ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Panu (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Panu (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 1: บรรทัดที่ 1:
'''ผู้เรียบเรียง''' นิพัทธ์ สระฉันทพงษ์
'''ผู้เรียบเรียง''' นิพัทธ์ สระฉันทพงษ์


'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จเร พันธุ์เปรื่อง  
'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จเร พันธุ์เปรื่อง  
บรรทัดที่ 15: บรรทัดที่ 15:
==[[การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินโดยฝ่ายนิติบัญญัติ]]==
==[[การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินโดยฝ่ายนิติบัญญัติ]]==


ตามหลักการเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภาของไทยนั้น ฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดในหลายลักษณะ ทั้งนี้ เนื่องจากการแบ่งแยกอำนาจนิติบัญญัติและอำนาจบริหารตามรัฐธรรมนูญของไทยนั้นมิได้แบ่งแยกอำนาจกันอย่างเด็ดขาด แต่จะกำหนดให้มีการถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน กล่าวคือ รัฐบาลจะใช้อำนาจบริหารประเทศโดยผ่านกลไกระบบราชการให้เป็นไปตามแนวนโยบายของรัฐธรรมนูญและที่ได้แถลงไว้ต่อรัฐสภา ส่วนฝ่ายนิติบัญญัติจะทำหน้าที่ควบคุมดูแลการดำเนินงานของรัฐบาล ทั้งนี้ เพื่อให้ทางรัฐบาลใช้อำนาจบริหารไปในทิศทางที่ถูกต้องและบังเกิดผลดีต่อประเทศชาติ<ref>ทศพร ศิริสัมพันธ์, การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน, รัฐสภาสาร, ปีที่ 40, ฉบับที่ 11, พฤศจิกายน 2535, หน้า 3.</ref>
ตามหลักการเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภาของไทยนั้น ฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดในหลายลักษณะ ทั้งนี้ เนื่องจากการแบ่งแยกอำนาจนิติบัญญัติและอำนาจบริหารตามรัฐธรรมนูญของไทยนั้นมิได้แบ่งแยกอำนาจกันอย่างเด็ดขาด แต่จะกำหนดให้มีการถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน กล่าวคือ รัฐบาลจะใช้อำนาจบริหารประเทศโดยผ่านกลไกระบบราชการให้เป็นไปตามแนวนโยบายของรัฐธรรมนูญและที่ได้แถลงไว้ต่อรัฐสภา ส่วนฝ่ายนิติบัญญัติจะทำหน้าที่ควบคุมดูแลการดำเนินงานของรัฐบาล ทั้งนี้ เพื่อให้ทางรัฐบาลใช้อำนาจบริหารไปในทิศทางที่ถูกต้องและบังเกิดผลดีต่อประเทศชาติ<ref>ทศพร ศิริสัมพันธ์, การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน, รัฐสภาสาร, ปีที่ 40, ฉบับที่ 11, พฤศจิกายน 2535, หน้า 3.</ref>


อนึ่ง การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินโดยฝ่ายนิติบัญญัตินั้น สามารถกระทำได้หลายวิธี กล่าวคือ
อนึ่ง การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินโดยฝ่ายนิติบัญญัตินั้น สามารถกระทำได้หลายวิธี กล่าวคือ
บรรทัดที่ 36: บรรทัดที่ 36:
การเปิดอภิปรายทั่วไป หมายถึง การที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาแสดงความคิดเห็น พิจารณา หรือวินิจฉัยเรื่องใดๆ ที่เกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินของฝ่ายบริหารหรือคณะรัฐมนตรี<ref>เรื่องเดียวกัน, หน้า 16.</ref> ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 การเปิดอภิปรายทั่วไปมีทั้งในสภาผู้แทนราษฎร ใน[[วุฒิสภา]] และในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา แยกพิจารณาได้ดังนี้  
การเปิดอภิปรายทั่วไป หมายถึง การที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาแสดงความคิดเห็น พิจารณา หรือวินิจฉัยเรื่องใดๆ ที่เกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินของฝ่ายบริหารหรือคณะรัฐมนตรี<ref>เรื่องเดียวกัน, หน้า 16.</ref> ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 การเปิดอภิปรายทั่วไปมีทั้งในสภาผู้แทนราษฎร ใน[[วุฒิสภา]] และในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา แยกพิจารณาได้ดังนี้  


'''[[การอภิปรายไม่ไว้วางใจ]]''' คือ การอภิปรายของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (โดยมากเป็นสมาชิกฝ่ายค้าน) กระทำเมื่อเห็นว่าการทำงานของรัฐมนตรีหรือ[[คณะรัฐมนตรี]]ไม่เป็นที่พอใจ ในกรณีนี้สมาชิกมีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติไม่ไว้วางใจ ถือเป็นวิธีการหนึ่งในการควบคุมและตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล การอภิปรายไม่ไว้วางใจเป็นวิธีที่เห็นผลชัดเจนที่สุด มีผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐบาลมากที่สุด และยังเป็นการคานอำนาจของฝ่ายบริหาร (รัฐบาล) โดยฝ่ายนิติบัญญัติ (รัฐสภา) ที่ชัดเจนและได้ผลดีที่สุดด้วย
'''[[การอภิปรายไม่ไว้วางใจ]]''' คือ การอภิปรายของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (โดยมากเป็นสมาชิกฝ่ายค้าน) กระทำเมื่อเห็นว่าการทำงานของรัฐมนตรีหรือ[[คณะรัฐมนตรี]]ไม่เป็นที่พอใจ ในกรณีนี้สมาชิกมีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติไม่ไว้วางใจ ถือเป็นวิธีการหนึ่งในการควบคุมและตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล การอภิปรายไม่ไว้วางใจเป็นวิธีที่เห็นผลชัดเจนที่สุด มีผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐบาลมากที่สุด และยังเป็นการคานอำนาจของฝ่ายบริหาร (รัฐบาล) โดยฝ่ายนิติบัญญัติ (รัฐสภา) ที่ชัดเจนและได้ผลดีที่สุดด้วย


