ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การสร้างความปรองดองแห่งชาติ: กรณีศึกษาไอร์แลนด์เหนือ สหราชอาณาจักร (ตอนที่ 4)"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Suksan (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Suksan (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
บรรทัดที่ 4: บรรทัดที่ 4:
'''4. ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการสร้างความปรองดองในชาติ'''
'''4. ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการสร้างความปรองดองในชาติ'''


จากการศึกษากระบวนการและเนื้อหาในการสร้างความปรองดองในกรณีของไอร์แลนด์เหนือที่กล่าวมาข้างต้นนั้น สามารถถอดบทเรียนได้ดังต่อไปนี้ ว่ามีเงื่อนไขใดบ้างที่ทำให้ทั้งสองฝ่ายสามารถที่จะยุติความรุนแรงลงได้และป้องกันไม่ให้ความขัดแย้งขยายตัวเป็นความรุนแรงขึ้นอีกในอนาคต  
จากการศึกษากระบวนการและเนื้อหาใน[[การสร้างความปรองดอง]]ในกรณีของไอร์แลนด์เหนือที่กล่าวมาข้างต้นนั้น สามารถถอดบทเรียนได้ดังต่อไปนี้ ว่ามีเงื่อนไขใดบ้างที่ทำให้ทั้งสองฝ่ายสามารถที่จะยุติความรุนแรงลงได้และป้องกันไม่ให้ความขัดแย้งขยายตัวเป็นความรุนแรงขึ้นอีกในอนาคต  


'''4.1 แสดงเจตจำนงทางการเมือง (Political Will) ที่จะปรองดองอย่างจริงจังด้วยคำพูดและการกระทำที่ต่อเนื่อง'''
'''4.1 แสดงเจตจำนงทางการเมือง (Political Will) ที่จะปรองดองอย่างจริงจังด้วยคำพูดและการกระทำที่ต่อเนื่อง'''


การส่งสัญญาณจากรัฐบาลอังกฤษ ดังเช่น การประกาศต่อสาธารณะว่ารัฐบาลไม่มีประโยชน์ส่วนตัวใดๆในทางเศรษฐกิจหรือทางยุทธศาสตร์ซึ่งได้ถูกกล่าวย้ำทางสื่อต่างๆอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการดำเนินการกระบวนการพูดคุยทั้งในทางลับและทางเปิดของรัฐบาลอังกฤษกับทั้งพรรค SF และ IRA เป็นระยะ เท่าที่จังหวะเวลาจะเอื้ออำนวยนั้น เป็นการตอกย้ำถึงเจตนารมณ์ทางการเมืองที่ชัดเจนว่าต้องการที่จะปรองดองอย่างจริงจังทั้งด้วยคำพูดและการกระทำ ซึ่งเจตจำนงทางการเมืองนี้เองทำให้ฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้องเกิดความเชื่อมั่นในนโยบายสันติวิธีของรัฐบาล และป้องกันความสับสนในเชิงยุทธศาสตร์
การส่งสัญญาณจาก[[รัฐบาล]]อังกฤษ ดังเช่น การประกาศต่อสาธารณะว่ารัฐบาลไม่มีประโยชน์ส่วนตัวใดๆในทางเศรษฐกิจหรือทางยุทธศาสตร์ซึ่งได้ถูกกล่าวย้ำทางสื่อต่างๆอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการดำเนินการกระบวนการพูดคุยทั้งในทางลับและทางเปิดของรัฐบาลอังกฤษกับทั้งพรรค SF และ IRA เป็นระยะ เท่าที่จังหวะเวลาจะเอื้ออำนวยนั้น เป็นการตอกย้ำถึงเจตนารมณ์ทางการเมืองที่ชัดเจนว่าต้องการที่จะปรองดองอย่างจริงจังทั้งด้วยคำพูดและการกระทำ ซึ่งเจตจำนงทางการเมืองนี้เองทำให้ฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้องเกิดความเชื่อมั่นใน[[นโยบาย]][[สันติวิธี]]ของรัฐบาล และป้องกันความสับสนในเชิงยุทธศาสตร์


Alex Maskey (สัมภาษณ์, 17 มิถุนายน 2553, กรุงเทพฯ) ได้มีโอกาสพูดคุยกับทีมงานของโทนี่ แบลร์มานานตั้งแต่ก่อนที่จะเป็นนายกรัฐมนตรี จึงทำให้รับรู้ถึงความจริงใจที่จะแก้ไขความขัดแย้ง ประกอบกับเมื่อขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีก็ได้ประกาศจุดยืนชัดเจนว่าต้องการจะพูดคุยเจรจากับพรรค SF ซึ่งในขณะนั้นมีแต่คนต่อต้าน ซึ่งเหตุการณ์ที่เขารู้สึกได้ถึงความจริงใจจริงๆคือเมื่อตอนที่แบลร์อนุญาตเป็นกรณีพิเศษให้เขาเดินทางเข้าทำเนียบรัฐบาลที่ลอนดอนได้ หรือการที่รัฐบาลเชิญบิล คลินตัน ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาให้เดินทางไปเยี่ยมเจอร์รี่ อดัมส์ หัวหน้าพรรค SF ที่กรุงเบลฟาสต์ได้ ซึ่งทำให้ทางฝ่ายไอริชคาทอลิกรู้สึกว่ามีตัวตน ได้รับการยอมรับว่ามีสิทธิที่จะพูดได้ (Recognition of the rights of people to speak)  
Alex Maskey (สัมภาษณ์, 17 มิถุนายน 2553, กรุงเทพฯ) ได้มีโอกาสพูดคุยกับทีมงานของโทนี่ แบลร์มานานตั้งแต่ก่อนที่จะเป็น[[นายกรัฐมนตรี]] จึงทำให้รับรู้ถึงความจริงใจที่จะแก้ไขความขัดแย้ง ประกอบกับเมื่อขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีก็ได้ประกาศจุดยืนชัดเจนว่าต้องการจะพูดคุยเจรจากับพรรค SF ซึ่งในขณะนั้นมีแต่คนต่อต้าน ซึ่งเหตุการณ์ที่เขารู้สึกได้ถึงความจริงใจจริงๆคือเมื่อตอนที่แบลร์อนุญาตเป็นกรณีพิเศษให้เขาเดินทางเข้า[[ทำเนียบรัฐบาล]]ที่ลอนดอนได้ หรือการที่รัฐบาลเชิญบิล คลินตัน ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาให้เดินทางไปเยี่ยมเจอร์รี่ อดัมส์ หัวหน้าพรรค SF ที่กรุงเบลฟาสต์ได้ ซึ่งทำให้ทางฝ่ายไอริชคาทอลิกรู้สึกว่ามีตัวตน ได้รับการยอมรับว่ามีสิทธิที่จะพูดได้ (Recognition of the rights of people to speak)  


ทั้งนี้ การที่ผู้นำรัฐบาลจะแสดงเจตจำนงทางการเมืองชัดเจนที่จะยุติความรุนแรงและสร้างความปรองดองท่ามกลางการปะทะต่อสู้ของทั้งสองฝ่ายได้นั้น จะต้องอาศัยภาวะผู้นำและความกล้าหาญอย่างมากที่จะต้องอดทนกับแรงเสียดทานจากฝ่ายต่างๆ ยอมรับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นจากสภาวะที่ไม่แน่นอนในสถานการณ์ความขัดแย้งรุนแรง (Peter Robinson, สัมภาษณ์, 28 กุมภาพันธ์ 2554, เบลฟาสต์) ตลอดจนการจัดการกับความรู้สึกของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นความกลัว ความกังวลใจ หรือความรู้สึกอคติใดๆที่อาจเกิดขึ้นภายในจิตใจจนอาจเป็นอุปสรรคต่อความตั้งใจในการสร้างสันติภาพได้ ซึ่งภาวะผู้นำนี้เองจะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะกำหนดว่ากระบวนการสันติภาพจะเดินไปในทิศทางใด (Jeffrey Donaldson, สัมภาษณ์, 28 กุมภาพันธ์ 2554, เบลฟาสต์)  
ทั้งนี้ การที่ผู้นำรัฐบาลจะแสดง[[เจตจำนงทางการเมือง]]ชัดเจนที่จะ[[ยุติความรุนแรง]]และสร้าง[[ความปรองดอง]]ท่ามกลางการปะทะต่อสู้ของทั้งสองฝ่ายได้นั้น จะต้องอาศัยภาวะผู้นำและความกล้าหาญอย่างมากที่จะต้องอดทนกับแรงเสียดทานจากฝ่ายต่างๆ ยอมรับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นจากสภาวะที่ไม่แน่นอนในสถานการณ์ความขัดแย้งรุนแรง (Peter Robinson, สัมภาษณ์, 28 กุมภาพันธ์ 2554, เบลฟาสต์) ตลอดจนการจัดการกับความรู้สึกของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นความกลัว ความกังวลใจ หรือความรู้สึกอคติใดๆที่อาจเกิดขึ้นภายในจิตใจจนอาจเป็นอุปสรรคต่อความตั้งใจในการสร้างสันติภาพได้ ซึ่งภาวะผู้นำนี้เองจะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะกำหนดว่ากระบวนการสันติภาพจะเดินไปในทิศทางใด (Jeffrey Donaldson, สัมภาษณ์, 28 กุมภาพันธ์ 2554, เบลฟาสต์)  


'''4.2  สร้างกระบวนการที่ครอบคลุมทุกฝ่าย (Inclusivity) และฟังกันให้จริงจัง'''
'''4.2  สร้างกระบวนการที่ครอบคลุมทุกฝ่าย (Inclusivity) และฟังกันให้จริงจัง'''


