ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมชาย วงศ์สวัสดิ์"
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
|||
บรรทัดที่ 11: | บรรทัดที่ 11: | ||
'''ข้อมูลส่วนตัว''' | '''ข้อมูลส่วนตัว''' | ||
นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เกิดเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2490 ที่อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นบุตรคนกลางของนายเจิม – นางประหยัด วงศ์สวัสดิ์จากพี่น้องทั้งหมด 5 คน โดยเป็นพี่ชาย 2 คน และน้องสาว 2 คน ครอบครัวประกอบอาชีพทำสวนยาง<ref>เสนาะ สุขเจริญ, '''กว่าจะเป็นคนสำคัญ''' (กรุงเทพฯ : มติชน, 2547), หน้า 230.</ref> สมรสกับนางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ ซึ่งเป็นน้องสาวของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี มีบุตร 3 คน คือ นายยศธนัน วงศ์สวัสดิ์ น.ส.ชินณิชา วงศ์สวัสดิ์ และ น.ส.ชยาภา วงศ์สวัสดิ์<ref>วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, เรื่องเดิม, หน้า 1.</ref> | นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เกิดเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2490 ที่อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นบุตรคนกลางของนายเจิม – นางประหยัด วงศ์สวัสดิ์จากพี่น้องทั้งหมด 5 คน โดยเป็นพี่ชาย 2 คน และน้องสาว 2 คน ครอบครัวประกอบอาชีพทำสวนยาง<ref>เสนาะ สุขเจริญ, '''กว่าจะเป็นคนสำคัญ''' (กรุงเทพฯ : มติชน, 2547), หน้า 230.</ref> สมรสกับนางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ ซึ่งเป็นน้องสาวของ [[ทักษิณ ชินวัตร|พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร]] อดีตนายกรัฐมนตรี มีบุตร 3 คน คือ นายยศธนัน วงศ์สวัสดิ์ น.ส.ชินณิชา วงศ์สวัสดิ์ และ น.ส.ชยาภา วงศ์สวัสดิ์<ref>วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, เรื่องเดิม, หน้า 1.</ref> | ||
'''การศึกษา<ref>'''“ประวัตินายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษา”,''' [ออนไลน์] แหล่งที่มา : http://www.moe-news.net. (28 กันยายน 2552) หน้า 1.</ref>''' | '''การศึกษา<ref>'''“ประวัตินายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษา”,''' [ออนไลน์] แหล่งที่มา : http://www.moe-news.net. (28 กันยายน 2552) หน้า 1.</ref>''' |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:26, 8 ธันวาคม 2552
ผู้เรียบเรียง ตวงรัตน์ เลาหัตถพงษ์ภูริ
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จเร พันธุ์เปรื่อง
นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 26 ของประเทศไทยผู้เกิดและเติบโตมาจากการเป็นตุลาการหรือผู้พิพากษาตั้งแต่เริ่มเข้ารับราชการจนกระทั่งลาออกจากราชการ เป็นอดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม อดีตผู้พิพากษา อดีตปลัดกระทรวงยุติธรรม อดีตปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกที่ไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ในทำเนียบรัฐบาล เพราะพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยยึดพื้นที่ไว้ตั้งแต่ในสมัยรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช[1] ซึ่งเป็นรัฐบาลคณะก่อนที่นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์จะเข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ประวัติ
ข้อมูลส่วนตัว
นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เกิดเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2490 ที่อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นบุตรคนกลางของนายเจิม – นางประหยัด วงศ์สวัสดิ์จากพี่น้องทั้งหมด 5 คน โดยเป็นพี่ชาย 2 คน และน้องสาว 2 คน ครอบครัวประกอบอาชีพทำสวนยาง[2] สมรสกับนางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ ซึ่งเป็นน้องสาวของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี มีบุตร 3 คน คือ นายยศธนัน วงศ์สวัสดิ์ น.ส.ชินณิชา วงศ์สวัสดิ์ และ น.ส.ชยาภา วงศ์สวัสดิ์[3]
การศึกษา[4]
สำเร็จการศึกษาชั้นต้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ชั้นมัธยมจากโรงเรียนอำนวยศิลป์
- ปี 2513 นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีเพื่อนร่วมรุ่นเป็นคนดังหลายคนอาทิ นายจำลอง ครุฑขุนทด ร้อยตำรวจโท เชาวริน ลัทธศักดิ์ศิริ นายพินิต อารยะศิริ ฯลฯ
- ปี 2516 เนติบัณฑิตไทย (นบท.) สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา
- ปี 2539 ปริญญาบัตร หลักสูตรป้องกันราชอาณาจักร วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 38
- ปี 2545 รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต หลักสูตรการจัดการภาครัฐและภาคเอกชนมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
การรับราชการ[5]
- 8 มีนาคม 2549 ปลัดกระทรวงแรงงาน และได้ลาออกจากราชการเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2549
- 11 พฤศจิกายน 2542 – มีนาคม 2549 ปลัดกระทรวงยุติธรรม
