ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พลังเสรีธรรม (พ.ศ. 2546)"
สร้างหน้าใหม่: '''พรรคพลังเสรีธรรม''' พรรคพลังเสรีธรรม มีชื่อในภาษาอังกฤ... |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 1: | บรรทัดที่ 1: | ||
'''พรรคพลังเสรีธรรม''' | '''พรรคพลังเสรีธรรม''' | ||
พรรคพลังเสรีธรรม มีชื่อในภาษาอังกฤษคือ “POWER LIBERAL INTEGRITY PARTY” ใช้ชื่ออักษรย่อว่า “พ.ส.ธ.” หรือ “P.L.I.P.” | พรรคพลังเสรีธรรม มีชื่อในภาษาอังกฤษคือ “POWER LIBERAL INTEGRITY PARTY” ใช้ชื่ออักษรย่อว่า “พ.ส.ธ.” หรือ “P.L.I.P.” ได้รับการจดทะเบียนจัดตั้ง[[พรรคการเมือง]]ตามทะเบียนเลขที่ 7/2546 เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ ณ บ้านเลขที่ 1/773 หมู่ที่ 17 ซอย 60/1 (หมู่บ้านการ์เด้นโฮม) ถนนพหลโยธิน ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี 12130 <ref> ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 120 ตอนพิเศษ 133 ง, วันที่ 19 พฤศจิกายน 2546, หน้า 33, 58.</ref> | ||
พรรคพลังเสรีธรรมใช้เครื่องหมายของพรรคเป็นภาพนางฟ้าและดอกกุหลาบสี่ดอก ด้านบนของเครื่องหมายมีคำว่า “พรรคพลังเสรีธรรม” ด้านล่างเครื่องหมายมีคำว่า “POWER LIBERAL INTEGRITY PARTY” ปรากฏอยู่ โดยเครื่องหมายดังกล่าวมีความหมายดังนี้ | |||
- ชื่อ “พรรคพลังเสรีธรรม” หมายถึง สัญลักษณ์พลังแห่งบารมีธรรมอันมีความบริสุทธิ์และสันติธรรม | - ชื่อ “พรรคพลังเสรีธรรม” หมายถึง สัญลักษณ์พลังแห่งบารมีธรรมอันมีความบริสุทธิ์และสันติธรรม | ||
บรรทัดที่ 23: | บรรทัดที่ 23: | ||
(ข) ยึดถือการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ส่งเสริมการกระจายอำนาจโดยวิธีการเลือกตั้ง | (ข) ยึดถือการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ส่งเสริมการกระจายอำนาจโดยวิธีการเลือกตั้ง | ||
(ค) | (ค) ดำเนินนโยบายเศรษฐกิจ[[เสรีนิยม]] คุ้มครองเกษตรกรและผู้ด้อยโอกาสทางสังคม ส่งเสริมระบบสหกรณ์เพื่อสร้างสรรค์สังคมให้เป็นธรรม | ||
(ง) ยึดมั่นแนวทาง “สันติธรรม” อันหมายถึง วิธีทางแห่งสันติวิธีกับหลักเหตุผลบนพื้นฐานแห่งความชอบธรรมเป็นหลักในการปกครอง การบริหาร และการสร้างสรรค์ชาติ | (ง) ยึดมั่นแนวทาง “สันติธรรม” อันหมายถึง วิธีทางแห่งสันติวิธีกับหลักเหตุผลบนพื้นฐานแห่งความชอบธรรมเป็นหลักในการปกครอง การบริหาร และการสร้างสรรค์ชาติ | ||
บรรทัดที่ 32: | บรรทัดที่ 32: | ||
'''นโยบายของพรรคพลังเสรีธรรม พ.ศ. 2546''' <ref> ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 120 ตอนพิเศษ 133 ง, วันที่ 19 พฤศจิกายน 2546, หน้า 33-58.</ref> | '''นโยบายของพรรคพลังเสรีธรรม พ.ศ. 2546''' <ref> ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 120 ตอนพิเศษ 133 ง, วันที่ 19 พฤศจิกายน 2546, หน้า 33-58.</ref> | ||
พรรคพลังเสรีธรรมมุ่งเทิดทูนและรักษาไว้ซึ่งสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ | พรรคพลังเสรีธรรมมุ่งเทิดทูนและรักษาไว้ซึ่งสถาบันชาติ ศาสนา [[พระมหากษัตริย์]] และการปกครองระบอบ[[ประชาธิปไตย]]อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและยึดมั่นในหลัก[[เสรีภาพ]]ที่เป็นธรรมในการพัฒนาประเทศด้วยความกล้าที่จะตัดสินใจในการแก้ปัญหา ป้องกันปัญหา และสนองความต้องการของประเทศชาติและประชาชน เพื่อให้เกิดการกระจายความเจริญด้วยการพัฒนาทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม การศึกษา การสาธารณสุข และด้านอื่น ๆ อย่างสอดคล้องและสมดุล | ||