ผู้เกี่ยวข้องต้องหาช่องทางให้พวกสุดขั้วที่มีความคิดแข็งกร้าว (Hardliner) ได้เข้ามามีส่วนในกระบวนการพูดคุย ไม่ว่าจะเป็นการเข้ามาเป็นคู่เจรจาพูดคุยโดยตรง หรือการให้กลุ่มที่มีแนวคิดเดียวกันแต่มีลักษณะประนีประนอมมากกว่าเข้ามาเป็นคู่สนทนาแต่สามารถกลับไปสื่อสารถึงกลุ่มสุดขั้วดังกล่าวได้ กล่าวคือ ต้องหาทางอย่างใดอย่างหนึ่งให้กลุ่มสุดขั้วจากทั้งสองฝ่ายได้รับรู้ถึงข้อมูลและความคืบหน้าของกระบวนการพูดคุยไม่ทางตรงก็ทางอ้อม เพื่อให้มีส่วนในการคิด พิจารณา และตัดสินใจในทางออกใดๆที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อการยุติแนวทางการใช้ความรุนแรงได้จริง ไม่ใช่มานั่งคุยกันเองกับพวกที่แนวคิดประนีประนอมด้วยกันเองเท่านั้น เพราะจะไม่สามารถโน้มน้าวกลุ่มที่มีบทบาทในการควบคุมฝ่ายปฏิบัติการที่ใช้ความรุนแรงได้จริง
ผู้เกี่ยวข้องต้องหาช่องทางให้พวกสุดขั้วที่มีความคิดแข็งกร้าว (Hardliner) ได้เข้ามามีส่วนในกระบวนการพูดคุย ไม่ว่าจะเป็นการเข้ามาเป็นคู่เจรจาพูดคุยโดยตรง หรือการให้กลุ่มที่มีแนวคิดเดียวกันแต่มีลักษณะ[[ประนีประนอม]]มากกว่าเข้ามาเป็นคู่สนทนาแต่สามารถกลับไปสื่อสารถึงกลุ่มสุดขั้วดังกล่าวได้ กล่าวคือ ต้องหาทางอย่างใดอย่างหนึ่งให้กลุ่มสุดขั้วจากทั้งสองฝ่ายได้รับรู้ถึงข้อมูลและความคืบหน้าของกระบวนการพูดคุยไม่ทางตรงก็ทางอ้อม เพื่อให้มีส่วนในการคิด พิจารณา และตัดสินใจในทางออกใดๆที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อการยุติแนวทางการใช้ความรุนแรงได้จริง ไม่ใช่มานั่งคุยกันเองกับพวกที่แนวคิดประนีประนอมด้วยกันเองเท่านั้น เพราะจะไม่สามารถโน้มน้าวกลุ่มที่มีบทบาทในการควบคุมฝ่ายปฏิบัติการที่ใช้ความรุนแรงได้จริง


ด้วยเหตุนี้ กระบวนการสร้างความปรองดองสมานฉันท์จึงจะสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อเปิดให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายได้เข้ามามีส่วนร่วมเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการ ซึ่งแม้ว่าจะไม่ใช่ทุกคนแต่ก็ต้องเป็นในสัดส่วนที่เพียงพอต่อการเกิดการเปลี่ยนแปลง ไม่ปฏิเสธหรือกีดกั้นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งออกไป การเปิดพื้นที่ให้แก่ทุกฝ่ายถือเป็นเครื่องมือสำคัญที่ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนถกเถียงความเห็นที่แตกต่างได้ด้วยสันติวิธี ซึ่งในกรณีของการเจรจาที่นำไปสู่ข้อตกลง Good Friday และข้อตกลง St Andrews นั้นได้มีการพูดคุยกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งอังกฤษ ไอร์แลนด์ และพรรคการเมืองต่างๆในไอร์แลนด์เหนือ รวมถึงพรรคที่มีแนวคิดสุดขั้วเช่น พรรค DUP และ SF ทั้งนี้ การที่จะเอาทุกฝ่ายเข้ามาร่วมและเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการได้นั้น ถือเป็นเรื่องที่พูดง่ายแต่ทำยาก เพราะต้องร่วมทำงานกับคนที่เรามองว่าคิดไม่เหมือนกับเรา เป็นศัตรูของเรา เป็นคนที่ทำร้ายคนที่เรารัก เป็นภัยต่ออัตลักษณ์ของเรา (Ian White, สัมภาษณ์, 17 มิถุนายน 2553, กรุงเทพฯ) แต่ด้วยหลักการดังกล่าวก็มีผลทำให้ข้อตกลงที่เกิดขึ้นสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้จริงในที่สุด ซึ่งฝ่ายต่างๆในไอร์แลนด์เหนือเองก็ต้องใช้เวลากว่า 30 ปีจึงจะทำใจยอมรับในความจริงข้อนี้ได้
ด้วยเหตุนี้ กระบวนการสร้างความปรองดอง[[สมานฉันท์]]จึงจะสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อเปิดให้[[ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย]]ทุกฝ่ายได้เข้ามามีส่วนร่วมเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการ ซึ่งแม้ว่าจะไม่ใช่ทุกคนแต่ก็ต้องเป็นในสัดส่วนที่เพียงพอต่อการเกิดการเปลี่ยนแปลง ไม่ปฏิเสธหรือกีดกั้นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งออกไป การเปิดพื้นที่ให้แก่ทุกฝ่ายถือเป็นเครื่องมือสำคัญที่ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนถกเถียงความเห็นที่แตกต่างได้ด้วยสันติวิธี ซึ่งในกรณีของการเจรจาที่นำไปสู่ข้อตกลง Good Friday และข้อตกลง St Andrews นั้นได้มีการพูดคุยกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งอังกฤษ ไอร์แลนด์ และ[[พรรคการเมือง]]ต่างๆในไอร์แลนด์เหนือ รวมถึงพรรคที่มีแนวคิดสุดขั้วเช่น พรรค DUP และ SF ทั้งนี้ การที่จะเอาทุกฝ่ายเข้ามาร่วมและเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการได้นั้น ถือเป็นเรื่องที่พูดง่ายแต่ทำยาก เพราะต้องร่วมทำงานกับคนที่เรามองว่าคิดไม่เหมือนกับเรา เป็นศัตรูของเรา เป็นคนที่ทำร้ายคนที่เรารัก เป็นภัยต่ออัตลักษณ์ของเรา (Ian White, สัมภาษณ์, 17 มิถุนายน 2553, กรุงเทพฯ) แต่ด้วยหลักการดังกล่าวก็มีผลทำให้ข้อตกลงที่เกิดขึ้นสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้จริงในที่สุด ซึ่งฝ่ายต่างๆในไอร์แลนด์เหนือเองก็ต้องใช้เวลากว่า 30 ปีจึงจะทำใจยอมรับในความจริงข้อนี้ได้


จะเห็นจากสาเหตุส่วนหนึ่งที่ข้อตกลง Sunningdale ไม่สามารถเดินหน้าได้ก็เนื่องจากความพยายามของรัฐบาลอังกฤษที่ต้องการจะจำกัดบทบาทของกลุ่มสุดขั้วต่างๆโดยปฏิเสธไม่ให้เข้ามามีส่วนในการพูดคุยเจรจา ซึ่งแตกต่างจากข้อตกลง Good Friday ที่มีทุกกลุ่มที่แตกต่างกันทั้งในแง่ของเป้าหมายและวิธีการจากทั้งสองฝ่ายเข้ามามีส่วนรับรู้กระบวนการตั้งแต่แรกเริ่ม ส่งผลให้ข้อตกลงที่เกิดขึ้นได้รับการยอมรับแม้จะไม่ใช่จากทุกคน แต่ก็เป็นการยอมรับที่อยู่ในระดับที่สามารถนำมาปฏิบัติให้การแก้ไขปัญหาเดินหน้าต่อไปได้ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าการทำงานกับกลุ่มคนที่มีความคิดความเชื่อกลางๆประนีประนอมและไม่ได้มีความสัมพันธ์กับกองกำลัง เช่น กรณีของพรรค UUP และ SDLP โดยมองว่ากลุ่มคนเหล่านี้จะสามารถนำคนที่สุดขั้วของแต่ละฝ่ายมาพูดคุยกันได้นั้น อาจจะไม่ประสบความสำเร็จเสมอไปก็ได้ การที่สถานการณ์บังคับให้ทั้งสองฝ่ายที่สุดโต่งต้องมาคุยกัน และมาทำงานด้วยกันโดยตรงเลยต่างหากที่อาจจะนำมาซึ่งความสำเร็จ เพราะสามารถที่จะสื่อสารกับกลุ่มที่ติดอาวุธได้
จะเห็นจากสาเหตุส่วนหนึ่งที่ข้อตกลง Sunningdale ไม่สามารถเดินหน้าได้ก็เนื่องจากความพยายามของรัฐบาลอังกฤษที่ต้องการจะจำกัดบทบาทของกลุ่มสุดขั้วต่างๆโดยปฏิเสธไม่ให้เข้ามามีส่วนในการพูดคุยเจรจา ซึ่งแตกต่างจากข้อตกลง Good Friday ที่มีทุกกลุ่มที่แตกต่างกันทั้งในแง่ของเป้าหมายและวิธีการจากทั้งสองฝ่ายเข้ามามีส่วนรับรู้กระบวนการตั้งแต่แรกเริ่ม ส่งผลให้ข้อตกลงที่เกิดขึ้นได้รับการยอมรับแม้จะไม่ใช่จากทุกคน แต่ก็เป็นการยอมรับที่อยู่ในระดับที่สามารถนำมาปฏิบัติให้การแก้ไขปัญหาเดินหน้าต่อไปได้ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าการทำงานกับกลุ่มคนที่มีความคิดความเชื่อกลางๆประนีประนอมและไม่ได้มีความสัมพันธ์กับกองกำลัง เช่น กรณีของพรรค UUP และ SDLP โดยมองว่ากลุ่มคนเหล่านี้จะสามารถนำคนที่สุดขั้วของแต่ละฝ่ายมาพูดคุยกันได้นั้น อาจจะไม่ประสบความสำเร็จเสมอไปก็ได้ การที่สถานการณ์บังคับให้ทั้งสองฝ่ายที่สุดโต่งต้องมาคุยกัน และมาทำงานด้วยกันโดยตรงเลยต่างหากที่อาจจะนำมาซึ่งความสำเร็จ เพราะสามารถที่จะสื่อสารกับกลุ่มที่ติดอาวุธได้