- ปี 2542 รองปลัดกระทรวงยุติธรรม ฝ่ายบริหาร
- ปี 2541 รองปลัดกระทรวงยุติธรรม ฝ่ายวิชาการ
- ปี 2540 ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ภาค 2
- ปี 2536 ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3
- ปี 2533 ผู้พิพากษาหัวหน้าหัวหน้าคณะในศาลอาญาธนบุรี
- ปี 2532 ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดนนทบุรี
- ปี 2531 ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดชลบุรี
- ปี 2530 ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลคดีเด็กและเยาวชนจังหวัดระยอง
- ปี 2529 ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดพังงา
- ปี 2526 ผู้พิพากษาศาลจังหวัดเชียงราย
- ปี 2520 ผู้พิพากษาศาลจังหวัดเชียงใหม่
- ปี 2519 ผู้พิพากษาศาลแขวงเชียงใหม่
- ป 2518 ผู้พิพากษาประจำกระทรวง
- ปี 2517 ผู้ช่วยผู้พิพากษา กระทรวงยุติธรรม
การดำรงตำแหน่งอื่น[6]
- ปี 2551 กรรมการเนติบัณฑิตไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
- ปี 2542-2549 ประธานกรรมการ สภาวิจัยแห่งชาติ สาขานิติศาสตร์
- ประธานกรรมการ ตรวจสอบทรัพย์สินผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดให้โทษ
- กรรมการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)
- กรรมการบริษัทผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน)
- กรรมการธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
- กรรมการบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
- กรรมการบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)
- กรรมการบริษัทไทยออยล์ จำกัด (มหาชน)
- กรรมการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.)
- กรรมการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ป.ป.ง.)
- กรรมการคณะกรรมการกฤษฎีกา
- กรรมการคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.)
- กรรมการคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.)
- กรรมการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (กพ.)
- กรรมการคณะกรรมการอัยการ (กอ.)
- กรรมการคณะกรรมการตุลาการ
- กรรมการคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารแห่งชาติ
- กรรมการสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล
อุปนิสัย
อุปนิสัยส่วนตัวเป็นคนอ่อนน้อมถ่อมตัวเข้าได้กับทุกฝ่าย แม้ในสมัยรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ที่มีนายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี นายสุทัศน์ เงินหมื่น เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมยังแต่งตั้งให้เป็น “ปลัดกระทรวงยุติธรรม”[7]
การดำรงตำแหน่งทางการเมือง
- ปี 2550 เป็นรองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน
- วันที่ 23 ธันวาคม 2550 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบสัดส่วน กลุ่มจังหวัดที่ 1
- วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2551 เป็นรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
- วันที่ 9 กันยายน 2551 ได้รับเลือกจากคณะรัฐมนตรีให้เป็นรักษาการนายกรัฐมนตรีหลังจากนายสมัคร สุนทรเวช พ้นจากตำแหน่งตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญกรณีขาดคุณสมบัติ
- วันที่ 17 กันยายน 2551 ได้รับเลือกจากสภาผู้แทนราษฎรให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 26 ของประเทศไทย โดยผลการลงคะแนนปรากฎว่านายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ได้ 298 เสียง ส่วนนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะได้ 163 เสียง งดออกเสียง 5 เสียง ทำให้นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ได้รับคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งตามรัฐธรรมนูญ จึงได้รับความเห็นชอบให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 26 ของประเทศไทย[8]
การพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
วันที่ 2 ธันวาคม 2551 ศาลรัฐธรรมนูญได้อ่านคำวินิจฉัยให้ยุบพรรคพลังประชาชน เนื่องจากกรณีที่นายยงยุทธ ติยะไพรัช รองหัวหน้าพรรคพลังประชาชนและกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชน กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2550 ซึ่งมีผลทำให้การเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม อันเป็นการกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 ประกอบมาตรา 237 วรรคสอง และให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคพลังประชาชนและกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชน จำนวน 37 คน เป็นเวลา 5 ปี ทำให้นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ในฐานะรักษาการหัวหน้าพรรคพลังประชาชนต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี[9]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[10]
- ปี 2551 The Grand Cross of the Order of the Sun of Peru
- ปี 2542 เหรียญจักรพรรดิมาลา (จ.ม.ร.)
- ปี 2540 มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
- ปี 2535 มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
- ปี 2532 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)
- ปี 2529 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)
- ปี 2527 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)
- ปี 2523 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)
เหตุการณ์ที่เกี่ยวข้อง
เหตุการณ์ที่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยปิดล้อมอาคารรัฐสภาตั้งแต่วันจันทร์ที่ 6 ตุลาคม 2551 เพื่อกดดันไม่ให้คณะรัฐมนตรีที่นำโดยนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ แถลงนโยบายต่อที่ประชุมรัฐสภาในวันอังคารที่ 7 ตุลาคม 2551 ได้ โดยอ้างว่ารัฐบาลขาดความชอบธรรมที่จะเข้ามาบริหารประเทศและไม่ต้องการให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีได้ติดต่อขอให้นายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภาเปลี่ยนสถานที่ประชุมหรือเลื่อนการประชุมออกไป แต่นายชัย ชิดชอบ ยังคงยืนยันให้มีการประชุมรัฐสภาตามวันและเวลาเดิม[11]
เวลาประมาณ 06.20 น. ของเช้าวันอังคารที่ 7 ตุลาคม ตำรวจได้ยิงแก๊สน้ำตาเข้าใส่ผู้ชุมนุมเป็นการเปิดเส้นทางให้คณะรัฐมนตรีเข้าไปประชุมรัฐสภาเพื่อแถลงนโยบายและให้สมาชิกรัฐสภาเข้าร่วมประชุมปรากฎว่ามีเพียงสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคร่วมรัฐบาลจำนวน 320 คน เท่านั้นที่เข้าร่วมประชุม ส่วนพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านได้คว่ำบาตรการแถลงนโยบายครั้งนี้ เมื่อคณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายเสร็จเวลาประมาณ 14.00 น. นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์นายกรัฐมนตรีก็ไม่สามารถเดินทางออกมาได้ต้องเดินทางด้วยเฮลิคอปเตอร์ของตำรวจแทน ต่อมาเวลา 16.00 น. เกิดเหตุการณ์รถจิ๊ปเชโรกีระเบิดที่หน้าที่ทำการพรรคชาติไทย มีผู้เสียชีวิต 1 ราย เป็นแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย[12]
เวลาประมาณ 17.00 น. บรรดาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภายังคงติดอยู่ภายในอาคารรัฐสภา ตำรวจได้ยิงแก๊สน้ำตาอีกเพื่อเปิดทางให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาออกไปได้ ขณะเดียวกันกลุ่มผู้ชุมนุมได้ล้อมรอบหน้าบริเวณกองบัญชาการตำรวจนครบาลและลานพระบรมรูปทรงม้า ทำให้เกิดความวุ่นวายจนเป็นเหตุให้ผู้เข้าร่วมชุมนุมและตำรวจได้รับบาดเจ็บ นอกจากนี้ยังมีผู้เสียชีวิตเป็นผู้หญิง 1 ราย ต่อมาพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรีที่รับผิดชอบด้านความมั่นคงได้ลาออกจากตำแหน่งเพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งจากผลการชันสูตรศพของผู้เสียชีวิตสรุปว่าบาดแผลที่ทำให้เสียชีวิตไม่ได้เกิดจากแก๊สน้ำตาแต่อาจเกิดจากวัตถุระเบิด[13]
ในวันที่ 16 ตุลาคม 2551 ผู้บัญชาการเหล่าทัพทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วย พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก, พล.ร.อ.กำธร พุ่มหิรัญ ผู้บัญชาการทหารเรือ, พล.อ.อ.อิทธพร ศุภวงศ์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ, พล.ต.อ.พัชรวาท วงศ์สุวรรณ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และ พล.อ.ทรงกิตติ จักกาบาตร์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ได้ร่วมกันออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 3 เรียกร้องให้รัฐบาลลาออกและแสดงความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งไม่เคยปรากฎมาก่อนในประวัติศาสตร์การเมืองไทย จึงมีผู้เรียกเหตุการณ์ครั้งนี้ว่า เป็น “การปฏิวัติผ่านหน้าจอ”[14]
วันที่ 7 กันยายน 2552 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้มีมติชี้มูลความผิดทางอาญาฐานะเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 กับนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตรองนายกรัฐมนตรี พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และ พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว อดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาลและให้ส่งรายงานเอกสารและความเห็นไปยังอัยการสูงสุดเพื่อดำเนินการฟ้องคดีบุคคลทั้งสี่ต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 92 และมาตรา 70 ต่อไป
บทส่งท้าย[15]
กล่าวได้ว่าวิถีชีวิตของนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์เป็น “ต้นแบบ” แก่คนรุ่นหลังในหลาย ๆ ด้าน
ด้านการศึกษาเล่าเรียน เป็นต้นแบบในเรื่องความขยันบากบั่นหมั่นเพียร แม้ว่าจะเกิดมาจน แต่ไม่ยอมแพ้แก่โชคชะตา กัดฟันเรียนจนสำเร็จการศึกษา
ด้านการดำรงชีวิต เป็นต้นแบบในเรื่องความประหยัด มัธยัสถ์ รู้จักกินรู้จักใช้ อ่อนน้อมถ่อมตน เจียมเนื้อเจียมตัว
ด้านการทำงาน เป็นต้นแบบในเรื่องความเป็นธรรม ซื่อสัตย์ ตรงไปตรงมา กล้าคิดกล้าตัดสินใจ และรับฟังความคิดเห็นจากผู้ใต้บังคับบัญชา
ด้านการใช้ชีวิตครอบครัวเป็นต้นแบบในเรื่องความเป็นผู้นำครอบครัว ให้เกียรติ และรับฟังความคิดเห็นของภรรยา
เป็น “ช้างเท้าหน้า” ที่ก้าวเดินไปพร้อม ๆ กับ “เท้าหลัง” และเป็น “พ่อ” ผู้เป็นพระพรหมของลูกในทุกประการ เป็นผู้ชายต้นแบบอย่างแท้จริง
อ้างอิง
- ↑ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. “สมชาย วงศ์สวัสดิ์”, [ออนไลน์], แหล่งที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki. (30 กันยายน 2552) หน้า 1.
