ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระราชบัญญัติลักษณะการปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Suksan (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Suksan (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 4: บรรทัดที่ 4:
----
----


การปกครองท้องที่เริ่มต้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยทรงมีพระราชดำริให้มีการจัดระเบียบการปกครองระดับ “หมู่บ้าน” ที่มีมาแต่เดิมขึ้นใหม่ เพราะทรงเล็งเห็นว่าการปกครองในระดับนี้จำเป็นและสำคัญยิ่งในการบริหารราชการแผ่นดิน เนื่องจากเป็น หน่วยการปกครองที่ใกล้ชิดกับราษฎรมากที่สุด โดยได้ทรงให้มีการทดลองจัดระเบียบการปกครองตำบล หมู่บ้าน ขึ้นที่อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อ ร.ศ. 111 (พ.ศ. 2435) โดยให้ราษฎรเลือก ผู้ใหญ่บ้านแทนการแต่งตั้งโดยเจ้าเมือง ต่อมาจึงได้มีการจัดระเบียบการปกครองตำบล หมู่บ้าน ตามหัวเมืองต่างๆ โดยตราเป็นพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ ร.ศ. 116 (พ.ศ.2440) ซึ่งถือเป็นกฎหมายลักษณะปกครองท้องที่ฉบับแรกของประเทศไทย จนถึงสมัยรัชกาลที่ 6 ได้มีการตราพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 ขึ้นใช้บังคับแทน  
[[การปกครองท้องที่]]เริ่มต้นในรัชสมัยของ[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ด้วยทรงมีพระราชดำริให้มีการจัดระเบียบการปกครองระดับ “หมู่บ้าน” ที่มีมาแต่เดิมขึ้นใหม่ เพราะทรงเล็งเห็นว่าการปกครองในระดับนี้จำเป็นและสำคัญยิ่งใน[[การบริหารราชการแผ่นดิน]] เนื่องจากเป็น หน่วยการปกครองที่ใกล้ชิดกับราษฎรมากที่สุด โดยได้ทรงให้มีการทดลองจัดระเบียบการปกครองตำบล หมู่บ้าน ขึ้นที่อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อ ร.ศ. 111 (พ.ศ. 2435) โดยให้ราษฎรเลือก ผู้ใหญ่บ้านแทนการแต่งตั้งโดย[[เจ้าเมือง]] ต่อมาจึงได้มีการจัดระเบียบการปกครองตำบล หมู่บ้าน ตามหัวเมืองต่างๆ โดยตราเป็น[[พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ ร.ศ. 116]] (พ.ศ.2440) ซึ่งถือเป็น[[กฎหมายลักษณะปกครองท้องที่]]ฉบับแรกของประเทศไทย จนถึงสมัย[[รัชกาลที่ 6]] ได้มีการตราพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 ขึ้นใช้บังคับแทน  


==ความสำคัญของลักษณะการปกครองท้องที่==
==ความสำคัญของลักษณะการปกครองท้องที่==
 
 
การปกครองท้องที่คือการปกครองในตำบลและหมู่บ้าน เป็นการปกครองที่มีความใกล้ชิดกับราษฎรในการปฏิบัติงานตามกฎหมายและแนวนโยบายของรัฐ เป็นผู้ช่วยเหลือนายอำเภอซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของราชการบริหารส่วนภูมิภาค  โดยเฉพาะในการเป็นผู้ประสานงานระหว่างราชการส่วนภูมิภาคกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การรักษาความสงบเรียบร้อย การป้องกันและแก้ไขปัญหากรณีต่าง ๆ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เป็นคนกลางในการไกล่เกลี่ย ประนีประนอมและจัดการระงับปัญหาความขัดแย้งในท้องที่ และยังมีฐานะเป็นตัวแทนของรัฐ ตัวแทนของราษฎรเกี่ยวกับเรื่องร้องทุกข์ ความเดือดร้อนของราษฎรเพื่อนำเสนอต่อส่วนราชการ
การปกครองท้องที่คือการปกครองในตำบลและหมู่บ้าน เป็นการปกครองที่มีความใกล้ชิดกับราษฎรในการปฏิบัติงานตามกฎหมายและ[[แนวนโยบายของรัฐ]] เป็นผู้ช่วยเหลือนายอำเภอซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของราชการบริหารส่วนภูมิภาค  โดยเฉพาะในการเป็นผู้ประสานงานระหว่าง[[ราชการส่วนภูมิภาค]]กับ[[องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น]] การรักษาความสงบเรียบร้อย การป้องกันและแก้ไขปัญหากรณีต่าง ๆ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เป็นคนกลางใน[[การไกล่เกลี่ย]] ประนีประนอมและจัดการระงับ[[ปัญหาความขัดแย้ง]]ในท้องที่ และยังมีฐานะเป็นตัวแทนของรัฐ ตัวแทนของราษฎรเกี่ยวกับเรื่องร้องทุกข์ ความเดือดร้อนของราษฎรเพื่อนำเสนอต่อส่วนราชการ
 
 
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระราชดำรัสกับหลวงเทศาจิตวิจารณ์ (เส็ง วิรยศิริ) ที่ต่อมาได้เป็นปลัดทูลฉลองกระทรวงมหาดไทย ว่า “เรามีหลักมาแต่โบราณแล้วว่า มีเจ้าบ้าน ผู้ใหญ่บ้าน กํานันแขวงตามบ้านนอกหรือหัวเมือง เวลานี้มีเป็นบ้านๆ กํานันแขวงอยู่บ้างแล้วการที่เราจะจัดใหม่ต่อไปนั้น เห็นว่าควรจะอนุโลมจัดท้องที่คล้ายคลึงกับที่เราจัดมีอยู่บ้างแล้วบางเมือง คือ กำหนดหลายๆ เจ้าบ้าน ที่อยู่ใกล้ชิดติดต่อกันเป็นกลุ่มๆหนึ่งเข้าเป็นหมู่บ้านในกลุ่มนี้เรียกว่า “หมู่บ้าน” แล้ว ให้มีผู้ใหญ่บ้านปกครองคนหนึ่ง หลายๆ หมู่บ้านที่อยู่ในระยะใกล้เคียงกันมากน้อยพอสมควร ตั้งขึ้นเป็น“ตําบล” ให้มีกํานันเป็นหัวหน้าตําบล หลายๆตําบล รวมเป็นแขวงหรืออำเภอหนึ่ง การรวบรวมบ้านขึ้นเป็นหมู่ เป็นตําบล เป็นอำเภอเช่นนี้คงมีเล็กบ้างใหญ่บ้างต้องถือเอาภูมิประเทศท้องที่ เป็นหลัก”  
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระราชดำรัสกับ[[หลวงเทศาจิตวิจารณ์]] (เส็ง วิรยศิริ) ที่ต่อมาได้เป็น[[ปลัดทูลฉลอง]][[กระทรวงมหาดไทย]] ว่า “เรามีหลักมาแต่โบราณแล้วว่า มีเจ้าบ้าน ผู้ใหญ่บ้าน กํานันแขวงตามบ้านนอกหรือหัวเมือง เวลานี้มีเป็นบ้านๆ กํานันแขวงอยู่บ้างแล้วการที่เราจะจัดใหม่ต่อไปนั้น เห็นว่าควรจะอนุโลมจัดท้องที่คล้ายคลึงกับที่เราจัดมีอยู่บ้างแล้วบางเมือง คือ กำหนดหลายๆ เจ้าบ้าน ที่อยู่ใกล้ชิดติดต่อกันเป็นกลุ่มๆหนึ่งเข้าเป็นหมู่บ้านในกลุ่มนี้เรียกว่า “หมู่บ้าน” แล้ว ให้มีผู้ใหญ่บ้านปกครองคนหนึ่ง หลายๆ หมู่บ้านที่อยู่ในระยะใกล้เคียงกันมากน้อยพอสมควร ตั้งขึ้นเป็น“ตําบล” ให้มีกํานันเป็นหัวหน้าตําบล หลายๆตําบล รวมเป็นแขวงหรืออำเภอหนึ่ง การรวบรวมบ้านขึ้นเป็นหมู่ เป็นตําบล เป็นอำเภอเช่นนี้คงมีเล็กบ้างใหญ่บ้างต้องถือเอาภูมิประเทศท้องที่ เป็นหลัก”  


การจัดการปกครองท้องที่ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 ประกอบไปด้วย
การจัดการปกครองท้องที่ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 ประกอบไปด้วย
บรรทัดที่ 32: บรรทัดที่ 32:
(2) ในกรณีที่ผู้คนตั้งบ้านเรือนอยู่ห่างไกลกัน ถึงจำนวนประชากรจะน้อย แต่ถ้ามีจำนวนบ้านไม่ต่ำกว่า 5 บ้านแล้วให้จัดเป็นหมู่บ้าน
(2) ในกรณีที่ผู้คนตั้งบ้านเรือนอยู่ห่างไกลกัน ถึงจำนวนประชากรจะน้อย แต่ถ้ามีจำนวนบ้านไม่ต่ำกว่า 5 บ้านแล้วให้จัดเป็นหมู่บ้าน


ต่อมาได้มีมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2539ได้วางหลักเกณฑ์การจัดตั้งหมู่บ้านไว้ดังนี้   
ต่อมาได้มี[[มติคณะรัฐมนตรี]] เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2539ได้วางหลักเกณฑ์การจัดตั้งหมู่บ้านไว้ดังนี้   
1) กรณีเป็นชุมชนหนาแน่น
1) กรณีเป็นชุมชนหนาแน่น
บรรทัดที่ 64: บรรทัดที่ 64:
2. ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน  
2. ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน  


3. คณะกรรมการหมู่บ้าน
3. [[คณะกรรมการหมู่บ้าน]]


'''ผู้ใหญ่บ้าน''' ในหมู่บ้านหนึ่งมีผู้ใหญ่บ้าน 1 คน ทำหน้าที่ปกครองราษฎรในเขตหมู่บ้าน โดยมีที่มาจากการเลือกของราษฎรในหมู่บ้านนั้น  
'''ผู้ใหญ่บ้าน''' ในหมู่บ้านหนึ่งมีผู้ใหญ่บ้าน 1 คน ทำหน้าที่ปกครองราษฎรในเขตหมู่บ้าน โดยมีที่มาจากการเลือกของราษฎรในหมู่บ้านนั้น  
บรรทัดที่ 74: บรรทัดที่ 74:
1) อำนวยความเป็นธรรมและดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยให้แก่ราษฎรในหมู่บ้าน
1) อำนวยความเป็นธรรมและดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยให้แก่ราษฎรในหมู่บ้าน