การส่งสัญญาณจากรัฐบาลที่ทำให้การพูดคุยสันติภาพระหว่าง IRA กับรัฐบาลเกิดขึ้นได้อย่างจริงจังก็คือ ตอนที่รัฐบาลแถลงยอมรับว่ามีความไม่เป็นธรรมเกิดขึ้นในพื้นที่จริงๆ มีความพยายามในการออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขความไม่เป็นธรรมเหล่านั้น พยายามสร้างโอกาสและความเท่าเทียมกันทางสังคมวัฒนธรรม โดยการดำเนินการของรัฐบาลที่ทำให้ทาง IRA เกิดความไว้วางใจมากยิ่งขึ้นว่าต้องการยุติปัญหาจริงๆก็คือการที่รัฐบาลได้เชิญนักโทษการเมืองจากในคุกให้บินไปคุยกันที่ดาวนิ่ง ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งเป็นท่าที (Gesture) ที่สำคัญอย่างมาก เนื่องจากนักโทษการเมืองจะต้องมีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการสันติภาพด้วย การกระทำทั้งหมดเหล่านี้ของรัฐบาลถือเป็นการสิ่งที่ดีมากเนื่องจากเป็นการสร้างเงื่อนไขหรือบรรยากาศที่เอื้อต่อการสร้างสันติภาพให้ทั้งสองฝ่ายสามารถเริ่มต้นทำงานด้วยกันได้บนพื้นฐานของความจริงใจ (Michael Culbert, สัมภาษณ์, 28 กุมภาพันธ์ 2554, เบลฟาสต์)
การส่งสัญญาณจากรัฐบาลที่ทำให้การพูดคุยสันติภาพระหว่าง IRA กับรัฐบาลเกิดขึ้นได้อย่างจริงจังก็คือ ตอนที่รัฐบาลแถลงยอมรับว่ามีความไม่เป็นธรรมเกิดขึ้นในพื้นที่จริงๆ มีความพยายามในการออก[[กฎหมาย]]ที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขความไม่เป็นธรรมเหล่านั้น พยายามสร้างโอกาสและ[[ความเท่าเทียม]]กันทางสังคมวัฒนธรรม โดยการดำเนินการของรัฐบาลที่ทำให้ทาง IRA เกิดความไว้วางใจมากยิ่งขึ้นว่าต้องการยุติปัญหาจริงๆก็คือการที่รัฐบาลได้เชิญ[[นักโทษการเมือง]]จากในคุกให้บินไปคุยกันที่ดาวนิ่ง [[ทำเนียบรัฐบาล]] ซึ่งเป็นท่าที (Gesture) ที่สำคัญอย่างมาก เนื่องจากนักโทษการเมืองจะต้องมีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการสันติภาพด้วย การกระทำทั้งหมดเหล่านี้ของรัฐบาลถือเป็นการสิ่งที่ดีมากเนื่องจากเป็นการสร้างเงื่อนไขหรือบรรยากาศที่เอื้อต่อการสร้างสันติภาพให้ทั้งสองฝ่ายสามารถเริ่มต้นทำงานด้วยกันได้บนพื้นฐานของความจริงใจ (Michael Culbert, สัมภาษณ์, 28 กุมภาพันธ์ 2554, เบลฟาสต์)


อย่างไรก็ตาม นอกจากการมีกระบวนการที่เปิดให้ทุกฝ่ายมาร่วมพูดคุยกันแล้ว แต่ละฝ่ายจะต้องรับฟังกันอย่างจริงจังบนพื้นฐานของการให้เกียรติกันและกันด้วย (Alex Maskey, สัมภาษณ์, 17 มิถุนายน 2553, กรุงเทพฯ) ในอดีตที่ผ่านมาท่ามกลางการต่อสู้รุนแรง บ่อยครั้งที่เรา “ได้ยิน” อีกฝ่าย แต่กลับ “ไม่ได้ฟัง” ความรู้สึกกันจริงๆ ซึ่ง “สิ่งที่ยากที่สุดคือการยอมรับฟังในสิ่งที่เราไม่ต้องการจะฟังหรือฟังแล้วรู้สึกเจ็บปวด แต่หากเราไม่รับฟังเสียแล้ว เราจะจัดการกับปัญหาได้อย่างไร ถึงเราทำเป็นเพิกเฉยไม่สนใจกับสิ่งที่ได้ยิน สิ่งนั้นก็มิได้หายไปจากเรา ก้าวแรกสู่สันติภาพจึงต้องเป็นการเริ่มต้นรับฟังกันอย่างจริงๆจังๆ” (Ian White, สัมภาษณ์, 17 มิถุนายน 2553, กรุงเทพฯ) สอดคล้องกับที่ Jimmy Spratt (สัมภาษณ์, 16 มิถุนายน 2553, กรุงเทพฯ) กล่าวว่าบทเรียนสำคัญสำหรับเขาก็คือ การต้องปรับเปลี่ยนวิธีคิดของตัวเอง ต้องพร้อมที่จะฟังความเห็นจากคนที่คิดไม่เหมือนกัน แตกต่างจากเราทั้งวัฒนธรรมและแนวคิด ต้องใจเย็นและอดทนเรียนรู้เสียงที่แตกต่าง สันติภาพจึงจะเกิดขึ้นได้   
อย่างไรก็ตาม นอกจากการมีกระบวนการที่เปิดให้ทุกฝ่ายมาร่วมพูดคุยกันแล้ว แต่ละฝ่ายจะต้องรับฟังกันอย่างจริงจังบนพื้นฐานของการให้เกียรติกันและกันด้วย (Alex Maskey, สัมภาษณ์, 17 มิถุนายน 2553, กรุงเทพฯ) ในอดีตที่ผ่านมาท่ามกลางการต่อสู้รุนแรง บ่อยครั้งที่เรา “ได้ยิน” อีกฝ่าย แต่กลับ “ไม่ได้ฟัง” ความรู้สึกกันจริงๆ ซึ่ง “สิ่งที่ยากที่สุดคือการยอมรับฟังในสิ่งที่เราไม่ต้องการจะฟังหรือฟังแล้วรู้สึกเจ็บปวด แต่หากเราไม่รับฟังเสียแล้ว เราจะจัดการกับปัญหาได้อย่างไร ถึงเราทำเป็นเพิกเฉยไม่สนใจกับสิ่งที่ได้ยิน สิ่งนั้นก็มิได้หายไปจากเรา ก้าวแรกสู่สันติภาพจึงต้องเป็นการเริ่มต้นรับฟังกันอย่างจริงๆจังๆ” (Ian White, สัมภาษณ์, 17 มิถุนายน 2553, กรุงเทพฯ) สอดคล้องกับที่ Jimmy Spratt (สัมภาษณ์, 16 มิถุนายน 2553, กรุงเทพฯ) กล่าวว่าบทเรียนสำคัญสำหรับเขาก็คือ การต้องปรับเปลี่ยนวิธีคิดของตัวเอง ต้องพร้อมที่จะฟังความเห็นจากคนที่คิดไม่เหมือนกัน แตกต่างจากเราทั้งวัฒนธรรมและแนวคิด ต้องใจเย็นและอดทนเรียนรู้เสียงที่แตกต่าง สันติภาพจึงจะเกิดขึ้นได้   
บรรทัดที่ 28: บรรทัดที่ 28:
'''4.3 เหตุแห่งความไม่เป็นธรรมได้รับการแก้ไขในเชิงโครงสร้าง'''
'''4.3 เหตุแห่งความไม่เป็นธรรมได้รับการแก้ไขในเชิงโครงสร้าง'''


ความไม่เป็นธรรมและการกดขี่กีดกันที่มีต่อชาวคาทอลิกได้รับการแก้ไขไปส่วนหนึ่งจากมาตรการต่างๆของรัฐบาลอังกฤษควบคู่กันไปในสถานการณ์ความขัดแย้ง ไม่ว่าจะเป็นความพยายามในการเพิ่มโอกาสในการจ้างงาน และการจัดสรรที่อยู่อาศัยให้มีความเป็นธรรมมากขึ้น แต่ที่สำคัญคือการขจัดเงื่อนไขแห่งความไม่เป็นธรรมในระดับโครงสร้าง คือ การปฏิรูปโครงสร้างการบริหารปกครองที่ให้ทั้งสองฝ่ายได้แบ่งอำนาจทางการเมือง ซึ่งลดความรู้สึกเหลื่อมล้ำไม่เป็นธรรมทางการเมืองลงได้ และในส่วนของการปฏิรูปองค์กรตำรวจซึ่งเป็นกลไกรัฐที่ก่อให้เกิดความรู้สึกของคนไอริชคาทอลิกว่าถูกเลือกปฏิบัติในอดีต ผลจากการลดเงื่อนไขความไม่เป็นธรรมอย่างต่อเนื่องได้เป็นปัจจัยสำคัญที่เอื้อให้ฝ่ายที่รู้สึกถูกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมผ่อนคลายลง รู้สึกว่ามีคนรับฟังเสียงของตนเอง และหันหน้ามาทำงานร่วมกันได้ง่ายขึ้น (Alex Maskey, สัมภาษณ์, 17 มิถุนายน 2553, กรุงเทพฯ)
[[ความไม่เป็นธรรม]]และการกดขี่กีดกันที่มีต่อชาวคาทอลิกได้รับการแก้ไขไปส่วนหนึ่งจากมาตรการต่างๆของ[[รัฐบาล]]อังกฤษควบคู่กันไปในสถานการณ์ความขัดแย้ง ไม่ว่าจะเป็นความพยายามในการเพิ่มโอกาสในการจ้างงาน และการจัดสรรที่อยู่อาศัยให้มี[[ความเป็นธรรม]]มากขึ้น แต่ที่สำคัญคือการขจัดเงื่อนไขแห่งความไม่เป็นธรรมในระดับโครงสร้าง คือ [[การปฏิรูปโครงสร้างการบริหารปกครอง]]ที่ให้ทั้งสองฝ่ายได้แบ่งอำนาจทางการเมือง ซึ่งลดความรู้สึกเหลื่อมล้ำไม่เป็นธรรมทางการเมืองลงได้ และในส่วนของ[[การปฏิรูปองค์กรตำรวจ]]ซึ่งเป็นกลไกรัฐที่ก่อให้เกิดความรู้สึกของคนไอริชคาทอลิกว่าถูกเลือกปฏิบัติในอดีต ผลจากการลดเงื่อนไขความไม่เป็นธรรมอย่างต่อเนื่องได้เป็นปัจจัยสำคัญที่เอื้อให้ฝ่ายที่รู้สึกถูกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมผ่อนคลายลง รู้สึกว่ามีคนรับฟังเสียงของตนเอง และหันหน้ามาทำงานร่วมกันได้ง่ายขึ้น (Alex Maskey, สัมภาษณ์, 17 มิถุนายน 2553, กรุงเทพฯ)


''' 4.4 ทำให้ทุกฝ่ายเห็นว่ามีทางเลือกอื่นที่เป็นไปได้ในการบรรลุเป้าหมายนอกจากการใช้ความรุนแรง'''
''' 4.4 ทำให้ทุกฝ่ายเห็นว่ามีทางเลือกอื่นที่เป็นไปได้ในการบรรลุเป้าหมายนอกจากการใช้ความรุนแรง'''


