ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ชีวิตที่ดีกว่า (พ.ศ. 2542)"
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 6: | บรรทัดที่ 6: | ||
'''พรรคชีวิตที่ดีกว่า (2542)''' | '''พรรคชีวิตที่ดีกว่า (2542)''' | ||
พรรคชีวิตที่ดีกว่าจดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมืองเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2542 <ref>ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอนพิเศษ 83ง หน้า 128</ref> โดยมีนายพจน์กรณ์ ตันติภิรมย์ | พรรคชีวิตที่ดีกว่าจดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมืองเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2542 <ref>ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอนพิเศษ 83ง หน้า 128</ref> โดยมีนายพจน์กรณ์ ตันติภิรมย์ ดำรงตำแหน่งเป็น[[หัวหน้าพรรค]]และนายวันชัย ช่องดารากุล ดำรงตำแหน่งเป็น[[เลขาธิการพรรค]] <ref>ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอนพิเศษ 83ง หน้า 168</ref> | ||
ในส่วนของการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองอย่างเป็นทางการของพรรคนั้นในการเลือกตั้งวันที่ 6 มกราคม พ.ศ.2544 | ในส่วนของการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองอย่างเป็นทางการของพรรคนั้นในการเลือกตั้งวันที่ 6 มกราคม พ.ศ.2544 พรรคได้ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง[[แบบบัญชีรายชื่อ]]จำนวน 1คน <ref>สยามจดหมายเหตุ ปีที่ 26 ฉบับที่ 35 หน้า 957</ref> แต่ในแบบแบ่งเขตไม่ส่งผู้สมัครแต่อย่างใด <ref>คณะกรรมการการเลือกตั้ง,ข้อมูล สถิติ และผลการเลือกตั้ง[[สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร]] [[ลิงก์เชื่อมโยง]]พ.ศ. 2544 หน้า 35-36</ref> | ||
รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:31, 11 มิถุนายน 2553
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร และ รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต
พรรคชีวิตที่ดีกว่า (2542)
พรรคชีวิตที่ดีกว่าจดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมืองเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2542 [1] โดยมีนายพจน์กรณ์ ตันติภิรมย์ ดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าพรรคและนายวันชัย ช่องดารากุล ดำรงตำแหน่งเป็นเลขาธิการพรรค [2]
ในส่วนของการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองอย่างเป็นทางการของพรรคนั้นในการเลือกตั้งวันที่ 6 มกราคม พ.ศ.2544 พรรคได้ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อจำนวน 1คน [3] แต่ในแบบแบ่งเขตไม่ส่งผู้สมัครแต่อย่างใด [4]
รายละเอียดเกี่ยวกับนโยบายและการดำเนินการที่สำคัญมีดังต่อไปนี้คือ [5]
ด้านการบริหารและการปกครอง 1. พิทักษ์รักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ 2. ให้มีกำลังทหารไว้เพื่อรักษาเอกราช ความมั่นคงและเพื่อการพัฒนาประเทศ 3. ให้ความอุปถัมภ์ทุกศาสนาที่มีอยู่ในสังคมไทย 4. ส่งเสริมการสร้างสัมพันธไมตรีกับนานาประเทศ 5. แก้ไขสนธิสัญญาบางฉบับให้เกิดความเสมอภาคและเป็นธรรม 6. ปรับปรุงกฎหมายให้เหมาะสมกับยุคสมัย 7. ปฏิรูประบบราชการใหม่ 8. ปรับปรุงระบบภาษีให้เกิดความเป็นธรรม 9. เสริมสร้างกำลังใจและสวัสดิการให้แก่ข้าราชการ 10. เลิกเก็บภาษีเงินได้ผู้ออกจากงานและผู้เกษียณอายุราชการทุกกรณี
