ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กบฏแบ่งแยกดินแดนอีสาน"
ลไม่มีความย่อการแก้ไข |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 9: | บรรทัดที่ 9: | ||
== กบฏแบ่งแยกดินแดนอีสาน == | == กบฏแบ่งแยกดินแดนอีสาน == | ||
กบฏแบ่งแยกดินแดนภาคอีสานเป็นข้อหาที่[[รัฐบาล]][[จอมพล ป. พิบูลสงคราม]] ใช้กล่าวหาศัตรูทางการเมืองของตนในช่วงหลังการ[[รัฐประหาร]]วันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ.2490 ผู้ที่ถูกจับกุมและถูกตั้งข้อหาดังกล่าวคือ[[สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร]]ของจังหวัดในภาคอีสาน | กบฏแบ่งแยกดินแดนภาคอีสานเป็นข้อหาที่[[รัฐบาล]][[แปลก พิบูลสงคราม|จอมพล ป. พิบูลสงคราม]] ใช้กล่าวหาศัตรูทางการเมืองของตนในช่วงหลังการ[[รัฐประหาร]]วันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ.2490 ผู้ที่ถูกจับกุมและถูกตั้งข้อหาดังกล่าวคือ[[สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร]]ของจังหวัดในภาคอีสาน | ||
ในช่วง[[สงครามโลกครั้งที่สอง]]สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรภาคอีสาน 2 กลุ่มคือ [[กลุ่มเสรีไทยอีสาน]] ซึ่งมีแกนนำกลุ่มอันประกอบไปด้วย นายเตียง ศิริขันธ์, นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์, นายถวิล อุดล และนายจำลอง ดาวเรือง และกลุ่มที่มีนายฟอง สิทธิธรรม เป็นผู้นำ ได้เคลื่อนไหวนอกสภาฯ ร่วมกับ[[ขบวนการลาวอิสระ]]ซึ่งมีจุดมุ่งหมายในการกู้เอกราชให้แก่ลาว สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกลุ่มเสรีไทยอีสานยังได้เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดตั้ง[[สันนิบาตเอเชียอาคเนย์]]ในปี พ.ศ.2490 ความเคลื่อนไหวดังกล่าวนี้ทำให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรภาคอีสานทั้งสองกลุ่มถูกกล่าวหาจากรัฐบาลว่า ต้องการแบ่งแยกดินแดนภาคอีสาน นำไปสู่การจับกุมในข้อหา “กบฏแบ่งแยกดินแดน” ซึ่งเกิดขึ้นหลายครั้ง | ในช่วง[[สงครามโลกครั้งที่สอง]]สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรภาคอีสาน 2 กลุ่มคือ [[กลุ่มเสรีไทยอีสาน]] ซึ่งมีแกนนำกลุ่มอันประกอบไปด้วย นายเตียง ศิริขันธ์, นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์, นายถวิล อุดล และนายจำลอง ดาวเรือง และกลุ่มที่มีนายฟอง สิทธิธรรม เป็นผู้นำ ได้เคลื่อนไหวนอกสภาฯ ร่วมกับ[[ขบวนการลาวอิสระ]]ซึ่งมีจุดมุ่งหมายในการกู้เอกราชให้แก่ลาว สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกลุ่มเสรีไทยอีสานยังได้เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดตั้ง[[สันนิบาตเอเชียอาคเนย์]]ในปี พ.ศ.2490 ความเคลื่อนไหวดังกล่าวนี้ทำให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรภาคอีสานทั้งสองกลุ่มถูกกล่าวหาจากรัฐบาลว่า ต้องการแบ่งแยกดินแดนภาคอีสาน นำไปสู่การจับกุมในข้อหา “กบฏแบ่งแยกดินแดน” ซึ่งเกิดขึ้นหลายครั้ง |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 16:20, 16 สิงหาคม 2556
ผู้เรียบเรียง สุวัสดี โภชน์พันธุ์
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร และ รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต
กบฏแบ่งแยกดินแดนอีสาน