''“ความรุนแรงที่เกิดขึ้นเป็นเพราะอังกฤษไม่ฟังเรา เราจำเป็นต้องสร้างพื้นที่ของเรา เราจำเป็นต้องเปิดพื้นที่ให้ได้ ในอดีตเราเห็นว่าอังกฤษไม่มีทางที่จะยอมรับว่าละเมิดสิทธิของเรา ไม่มีวันที่จะริเริ่มแก้ไขปัญหาด้วยตัวเอง เราจึงต้องทำให้อังกฤษฟังเราซึ่งเราก็ทำได้ดี เราถูกสถานการณ์บังคับให้ทำแบบนี้ แต่เมื่อเรามีพื้นที่ระดับหนึ่งแล้ว เมื่อเวลาผ่านไป เราก็เริ่มคิดว่าแล้วเราจะทำอย่างไรต่อไป เพราะแม้เราจะรู้ว่าอังกฤษเอาชนะเราไม่ได้ แต่ก็ได้ตระหนักแล้วว่าเราเองก็เอาชนะอังกฤษไม่ได้ด้วยกำลังทหารเช่นกัน เราต้องหาแนวทางอื่น”''
''''“ความรุนแรงที่เกิดขึ้นเป็นเพราะอังกฤษไม่ฟังเรา เราจำเป็นต้องสร้างพื้นที่ของเรา เราจำเป็นต้องเปิดพื้นที่ให้ได้ ในอดีตเราเห็นว่าอังกฤษไม่มีทางที่จะยอมรับว่าละเมิดสิทธิของเรา ไม่มีวันที่จะริเริ่มแก้ไขปัญหาด้วยตัวเอง เราจึงต้องทำให้อังกฤษฟังเราซึ่งเราก็ทำได้ดี เราถูกสถานการณ์บังคับให้ทำแบบนี้ แต่เมื่อเรามีพื้นที่ระดับหนึ่งแล้ว เมื่อเวลาผ่านไป เราก็เริ่มคิดว่าแล้วเราจะทำอย่างไรต่อไป เพราะแม้เราจะรู้ว่าอังกฤษเอาชนะเราไม่ได้ แต่ก็ได้ตระหนักแล้วว่าเราเองก็เอาชนะอังกฤษไม่ได้ด้วยกำลังทหารเช่นกัน เราต้องหาแนวทางอื่น”''''


Evelyn Glenholmes อดีตสมาชิก IRA หญิงที่ทางหน่วยสก็อตแลนด์ยาร์ดต้องการตัวมากที่สุดในปี 2527
Evelyn Glenholmes อดีตสมาชิก IRA หญิงที่ทางหน่วยสก็อตแลนด์ยาร์ดต้องการตัวมากที่สุดในปี 2527
บรรทัดที่ 42: บรรทัดที่ 42:
การจะเปลี่ยนแปลงความเชื่อนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผู้ที่ใช้ความรุนแรง 1) ตระหนักแล้วว่าวิธีนี้ไม่สามารถนำมาซึ่งสิ่งที่ตนต้องการจากการใช้กำลังได้จนเกิดความเหนื่อยล้าจากการต่อสู้ที่ไม่เห็นทางออก และ/หรือ 2) มองเห็นว่ามีทางเลือกอื่นที่เป็นไปได้จริงในการบรรลุเป้าหมายนอกเหนือจากการใช้ความรุนแรง อาจจะด้วยการสร้างแรงกระตุ้นจูงใจให้หันไปเดินตามแนวทางสันติวิธี  
การจะเปลี่ยนแปลงความเชื่อนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผู้ที่ใช้ความรุนแรง 1) ตระหนักแล้วว่าวิธีนี้ไม่สามารถนำมาซึ่งสิ่งที่ตนต้องการจากการใช้กำลังได้จนเกิดความเหนื่อยล้าจากการต่อสู้ที่ไม่เห็นทางออก และ/หรือ 2) มองเห็นว่ามีทางเลือกอื่นที่เป็นไปได้จริงในการบรรลุเป้าหมายนอกเหนือจากการใช้ความรุนแรง อาจจะด้วยการสร้างแรงกระตุ้นจูงใจให้หันไปเดินตามแนวทางสันติวิธี  


ในประเด็นแรกนั้น การตระหนักรู้ดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นได้ด้วยการคิดวิเคราะห์โดยตัวคู่ขัดแย้งเองและด้วยการพยายามสื่อสารและการดำเนินกิจกรรมโดยภาคส่วนต่างๆที่นำพาให้ทั้งสองฝ่ายมาสู่จุดที่ทั้งสองฝ่ายตระหนักดีแล้วว่าไม่มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะสามารถเอาชนะอีกฝ่ายได้ กล่าวคือ ในช่วงแรกทางกองทัพก็คิดว่าจะสามารถปราบปรามกลุ่มก่อความไม่สงบนี้ได้ แต่สุดท้ายก็ประจักษ์ชัดว่า ‘ยิ่งปราบก็ยิ่งเกิด’ สุดท้ายก็จะมีคนใหม่ๆที่ลุกขึ้นมาทำตามสิ่งที่ตัวเองเชื่อต่อไป ดังนั้น เมื่อการต่อสู้ดำเนินไประยะหนึ่ง ทางกองทัพอังกฤษก็ได้ตระหนักแล้วว่าความขัดแย้งในไอร์แลนด์เหนือไม่อาจยุติลงได้ด้วยการทหาร และได้ยืนยันกับรัฐบาลเสมอมาว่าต้องมีทางออกทางการเมืองต่อปัญหาดังกล่าว โดยเห็นด้วยกับกระบวนการพูดคุยแต่ต้องหยุดใช้ความรุนแรงก่อนจึงจะมาคุยกันได้ (Jeffrey Donaldson, สัมภาษณ์, 28 กุมภาพันธ์ 2554, เบลฟาสต์)
ในประเด็นแรกนั้น การตระหนักรู้ดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นได้ด้วยการคิดวิเคราะห์โดยตัวคู่ขัดแย้งเองและด้วยการพยายามสื่อสารและการดำเนินกิจกรรมโดยภาคส่วนต่างๆที่นำพาให้ทั้งสองฝ่ายมาสู่จุดที่ทั้งสองฝ่ายตระหนักดีแล้วว่าไม่มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะสามารถเอาชนะอีกฝ่ายได้ กล่าวคือ ในช่วงแรกทางกองทัพก็คิดว่าจะสามารถปราบปรามกลุ่มก่อความไม่สงบนี้ได้ แต่สุดท้ายก็ประจักษ์ชัดว่า ‘ยิ่งปราบก็ยิ่งเกิด’ สุดท้ายก็จะมีคนใหม่ๆที่ลุกขึ้นมาทำตามสิ่งที่ตัวเองเชื่อต่อไป ดังนั้น เมื่อการต่อสู้ดำเนินไประยะหนึ่ง ทางกองทัพอังกฤษก็ได้ตระหนักแล้วว่า[[ความขัดแย้ง]]ในไอร์แลนด์เหนือไม่อาจยุติลงได้ด้วยการทหาร และได้ยืนยันกับรัฐบาลเสมอมาว่าต้องมีทางออกทางการเมืองต่อปัญหาดังกล่าว โดยเห็นด้วยกับกระบวนการพูดคุยแต่ต้องหยุดใช้ความรุนแรงก่อนจึงจะมาคุยกันได้ (Jeffrey Donaldson, สัมภาษณ์, 28 กุมภาพันธ์ 2554, เบลฟาสต์)


ในขณะที่ทาง Republican ตั้งใจที่จะใช้การต่อสู้ด้วยอาวุธเป็นวิธีการไปสู่เป้าหมายทางการเมือง (Alex Maskey, 17 มิถุนายน 2553, กรุงเทพฯ) แต่ภายหลังก็เริ่มตระหนักแล้วเช่นเดียวกันว่าหากยังคงแนวทางการต่อสู้ด้วยอาวุธต่อไปคงไม่สามารถทำให้บรรลุเป้าหมายทางการเมืองของตนได้ (Michael Culbert, สัมภาษณ์, 28 กุมภาพันธ์ 2554, เบลฟาสต์) ประกอบกับความพยายามของผู้นำศาสนา นักวิชาการ หรือองค์กรพัฒนาเอกชนหลายส่วนที่ริเริ่มให้เกิดการพูดคุยแลกเปลี่ยนทัศนคติทั้งภายในฝ่ายเดียวกันเองและระหว่างทั้งสองฝ่าย (Ian White, สัมภาษณ์, 17 มิถุนายน 2553, กรุงเทพฯ) สุดท้ายก็ส่งผลให้คู่ขัดแย้งได้ตระหนักว่าเป้าหมายของตนไม่อาจได้มาด้วยความรุนแรง  
ในขณะที่ทาง Republican ตั้งใจที่จะใช้การต่อสู้ด้วยอาวุธเป็นวิธีการไปสู่เป้าหมายทางการเมือง (Alex Maskey, 17 มิถุนายน 2553, กรุงเทพฯ) แต่ภายหลังก็เริ่มตระหนักแล้วเช่นเดียวกันว่าหากยังคงแนวทางการต่อสู้ด้วยอาวุธต่อไปคงไม่สามารถทำให้บรรลุเป้าหมายทางการเมืองของตนได้ (Michael Culbert, สัมภาษณ์, 28 กุมภาพันธ์ 2554, เบลฟาสต์) ประกอบกับความพยายามของผู้นำศาสนา นักวิชาการ หรือองค์กรพัฒนาเอกชนหลายส่วนที่ริเริ่มให้เกิดการพูดคุยแลกเปลี่ยนทัศนคติทั้งภายในฝ่ายเดียวกันเองและระหว่างทั้งสองฝ่าย (Ian White, สัมภาษณ์, 17 มิถุนายน 2553, กรุงเทพฯ) สุดท้ายก็ส่งผลให้คู่ขัดแย้งได้ตระหนักว่าเป้าหมายของตนไม่อาจได้มาด้วยความรุนแรง  


