ผลต่างระหว่างรุ่นของ "9 มีนาคม พ.ศ. 2515"
หน้าที่ถูกสร้างด้วย ''''ผู้เรียบเรียง''' ศาสตราจารย์พิเศษ นรนิติ เศรษฐบุต...' |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 12: | บรรทัดที่ 12: | ||
“...ได้ร่วมกันเป็นโจทย์ยื่นฟ้องคณะปฏิวัติ ซึ่งมีจอมพลถนอม กิตติขจร หัวหน้าคณะปฏิวัติกับพวกอีกรวม 17 คน เป็นจำเลยต่อศาลอาญาหาว่าเป็น[[กบฏ]] อ้างในฟ้องว่า เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2514 จอมพลถนอม กิตติขจร กับพวกได้ร่วมกันใช้กำลังประทุษร้ายและขู่เข็ญประชาชนชาวไทย เพื่อล้มล้าง[[รัฐธรรมนูญ]] ขอให้ศาลพิจารณาลงโทษตาม[[กฎหมาย]]” | “...ได้ร่วมกันเป็นโจทย์ยื่นฟ้องคณะปฏิวัติ ซึ่งมีจอมพลถนอม กิตติขจร หัวหน้าคณะปฏิวัติกับพวกอีกรวม 17 คน เป็นจำเลยต่อศาลอาญาหาว่าเป็น[[กบฏ]] อ้างในฟ้องว่า เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2514 จอมพลถนอม กิตติขจร กับพวกได้ร่วมกันใช้กำลังประทุษร้ายและขู่เข็ญประชาชนชาวไทย เพื่อล้มล้าง[[รัฐธรรมนูญ]] ขอให้ศาลพิจารณาลงโทษตาม[[กฎหมาย]]” | ||
ตอนที่อดีตผู้แทนราษฎร 3 ท่าน กล้าฟ้องศาลเล่นงานหัวหน้าและคณะผู้มีอำนาจนั้น มีการประกาศใช้[[ธรรมนูญการปกครองฯ พ.ศ. 2515]] แล้ว ดังนั้นคณะผู้มีอำนาจจึงได้สั่งจับบุคคลทั้ง 3 มาคุมขังและสอบสวนและก็ใช้อำนาจสั่งลงโทษผู้ที่ยื่นฟ้องทั้ง 3 คน ในวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2515 ให้ติดคุกเสียเลยโดย คุณอุทัย พิมพ์ใจชน โดนลงโทษจำคุก 10 ปี ส่วนนายอนันต์ ภักดิ์ประไพกับนายบุญเกิด หิรัญคำ สองคนนี้โดนโทษจำคุกคนละ 7 ปี | |||
น่าเห็นใจบุคคลทั้ง 3 ที่ฟ้องให้ลงโทษผู้มีอำนาจถูกผู้มีอำนาจลงโทษจำคุกที่แรงพอควรทีเดียว ดีแต่ว่ารัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร ถูกล้มได้เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ครั้นมาถึงสมัยรัฐบาล [[นายสัญญา ธรรมศักดิ์]] ในวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2517 [[สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ]]หลายคนเห็นว่าคำสั่งจำคุกคุณอุทัย พิมพ์ใจชน คุณอนันต์ ภักดิ์ประไพ และนายบุญเกิด หิรัญคำ นั้นเป็นการไม่ชอบด้วยระบอบประชาธิปไตย จึงได้ร่วมใจกันเสนอร่างพระราชบัญญัติให้ยกเลิกคำสั่งของหัวหน้าคณะปฏิวัติที่ลงโทษท่านทั้ง 3 เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2515 นั้น ทั้งนี้การพิจารณาร่างกฎหมายนี้เป็นไปอย่างรวดเร็วและออกมาเป็นกฎหมายได้ในวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2517 เป็นอันว่าบุคคลทั้ง 3 พ้นโทษ แต่ก็ถูกจำขังอยู่ตั้งแต่ต้นจนถึงวันปล่อยตัวเป็นเวลาประมาณถึง 22 เดือน | น่าเห็นใจบุคคลทั้ง 3 ที่ฟ้องให้ลงโทษผู้มีอำนาจถูกผู้มีอำนาจลงโทษจำคุกที่แรงพอควรทีเดียว ดีแต่ว่ารัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร ถูกล้มได้เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ครั้นมาถึงสมัยรัฐบาล [[นายสัญญา ธรรมศักดิ์]] ในวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2517 [[สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ]]หลายคนเห็นว่าคำสั่งจำคุกคุณอุทัย พิมพ์ใจชน คุณอนันต์ ภักดิ์ประไพ และนายบุญเกิด หิรัญคำ นั้นเป็นการไม่ชอบด้วยระบอบประชาธิปไตย จึงได้ร่วมใจกันเสนอร่างพระราชบัญญัติให้ยกเลิกคำสั่งของหัวหน้าคณะปฏิวัติที่ลงโทษท่านทั้ง 3 เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2515 นั้น ทั้งนี้การพิจารณาร่างกฎหมายนี้เป็นไปอย่างรวดเร็วและออกมาเป็นกฎหมายได้ในวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2517 เป็นอันว่าบุคคลทั้ง 3 พ้นโทษ แต่ก็ถูกจำขังอยู่ตั้งแต่ต้นจนถึงวันปล่อยตัวเป็นเวลาประมาณถึง 22 เดือน |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:35, 22 ตุลาคม 2556
