ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หัวเมืองชั้นตรี"
หน้าที่ถูกสร้างด้วย ''''เรียบเรียงโดย''' : อาจารย์บุญยเกียรติ การะเวกพันธ...' |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 6: | บรรทัดที่ 6: | ||
==ความหมาย== | ==ความหมาย== | ||
หัวเมืองชั้นตรี คือ หัวเมืองที่อยู่ห่างจากราชธานี | หัวเมืองชั้นตรี คือ หัวเมืองที่อยู่ห่างจากราชธานี [[สมเด็จพระนเรศวรมหาราช]]ทรงแบ่งหัวเมืองที่เดิมเรียกว่า[[เมืองพระยามหานคร]]ออกเป็นชั้นเอก ชั้นโท ชั้นตรี โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวมศูนย์อำนาจทางการปกครองเข้าสู่ราชธานี โดยหัวเมืองชั้นตรีประกอบด้วยพิชัย พิจิตร นครสวรรค์ จันทบูรณ์ ไชยา พัทลุง ชุมพร การปกครองโดยแบ่งหัวเมืองเป็นลำดับชั้นสิ้นสุดเมื่อ[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ทรง[[ปฏิรูปการบริหารราชการส่วนภูมิภาค]]โดยใช้ระบบ “[[มณฑลเทศาภิบาล]]”ใน พ.ศ.2437 | ||
==ความสำคัญ== | ==ความสำคัญ== | ||
บรรทัดที่ 12: | บรรทัดที่ 12: | ||
การจัดการปกครองในสมัยสุโขทัย อยุธยาและรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีการแบ่งหัวเมืองออกเป็นชั้นๆ ตามลำดับความสำคัญของเมือง โดยการแบ่งหัวเมืองเช่นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการจัดระบอบการปกครอง จัดความสัมพันธ์ระหว่างหัวเมืองกับเมืองหลวง เพราะรัฐไม่มีกำลังทหารเพียงพอที่จะไปปกครองโดยตรง จึงต้องใช้ระบบปกครองคล้าย Feudal ในยุโรป | การจัดการปกครองในสมัยสุโขทัย อยุธยาและรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีการแบ่งหัวเมืองออกเป็นชั้นๆ ตามลำดับความสำคัญของเมือง โดยการแบ่งหัวเมืองเช่นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการจัดระบอบการปกครอง จัดความสัมพันธ์ระหว่างหัวเมืองกับเมืองหลวง เพราะรัฐไม่มีกำลังทหารเพียงพอที่จะไปปกครองโดยตรง จึงต้องใช้ระบบปกครองคล้าย Feudal ในยุโรป | ||
ในสมัย[[สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ]] พระองค์ทรงปฏิรูประบบการปกครองทั้งส่วนกลางส่วนภูมิภาค มีการจัดระเบียบความสัมพันธ์ระหว่างราชธานีกับหัวเมืองใหม่ โดยให้พื้นที่รอบกรุงศรีอยุธยาและอาณาเขตเมืองลูกหลวงให้มาขึ้นกับเมืองหลวงโดยตรงเป็นเขตปกครองใหม่เรียกว่า ราชธานี จัดเป็นหัวเมืองชั้นใน ปกครองจากเมืองหลวงโดยตรง | |||
หัวเมืองนอกวงราชธานีออกไปจัดเป็น[[หัวเมืองเอก]]หรือ[[เมืองลูกหลวงเอก]]และ[[เมืองโท]]หรือ[[เมืองลูกหลวงโท]] แต่ไม่ปรากฏว่ามีลูกหลวงออกไปครอง | |||
