพาทจนตกเป็นทางภาระจำยอมโดยอายุความหรือไม่ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์ทั้งหกจะมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ''<ref>คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2745/2554</ref> | ||
==คำสั่งของรัฏฐาธิปัตย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ== | ==คำสั่งของรัฏฐาธิปัตย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ== | ||
[[รัฐธรรมนูญ]]ถือเป็น[[กฎหมายสูงสุด]]ในการปกครองประเทศ โดยบัญญัติไว้เพื่อจำกัดอำนาจของผู้มีอำนาจสูงสุดในการปกครองบ้านเมืองหรือรัฏฐาธิปัตย์ ไม่ให้ใช้อำนาจออกกฎหมายไปในทางที่ละเมิด[[สิทธิเสรีภาพ]]ของประชาชน ซึ่งเนื้อหาของรัฐธรรมนูญทำนองนี้สามารถพบในกฎหมายรัฐธรรมนูญและรัฐธรรมฉบับแรกๆและฉบับสำคัญของโลกทุกฉบับ อาทิ Magna Carta 1215 , | [[รัฐธรรมนูญ]]ถือเป็น[[กฎหมายสูงสุด]]ในการปกครองประเทศ โดยบัญญัติไว้เพื่อจำกัดอำนาจของผู้มีอำนาจสูงสุดในการปกครองบ้านเมืองหรือรัฏฐาธิปัตย์ ไม่ให้ใช้อำนาจออกกฎหมายไปในทางที่ละเมิด[[สิทธิเสรีภาพ]]ของประชาชน ซึ่งเนื้อหาของรัฐธรรมนูญทำนองนี้สามารถพบในกฎหมายรัฐธรรมนูญและรัฐธรรมฉบับแรกๆและฉบับสำคัญของโลกทุกฉบับ อาทิ Magna Carta 1215<ref>วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, “มหากฎบัตร”[ออนไลน์], แหล่งที่มา : http://th.wikipedia.org/มหากฎบัตร</ref> , | ||
Bill of Right 1689 , รัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกา | Bill of Right 1689<ref>วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. “ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยสิทธิพื้นฐานของพลเมือง ค.ศ. 1689”, [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://th.wikipedia.org/ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยสิทธิพื้นฐานของพลเมือง ค.ศ. 1689</ref> , รัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกา<ref>วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, “รัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกา” [ออนไลน์] แหล่งที่มา : http://th.wikipedia.org/รัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกา.</ref> | ||
บรรทัดที่ 46: | บรรทัดที่ 46: | ||
คำสั่งศาลฎีกาที่ 1131/2536 (ประชุมใหญ่) | คำสั่งศาลฎีกาที่ 1131/2536 (ประชุมใหญ่) | ||
''คดีตามประกาศ รสช. ฉบับที่ 26 ข้อ 6 ศาลแพ่งไม่มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดด้วยตนเอง นอกจากทำความเห็นไปยังศาลฎีกาเพื่อวินิจฉัย และประกาศดังกล่าวได้บัญญัติให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม ผู้ร้องจึงมีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อ กฎหมายและศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดเช่นนั้นได้ ปัญหาที่ว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อ ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534 หรือไม่ซึ่งเกิดขึ้นในการพิจารณาคดีของศาล มิใช่ปัญหาเกิดขึ้นในวงงานของ[[สภานิติบัญญัติแห่งชาติ]]หรือคณะรัฐมนตรีขอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติวินิจฉัยตามมาตรา 30 วรรคสอง และมิใช่เป็นการกระทำหรือปฏิบัติตามที่บัญญัติในมาตรา 31 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534 ทั้งมิใช่ปัญหาว่าบทบัญญัติของกฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อ[[รัฐธรรมนูญแห่งราช อาณาจักรไทย พ.