การอภิปรายไม่ไว้วางใจเป็นไปตามหลักการที่ว่า “ฝ่ายบริหารจะอยู่ได้ก็โดยความไว้วางใจของฝ่ายนิติบัญญัติ” ดังนั้นการอภิปรายไม่ไว้วางใจจะมีขึ้นก็ต่อเมื่อรัฐสภาเห็นว่ารัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีไม่ควรแก่การไว้วางใจให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อไป ซึ่งอาจเกิดจากการตัดสินใจผิดพลาด การใช้อำนาจหน้าที่ในทางมิชอบ เป็นต้น
การอภิปรายไม่ไว้วางใจเป็นไปตามหลักการที่ว่า “ฝ่ายบริหารจะอยู่ได้ก็โดยความไว้วางใจของฝ่ายนิติบัญญัติ” ดังนั้นการอภิปรายไม่ไว้วางใจจะมีขึ้นก็ต่อเมื่อรัฐสภาเห็นว่ารัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีไม่ควรแก่การไว้วางใจให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อไป ซึ่งอาจเกิดจากการตัดสินใจผิดพลาด การใช้อำนาจหน้าที่ในทางมิชอบ เป็นต้น


รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ได้บัญญัติวิธีการตรวจสอบด้วยวิธีนี้เช่นเดียวกับรัฐธรรมนูญฉบับก่อน ๆ แต่ได้เพิ่มหลักการสำคัญซึ่งแตกต่างไปจากฉบับอื่น เรียกว่า “การเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไป เพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล” ซึ่งถูกนำมาใช้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ด้วย โดยการอภิปรายไม่ไว้วางใจจำแนกได้เป็น<ref>'''การอภิปรายไม่ไว้วางใจ''' จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี http://th.wikipedia.org/wiki</ref>
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ได้บัญญัติวิธีการตรวจสอบด้วยวิธีนี้เช่นเดียวกับรัฐธรรมนูญฉบับก่อน ๆ แต่ได้เพิ่มหลักการสำคัญซึ่งแตกต่างไปจากฉบับอื่น เรียกว่า “การเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไป เพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล” ซึ่งถูกนำมาใช้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ด้วย โดยการอภิปรายไม่ไว้วางใจจำแนกได้เป็น<ref>'''การอภิปรายไม่ไว้วางใจ''' จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี http://th.wikipedia.org/wiki</ref>
บรรทัดที่ 44: บรรทัดที่ 44:
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;'''1. [[การอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี]]'''  
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;'''1. [[การอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี]]'''  


ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎรมีสิทธิเข้าชื่อขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี [[ญัตติ]]นี้ต้องเสนอชื่อผู้สมควรดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อไปไว้ด้วย เมื่อได้มีการเสนอญัตติแล้วจะมีการยุบสภาผู้แทนราษฎรมิได้ ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้นายกรัฐมนตรีหลีกหนีการอภิปราย เว้นแต่จะมีการถอนญัตติหรือการลงมตินั้นไม่ได้เสียงครบ หากสมาชิกรัฐสภาลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีต้องลาออกจากตำแหน่ง ซึ่งมีผลให้รัฐมนตรีทั้งคณะพ้นจากตำแหน่งด้วย
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎรมีสิทธิเข้าชื่อขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี [[ญัตติ]]นี้ต้องเสนอชื่อผู้สมควรดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อไปไว้ด้วย เมื่อได้มีการเสนอญัตติแล้วจะมี[[การยุบสภาผู้แทนราษฎร]]มิได้ ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้นายกรัฐมนตรีหลีกหนีการอภิปราย เว้นแต่จะมีการถอนญัตติหรือการลงมตินั้นไม่ได้เสียงครบ หากสมาชิกรัฐสภาลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีต้องลาออกจากตำแหน่ง ซึ่งมีผลให้รัฐมนตรีทั้งคณะพ้นจากตำแหน่งด้วย


หากญัตติขอเปิดอภิปรายนายกรัฐมนตรีเกี่ยวข้องกับการมีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ ส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่ราชการ หรือจงใจฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย ก่อนเสนอญัตติต้องยื่นคำร้องขอต่อ[[ประธานวุฒิสภา]]ด เพื่อให้วุฒิสภามีมติถอดถอนนายกรัฐมนตรี และเมื่อประธานวุฒิสภาได้รับคำร้อง ต้องส่งเรื่องไปให้[[คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ]] (ป.ป.ช.) ดำเนินการไต่สวนโดยเร็ว สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสามารถเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีได้โดยไม่ต้องรอผลการพิจารณาของ ป.ป.ช. เพื่อถอดถอนนายกรัฐมนตรี
หากญัตติขอเปิดอภิปรายนายกรัฐมนตรีเกี่ยวข้องกับการมีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ ส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่ราชการ หรือจงใจฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย ก่อนเสนอญัตติต้องยื่นคำร้องขอต่อ[[ประธานวุฒิสภา]]ด เพื่อให้วุฒิสภามีมติถอดถอนนายกรัฐมนตรี และเมื่อประธานวุฒิสภาได้รับคำร้อง ต้องส่งเรื่องไปให้[[คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ]] (ป.ป.ช.) ดำเนินการไต่สวนโดยเร็ว สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสามารถเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีได้โดยไม่ต้องรอผลการพิจารณาของ ป.ป.ช. เพื่อถอดถอนนายกรัฐมนตรี
บรรทัดที่ 62: บรรทัดที่ 62:
'''[[การเปิดอภิปรายทั่วไปในวุฒิสภา]]'''
'''[[การเปิดอภิปรายทั่วไปในวุฒิสภา]]'''