1. | 1. ด้านการเมืองและการปกครอพรรคพลังเสรีธรรมส่งเสริมและสนับสนุนการเมืองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขให้มีความเข้มแข็ง และต่อเนื่องควบคู่กับการรื้อปรับระบบ[[การบริหารราชการแผ่นดิน]]ให้สอดคล้องสัมพันธ์กัน | ||
2. นโยบายด้านเศรษฐกิจ | 2. นโยบายด้านเศรษฐกิจ | ||
บรรทัดที่ 47: | บรรทัดที่ 46: | ||
5. นโยบายด้านการต่างประเทศ | 5. นโยบายด้านการต่างประเทศ | ||
พรรคพลังเสรีธรรมยึดมั่นในพันธกรณีที่มีอยู่กับต่างประเทศตาม[[สนธิสัญญา]]และ[[กฎบัตรสหประชาชาติ]] รวมทั้ง[[ปฏิญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชน]] และความตกลงอื่น ๆ ที่ประเทศไทยเป็นสมาชิกภาคี เพื่อเกียรติศักดิ์ศรี และความมั่นคงทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ทั้งนี้ เพื่อสร้างสถานภาพของประเทศให้มีบทบาทมากขึ้น และมีโอกาสเป็นศูนย์กลางทั้งทางด้านเศรษฐกิจการเงิน การคลัง การพาณิชย์ และการคมนาคมในภูมิภาค | |||
6. นโยบายด้านการเกษตร | 6. นโยบายด้านการเกษตร | ||
บรรทัดที่ 87: | บรรทัดที่ 86: | ||
พรรคพลังเสรีธรรมมีคณะกรรมการบริหารพรรคเมื่อแรกก่อตั้งทั้งสิ้น จำนวน 9 คน ดังรายชื่อต่อไปนี้ <ref>ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 120 ตอนพิเศษ 133 ง, วันที่ 19 พฤศจิกายน 2546, หน้า 107-108.</ref> | พรรคพลังเสรีธรรมมีคณะกรรมการบริหารพรรคเมื่อแรกก่อตั้งทั้งสิ้น จำนวน 9 คน ดังรายชื่อต่อไปนี้ <ref>ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 120 ตอนพิเศษ 133 ง, วันที่ 19 พฤศจิกายน 2546, หน้า 107-108.</ref> | ||
1. นายวิทยา ศุภรมย์ หัวหน้าพรรค | 1. นายวิทยา ศุภรมย์ [[หัวหน้าพรรค]] | ||
2. นายไกรศรี เทพดู่ รองหัวหน้าพรรค | 2. นายไกรศรี เทพดู่ รองหัวหน้าพรรค | ||
บรรทัดที่ 93: | บรรทัดที่ 92: | ||
3. นายประยงค์ สมเล็ก รองหัวหน้าพรรค | 3. นายประยงค์ สมเล็ก รองหัวหน้าพรรค | ||
4. นายสุรทิน พิจารณ์ เลขาธิการพรรค | 4. นายสุรทิน พิจารณ์ [[เลขาธิการพรรค]] | ||
5. นายวชิร ศุภรมย์ รองเลขาธิการพรรค | 5. นายวชิร ศุภรมย์ รองเลขาธิการพรรค | ||
บรรทัดที่ 101: | บรรทัดที่ 100: | ||
7. นายสวิน นิลเพชร โฆษกพรรค | 7. นายสวิน นิลเพชร โฆษกพรรค | ||
8. นายคำ คะอังกุ กรรมการบริหารพรรค | 8. นายคำ คะอังกุ [[กรรมการบริหารพรรค]] | ||
9. นางชาลี จันดี กรรมการบริหารพรรค | 9. นางชาลี จันดี กรรมการบริหารพรรค | ||
ต่อมานางสาวสุภาพร ขำสุขได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคและตำแหน่งเหรัญญิกพรรคเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2547, นายสุรทิน พิจารณ์ ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคและตำแหน่งเลขาธิการพรรค เมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2547 <ref>ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 121 ตอนพิเศษ 43 ง, วันที่ 21 เมษายน 2547, หน้า 56.</ref>, นายสวิน นิลเพชร ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคและตำแหน่งโฆษกพรรค เมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ.2547<ref>ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 121 ตอนพิเศษ 48 ง, วันที่ 30 เมษายน 2547, หน้า 98.