สำหรับในประเด็นที่สองนั้น ทั้งสองฝ่ายเรี่มมองเห็นทางเลือกอื่นนอกจากความรุนแรงมากขึ้น จากการที่รัฐบาลอังกฤษพยายามแสดงให้เห็นในช่วงหลังว่ารับฟังอย่างจริงจังในสิ่งที่พรรค SF เรียกร้องผ่านกระบวนการทางการเมือง พร้อมกับสนับสนุนให้เข้าสู่กระบวนการพูดคุยเจรจา ซึ่งเป็นการเปิดพื้นที่ทางการเมืองให้กับผู้ที่เห็นต่างจากรัฐสามารถแสดงออกหรือดำเนินกิจกรรมตามเป้าหมายของตนได้ด้วยสันติวิธีโดยไม่ถูกกดดันจากรัฐ หรือข้อตกลง AIA ที่เปิดพื้นที่ให้รัฐบาลไอร์แลนด์ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการให้คำปรึกษาทางการเมืองต่อรัฐบาลอังกฤษในกรณีของความขัดแย้งในไอร์แลนด์เหนือ ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงความพยายามในการเปิดพื้นที่ทางการเมืองแก่ฝ่าย Nationalist ให้มากขึ้น
สำหรับในประเด็นที่สองนั้น ทั้งสองฝ่ายเรี่มมองเห็นทางเลือกอื่นนอกจากความรุนแรงมากขึ้น จากการที่รัฐบาลอังกฤษพยายามแสดงให้เห็นในช่วงหลังว่ารับฟังอย่างจริงจังในสิ่งที่พรรค SF เรียกร้องผ่านกระบวนการทางการเมือง พร้อมกับสนับสนุนให้เข้าสู่กระบวนการพูดคุยเจรจา ซึ่งเป็นการเปิดพื้นที่ทางการเมืองให้กับผู้ที่เห็นต่างจากรัฐสามารถแสดงออกหรือดำเนินกิจกรรมตามเป้าหมายของตนได้ด้วยสันติวิธีโดยไม่ถูกกดดันจากรัฐ หรือข้อตกลง AIA ที่เปิดพื้นที่ให้รัฐบาลไอร์แลนด์ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการให้คำปรึกษาทางการเมืองต่อรัฐบาลอังกฤษในกรณีของความขัดแย้งในไอร์แลนด์เหนือ ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงความพยายามใน[[การเปิดพื้นที่ทางการเมือง]]แก่ฝ่าย Nationalist ให้มากขึ้น


เมื่อพื้นที่ทางการเมืองได้ถูกเปิดออกมากขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมจับต้องได้ ประชาชนที่เห็นต่างจากรัฐมีโอกาสแสดงออก “บนดิน” มากขึ้นโดยไม่เป็นอันตรายหรือรู้สึกว่าถูกคุกคามตอบโต้ ความรุนแรงก็จะไม่เป็นสิ่งจำเป็นอีกต่อไป การเคลื่อนไหว “ใต้ดิน” ด้วยความรุนแรงก็จะลดน้อยลง พื้นที่และความชอบธรรมในการใช้ความรุนแรงก็จะหดแคบลง เนื่องจากไม่มีความก้าวหน้าใดๆจากการใช้ความรุนแรง ซึ่งหากมองจากมุมของผู้ใช้ความรุนแรงในการต่อสู้ ก็จะเห็นว่าประโยชน์หรือผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นจากการใช้ความรุนแรงเริ่มที่จะลดน้อยถอยลงไปเรื่อยๆ ในขณะที่เห็นว่าแนวทางการเมืองเป็นแนวทางที่ทำได้จริงและก่อให้เกิดประโยชน์กับกลุ่มตนมากขึ้นซึ่งผกผันกับผลของการใช้ความรุนแรง เพราะมีคนได้ยินและรับฟังเสียงเรียกร้องของตนมากขึ้นจากการใช้สันติวิธี ท้ายที่สุด ผู้ที่ใช้ความรุนแรงก็จะตระหนักรู้เองว่าความรุนแรงที่เคยคิดว่าจะใช้ได้ผลนั้น ใช้ไม่ได้ผลอีกต่อไป และหันมาใช้สันติวิธีโดยปริยายเพราะใช้ได้ผลจริง (Pragmactic) ซึ่งในเชิงยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาแล้ว ถือเป็นการปิดพื้นที่ความรุนแรงด้วยการเปิดพื้นที่สันติทางการเมืองอย่างแท้จริง ดังที่ Eamon Collins (1997, 231) อดีตสมาชิก IRA กล่าวว่าการต่อสู้ด้วยการเมืองและกำลังอาวุธควบคู่กันไปนั้น ถึงจุดหนึ่งแล้วทั้งสองแนวทางจะไปด้วยกันไม่ได้ และหากดึงดันจะใช้กำลังอาวุธต่อไปก็จะกลายเป็นการ “ฆ่าตัวตายทางการเมือง”   
เมื่อพื้นที่ทางการเมืองได้ถูกเปิดออกมากขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมจับต้องได้ ประชาชนที่เห็นต่างจากรัฐมีโอกาสแสดงออก “บนดิน” มากขึ้นโดยไม่เป็นอันตรายหรือรู้สึกว่าถูกคุกคามตอบโต้ ความรุนแรงก็จะไม่เป็นสิ่งจำเป็นอีกต่อไป การเคลื่อนไหว “ใต้ดิน” ด้วยความรุนแรงก็จะลดน้อยลง พื้นที่และความชอบธรรมในการใช้ความรุนแรงก็จะหดแคบลง เนื่องจากไม่มีความก้าวหน้าใดๆจากการใช้ความรุนแรง ซึ่งหากมองจากมุมของผู้ใช้ความรุนแรงในการต่อสู้ ก็จะเห็นว่าประโยชน์หรือผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นจากการใช้ความรุนแรงเริ่มที่จะลดน้อยถอยลงไปเรื่อยๆ ในขณะที่เห็นว่าแนวทางการเมืองเป็นแนวทางที่ทำได้จริงและก่อให้เกิดประโยชน์กับกลุ่มตนมากขึ้นซึ่งผกผันกับผลของการใช้ความรุนแรง เพราะมีคนได้ยินและรับฟังเสียงเรียกร้องของตนมากขึ้นจากการใช้สันติวิธี ท้ายที่สุด ผู้ที่ใช้ความรุนแรงก็จะตระหนักรู้เองว่าความรุนแรงที่เคยคิดว่าจะใช้ได้ผลนั้น ใช้ไม่ได้ผลอีกต่อไป และหันมาใช้สันติวิธีโดยปริยายเพราะใช้ได้ผลจริง (Pragmactic) ซึ่งในเชิงยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาแล้ว ถือเป็นการปิดพื้นที่ความรุนแรงด้วยการเปิดพื้นที่สันติทางการเมืองอย่างแท้จริง ดังที่ Eamon Collins (1997, 231) อดีตสมาชิก IRA กล่าวว่าการต่อสู้ด้วยการเมืองและกำลังอาวุธควบคู่กันไปนั้น ถึงจุดหนึ่งแล้วทั้งสองแนวทางจะไปด้วยกันไม่ได้ และหากดึงดันจะใช้กำลังอาวุธต่อไปก็จะกลายเป็นการ “ฆ่าตัวตายทางการเมือง”   

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 09:43, 21 พฤษภาคม 2557

เรียบเรียงโดย : นายเมธัส อนุวัตรอุดม ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : พลเอก เอกชัย ศรีวิลาส

4. ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการสร้างความปรองดองในชาติ

จากการศึกษากระบวนการและเนื้อหาในการสร้างความปรองดองในกรณีของไอร์แลนด์เหนือที่กล่าวมาข้างต้นนั้น สามารถถอดบทเรียนได้ดังต่อไปนี้ ว่ามีเงื่อนไขใดบ้างที่ทำให้ทั้งสองฝ่ายสามารถที่จะยุติความรุนแรงลงได้และป้องกันไม่ให้ความขัดแย้งขยายตัวเป็นความรุนแรงขึ้นอีกในอนาคต

4.1 แสดงเจตจำนงทางการเมือง (Political Will) ที่จะปรองดองอย่างจริงจังด้วยคำพูดและการกระทำที่ต่อเนื่อง

การส่งสัญญาณจากรัฐบาลอังกฤษ ดังเช่น การประกาศต่อสาธารณะว่ารัฐบาลไม่มีประโยชน์ส่วนตัวใดๆในทางเศรษฐกิจหรือทางยุทธศาสตร์ซึ่งได้ถูกกล่าวย้ำทางสื่อต่างๆอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการดำเนินการกระบวนการพูดคุยทั้งในทางลับและทางเปิดของรัฐบาลอังกฤษกับทั้งพรรค SF และ IRA เป็นระยะ เท่าที่จังหวะเวลาจะเอื้ออำนวยนั้น เป็นการตอกย้ำถึงเจตนารมณ์ทางการเมืองที่ชัดเจนว่าต้องการที่จะปรองดองอย่างจริงจังทั้งด้วยคำพูดและการกระทำ ซึ่งเจตจำนงทางการเมืองนี้เองทำให้ฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้องเกิดความเชื่อมั่นในนโยบายสันติวิธีของรัฐบาล และป้องกันความสับสนในเชิงยุทธศาสตร์

Alex Maskey (สัมภาษณ์, 17 มิถุนายน 2553, กรุงเทพฯ) ได้มีโอกาสพูดคุยกับทีมงานของโทนี่ แบลร์มานานตั้งแต่ก่อนที่จะเป็นนายกรัฐมนตรี จึงทำให้รับรู้ถึงความจริงใจที่จะแก้ไขความขัดแย้ง ประกอบกับเมื่อขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีก็ได้ประกาศจุดยืนชัดเจนว่าต้องการจะพูดคุยเจรจากับพรรค SF ซึ่งในขณะนั้นมีแต่คนต่อต้าน ซึ่งเหตุการณ์ที่เขารู้สึกได้ถึงความจริงใจจริงๆคือเมื่อตอนที่แบลร์อนุญาตเป็นกรณีพิเศษให้เขาเดินทางเข้าทำเนียบรัฐบาลที่ลอนดอนได้ หรือการที่รัฐบาลเชิญบิล คลินตัน ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาให้เดินทางไปเยี่ยมเจอร์รี่ อดัมส์ หัวหน้าพรรค SF ที่กรุงเบลฟาสต์ได้ ซึ่งทำให้ทางฝ่ายไอริชคาทอลิกรู้สึกว่ามีตัวตน ได้รับการยอมรับว่ามีสิทธิที่จะพูดได้ (Recognition of the rights of people to speak)

ทั้งนี้ การที่ผู้นำรัฐบาลจะแสดงเจตจำนงทางการเมืองชัดเจนที่จะยุติความรุนแรงและสร้างความปรองดองท่ามกลางการปะทะต่อสู้ของทั้งสองฝ่ายได้นั้น จะต้องอาศัยภาวะผู้นำและความกล้าหาญอย่างมากที่จะต้องอดทนกับแรงเสียดทานจากฝ่ายต่างๆ ยอมรับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นจากสภาวะที่ไม่แน่นอนในสถานการณ์ความขัดแย้งรุนแรง (Peter Robinson, สัมภาษณ์, 28 กุมภาพันธ์ 2554, เบลฟาสต์) ตลอดจนการจัดการกับความรู้สึกของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นความกลัว ความกังวลใจ หรือความรู้สึกอคติใดๆที่อาจเกิดขึ้นภายในจิตใจจนอาจเป็นอุปสรรคต่อความตั้งใจในการสร้างสันติภาพได้ ซึ่งภาวะผู้นำนี้เองจะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะกำหนดว่ากระบวนการสันติภาพจะเดินไปในทิศทางใด (Jeffrey Donaldson, สัมภาษณ์, 28 กุมภาพันธ์ 2554, เบลฟาสต์)