โดยรัฐธรรมนูญได้กำหนดให้สมาชิกวุฒิสภาจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา มีสิทธิเข้าชื่อขอเปิดอภิปรายทั่วไปในวุฒิสภาเพื่อให้คณะรัฐมนตรีแถลงข้อเท็จจริงหรือชี้แจงปัญหาสำคัญเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินโดยไม่มีการลงมติ ซึ่งการอภิปรายทั่วไปดังกล่าว จะช่วยชี้ให้เห็นถึงข้อบกพร่อง ปัญหาหรืออุปสรรคต่างๆ รวมทั้งจะให้ข้อเสนอแนะอันจะเป็นประโยชน์และจะช่วยให้การบริหารราชการของรัฐบาลมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และเพื่อไม่ให้เป็นภาระแก่ฝ่ายบริหารที่จะต้องมาชี้แจงต่อ[[วุฒิสภา]]มากเกินไป รัฐธรรมนูญจึงกำหนดให้ขอเปิดอภิปรายทั่วไปได้ครั้งเดียวใน[[สมัยประชุม]]หนึ่ง<ref>สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, '''รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550,''' กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2550, หน้า 132.</ref>
โดยรัฐธรรมนูญได้กำหนดให้สมาชิกวุฒิสภาจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา มีสิทธิเข้าชื่อขอเปิดอภิปรายทั่วไปในวุฒิสภาเพื่อให้คณะรัฐมนตรีแถลงข้อเท็จจริงหรือชี้แจงปัญหาสำคัญเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินโดยไม่มีการลงมติ ซึ่งการอภิปรายทั่วไปดังกล่าว จะช่วยชี้ให้เห็นถึงข้อบกพร่อง ปัญหาหรืออุปสรรคต่างๆ รวมทั้งจะให้ข้อเสนอแนะอันจะเป็นประโยชน์และจะช่วยให้การบริหารราชการของรัฐบาลมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และเพื่อไม่ให้เป็นภาระแก่ฝ่ายบริหารที่จะต้องมาชี้แจงต่อ[[วุฒิสภา]]มากเกินไป รัฐธรรมนูญจึงกำหนดให้ขอเปิดอภิปรายทั่วไปได้ครั้งเดียวใน[[สมัยประชุม]]หนึ่ง<ref>สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, '''รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550,''' กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2550, หน้า 132.</ref>


'''[[การเปิดอภิปรายทั่วไปในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา]]'''
'''[[การเปิดอภิปรายทั่วไปในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา]]'''


'''ตามมาตรา 179 ''' ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ในกรณีที่มีปัญหาสำคัญเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินที่คณะรัฐมนตรีเห็นสมควรจะฟังความคิดเห็นของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา นายกรัฐมนตรีจะแจ้งไปยังประธานรัฐสภาเพื่อขอให้มีการเปิดอภิปรายทั่วไปในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา ในกรณีเช่นนี้ รัฐสภาจะลงมติในปัญหาที่อภิปรายมิได้<ref>สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, '''อำนาจหน้าที่ของรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550,''' กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2550, หน้า 81.</ref>
'''ตามมาตรา 179 ''' ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ในกรณีที่มีปัญหาสำคัญเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินที่คณะรัฐมนตรีเห็นสมควรจะฟังความคิดเห็นของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา นายกรัฐมนตรีจะแจ้งไปยังประธานรัฐสภาเพื่อขอให้มีการเปิดอภิปรายทั่วไปในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา ในกรณีเช่นนี้ รัฐสภาจะลงมติในปัญหาที่อภิปรายมิได้<ref>สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, '''อำนาจหน้าที่ของรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550,''' กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2550, หน้า 81.</ref>


'''[[การตั้งกรรมาธิการ]]'''
'''[[การตั้งกรรมาธิการ]]'''


กรรมาธิการ คือ บุคคลที่สภาแต่งตั้งประกอบกันเป็นคณะกรรมาธิการเพื่อให้พิจารณากฎหมายหรือกระทำกิจการใดๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของสภา แล้วรายงานต่อสภา สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภามีอำนาจเลือกสมาชิกของแต่ละสภาตั้งเป็นคณะกรรมาธิการสามัญ และมีอำนาจเลือกบุคคลผู้เป็นสมาชิกหรือมิได้เป็นสมาชิกตั้งเป็นคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อกระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใดๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของสภาแล้วรายงานต่อสภา ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 กำหนดให้คณะกรรมาธิการดังกล่าวมีอำนาจออกคำสั่งเรียกเอกสารจากบุคคลใด หรือเรียกบุคคลใดมาแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความเห็นในกิจการที่กระทำหรือในเรื่องที่พิจารณาสอบสวนหรือศึกษาอยู่นั้นได้<ref>จีระศักดิ์ ช่วยชู, '''ปัญหาการตรวจสอบตามรัฐธรรมนูญ : ศึกษากรณีการเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540,''' วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2543, หน้า 26.</ref>
กรรมาธิการ คือ บุคคลที่สภาแต่งตั้งประกอบกันเป็นคณะกรรมาธิการเพื่อให้พิจารณากฎหมายหรือกระทำกิจการใดๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของสภา แล้วรายงานต่อสภา สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภามีอำนาจเลือกสมาชิกของแต่ละสภาตั้งเป็นคณะกรรมาธิการสามัญ และมีอำนาจเลือกบุคคลผู้เป็นสมาชิกหรือมิได้เป็นสมาชิกตั้งเป็นคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อกระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใดๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของสภาแล้วรายงานต่อสภา ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 กำหนดให้คณะกรรมาธิการดังกล่าวมีอำนาจออกคำสั่งเรียกเอกสารจากบุคคลใด หรือเรียกบุคคลใดมาแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความเห็นในกิจการที่กระทำหรือในเรื่องที่พิจารณาสอบสวนหรือศึกษาอยู่นั้นได้<ref>จีระศักดิ์ ช่วยชู, '''ปัญหาการตรวจสอบตามรัฐธรรมนูญ : ศึกษากรณีการเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540,''' วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2543, หน้า 26.</ref>