ไกลออกไปจากราชธานีและเมืองลูกหลวงเอกเมืองลูกหลวงโท จะเป็นเขตหัวเมืองใหญ่ เรียกว่า เมืองพระยามหานคร | ไกลออกไปจากราชธานีและเมืองลูกหลวงเอกเมืองลูกหลวงโท จะเป็นเขตหัวเมืองใหญ่ เรียกว่า เมืองพระยามหานคร | ||
จนถึงสมัยสมเด็จพระนเรศวร ทรงยกเลิกการแบ่งหัวเมืองแบบเดิมเพื่อรวมอำนาจเข้าสู่ส่วนกลาง (Centralization) มากขึ้น | จนถึงสมัยสมเด็จพระนเรศวร ทรงยกเลิกการแบ่งหัวเมืองแบบเดิมเพื่อรวมอำนาจเข้าสู่ส่วนกลาง (Centralization) มากขึ้น โดยยกเลิกเมืองพระยามหานครแล้วแบ่งการปกครองหัวเมืองใหม่เป็น[[หัวเมืองชั้นเอก]] [[หัวเมืองชั้นโท]] [[หัวเมืองชั้นตรี]] | ||
หัวเมืองชั้นเอกคือเมืองพระยามหานครที่มีความสำคัญ เป็นเมืองขนาดใหญ่และคุมอำนาจทางการปกครองที่กว้างขวาง ได้แก่เมืองพิษณุโลกทางเหนือ และนครศรีธรรมราชทางใต้ | หัวเมืองชั้นเอกคือเมืองพระยามหานครที่มีความสำคัญ เป็นเมืองขนาดใหญ่และคุมอำนาจทางการปกครองที่กว้างขวาง ได้แก่เมืองพิษณุโลกทางเหนือ และนครศรีธรรมราชทางใต้ | ||
บรรทัดที่ 26: | บรรทัดที่ 26: | ||
หัวเมืองชั้นตรี คือเมืองที่มีความสำคัญรองลงมาจากหัวเมืองชั้นโท ได้แก่ เมืองพิชัย พิจิตร นครสวรรค์ จันทบูรณ์ ไชยา พัทลุง ชุมพร | หัวเมืองชั้นตรี คือเมืองที่มีความสำคัญรองลงมาจากหัวเมืองชั้นโท ได้แก่ เมืองพิชัย พิจิตร นครสวรรค์ จันทบูรณ์ ไชยา พัทลุง ชุมพร | ||
เจ้าเมืองของหัวเมืองชั้นตรี มีบรรดาศักดิ์เป็นพระยาหรือพระ | เจ้าเมืองของหัวเมืองชั้นตรี มีบรรดาศักดิ์เป็นพระยาหรือพระ ถือ[[ศักดินา]] 5,000 แต่งตั้งจากส่วนกลางหรือราชธานี นอกจากนี้ยังมีตำแหน่งสำคัญรองลงมาเช่น[[ปลัดเมือง]]ถือศักดินา 1,100 ตำแหน่งยกกระบัตรที่ทำหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญทางปกครองและ[[กฎหมาย]] ถูกส่งไปจากราชธานีมีหน้าที่ตรวจสอบการดำเนินการของเจ้าเมือง | ||
รูปแบบการปกครองของหัวเมืองชั้นเอก โท ตรี เป็นรูปแบบที่ย่อส่วนออกไปจากราชธานี | รูปแบบการปกครองของหัวเมืองชั้นเอก โท ตรี เป็นรูปแบบที่ย่อส่วนออกไปจากราชธานี โดยแบ่งการปกครองแบบ[[จตุสดมภ์]]ที่จัดตามส่วนกลางโดยแบ่งเป็น หลวงเมือง หลวงวัง หลวงคลัง หลวงนา และตำแหน่งเจ้าท่าดูแลเรื่องการค้าขายและสัสดีดูแลเรื่องบัญชีคน | ||
เจ้าเมืองในหัวเมืองชั้นตรีจะมีรายได้เหมือนของหัวเมืองชั้นเอกและโท คือ | เจ้าเมืองในหัวเมืองชั้นตรีจะมีรายได้เหมือนของหัวเมืองชั้นเอกและโท คือ | ||
บรรทัดที่ 48: | บรรทัดที่ 48: | ||
หัวเมืองชั้นตรี เจ้าเมืองจะอยู่ภายใต้อำนาจการปกครองและการสั่งราชการจากราชธานี การติดต่อระหว่างราชธานีกับหัวเมืองจะมีอยู่ 2 รูปแบบคือ | หัวเมืองชั้นตรี เจ้าเมืองจะอยู่ภายใต้อำนาจการปกครองและการสั่งราชการจากราชธานี การติดต่อระหว่างราชธานีกับหัวเมืองจะมีอยู่ 2 รูปแบบคือ | ||