4.2 สร้างกระบวนการที่ครอบคลุมทุกฝ่าย (Inclusivity) และฟังกันให้จริงจัง

ผู้เกี่ยวข้องต้องหาช่องทางให้พวกสุดขั้วที่มีความคิดแข็งกร้าว (Hardliner) ได้เข้ามามีส่วนในกระบวนการพูดคุย ไม่ว่าจะเป็นการเข้ามาเป็นคู่เจรจาพูดคุยโดยตรง หรือการให้กลุ่มที่มีแนวคิดเดียวกันแต่มีลักษณะประนีประนอมมากกว่าเข้ามาเป็นคู่สนทนาแต่สามารถกลับไปสื่อสารถึงกลุ่มสุดขั้วดังกล่าวได้ กล่าวคือ ต้องหาทางอย่างใดอย่างหนึ่งให้กลุ่มสุดขั้วจากทั้งสองฝ่ายได้รับรู้ถึงข้อมูลและความคืบหน้าของกระบวนการพูดคุยไม่ทางตรงก็ทางอ้อม เพื่อให้มีส่วนในการคิด พิจารณา และตัดสินใจในทางออกใดๆที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อการยุติแนวทางการใช้ความรุนแรงได้จริง ไม่ใช่มานั่งคุยกันเองกับพวกที่แนวคิดประนีประนอมด้วยกันเองเท่านั้น เพราะจะไม่สามารถโน้มน้าวกลุ่มที่มีบทบาทในการควบคุมฝ่ายปฏิบัติการที่ใช้ความรุนแรงได้จริง

ด้วยเหตุนี้ กระบวนการสร้างความปรองดองสมานฉันท์จึงจะสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อเปิดให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายได้เข้ามามีส่วนร่วมเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการ ซึ่งแม้ว่าจะไม่ใช่ทุกคนแต่ก็ต้องเป็นในสัดส่วนที่เพียงพอต่อการเกิดการเปลี่ยนแปลง ไม่ปฏิเสธหรือกีดกั้นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งออกไป การเปิดพื้นที่ให้แก่ทุกฝ่ายถือเป็นเครื่องมือสำคัญที่ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนถกเถียงความเห็นที่แตกต่างได้ด้วยสันติวิธี ซึ่งในกรณีของการเจรจาที่นำไปสู่ข้อตกลง Good Friday และข้อตกลง St Andrews นั้นได้มีการพูดคุยกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งอังกฤษ ไอร์แลนด์ และพรรคการเมืองต่างๆในไอร์แลนด์เหนือ รวมถึงพรรคที่มีแนวคิดสุดขั้วเช่น พรรค DUP และ SF ทั้งนี้ การที่จะเอาทุกฝ่ายเข้ามาร่วมและเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการได้นั้น ถือเป็นเรื่องที่พูดง่ายแต่ทำยาก เพราะต้องร่วมทำงานกับคนที่เรามองว่าคิดไม่เหมือนกับเรา เป็นศัตรูของเรา เป็นคนที่ทำร้ายคนที่เรารัก เป็นภัยต่ออัตลักษณ์ของเรา (Ian White, สัมภาษณ์, 17 มิถุนายน 2553, กรุงเทพฯ) แต่ด้วยหลักการดังกล่าวก็มีผลทำให้ข้อตกลงที่เกิดขึ้นสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้จริงในที่สุด ซึ่งฝ่ายต่างๆในไอร์แลนด์เหนือเองก็ต้องใช้เวลากว่า 30 ปีจึงจะทำใจยอมรับในความจริงข้อนี้ได้

จะเห็นจากสาเหตุส่วนหนึ่งที่ข้อตกลง Sunningdale ไม่สามารถเดินหน้าได้ก็เนื่องจากความพยายามของรัฐบาลอังกฤษที่ต้องการจะจำกัดบทบาทของกลุ่มสุดขั้วต่างๆโดยปฏิเสธไม่ให้เข้ามามีส่วนในการพูดคุยเจรจา ซึ่งแตกต่างจากข้อตกลง Good Friday ที่มีทุกกลุ่มที่แตกต่างกันทั้งในแง่ของเป้าหมายและวิธีการจากทั้งสองฝ่ายเข้ามามีส่วนรับรู้กระบวนการตั้งแต่แรกเริ่ม ส่งผลให้ข้อตกลงที่เกิดขึ้นได้รับการยอมรับแม้จะไม่ใช่จากทุกคน แต่ก็เป็นการยอมรับที่อยู่ในระดับที่สามารถนำมาปฏิบัติให้การแก้ไขปัญหาเดินหน้าต่อไปได้ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าการทำงานกับกลุ่มคนที่มีความคิดความเชื่อกลางๆประนีประนอมและไม่ได้มีความสัมพันธ์กับกองกำลัง เช่น กรณีของพรรค UUP และ SDLP โดยมองว่ากลุ่มคนเหล่านี้จะสามารถนำคนที่สุดขั้วของแต่ละฝ่ายมาพูดคุยกันได้นั้น อาจจะไม่ประสบความสำเร็จเสมอไปก็ได้ การที่สถานการณ์บังคับให้ทั้งสองฝ่ายที่สุดโต่งต้องมาคุยกัน และมาทำงานด้วยกันโดยตรงเลยต่างหากที่อาจจะนำมาซึ่งความสำเร็จ เพราะสามารถที่จะสื่อสารกับกลุ่มที่ติดอาวุธได้

การส่งสัญญาณจากรัฐบาลที่ทำให้การพูดคุยสันติภาพระหว่าง IRA กับรัฐบาลเกิดขึ้นได้อย่างจริงจังก็คือ ตอนที่รัฐบาลแถลงยอมรับว่ามีความไม่เป็นธรรมเกิดขึ้นในพื้นที่จริงๆ มีความพยายามในการออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขความไม่เป็นธรรมเหล่านั้น พยายามสร้างโอกาสและความเท่าเทียมกันทางสังคมวัฒนธรรม โดยการดำเนินการของรัฐบาลที่ทำให้ทาง IRA เกิดความไว้วางใจมากยิ่งขึ้นว่าต้องการยุติปัญหาจริงๆก็คือการที่รัฐบาลได้เชิญนักโทษการเมืองจากในคุกให้บินไปคุยกันที่ดาวนิ่ง ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งเป็นท่าที (Gesture) ที่สำคัญอย่างมาก เนื่องจากนักโทษการเมืองจะต้องมีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการสันติภาพด้วย การกระทำทั้งหมดเหล่านี้ของรัฐบาลถือเป็นการสิ่งที่ดีมากเนื่องจากเป็นการสร้างเงื่อนไขหรือบรรยากาศที่เอื้อต่อการสร้างสันติภาพให้ทั้งสองฝ่ายสามารถเริ่มต้นทำงานด้วยกันได้บนพื้นฐานของความจริงใจ (Michael Culbert, สัมภาษณ์, 28 กุมภาพันธ์ 2554, เบลฟาสต์)

อย่างไรก็ตาม นอกจากการมีกระบวนการที่เปิดให้ทุกฝ่ายมาร่วมพูดคุยกันแล้ว แต่ละฝ่ายจะต้องรับฟังกันอย่างจริงจังบนพื้นฐานของการให้เกียรติกันและกันด้วย (Alex Maskey, สัมภาษณ์, 17 มิถุนายน 2553, กรุงเทพฯ) ในอดีตที่ผ่านมาท่ามกลางการต่อสู้รุนแรง บ่อยครั้งที่เรา “ได้ยิน” อีกฝ่าย แต่กลับ “ไม่ได้ฟัง” ความรู้สึกกันจริงๆ ซึ่ง “สิ่งที่ยากที่สุดคือการยอมรับฟังในสิ่งที่เราไม่ต้องการจะฟังหรือฟังแล้วรู้สึกเจ็บปวด แต่หากเราไม่รับฟังเสียแล้ว เราจะจัดการกับปัญหาได้อย่างไร ถึงเราทำเป็นเพิกเฉยไม่สนใจกับสิ่งที่ได้ยิน สิ่งนั้นก็มิได้หายไปจากเรา ก้าวแรกสู่สันติภาพจึงต้องเป็นการเริ่มต้นรับฟังกันอย่างจริงๆจังๆ” (Ian White, สัมภาษณ์, 17 มิถุนายน 2553, กรุงเทพฯ) สอดคล้องกับที่ Jimmy Spratt (สัมภาษณ์, 16 มิถุนายน 2553, กรุงเทพฯ) กล่าวว่าบทเรียนสำคัญสำหรับเขาก็คือ การต้องปรับเปลี่ยนวิธีคิดของตัวเอง ต้องพร้อมที่จะฟังความเห็นจากคนที่คิดไม่เหมือนกัน แตกต่างจากเราทั้งวัฒนธรรมและแนวคิด ต้องใจเย็นและอดทนเรียนรู้เสียงที่แตกต่าง สันติภาพจึงจะเกิดขึ้นได้

4.3 เหตุแห่งความไม่เป็นธรรมได้รับการแก้ไขในเชิงโครงสร้าง

ความไม่เป็นธรรมและการกดขี่กีดกันที่มีต่อชาวคาทอลิกได้รับการแก้ไขไปส่วนหนึ่งจากมาตรการต่างๆของรัฐบาลอังกฤษควบคู่กันไปในสถานการณ์ความขัดแย้ง ไม่ว่าจะเป็นความพยายามในการเพิ่มโอกาสในการจ้างงาน และการจัดสรรที่อยู่อาศัยให้มีความเป็นธรรมมากขึ้น แต่ที่สำคัญคือการขจัดเงื่อนไขแห่งความไม่เป็นธรรมในระดับโครงสร้าง คือ การปฏิรูปโครงสร้างการบริหารปกครองที่ให้ทั้งสองฝ่ายได้แบ่งอำนาจทางการเมือง ซึ่งลดความรู้สึกเหลื่อมล้ำไม่เป็นธรรมทางการเมืองลงได้ และในส่วนของการปฏิรูปองค์กรตำรวจซึ่งเป็นกลไกรัฐที่ก่อให้เกิดความรู้สึกของคนไอริชคาทอลิกว่าถูกเลือกปฏิบัติในอดีต ผลจากการลดเงื่อนไขความไม่เป็นธรรมอย่างต่อเนื่องได้เป็นปัจจัยสำคัญที่เอื้อให้ฝ่ายที่รู้สึกถูกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมผ่อนคลายลง รู้สึกว่ามีคนรับฟังเสียงของตนเอง และหันหน้ามาทำงานร่วมกันได้ง่ายขึ้น (Alex Maskey, สัมภาษณ์, 17 มิถุนายน 2553, กรุงเทพฯ)

4.4 ทำให้ทุกฝ่ายเห็นว่ามีทางเลือกอื่นที่เป็นไปได้ในการบรรลุเป้าหมายนอกจากการใช้ความรุนแรง

'“ความรุนแรงที่เกิดขึ้นเป็นเพราะอังกฤษไม่ฟังเรา เราจำเป็นต้องสร้างพื้นที่ของเรา เราจำเป็นต้องเปิดพื้นที่ให้ได้ ในอดีตเราเห็นว่าอังกฤษไม่มีทางที่จะยอมรับว่าละเมิดสิทธิของเรา ไม่มีวันที่จะริเริ่มแก้ไขปัญหาด้วยตัวเอง เราจึงต้องทำให้อังกฤษฟังเราซึ่งเราก็ทำได้ดี เราถูกสถานการณ์บังคับให้ทำแบบนี้ แต่เมื่อเรามีพื้นที่ระดับหนึ่งแล้ว เมื่อเวลาผ่านไป เราก็เริ่มคิดว่าแล้วเราจะทำอย่างไรต่อไป เพราะแม้เราจะรู้ว่าอังกฤษเอาชนะเราไม่ได้ แต่ก็ได้ตระหนักแล้วว่าเราเองก็เอาชนะอังกฤษไม่ได้ด้วยกำลังทหารเช่นกัน เราต้องหาแนวทางอื่น”'

Evelyn Glenholmes อดีตสมาชิก IRA หญิงที่ทางหน่วยสก็อตแลนด์ยาร์ดต้องการตัวมากที่สุดในปี 2527

(สัมภาษณ์, 28 กุมภาพันธ์ 2554, เบลฟาสต์)

การที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งใช้ความรุนแรงหรืออาวุธในต่อสู้นั้นเนื่องจากเชื่อมั่นว่าวิธีดังกล่าวจะทำให้ฝ่ายตนบรรลุเป้าหมายที่ต้องการได้ การจะยุติความรุนแรงได้จึงต้องทำให้ฝ่ายที่ใช้ความรุนแรงเปลี่ยนแปลงความเชื่อดังกล่าว

การจะเปลี่ยนแปลงความเชื่อนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผู้ที่ใช้ความรุนแรง 1) ตระหนักแล้วว่าวิธีนี้ไม่สามารถนำมาซึ่งสิ่งที่ตนต้องการจากการใช้กำลังได้จนเกิดความเหนื่อยล้าจากการต่อสู้ที่ไม่เห็นทางออก และ/หรือ 2) มองเห็นว่ามีทางเลือกอื่นที่เป็นไปได้จริงในการบรรลุเป้าหมายนอกเหนือจากการใช้ความรุนแรง อาจจะด้วยการสร้างแรงกระตุ้นจูงใจให้หันไปเดินตามแนวทางสันติวิธี

ในประเด็นแรกนั้น การตระหนักรู้ดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นได้ด้วยการคิดวิเคราะห์โดยตัวคู่ขัดแย้งเองและด้วยการพยายามสื่อสารและการดำเนินกิจกรรมโดยภาคส่วนต่างๆที่นำพาให้ทั้งสองฝ่ายมาสู่จุดที่ทั้งสองฝ่ายตระหนักดีแล้วว่าไม่มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะสามารถเอาชนะอีกฝ่ายได้ กล่าวคือ ในช่วงแรกทางกองทัพก็คิดว่าจะสามารถปราบปรามกลุ่มก่อความไม่สงบนี้ได้ แต่สุดท้ายก็ประจักษ์ชัดว่า ‘ยิ่งปราบก็ยิ่งเกิด’ สุดท้ายก็จะมีคนใหม่ๆที่ลุกขึ้นมาทำตามสิ่งที่ตัวเองเชื่อต่อไป ดังนั้น เมื่อการต่อสู้ดำเนินไประยะหนึ่ง ทางกองทัพอังกฤษก็ได้ตระหนักแล้วว่าความขัดแย้งในไอร์แลนด์เหนือไม่อาจยุติลงได้ด้วยการทหาร และได้ยืนยันกับรัฐบาลเสมอมาว่าต้องมีทางออกทางการเมืองต่อปัญหาดังกล่าว โดยเห็นด้วยกับกระบวนการพูดคุยแต่ต้องหยุดใช้ความรุนแรงก่อนจึงจะมาคุยกันได้ (Jeffrey Donaldson, สัมภาษณ์, 28 กุมภาพันธ์ 2554, เบลฟาสต์)

ในขณะที่ทาง Republican ตั้งใจที่จะใช้การต่อสู้ด้วยอาวุธเป็นวิธีการไปสู่เป้าหมายทางการเมือง (Alex Maskey, 17 มิถุนายน 2553, กรุงเทพฯ) แต่ภายหลังก็เริ่มตระหนักแล้วเช่นเดียวกันว่าหากยังคงแนวทางการต่อสู้ด้วยอาวุธต่อไปคงไม่สามารถทำให้บรรลุเป้าหมายทางการเมืองของตนได้ (Michael Culbert, สัมภาษณ์, 28 กุมภาพันธ์ 2554, เบลฟาสต์) ประกอบกับความพยายามของผู้นำศาสนา นักวิชาการ หรือองค์กรพัฒนาเอกชนหลายส่วนที่ริเริ่มให้เกิดการพูดคุยแลกเปลี่ยนทัศนคติทั้งภายในฝ่ายเดียวกันเองและระหว่างทั้งสองฝ่าย (Ian White, สัมภาษณ์, 17 มิถุนายน 2553, กรุงเทพฯ) สุดท้ายก็ส่งผลให้คู่ขัดแย้งได้ตระหนักว่าเป้าหมายของตนไม่อาจได้มาด้วยความรุนแรง

สำหรับในประเด็นที่สองนั้น ทั้งสองฝ่ายเรี่มมองเห็นทางเลือกอื่นนอกจากความรุนแรงมากขึ้น จากการที่รัฐบาลอังกฤษพยายามแสดงให้เห็นในช่วงหลังว่ารับฟังอย่างจริงจังในสิ่งที่พรรค SF เรียกร้องผ่านกระบวนการทางการเมือง พร้อมกับสนับสนุนให้เข้าสู่กระบวนการพูดคุยเจรจา ซึ่งเป็นการเปิดพื้นที่ทางการเมืองให้กับผู้ที่เห็นต่างจากรัฐสามารถแสดงออกหรือดำเนินกิจกรรมตามเป้าหมายของตนได้ด้วยสันติวิธีโดยไม่ถูกกดดันจากรัฐ หรือข้อตกลง AIA ที่เปิดพื้นที่ให้รัฐบาลไอร์แลนด์ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการให้คำปรึกษาทางการเมืองต่อรัฐบาลอังกฤษในกรณีของความขัดแย้งในไอร์แลนด์เหนือ ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงความพยายามในการเปิดพื้นที่ทางการเมืองแก่ฝ่าย Nationalist ให้มากขึ้น

เมื่อพื้นที่ทางการเมืองได้ถูกเปิดออกมากขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมจับต้องได้ ประชาชนที่เห็นต่างจากรัฐมีโอกาสแสดงออก “บนดิน” มากขึ้นโดยไม่เป็นอันตรายหรือรู้สึกว่าถูกคุกคามตอบโต้ ความรุนแรงก็จะไม่เป็นสิ่งจำเป็นอีกต่อไป การเคลื่อนไหว “ใต้ดิน” ด้วยความรุนแรงก็จะลดน้อยลง พื้นที่และความชอบธรรมในการใช้ความรุนแรงก็จะหดแคบลง เนื่องจากไม่มีความก้าวหน้าใดๆจากการใช้ความรุนแรง ซึ่งหากมองจากมุมของผู้ใช้ความรุนแรงในการต่อสู้ ก็จะเห็นว่าประโยชน์หรือผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นจากการใช้ความรุนแรงเริ่มที่จะลดน้อยถอยลงไปเรื่อยๆ ในขณะที่เห็นว่าแนวทางการเมืองเป็นแนวทางที่ทำได้จริงและก่อให้เกิดประโยชน์กับกลุ่มตนมากขึ้นซึ่งผกผันกับผลของการใช้ความรุนแรง เพราะมีคนได้ยินและรับฟังเสียงเรียกร้องของตนมากขึ้นจากการใช้สันติวิธี ท้ายที่สุด ผู้ที่ใช้ความรุนแรงก็จะตระหนักรู้เองว่าความรุนแรงที่เคยคิดว่าจะใช้ได้ผลนั้น ใช้ไม่ได้ผลอีกต่อไป และหันมาใช้สันติวิธีโดยปริยายเพราะใช้ได้ผลจริง (Pragmactic) ซึ่งในเชิงยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาแล้ว ถือเป็นการปิดพื้นที่ความรุนแรงด้วยการเปิดพื้นที่สันติทางการเมืองอย่างแท้จริง ดังที่ Eamon Collins (1997, 231) อดีตสมาชิก IRA กล่าวว่าการต่อสู้ด้วยการเมืองและกำลังอาวุธควบคู่กันไปนั้น ถึงจุดหนึ่งแล้วทั้งสองแนวทางจะไปด้วยกันไม่ได้ และหากดึงดันจะใช้กำลังอาวุธต่อไปก็จะกลายเป็นการ “ฆ่าตัวตายทางการเมือง”

4.5 อดทนต่อเนื่อง ภาพเล็กต่อเติมสู่ภาพใหญ่

ทุกความพยายามมีความหมายต่อการสร้างสันติภาพ ต่อความสำเร็จในการปรองดอง ขอเพียงทำอย่างอดทนและต่อเนื่อง ด้วยความเข้าใจปัญหา ทิศทางการแก้ไข และเป้าหมายที่ชัดเจน สิ่งเล็กๆที่ทำก็จะสะสมสู่สิ่งใหญ่อย่างค่อยเป็นค่อยไป ยกตัวอย่างกรณีของความพยายามในการริเริ่มให้เกิดกระบวนการพูดคุยระหว่างกลุ่มต่างๆ ทั้งความพยายามในการพูคคุยกันเองภายในแต่ละฝ่าย เช่น Hume-Adam Talk ในปี 2531 หรือข้อตกลงที่ผ่านมาในแต่ละครั้งทั้ง Sunningdale และ AIA ซึ่งแม้สองครั้งดังกล่าวจะไม่สามารถนำมาสู่การปฏิบัติจนยุติความรุนแรงได้ แต่ก็ได้มีส่วนในการก่อรูปความคิดและเสริมสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการนำไปสู่ข้อตกลงที่สามคือ Good Friday ที่ประสบความสำเร็จในการยุติความรุนแรงได้ในที่สุด

ความพยายามในการพูดคุยทางลับระหว่างรัฐบาลอังกฤษกับพรรค SF และ IRA มีอยู่อย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลาหลายปีทั้งในช่วงของมาร์กาเร็ต แทชเชอร์ จอห์น เมเจอร์ จนกระทั่งถึงโทนี่ แบลร์ แม้ในบางครั้งอาจจะไม่ประสบความสำเร็จ แต่ความพยายามแต่ละครั้งถือเป็นความสำเร็จในตัวมันเองในแง่ที่เป็นปัจจัยหนึ่งในการก่อร่างความคิดและเตรียมความพร้อมระหว่างกันจนกระทั่งถึงการเจรจาครั้งสุดท้าย ซึ่งแต่ละกิจกรรมจะร้อยเรียงสู่การยุติความรุนแรงในปลายทางได้ก็ต้องอาศัยความอดทนและความมุ่งมั่นต่อเนื่องของผู้เกี่ยวข้องกับการเดินทางครั้งนี้ ขอเพียงแต่อย่าปล่อยให้ช่องทางการพูดคุยหยุดชะงัก (Powell, 2009)

จังหวะเวลาและลำดับขั้นตอนเป็นสิ่งสำคัญในกระบวนการสันติภาพ คล้ายกับการเต้นรำ เนื่องจากมันมีการกระทำบางอย่างที่ฝ่ายหนึ่งจะทำไม่ได้ถ้าอีกฝ่ายหนึ่งไม่ทำสิ่งที่ต้องทำเป็นขั้นเป็นตอนมาก่อน หรือการกระทำบางอย่างที่ตอบสนองซึ่งกันและกัน ซึ่งจังหวะเวลาและการดำเนินการเป็นลำดับขั้นตอนนี้สำคัญเนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการสร้างความไว้วางใจระหว่างคู่ขัดแย้งเอง และระหว่างสมัครพรรคพวก (Constituency) ของแต่ละฝ่าย (Ian White, สัมภาษณ์, 27 กุมภาพันธ์ 2554, วิคโลว์)

เมื่อเป็นเช่นนี้ การทำงานในกระบวนการสันติภาพจึงเป็นเรื่องที่ต้องใช้ความอดทน และทุกฝ่ายต้องรู้สึกเจ็บปวดในแง่ที่ต่างฝ่ายต่างตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงทั้งสิ้น อีกทั้งยังต้องทนกับความล่าช้าของพัฒนาการ ทนกับความเห็นต่าง ทนที่จะต้องทำงานร่วมกับคนที่เราเคยหรือยังคงมองว่าเป็นศัตรู และต้องรับให้ได้กับความจริงที่ว่าตนจะไม่ได้สิ่งที่ต้องการเต็มที่ทั้งหมด หากใครไม่รู้สึกถึงความเจ็บปวดตรงนี้ กระบวนการสันติภาพอาจจะยังมิได้เกิดขึ้นจริงก็เป็นได้

บรรณานุกรม

เอกสารภาษาอังกฤษ

Anglo-Irish Agreement. 1985. http://cain.ulst.ac.uk/events/aia/aiadoc.htm (December 13, 2011).

Beresford, David. 1994. Ten Men Dead: The Story of the 1981 Irish Hunger Strike. London: HarperCollins.

Collins, Eamon. 1997. Killing Rage. London: Granta Books.

Dixon, Paul. 2008. Northern Ireland: The Politics of War and Peace. 2nd Edition. Basingstoke: Palgave Macmillan.

Doherty, Paul. 2000. “The Northern Ireland Peace Process: A Solution to the Problems of an Ethnically Divided Society?” The Brown Journal of World Affairs Volume VII, Issue 1 (Winter/Spring): 49-62.

Family Support Center. 2010. “Set the Truth Free.” Family Support Center. http://www.bloodysundaytrust.org/bsi/BSI-media-pack-pdf.pdf (December 13, 2011).

Farrington, Christopher. 2008. “Introduction: Political Change in a Divided Society – The Implementation of the Belfast Agreement.” In Global Change, Civil Society and the Northern Ireland Peace Process: Implementing the Political Settlement, ed. Christopher Farrington. New York: Palgrave Macmillan.

Goodall, David. 1993. “The Irish Question.” Ampleforth Journal vol.XCVIII Part I (Spring).

Guelke, Adrian. 2008. “The Lure of the Miracle? The South African Connection and the Northern Ireland Peace Process.” In Global Change, Civil Society and the Northern Ireland Peace Process: Implementing the Political Settlement, ed. Christopher Farrington. New York: Palgrave Macmillan.

Howe, Geoffrey. 1994. Conflict of Loyalty. London: Pan.

Idoiaga, Gorka Espiau. 2010. “The Peace Processes in the Basque Country and Northern Ireland (1994-2006): a Comparative Approach.” Working Papers 2010/03. Institut Catala Internacional Per la Pau. http://www20.gencat.cat/docs/icip/Continguts/Publicacions/WorkingPapers/Arxius/WP10_3_ANG.pdf (December 13, 2011).

Lodge, Tom. 2009. “Northern Ireland: between Peace and Reconciliation.” OpenDemocracy. http://www.opendemocracy.net/article/northern-ireland-between-peace-and-reconciliation (December 13, 2011).

Major, John. 1999. John Major: The Autobiography. London: HarperCollins.

Mitchell, George J., John de Chastelain, and Harri Holkeri. 1996. Report of the International Body on Arms Decommissioning, 22 January 1996. Conflict Archive on the Internet, University of Ulster. http://cain.ulst.ac.uk/events/peace/docs/gm24196.htm (December 13, 2011).

Moloney, Ed. 2007. A Secret History of the IRA. 2nd Edition. London: Penguin Books.

Powell, Jonathan. 2009. Great Hatred, Little Room: Making Peace in Northern Ireland. London: Vintage Books.

Saville of Newdigate, William L. Hoyt, and John L. Toohey. 2010. Report of the Bloody Sunday Inquiry. National Archive. http://webarchive.nationalarchives.gov.uk/20101103103930/http://bloody-sunday-inquiry.org/ (December 13, 2011).

Shirlow, Peter, and Kieran McEvoy. Beyond the Wire: Former Prisoners and Conflict Transformation in Northern Ireland. London: Pluto Press.

Sunningdale Agreement. 1973. http://cain.ulst.ac.uk/events/sunningdale/agreement.htm (December 13, 2011).

Taylor, Peter. 2000. Loyalists. London: Bloomsbury.

Thatcher, Margaret. 1993. Downing Street Years. London: HarperCollins.

The Agreement. 1998. http://cain.ulst.ac.uk/events/peace/docs/agreement.htm (December 13, 2011).

Wichert, Sabine. 1999. Northern Ireland since 1945. 2nd Edition. New York: Longman.

Widgery. 1972. Report of the Tribunal appointed to inquire into the events on Sunday, 30th January 1972. Conflict Archive on the Internet, University of Ulster. http://cain.ulst.ac.uk/hmso/widgery.htm (December 13, 2011).

รายชื่อผู้ให้สัมภาษณ์

1. Alex Maskey – สมาชิกสสภาไอร์แลนด์เหนือ พรรค SF และกรรมการกำกับดูแลกิจการตำรวจ (Policing Board) ในนามพรรค

2. David Stitt – อดีตหัวหน้ากองกำลังย่อยกลุ่มติดอาวุธ UDA ของฝ่าย Loyalist

3. Evelyn Glenholmes – แกนนำพรรค SF เป็นลูกและหลานของอดีตสมาชิก IRA และได้เข้าร่วม IRA ตั้งแต่อายุ 13 ปี ได้รับฉายาจากสื่อมวลชนอังกฤษว่า “นางฟ้าแห่งความตาย” (Angle of Death)

4. Ian White – ผู้อำนวยการ Glencree Center for Peace and Reconciliation ซึ่งเคยมีบทบาทเป็นผู้เชื่อมประสานให้เกิดการพูดคุยระหว่างฝ่าย Unionist และฝ่าย Nationalist ในระดับชุมชน

5. Jeffrey Donaldson – สมาชิกสภาไอร์แลนด์เหนือ พรรค DUP/ อดีตคณะผู้เจรจาของพรรค DUP ในกระบวนการสันติภาพเมื่อปี 2541

6. Jimmy Spratt – สมาชิกสภาไอร์แลนด์เหนือ พรรค DUP และกรรมการกำกับดูแลกิจการตำรวจ (Policing Board) ในนามพรรค

7. Lynne Knox – จ่าตำรวจประจำสำนักงานตำรวจไอร์แลนด์เหนือ

8. Martin Magill (Rev.) – บาทหลวงนิกายคาทอลิกประจำ St Oliver Plunkett Parish เบลฟาสต์ตะวันตก

9. Michael Culbert – ผู้อำนวยการคอยส์เต้ (Coiste) ซึ่งเป็นองค์กรพัฒนาเอกชนที่ช่วยเหลือดูแลอดีตนักโทษการเมืองในการกลับคืนสู่สังคม/ เป็นอดีตสมาชิกกลุ่มขบวนการIRA และเป็นอดีตนักโทษการเมืองที่ถูกทางการอังกฤษตัดสินจำคุก 16 ปี

10. Paul Arthur – ศาสตราจารย์ด้านสันติภาพและความขัดแย้ง มหาวิทยาลัย Ulster

11. Paul Moran – สารวัตรประจำสำนักงานตำรวจไอร์แลนด์เหนือ

12. Peter Robinson – หัวหน้าคณะผู้บริหารไอร์แลนด์เหนือ (First Minister)

13. Vikki Nelson – ผู้เชี่ยวชาญประจำตัว Jimmy Spratt สมาชิกสภาไอร์แลนด์เหนือพรรค DUP