คณะกรรมาธิการนั้น มีความสำคัญอย่างยิ่งในการทำงานของรัฐสภา เนื่องจากการตั้งคณะกรรมาธิการนั้นมักจะตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่ศึกษารายละเอียดหรือสอบสวนหาข้อเท็จจริงในเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ ทำให้รัฐสภาได้ทราบถึงข้อมูลที่แท้จริงในการพิจารณาเรื่องดังกล่าว อันมีลักษณะเป็นการกระตุ้นและตรวจสอบการบริหารราชการแผ่นดินของฝ่ายบริหารหรือคณะรัฐมนตรีอีกทางหนึ่ง<ref>สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550, กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2550, หน้า 270.</ref>
คณะกรรมาธิการนั้น มีความสำคัญอย่างยิ่งในการทำงานของรัฐสภา เนื่องจากการตั้งคณะกรรมาธิการนั้นมักจะตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่ศึกษารายละเอียดหรือสอบสวนหาข้อเท็จจริงในเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ ทำให้รัฐสภาได้ทราบถึงข้อมูลที่แท้จริงในการพิจารณาเรื่องดังกล่าว อันมีลักษณะเป็นการกระตุ้นและตรวจสอบการบริหารราชการแผ่นดินของฝ่ายบริหารหรือคณะรัฐมนตรีอีกทางหนึ่ง<ref>สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550, กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2550, หน้า 270.</ref>
บรรทัดที่ 76: บรรทัดที่ 76:
'''[[การถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูง]]'''
'''[[การถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูง]]'''


'''ตามมาตรา 270 ''' ผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด หรืออัยการสูงสุด [[ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ]] กรรมการการเลือกตั้ง [[ผู้ตรวจการแผ่นดิน]] และกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้พิพากษาหรือตุลาการ พนักงานอัยการ หรือผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ที่มีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ   ส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่ ส่อว่าจะกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง วุฒิสภามีอำนาจถอดถอนให้ออกจากตำแหน่งได้<ref>เรื่องเดียวกัน, หน้า 203-204.</ref>
'''ตามมาตรา 270 ''' ผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด หรืออัยการสูงสุด [[ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ]] กรรมการการเลือกตั้ง [[ผู้ตรวจการแผ่นดิน]] และกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้พิพากษาหรือตุลาการ พนักงานอัยการ หรือผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ที่มีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ ส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่ ส่อว่าจะกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง วุฒิสภามีอำนาจถอดถอนให้ออกจากตำแหน่งได้<ref>เรื่องเดียวกัน, หน้า 203-204.</ref>


'''ผู้มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอให้วุฒิสภามีมติถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่ง''' คือ
'''ผู้มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอให้วุฒิสภามีมติถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่ง''' คือ
บรรทัดที่ 98: บรรทัดที่ 98:
==หนังสือแนะนำให้อ่านต่อ==
==หนังสือแนะนำให้อ่านต่อ==


นภพร ชวรงคกร, การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน โดยการขอเปิดอภิปรายทั่วไปในวุฒิสภา, '''จุลนิติ,''' ปีที่ 5 มีนาคม – เมษายน 2551.
นภพร ชวรงคกร, การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน โดยการขอเปิดอภิปรายทั่วไปในวุฒิสภา, '''จุลนิติ,''' ปีที่ 5 มีนาคม – เมษายน 2551.


บุญรักษา ชมชื่น. '''การสร้างคุณภาพกระบวนการแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญ การออกกฎหมายและการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน.''' งานวิจัยส่วนบุคคล สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. 2551
บุญรักษา ชมชื่น. '''การสร้างคุณภาพกระบวนการแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญ การออกกฎหมายและการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน.''' งานวิจัยส่วนบุคคล สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. 2551
บรรทัดที่ 104: บรรทัดที่ 104:
==บรรณานุกรม==
==บรรณานุกรม==


จีระศักดิ์ ช่วยชู. '''ปัญหาการตรวจสอบตามรัฐธรรมนูญ : ศึกษากรณีการเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540.''' วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง. 2543.
จีระศักดิ์ ช่วยชู. '''ปัญหาการตรวจสอบตามรัฐธรรมนูญ : ศึกษากรณีการเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540.''' วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง. 2543.


ทศพร ศิริสัมพันธ์. การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน, '''รัฐสภาสาร.''' ปีที่ 40 ฉบับที่ 11 พฤศจิกายน 2535.
ทศพร ศิริสัมพันธ์. การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน, '''รัฐสภาสาร.''' ปีที่ 40 ฉบับที่ 11 พฤศจิกายน 2535.


สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. '''อำนาจหน้าที่ของรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550.''' (กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร). 2550.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. '''อำนาจหน้าที่ของรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550.''' (กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร). 2550.

รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:00, 16 ธันวาคม 2552

ผู้เรียบเรียง นิพัทธ์ สระฉันทพงษ์

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จเร พันธุ์เปรื่อง


การปกครองระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา ได้แบ่งอำนาจอธิปไตยออกเป็น 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ เพื่อเป็นการดุลอำนาจซึ่งกันและกัน (Check and Balance) โดยฝ่ายนิติบัญญัติ มีอำนาจหน้าที่ในการตรากฎหมาย ควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน การให้ความเห็นชอบ ฝ่ายบริหาร มีอำนาจหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดิน และฝ่ายตุลาการ มีอำนาจหน้าที่ในการพิพากษาคดี ซึ่งอำนาจทั้งสามเป็นเสมือนหนึ่งเบ้าหลอมให้การปกครองระบอบประชาธิปไตยดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ แต่ที่สำคัญที่จะนำมาลงในที่นี้ ก็คือ การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้กำหนดไว้ในมาตรา 178 ว่า ในการบริหารราชการแผ่นดิน รัฐมนตรีต้องดำเนินการตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ กฎหมาย และนโยบายที่ได้แถลงไว้ตามมาตรา 176 ต่อรัฐสภาและต้องรับผิดชอบต่อสภาผู้แทนราษฎรในหน้าที่ของตน รวมทั้งต้องรับผิดชอบร่วมกันต่อรัฐสภาในนโยบายทั่วไปของคณะรัฐมนตรี[1]

นิยาม

อำนาจหน้าที่ในการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน หมายถึง การสอดส่องดูแลการปฏิบัติงานของคณะรัฐมนตรีหรือฝ่ายบริหารด้วยวิธีการที่รัฐธรรมนูญได้กำหนดไว้ คือ การตั้งกระทู้ถาม การขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อให้คณะรัฐมนตรีแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็นในปัญหาอันเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน และการขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล อันอาจส่งผลให้รัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีต้องพ้นจากตำแหน่งได้ ซึ่งนับเป็นหลักการสำคัญอีกประการหนึ่งของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่ให้มีการถ่วงดุลอำนาจระหว่างกัน เพื่อป้องกันไม่ให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดใช้อำนาจเกินขอบเขต จนอาจทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน[2]

การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินโดยฝ่ายนิติบัญญัติ

ตามหลักการเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภาของไทยนั้น ฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดในหลายลักษณะ ทั้งนี้ เนื่องจากการแบ่งแยกอำนาจนิติบัญญัติและอำนาจบริหารตามรัฐธรรมนูญของไทยนั้นมิได้แบ่งแยกอำนาจกันอย่างเด็ดขาด แต่จะกำหนดให้มีการถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน กล่าวคือ รัฐบาลจะใช้อำนาจบริหารประเทศโดยผ่านกลไกระบบราชการให้เป็นไปตามแนวนโยบายของรัฐธรรมนูญและที่ได้แถลงไว้ต่อรัฐสภา ส่วนฝ่ายนิติบัญญัติจะทำหน้าที่ควบคุมดูแลการดำเนินงานของรัฐบาล ทั้งนี้ เพื่อให้ทางรัฐบาลใช้อำนาจบริหารไปในทิศทางที่ถูกต้องและบังเกิดผลดีต่อประเทศชาติ[3]

อนึ่ง การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินโดยฝ่ายนิติบัญญัตินั้น สามารถกระทำได้หลายวิธี กล่าวคือ

การแถลงนโยบายต่อรัฐสภา

เป็นวิธีการหนึ่งที่รัฐธรรมนูญบัญญัติให้เป็นการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินของฝ่ายบริหารโดยฝ่ายนิติบัญญัติ โดยเริ่มตั้งแต่เมื่อจะเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ คณะรัฐมนตรีจะต้องแถลงนโยบายต่อรัฐสภาก่อน ในอดีต รัฐธรรมนูญเคยมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการแถลงนโยบาย โดยต้องได้รับมติความไว้วางใจจากสภา จึงจะบริหารราชการแผ่นดินได้ ถ้าไม่ได้รับความไว้วางใจ คณะรัฐมนตรีก็จะสิ้นสุดลง[4] แต่ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เป็นการแถลงนโยบายโดยไม่มีการลงมติความไว้วางใจ การแถลงนโยบายจึงเป็นเพียงการให้สมาชิกรัฐสภาทราบว่ารัฐบาลมีนโยบายอย่างไรในการที่จะเข้ามาบริหารราชการแผ่นดิน ขณะเดียวกันรัฐบาลก็จะได้รับฟังความคิดเห็นของสมาชิกรัฐสภาด้วย แม้ว่าในการแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อรัฐสภา จะไม่มีการลงมติความไว้วางใจแต่อย่างใด แต่การแถลงนโยบายดังกล่าวจะทำให้รัฐสภาหรือฝ่ายนิติบัญญัติได้ทราบว่า คณะรัฐมนตรีมีวิธีการหรือแนวทางในการบริหารราชการแผ่นดินอย่างไร ซึ่งจะเป็นการผูกมัดคณะรัฐมนตรี ให้บริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปตามที่ได้แถลงไว้ต่อรัฐสภา และสามารถซักถามและอภิปรายนโยบายของคณะรัฐมนตรี รวมทั้งสามารถตรวจสอบการบริหารราชการแผ่นดินได้อย่างถูกต้อง เมื่อคณะรัฐมนตรีไม่ปฏิบัติตามนโยบายหรือปฏิบัตินอกเหนือนโยบายที่ได้แถลงไว้ต่อรัฐสภา โดยฝ่ายนิติบัญญัติอาจจะกระทู้ถามหรือเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ นอกจากนี้คณะรัฐมนตรีได้มีโอกาสรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของรัฐสภา หรือฝ่ายนิติบัญญัติไปปรับใช้เพื่อให้การปฏิบัติตามนโยบายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ


การตั้งกระทู้ถาม

การตั้งกระทู้ถามนี้เป็นการเปิดโอกาสให้รัฐสภาตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลได้ โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาทุกคนมีสิทธิตั้งกระทู้ถามนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีเกี่ยวกับเรื่องการทำงานในหน้าที่ต่อที่ประชุมสภาที่ตนสังกัดได้ โดยการตั้งกระทู้ถามของฝ่ายนิติบัญญัติแยกพิจารณาเป็น 2 กรณี คือ[5]

1. การตั้งกระทู้ถามของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร มีการตั้งกระทู้ถาม 2 ประเภท คือประเภทที่ 1. การตั้งกระทู้ถามสด คือ กระทู้ถามในเรื่องที่เกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินที่เป็นปัญหาสำคัญที่อยู่ในความสนใจของประชาชน เป็นเรื่องที่กระทบถึงประโยชน์ของประเทศชาติหรือประชาชน หรือเป็นเรื่องที่เร่งด่วน โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่จะถามจะต้องยื่นเรื่องเสนอก่อนเริ่มประชุมในวันนั้น ประเภทที่ 2. การตั้งกระทู้ถามทั่วไป คือ กระทู้ถามที่ต้องเสนอล่วงหน้าเป็นหนังสือ มีข้อความเป็นคำถามในข้อเท็จจริงหรือนโยบายและระบุว่าจะให้รัฐมนตรีตอบในที่ประชุมสภาหรือให้ตอบในราชกิจจานุเบกษา

2. การตั้งกระทู้ถามของสมาชิกวุฒิสภา มีการตั้งกระทู้ถาม 2 ประเภท คือ ประเภทที่ 1. กระทู้ถามที่ขอให้ตอบในราชกิจจานุเบกษา และกระทู้ถามประเภทที่ 2. กระทู้ถามที่ขอให้ตอบในที่ประชุมวุฒิสภา ได้แก่ กระทู้ถามทั่วไปและกระทู้ถามด่วน

การเปิดอภิปรายทั่วไป

การเปิดอภิปรายทั่วไป หมายถึง การที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาแสดงความคิดเห็น พิจารณา หรือวินิจฉัยเรื่องใดๆ ที่เกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินของฝ่ายบริหารหรือคณะรัฐมนตรี[6] ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 การเปิดอภิปรายทั่วไปมีทั้งในสภาผู้แทนราษฎร ในวุฒิสภา และในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา แยกพิจารณาได้ดังนี้

การอภิปรายไม่ไว้วางใจ คือ การอภิปรายของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (โดยมากเป็นสมาชิกฝ่ายค้าน) กระทำเมื่อเห็นว่าการทำงานของรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีไม่เป็นที่พอใจ ในกรณีนี้สมาชิกมีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติไม่ไว้วางใจ ถือเป็นวิธีการหนึ่งในการควบคุมและตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล การอภิปรายไม่ไว้วางใจเป็นวิธีที่เห็นผลชัดเจนที่สุด มีผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐบาลมากที่สุด และยังเป็นการคานอำนาจของฝ่ายบริหาร (รัฐบาล) โดยฝ่ายนิติบัญญัติ (รัฐสภา) ที่ชัดเจนและได้ผลดีที่สุดด้วย

การอภิปรายไม่ไว้วางใจเป็นไปตามหลักการที่ว่า “ฝ่ายบริหารจะอยู่ได้ก็โดยความไว้วางใจของฝ่ายนิติบัญญัติ” ดังนั้นการอภิปรายไม่ไว้วางใจจะมีขึ้นก็ต่อเมื่อรัฐสภาเห็นว่ารัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีไม่ควรแก่การไว้วางใจให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อไป ซึ่งอาจเกิดจากการตัดสินใจผิดพลาด การใช้อำนาจหน้าที่ในทางมิชอบ เป็นต้น

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ได้บัญญัติวิธีการตรวจสอบด้วยวิธีนี้เช่นเดียวกับรัฐธรรมนูญฉบับก่อน ๆ แต่ได้เพิ่มหลักการสำคัญซึ่งแตกต่างไปจากฉบับอื่น เรียกว่า “การเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไป เพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล” ซึ่งถูกนำมาใช้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ด้วย โดยการอภิปรายไม่ไว้วางใจจำแนกได้เป็น[7]

     1. การอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี

ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎรมีสิทธิเข้าชื่อขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี ญัตตินี้ต้องเสนอชื่อผู้สมควรดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อไปไว้ด้วย เมื่อได้มีการเสนอญัตติแล้วจะมีการยุบสภาผู้แทนราษฎรมิได้ ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้นายกรัฐมนตรีหลีกหนีการอภิปราย เว้นแต่จะมีการถอนญัตติหรือการลงมตินั้นไม่ได้เสียงครบ หากสมาชิกรัฐสภาลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีต้องลาออกจากตำแหน่ง ซึ่งมีผลให้รัฐมนตรีทั้งคณะพ้นจากตำแหน่งด้วย