กบฏแบ่งแยกดินแดนภาคอีสานเป็นข้อหาที่รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ใช้กล่าวหาศัตรูทางการเมืองของตนในช่วงหลังการรัฐประหารวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ.2490 ผู้ที่ถูกจับกุมและถูกตั้งข้อหาดังกล่าวคือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจังหวัดในภาคอีสาน
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรภาคอีสาน 2 กลุ่มคือ กลุ่มเสรีไทยอีสาน ซึ่งมีแกนนำกลุ่มอันประกอบไปด้วย นายเตียง ศิริขันธ์, นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์, นายถวิล อุดล และนายจำลอง ดาวเรือง และกลุ่มที่มีนายฟอง สิทธิธรรม เป็นผู้นำ ได้เคลื่อนไหวนอกสภาฯ ร่วมกับขบวนการลาวอิสระซึ่งมีจุดมุ่งหมายในการกู้เอกราชให้แก่ลาว สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกลุ่มเสรีไทยอีสานยังได้เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดตั้งสันนิบาตเอเชียอาคเนย์ในปี พ.ศ.2490 ความเคลื่อนไหวดังกล่าวนี้ทำให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรภาคอีสานทั้งสองกลุ่มถูกกล่าวหาจากรัฐบาลว่า ต้องการแบ่งแยกดินแดนภาคอีสาน นำไปสู่การจับกุมในข้อหา “กบฏแบ่งแยกดินแดน” ซึ่งเกิดขึ้นหลายครั้ง
ในต้นปี พ.ศ.2491 นายเตียง ศิริขันธ์ ซึ่งถูกประกาศจับเนื่องจากคณะรัฐประหารเชื่อว่าเตียงและพรรคพวกจะดำเนินการต่อต้านการรัฐประหาร ในเดือนมีนาคม พ.ศ.2491 เตียงก็เข้ามอบตัวกับตำรวจ และเดือนมิถุนายนปีเดียวกันอัยการก็ส่งสำนวนฟ้องเตียงในข้อหาสมคบกันพยายามจะก่อการกบฏเพื่อทำลายรัฐบาลกับมีอาวุธปืน กระสุนปืน และวัตถุระเบิดไว้โดยไม่ได้รับอนุญาต ข้อความในสำเนาฟ้องส่วนที่เกี่ยวข้องกับการกล่าวหาว่าเตียงพยายามจะก่อการกบฏมีว่า
“...ระหว่างเดือนกันยายน 2490 นายเตียงได้ประกาศชักชวนประชาชนที่จังหวัดสกลให้คิดแบ่งแยกจากไทย และรวบรวมพวกลาวด้วยกันขึ้นเป็นรัฐลาว และขึ้นตรงต่อสันนิบาตเอเชียอาคเนย์โดยมีตนเองเป็นนายกรัฐมนตรี และนายเตียงได้กล่าวยุยงพวกที่อยู่ร่วมด้วยให้คิดจัดการแบ่งแยกประเทศไทยออกเป็น 4 รัฐ และรวบรวมกำลังเพื่อจะทำการปฏิวัติ ซึ่งการกระทำของนายเตียงนี้มีผิดฐานพยายามกบฏและยุยงให้เกิดกระด้างในหมู่ประชาชน...” [1] |
ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2491 ก็มีการจับกุมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรภาคอีสานในข้อหา “กบฏแบ่งแยกดินแดน” อีกครั้งหนึ่ง ผู้ที่ถูกจับกุมในครั้งนี้ คือ นายทิม ภูริพัฒน์, นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์, นายเตียง ศิริขันธ์, นายถวิล อุดล และนายฟอง สิทธิธรรม ซึ่งทั้งหมดถูกปล่อยตัวในชั้นศาล เนื่องจากไม่มีหลักฐาน
การกวาดล้างครั้งที่สาม เกิดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2492 โดยรัฐบาลอ้างว่าขบวนการเสรีไทยในภาคอีสานคิดแบ่งแยกภาคอีสานออกไปปกครองเป็นอิสระโดยจะตั้งเป็น “สมาพันธรัฐแหลมทอง”
ประเด็นเรื่องการแบ่งแยกดินแดนจะถูกหยิบยกขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งในปี พ.ศ.2497 เมื่อนายฟอง สิทธิธรรม ถูกจับกุมในข้อหากบฏภายนอกราชอาณาจักรและกบฏภายในราชอาณาจักร ซึ่งข้อหาหลังนี้นายฟองถูกกล่าวหาว่า มีพฤติการณ์จะแบ่งแยกดินแดนภาคอีสาน นายฟองถูกจำคุกในข้อหาเป็นกบฏและได้รับการปล่อยตัวออกมาใน พ.ศ.2500 และถูกจับกุมอีกครั้งหนึ่งใน พ.ศ.2504
อ้างอิง
- ↑ กจช. ก/ป 7/2491/8 ข อ้างถึงใน ดารารัตน์ เมตตาริกานนท์, การรวมกลุ่มทางการเมืองของ ส.ส.อีสาน พ.ศ.2476–2494 (กรุงเทพฯ: มติชน, 2546), หน้า 448.