ด้านสังคมและการเมือง 1. จัดระบบกระบวนการยุติธรรมให้มีประสิทธิภาพ 2. จัดสรรงบประมาณให้เพียงพอแก่การบริหารงานขององค์กรอิสระ 3. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน 4. พัฒนาการเมืองให้มีคุณธรรม จริยธรรมและเสริมสร้างประสิทธิภาพในการทำงาน 5. กระจายอำนาจการบริหารสู่ท้องถิ่น 6. ให้ความคุ้มครองและพัฒนา เด็กและเยาวชน ส่งเสริมความเสมอภาคของหญิงและชายและสงเคราะห์คนชรา และผู้ด้อยโอกาสทางสังคม 7. ส่งเสริมให้มีบริการทางสาธารณสุขอย่างทั่วถึง 8. สร้างสังคมไทยให้มีความเป็นปึกแผ่น
ด้านการศึกษา 1. จัดการศึกษาให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและส่งเสริมให้เอกชนมีส่วนร่วมในการค้นว้าวิจัยด้านวิทยาการต่างๆ 2. สร้างโอกาสให้คนไทยได้พัฒนาศักยภาพของตนเอง 3. จ่ายเงินหรือคูปองเรียนฟรีถึงระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง 4. จัดตั้งศูนย์พัฒนาชีวิตของผู้สูงอายุวัย 50 ปีขึ้นไป
ด้านเศรษฐกิจ 1. กระจายรายได้อย่างเป็นธรรม 2. จัดระบบการถือครองและเช่าที่ดินอย่างเหมาะสม 3. สนับสนุนและคุ้มครองระบบสหกรณ์ 4. ส่งเสริมให้ประชากรในวัยทำงานมีงานทำ 5. สนับสนุนระบบเศรษฐกิจแบบเสรี 6. ส่งเสริมให้ประเทศเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคทางเศรษฐกิจ 7. พัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยในส่วนภูมิภาคให้เท่าเทียมชีวิตในเมืองหลวง 8. สนับสนุนภาคการเกษตรและอุตสาหกรรม 9. ปรับปรุงและลดอัตราค่าบริการระบบสาธารณูปโภค 10. ให้เงินหรือคูปองรักษาพยาบาลฟรี 11. แก้ไขระบบประกันสังคม 12. ส่งเสริมและสนับสนุนให้คนพิการที่มีความสามารถได้มีโอกาสทำงาน 13. ให้เงินหรือคูปองและจัดสวัสดิการให้แก่ผู้สูงอายุวัย 50 ปีขึ้นไป 14. ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนไปทำงานต่างต่างประเทศ 15. ส่งเสริมระบบแรงงานสัมพันธ์ 16. สนับสนุนการสร้างงานทั้งภาครัฐและเอกชนมากขึ้น 17. ส่งเสริมการจัดสวัสดิการให้แรงงานในโรงงานอุตสาหกรรมและธุรกิจเอกชนอื่นๆ 18. สนับสนุนการจัดตั้งสหภาพแรงงาน 19. แก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกร 20. จัดระบบการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ 21. ปรับระบบธนาคารพาณิชย์ให้มีความมั่นคงน่าเชื่อถือ 22. ปรับปรุงระบบดอกเบี้ยเพื่อสร้างความเป็นธรรม 23. ปกป้องและคุ้มครองธุรกิจของรัฐและเอกชนไม่ให้ต่างชาติเข้ามาถือครอง 24. ให้คูปองแก่ผู้สูงอายุวัย 50 ปีขึ้นไปนั่งรถโดยสารฟรี
ในส่วนของนโยบายพรรคนั้นแม้ว่าพรรคจะได้จัดทำนโยบายและได้แถลงไว้เมื่อทำการจดทะเบียนจัดตั้งพรรคในปี 2542 แล้วก็ตามแต่เมื่อถึงปี 2544 พรรคก็ได้ประกาศเปลี่ยนแปลงนโยบายโดยทำการยกเลิกนโยบายเก่าทั้งหมดและประกาศใช้นโยบายใหม่ซึ่งมีนโยบายดังต่อไปนี้คือ[6]
นโยบายของพรรคชีวิตที่ดีกว่า พ.ศ. 2544
