ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การเวียนเทียน"
สร้างหน้าใหม่: {{รอผู้ทรง}} ---- '''ผู้เรียบเรียง''' โอฬาร ถิ่นบางเตียว ---- '''การเ... |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 6: | บรรทัดที่ 6: | ||
'''การเวียนเทียน''' หมายถึง พฤติกรรมในการทุจริตการเลือกตั้งโดยการใช้บัตรประชาชนใบเดียวเวียนกันไปใช้สิทธิเลือกตั้งในหน่วยเลือกตั้งซ้ำกันหลายๆ รอบ พฤติกรรมการทุจริตการเลือกตั้งดังกล่าวเป็นการทุจริตที่ต้องอาศัยความร่วมมือกันระหว่างผู้สมัครรับเลือกตั้งกับกรรมการการเลือกตั้งประจำหน่วยเลือกตั้ง หรือเป็นหน่วยเลือกตั้งที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งมีอิทธิพลสูงสามารถ ทำให้กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งให้ร่วมมือในการทุจริตการเลือกตั้ง หรือการวางยุทธศาสตร์โดยให้คนของผู้สมัครรับเลือกตั้งเข้าไปเป็นกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง | '''การเวียนเทียน''' หมายถึง พฤติกรรมในการทุจริตการเลือกตั้งโดยการใช้บัตรประชาชนใบเดียวเวียนกันไปใช้สิทธิเลือกตั้งในหน่วยเลือกตั้งซ้ำกันหลายๆ รอบ พฤติกรรมการทุจริตการเลือกตั้งดังกล่าวเป็นการทุจริตที่ต้องอาศัยความร่วมมือกันระหว่างผู้สมัครรับเลือกตั้งกับกรรมการการเลือกตั้งประจำหน่วยเลือกตั้ง หรือเป็นหน่วยเลือกตั้งที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งมีอิทธิพลสูงสามารถ ทำให้กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งให้ร่วมมือในการทุจริตการเลือกตั้ง หรือการวางยุทธศาสตร์โดยให้คนของผู้สมัครรับเลือกตั้งเข้าไปเป็นกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง | ||
พฤติกรรมการทุจริตการเลือกตั้งโดยวิธีการดังกล่าวมักจะกระทำในเขตเลือกตั้งที่อยู่ห่างไกลจากชุมชน ประชาชนไม่สนใจติดตามการลงคะแนนใช้สิทธิเลือกตั้ง ในหน่วยเลือกตั้งจึงมีเพียงคณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งที่ดูแลและควบคุมการใช้สิทธิเลือกตั้งของประชาชนเป็นการเปิดโอกาสให้เกิดการทุจริตในลักษณะดังกล่าวได้ง่าย และอาศัยช่วงเวลาที่ผู้มาใช้สิทธิไม่มากโดยเฉพาะช่วงเปิดหีบเลือกตั้งใหม่ๆ หรือใกล้เวลาปิดหีบเลือกตั้ง | พฤติกรรมการทุจริตการเลือกตั้งโดยวิธีการดังกล่าวมักจะกระทำในเขตเลือกตั้งที่อยู่ห่างไกลจากชุมชน ประชาชนไม่สนใจติดตามการลงคะแนนใช้สิทธิเลือกตั้ง ในหน่วยเลือกตั้งจึงมีเพียงคณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งที่ดูแลและควบคุมการใช้สิทธิเลือกตั้งของประชาชนเป็นการเปิดโอกาสให้เกิดการทุจริตในลักษณะดังกล่าวได้ง่าย และอาศัยช่วงเวลาที่ผู้มาใช้สิทธิไม่มากโดยเฉพาะช่วงเปิดหีบเลือกตั้งใหม่ๆ หรือใกล้เวลาปิดหีบเลือกตั้ง | ||
พฤติกรรมการทุจริตการเลือกตั้งโดยวิธีการนี้เกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยรัฐบาลจอมพล [[ป. พิบูลสงคราม]] ในการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2500 การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการแข่งขันกัน 2 พรรคใหญ่ คือ พรรคเสรีมนังคศิลากับพรรคประชาธิปัตย์ | พฤติกรรมการทุจริตการเลือกตั้งโดยวิธีการนี้เกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยรัฐบาลจอมพล [[ป. พิบูลสงคราม]] ในการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2500 การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการแข่งขันกัน 2 พรรคใหญ่ คือ พรรคเสรีมนังคศิลากับพรรคประชาธิปัตย์ | ||