ศ. 2534]] มาตรา 5 และมาตรา 206 วรรคแรกเช่นเดียวกันอำนาจในการวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวจึงตกอยู่แก่ศาลตามหลักกฎหมายทั่วไป แม้ขณะที่ออกประกาศ รสช. ฉบับที่ 26 ไม่มีกฎหมายรัฐธรรมนูญหรือธรรมนูญการปกครองใช้บังคับแต่ระหว่างประกาศดังกล่าวมีผลใช้บังคับอยู่ได้มีประกาศใช้[[ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534 '']]'ประกาศ รสช. ฉบับที่ 26 จึงต้องอยู่ภายใต้บังคับของธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534''' เมื่อประกาศ รสช. ฉบับที่ 26 ข้อ 2 และข้อ 6 มีผลเป็นการตั้งคณะบุคคลที่มิใช่ศาลให้มีอำนาจทำการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีเช่นเดียวกับศาล ทั้งออกและใช้กฎหมายที่มีโทษทางอาญาย้อนหลังไปลงโทษบุคคลเป็นการขัดต่อประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบ[[ประชาธิปไตย]] ประกาศ รสช. ฉบับที่ 26 ข้อ 2 และข้อ 6 จึงขัดหรือแย้งต่อ[[ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534]] มาตรา 30 วรรคแรก ใช้บังคับมิได้ ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534 มาตรา 32 เป็นการรับรองโดยทั่วไปว่า ประกาศหรือคำสั่งของ [[รสช.]] มีผลให้ใช้บังคับได้เช่นกฎหมายเท่านั้นมิได้บัญญัติรับรองไปถึงว่าให้ ใช้บังคับได้ แม้เนื้อหาตามประกาศหรือคำสั่งนั้นขัดหรือแย้งต่อธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534 และเมื่อประกาศ รสช. ฉบับที่ 26 ข้อ 2 ข้อ 6 ใช้บังคับไม่ได้ตามธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรมาตรา 30 แล้ว จึงมิใช่กฎหมายที่ยังมีผลใช้บังคับอยู่จนถึงวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2534 จึงจะนำมาตรา 222 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2534 มาใช้ให้มีผลบังคับต่อไปมิได้'' | ''คดีตามประกาศ รสช. ฉบับที่ 26 ข้อ 6 ศาลแพ่งไม่มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดด้วยตนเอง นอกจากทำความเห็นไปยังศาลฎีกาเพื่อวินิจฉัย และประกาศดังกล่าวได้บัญญัติให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม ผู้ร้องจึงมีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อ กฎหมายและศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดเช่นนั้นได้ ปัญหาที่ว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อ ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534 หรือไม่ซึ่งเกิดขึ้นในการพิจารณาคดีของศาล มิใช่ปัญหาเกิดขึ้นในวงงานของ[[สภานิติบัญญัติแห่งชาติ]]หรือคณะรัฐมนตรีขอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติวินิจฉัยตามมาตรา 30 วรรคสอง และมิใช่เป็นการกระทำหรือปฏิบัติตามที่บัญญัติในมาตรา 31 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534 ทั้งมิใช่ปัญหาว่าบทบัญญัติของกฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อ[[รัฐธรรมนูญแห่งราช อาณาจักรไทย พ.ศ. 2534]] มาตรา 5 และมาตรา 206 วรรคแรกเช่นเดียวกันอำนาจในการวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวจึงตกอยู่แก่ศาลตามหลักกฎหมายทั่วไป แม้ขณะที่ออกประกาศ รสช. ฉบับที่ 26 ไม่มีกฎหมายรัฐธรรมนูญหรือธรรมนูญการปกครองใช้บังคับแต่ระหว่างประกาศดังกล่าวมีผลใช้บังคับอยู่ได้มีประกาศใช้[[ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534 '']]'ประกาศ รสช. ฉบับที่ 26 จึงต้องอยู่ภายใต้บังคับของธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534''' เมื่อประกาศ รสช. ฉบับที่ 26 ข้อ 2 และข้อ 6 มีผลเป็นการตั้งคณะบุคคลที่มิใช่ศาลให้มีอำนาจทำการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีเช่นเดียวกับศาล ทั้งออกและใช้กฎหมายที่มีโทษทางอาญาย้อนหลังไปลงโทษบุคคลเป็นการขัดต่อประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบ[[ประชาธิปไตย]] ประกาศ รสช. ฉบับที่ 26 ข้อ 2 และข้อ 6 จึงขัดหรือแย้งต่อ[[ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534]] มาตรา 30 วรรคแรก ใช้บังคับมิได้ ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534 มาตรา 32 เป็นการรับรองโดยทั่วไปว่า ประกาศหรือคำสั่งของ [[รสช.]] มีผลให้ใช้บังคับได้เช่นกฎหมายเท่านั้นมิได้บัญญัติรับรองไปถึงว่าให้ ใช้บังคับได้ แม้เนื้อหาตามประกาศหรือคำสั่งนั้นขัดหรือแย้งต่อธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534 และเมื่อประกาศ รสช. ฉบับที่ 26 ข้อ 2 ข้อ 6 ใช้บังคับไม่ได้ตามธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรมาตรา 30 แล้ว จึงมิใช่กฎหมายที่ยังมีผลใช้บังคับอยู่จนถึงวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2534 จึงจะนำมาตรา 222 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2534 มาใช้ให้มีผลบังคับต่อไปมิได้<ref>คำสั่งศาลฎีกาที่ 1131/2536 (ประชุมใหญ่) </ref>'' | ||
จากตัวอย่างคำสั่งศาลฎีกาข้างต้น ประกาศ รสช. แม้ว่าจะมีผลเป็นกฎหมาย แต่ในระหว่างประกาศดังกล่าวมีผลใช้บังคับอยู่นั้น คณะ รสช.เองก็ได้ร่างธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534 ขึ้นทูลเกล้าถวายให้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวลง[[พระปรมาภิไธย]]และนำออกประกาศใช้ ดังนั้นประกาศของคณะ รสช. เองจึงต้องตกอยู่ใต้หลักความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญด้วยเช่นกัน | จากตัวอย่างคำสั่งศาลฎีกาข้างต้น ประกาศ รสช. แม้ว่าจะมีผลเป็นกฎหมาย แต่ในระหว่างประกาศดังกล่าวมีผลใช้บังคับอยู่นั้น คณะ รสช.เองก็ได้ร่างธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534 ขึ้นทูลเกล้าถวายให้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวลง[[พระปรมาภิไธย]]และนำออกประกาศใช้ ดังนั้นประกาศของคณะ รสช. เองจึงต้องตกอยู่ใต้หลักความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญด้วยเช่นกัน | ||
บรรทัดที่ 53: | บรรทัดที่ 53: | ||
ดังนั้นจึงพอสรุปคำว่า “รัฏฐาธิปัตย์” ได้ว่า ผู้มีอำนาจสูงสุดในการปกครองแผ่นดิน จากฐานะที่เป็นใหญ่ที่สุดในแผ่นดิน อำนาจของรัฏฐาธิปัตย์นั้นต้องมีลักษณะสมบูรณ์ (absolute) มีอำนาจนั้นอยู่ในตนเอง รัฏฐาธิปัตย์จะทำการสิ่งใดไม่จำเป็นต้องขอความยินยอมหรืออาศัยอ้างอิงว่าได้รับมอบอำนาจมาจากผู้ใดอีก ความสัมบูรณ์ของอำนาจนี้ส่งผลให้รัฏฐาธิปัตย์ออกคำสั่งใดๆเพื่อบังคับใช้แก่ไพร่ฟ้าในอาณาจักรของตนในโอกาสใดและเพื่อวัตถุประสงค์ใดก็ย่อมได้เป็นธรรมดา และโดยการที่รัฏฐาธิปัตย์มีอำนาจสูงที่สุดและสมบูรณ์นี้เองหากผู้ใดฝ่าฝืนคำสั่งเช่นว่าของรัฏฐาธิปัตย์แล้วต้องได้รับการลงโทษ เพราะอำนาจในการลงโทษก็เป็นส่วนหนึ่งของอำนาจอันสูงสุดและสมบูรณ์ของรัฏฐาธิปัตย์เช่นเดียวกัน ส่งผลให้คำสั่งของรัฏฐาธิปัตย์ไม่ว่าจะใช้ชื่อใดย่อมมีผลเป็น “กฎหมาย” แต่ต้องอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ | ดังนั้นจึงพอสรุปคำว่า “รัฏฐาธิปัตย์” ได้ว่า ผู้มีอำนาจสูงสุดในการปกครองแผ่นดิน จากฐานะที่เป็นใหญ่ที่สุดในแผ่นดิน อำนาจของรัฏฐาธิปัตย์นั้นต้องมีลักษณะสมบูรณ์ (absolute) มีอำนาจนั้นอยู่ในตนเอง รัฏฐาธิปัตย์จะทำการสิ่งใดไม่จำเป็นต้องขอความยินยอมหรืออาศัยอ้างอิงว่าได้รับมอบอำนาจมาจากผู้ใดอีก ความสัมบูรณ์ของอำนาจนี้ส่งผลให้รัฏฐาธิปัตย์ออกคำสั่งใดๆเพื่อบังคับใช้แก่ไพร่ฟ้าในอาณาจักรของตนในโอกาสใดและเพื่อวัตถุประสงค์ใดก็ย่อมได้เป็นธรรมดา และโดยการที่รัฏฐาธิปัตย์มีอำนาจสูงที่สุดและสมบูรณ์นี้เองหากผู้ใดฝ่าฝืนคำสั่งเช่นว่าของรัฏฐาธิปัตย์แล้วต้องได้รับการลงโทษ เพราะอำนาจในการลงโทษก็เป็นส่วนหนึ่งของอำนาจอันสูงสุดและสมบูรณ์ของรัฏฐาธิปัตย์เช่นเดียวกัน ส่งผลให้คำสั่งของรัฏฐาธิปัตย์ไม่ว่าจะใช้ชื่อใดย่อมมีผลเป็น “กฎหมาย” แต่ต้องอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ | ||
==อ้างอิง== | |||
<references/> | |||
==บรรณานุกรม== | ==บรรณานุกรม== |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:29, 11 สิงหาคม 2558
ผู้เรียบเรียง : ซันวา สุดตา
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : นายจเร พันธุ์เปรื่อง
“รัฏฐาธิปัตย์” ปัจจุบันมีการใช้คำนี้ในสังคมการเมืองของไทยอย่างกว้างขวาง เพราะนอกจากความหมายที่กล่าวถึงตัวบุคคล หรือคณะบุคคลแล้ว ยังมีความหมายในเชิงนามธรรมด้วย ตามความหมายในระบบการเมืองการปกครองของไทย คือ ผู้มีอำนาจสูงสุดตามประเพณีการปกครองในแต่ยุคแต่ละสมัย รวมถึงยุคสมัยปัจจุบันภายใต้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข คำว่า "รัฏฐาธิปัตย์" เป็นคำที่รู้จักมากที่สุดในยุคที่การเมืองเกิดการยึดอำนาจ โดยคณะยึดอำนาจ จะสถาปนาตัวเองเป็น "รัฏฐาธิปัตย์" เพื่อแต่งตั้งผู้บริหารราชการแผ่นดิน และ "รัฏฐาธิปัตย์" ยังถูกแปลความหมายได้อีกนัยยะหนึ่ง นั่นคือ อำนาจอธิปไตย ที่เป็นอำนาจปกครองสูงสุดของรัฐ ขณะเดียวกันความหมายเชิงนามธรรม "รัฏฐาธิปัตย์" ยังหมายถึง รัฐธรรมนูญ หรือ กฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ ซึ่งผู้ใดไม่อาจจะละเมิดได้ และกฎหมายอื่นไม่อาจจะขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญได้
ความหมาย
ตามพจนานุกรมศัพท์รัฐศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถานกำหนดศัพท์บัญญัติของคำว่า sovereignty พร้อมทั้งอธิบายคำศัพท์ไว้ว่า
Sovereignty
๑. รัฏฐาธิปัตย์ : รัฐมีอำนาจอธิปไตย ๒. อำนาจอธิปไตย : อำนาจสูงสุดในทางการเมืองที่ไม่มีฐานะอำนาจอื่นอยู่เหนือกว่าอำนาจนี้ในการตัดสินใจทางการเมือง ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ รัฐที่จะติดต่อสัมพันธ์กับรัฐอื่นได้ต้องมีอำนาจอธิปไตย อำนาจอธิปไตยนี้มีอยู่ในรัฐ อำนาจอธิปไตยของรัฐคือกรอบที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ[1]
ด้านรัฐศาสตร์ คำว่า รัฏฐาธิปัตย์ (Sovereignty) หมายถึง อำนาจสูงสุดในการปกครองรัฐ ดังนั้น สิ่งอื่นใดจะมีอำนาจยิ่งกว่าหรือขัดต่ออำนาจอธิปไตยหาได้ไม่ ทั้งนี้ อำนาจอธิปไตยย่อมมีความแตกต่างกันไปในแต่ละระบอบการปกครอง ตัวอย่างเช่น ในระบอบประชาธิปไตย อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน กล่าวคือ ประชาชนคือผู้มีอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์อำนาจอธิปไตยเป็นของพระมหากษัตริย์ คือ กษัตริย์ทรงเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ เป็นต้น
ด้านนิติศาสตร์ คำว่า รัฏฐาธิปัตย์ (Sovereignty) หมายถึง ผู้ทำให้เกิดกฎหมาย เช่นการรัฐประหารในหลายครั้งที่ผ่านมาของไทย นักวิชาการด้านกฎหมายอธิบายว่าคณะรัฐประหารคือรัฏฐาธิปัตย์ ย่อมมีอำนาจสูงสุด แม้แต่ศาลก็มิอาจก้าวล่วงไปพิจารณาพิพากษาเอาผิดแก่คณะรัฐประหารได้[2]