ด้านการบริหารและการปกครอง 1. พิทักษ์รักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ 2. ให้มีกำลังทหารไว้เพื่อรักษาเอกราช ความมั่นคงและเพื่อการพัฒนาประเทศ 3. ให้ความอุปถัมภ์ทุกศาสนาที่มีอยู่ในสังคมไทย 4. ส่งเสริมการสร้างสัมพันธไมตรีกับนานาประเทศ 5. แก้ไขสนธิสัญญาบางฉบับให้เกิดความเสมอภาคและเป็นธรรม 6. ออกกฎหมายให้มีเสรีภาพอย่างแท้จริง เป็นธรรมกับทุกคนและเหมาะสมกับกาลสมัย 7. ปรับปรุงและลดขั้นตอนการปฏิบัติงานของระบบราชการให้เหมาะสมและรวดเร็ว 8. ปรับปรุงหรือยกเลิกกฎหมายภาษีบางประเภทให้เหมาะสมและเป็นธรรม 9. สร้างขวัญกำลังใจและให้สวัสดิการแก่ข้าราชการอย่างเพียงพอ
ด้านสังคมและการเมือง 1. จัดระบบกระบวนการยุติธรรมให้มีประสิทธิภาพ 2. กระจายรายได้อย่างเป็นธรรมและจัดสรรงบประมาณให้องค์กรอิสระอย่างเพียงพอ 3. กระจายอำนาจให้คนในท้องถิ่นสามารถตัดสินใจดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในท้องถิ่นของตนเองได้ 4. ส่งเสริมการเมืองให้มีคุณธรรมและจริยธรรมและเสริมสร้างประสิทธิภาพในการทำงาน 5. ส่งเสริมการให้บริการด้านการสาธารณสุขฟรีแก่ประชาชน 6. ให้ความคุ้มครองและพัฒนา เด็กและเยาวชน ส่งเสริมความเสมอภาคของหญิงและชายและสงเคราะห์คนชรา และผู้ด้อยโอกาสทางสังคม 7. สร้างสังคมไทยให้มีความเป็นปึกแผ่น 8. ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและการตัดสินใจทางการเมือง
ด้านการศึกษา 1. จัดการศึกษาให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและส่งเสริมให้เอกชนมีส่วนร่วมในการค้นว้าวิจัยด้านวิทยาการต่างๆ 2. ให้โอกาสคนไทยได้พัฒนาศักยภาพของตนเองได้มากขึ้น 3. ทำให้คนไทยมีความสามารถพร้อมที่จะปรับตัวรับกับกระแสความเปลี่ยนแปลง 4. สนับสนุนด้านการเงินให้ประชาชนได้รับการศึกษาฟรีไม่น้อยกว่าระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง 5. จัดตั้งศูนย์พัฒนาชีวิตของผู้สูงอายุวัย 50 ปีขึ้นไป
ด้านเศรษฐกิจ 1. จัดระบบการถือครองให้มีการใช้อย่างเหมาะสมและจัดแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรอย่างทั่วถึง 2. ส่งเสริมให้มีการจัดตั้งสหกรณ์ให้มีทุกพื้นที่และมีทุกประเภทของระบบสหกรณ์ 3. สนับสนุนให้มีอาชีพและงานใหม่ๆเพื่อมารองรับประชากรวัยทำงาน คุ้มครองแรงงานเด็กและสตรีเป็นพิเศษและให้มีการจัดตั้งสหภาพแรงงาน 4. ลดราคาค่าไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์น้ำมันเชื้อเพลิง และก๊าซหุงต้มพร้อมทั้งยกเลิกเงินประกันต่างๆ ที่เรียกเก็บจากประชาชน 5. ปลดหรือลดหนี้สินแก่เกษตรกร แรงงานภาครัฐ และเอกชน 6. สนับสนุนด้านการเงินให้เป็นสวัสดิการแก่ผู้สูงอายุวัย 50 ปีขึ้นไป เด็ก คนพิการและคนว่างงานบางประเภท 7. ปรับปรุงระบบธนาคารให้เป็นที่เชื่อถือของประชาชนและนานาชาติ 8. ส่งเสริมและสนับสนุนธุรกิจขนาดย่อม 9. พัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยในส่วนภูมิภาคให้เท่าเทียมกับชีวิตในเมืองหลวง
อ้างอิง
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอนพิเศษ 83ง หน้า 128
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอนพิเศษ 83ง หน้า 168
- ↑ สยามจดหมายเหตุ ปีที่ 26 ฉบับที่ 35 หน้า 957
- ↑ คณะกรรมการการเลือกตั้ง,ข้อมูล สถิติ และผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ลิงก์เชื่อมโยงพ.ศ. 2544 หน้า 35-36
- ↑ สรุปความจากราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอนพิเศษ 83ง หน้า 128-136
- ↑ สรุปความจากราชกิจจานุเบกษา เล่ม 118 ตอนพิเศษ 50ง หน้า 15-22