(1) จากราชธานีถึงหัวเมือง จะใช้เอกสารที่เรียกว่าท้องตรา ซึ่งออกโดยอัครมหาเสนาบดี (สมุหพระกลาโหมหรือสมุหนายก) หรือเสนาบดีไปถึงเจ้าเมือง ท้องตราจะเป็นคำสั่งหรือข้อมูลต่างๆ | (1) จากราชธานีถึงหัวเมือง จะใช้เอกสารที่เรียกว่าท้องตรา ซึ่งออกโดยอัครมหาเสนาบดี (สมุหพระกลาโหมหรือสมุหนายก) หรือเสนาบดีไปถึงเจ้าเมือง ท้องตราจะเป็นคำสั่งหรือข้อมูลต่างๆ เช่นเรียกให้ข้าราชการมา[[ถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา]] เรียกหาสิ่งของมาใช้ในราชการให้หาเสบียงสำหรับกองทัพ การเกณฑ์เลก ภาษีอากร รายงานน้ำฝนต้นข้าว คือรายงานสภาพผลผลิตทางการเกษตร | ||
การเปิดอ่านท้องตราต้องเปิดต่อหน้ายกกระบัตร เจ้าเมืองต้องตรวจท้องตราว่าถูกต้องตามกฎหมายแล้วจึงปฏิบัติตาม ถ้าเห็นว่าไม่ถูกต้องให้ส่งคืนเมืองหลวงพร้อมกับชี้เหตุแห่งความไม่ถูกต้อง | การเปิดอ่านท้องตราต้องเปิดต่อหน้ายกกระบัตร เจ้าเมืองต้องตรวจท้องตราว่าถูกต้องตามกฎหมายแล้วจึงปฏิบัติตาม ถ้าเห็นว่าไม่ถูกต้องให้ส่งคืนเมืองหลวงพร้อมกับชี้เหตุแห่งความไม่ถูกต้อง | ||
บรรทัดที่ 58: | บรรทัดที่ 58: | ||
เมื่อมีการผลัดแผ่นดิน ข้าราชการในหัวเมืองจะต้องเข้าพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาและหลังจากนั้นจะต้องถือน้ำฯ ทุกๆ 6 เดือน เพื่อแสดงความจงรักภักดี | เมื่อมีการผลัดแผ่นดิน ข้าราชการในหัวเมืองจะต้องเข้าพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาและหลังจากนั้นจะต้องถือน้ำฯ ทุกๆ 6 เดือน เพื่อแสดงความจงรักภักดี | ||
เจ้าเมืองจะต้องส่งรายได้เป็นตัวเงินหรือสิ่งของเข้าสู่พระคลังหลวงในราชธานี เช่น ไม่ไผ่และไม้ในการก่อสร้าง | เจ้าเมืองจะต้องส่งรายได้เป็นตัวเงินหรือสิ่งของเข้าสู่พระคลังหลวงในราชธานี เช่น ไม่ไผ่และไม้ในการก่อสร้าง ผ้าเพื่อเอามาย้อมสีเหลืองถวายเป็นจีวรพระในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพหรือพระศพของ[[พระมหากษัตริย์]]หรือเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ รวมถึงการเกณฑ์คนเข้าร่วมในยามศึกสงคราม เจ้าเมืองยังต้องมีหน้าที่สอดส่องและรายงานเรื่องราวต่างๆต่อราชธานี บำบัดทุกข์บำรุงสุข | ||
ตำแหน่ง | ตำแหน่ง “[[ยกกระบัตร]]” เป็นตำแหน่งที่ถูกแต่งตั้งจากส่วนกลางทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาทางกฎหมายและสอดส่องแล้วรายงานเหตุการณ์ในหัวเมือง เข้าไปยังราชธานี | ||