2) สร้างความสมานฉันท์และความสามัคคีให้เกิดขึ้นในหมู่บ้าน รวมทั้งส่งเสริมวัฒนธรรมและประเพณีในท้องที่
2) สร้าง[[ความสมานฉันท์]]และความสามัคคีให้เกิดขึ้นในหมู่บ้าน รวมทั้งส่งเสริมวัฒนธรรมและประเพณีในท้องที่


3) ประสานหรืออำนวยความสะดวกแก่ราษฎรในหมู่บ้านในการติดต่อหรือรับบริการกับส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
3) ประสานหรืออำนวยความสะดวกแก่ราษฎรในหมู่บ้านในการติดต่อหรือรับบริการกับ[[ส่วนราชการ]] [[หน่วยงานของรัฐ]] หรือ[[องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น]]


4) รับฟังปัญหาและนำความเดือดร้อน ทุกข์สุขและความต้องการที่จำเป็นของ ราษฎรในหมู่บ้าน แจ้งต่อส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การแก้ไขหรือช่วยเหลือ
4) รับฟังปัญหาและนำความเดือดร้อน ทุกข์สุขและความต้องการที่จำเป็นของ ราษฎรในหมู่บ้าน แจ้งต่อส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การแก้ไขหรือช่วยเหลือ
บรรทัดที่ 122: บรรทัดที่ 122:
(3) ตรวจตรารักษาความสงบเรียบร้อยภายในหมู่บ้านร่วมกับผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบ  
(3) ตรวจตรารักษาความสงบเรียบร้อยภายในหมู่บ้านร่วมกับผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบ  
2) ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบ ตำแหน่งนี้ได้มีครั้งแรกตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ (แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2510 เพราะผู้ใหญ่บ้านยังไม่มีเจ้าหน้าที่ทำหน้าที่ช่วยเหลือในด้านการรักษาความสงบเรียบร้อยและปราบปรามโจรผู้ร้ายโดยตรง จึงทำให้การปฏิบัติหน้าที่ไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร จึงได้กำหนดให้มีตำแหน่งผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบขึ้น  เพื่อทำหน้าที่เกี่ยวกับการรักษาความสงบเรียบร้อยและปราบปรามโจรผู้ร้าย หมู่บ้านใดจะมีได้ต้องให้ ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็น ผู้อนุมัติตามจำนวนที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบ มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
2) ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบ ตำแหน่งนี้ได้มีครั้งแรกตาม[[พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ (แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2510]] เพราะผู้ใหญ่บ้านยังไม่มีเจ้าหน้าที่ทำหน้าที่ช่วยเหลือในด้านการรักษาความสงบเรียบร้อยและปราบปรามโจรผู้ร้ายโดยตรง จึงทำให้การปฏิบัติหน้าที่ไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร จึงได้กำหนดให้มีตำแหน่งผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบขึ้น  เพื่อทำหน้าที่เกี่ยวกับการรักษาความสงบเรียบร้อยและปราบปรามโจรผู้ร้าย หมู่บ้านใดจะมีได้ต้องให้ [[ผู้ว่าราชการจังหวัด]] เป็น ผู้อนุมัติตามจำนวนที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบ มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(1) ตรวจตรารักษาความสงบเรียบร้อยภายในหมู่บ้าน
(1) ตรวจตรารักษาความสงบเรียบร้อยภายในหมู่บ้าน
บรรทัดที่ 140: บรรทัดที่ 140:
'''คณะกรรมการหมู่บ้าน'''  
'''คณะกรรมการหมู่บ้าน'''  
 
 
คณะกรรมการหมู่บ้าน มีหน้าที่ให้คำแนะนำและให้คำปรึกษาต่อผู้ใหญ่บ้านเกี่ยวกับกิจการที่จะปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้าน เป็นองค์กรหลักที่รับผิดชอบในการบูรณาการจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้าน และบริหารจัดการกิจกรรมที่ดำเนินงานในหมู่บ้านร่วมกับองค์กรอื่น
คณะกรรมการหมู่บ้าน มีหน้าที่ให้คำแนะนำและให้คำปรึกษาต่อผู้ใหญ่บ้านเกี่ยวกับกิจการที่จะปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้าน เป็นองค์กรหลักที่รับผิดชอบในการบูรณาการจัดทำ[[แผนพัฒนาหมู่บ้าน]] และบริหารจัดการกิจกรรมที่ดำเนินงานในหมู่บ้านร่วมกับองค์กรอื่น
   
   
องค์ประกอบคณะกรรมการหมู่บ้านประกอบด้วยผู้ใหญ่บ้านเป็นประธาน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีภูมิลำเนาในหมู่บ้าน ผู้นำหรือผู้แทนกลุ่มหรือองค์กรในหมู่บ้านเป็นกรรมการหมู่บ้านโดยตำแหน่ง และกรรมการหมู่บ้านผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งนายอำเภอแต่งตั้งจากผู้ซึ่งราษฎรในหมู่บ้านเลือกเป็นกรรมการหมู่บ้านผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนไม่น้อยกว่าสองคนแต่ไม่เกินสิบคน  
องค์ประกอบคณะกรรมการหมู่บ้านประกอบด้วยผู้ใหญ่บ้านเป็นประธาน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน [[สมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น]]ที่มีภูมิลำเนาในหมู่บ้าน ผู้นำหรือผู้แทนกลุ่มหรือองค์กรในหมู่บ้านเป็นกรรมการหมู่บ้านโดยตำแหน่ง และกรรมการหมู่บ้านผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งนายอำเภอแต่งตั้งจากผู้ซึ่งราษฎรในหมู่บ้านเลือกเป็นกรรมการหมู่บ้านผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนไม่น้อยกว่าสองคนแต่ไม่เกินสิบคน  


==ตำบล==
==ตำบล==
บรรทัดที่ 148: บรรทัดที่ 148:
ตำบล เป็นหน่วยการปกครองท้องที่ ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 ซึ่ง กำหนดให้ตำบล ประกอบด้วยหลาย ๆ หมู่บ้านรวมกัน โดยมาตรา 29 ได้กำหนดให้หลายหมู่บ้านรวมกันราว 20 หมู่บ้าน ให้จัดเป็นตำบลหนึ่ง
ตำบล เป็นหน่วยการปกครองท้องที่ ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 ซึ่ง กำหนดให้ตำบล ประกอบด้วยหลาย ๆ หมู่บ้านรวมกัน โดยมาตรา 29 ได้กำหนดให้หลายหมู่บ้านรวมกันราว 20 หมู่บ้าน ให้จัดเป็นตำบลหนึ่ง


กระทรวงมหาดไทยได้วางหลักเกณฑ์การจัดตั้งตำบลไว้ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2539 ดังนี้  
กระทรวงมหาดไทยได้วางหลักเกณฑ์การจัดตั้งตำบลไว้ ตามมติ[[คณะรัฐมนตรี]] เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2539 ดังนี้  
   
   
1. กรณีเป็นชุมชนหนาแน่น
1. กรณีเป็นชุมชนหนาแน่น
บรรทัดที่ 156: บรรทัดที่ 156:
2) มีหมู่บ้านไม่น้อยกว่า 8 หมู่บ้าน
2) มีหมู่บ้านไม่น้อยกว่า 8 หมู่บ้าน


3) ได้รับความเห็นชอบจากสภาตำบล หรือสภาองค์การบริหารส่วนตำบล และที่ประชุมหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอ
3) ได้รับความเห็นชอบจาก[[สภาตำบล]] หรือสภาองค์การบริหารส่วนตำบล และที่ประชุมหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอ


2. กรณีเป็นชุมชนห่างไกล
2. กรณีเป็นชุมชนห่างไกล
บรรทัดที่ 166: บรรทัดที่ 166:
3) ชุมชนใหม่ห่างจากชุมชนเดิมไม่น้อยกว่า 6 กิโลเมตร
3) ชุมชนใหม่ห่างจากชุมชนเดิมไม่น้อยกว่า 6 กิโลเมตร


4) ได้รับความเห็นชอบจากสภาตำบล หรือสภาองค์การบริหารส่วนตำบลและที่ประชุมหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอการจัดระเบียบปกครองตำบล
4) ได้รับความเห็นชอบจากสภาตำบล หรือสภา[[องค์การบริหารส่วนตำบล]]และที่ประชุมหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอการจัดระเบียบปกครองตำบล


'''การบริหารราชการตำบล''' ตามกฎหมายลักษณะการปกครองท้องที่การบริหารงานของตำบล มีองค์ประกอบที่สำคัญดังนี้
'''การบริหารราชการตำบล''' ตามกฎหมายลักษณะการปกครองท้องที่การบริหารงานของตำบล มีองค์ประกอบที่สำคัญดังนี้
บรรทัดที่ 176: บรรทัดที่ 176:
3. สารวัตรกำนัน
3. สารวัตรกำนัน


'''กำนัน''' ในตำบลหนึ่งมีกำนันหนึ่งคนทำหน้าที่ปกครองราษฎรในตำบลนั้น โดยมาจากการการเลือกตั้งกันเองของผู้ใหญ่บ้านในตำบลนั้นขึ้นเป็นกำนัน ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการเลือกกำนัน พ.ศ. 2551  
'''กำนัน''' ในตำบลหนึ่งมีกำนันหนึ่งคนทำหน้าที่ปกครองราษฎรในตำบลนั้น โดยมาจากการ[[การเลือกตั้ง]]กันเองของผู้ใหญ่บ้านในตำบลนั้นขึ้นเป็นกำนัน ตาม[[ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการเลือกกำนัน พ.ศ. 2551]]