รุซโซ เจ้าของงานเขียนสัญญาประชาคม กล่าวถึงความหมายของรัฏฐาธิปัตย์ว่า เมื่อใดที่คนเรามารวมเป็นสังคม ประชาชนย่อมมีสองฐานะในตัวเอง ฐานะหนึ่งคือสมาชิกคนหนึ่งของรัฏฐาธิปัตย์ อีกฐานะหนึ่งคือสมาชิกคนหนึ่งของรัฐ รัฐและรัฏฐาธิปัตย์คืออะไรและแตกต่างกันอย่างไร รุซโซ กล่าวว่าทั้งสองคือสิ่งเดียวกันเพียงแต่ประชาชนทั้งมวลเมื่ออยู่ในฐานะถูกกระทำเรียกว่า “รัฐ” และเรียกว่า “รัฏฐาธิปัตย์” เมื่อเป็นฝ่ายกระทำ และเมื่อใดมีการกล่าวถึงรัฏฐาธิปัตย์นั่นย่อมหมายถึงประชาชนในสังคมโดยส่วนรวมไม่ใช่เพียงคนใดคนหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง โดยอำนาจในการออกกฎหมายนั้น รุซโซ มองว่าเป็นสิทธิโดยธรรมของรัฏฐาธิปัตย์ รัฐบาลหรือข้าราชการก็ดีย่อมเป็นได้เพียงผู้กระทำตามกฎหมายของรัฏฐาธิปัตย์เท่านั้น เพราะเมื่อใดที่ผู้กระทำ ตามกฎหมายมีอำนาจออกกฎหมายเสียเองแล้ว กฎหมายและการกระทำตามกฎหมายนั้นก็จะปะปนไปจนไม่มีใครบอกได้ว่าอะไรคือกฎหมายและอะไรไม่ใช่อันจะนำไปสู่ความรุนแรงที่ขัดแย้งกับวัตถุประสงค์ของการเข้ามารวมกันเป็นสังคมในที่สุด[3]
คำสั่งของรัฏฐาธิปัตย์เป็นกฎหมาย
ประเทศไทยนอกจากประชาชนตามทฤษฎีของ รุซโซ แล้ว หากได้พิจารณาจากคุณสมบัติของรัฏฐาธิปัตย์ที่ต้องเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยแล้ว รัฏฐาธิปัตย์ย่อมหมายถึง พระมหากษัตริย์ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชและคณะปฏิวัติหรือคณะรัฐประหารหรือที่เรียกชื่ออื่นซึ่งยึดอำนาจปกครองบ้านเมืองได้เป็นผลสำเร็จ โดยลำดับแรกเป็นบุคคลพระองค์เดียวมีอำนาจสูงสุดในพระองค์เอง ลำดับถัดมาเป็นคณะบุคคลและเช่นเดียวกันคือมีอำนาจสูงสุดในตัวคณะบุคคลนั้น ดังนั้นคำสั่งของพระมหากษัตริย์ในสมัยที่มีการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชและคณะปฏิวัติหรือคณะรัฐประหารหรือที่เรียกชื่ออื่นจึงมีผลเป็นกฎหมายดังตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกา ต่อไปนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2372/2535
ที่ดินพิพาทมีพระบรมราชโองการแสดงถึงพระราชประสงค์ ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในการพระราชทานที่ดินแก่เจ้ามรดกเพื่อใช้เป็นที่ทำฮวงซุ้ยฝังศพบุคคลในตระกูลตลอดไปไม่พึงประสงค์ให้บุคคลภายนอกละเมิดสิทธิ เมื่อเจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมยกที่พิพาทให้ผู้สืบตระกูล ต่างมีสิทธิร่วมกันในที่ดินมิให้โอนขายจำหน่ายสิทธิ ทั้งระบุให้ผู้สืบตระกูลมีหน้าที่ปฏิบัติตามพินัยกรรมนั้น หากทำตามความประสงค์ไม่ได้ ก็มีทางแก้ไขเฉพาะวิธีการทำฎีกาทูลเกล้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แม้ข้อความในพินัยกรรมดังกล่าวจะมีลักษณะคล้ายเป็นการก่อตั้งทรัสต์ แต่เมื่อได้กระทำก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ใช้บังคับเมื่อ พ.ศ. 2468 ก็นับว่าพินัยกรรมส่วนนี้สมบูรณ์ใช้ได้ไม่ขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 1686 พระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย่อม มีผลเป็นกฎหมาย เมื่อมิได้มีพระบรมราชโองการของพระองค์ท่านเองหรืออำนาจเด็ดขาดอื่นใดยกเลิกเพิกถอนโดยเฉพาะแล้ว พระบรมราชโองการนั้นย่อมมีผลอยู่ ฉะนั้น การที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราชโองการรับรองความถูกต้องของพินัยกรรมให้ที่ดินพิพาทเป็นที่ฝังศพของบุคคลในตระกูลเจ้ามรดกเป็นการถาวร ดังความในพินัยกรรม ทั้งทรงห้ามบุคคลใดฟ้องร้องเพื่อบังคับเอาที่ดินพิพาทไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ หากมีการฟ้องร้องดังกล่าวก็ห้ามมิให้ผู้พิพากษารับฟ้องรับวินิจฉัยคดีให้ผิดไปจากพินัยกรรมนั้น ย่อมมีผลรวมถึงการห้ามมิให้ฟ้องร้องเอาที่ดินพิพาทโดยอ้างการครอบครองปรปักษ์ด้วย เพราะมิฉะนั้นแล้วอาจเป็นช่องทางให้ทายาท หรือผู้จัดการมรดกหลีกเลี่ยงข้อความในพินัยกรรมและขัดต่อพระราชประสงค์ โดยวิธีปล่อยให้ผู้รับโอนที่ดินพิพาทครอบครองปรปักษ์ และใช้ที่ดินพิพาทไปแสวงประโยชน์อย่างอื่นนอกจากใช้เป็นที่ฝังศพของตระกูล เป็นการทำให้วัตถุประสงค์ในพินัยกรรมไร้ผลเมื่อเป็นเช่นนี้ จำเลยจึงไม่อาจยกเอาอายุความครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทขึ้นต่อสู้โจทก์ซึ่ง เป็นผู้จัดการมรดกได้ .[4]