</ref> , นายไกรศรี เทพดู่ ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคและตำแหน่งรองหัวหน้าพรรค เมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ.2547 <ref> ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 121 ตอนพิเศษ 63 ง, วันที่ 7 มิถุนายม 2547, หน้า 15.</ref> และนายวชิร ศุภรมย์ ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคพลังเสรีธรรม ทำให้พ้นจากตำแหน่งรองเลขาธิการพรรคพลังเสรีธรรม ตามหนังสือลาออกลงวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 <ref> ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 121 ตอนพิเศษ 96 ง, วันที่ 3 กันยายน 2547, หน้า 33.</ref> | ต่อมานางสาวสุภาพร ขำสุขได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคและตำแหน่งเหรัญญิกพรรคเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2547, นายสุรทิน พิจารณ์ ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคและตำแหน่งเลขาธิการพรรค เมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2547 <ref>ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 121 ตอนพิเศษ 43 ง, วันที่ 21 เมษายน 2547, หน้า 56.</ref>, นายสวิน นิลเพชร ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคและตำแหน่งโฆษกพรรค เมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ.2547<ref>ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 121 ตอนพิเศษ 48 ง, วันที่ 30 เมษายน 2547, หน้า 98.</ref> , นายไกรศรี เทพดู่ ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคและตำแหน่งรองหัวหน้าพรรค เมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ.2547 <ref> ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 121 ตอนพิเศษ 63 ง, วันที่ 7 มิถุนายม 2547, หน้า 15.</ref> และนายวชิร ศุภรมย์ ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคพลังเสรีธรรม ทำให้พ้นจากตำแหน่งรองเลขาธิการพรรคพลังเสรีธรรม ตามหนังสือลาออกลงวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 <ref> ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 121 ตอนพิเศษ 96 ง, วันที่ 3 กันยายน 2547, หน้า 33.</ref> ทำให้พรรคพลังเสรีธรรมคงเหลือ[[คณะกรรมการบริหารพรรค]]ทั้งสิ้นจำนวน 4 คน | ||
หลังจากได้รับการจดทะเบียนเป็นพรรคการเมืองได้ราว 10 เดือน | หลังจากได้รับการจดทะเบียนเป็นพรรคการเมืองได้ราว 10 เดือน พรรคพลังเสรีธรรมก็ถูกคำสั่ง[[ศาลรัฐธรรมนูญ]] คำสั่งที่ 4/2547 ลงวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2527 ให้[[ยุบพรรค]] เนื่องจากตาม[[พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541]] มาตรา 29 บัญญัติว่า ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่นายทะเบียนรับจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมือง พรรคการเมืองต้องดำเนินการให้มีสมาชิกตั้งแต่ห้าพันคนขึ้นไป ซึ่งอย่างน้อยต้องประกอบด้วยสมาชิกซึ่งมีที่อยู่ในแต่ละภาค ตามบัญชีรายชื่อภาคและจังหวัดที่นายทะเบียนประกาศกำหนด และมีสาขาพรรคการเมืองอย่างน้อยภาคละหนึ่งสาขา แต่ปรากฏว่า เมื่อครบกำหนดเวลาหนึ่งร้อยแปดสิบวันดังกล่าว คือ ภายในวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 พรรคพลังเสรีธรรมได้แจ้งการจัดตั้งสาขาพรรครวมสี่สาขาในสามภาค คือ ภาคเหนือ ที่จังหวัดเชียงราย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่จังหวัดสกลนคร (2 สาขา) และภาคกลางที่กรุงเทพมหานคร โดยไม่ปรากฏสาขาพรรคที่ภาคใต้ ประกอบกับ[[นายทะเบียนพรรคการเมือง]]ไม่รับรองการจัดตั้งสาขาพรรคทั้งสี่สาขาในสามภาคดังกล่าว จึงเป็นเหตุให้พรรคพลังเสรีธรรมต้องถูกยุบเลิกได้ตามาตรา 65 วรรคหนึ่ง (5) <ref> ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 121 ตอนพิเศษ 120 ง, วันที่ 22 ตุลาคม 2547, หน้า 35 และ คำสั่งศาลรัฐธรรมนูญ คำสั่งที่ 4/ 2547, หน้า 1-2.</ref> | ||
==อ้างอิง== | ==อ้างอิง== |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 20:32, 10 กรกฎาคม 2553
พรรคพลังเสรีธรรม
พรรคพลังเสรีธรรม มีชื่อในภาษาอังกฤษคือ “POWER LIBERAL INTEGRITY PARTY” ใช้ชื่ออักษรย่อว่า “พ.ส.ธ.” หรือ “P.L.I.P.” ได้รับการจดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมืองตามทะเบียนเลขที่ 7/2546 เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ ณ บ้านเลขที่ 1/773 หมู่ที่ 17 ซอย 60/1 (หมู่บ้านการ์เด้นโฮม) ถนนพหลโยธิน ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี 12130 [1]
พรรคพลังเสรีธรรมใช้เครื่องหมายของพรรคเป็นภาพนางฟ้าและดอกกุหลาบสี่ดอก ด้านบนของเครื่องหมายมีคำว่า “พรรคพลังเสรีธรรม” ด้านล่างเครื่องหมายมีคำว่า “POWER LIBERAL INTEGRITY PARTY” ปรากฏอยู่ โดยเครื่องหมายดังกล่าวมีความหมายดังนี้
- ชื่อ “พรรคพลังเสรีธรรม” หมายถึง สัญลักษณ์พลังแห่งบารมีธรรมอันมีความบริสุทธิ์และสันติธรรม
- พื้นสีเขียว หมายถึง ความเป็นหนึ่งเดียว ความสมบูรณ์ ซึ่งมีเสถียรภาพ ความมั่นคงของสังคมและประเทศชาติ
- พื้นสีเหลือง หมายถึง ความรุ่งเรือง ความสะอาดบริสุทธิ์ และสันติธรรม
- พื้นสีแดง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง เป็นสีแห่งพลัง สร้างชีวิตของมวลมนุษยชาติ
- นางฟ้าโปรยดอกกุหลาบ หมายถึง สัญลักษณ์แห่งบารมีธรรม ความดีงามอันประเสริฐสูงส่ง
- มือประสานกัน หมายถึง ความร่วมมือ ร่วมใจ สามัคคี
- ดอกกุหลาบทั้งสี่ หมายถึง ปฏิญญา 4 ประการของพรรคพลังเสรีธรรม ซึ่งเป็นปรัชญาขั้นมูลฐานของพรรคพลังเสรีธรรมอันเสมือนเข็มทิศชี้นำการดำเนินงานทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ดังนี้
(ก) เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและมิ่งขวัญของชาติและของปวงชนชาวไทย
(ข) ยึดถือการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ส่งเสริมการกระจายอำนาจโดยวิธีการเลือกตั้ง
(ค) ดำเนินนโยบายเศรษฐกิจเสรีนิยม คุ้มครองเกษตรกรและผู้ด้อยโอกาสทางสังคม ส่งเสริมระบบสหกรณ์เพื่อสร้างสรรค์สังคมให้เป็นธรรม
(ง) ยึดมั่นแนวทาง “สันติธรรม” อันหมายถึง วิธีทางแห่งสันติวิธีกับหลักเหตุผลบนพื้นฐานแห่งความชอบธรรมเป็นหลักในการปกครอง การบริหาร และการสร้างสรรค์ชาติ
ทั้งนี้เมื่อนำความหมายจากสัญลักษณ์ทั้งหมดมารวมกันแล้วจะมีความหมายว่า สัญลักษณ์อันดีงาม โดยมีความบริสุทธิ์และสันติธรรมเป็นเข็มทิศชี้นำประเทศชาติไปสู่ความมั่นคง เจริญรุ่งเรืองทางด้านเศรษฐกิจ ด้านการเมืองและสังคม [2]
นโยบายของพรรคพลังเสรีธรรม พ.ศ. 2546 [3]
พรรคพลังเสรีธรรมมุ่งเทิดทูนและรักษาไว้ซึ่งสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและยึดมั่นในหลักเสรีภาพที่เป็นธรรมในการพัฒนาประเทศด้วยความกล้าที่จะตัดสินใจในการแก้ปัญหา ป้องกันปัญหา และสนองความต้องการของประเทศชาติและประชาชน เพื่อให้เกิดการกระจายความเจริญด้วยการพัฒนาทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม การศึกษา การสาธารณสุข และด้านอื่น ๆ อย่างสอดคล้องและสมดุล
1. ด้านการเมืองและการปกครอพรรคพลังเสรีธรรมส่งเสริมและสนับสนุนการเมืองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขให้มีความเข้มแข็ง และต่อเนื่องควบคู่กับการรื้อปรับระบบการบริหารราชการแผ่นดินให้สอดคล้องสัมพันธ์กัน
2. นโยบายด้านเศรษฐกิจ พรรคพลังเสรีธรรมจะส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจที่มุ่งสร้างความสมดุลภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรม การค้าและการบริการ และการกระจายทรัพย์สิน รวมทั้งรายได้ให้มีความเป็นธรรมมากยิ่งขึ้น โดยวิธีการปฏิรูปทางการเกษตร การปฏิรูปที่ดิน การปฏิรูปด้านการเงินการคลัง การจัดสรรงบประมาณและภาษีอากรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้จะต้องส่งเสริมให้ภาคเอกชนเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศมากยิ่งขึ้นตามไปด้วย
3. นโยบายด้านการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม พรรคพลังเสรีธรรมมุ่งมั่นจะปฏิรูประบบจัดการศึกษาทั้งในและนอกระบบ ทั้งในเรื่องนโยบาย แผนงาน โครงสร้าง และบุคลากรทางการศึกษา เพื่อพัฒนาให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและสอดคล้องกับความจำเป็นและความต้องการในการพัฒนาประเทศในทุกด้าน และในขณะเดียวกันก็ดำรงไว้ซึ่งสิทธิและเสรีภาพในการเลือกนับถือศาสนา และการอนุรักษ์วัฒนธรรมอันดีงามของชาติ และของท้องถิ่นไว้เป็นมรดกที่มีคุณค่าแก่ประเทศของเราต่อไป
4. นโยบายด้านสาธารณสุขและสาธารณูปโภค พรรคพลังเสรีธรรมมุ่งจะยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในด้านสาธารณสุขให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น โดยการรณรงค์ ประสานต่อและผนึกกำลังความร่วมมือทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรอาสาสมัคร เพื่อให้บริการสาธารณสุขที่สามารถตอบสนองต่อความจำเป็นพื้นฐานของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ทั้งด้านการป้องกันโรค การส่งเสริมสุขภาพ การฟื้นฟูสมรรถภาพ ควบคู่ไปกับด้านการรักษาพยาบาล
5. นโยบายด้านการต่างประเทศ พรรคพลังเสรีธรรมยึดมั่นในพันธกรณีที่มีอยู่กับต่างประเทศตามสนธิสัญญาและกฎบัตรสหประชาชาติ รวมทั้งปฏิญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และความตกลงอื่น ๆ ที่ประเทศไทยเป็นสมาชิกภาคี เพื่อเกียรติศักดิ์ศรี และความมั่นคงทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ทั้งนี้ เพื่อสร้างสถานภาพของประเทศให้มีบทบาทมากขึ้น และมีโอกาสเป็นศูนย์กลางทั้งทางด้านเศรษฐกิจการเงิน การคลัง การพาณิชย์ และการคมนาคมในภูมิภาค
6. นโยบายด้านการเกษตร พรรคพลังเสรีธรรมจะจัดให้มีการปรับปรุงระบบการปฏิรูปที่ดินเพื่อเร่งรัดการกระจายการถือครองที่ดินให้แก่เกษตรกรที่ยากจน ให้ความช่วยเหลือในด้านปัจจัยการผลิตและการตลาดควบคู่กัน รักษาระดับราคาผลผลิตทางการเกษตร สนับสนุนให้มีการจัดตั้งสถาบันเกษตร เพื่อเปิดโอกาสให้เกษตรกรและภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในนโยบายของรัฐ แก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในการอุปโภคบริโภค และการเกษตร ส่งเสริม สนับสนุนการปรับปรุงระบบการผลิตทางเกษตรและสนับสนุนงานวิจัยและพัฒนาด้านการเกษตรให้มีความทันสมัยและก้าวหน้าอยู่เสมอ เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการผลิตจนสามารถเข้าแข่งขันในตลาดโลกได้
7. นโยบายด้านอุตสาหกรรม พรรคพลังเสรีธรรมจะให้การสนับสนุนแก่ผู้ลงทุนในอุตสาหกรรมเพื่อรองรับผลิตผลทางการเกษตร อุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก อุตสาหกรรมขนาดเล็กและขนาดกลาง โดยการสร้างเงื่อนไขและสภาวะแวดล้อมที่ดีต่อกิจการอุตสาหกรรม และสร้างความสัมพันธ์ทางการค้ากับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อให้อุตสาหกรรมมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง อันจะเป็นการสร้างความมั่นคงและมั่งคั่งทางเศรษฐกิจของประเทศชาติ
8. นโยบายด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พรรคพลังเสรีธรรมเล็งเห็นถึงความสำคัญของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีต่อการพัฒนาประเทศ โดยจะส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ เพื่อการพัฒนาบุคลากรทางด้านเกษตรกรรม การบริการ รวมทั้งการแก้ไขและป้องกันปัญหาสำคัญของประเทศ ส่งเสริมและขยายความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งภายในและต่างประเทศเพื่อการวิจัยและพัฒนา รวมทั้งมีการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและผลการวิจัยไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการพัฒนาประเทศ
9. นโยบายด้านการพลังงานและสิ่งแวดล้อม พรรคพลังเสรีธรรมจะส่งเสริมให้มีการศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์และวิจัย เพื่อแสวงหาพลังงานธรรมชาติ รวมทั้งมีการส่งเสริมให้มีการใช้พลังงานอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพทุกด้าน เร่งรัดและวางมาตรการเพื่อลดปัญหามลพิษเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมต่อชุมชนรวมทั้งกิจการอื่น ๆ พัฒนาความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน องค์กรอาสาสมัคร และประชาชนในพื้นที่ให้สามารถดำเนินกิจกรรมร่วมมือกันในการรักษาสิ่งแวดล้อมของประเทศ รวมถึงจัดตั้งระบบข้อมูลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และเร่งรัดการประชาสัมพันธ์และการให้ความรู้ความเข้าใจในความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
10. นโยบายด้านการพัฒนาเมืองและชนบท พรรคพลังเสรีธรรมตระหนักดีว่าการพัฒนาประเทศที่ผ่านมาขาดความสมดุลเป็นอย่างมาก ทั้งระหว่างการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ยิ่งไปกว่านั้นยั้งเห็นได้อย่างชัดเจนในความแตกต่างระหว่างเมืองใหญ่กับชนบท ซึ่งความแตกต่างดงกล่าวได้ก่อให้เกิดปัญหาตามมาอีกมากมาย ทั้งในเมืองและในชนบทอีกด้วย จึงจำเป็นจะต้องเน้นการพัฒนาให้เกิดความสมดุลทุก ๆ ด้าน และทั้งด้านการพัฒนาเมืองและชนบทควบคู่กันไป
11. นโยบายด้านความมั่นคงและการป้องกันประเทศ พรรคพลังเสรีธรรมตระหนักในสถานการณ์ด้านความมั่นคงของโลกและของประเทศว่าได้เปลี่ยนแปลงไปหลังสงครามเย็นยุติลง แต่ความจำเป็นที่จะต้องเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเข้าใจอันดีกับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคนี้ยังมีความจำเป็นจะต้องมีอยู่ จึงเห็นสมควรให้กำหนดนโยบายด้านความมั่นคงที่เป็นรูปธรรมขึ้นมา
12. นโยบายด้านแรงงานและสวัสดิการสังคม พรรคพลังเสรีธรรมตระหนักในบทบาทและความสำคัญของผู้ใช้แรงงานให้มีงานทำทั่วประเทศเพื่อเสริมศักยภาพในการพัฒนาประเทศ และสามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้ประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนในการส่งเสริมและสนับสนุนผู้ใช้แรงงานได้มีความรู้ความสามารถ มีคุณธรรม บนพื้นฐานความเข้าใจอันดีระหว่างผู้ใช้แรงงานด้วยกัน พร้อมทั้งสนับสนุนผู้ใช้แรงงานและฝ่ายนายจ้างให้ได้รับค่าจ้าง สวัสดิการอย่างเหมาะสมและเป็นธรรม
13. นโยบายด้านสตรี เด็ก เยาวชนและผู้ด้อยโอกาส พรรคพลังเสรีธรรมจะส่งเสริมให้หญิงและชายมีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกันโดยสมบูรณ์ในการพัฒนาประเทศ และให้การคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก เยาวชน และผู้ด้อยโอกาสในสังคมให้มีความเป็นอยู่ในสังคมอย่างเป็นธรรม รวมถึงสนับสนุนให้มีองค์กรของรัฐเพื่อที่จะดูแลและให้ความอนุเคราะห์แก่ผู้ด้อยโอกาส
14. นโยบายด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม พรรคพลังเสรีธรรมจะกำหนดให้มีแผนการใช้และพิทักษ์ทรัพยากรที่มีคุณค่าของชาติอย่างประหยัดและคุ้มค่าที่สุด เผยแพร่ให้ประชาชนมีความรู้ เห็นความสำคัญและคุณค่าของระบบนิเวศน์รวมทั้งทรัพยากรของชาติ และดำเนินการฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของชาติให้คงไว้อย่างเป็นรูปธรรม
15. นโยบายด้านการต่อต้านยาเสพติดและโรคติดต่อที่รุนแรง พรรคพลังเสรีธรรมจะดำเนินการเพื่อป้องกันและปราบปรามการผลิต การจำหน่ายและการเสพสารเสพติดให้หมดไปจากประเทศอย่างเด็ดขาด และเข้มงวดกับการนำเข้าผลิตภัณฑ์ที่มีสารพิษเจือปน การนำเข้าสัตว์หรือพาหนะต่าง ๆ และการเข้า-ออกประเทศของชาวต่างชาติ ที่อาจก่อให้เกิดโรคระบาดต่อต่อภายในประเทศได้
16. นโยบายด้านการสื่อสารและการคมนาคม พรรคพลังเสรีธรรมจะสนับสนุนให้มีการให้บริการสื่อสารและคมนาคมขั้นพื้นฐานของรัฐที่มีต่อประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ ป้องกันระบบการผูกขาดในธุรกิจโทรคมนาคม จัดระบบจราจรให้เป็นระบบระเบียบและเป็นรูปธรรม เพื่อลดมลภาวะและการสูญเสียพลังงาน อุบัติเหตุ เวลาและอื่น ๆ
17. นโยบายด้านการกีฬา พรรคพลังเสรีธรรมจะส่งเสริมและสนับสนุนการออกกำลังกายและการเล่นกีฬาเพื่อสุขภาพของประชาชนโดยการสร้างสถานที่ฝึก สถานที่แข่งขัน และสถานที่พักผ่อนสาธารณะที่พอเพียง และส่งเสริมการเล่นกีฬาและนักกีฬาของชาติให้มีขวัญกำลังใจและความสามารถอย่างแท้จริงเพื่อสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศชาติต่อไป
พรรคพลังเสรีธรรมมีคณะกรรมการบริหารพรรคเมื่อแรกก่อตั้งทั้งสิ้น จำนวน 9 คน ดังรายชื่อต่อไปนี้ [4]
1. นายวิทยา ศุภรมย์ หัวหน้าพรรค
2. นายไกรศรี เทพดู่ รองหัวหน้าพรรค
3. นายประยงค์ สมเล็ก รองหัวหน้าพรรค
4. นายสุรทิน พิจารณ์ เลขาธิการพรรค
5. นายวชิร ศุภรมย์ รองเลขาธิการพรรค
6. นางสาวสุภาพร ขำสุข เหรัญญิกพรรค
7. นายสวิน นิลเพชร โฆษกพรรค
8. นายคำ คะอังกุ กรรมการบริหารพรรค
9. นางชาลี จันดี กรรมการบริหารพรรค
ต่อมานางสาวสุภาพร ขำสุขได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคและตำแหน่งเหรัญญิกพรรคเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2547, นายสุรทิน พิจารณ์ ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคและตำแหน่งเลขาธิการพรรค เมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2547 [5], นายสวิน นิลเพชร ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคและตำแหน่งโฆษกพรรค เมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ.2547[6] , นายไกรศรี เทพดู่ ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคและตำแหน่งรองหัวหน้าพรรค เมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ.2547 [7] และนายวชิร ศุภรมย์ ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคพลังเสรีธรรม ทำให้พ้นจากตำแหน่งรองเลขาธิการพรรคพลังเสรีธรรม ตามหนังสือลาออกลงวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 [8] ทำให้พรรคพลังเสรีธรรมคงเหลือคณะกรรมการบริหารพรรคทั้งสิ้นจำนวน 4 คน
หลังจากได้รับการจดทะเบียนเป็นพรรคการเมืองได้ราว 10 เดือน พรรคพลังเสรีธรรมก็ถูกคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญ คำสั่งที่ 4/2547 ลงวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2527 ให้ยุบพรรค เนื่องจากตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 มาตรา 29 บัญญัติว่า ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่นายทะเบียนรับจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมือง พรรคการเมืองต้องดำเนินการให้มีสมาชิกตั้งแต่ห้าพันคนขึ้นไป ซึ่งอย่างน้อยต้องประกอบด้วยสมาชิกซึ่งมีที่อยู่ในแต่ละภาค ตามบัญชีรายชื่อภาคและจังหวัดที่นายทะเบียนประกาศกำหนด และมีสาขาพรรคการเมืองอย่างน้อยภาคละหนึ่งสาขา แต่ปรากฏว่า เมื่อครบกำหนดเวลาหนึ่งร้อยแปดสิบวันดังกล่าว คือ ภายในวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 พรรคพลังเสรีธรรมได้แจ้งการจัดตั้งสาขาพรรครวมสี่สาขาในสามภาค คือ ภาคเหนือ ที่จังหวัดเชียงราย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่จังหวัดสกลนคร (2 สาขา) และภาคกลางที่กรุงเทพมหานคร โดยไม่ปรากฏสาขาพรรคที่ภาคใต้ ประกอบกับนายทะเบียนพรรคการเมืองไม่รับรองการจัดตั้งสาขาพรรคทั้งสี่สาขาในสามภาคดังกล่าว จึงเป็นเหตุให้พรรคพลังเสรีธรรมต้องถูกยุบเลิกได้ตามาตรา 65 วรรคหนึ่ง (5) [9]
อ้างอิง
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 120 ตอนพิเศษ 133 ง, วันที่ 19 พฤศจิกายน 2546, หน้า 33, 58.
- ↑ าชกิจจานุเบกษา เล่ม 120 ตอนพิเศษ 133 ง, วันที่ 19 พฤศจิกายน 2546, หน้า 58-60.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 120 ตอนพิเศษ 133 ง, วันที่ 19 พฤศจิกายน 2546, หน้า 33-58.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 120 ตอนพิเศษ 133 ง, วันที่ 19 พฤศจิกายน 2546, หน้า 107-108.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 121 ตอนพิเศษ 43 ง, วันที่ 21 เมษายน 2547, หน้า 56.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 121 ตอนพิเศษ 48 ง, วันที่ 30 เมษายน 2547, หน้า 98.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 121 ตอนพิเศษ 63 ง, วันที่ 7 มิถุนายม 2547, หน้า 15.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 121 ตอนพิเศษ 96 ง, วันที่ 3 กันยายน 2547, หน้า 33.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 121 ตอนพิเศษ 120 ง, วันที่ 22 ตุลาคม 2547, หน้า 35 และ คำสั่งศาลรัฐธรรมนูญ คำสั่งที่ 4/ 2547, หน้า 1-2.