พรรคเสรีมนังคศิลาเป็นพรรครัฐบาล มีจอมพล [[ป. พิบูลสงคราม]] นายกรัฐมนตรี เป็นหัวหน้าพรรค และพลตำรวจเอก[[เผ่า ศรียานนท์]] อธิบดีกรมตำรวจ เป็นเลขาธิการพรรค ในขณะที่พรรคประชาธิปัตย์เป็นฝ่ายค้าน มีนาย[[ควง อภัยวงศ์]] เป็นหัวหน้าพรรค | พรรคเสรีมนังคศิลาเป็นพรรครัฐบาล มีจอมพล [[ป. พิบูลสงคราม]] นายกรัฐมนตรี เป็นหัวหน้าพรรค และพลตำรวจเอก[[เผ่า ศรียานนท์]] อธิบดีกรมตำรวจ เป็นเลขาธิการพรรค ในขณะที่พรรคประชาธิปัตย์เป็นฝ่ายค้าน มีนาย[[ควง อภัยวงศ์]] เป็นหัวหน้าพรรค | ||
การเลือกตั้งทั่วไปวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 นับเป็นการเลือกตั้งที่สกปรกมากที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทย เพราะจอมพล [[ป. พิบูลสงคราม]] หัวหน้าพรรคและพลตำรวจเอก[[เผ่า ศรียานนท์]] เลขาธิการ ใช้อำนาจและอิทธิพลของทหารและตำรวจบีบบังคับข้าราชการทหาร ตำรวจ และพลเรือนให้ช่วยพรรคเสรีมนังคศิลาอย่างเต็มที่ | การเลือกตั้งทั่วไปวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 นับเป็นการเลือกตั้งที่สกปรกมากที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทย เพราะจอมพล [[ป. พิบูลสงคราม]] หัวหน้าพรรคและพลตำรวจเอก[[เผ่า ศรียานนท์]] เลขาธิการ ใช้อำนาจและอิทธิพลของทหารและตำรวจบีบบังคับข้าราชการทหาร ตำรวจ และพลเรือนให้ช่วยพรรคเสรีมนังคศิลาอย่างเต็มที่ | ||
หลังการเลือกตั้งพรรคเสรีมนังคศิลาชนะพรรคประชาธิปัตย์ แต่หนังสือพิมพ์ สื่อมวลชนทุกแขนงต่างประโคมข่าวการทุจริตการเลือกตั้งอย่างขนานใหญ่ของพรรคเสรีมนังคศิลา ประชาชนและขบวนการนิสิตนักศึกษาต่างโจมตีการเลือกตั้งสกปรกครั้งนี้ เพราะมีการทุจริตการเลือกตั้งโดยใช้วิธีการ [[พลร่ม]] [[ไพ่ไฟ]] การเวียนเทียน การบีบบังคับข้าราชการประจำและมีการทุจริตเลือกตั้งในรูปแบบต่างๆ กันถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นในการทุจริตการเลือกตั้งที่ใช้ต่อๆกันมา | หลังการเลือกตั้งพรรคเสรีมนังคศิลาชนะพรรคประชาธิปัตย์ แต่หนังสือพิมพ์ สื่อมวลชนทุกแขนงต่างประโคมข่าวการทุจริตการเลือกตั้งอย่างขนานใหญ่ของพรรคเสรีมนังคศิลา ประชาชนและขบวนการนิสิตนักศึกษาต่างโจมตีการเลือกตั้งสกปรกครั้งนี้ เพราะมีการทุจริตการเลือกตั้งโดยใช้วิธีการ [[พลร่ม]] [[ไพ่ไฟ]] การเวียนเทียน การบีบบังคับข้าราชการประจำและมีการทุจริตเลือกตั้งในรูปแบบต่างๆ กันถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นในการทุจริตการเลือกตั้งที่ใช้ต่อๆกันมา | ||
พฤติกรรมการอำนาจของรัฐบาลในการทุจริตการเลือกตั้ง สร้างความไม่พอใจให้กลุ่มนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รวมตัวกันประมาณ 2,000 คน ก็ได้ตัดสินใจเด็ดขาดที่จะต่อต้านรัฐบาล นิสิตเหล่านี้ลดธงชาติลงครึ่งเสาซึ่งเป็นการแสดงการไว้อาลัยประชาธิปไตยที่ตายไป ประชาชนได้เดินขบวนคัดค้านการเลือกตั้งสกปรกพรรคประชาธิปัตย์ไม่ยอมรับผลการเลือกตั้ง ถึงแม้ตัวจอมพล [[ป. พิบูลสงคราม]] หัวหน้าพรรคเสรีมนังคศิลาและรักษาการนายกรัฐมนตรี ได้พยายามทุกวิถีทางที่จะทำความเข้าใจกับสื่อมวลชน