การประชุมคัดเลือกกำนัน ให้นายอำเภอเป็นประธานในที่ประชุม ปลัดอำเภอเป็นเลขานุการ การประชุมคัดเลือกกำนันต้องเป็นไปโดยเปิดเผยและต้องมีผู้ใหญ่บ้านมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนผู้ใหญ่บ้านทั้งหมดที่มีอยู่ในตำบลนั้น ผู้ใหญ่บ้านในตำบลมีสิทธิเสนอชื่อผู้ใหญ่บ้านในตำบลหรือเสนอชื่อตนเองเป็นกำนันได้หนึ่งคน ผู้ใหญ่บ้านที่ได้รับการเสนอชื่อต้องอยู่ในที่ประชุมและต้องยินยอมให้เสนอชื่อตนได้  
การประชุมคัดเลือกกำนัน ให้นายอำเภอเป็นประธานในที่ประชุม ปลัดอำเภอเป็นเลขานุการ การประชุมคัดเลือกกำนันต้องเป็นไปโดยเปิดเผยและต้องมีผู้ใหญ่บ้านมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนผู้ใหญ่บ้านทั้งหมดที่มีอยู่ในตำบลนั้น ผู้ใหญ่บ้านในตำบลมีสิทธิเสนอชื่อผู้ใหญ่บ้านในตำบลหรือเสนอชื่อตนเองเป็นกำนันได้หนึ่งคน ผู้ใหญ่บ้านที่ได้รับการเสนอชื่อต้องอยู่ในที่ประชุมและต้องยินยอมให้เสนอชื่อตนได้  


ถ้ามีการเสนอชื่อผู้สมควรได้รับการคัดเลือกเป็นกำนันเพียงคนเดียว ให้นายอำเภอคัดเลือกผู้นั้นเป็นกำนันมีการเสนอชื่อผู้สมควรได้รับการคัดเลือกเป็นกำนันมากกว่าหนึ่งคนให้นายอำเภอจัดให้มีการออกเสียงลงคะแนนโดยวิธีลับ
ถ้ามีการเสนอชื่อผู้สมควรได้รับการคัดเลือกเป็นกำนันเพียงคนเดียว ให้นายอำเภอคัดเลือกผู้นั้นเป็นกำนันมีการเสนอชื่อผู้สมควรได้รับการคัดเลือกเป็นกำนันมากกว่าหนึ่งคนให้นายอำเภอจัดให้มี[[การออกเสียงลงคะแนนโดยวิธีลับ]]


'''อำนาจหน้าที่กำนัน'''
'''อำนาจหน้าที่กำนัน'''
บรรทัดที่ 220: บรรทัดที่ 220:
7. อำนาจหน้าที่เกี่ยวกับภาษีอากร ในการช่วยเหลือการจัดเก็บภาษีอากร การสำรวจและประเมินราคาเพื่อเสียภาษีอากร โดยจัดทำบัญชีสิ่งของที่ต้องเสียภาษีอากรยื่นต่อนายอำเภอ เพื่อนำไปเสียภาษี ตามกฎหมายภาษีอากร
7. อำนาจหน้าที่เกี่ยวกับภาษีอากร ในการช่วยเหลือการจัดเก็บภาษีอากร การสำรวจและประเมินราคาเพื่อเสียภาษีอากร โดยจัดทำบัญชีสิ่งของที่ต้องเสียภาษีอากรยื่นต่อนายอำเภอ เพื่อนำไปเสียภาษี ตามกฎหมายภาษีอากร


8. อำนาจหน้าที่เรียกประชุมและให้ช่วยงานตามหน้าที่ ไม่ว่าการประชุมประชาชน คณะกรรมการสภาตำบล และผู้ใหญ่บ้าน เพื่อหารือร่วมกัน และเรียกบุคคลมาให้ช่วยเหลืองาน  
8. อำนาจหน้าที่เรียกประชุมและให้ช่วยงานตามหน้าที่ ไม่ว่าการประชุมประชาชน [[คณะกรรมการสภาตำบล]] และผู้ใหญ่บ้าน เพื่อหารือร่วมกัน และเรียกบุคคลมาให้ช่วยเหลืองาน  


9. หน้าที่ทั่ว ๆ ไป เป็นอำนาจหน้าที่ที่ปรากฏในกฎหมายอื่นๆ ที่ กระทรวงทบวงกรมอื่นให้ช่วยเหลือและเป็นที่น่าสังเกตว่า กระทรวงทบวงกรมอื่นส่วนใหญ่มัก กำหนดให้กำนันมีแต่หน้าที่ ส่วนอำนาจนั้นมักไม่มอบให้ จึงทำให้การปฏิบัติงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายไม่ได้ผลเท่าที่ควร ไม่เหมือนกับการงานในหน้าที่ ของฝ่ายปกครอง
9. หน้าที่ทั่ว ๆ ไป เป็นอำนาจหน้าที่ที่ปรากฏในกฎหมายอื่นๆ ที่ กระทรวงทบวงกรมอื่นให้ช่วยเหลือและเป็นที่น่าสังเกตว่า กระทรวงทบวงกรมอื่นส่วนใหญ่มัก กำหนดให้กำนันมีแต่หน้าที่ ส่วนอำนาจนั้นมักไม่มอบให้ จึงทำให้การปฏิบัติงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายไม่ได้ผลเท่าที่ควร ไม่เหมือนกับการงานในหน้าที่ ของฝ่ายปกครอง
บรรทัดที่ 236: บรรทัดที่ 236:
'''คณะกรรมการตำบล'''  
'''คณะกรรมการตำบล'''  


ในแต่ละตำบลให้มีคณะกรรมการตำบลคณะหนึ่ง มีหน้าที่เสนอข้อแนะนำและให้คำปรึกษาต่อกำนัน เกี่ยวกับกิจการที่จะปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ของกำนัน
ในแต่ละตำบลให้มี[[คณะกรรมการตำบล]]คณะหนึ่ง มีหน้าที่เสนอข้อแนะนำและให้คำปรึกษาต่อกำนัน เกี่ยวกับกิจการที่จะปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ของกำนัน
   
   
คณะกรรมการตำบลประกอบด้วยกำนัน ผู้ใหญ่บ้านทุกหมู่บ้านในตำบล แพทย์ประจำตำบล เป็นกรรมการตำบลโดยตำแหน่ง และครูประชาบาลในตำบลหนึ่งคน กรรมการหมู่บ้านผู้ทรงคุณวุฒิหมู่บ้านละหนึ่งคน เป็นกรรมการตำบลผู้ทรงคุณวุฒิ โดยนายอำเภอเป็นผู้คัดเลือกแล้วรายงานไปยังผู้ว่าราชการจังหวัด กรรมการตำบลผู้ทรงคุณวุฒิอยู่ในตำแหน่งคราวละห้าปี
คณะกรรมการตำบลประกอบด้วยกำนัน ผู้ใหญ่บ้านทุกหมู่บ้านในตำบล แพทย์ประจำตำบล เป็นกรรมการตำบลโดยตำแหน่ง และครูประชาบาลในตำบลหนึ่งคน กรรมการหมู่บ้านผู้ทรงคุณวุฒิหมู่บ้านละหนึ่งคน เป็นกรรมการตำบลผู้ทรงคุณวุฒิ โดยนายอำเภอเป็นผู้คัดเลือกแล้วรายงานไปยังผู้ว่าราชการจังหวัด กรรมการตำบลผู้ทรงคุณวุฒิอยู่ในตำแหน่งคราวละห้าปี
บรรทัดที่ 294: บรรทัดที่ 294:
3. หัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอ
3. หัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอ


'''นายอำเภอ''' เป็นหัวหน้าปกครองบังคับบัญชาข้าราชการในอำเภอ และ รับผิดชอบในการบริหารราชการของอำเภอ นอกจากนั้นยังมีอำนาจปกครองบังคับบัญชาและควบคุมการปฏิบัติงานของกำนัน ผู้ใหญ่บ้านในเขตท้องที่อำเภอของตนอีกด้วย  นายอำเภอเป็นข้าราชการสังกัดกระทรวงมหาดไทย (กรมการปกครอง) มีอำนาจและตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 65 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534  
'''นายอำเภอ''' เป็นหัวหน้าปกครองบังคับบัญชาข้าราชการในอำเภอ และ รับผิดชอบในการบริหารราชการของอำเภอ นอกจากนั้นยังมีอำนาจปกครองบังคับบัญชาและควบคุมการปฏิบัติงานของกำนัน ผู้ใหญ่บ้านในเขตท้องที่อำเภอของตนอีกด้วย  นายอำเภอเป็นข้าราชการสังกัดกระทรวงมหาดไทย (กรมการปกครอง) มีอำนาจและตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 65 แห่ง[[พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534]]


นอกจากนี้ตามมาตรา 62 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ยังกำหนดให้นายอำเภอมีอำนาจหน้าที่ที่เกี่ยวกับราชการของกรมการอำเภอหรือนายอำเภอตาม พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457  
นอกจากนี้ตามมาตรา 62 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ยังกำหนดให้นายอำเภอมีอำนาจหน้าที่ที่เกี่ยวกับราชการของกรมการอำเภอหรือนายอำเภอตาม พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457  
บรรทัดที่ 302: บรรทัดที่ 302:
อำเภอหนึ่งๆจะมีปลัดอำเภอ จำนวนมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับปริมาณงานและความรับผิดชอบ รวมทั้งความสมควรแก่ราชการเป็นสำคัญ นอกจากนี้ปลัดอำเภอยังรับผิดชอบในการปฏิบัติงานของกรมการปกครองที่ทำการปกครองอำเภอด้วย
อำเภอหนึ่งๆจะมีปลัดอำเภอ จำนวนมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับปริมาณงานและความรับผิดชอบ รวมทั้งความสมควรแก่ราชการเป็นสำคัญ นอกจากนี้ปลัดอำเภอยังรับผิดชอบในการปฏิบัติงานของกรมการปกครองที่ทำการปกครองอำเภอด้วย


'''หัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอ''' ในแต่ละอำเภอนอกจากจะมีนายอำเภอและปลัดอำเภอแล้ว ยังมีหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอซึ่งกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ส่งไปประจำทำงานในหน้าที่ของตน หัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอนั้น ปกติให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือนายอำเภอ และ มีอำนาจปกครอง บังคับบัญชา บรรดาข้าราชการส่วนภูมิภาค ซึ่งสังกัดกระทรวง ทบวง กรมนั้นในอำเภอนั้น
'''หัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอ''' ในแต่ละอำเภอนอกจากจะมีนายอำเภอและปลัดอำเภอแล้ว ยังมีหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอซึ่งกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ส่งไปประจำทำงานในหน้าที่ของตน หัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอนั้น ปกติให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือนายอำเภอ และ มีอำนาจปกครอง บังคับบัญชา บรรดา[[ข้าราชการส่วนภูมิภาค]] ซึ่งสังกัดกระทรวง ทบวง กรมนั้นในอำเภอนั้น


หัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอจะมีมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับกฎหมาย และความจำเป็นของงานในอำเภอนั้นเป็นสำคัญ หัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอที่สำคัญและจำเป็นจะต้องมี เช่น สาธารณสุขอำเภอ พัฒนาการอำเภอ เป็นต้น
[[หัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอ]]จะมีมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับกฎหมาย และความจำเป็นของงานในอำเภอนั้นเป็นสำคัญ หัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอที่สำคัญและจำเป็นจะต้องมี เช่น สาธารณสุขอำเภอ พัฒนาการอำเภอ เป็นต้น


'''อำนาจหน้าที่ของอำเภอตามพระราชบัญญัติปกครองท้องที่'''
'''อำนาจหน้าที่ของอำเภอตามพระราชบัญญัติปกครองท้องที่'''
บรรทัดที่ 358: บรรทัดที่ 358:
==การแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองท้องที่  พ.ศ. 2457 ที่สำคัญ==
==การแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองท้องที่  พ.ศ. 2457 ที่สำคัญ==


พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ มีการแก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 12 ใน พ.ศ.2552 โดยมีการแก้ไขเพิ่มเติมที่สำคัญดังนี้คือ
[[พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ มีการแก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 12 ใน พ.ศ.2552]] โดยมีการแก้ไขเพิ่มเติมที่สำคัญดังนี้คือ


1.พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2486 ได้กำหนดให้ กำนัน ผู้ใหญ่บ้านดำรงตำแหน่งถึงอายุไม่เกินหกสิบปีบริบูรณ์
1.[[พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2486]] ได้กำหนดให้ กำนัน ผู้ใหญ่บ้านดำรงตำแหน่งถึงอายุไม่เกินหกสิบปีบริบูรณ์
 
 
2.พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2510 ได้ปรับบทบาท อำนาจหน้าที่ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ให้เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง และเพิ่มตำแหน่งผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบ โดยมีหน้าที่ในด้านรักษาความสงบเรียบร้อยและปราบปรามโจรผู้ร้าย
2.[[พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2510]] ได้ปรับบทบาท อำนาจหน้าที่ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ให้เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง และเพิ่มตำแหน่งผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบ โดยมีหน้าที่ในด้านรักษาความสงบเรียบร้อยและปราบปรามโจรผู้ร้าย
   
   
3.ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 364 ลงวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ.  2515 กำหนดคุณสมบัติผู้ใหญ่บ้านให้มีพื้นความรู้ไม่ต่ำกว่าประโยคประถมศึกษาตอนต้นหรือที่กระทรวงศึกษาธิการเทียบไม่ต่ำกว่าประโยคประถมศึกษาตอนต้น
3.ประกาศของ[[คณะปฏิวัติ]] ฉบับที่ 364 ลงวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ.  2515 กำหนดคุณสมบัติผู้ใหญ่บ้านให้มีพื้นความรู้ไม่ต่ำกว่าประโยคประถมศึกษาตอนต้นหรือที่กระทรวงศึกษาธิการเทียบไม่ต่ำกว่าประโยคประถมศึกษาตอนต้น
 
 
4.พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2525 มีการแก้ไขเพิ่มเติมที่สำคัญคือ
4.[[พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2525]] มีการแก้ไขเพิ่มเติมที่สำคัญคือ
 
 
1) เปิดโอกาสให้สตรีเป็นผู้ใหญ่บ้านได้  
1) เปิดโอกาสให้สตรีเป็นผู้ใหญ่บ้านได้  
บรรทัดที่ 372: บรรทัดที่ 372:
2) ผู้ใหญ่บ้านต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทยโดยการเกิดเท่านั้น  
2) ผู้ใหญ่บ้านต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทยโดยการเกิดเท่านั้น  
     
     
3) กำหนดมิให้ข้าราชการการเมืองเป็นผู้ใหญ่บ้านเพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายรัฐธรรมนูญ
3) กำหนดมิให้ข้าราชการการเมืองเป็นผู้ใหญ่บ้านเพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมาย[[รัฐธรรมนูญ]]
 
 
5.พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ (ฉบับที่ 8) พ.ศ.2532 กำหนดให้กำนันและผู้ใหญ่บ้านมีสิทธิอุปสมบทหรือบรรพชาได้เช่นเดียวกับข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ เป็นเวลาติดต่อกันไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวัน และต้องได้รับอนุญาตจากผู้ว่าราชการจังหวัด
5.[[พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ (ฉบับที่ 8) พ.ศ.2532]] กำหนดให้กำนันและผู้ใหญ่บ้านมีสิทธิอุปสมบทหรือบรรพชาได้เช่นเดียวกับข้าราชการและพนักงาน[[รัฐวิสาหกิจ]] เป็นเวลาติดต่อกันไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวัน และต้องได้รับอนุญาตจากผู้ว่าราชการจังหวัด
   
   
6.พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ (ฉบับที่ 9) พ.ศ.2535 มีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญคือ กำหนดคุณสมบัติเกี่ยวกับอายุในการดำรงตำแหน่งของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน จากเดิมที่อยู่ในตำแหน่งถึงอายุไม่เกินหกสิบปีบริบูรณ์เป็นวาระ คราวละห้าปี
6.[[พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ (ฉบับที่ 9) พ.ศ.2535]] มีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญคือ กำหนดคุณสมบัติเกี่ยวกับอายุในการดำรงตำแหน่งของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน จากเดิมที่อยู่ในตำแหน่งถึงอายุไม่เกินหกสิบปีบริบูรณ์เป็นวาระ คราวละห้าปี
7.พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2551แก้ไขกำหนดคุณสมบัติเกี่ยวกับอายุในการดำรงตำแหน่งของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน จากเป็นวาระคราวละ 5 ปี เป็นอยู่ในตำแหน่งถึงอายุไม่เกินหกสิบปีบริบูรณ์
7.[[พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2551]]แก้ไขกำหนดคุณสมบัติเกี่ยวกับอายุในการดำรงตำแหน่งของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน จากเป็นวาระคราวละ 5 ปี เป็นอยู่ในตำแหน่งถึงอายุไม่เกินหกสิบปีบริบูรณ์
   
   
8.พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2552 ได้กำหนดห้ามมิให้ยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน โดยเหตุผลว่า กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล สารวัตรกำนัน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน เป็นบุคคลในพื้นที่ที่มีความใกล้ชิดกับราษฎรในการปฏิบัติงานตามกฎหมายและแนวนโยบายของรัฐ เป็นผู้ช่วยเหลือนายอำเภอซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของราชการบริหารส่วนภูมิภาคมีบทบาทอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457  โดยเฉพาะในการเป็นผู้ประสานงานระหว่างราชการส่วนภูมิภาคกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การรักษาความสงบเรียบร้อย การป้องกันและแก้ไขปัญหากรณีต่าง ๆ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เป็นคนกลางในการไกล่เกลี่ย ประนีประนอมและจัดการระงับปัญหาความขัดแย้งในท้องที่ และยังมีฐานะเป็นตัวแทนของรัฐ ตัวแทนของราษฎรเกี่ยวกับเรื่องร้องทุกข์ ความเดือดร้อนของราษฎรเพื่อนำเสนอต่อส่วนราชการ
8.[[พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2552]] ได้กำหนดห้ามมิให้ยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน โดยเหตุผลว่า กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล สารวัตรกำนัน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน เป็นบุคคลในพื้นที่ที่มีความใกล้ชิดกับราษฎรในการปฏิบัติงานตาม[[กฎหมาย]]และ[[แนวนโยบายของรัฐ]] เป็นผู้ช่วยเหลือนายอำเภอซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ[[ราชการบริหารส่วนภูมิภาค]]มีบทบาทอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457  โดยเฉพาะในการเป็นผู้ประสานงานระหว่างราชการส่วนภูมิภาคกับ[[องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น]] การรักษาความสงบเรียบร้อย การป้องกันและแก้ไขปัญหากรณีต่าง ๆ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เป็น[[คนกลาง]]ใน[[การไกล่เกลี่ย]] ประนีประนอมและจัดการระงับปัญหา[[ความขัดแย้ง]]ในท้องที่ และยังมีฐานะเป็นตัวแทนของรัฐ ตัวแทนของราษฎรเกี่ยวกับเรื่องร้องทุกข์ ความเดือดร้อนของราษฎรเพื่อนำเสนอต่อส่วนราชการ
 
 
==หนังสืออ่านประกอบ==
==หนังสืออ่านประกอบ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:41, 8 ธันวาคม 2557

เรียบเรียงโดย : อาจารย์บุญเกียรติ การะเวกพันธุ์ และคณะ

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : รศ.ดร.ปธาน สุวรรณมงคล


การปกครองท้องที่เริ่มต้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยทรงมีพระราชดำริให้มีการจัดระเบียบการปกครองระดับ “หมู่บ้าน” ที่มีมาแต่เดิมขึ้นใหม่ เพราะทรงเล็งเห็นว่าการปกครองในระดับนี้จำเป็นและสำคัญยิ่งในการบริหารราชการแผ่นดิน เนื่องจากเป็น หน่วยการปกครองที่ใกล้ชิดกับราษฎรมากที่สุด โดยได้ทรงให้มีการทดลองจัดระเบียบการปกครองตำบล หมู่บ้าน ขึ้นที่อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อ ร.ศ. 111 (พ.ศ. 2435) โดยให้ราษฎรเลือก ผู้ใหญ่บ้านแทนการแต่งตั้งโดยเจ้าเมือง ต่อมาจึงได้มีการจัดระเบียบการปกครองตำบล หมู่บ้าน ตามหัวเมืองต่างๆ โดยตราเป็นพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ ร.ศ. 116 (พ.ศ.2440) ซึ่งถือเป็นกฎหมายลักษณะปกครองท้องที่ฉบับแรกของประเทศไทย จนถึงสมัยรัชกาลที่ 6 ได้มีการตราพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 ขึ้นใช้บังคับแทน

ความสำคัญของลักษณะการปกครองท้องที่

การปกครองท้องที่คือการปกครองในตำบลและหมู่บ้าน เป็นการปกครองที่มีความใกล้ชิดกับราษฎรในการปฏิบัติงานตามกฎหมายและแนวนโยบายของรัฐ เป็นผู้ช่วยเหลือนายอำเภอซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของราชการบริหารส่วนภูมิภาค โดยเฉพาะในการเป็นผู้ประสานงานระหว่างราชการส่วนภูมิภาคกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การรักษาความสงบเรียบร้อย การป้องกันและแก้ไขปัญหากรณีต่าง ๆ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เป็นคนกลางในการไกล่เกลี่ย ประนีประนอมและจัดการระงับปัญหาความขัดแย้งในท้องที่ และยังมีฐานะเป็นตัวแทนของรัฐ ตัวแทนของราษฎรเกี่ยวกับเรื่องร้องทุกข์ ความเดือดร้อนของราษฎรเพื่อนำเสนอต่อส่วนราชการ