การจัดระบบการปกครองโดยการแบ่งหัวเมืองออกเป็นชั้นๆ ได้สิ้นสุดลงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ โดยเปลี่ยนเป็นการจัดระบบมณฑลเทศาภิบาลเริ่มต้นอย่างเป็นทางการใน พ.ศ.2437 | การจัดระบบการปกครองโดยการแบ่งหัวเมืองออกเป็นชั้นๆ ได้สิ้นสุดลงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ โดยเปลี่ยนเป็นการจัดระบบมณฑลเทศาภิบาลเริ่มต้นอย่างเป็นทางการใน พ.ศ.2437 |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:57, 7 ธันวาคม 2557
เรียบเรียงโดย : อาจารย์บุญยเกียรติ การะเวกพันธุ์ และคณะ
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : รศ.ดร.ปธาน สุวรรณมงคล
ความหมาย
หัวเมืองชั้นตรี คือ หัวเมืองที่อยู่ห่างจากราชธานี สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงแบ่งหัวเมืองที่เดิมเรียกว่าเมืองพระยามหานครออกเป็นชั้นเอก ชั้นโท ชั้นตรี โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวมศูนย์อำนาจทางการปกครองเข้าสู่ราชธานี โดยหัวเมืองชั้นตรีประกอบด้วยพิชัย พิจิตร นครสวรรค์ จันทบูรณ์ ไชยา พัทลุง ชุมพร การปกครองโดยแบ่งหัวเมืองเป็นลำดับชั้นสิ้นสุดเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปฏิรูปการบริหารราชการส่วนภูมิภาคโดยใช้ระบบ “มณฑลเทศาภิบาล”ใน พ.ศ.2437
ความสำคัญ
การจัดการปกครองในสมัยสุโขทัย อยุธยาและรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีการแบ่งหัวเมืองออกเป็นชั้นๆ ตามลำดับความสำคัญของเมือง โดยการแบ่งหัวเมืองเช่นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการจัดระบอบการปกครอง จัดความสัมพันธ์ระหว่างหัวเมืองกับเมืองหลวง เพราะรัฐไม่มีกำลังทหารเพียงพอที่จะไปปกครองโดยตรง จึงต้องใช้ระบบปกครองคล้าย Feudal ในยุโรป
ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พระองค์ทรงปฏิรูประบบการปกครองทั้งส่วนกลางส่วนภูมิภาค มีการจัดระเบียบความสัมพันธ์ระหว่างราชธานีกับหัวเมืองใหม่ โดยให้พื้นที่รอบกรุงศรีอยุธยาและอาณาเขตเมืองลูกหลวงให้มาขึ้นกับเมืองหลวงโดยตรงเป็นเขตปกครองใหม่เรียกว่า ราชธานี จัดเป็นหัวเมืองชั้นใน ปกครองจากเมืองหลวงโดยตรง
หัวเมืองนอกวงราชธานีออกไปจัดเป็นหัวเมืองเอกหรือเมืองลูกหลวงเอกและเมืองโทหรือเมืองลูกหลวงโท แต่ไม่ปรากฏว่ามีลูกหลวงออกไปครอง
ไกลออกไปจากราชธานีและเมืองลูกหลวงเอกเมืองลูกหลวงโท จะเป็นเขตหัวเมืองใหญ่ เรียกว่า เมืองพระยามหานคร
จนถึงสมัยสมเด็จพระนเรศวร ทรงยกเลิกการแบ่งหัวเมืองแบบเดิมเพื่อรวมอำนาจเข้าสู่ส่วนกลาง (Centralization) มากขึ้น โดยยกเลิกเมืองพระยามหานครแล้วแบ่งการปกครองหัวเมืองใหม่เป็นหัวเมืองชั้นเอก หัวเมืองชั้นโท หัวเมืองชั้นตรี