ผู้เรียบเรียง ศาสตราจารย์พิเศษ นรนิติ เศรษฐบุตร
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต
วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2515 เป็นวันที่ประชาชน 3 คน ได้กล้ายื่นฟ้องคณะปฏิวัติของจอมพลถนอม กิตติขจร ซึ่งยังมีอำนาจปกครองอย่างเด็ดขาดในขณะนั้น ประชาชน 3 คนที่ว่านี้มีนายอุทัย พิมพ์ใจชน อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากจังหวัดชลบุรี สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ นายอนันต์ ภักดิ์ประไพ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิษณุโลก สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ และนายบุญเกิด หิรัญคำ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชัยภูมิ อดีตผู้แทนราษฎร 3 ท่านนี้ มาจาก 3 ภาคของประเทศ คุณอุทัย พิมพ์ใจชน นั้นมาจากภาคกลางหรือทางตะวันออกของประเทศ คุณอนันต์ ภักดิ์ประไพ นั้นมาจากภาคเหนือและคุณบุญเกิด หิรัญคำ นั้นมาจากภาคอิสาน ทั้ง 3 ท่านเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ได้รับการเลือกตั้งจากประชาชนในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อ พ.ศ. 2512
ในบันทึกเล่าของ นายประเสริฐ ปัทมะสุคนธ์ อดีตเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร มีความตอนหนึ่งว่า อดีตผู้แทนราษฎร 3 ท่านนี้
“...ได้ร่วมกันเป็นโจทย์ยื่นฟ้องคณะปฏิวัติ ซึ่งมีจอมพลถนอม กิตติขจร หัวหน้าคณะปฏิวัติกับพวกอีกรวม 17 คน เป็นจำเลยต่อศาลอาญาหาว่าเป็นกบฏ อ้างในฟ้องว่า เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2514 จอมพลถนอม กิตติขจร กับพวกได้ร่วมกันใช้กำลังประทุษร้ายและขู่เข็ญประชาชนชาวไทย เพื่อล้มล้างรัฐธรรมนูญ ขอให้ศาลพิจารณาลงโทษตามกฎหมาย”
ตอนที่อดีตผู้แทนราษฎร 3 ท่าน กล้าฟ้องศาลเล่นงานหัวหน้าและคณะผู้มีอำนาจนั้น มีการประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองฯ พ.ศ. 2515 แล้ว ดังนั้นคณะผู้มีอำนาจจึงได้สั่งจับบุคคลทั้ง 3 มาคุมขังและสอบสวนและก็ใช้อำนาจสั่งลงโทษผู้ที่ยื่นฟ้องทั้ง 3 คน ในวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2515 ให้ติดคุกเสียเลยโดย คุณอุทัย พิมพ์ใจชน โดนลงโทษจำคุก 10 ปี ส่วนนายอนันต์ ภักดิ์ประไพกับนายบุญเกิด หิรัญคำ สองคนนี้โดนโทษจำคุกคนละ 7 ปี
น่าเห็นใจบุคคลทั้ง 3 ที่ฟ้องให้ลงโทษผู้มีอำนาจถูกผู้มีอำนาจลงโทษจำคุกที่แรงพอควรทีเดียว ดีแต่ว่ารัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร ถูกล้มได้เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ครั้นมาถึงสมัยรัฐบาล นายสัญญา ธรรมศักดิ์ ในวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2517 สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติหลายคนเห็นว่าคำสั่งจำคุกคุณอุทัย พิมพ์ใจชน คุณอนันต์ ภักดิ์ประไพ และนายบุญเกิด หิรัญคำ นั้นเป็นการไม่ชอบด้วยระบอบประชาธิปไตย จึงได้ร่วมใจกันเสนอร่างพระราชบัญญัติให้ยกเลิกคำสั่งของหัวหน้าคณะปฏิวัติที่ลงโทษท่านทั้ง 3 เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2515 นั้น ทั้งนี้การพิจารณาร่างกฎหมายนี้เป็นไปอย่างรวดเร็วและออกมาเป็นกฎหมายได้ในวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2517 เป็นอันว่าบุคคลทั้ง 3 พ้นโทษ แต่ก็ถูกจำขังอยู่ตั้งแต่ต้นจนถึงวันปล่อยตัวเป็นเวลาประมาณถึง 22 เดือน