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระราชดำรัสกับหลวงเทศาจิตวิจารณ์ (เส็ง วิรยศิริ) ที่ต่อมาได้เป็นปลัดทูลฉลองกระทรวงมหาดไทย ว่า “เรามีหลักมาแต่โบราณแล้วว่า มีเจ้าบ้าน ผู้ใหญ่บ้าน กํานันแขวงตามบ้านนอกหรือหัวเมือง เวลานี้มีเป็นบ้านๆ กํานันแขวงอยู่บ้างแล้วการที่เราจะจัดใหม่ต่อไปนั้น เห็นว่าควรจะอนุโลมจัดท้องที่คล้ายคลึงกับที่เราจัดมีอยู่บ้างแล้วบางเมือง คือ กำหนดหลายๆ เจ้าบ้าน ที่อยู่ใกล้ชิดติดต่อกันเป็นกลุ่มๆหนึ่งเข้าเป็นหมู่บ้านในกลุ่มนี้เรียกว่า “หมู่บ้าน” แล้ว ให้มีผู้ใหญ่บ้านปกครองคนหนึ่ง หลายๆ หมู่บ้านที่อยู่ในระยะใกล้เคียงกันมากน้อยพอสมควร ตั้งขึ้นเป็น“ตําบล” ให้มีกํานันเป็นหัวหน้าตําบล หลายๆตําบล รวมเป็นแขวงหรืออำเภอหนึ่ง การรวบรวมบ้านขึ้นเป็นหมู่ เป็นตําบล เป็นอำเภอเช่นนี้คงมีเล็กบ้างใหญ่บ้างต้องถือเอาภูมิประเทศท้องที่ เป็นหลัก”

การจัดการปกครองท้องที่ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 ประกอบไปด้วย

1. หมู่บ้าน

2. ตำบล

3. อำเภอและกิ่งอำเภอ

หมู่บ้าน

หมู่บ้านตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายลักษณะปกครองท้องที่ มี 2 ประเภท คือ หมู่บ้านที่จัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ กับ หมู่บ้านที่จัดตั้งขึ้นเป็นการชั่วคราว

1. หมู่บ้านที่จัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ

การจัดตั้งทำโดยประกาศจังหวัด ภายใต้หลักเกณฑ์ตาม พระราชบัญญัติลักษณะการปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 ได้วางหลักเกณฑ์การตั้งหมู่บ้านขึ้นไว้กว้าง ๆ 2 ประการ คือ

(1) โดยจำนวนประชากร ถ้ามีประชากร 200 คนให้จัดเป็นหมู่บ้าน

(2) ในกรณีที่ผู้คนตั้งบ้านเรือนอยู่ห่างไกลกัน ถึงจำนวนประชากรจะน้อย แต่ถ้ามีจำนวนบ้านไม่ต่ำกว่า 5 บ้านแล้วให้จัดเป็นหมู่บ้าน

ต่อมาได้มีมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2539ได้วางหลักเกณฑ์การจัดตั้งหมู่บ้านไว้ดังนี้

1) กรณีเป็นชุมชนหนาแน่น

(1) เป็นชุมชนที่มีราษฎรไม่น้อยกว่า 1,200 คน หรือมีจำนวนบ้านไม่น้อยกว่า 240 บ้าน

(2) เมื่อแยกหมู่บ้านใหม่แล้ว หมู่บ้านใหม่จะต้องมีราษฎรไม่น้อยกว่า 600 คน หรือมี จำนวนบ้านไม่น้อยกว่า 120 บ้าน

(3) ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการหมู่บ้าน สภาตำบล หรือสภาองค์การบริหารส่วนตำบล และที่ประชุมหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอ

2) กรณีเป็นชุมชนห่างไกล

(1) เป็นชุมชนที่มีราษฎรไม่น้อยกว่า 600 คน หรือมีจำนวนบ้านไม่น้อยกว่า 120 บ้าน

(2) เมื่อแยกหมู่บ้านใหม่แล้ว หมู่บ้านใหม่จะต้องมีราษฎรไม่น้อยกว่า 200 คน หรือมี จำนวนบ้านไม่น้อยกว่า 40 บ้าน

(3) ชุมชนใหม่ห่างจากชุมชนเดิมไม่น้อยกว่า 6 กิโลเมตร

(4) ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการหมู่บ้าน สภาตำบล หรือสภาองค์การบริหารส่วนตำบล และที่ประชุมหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอ

2. หมู่บ้านที่จัดตั้งขึ้นเป็นการชั่วคราว

หมู่บ้านชั่วคราวเป็นหมู่บ้านที่จัดตั้งขึ้นในกรณีที่ท้องที่อำเภอใดมีราษฎรไปตั้งชุมนุมทำการหาเลี้ยงชีพแต่ในบางฤดูและจำนวนราษฎรซึ่งไปตั้งทำการอยู่มากพอสมควร จะจัดเป็นหมู่บ้านตามหลักเกณฑ์การตั้งหมู่บ้านปกติได้ เพื่อความสะดวกแก่การปกครอง ให้นายอำเภอประชุมราษฎรในหมู่บ้านนั้นๆ เลือก ว่าที่ผู้ใหญ่บ้าน มีอำนาจและหน้าที่เหมือนผู้ใหญ่บ้านปกติ

การจัดระเบียบการปกครองหมู่บ้าน

ตามกฎหมายลักษณะการปกครองท้องที่การบริหารงานของหมู่บ้าน มีองค์ประกอบที่สำคัญดังนี้

1. ผู้ใหญ่บ้าน

2. ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน

3. คณะกรรมการหมู่บ้าน

ผู้ใหญ่บ้าน ในหมู่บ้านหนึ่งมีผู้ใหญ่บ้าน 1 คน ทำหน้าที่ปกครองราษฎรในเขตหมู่บ้าน โดยมีที่มาจากการเลือกของราษฎรในหมู่บ้านนั้น

อำนาจหน้าที่ผู้ใหญ่บ้าน

1.อำนาจหน้าที่หน้าที่ในทางปกครองและรักษาความสงบเรียบร้อย

1) อำนวยความเป็นธรรมและดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยให้แก่ราษฎรในหมู่บ้าน

2) สร้างความสมานฉันท์และความสามัคคีให้เกิดขึ้นในหมู่บ้าน รวมทั้งส่งเสริมวัฒนธรรมและประเพณีในท้องที่

3) ประสานหรืออำนวยความสะดวกแก่ราษฎรในหมู่บ้านในการติดต่อหรือรับบริการกับส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

4) รับฟังปัญหาและนำความเดือดร้อน ทุกข์สุขและความต้องการที่จำเป็นของ ราษฎรในหมู่บ้าน แจ้งต่อส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การแก้ไขหรือช่วยเหลือ

5) ให้การสนับสนุน ส่งเสริม และอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติหน้าที่หรือการให้บริการของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

6) ควบคุมดูแลราษฎรในหมู่บ้านให้ปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายหรือระเบียบแบบแผนของทางราชการ โดยกระทำตนให้เป็นตัวอย่างแก่ราษฎรตามที่ทางราชการได้แนะนำ

7) อบรมหรือชี้แจงให้ราษฎรมีความรู้ความเข้าใจในข้อราชการ กฎหมาย หรือระเบียบแบบแผนของทางราชการ ในการนี้ สามารถเรียกราษฎรมาประชุมได้ตามสมควร

8) แจ้งให้ราษฎรให้ความช่วยเหลือในกิจการสาธารณประโยชน์เพื่อบำบัดปัดป้องภยันตรายสาธารณะอันมีมาโดยฉุกเฉิน รวมตลอดทั้งการช่วยเหลือบรรเทาทุกข์แก่ผู้ประสบภัย

9) จัดให้มีการประชุมราษฎรและคณะกรรมการหมู่บ้านเป็นประจำอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง

10) ปฏิบัติตามคำสั่งของกำนันหรือทางราชการและรายงานเหตุการณ์ที่ไม่ปกติซึ่งเกิดขึ้นในหมู่บ้านให้กำนันทราบ พร้อมทั้งรายงานต่อนายอำเภอด้วย

11) ปฏิบัติตามภารกิจหรืองานอื่นตามกฎหมายหรือระเบียบแบบแผนของทางราชการหรือตามที่กระทรวง ทบวง กรม หน่วยงานอื่นของรัฐ ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือนายอำเภอมอบหมาย

2.อำนาจหน้าที่เกี่ยวด้วยความอาญา

1) เมื่อทราบข่าวว่ามีการกระทำผิดกฎหมาย เกิดขึ้นหรือสงสัยว่าได้เกิดขึ้นในหมู่บ้านของตน ต้องแจ้งความต่อกำนันนายตำบลให้ทราบ

2) เมื่อทราบข่าวว่ามีการกระทำผิดกฎหมายเกิดขึ้น หรือสงสัยว่าได้เกิดขึ้นในหมู่บ้านที่ใกล้เคียง ต้องแจ้งความต่อผู้ใหญ่บ้านหมู่บ้านนั้นให้ทราบ

3) เมื่อตรวจพบของกลางที่ผู้ที่กระทำผิดกฎหมายมีอยู่ก็ดี หรือสิ่งของที่สงสัยว่าได้มาโดยการกระทำผิดกฎหมาย หรือเป็นสิ่งของสำหรับใช้ในการกระทำผิดกฎหมายก็ดี ให้จับสิ่งของนั้นไว้และรีบนำส่งต่อกำนันนายตำบล

4) เมื่อปรากฏว่าผู้ใดกำลังกระทำผิดกฎหมายก็ดี หรือมีเหตุควรสงสัยว่า เป็นผู้ที่ได้กระทำผิดกฎหมายก็ดี ให้จับตัวผู้นั้นไว้และรีบนำส่งต่อกำนันนายตำบล

5) ถ้ามีหมายหรือมีคำสั่งตามหน้าที่ราชการ ให้จับผู้ใดในหมู่บ้านนั้น เป็นหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านที่จะจับผู้นั้น และรีบส่งต่อกำนัน หรือกรมการอำเภอตามสมควร

6) เมื่อเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ออกหมายสั่งให้ค้น หรือให้ยึด ผู้ใหญ่บ้านต้องจัดการให้เป็นไปตามหมาย

การรักษาการแทนผู้ใหญ่บ้าน ถ้าผู้ใหญ่บ้านไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้มอบหน้าที่ให้แก่ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครองคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาการแทน จนกว่าจะทำการในหน้าที่ได้ และต้องรายงานให้กำนันทราบ และถ้าไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่เกิน 15 วัน ต้องรายงานนายอำเภอทราบด้วย

ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ในหมู่บ้านหนึ่งนอกจากจะมีผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้ปกครองหมู่บ้านแล้ว ยังมีผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้ช่วยเหลือผู้ใหญ่บ้าน โดยผู้ใหญ่บ้านและกำนันร่วมกันพิจารณาคัดเลือก อยู่ในตำแหน่งคราวละ 5 ปี แต่เมื่อผู้ใหญ่บ้านต้องออกจากตำแหน่งไม่ว่าด้วยเหตุใด ให้ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านต้องออกจากตำแหน่งด้วย

ประเภทของผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน มี 2 ประเภทคือ

1) ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง มีหมู่บ้านละ 2 คน ถ้าหมู่บ้านใดมีความจำเป็นต้องมีมากกว่า 2 คน ต้องขออนุมัติจากกระทรวงมหาดไทย ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

(1) ช่วยเหลือผู้ใหญ่บ้านปฏิบัติกิจการตามอำนาจหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้าน

(2) เสนอข้อแนะนำและให้คำปรึกษาต่อผู้ใหญ่บ้าน ในกิจการที่ผู้ ใหญ่บ้านมีอำนาจหน้าที่

(3) ตรวจตรารักษาความสงบเรียบร้อยภายในหมู่บ้านร่วมกับผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบ

2) ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบ ตำแหน่งนี้ได้มีครั้งแรกตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ (แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2510 เพราะผู้ใหญ่บ้านยังไม่มีเจ้าหน้าที่ทำหน้าที่ช่วยเหลือในด้านการรักษาความสงบเรียบร้อยและปราบปรามโจรผู้ร้ายโดยตรง จึงทำให้การปฏิบัติหน้าที่ไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร จึงได้กำหนดให้มีตำแหน่งผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบขึ้น เพื่อทำหน้าที่เกี่ยวกับการรักษาความสงบเรียบร้อยและปราบปรามโจรผู้ร้าย หมู่บ้านใดจะมีได้ต้องให้ ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็น ผู้อนุมัติตามจำนวนที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบ มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

(1) ตรวจตรารักษาความสงบเรียบร้อยภายในหมู่บ้าน

(2) ถ้ารู้เห็นหรือทราบเหตุการณ์เกิดขึ้นหรือจะเกิดขึ้นในหมู่บ้านเกี่ยวกับความสงบ เรียบร้อย ให้แจ้งต่อผู้ใหญ่บ้าน

(3) ถ้ามีคนจรเข้ามาในหมู่บ้านและสงสัยว่ามาโดยไม่สุจริตให้นำตัวส่งผู้ใหญ่บ้าน

(4) ระงับเหตุ ปราบปราม ติดตามจับผู้ร้าย

(5) ตรวจจับสิ่งของที่ผิดกฎหมายส่งผู้ใหญ่บ้าน

(6) ควบคุมตัวผู้สงสัยว่าได้กระทำผิดและกำลังจะหลบหนีส่งผู้ใหญ่บ้าน

(7) ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ใหญ่บ้านซึ่งสั่งการโดยชอบด้วยกฎหมาย

คณะกรรมการหมู่บ้าน

คณะกรรมการหมู่บ้าน มีหน้าที่ให้คำแนะนำและให้คำปรึกษาต่อผู้ใหญ่บ้านเกี่ยวกับกิจการที่จะปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้าน เป็นองค์กรหลักที่รับผิดชอบในการบูรณาการจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้าน และบริหารจัดการกิจกรรมที่ดำเนินงานในหมู่บ้านร่วมกับองค์กรอื่น

องค์ประกอบคณะกรรมการหมู่บ้านประกอบด้วยผู้ใหญ่บ้านเป็นประธาน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีภูมิลำเนาในหมู่บ้าน ผู้นำหรือผู้แทนกลุ่มหรือองค์กรในหมู่บ้านเป็นกรรมการหมู่บ้านโดยตำแหน่ง และกรรมการหมู่บ้านผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งนายอำเภอแต่งตั้งจากผู้ซึ่งราษฎรในหมู่บ้านเลือกเป็นกรรมการหมู่บ้านผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนไม่น้อยกว่าสองคนแต่ไม่เกินสิบคน

ตำบล

ตำบล เป็นหน่วยการปกครองท้องที่ ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 ซึ่ง กำหนดให้ตำบล ประกอบด้วยหลาย ๆ หมู่บ้านรวมกัน โดยมาตรา 29 ได้กำหนดให้หลายหมู่บ้านรวมกันราว 20 หมู่บ้าน ให้จัดเป็นตำบลหนึ่ง

กระทรวงมหาดไทยได้วางหลักเกณฑ์การจัดตั้งตำบลไว้ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2539 ดังนี้

1. กรณีเป็นชุมชนหนาแน่น

1) เป็นชุมชนที่มีราษฎรไม่น้อยกว่า 4,800 คน

2) มีหมู่บ้านไม่น้อยกว่า 8 หมู่บ้าน

3) ได้รับความเห็นชอบจากสภาตำบล หรือสภาองค์การบริหารส่วนตำบล และที่ประชุมหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอ

2. กรณีเป็นชุมชนห่างไกล

1) เป็นชุมชนที่มีราษฎรไม่น้อยกว่า 3,600 คน

2) มีหมู่บ้านไม่น้อยกว่า 6 หมู่บ้าน

3) ชุมชนใหม่ห่างจากชุมชนเดิมไม่น้อยกว่า 6 กิโลเมตร

4) ได้รับความเห็นชอบจากสภาตำบล หรือสภาองค์การบริหารส่วนตำบลและที่ประชุมหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอการจัดระเบียบปกครองตำบล

การบริหารราชการตำบล ตามกฎหมายลักษณะการปกครองท้องที่การบริหารงานของตำบล มีองค์ประกอบที่สำคัญดังนี้

1. กำนัน

2. แพทย์ประจำตำบล

3. สารวัตรกำนัน

กำนัน ในตำบลหนึ่งมีกำนันหนึ่งคนทำหน้าที่ปกครองราษฎรในตำบลนั้น โดยมาจากการการเลือกตั้งกันเองของผู้ใหญ่บ้านในตำบลนั้นขึ้นเป็นกำนัน ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการเลือกกำนัน พ.ศ. 2551

การประชุมคัดเลือกกำนัน ให้นายอำเภอเป็นประธานในที่ประชุม ปลัดอำเภอเป็นเลขานุการ การประชุมคัดเลือกกำนันต้องเป็นไปโดยเปิดเผยและต้องมีผู้ใหญ่บ้านมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนผู้ใหญ่บ้านทั้งหมดที่มีอยู่ในตำบลนั้น ผู้ใหญ่บ้านในตำบลมีสิทธิเสนอชื่อผู้ใหญ่บ้านในตำบลหรือเสนอชื่อตนเองเป็นกำนันได้หนึ่งคน ผู้ใหญ่บ้านที่ได้รับการเสนอชื่อต้องอยู่ในที่ประชุมและต้องยินยอมให้เสนอชื่อตนได้

ถ้ามีการเสนอชื่อผู้สมควรได้รับการคัดเลือกเป็นกำนันเพียงคนเดียว ให้นายอำเภอคัดเลือกผู้นั้นเป็นกำนันมีการเสนอชื่อผู้สมควรได้รับการคัดเลือกเป็นกำนันมากกว่าหนึ่งคนให้นายอำเภอจัดให้มีการออกเสียงลงคะแนนโดยวิธีลับ

อำนาจหน้าที่กำนัน

1. อำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการปกครองท้องที่ ได้แก่ การตรวจตรา รักษาความสงบเรียบร้อยในตำบล ให้ราษฎรปฏิบัติตามกฎหมายการป้องกันภัยอันตราย ส่งเสริมความสุขของราษฎร รับเรื่องความเดือดร้อนของราษฎร แจ้งทางราชการและรับข้อราชการ ประกาศให้ราษฎรได้ทราบและดำเนิน การให้เป็นไปตามกฎหมาย เช่น การตรวจและเก็บภาษีอากร รวมทั้งการปกครองผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบลและสารวัตรกำนัน

2. อำนาจหน้าที่ทุกอย่างเช่นเดียวกับผู้ใหญ่บ้าน

3. อำนาจหน้าที่เกี่ยวกับความอาญา และรักษาความสงบเรียบร้อย

3.1 มีการกระทำผิดอาญาหรือสงสัยจะเกิด ให้แจ้งนายอำเภอ หรือถ้าเกิดในตำบลข้างเคียงให้แจ้งกำนันตำบลข้างเคียงนั้นทราบ

3.2 พบคนกำลังกระทำผิดกฎหมาย หรือเหตุควรสงสัย หรือมีหมาย หรือคำสั่งให้จับผู้ใดในตำบลให้จับผู้นั้นส่งอำเภอ

3.3 ค้นหรือยึดตามหมายที่ออกโดยกฎหมาย

3.4 อายัดตัวคนหรือสิ่งของที่ได้มาด้วยการกระทำผิดกฎหมายแล้วนำส่งอำเภอ

3.5 เมื่อมีเหตุการณ์ร้ายหรือแปลกประหลาด รายงานต่อนายอำเภอ

3.6 เกิดจลาจล ปล้นฆ่า ชิงทรัพย์ ไฟไหม้หรือเหตุร้าย ฯลฯ ให้แจ้งต่อเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง

3.7 เมื่อทราบว่ามีคนอาฆาตมาดร้าย คนจรจัด อาจเรียกประชุมผู้ใหญ่บ้านเพื่อปรึกษาสืบสวนแล้วถ้ามีหลักฐานให้เอาตัวส่งไปที่อำเภอ

3.8 เมื่อมีคนจรแปลกหน้านอกทะเบียนราษฎรเข้ามาในท้องที่ ให้หารือกับผู้ใหญ่บ้าน เพื่อขับไล่ออกจากท้องที

3.9 เมื่อมีผู้ใดตั้งทับ กระท่อม หรือโรงเรือนโดดเดี่ยว ซึ่งจะเป็นอาจเป็นอันตราย อาจสั่งให้เข้ามาอยู่เสียในหมู่บ้าน และนำความแจ้งนายอำเภอ

3.10 เมื่อมีผู้ปล่อยละทิ้งบ้านให้ชำรุดรุงรัง โสโครก อันอาจเกิดอันตรายแก่ผู้อื่น หรืออาจเกิดอัคคีภัย ให้ปรึกษากับผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล บังคับให้ผู้อยู่ในที่นั้นแก้ไข ถ้าไม่ปฏิบัติตามให้นำความร้องเรียนต่อนายอำเภอ

3.11 ในกรณีที่เกิดอันตรายแก่การทำมาหากินของราษฎร ให้ปรึกษากับผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล หาทางป้องกันแก้ไข ถ้าเกินความสามารถให้แจ้งต่อนายอำเภอ

4. อำนาจหน้าที่ในการดูแลให้คนที่เดินทางเข้ามาในตำบล ซึ่งไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นผู้ร้าย ให้มีที่พักตามสมควรและถ้าเป็นผู้เดินทางมาในราชการก็ต้องช่วยเหลือหาคนนำทาง หาเสบียงอาหารให้

5. อำนาจหน้าที่ดูแลรักษาสิ่งซึ่งเป็นสาธารณประโยชน์ที่ราษฎรใช้ประโยชน์ร่วมกัน เช่น สระน้ำ ศาลาอาศัย ที่เลี้ยงปศุสัตว์ ห้ามมิให้ผู้ใดรุกล้ำยึดถือครอบครอง หรือทำให้ทรัพย์เสียหาย

6. อำนาจเกี่ยวกับการทะเบียนต่าง ๆ ในตำบล เช่น งานทะเบียนราษฎรเกี่ยวกับการแจ้งคนเกิด คนย้าย คนตาย งานทะเบียนสัตว์พาหนะ และมีหน้าที่รับคำขอจดทะเบียนสมรส เพื่อนำส่งนายอำเภอให้จดทะเบียนสมรสให้โดยคู่สมรสไม่ต้องไปที่ว่าการอำเภอ ในท้องที่ที่ผู้ว่าราชการจังหวัดได้ออกประกาศไว้ ตลอดจนทำบัญชี ทะเบียนสิ่งสาธารณะประโยชน์ที่อยู่ในตำบลนั้น

7. อำนาจหน้าที่เกี่ยวกับภาษีอากร ในการช่วยเหลือการจัดเก็บภาษีอากร การสำรวจและประเมินราคาเพื่อเสียภาษีอากร โดยจัดทำบัญชีสิ่งของที่ต้องเสียภาษีอากรยื่นต่อนายอำเภอ เพื่อนำไปเสียภาษี ตามกฎหมายภาษีอากร

8. อำนาจหน้าที่เรียกประชุมและให้ช่วยงานตามหน้าที่ ไม่ว่าการประชุมประชาชน คณะกรรมการสภาตำบล และผู้ใหญ่บ้าน เพื่อหารือร่วมกัน และเรียกบุคคลมาให้ช่วยเหลืองาน

9. หน้าที่ทั่ว ๆ ไป เป็นอำนาจหน้าที่ที่ปรากฏในกฎหมายอื่นๆ ที่ กระทรวงทบวงกรมอื่นให้ช่วยเหลือและเป็นที่น่าสังเกตว่า กระทรวงทบวงกรมอื่นส่วนใหญ่มัก กำหนดให้กำนันมีแต่หน้าที่ ส่วนอำนาจนั้นมักไม่มอบให้ จึงทำให้การปฏิบัติงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายไม่ได้ผลเท่าที่ควร ไม่เหมือนกับการงานในหน้าที่ ของฝ่ายปกครอง

แพทย์ประจำตำบล

แพทย์ประจำตำบลมาจากการเลือกของกำนันและผู้ใหญ่ โดยเป็นผู้มีสัญชาติไทย มีความรู้ในวิชาแพทย์แผนปัจจุบันหรือแผนโบราณ และมีถิ่นที่อยู่ในตำบล แล้วเสนอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งเป็นแพทย์ประจำตำบล

แพทย์ประจำตำบลมีอำนาจหน้าที่ช่วยเหลือกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน จัดการรักษาความสงบเรียบร้อยในตำบล ป้องกันและตรวจตราความเจ็บไข้ได้ป่วยที่เกิดขึ้นแก่ราษฎรในตำบลนั้นและตำบลใกล้เคียง ตลอดจนรายงานโรคระบาดร้ายแรง แก่กำนันและนายอำเภอ

สารวัตรกำนัน

ในแต่ละตำบลให้มีสารวัตรกำนันจำนวน 2 คนทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยของกำนัน มาจากการเสนอชื่อโดยกำนันและให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นชอบ

คณะกรรมการตำบล

ในแต่ละตำบลให้มีคณะกรรมการตำบลคณะหนึ่ง มีหน้าที่เสนอข้อแนะนำและให้คำปรึกษาต่อกำนัน เกี่ยวกับกิจการที่จะปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ของกำนัน

คณะกรรมการตำบลประกอบด้วยกำนัน ผู้ใหญ่บ้านทุกหมู่บ้านในตำบล แพทย์ประจำตำบล เป็นกรรมการตำบลโดยตำแหน่ง และครูประชาบาลในตำบลหนึ่งคน กรรมการหมู่บ้านผู้ทรงคุณวุฒิหมู่บ้านละหนึ่งคน เป็นกรรมการตำบลผู้ทรงคุณวุฒิ โดยนายอำเภอเป็นผู้คัดเลือกแล้วรายงานไปยังผู้ว่าราชการจังหวัด กรรมการตำบลผู้ทรงคุณวุฒิอยู่ในตำแหน่งคราวละห้าปี

วินัยและโทษ

กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และแพทย์ประจำตำบล ใช้กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนโดยอนุโลม

อำนาจการลงโทษ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และแพทย์ประจำตำบลเป็นไปดังนี้

1) กำนันมีอำนาจลงโทษภาคทัณฑ์ผู้ใหญ่บ้าน

2) นายอำเภอมีอำนาจลงโทษกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และแพทย์ประจำตำบลดังนี้

(1) ลดอันดับเงินเดือนไม่เกินหนึ่งอันดับ

(2) ตัดเงินเดือน โดยเทียบในฐานะเป็นผู้บังคับบัญชาชั้นหัวหน้าแผนกกับผู้กระทำผิดชั้นเสมียนพนักงาน ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน

(3) ลงโทษภาคทัณฑ์

เมื่อกำนัน ผู้ใหญ่บ้านคนใดถูกฟ้องในคดีอาญา เว้นแต่คดีความผิดในลักษณะลหุโทษ หรือความผิดอันได้กระทำโดยประมาท หรือมีกรณีที่ต้องหาว่าทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงถูกสอบสวนเพื่อไล่ออกหรือปลดออก ถ้านายอำเภอเห็นว่าจะคงให้อยู่ในตำแหน่งจะเป็นการเสียหายแก่ราชการจะสั่งให้พักหน้าที่ก็ได้ แล้วรายงานให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทราบ การสั่งให้กลับเข้ารับหน้าที่ตลอดถึงการวินิจฉัยว่าจะควรจ่ายเงินเดือนระหว่างพักหรือไม่ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้พิจารณา โดยอนุโลมตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน

3) ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจลงโทษกำนัน ผู้ใหญ่บ้านและแพทย์ประจำตำบล ในกรณีการลดอันดับและตัดเงินเดือน ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน

เฉพาะโทษปลด หรือไล่ออก ถ้ากำนัน ผู้ใหญ่บ้านและแพทย์ประจำตำบลผู้ถูกลงโทษเห็นว่าตนไม่ได้รับความเป็นธรรม ก็มีสิทธิ์ร้องทุกข์ต่อกระทรวงมหาดไทย

กระทรวงมหาดไทยมีอำนาจสั่งให้ยกคำร้องทุกข์หรือเพิกถอนคำสั่งการลงโทษหรือลดโทษ

อำเภอและกิ่งอำเภอ

อำเภอประกอบขึ้นจากท้องที่หลายตำบลรวมกันขึ้นเป็นอำเภอ

การจัดตั้งอำเภอ การจัดตั้งอำเภอจะต้องกระทำโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา การตั้งอำเภอนอกจากจะอาศัยอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินแล้วยังต้องดำเนินการให้เป็นไป ตาม พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 ที่กำหนดไว้ดังนี้

(1) ให้กำหนดเขตท้องที่อำเภอ มีเครื่องหมายและจดเขตอำเภออื่นทุกด้าน อย่าให้มีที่ว่างเปล่าอยู่นอกเขตอำเภอ

(2) ให้กำหนดจำนวนตำบลที่รวมเข้าเป็นอำเภอและให้กำหนดเขตตำบลให้ตรงกับเขต อำเภอ ถ้ามีที่ว่างเปล่าเช่นทุ่งหรือป่า เป็นต้น อยู่ใกล้เคียงที่อำเภอใด หรือจะตรวจตราปกครองได้สะดวกจาก อำเภอใด ก็ให้กำหนดที่ว่างนั้นเป็นที่อยู่ในเขตอำเภอนั้น

(3) ให้กำหนดที่ตั้ง ที่ว่าการอำเภอ ให้อยู่ในที่ซึ่งจะทำการปกครองราษฎรในอำเภอนั้นได้สะดวก

นอกจากหลักเกณฑ์ข้างต้น กระทรวงมหาดไทยโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2539 ยังได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการจัดตั้งอำเภอไว้เป็นแนวทางปฏิบัติดังนี้

1) เป็นกิ่งอำเภอมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี หรือ

2) เป็นกิ่งอำเภอมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี ในกรณีที่มีเหตุผลความจำเป็นทางการปกครอง และการบริการประชาชน คือ มีราษฎรตั้งแต่ 30,000 คนขึ้นไป

3) ได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด และสภาจังหวัด

การจัดระเบียบการปกครองอำเภอ

อำเภอมีเจ้าหน้าที่บริหารงานและดำเนินการปกครองดังนี้

1. นายอำเภอ

2. ปลัดอำเภอ

3. หัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอ

นายอำเภอ เป็นหัวหน้าปกครองบังคับบัญชาข้าราชการในอำเภอ และ รับผิดชอบในการบริหารราชการของอำเภอ นอกจากนั้นยังมีอำนาจปกครองบังคับบัญชาและควบคุมการปฏิบัติงานของกำนัน ผู้ใหญ่บ้านในเขตท้องที่อำเภอของตนอีกด้วย นายอำเภอเป็นข้าราชการสังกัดกระทรวงมหาดไทย (กรมการปกครอง) มีอำนาจและตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 65 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534