หัวเมืองชั้นเอกคือเมืองพระยามหานครที่มีความสำคัญ เป็นเมืองขนาดใหญ่และคุมอำนาจทางการปกครองที่กว้างขวาง ได้แก่เมืองพิษณุโลกทางเหนือ และนครศรีธรรมราชทางใต้
หัวเมืองชั้นโท คือเมืองพระยามหานครที่มีความสำคัญรองลงมา มีอยู่ 6 หัวเมือง ทางเหนือมีสวรรคโลก สุโขทัย กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ ทางตะวันออกมีนครราชสีมา และทางใต้มีตะนาวศรี
หัวเมืองชั้นตรี คือเมืองที่มีความสำคัญรองลงมาจากหัวเมืองชั้นโท ได้แก่ เมืองพิชัย พิจิตร นครสวรรค์ จันทบูรณ์ ไชยา พัทลุง ชุมพร
เจ้าเมืองของหัวเมืองชั้นตรี มีบรรดาศักดิ์เป็นพระยาหรือพระ ถือศักดินา 5,000 แต่งตั้งจากส่วนกลางหรือราชธานี นอกจากนี้ยังมีตำแหน่งสำคัญรองลงมาเช่นปลัดเมืองถือศักดินา 1,100 ตำแหน่งยกกระบัตรที่ทำหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญทางปกครองและกฎหมาย ถูกส่งไปจากราชธานีมีหน้าที่ตรวจสอบการดำเนินการของเจ้าเมือง
รูปแบบการปกครองของหัวเมืองชั้นเอก โท ตรี เป็นรูปแบบที่ย่อส่วนออกไปจากราชธานี โดยแบ่งการปกครองแบบจตุสดมภ์ที่จัดตามส่วนกลางโดยแบ่งเป็น หลวงเมือง หลวงวัง หลวงคลัง หลวงนา และตำแหน่งเจ้าท่าดูแลเรื่องการค้าขายและสัสดีดูแลเรื่องบัญชีคน
เจ้าเมืองในหัวเมืองชั้นตรีจะมีรายได้เหมือนของหัวเมืองชั้นเอกและโท คือ
(1) ได้รับเบี้ยหวัด (จ่ายเป็นเงินปี) จากราชธานีจำนวนมากน้อยตามความสำคัญของเมือง
(2) ได้รับสิ่งของพระราชทานจำพวกเสื้อผ้าแพรพรรณ
(3) ภาษีผลผลิตข้าว (ค่านา) เจ้าเมืองจะได้ครึ่งหนึ่งต้องส่งเข้าราชธานีครึ่งหนึ่ง
(4) ทรัพย์สินที่ริบได้ตามกฎหมายตกเป็นของเจ้าเมือง
(5) เมื่อมีการค้ากับต่างประเทศทางเรือ ภาษีขาเข้าที่เก็บตามขนาดปากเรือตกเป็นของเจ้าเมือง
(6) เจ้าเมืองสามารถใช้ประโยชน์จากไพร่หลวงที่เกณฑ์ได้ในเมือง
ความสัมพันธ์ระหว่างราชธานีกับหัวเมือง
หัวเมืองชั้นตรี เจ้าเมืองจะอยู่ภายใต้อำนาจการปกครองและการสั่งราชการจากราชธานี การติดต่อระหว่างราชธานีกับหัวเมืองจะมีอยู่ 2 รูปแบบคือ
(1) จากราชธานีถึงหัวเมือง จะใช้เอกสารที่เรียกว่าท้องตรา ซึ่งออกโดยอัครมหาเสนาบดี (สมุหพระกลาโหมหรือสมุหนายก) หรือเสนาบดีไปถึงเจ้าเมือง ท้องตราจะเป็นคำสั่งหรือข้อมูลต่างๆ เช่นเรียกให้ข้าราชการมาถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา เรียกหาสิ่งของมาใช้ในราชการให้หาเสบียงสำหรับกองทัพ การเกณฑ์เลก ภาษีอากร รายงานน้ำฝนต้นข้าว คือรายงานสภาพผลผลิตทางการเกษตร