ประชาชน และนิสิตนักศึกษา แต่ความไม่พอใจในตัวจอมพล [[ป. พิบูลสงคราม]] กลับเพิ่มมากขึ้น วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ.2500 หรือ 1 สัปดาห์หลังการเลือกตั้ง | พฤติกรรมการอำนาจของรัฐบาลในการทุจริตการเลือกตั้ง สร้างความไม่พอใจให้กลุ่มนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รวมตัวกันประมาณ 2,000 คน ก็ได้ตัดสินใจเด็ดขาดที่จะต่อต้านรัฐบาล นิสิตเหล่านี้ลดธงชาติลงครึ่งเสาซึ่งเป็นการแสดงการไว้อาลัยประชาธิปไตยที่ตายไป ประชาชนได้เดินขบวนคัดค้านการเลือกตั้งสกปรกพรรคประชาธิปัตย์ไม่ยอมรับผลการเลือกตั้ง ถึงแม้ตัวจอมพล [[ป. พิบูลสงคราม]] หัวหน้าพรรคเสรีมนังคศิลาและรักษาการนายกรัฐมนตรี ได้พยายามทุกวิถีทางที่จะทำความเข้าใจกับสื่อมวลชน ประชาชน และนิสิตนักศึกษา แต่ความไม่พอใจในตัวจอมพล [[ป. พิบูลสงคราม]] กลับเพิ่มมากขึ้น วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ.2500 หรือ 1 สัปดาห์หลังการเลือกตั้ง | ||
นิสิตเหล่านี้เดินขบวนไปที่กระทรวงมหาดไทยโสยการแนะนนำของจอมพล[[สฤษดิ์ ธนะรัชต์]] เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีลาออกและให้มีการเลือกตั้งใหม่ โดยที่มีคณะกรรมการประกอบด้วยนิสิตในการควบคุมการลงคะแนน นายกรัฐมนตรีกล่าวตอบว่า การเลือกตั้งจะเป็นโมฆะก็ต่อเมื่อศาลสั่ง นิสิตสลายตัวเมื่อจอมพล[[สฤษดิ์ ธนะรัชต์]] ขอให้สลายตัว และสฤษดิ์ได้กล่าวคำคมในประวัติศาสตร์ไว้ที่สะพานมัฆวานว่า “พบกันใหม่เมื่อชาติต้องการ” | นิสิตเหล่านี้เดินขบวนไปที่กระทรวงมหาดไทยโสยการแนะนนำของจอมพล[[สฤษดิ์ ธนะรัชต์]] เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีลาออกและให้มีการเลือกตั้งใหม่ โดยที่มีคณะกรรมการประกอบด้วยนิสิตในการควบคุมการลงคะแนน นายกรัฐมนตรีกล่าวตอบว่า การเลือกตั้งจะเป็นโมฆะก็ต่อเมื่อศาลสั่ง นิสิตสลายตัวเมื่อจอมพล[[สฤษดิ์ ธนะรัชต์]] ขอให้สลายตัว และสฤษดิ์ได้กล่าวคำคมในประวัติศาสตร์ไว้ที่สะพานมัฆวานว่า “พบกันใหม่เมื่อชาติต้องการ” | ||
จอมพล [[ป. พิบูลสงคราม]] รักษาการนายกรัฐมนตรี ตัดสินใจประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองแต่กลับเพิ่มดีกรีของความรุนแรงให้มากยิ่งขึ้น การเดินขบวนประท้วงของประชาชนและนิสิตนักศึกษามุ่งหน้าจากท้องสนามหลวงสู่ทำเนียบรัฐบาล และในวันเดียวกันนี้ได้มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งให้จอมพล[[สฤษดิ์ ธนะรัชต์]] เป็นผู้รักษาความสงบเรียบร้อยตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินและมีอำนาจบังคับบัญชาทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ และตำรวจได้ทั่วราชอาณาจักร | จอมพล [[ป. พิบูลสงคราม]] รักษาการนายกรัฐมนตรี ตัดสินใจประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองแต่กลับเพิ่มดีกรีของความรุนแรงให้มากยิ่งขึ้น การเดินขบวนประท้วงของประชาชนและนิสิตนักศึกษามุ่งหน้าจากท้องสนามหลวงสู่ทำเนียบรัฐบาล และในวันเดียวกันนี้ได้มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งให้จอมพล[[สฤษดิ์ ธนะรัชต์]] เป็นผู้รักษาความสงบเรียบร้อยตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินและมีอำนาจบังคับบัญชาทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ และตำรวจได้ทั่วราชอาณาจักร | ||