คำพิพากษาฎีกาที่ 2745/2554
การที่ ว. และ ป. จัดจำหน่ายที่ดินติดต่อกันเป็นแปลงย่อย มีจำนวนตั้งแต่ 10 แปลงขึ้นไปและมีการทำทางออกสู่ถนนสาธารณะคือทางพิพาท อันเป็นการจัดให้มีสาธารณูปโภค ซึ่งเข้าหลักเกณฑ์ของการจัดสรรที่ดินตามข้อ 1 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นตัวหนังสือที่เป็นตัวเอน และโดยผลของประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าวในข้อ 30 วรรคหนึ่ง ทำให้ทางพิพาทตกอยู่ในภาระจำยอม เพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรร ซึ่งรวมทั้งที่ดินของโจทก์ทั้งหก และเป็นหน้าที่ของผู้จัดสรรหรือผู้รับโอนกรรมสิทธิ์คนต่อไปที่จะบำรุงรักษากิจการดังกล่าวให้คงสภาพดังเช่นที่ได้จัดทำขึ้นโดยตลอดไป และจะกระทำการใด ๆ อันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกมิได้ ดังนี้ ผู้จัดสรรคือ ว. และ ป. หรือผู้รับโอนกรรมสิทธิ์คือจำเลยทั้งสามย่อมอยู่ในบังคับของบทกฎหมายดังกล่าว ทั้งนี้ไม่ว่าบุคคลดังกล่าวจะได้ขออนุญาตจัดสรรที่ดินหรือไม่ก็ตาม เมื่อทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมโดยผลแห่งกฎหมายเฉพาะแล้ว จึงไม่จำต้องคำนึงถึงว่าโจทก์ทั้งหกได้ใช้ทางพิพาทจนตกเป็นทางภาระจำยอมโดยอายุความหรือไม่ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์ทั้งหกจะมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) [5]
คำสั่งของรัฏฐาธิปัตย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญถือเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ โดยบัญญัติไว้เพื่อจำกัดอำนาจของผู้มีอำนาจสูงสุดในการปกครองบ้านเมืองหรือรัฏฐาธิปัตย์ ไม่ให้ใช้อำนาจออกกฎหมายไปในทางที่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน ซึ่งเนื้อหาของรัฐธรรมนูญทำนองนี้สามารถพบในกฎหมายรัฐธรรมนูญและรัฐธรรมฉบับแรกๆและฉบับสำคัญของโลกทุกฉบับ อาทิ Magna Carta 1215[6] , Bill of Right 1689[7] , รัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกา[8]
ผลจากการที่รัฐธรรมนูญมีวัตถุประสงค์เพื่อจำกัดอำนาจในการออกกฎหมายของรัฏฐาธิปัตย์ ทำให้รัฐธรรมนูญมีสภาวะ “สูงสุด” ในตัวเองโดยไม่ต้องมีบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญเขียนไว้ และกล่าวได้ว่าสภาวะ “สูงสุด” ของรัฐธรรมนูญนั้นอยู่เหนือกฎหมายทั้งปวงที่มีผลบังคับใช้ ไม่ว่ากฎหมายนั้นจะมีที่มาเดียวกันกับรัฐธรรมนูญหรือไม่ และไม่ว่ากฎหมายนั้นจะได้ออกใช้บังคับก่อนหรือหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญก็ตาม
คำสั่งศาลฎีกาที่ 1131/2536 (ประชุมใหญ่)
คดีตามประกาศ รสช. ฉบับที่ 26 ข้อ 6 ศาลแพ่งไม่มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดด้วยตนเอง นอกจากทำความเห็นไปยังศาลฎีกาเพื่อวินิจฉัย และประกาศดังกล่าวได้บัญญัติให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม ผู้ร้องจึงมีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อ กฎหมายและศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดเช่นนั้นได้ ปัญหาที่ว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อ ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534 หรือไม่ซึ่งเกิดขึ้นในการพิจารณาคดีของศาล มิใช่ปัญหาเกิดขึ้นในวงงานของสภานิติบัญญัติแห่งชาติหรือคณะรัฐมนตรีขอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติวินิจฉัยตามมาตรา 30 วรรคสอง และมิใช่เป็นการกระทำหรือปฏิบัติตามที่บัญญัติในมาตรา 31 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534 ทั้งมิใช่ปัญหาว่าบทบัญญัติของกฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราช อาณาจักรไทย พ.