การเปิดอ่านท้องตราต้องเปิดต่อหน้ายกกระบัตร เจ้าเมืองต้องตรวจท้องตราว่าถูกต้องตามกฎหมายแล้วจึงปฏิบัติตาม ถ้าเห็นว่าไม่ถูกต้องให้ส่งคืนเมืองหลวงพร้อมกับชี้เหตุแห่งความไม่ถูกต้อง
(2) หนังสือรายงานจากหัวเมืองถึงราชธานีเรียกว่าใบบอก พระราชกำหนดปกครองหัวเมืองกำหนดว่า เจ้าเมืองต้องรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองถ้าเห็นเหลือกำลังให้มีใบบอกรายงานเสนาบดีให้นำความขึ้นกราบบังคมทูล
การแต่งตั้งเจ้าเมืองจะมาจากส่วนกลาง พระมหากษัตริย์จะทรงคัดเลือกจากผู้ที่ไว้วางพระราชหฤทัย แต่ในทางความเป็นจริงแล้ว พระมหากษัตริย์จะเลือกจากผู้นำท้องถิ่นเป็นเจ้าเมือง
เมื่อมีการผลัดแผ่นดิน ข้าราชการในหัวเมืองจะต้องเข้าพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาและหลังจากนั้นจะต้องถือน้ำฯ ทุกๆ 6 เดือน เพื่อแสดงความจงรักภักดี
เจ้าเมืองจะต้องส่งรายได้เป็นตัวเงินหรือสิ่งของเข้าสู่พระคลังหลวงในราชธานี เช่น ไม่ไผ่และไม้ในการก่อสร้าง ผ้าเพื่อเอามาย้อมสีเหลืองถวายเป็นจีวรพระในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพหรือพระศพของพระมหากษัตริย์หรือเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ รวมถึงการเกณฑ์คนเข้าร่วมในยามศึกสงคราม เจ้าเมืองยังต้องมีหน้าที่สอดส่องและรายงานเรื่องราวต่างๆต่อราชธานี บำบัดทุกข์บำรุงสุข
ตำแหน่ง “ยกกระบัตร” เป็นตำแหน่งที่ถูกแต่งตั้งจากส่วนกลางทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาทางกฎหมายและสอดส่องแล้วรายงานเหตุการณ์ในหัวเมือง เข้าไปยังราชธานี
การจัดระบบการปกครองโดยการแบ่งหัวเมืองออกเป็นชั้นๆ ได้สิ้นสุดลงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ โดยเปลี่ยนเป็นการจัดระบบมณฑลเทศาภิบาลเริ่มต้นอย่างเป็นทางการใน พ.ศ.2437
บรรณานุกรม
ลิขิต ธีรเวคิน, วิวัฒนาการการเมืองการปกครองไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 9 แก้ไขเพิ่มเติม ,กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2548.
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี, บันทึกเรื่องการปกครองของไทยสมัยอยุธยาและต้นรัตนโกสินทร์, กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549.
หนังสือแนะนำอ่านเพิ่มเติม
ลิขิต ธีรเวคิน, วิวัฒนาการการเมืองการปกครองไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 9 แก้ไขเพิ่มเติม ,กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2548.
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี, บันทึกเรื่องการปกครองของไทยสมัยอยุธยาและต้นรัตนโกสินทร์, กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549.