หากญัตติขอเปิดอภิปรายนายกรัฐมนตรีเกี่ยวข้องกับการมีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ ส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่ราชการ หรือจงใจฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย ก่อนเสนอญัตติต้องยื่นคำร้องขอต่อประธานวุฒิสภาด เพื่อให้วุฒิสภามีมติถอดถอนนายกรัฐมนตรี และเมื่อประธานวุฒิสภาได้รับคำร้อง ต้องส่งเรื่องไปให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ดำเนินการไต่สวนโดยเร็ว สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสามารถเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีได้โดยไม่ต้องรอผลการพิจารณาของ ป.ป.ช. เพื่อถอดถอนนายกรัฐมนตรี

อนึ่ง การออกเสียงลงมติไว้วางใจหรือไม่ไว้วางใจ ห้ามมิให้กระทำในวันเดียวกันกับที่การอภิปรายสิ้นสุด ทั้งนี้เพื่อให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้มีเวลาไตร่ตรอง โดยมติให้นายกรัฐมนตรีออกจากตำแหน่งต้องมีคะแนนเสียงไม่ไว้วางใจเกินกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร หากเสียงข้างมากไว้วางใจ ห้ามสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ร่วมกันอภิปรายไม่ไว้วางใจเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจอีกตลอดสมัยประชุมนั้น

ในกรณีที่มติไม่ไว้วางใจมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร ประธานสภาผู้แทนราษฎรจะนำชื่อผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรี กราบบังคมทูลเพื่อทรงแต่งตั้งต่อไป

     2. การอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล

การอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล อาจส่งผลไม่รุนแรงเท่ากับการอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 6 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎรมีสิทธิเข้าชื่อขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล

การที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคนใดจะได้อภิปรายนั้นขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและมติของพรรคร่วมฝ่ายค้าน โดยวิปฝ่ายค้านต้องส่งรายชื่อให้ประธานรัฐสภา การออกเสียงลงมติไว้วางใจหรือไม่ไว้วางใจ ห้ามมิให้กระทำในวันเดียวกันกับที่การอภิปรายสิ้นสุด หากเสียงข้างมากไว้วางใจ รัฐมนตรีสามารถดำรงตำแหน่งต่อไปได้ และห้ามสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ร่วมกันอภิปรายไม่ไว้วางใจเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจอีกตลอดสมัยประชุม แต่หากมีคะแนนเสียงไม่ไว้วางใจเกินกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎรรัฐมนตรีต้องพ้นจากตำแหน่งไป

การอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีผู้ใด ให้เป็นหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีผู้นั้นต้องเข้าร่วมประชุมสภาผู้แทนราษฎรเพื่อชี้แจงหรือตอบคำถามในเรื่องนั้นด้วยตนเอง เว้นแต่มีเหตุจำเป็นอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ทำให้ไม่อาจเข้าชี้แจงหรือตอบคำถาม แต่ต้องแจ้งให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรทราบก่อนหรือในวันประชุมสภาในเรื่องดังกล่าว โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีอิสระจากมติพรรคการเมือง อภิปรายและการลงมติในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ

การเปิดอภิปรายทั่วไปในวุฒิสภา

โดยรัฐธรรมนูญได้กำหนดให้สมาชิกวุฒิสภาจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา มีสิทธิเข้าชื่อขอเปิดอภิปรายทั่วไปในวุฒิสภาเพื่อให้คณะรัฐมนตรีแถลงข้อเท็จจริงหรือชี้แจงปัญหาสำคัญเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินโดยไม่มีการลงมติ ซึ่งการอภิปรายทั่วไปดังกล่าว จะช่วยชี้ให้เห็นถึงข้อบกพร่อง ปัญหาหรืออุปสรรคต่างๆ รวมทั้งจะให้ข้อเสนอแนะอันจะเป็นประโยชน์และจะช่วยให้การบริหารราชการของรัฐบาลมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และเพื่อไม่ให้เป็นภาระแก่ฝ่ายบริหารที่จะต้องมาชี้แจงต่อวุฒิสภามากเกินไป รัฐธรรมนูญจึงกำหนดให้ขอเปิดอภิปรายทั่วไปได้ครั้งเดียวในสมัยประชุมหนึ่ง[8]

การเปิดอภิปรายทั่วไปในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา

ตามมาตรา 179 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ในกรณีที่มีปัญหาสำคัญเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินที่คณะรัฐมนตรีเห็นสมควรจะฟังความคิดเห็นของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา นายกรัฐมนตรีจะแจ้งไปยังประธานรัฐสภาเพื่อขอให้มีการเปิดอภิปรายทั่วไปในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา ในกรณีเช่นนี้ รัฐสภาจะลงมติในปัญหาที่อภิปรายมิได้[9]

การตั้งกรรมาธิการ

กรรมาธิการ คือ บุคคลที่สภาแต่งตั้งประกอบกันเป็นคณะกรรมาธิการเพื่อให้พิจารณากฎหมายหรือกระทำกิจการใดๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของสภา แล้วรายงานต่อสภา สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภามีอำนาจเลือกสมาชิกของแต่ละสภาตั้งเป็นคณะกรรมาธิการสามัญ และมีอำนาจเลือกบุคคลผู้เป็นสมาชิกหรือมิได้เป็นสมาชิกตั้งเป็นคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อกระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใดๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของสภาแล้วรายงานต่อสภา ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 กำหนดให้คณะกรรมาธิการดังกล่าวมีอำนาจออกคำสั่งเรียกเอกสารจากบุคคลใด หรือเรียกบุคคลใดมาแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความเห็นในกิจการที่กระทำหรือในเรื่องที่พิจารณาสอบสวนหรือศึกษาอยู่นั้นได้[10]