ศ. 2534 มาตรา 5 และมาตรา 206 วรรคแรกเช่นเดียวกันอำนาจในการวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวจึงตกอยู่แก่ศาลตามหลักกฎหมายทั่วไป แม้ขณะที่ออกประกาศ รสช. ฉบับที่ 26 ไม่มีกฎหมายรัฐธรรมนูญหรือธรรมนูญการปกครองใช้บังคับแต่ระหว่างประกาศดังกล่าวมีผลใช้บังคับอยู่ได้มีประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534 '''ประกาศ รสช. ฉบับที่ 26 จึงต้องอยู่ภายใต้บังคับของธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534 เมื่อประกาศ รสช. ฉบับที่ 26 ข้อ 2 และข้อ 6 มีผลเป็นการตั้งคณะบุคคลที่มิใช่ศาลให้มีอำนาจทำการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีเช่นเดียวกับศาล ทั้งออกและใช้กฎหมายที่มีโทษทางอาญาย้อนหลังไปลงโทษบุคคลเป็นการขัดต่อประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตย ประกาศ รสช. ฉบับที่ 26 ข้อ 2 และข้อ 6 จึงขัดหรือแย้งต่อธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534 มาตรา 30 วรรคแรก ใช้บังคับมิได้ ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534 มาตรา 32 เป็นการรับรองโดยทั่วไปว่า ประกาศหรือคำสั่งของ รสช. มีผลให้ใช้บังคับได้เช่นกฎหมายเท่านั้นมิได้บัญญัติรับรองไปถึงว่าให้ ใช้บังคับได้ แม้เนื้อหาตามประกาศหรือคำสั่งนั้นขัดหรือแย้งต่อธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534 และเมื่อประกาศ รสช. ฉบับที่ 26 ข้อ 2 ข้อ 6 ใช้บังคับไม่ได้ตามธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรมาตรา 30 แล้ว จึงมิใช่กฎหมายที่ยังมีผลใช้บังคับอยู่จนถึงวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2534 จึงจะนำมาตรา 222 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2534 มาใช้ให้มีผลบังคับต่อไปมิได้[9]
จากตัวอย่างคำสั่งศาลฎีกาข้างต้น ประกาศ รสช. แม้ว่าจะมีผลเป็นกฎหมาย แต่ในระหว่างประกาศดังกล่าวมีผลใช้บังคับอยู่นั้น คณะ รสช.เองก็ได้ร่างธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534 ขึ้นทูลเกล้าถวายให้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวลงพระปรมาภิไธยและนำออกประกาศใช้ ดังนั้นประกาศของคณะ รสช. เองจึงต้องตกอยู่ใต้หลักความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญด้วยเช่นกัน
สรุป
ดังนั้นจึงพอสรุปคำว่า “รัฏฐาธิปัตย์” ได้ว่า ผู้มีอำนาจสูงสุดในการปกครองแผ่นดิน จากฐานะที่เป็นใหญ่ที่สุดในแผ่นดิน อำนาจของรัฏฐาธิปัตย์นั้นต้องมีลักษณะสมบูรณ์ (absolute) มีอำนาจนั้นอยู่ในตนเอง รัฏฐาธิปัตย์จะทำการสิ่งใดไม่จำเป็นต้องขอความยินยอมหรืออาศัยอ้างอิงว่าได้รับมอบอำนาจมาจากผู้ใดอีก ความสัมบูรณ์ของอำนาจนี้ส่งผลให้รัฏฐาธิปัตย์ออกคำสั่งใดๆเพื่อบังคับใช้แก่ไพร่ฟ้าในอาณาจักรของตนในโอกาสใดและเพื่อวัตถุประสงค์ใดก็ย่อมได้เป็นธรรมดา และโดยการที่รัฏฐาธิปัตย์มีอำนาจสูงที่สุดและสมบูรณ์นี้เองหากผู้ใดฝ่าฝืนคำสั่งเช่นว่าของรัฏฐาธิปัตย์แล้วต้องได้รับการลงโทษ เพราะอำนาจในการลงโทษก็เป็นส่วนหนึ่งของอำนาจอันสูงสุดและสมบูรณ์ของรัฏฐาธิปัตย์เช่นเดียวกัน ส่งผลให้คำสั่งของรัฏฐาธิปัตย์ไม่ว่าจะใช้ชื่อใดย่อมมีผลเป็น “กฎหมาย” แต่ต้องอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ
อ้างอิง
- ↑ พจนานุกรมศัพท์รัฐศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, 2552 : 158
- ↑ เอกสารทางวิชาการประกอบการประชุมเสวนา เรื่อง รัฏฐาธิปัตย์ เอื้อประโยชน์รัฐประหารหรือทำลายระบบนิติธรรม. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2555, หน้า 1-4.
- ↑ สุขุม นวลสกุล และ โกศล โรจนพันธ์. ทฤษฎีการเมืองสมัยโบราณและสมัยกลาง, ครั้งที่ 9 กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2539, หน้า 48 – 49.
- ↑ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2372/2535
- ↑ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2745/2554
- ↑ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, “มหากฎบัตร”[ออนไลน์], แหล่งที่มา : http://th.wikipedia.org/มหากฎบัตร
- ↑ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. “ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยสิทธิพื้นฐานของพลเมือง ค.ศ. 1689”, [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://th.wikipedia.org/ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยสิทธิพื้นฐานของพลเมือง ค.ศ. 1689
- ↑ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, “รัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกา” [ออนไลน์] แหล่งที่มา : http://th.wikipedia.org/รัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกา.
- ↑ คำสั่งศาลฎีกาที่ 1131/2536 (ประชุมใหญ่)
บรรณานุกรม
พจนานุกรมศัพท์รัฐศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน.ราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ : 2552. เอกสารทางวิชาการประกอบการประชุมเสวนาเรื่อง รัฏฐาธิปัตย์ เอื้อประโยชน์รัฐประหารหรือทำลาย
ระบบนิติธรรม. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2555. สุขุม นวลสกุล และ โกศล โรจนพันธ์. ทฤษฎีการเมืองสมัยโบราณและสมัยกลาง, ครั้งที่ 9 กรุงเทพฯ :
สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2539. นันทนา กปิลกาญจน์: ประวัติศาสตร์และอารยธรรมโลก ฉบับปรับปรุง. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร:
สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, 2542 ราชบัณฑิตยสถาน, สารานุกรมประเทศในทวีปยุโรป ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2550. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2372/2535 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2745/2554 คำสั่งศาลฎีกาที่ 1131/2536 (ประชุมใหญ่) วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, “มหากฎบัตร”[ออนไลน์], แหล่งที่มา : http://th.wikipedia.org/มหากฎบัตร วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. “ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยสิทธิพื้นฐานของพลเมือง ค.ศ. 1689”, [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://th.wikipedia.org/ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยสิทธิพื้นฐานของพลเมือง ค.ศ. 1689 วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, “รัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกา” [ออนไลน์] แหล่งที่มา : http://th.wikipedia.org/รัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกา.
เอกสารอ่านเพิ่มเติม
จุฑารัตน์ โสดาศรี.รัฐ/ประชาธิปไตย/อธิปัตย์/รัฏฐาธิปัตย์. บทความทางวิชาการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวการปกครองในระบอบประชาธิปไตย, กรมประชาสัมพันธ์ สำนักนายกรัฐมนตรี, กรุงเทพฯ : 2555.