นอกจากนี้ตามมาตรา 62 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ยังกำหนดให้นายอำเภอมีอำนาจหน้าที่ที่เกี่ยวกับราชการของกรมการอำเภอหรือนายอำเภอตาม พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457

ปลัดอำเภอ ในอำเภอหนึ่งๆ นอกจากจะมีนายอำเภอเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาและรับผิดชอบงานบริหารราชการของอำเภอแล้วยังมี ปลัดอำเภอ เป็นผู้ช่วยเหลือในการปฏิบัติราชการของนายอำเภอ ปลัดอำเภอเป็นข้าราชการสังกัดกรมการปกครอง

อำเภอหนึ่งๆจะมีปลัดอำเภอ จำนวนมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับปริมาณงานและความรับผิดชอบ รวมทั้งความสมควรแก่ราชการเป็นสำคัญ นอกจากนี้ปลัดอำเภอยังรับผิดชอบในการปฏิบัติงานของกรมการปกครองที่ทำการปกครองอำเภอด้วย

หัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอ ในแต่ละอำเภอนอกจากจะมีนายอำเภอและปลัดอำเภอแล้ว ยังมีหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอซึ่งกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ส่งไปประจำทำงานในหน้าที่ของตน หัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอนั้น ปกติให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือนายอำเภอ และ มีอำนาจปกครอง บังคับบัญชา บรรดาข้าราชการส่วนภูมิภาค ซึ่งสังกัดกระทรวง ทบวง กรมนั้นในอำเภอนั้น

หัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอจะมีมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับกฎหมาย และความจำเป็นของงานในอำเภอนั้นเป็นสำคัญ หัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอที่สำคัญและจำเป็นจะต้องมี เช่น สาธารณสุขอำเภอ พัฒนาการอำเภอ เป็นต้น

อำนาจหน้าที่ของอำเภอตามพระราชบัญญัติปกครองท้องที่

การปกครองท้องที่

(1) ตรวจตราและจัดการปกครองตำบลและหมู่บ้านและให้มีหน้าที่เช่นเดียวกับกำนันผู้ใหญ่บ้าน

(2) ต้องเอาใจใส่สมาคมให้คุ้นเคยกับกำนันผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล และเป็นที่ปรึกษาหารือ ช่วยแก้ไขในการบริหารงาน

(3) เรียกประชุมกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล หรือเรียกประชุมเฉพาะกำนัน

(4) รักษาสถานที่ว่าการอำเภอ สรรพหนังสือและบัญชี ตลอดจนบริเวณที่ว่าการอำเภอให้เรียบร้อย

(5) ให้ราษฎรที่มีกิจธุระเข้าพบ และรับเรื่องราวร้องทุกข์

(6) ตรวจท้องที่ในเขตอำเภอและท้องที่อำเภออื่นที่ติดต่อกันให้รู้ความเป็นไปในท้องที่นั้น ๆ

(7) ทำบัญชีสำมะโนครัวและงานทะเบียน

(8) รายงานราชการในเรื่องดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ดูแลความทุกข์สุขของราษฎร และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในท้องที่ของตน การอันใดที่รัฐบาลควรรู้เพื่อความสุขของราษฎรและประโยชน์ของราชการ จะต้องรายงานให้รัฐบาลทราบความตามที่เป็นจริง

ข้อ 2 ถ้ามีคำสั่งโดยเฉพาะว่าให้รายงานการอย่างใดต่อผู้ใดแล้วให้รายงานต่อผู้ว่าราชการจังหวัดด้วย

ข้อ 3 รายงานต่อผู้ว่าราชการจังหวัดไม่น้อยกว่าเดือนละหนึ่งครั้ง และถ้ามีเหตุด่วนต้องรีบรายงานทันที

การป้องกันภยันตรายของราษฎร และรักษาความสงบในท้องที่

อำเภอต้องจัดให้มีการรักษาความเรียบร้อยในที่ประชุมชนในเวลามีการนักขัตฤกษ์ คอยตรวจตราตักเตือนกำนันผู้ใหญ่บ้านให้มีเครื่องสัญญาเรียกลูกบ้านช่วยกันดับไฟ หรือระงับเหตุภยันตรายอย่างอื่น หรือจับโจรผู้ร้ายทุกหมู่บ้าน จัดเวรยามในหมู่บ้าน เป็นต้น

การที่เกี่ยวด้วยความแพ่งและความอาญา

เมื่อมีคดีอาญาเกิดขึ้นในท้องที่อำเภอใดหรือจำเลยมาอาศัยอยู่ในท้องที่อำเภอใด ให้อำเภอมีอำนาจที่จับผู้ต้องหามาไต่สวนคดีเรื่องนั้นในชั้นต้น รวมถึงจัดพนักงานออกตรวจตระเวนรักษาความเรียบร้อย และคอยสืบจับโจรผู้ร้ายในท้องที่ของตนและตรวจชันสูตรหรือพลิกศพตามพระราชบัญญัติ

การป้องกันโรคร้าย

ต้องคอยระวัง อย่าให้โรคร้ายแพร่หลายไปในประชุมชน คอยดูแลป้องกันหรือเมื่อโรคเกิดขึ้นก็ต้องจัดการรักษาอย่าให้ติดต่อลุกลาม และให้จัดการป้องกันและรักษาโรค

บำรุงการทำนาค้าขายป่าไม้และทางไปมาต่อกัน

อำเภอต้องตรวจให้รู้ทำเลที่ทำมาหาเลี้ยงชีพของราษฎรในอำเภอนั้น เช่นที่นา ที่สวน ที่จับสัตว์น้ำเป็นต้น และต้องสอบสวนให้รู้ว่าที่เหล่านั้นอาศัยสายน้ำทางใด และให้จัดทำบัญชีมีทะเบียนไว้ในที่ว่าการอำเภอ

บำรุงการศึกษา

อำเภอต้องปรึกษากับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้อุปการะการศึกษาในท้องที่เช่นพระภิกษุสงฆ์ ในการแนะนำและจัดให้มีสถานที่เล่าเรียนแก่เด็กในอำเภอ และชี้แจงตักเตือนแก่กำนันผู้ใหญ่บ้าน บิดามารดา และผู้ปกครองเด็กให้ส่งบุตรหลานไปเล่าเรียน

การเก็บภาษีอากร

ภาษีอากรที่ไม่มีกฎหมายหรือข้อบังคับให้พนักงานอื่นเก็บ ให้เป็นหน้าที่ของอำเภอที่จะจัดการเก็บในอำเภอนั้น

การแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 ที่สำคัญ

พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ มีการแก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 12 ใน พ.ศ.2552 โดยมีการแก้ไขเพิ่มเติมที่สำคัญดังนี้คือ

1.พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2486 ได้กำหนดให้ กำนัน ผู้ใหญ่บ้านดำรงตำแหน่งถึงอายุไม่เกินหกสิบปีบริบูรณ์

2.พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2510 ได้ปรับบทบาท อำนาจหน้าที่ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ให้เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง และเพิ่มตำแหน่งผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบ โดยมีหน้าที่ในด้านรักษาความสงบเรียบร้อยและปราบปรามโจรผู้ร้าย

3.ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 364 ลงวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2515 กำหนดคุณสมบัติผู้ใหญ่บ้านให้มีพื้นความรู้ไม่ต่ำกว่าประโยคประถมศึกษาตอนต้นหรือที่กระทรวงศึกษาธิการเทียบไม่ต่ำกว่าประโยคประถมศึกษาตอนต้น

4.พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2525 มีการแก้ไขเพิ่มเติมที่สำคัญคือ

1) เปิดโอกาสให้สตรีเป็นผู้ใหญ่บ้านได้

2) ผู้ใหญ่บ้านต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทยโดยการเกิดเท่านั้น

3) กำหนดมิให้ข้าราชการการเมืองเป็นผู้ใหญ่บ้านเพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายรัฐธรรมนูญ

5.พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ (ฉบับที่ 8) พ.ศ.2532 กำหนดให้กำนันและผู้ใหญ่บ้านมีสิทธิอุปสมบทหรือบรรพชาได้เช่นเดียวกับข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ เป็นเวลาติดต่อกันไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวัน และต้องได้รับอนุญาตจากผู้ว่าราชการจังหวัด

6.พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ (ฉบับที่ 9) พ.ศ.2535 มีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญคือ กำหนดคุณสมบัติเกี่ยวกับอายุในการดำรงตำแหน่งของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน จากเดิมที่อยู่ในตำแหน่งถึงอายุไม่เกินหกสิบปีบริบูรณ์เป็นวาระ คราวละห้าปี

7.พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2551แก้ไขกำหนดคุณสมบัติเกี่ยวกับอายุในการดำรงตำแหน่งของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน จากเป็นวาระคราวละ 5 ปี เป็นอยู่ในตำแหน่งถึงอายุไม่เกินหกสิบปีบริบูรณ์

8.พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2552 ได้กำหนดห้ามมิให้ยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน โดยเหตุผลว่า กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล สารวัตรกำนัน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน เป็นบุคคลในพื้นที่ที่มีความใกล้ชิดกับราษฎรในการปฏิบัติงานตามกฎหมายและแนวนโยบายของรัฐ เป็นผู้ช่วยเหลือนายอำเภอซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของราชการบริหารส่วนภูมิภาคมีบทบาทอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 โดยเฉพาะในการเป็นผู้ประสานงานระหว่างราชการส่วนภูมิภาคกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การรักษาความสงบเรียบร้อย การป้องกันและแก้ไขปัญหากรณีต่าง ๆ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เป็นคนกลางในการไกล่เกลี่ย ประนีประนอมและจัดการระงับปัญหาความขัดแย้งในท้องที่ และยังมีฐานะเป็นตัวแทนของรัฐ ตัวแทนของราษฎรเกี่ยวกับเรื่องร้องทุกข์ ความเดือดร้อนของราษฎรเพื่อนำเสนอต่อส่วนราชการ

หนังสืออ่านประกอบ

1. ธันยวัฒน์ รัตนสัค, การบริหารราชการไทย, (เชียงใหม่ : สำนักวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2555)

2. มานิตย์ จุมปา,คำอธิบายกฎหมายปกครองว่าด้วยการจัดระเบียบราชการบริหาร,(กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548)