คณะกรรมาธิการนั้น มีความสำคัญอย่างยิ่งในการทำงานของรัฐสภา เนื่องจากการตั้งคณะกรรมาธิการนั้นมักจะตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่ศึกษารายละเอียดหรือสอบสวนหาข้อเท็จจริงในเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ ทำให้รัฐสภาได้ทราบถึงข้อมูลที่แท้จริงในการพิจารณาเรื่องดังกล่าว อันมีลักษณะเป็นการกระตุ้นและตรวจสอบการบริหารราชการแผ่นดินของฝ่ายบริหารหรือคณะรัฐมนตรีอีกทางหนึ่ง[11]

การถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูง

ตามมาตรา 270 ผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด หรืออัยการสูงสุด ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดิน และกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้พิพากษาหรือตุลาการ พนักงานอัยการ หรือผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ที่มีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ ส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่ ส่อว่าจะกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง วุฒิสภามีอำนาจถอดถอนให้ออกจากตำแหน่งได้[12]

ผู้มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอให้วุฒิสภามีมติถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่ง คือ

1. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร

2. สมาชิกวุฒิสภาจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา มีสิทธิเข้าชื่อขอต่อประธานวุฒิสภาเพื่อให้วุฒิสภามีมติถอดถอนสมาชิกวุฒิสภาออกจากตำแหน่ง

3. ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า 20,000 คน

อย่างไรก็ตามการถอดถอนของวุฒิสภาจะกระทำได้ต่อเมื่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติมีมติว่าข้อกล่าวหามีมูลและได้ส่งรายงานและเอกสารที่มีอยู่พร้อมทั้งความเห็นไปยังประธานวุฒิสภา ซึ่งประธานวุฒิสภาจะจัดให้มีการประชุมวุฒิสภาเพื่อพิจารณากรณีดังกล่าวโดยเร็ว[13]

การออกเสียงลงคะแนนของวุฒิสภา จะกระทำโดยวิธีลงคะแนนลับ มติที่ให้ถอดถอนผู้ใดออกจากตำแหน่ง ต้องไม่น้อยกว่า 3 ใน 5 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา มติของวุฒิสภาถือเป็นที่สุด และจะมีการร้องขอให้ถอดถอนบุคคลดังกล่าว โดยอาศัยเหตุเดียวกันอีกมิได้ ผู้ที่ถูกถอดถอนออกจากตำแหน่ง ต้องพ้นจากตำแหน่งหรือให้ออกจากราชการ นับแต่วันที่วุฒิสภามีมติให้ถอดถอน และให้ตัดสิทธิผู้นั้นในการดำรงตำแหน่งใดในทางการเมือง หรือในการรับราชการเป็นเวลา 5 ปี

ส่วนการให้กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติพ้นตำแหน่ง วุฒิสภาจะพิจารณาไต่สวนคำร้องเองทั้งหมดโดยไม่ต้องผ่านการไต่สวนหรือพิจารณาจากองค์กรอื่นใด และเมื่อไต่สวนแล้ว หากข้อกล่าวหามีมูล และมติของวุฒิสภาที่ให้กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติที่ถูกร้องพ้นจากตำแหน่ง ต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา

อ้างอิง

  1. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550, กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2550, หน้า 131-132.
  2. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, อำนาจหน้าที่ของรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550, กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2550, หน้า 55.
  3. ทศพร ศิริสัมพันธ์, การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน, รัฐสภาสาร, ปีที่ 40, ฉบับที่ 11, พฤศจิกายน 2535, หน้า 3.
  4. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินโดยฝ่ายนิติบัญญัติ, กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2548, หน้า 8.
  5. เรื่องเดียวกัน, หน้า 11-16.
  6. เรื่องเดียวกัน, หน้า 16.
  7. การอภิปรายไม่ไว้วางใจ จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี http://th.wikipedia.org/wiki
  8. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550, กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2550, หน้า 132.
  9. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, อำนาจหน้าที่ของรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550, กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2550, หน้า 81.
  10. จีระศักดิ์ ช่วยชู, ปัญหาการตรวจสอบตามรัฐธรรมนูญ : ศึกษากรณีการเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540, วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2543, หน้า 26.
  11. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550, กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2550, หน้า 270.
  12. เรื่องเดียวกัน, หน้า 203-204.
  13. เรื่องเดียวกัน, หน้า 206.

หนังสือแนะนำให้อ่านต่อ

นภพร ชวรงคกร, การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน โดยการขอเปิดอภิปรายทั่วไปในวุฒิสภา, จุลนิติ, ปีที่ 5 มีนาคม – เมษายน 2551.

บุญรักษา ชมชื่น. การสร้างคุณภาพกระบวนการแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญ การออกกฎหมายและการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน. งานวิจัยส่วนบุคคล สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. 2551

บรรณานุกรม

จีระศักดิ์ ช่วยชู. ปัญหาการตรวจสอบตามรัฐธรรมนูญ : ศึกษากรณีการเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง. 2543.

ทศพร ศิริสัมพันธ์. การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน, รัฐสภาสาร. ปีที่ 40 ฉบับที่ 11 พฤศจิกายน 2535.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. อำนาจหน้าที่ของรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. (กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร). 2550.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินโดยฝ่ายนิติบัญญัติ. (กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร). 2548.

ดูเพิ่มเติม