หลังการเลือกตั้งเดือนกุมภาพันธ์และหลังการรณรงค์คัดค้านการเลือกตั้งที่สกปรก คะแนนนิยมและฐานะของจอมพล [[ป. พิบูลสงคราม]] เสื่อมลงอย่างรวดเร็ว พวกที่คัดค้านรัฐบาล และความเป็นเผด็จการและการใช้อำนาจผิด ๆ ของพลตำรวจเอกเผ่าก็ยิ่งเพิ่มขึ้น จนถึงวันที่ 16 เดือนกันยายน พ.ศ.2500 จอมพล[[สฤษดิ์ ธนะรัชต์]] จึงทำรัฐประหารยึดอำนาจจากรัฐบาลจอมพล [[ป. พิบูลสงคราม]] | หลังการเลือกตั้งเดือนกุมภาพันธ์และหลังการรณรงค์คัดค้านการเลือกตั้งที่สกปรก คะแนนนิยมและฐานะของจอมพล [[ป. พิบูลสงคราม]] เสื่อมลงอย่างรวดเร็ว พวกที่คัดค้านรัฐบาล และความเป็นเผด็จการและการใช้อำนาจผิด ๆ ของพลตำรวจเอกเผ่าก็ยิ่งเพิ่มขึ้น จนถึงวันที่ 16 เดือนกันยายน พ.ศ.2500 จอมพล[[สฤษดิ์ ธนะรัชต์]] จึงทำรัฐประหารยึดอำนาจจากรัฐบาลจอมพล [[ป. พิบูลสงคราม]] | ||
[[category:กิจกรรมทางการเมืองที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง]] | [[category:กิจกรรมทางการเมืองที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง]] |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:53, 4 กุมภาพันธ์ 2552
บทความนี้อยู่ในระหว่างการดำเนินการตรวจสอบความถูกต้องเรียบร้อยโดยผู้ืทรงคุณวุฒิ
ผู้เรียบเรียง โอฬาร ถิ่นบางเตียว
การเวียนเทียน หมายถึง พฤติกรรมในการทุจริตการเลือกตั้งโดยการใช้บัตรประชาชนใบเดียวเวียนกันไปใช้สิทธิเลือกตั้งในหน่วยเลือกตั้งซ้ำกันหลายๆ รอบ พฤติกรรมการทุจริตการเลือกตั้งดังกล่าวเป็นการทุจริตที่ต้องอาศัยความร่วมมือกันระหว่างผู้สมัครรับเลือกตั้งกับกรรมการการเลือกตั้งประจำหน่วยเลือกตั้ง หรือเป็นหน่วยเลือกตั้งที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งมีอิทธิพลสูงสามารถ ทำให้กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งให้ร่วมมือในการทุจริตการเลือกตั้ง หรือการวางยุทธศาสตร์โดยให้คนของผู้สมัครรับเลือกตั้งเข้าไปเป็นกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง
พฤติกรรมการทุจริตการเลือกตั้งโดยวิธีการดังกล่าวมักจะกระทำในเขตเลือกตั้งที่อยู่ห่างไกลจากชุมชน ประชาชนไม่สนใจติดตามการลงคะแนนใช้สิทธิเลือกตั้ง ในหน่วยเลือกตั้งจึงมีเพียงคณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งที่ดูแลและควบคุมการใช้สิทธิเลือกตั้งของประชาชนเป็นการเปิดโอกาสให้เกิดการทุจริตในลักษณะดังกล่าวได้ง่าย และอาศัยช่วงเวลาที่ผู้มาใช้สิทธิไม่มากโดยเฉพาะช่วงเปิดหีบเลือกตั้งใหม่ๆ หรือใกล้เวลาปิดหีบเลือกตั้ง
พฤติกรรมการทุจริตการเลือกตั้งโดยวิธีการนี้เกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ในการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2500 การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการแข่งขันกัน 2 พรรคใหญ่ คือ พรรคเสรีมนังคศิลากับพรรคประชาธิปัตย์
พรรคเสรีมนังคศิลาเป็นพรรครัฐบาล มีจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี เป็นหัวหน้าพรรค และพลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ อธิบดีกรมตำรวจ เป็นเลขาธิการพรรค ในขณะที่พรรคประชาธิปัตย์เป็นฝ่ายค้าน มีนายควง อภัยวงศ์ เป็นหัวหน้าพรรค