- ↑ เสนาะ สุขเจริญ, กว่าจะเป็นคนสำคัญ (กรุงเทพฯ : มติชน, 2547), หน้า 230.
- ↑ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, เรื่องเดิม, หน้า 1.
- ↑ “ประวัตินายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษา”, [ออนไลน์] แหล่งที่มา : http://www.moe-news.net. (28 กันยายน 2552) หน้า 1.
- ↑ “นายกรัฐมนตรีคนที่ 26 นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์”. [ออนไลน์] แหล่งที่มา : http://www.cabinet.thaigov.go.th. (6 ตุลาคม 2552)
- ↑ เรื่องเดียวกัน, หน้าเดียวกัน.
- ↑ เสนาะ สุขเจริญ, หน้า 252-253.
- ↑ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, เรื่องเดิม, หน้า 3.
- ↑ เรื่องเดียวกัน, หน้าเดียวกัน.
- ↑ เรื่องเดียวกัน, หน้าเดียวกัน.
- ↑ “คดี 7 ตุลาฯ ป.ป.ช.ชี้มูลความผิด สมชาย – บิ๊กจิ๋ว – พัชรวาท – สุชาติ”, [ออนไลน์], แหล่งที่มา : http://www.prachatai.com (7 ตุลาคม 2552) หน้า 4.
- ↑ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. “การสลายการชุมนุมหน้าอาคารรัฐสภา 7 ตุลาคม พ.ศ. 2551”, แหล่งที่มา : http://wikipedia.org/wiki. (7 ตุลาคม 2552) หน้า 6.
- ↑ “อังคณา ระดับปัญญาวุฒิ ข่าวพันธมิตร หมอชี้แก๊สน้ำตาบึ้มฆ่าน้องโบว์”, แหล่งที่มา : http://hilight.kapook.com. (7 ตุลาคม 2552) หน้า 1.
- ↑ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, หน้า 9.
- ↑ เสนาะ สุขเจริญ, เรื่องเดียวกัน, หน้า 258.
บรรณานุกรม
วิกิพีเดีย “สมชาย วงศ์สวัสดิ์” [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki. (30 กันยายน 2552)
“ประวัตินายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ” [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.moe-news.net. (28 สิงหาคม 2552)
“สมชาย วงศ์สวัสดิ์ นั่งนายกฯคนที่ 26” [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.cityvariety.com. (30 กันยายน 2552)
เสนาะ สุขเจริญ. กว่าจะเป็นคนสำคัญ. กรุงเทพฯ : มติชน, 2547. หน้า 230.
ดูเพิ่มเติม
เสนาะ สุขเจริญ “กว่าจะมาเป็นคนสำคัญ”, กรุงเทพฯ : มติชน. 2547
“น้องโบว์ อังคณา ระดับปัญญาวุฒิ เหยื่อ สลายม็อบ พันธมิตร ถูกของแข็งกระแทกปอด” [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://hilight.kapook.com. (7 ตุลาคม 2552)
“อังคณา ระดับปัญญาวุฒิ ข่าวพันธมิตร หมอชี้แก๊สน้ำตาบึ้มฆ่าน้องโบว์” [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://hilight.kapook.com (7 ตุลาคม 2552)
วิกิพีเดีย. “การสลายการชุมนุมหน้าอาคารรัฐสภา 7 ตุลาคม พ.ศ. 2551” [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki (7 ตุลาคม 2552)
“คดี 7 ตุลาคมฯ ป.ป.ช.ชี้มูลความผิด สมชาย – บิ๊กจิ๋ว –พัชรวาท – สุชาติ” [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.prachatai.com (7 ตุลาคม 2552)