การเลือกตั้งทั่วไปวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 นับเป็นการเลือกตั้งที่สกปรกมากที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทย เพราะจอมพล ป. พิบูลสงคราม หัวหน้าพรรคและพลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ เลขาธิการ ใช้อำนาจและอิทธิพลของทหารและตำรวจบีบบังคับข้าราชการทหาร ตำรวจ และพลเรือนให้ช่วยพรรคเสรีมนังคศิลาอย่างเต็มที่
หลังการเลือกตั้งพรรคเสรีมนังคศิลาชนะพรรคประชาธิปัตย์ แต่หนังสือพิมพ์ สื่อมวลชนทุกแขนงต่างประโคมข่าวการทุจริตการเลือกตั้งอย่างขนานใหญ่ของพรรคเสรีมนังคศิลา ประชาชนและขบวนการนิสิตนักศึกษาต่างโจมตีการเลือกตั้งสกปรกครั้งนี้ เพราะมีการทุจริตการเลือกตั้งโดยใช้วิธีการ พลร่ม ไพ่ไฟ การเวียนเทียน การบีบบังคับข้าราชการประจำและมีการทุจริตเลือกตั้งในรูปแบบต่างๆ กันถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นในการทุจริตการเลือกตั้งที่ใช้ต่อๆกันมา
พฤติกรรมการอำนาจของรัฐบาลในการทุจริตการเลือกตั้ง สร้างความไม่พอใจให้กลุ่มนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รวมตัวกันประมาณ 2,000 คน ก็ได้ตัดสินใจเด็ดขาดที่จะต่อต้านรัฐบาล นิสิตเหล่านี้ลดธงชาติลงครึ่งเสาซึ่งเป็นการแสดงการไว้อาลัยประชาธิปไตยที่ตายไป ประชาชนได้เดินขบวนคัดค้านการเลือกตั้งสกปรกพรรคประชาธิปัตย์ไม่ยอมรับผลการเลือกตั้ง ถึงแม้ตัวจอมพล ป. พิบูลสงคราม หัวหน้าพรรคเสรีมนังคศิลาและรักษาการนายกรัฐมนตรี ได้พยายามทุกวิถีทางที่จะทำความเข้าใจกับสื่อมวลชน ประชาชน และนิสิตนักศึกษา แต่ความไม่พอใจในตัวจอมพล ป. พิบูลสงคราม กลับเพิ่มมากขึ้น วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ.2500 หรือ 1 สัปดาห์หลังการเลือกตั้ง
นิสิตเหล่านี้เดินขบวนไปที่กระทรวงมหาดไทยโสยการแนะนนำของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีลาออกและให้มีการเลือกตั้งใหม่ โดยที่มีคณะกรรมการประกอบด้วยนิสิตในการควบคุมการลงคะแนน นายกรัฐมนตรีกล่าวตอบว่า การเลือกตั้งจะเป็นโมฆะก็ต่อเมื่อศาลสั่ง นิสิตสลายตัวเมื่อจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ขอให้สลายตัว และสฤษดิ์ได้กล่าวคำคมในประวัติศาสตร์ไว้ที่สะพานมัฆวานว่า “พบกันใหม่เมื่อชาติต้องการ”
จอมพล ป. พิบูลสงคราม รักษาการนายกรัฐมนตรี ตัดสินใจประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองแต่กลับเพิ่มดีกรีของความรุนแรงให้มากยิ่งขึ้น การเดินขบวนประท้วงของประชาชนและนิสิตนักศึกษามุ่งหน้าจากท้องสนามหลวงสู่ทำเนียบรัฐบาล และในวันเดียวกันนี้ได้มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งให้จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นผู้รักษาความสงบเรียบร้อยตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินและมีอำนาจบังคับบัญชาทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ และตำรวจได้ทั่วราชอาณาจักร
หลังการเลือกตั้งเดือนกุมภาพันธ์และหลังการรณรงค์คัดค้านการเลือกตั้งที่สกปรก คะแนนนิยมและฐานะของจอมพล ป. พิบูลสงคราม เสื่อมลงอย่างรวดเร็ว พวกที่คัดค้านรัฐบาล และความเป็นเผด็จการและการใช้อำนาจผิด ๆ ของพลตำรวจเอกเผ่าก็ยิ่งเพิ่มขึ้น จนถึงวันที่ 16 เดือนกันยายน พ.ศ.2500 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ จึงทำรัฐประหารยึดอำนาจจากรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม