ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เข้าชื่อเสนอกฎหมาย"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Panu (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Panu (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 6: บรรทัดที่ 6:


ในระบบการเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตยนั้น กฎหมายมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งต่อการดำเนินการต่าง ๆ ภายในรัฐ โดยเฉพาะในรัฐประชาธิปไตยที่ยึด[[หลักการปกครองภายใต้กฎหมาย]] (The Rule of Law) เนื่องจากกฎหมายเป็นเครื่องมือในการบริหารและการปกครองประเทศ ทั้งยังเป็นการกำหนดขอบเขตการใช้อำนาจของผู้ปกครอง เป็นการจัดระเบียบของสังคม เป็นหลักประกันสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาคของประชาชนและก่อให้เกิดความชอบธรรมให้เกิดขึ้นในสังคม
ในระบบการเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตยนั้น กฎหมายมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งต่อการดำเนินการต่าง ๆ ภายในรัฐ โดยเฉพาะในรัฐประชาธิปไตยที่ยึด[[หลักการปกครองภายใต้กฎหมาย]] (The Rule of Law) เนื่องจากกฎหมายเป็นเครื่องมือในการบริหารและการปกครองประเทศ ทั้งยังเป็นการกำหนดขอบเขตการใช้อำนาจของผู้ปกครอง เป็นการจัดระเบียบของสังคม เป็นหลักประกันสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาคของประชาชนและก่อให้เกิดความชอบธรรมให้เกิดขึ้นในสังคม


ภายใต้หลักการที่ว่าอำนาจสูงสุดเป็นของประชาชน ดังนั้น กฎหมายที่ออกมาบังคับแก่ประชาชนจะต้องมาจากประชาชน คำว่า “มาจากประชาชน” นั้นหมายถึง [[การเสนอร่างกฎหมายโดยประชาชน]] ซึ่งเป็นหนึ่งในกลไกที่สำคัญของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยทางตรงที่ได้มีการบัญญัติในรัฐธรรมนูญของหลายประเทศ  โดยให้สิทธิแก่ประชาชนให้สามารถร่วมกันเข้าชื่อเสนอร่างกฎหมายได้ เช่น รัฐธรรมนูญของประเทศสวิสเซอร์แลนด์ และรัฐธรรมนูญของมลรัฐในประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นต้น<ref>'''แนวทางแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเรื่องการเข้าชื่อเสนอกฎหมายโดยประชาชน.'''  กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2549. หน้า 21.</ref>
ภายใต้หลักการที่ว่าอำนาจสูงสุดเป็นของประชาชน ดังนั้น กฎหมายที่ออกมาบังคับแก่ประชาชนจะต้องมาจากประชาชน คำว่า “มาจากประชาชน” นั้นหมายถึง [[การเสนอร่างกฎหมายโดยประชาชน]] ซึ่งเป็นหนึ่งในกลไกที่สำคัญของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยทางตรงที่ได้มีการบัญญัติในรัฐธรรมนูญของหลายประเทศ  โดยให้สิทธิแก่ประชาชนให้สามารถร่วมกันเข้าชื่อเสนอร่างกฎหมายได้ เช่น รัฐธรรมนูญของประเทศสวิสเซอร์แลนด์ และรัฐธรรมนูญของมลรัฐในประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นต้น<ref>'''แนวทางแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเรื่องการเข้าชื่อเสนอกฎหมายโดยประชาชน.'''  กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2549. หน้า 21.</ref>
บรรทัดที่ 32: บรรทัดที่ 31:
==รูปแบบของร่างกฎหมายที่จะเสนอให้รัฐสภาพิจารณา==
==รูปแบบของร่างกฎหมายที่จะเสนอให้รัฐสภาพิจารณา==


กฎหมายที่จะเสนอให้รัฐสภาพิจารณาต้องจัดทำในรูปแบบ ร่างพระราชบัญญัติ ซึ่งต้องมีหลักการเกี่ยวกับเรื่องที่บัญญัติไว้ในกฎหมายไว้ในหมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย หรือหมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พร้อมกับต้องแบ่งเป็นมาตราที่ชัดเจน และต้องมีบันทึกประกอบ ดังนี้
กฎหมายที่จะเสนอให้รัฐสภาพิจารณาต้องจัดทำในรูปแบบ ร่างพระราชบัญญัติ ซึ่งต้องมีหลักการเกี่ยวกับเรื่องที่บัญญัติไว้ในกฎหมายไว้ในหมวด 3 [[สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย]] หรือหมวด 5 [[แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ]] ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พร้อมกับต้องแบ่งเป็นมาตราที่ชัดเจน และต้องมีบันทึกประกอบ ดังนี้
1. หลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ
1. หลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ
2. เหตุผลในการเสนอร่างพระราชบัญญัติ
2. เหตุผลในการเสนอร่างพระราชบัญญัติ
บรรทัดที่ 74: บรรทัดที่ 73:


สิทธิชัย พิมเสน. '''การพัฒนากระบวนการนิติบัญญัติของสภาผู้แทนราษฎรศึกษาเฉพาะกรณีการเข้าชื่อเสนอกฎหมายโดยประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งเอกสารวิชาการกรณีศึกษาส่วนบุคคล,''' รัฐสภา, กรุงเทพมหานคร, 2549
สิทธิชัย พิมเสน. '''การพัฒนากระบวนการนิติบัญญัติของสภาผู้แทนราษฎรศึกษาเฉพาะกรณีการเข้าชื่อเสนอกฎหมายโดยประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งเอกสารวิชาการกรณีศึกษาส่วนบุคคล,''' รัฐสภา, กรุงเทพมหานคร, 2549


[[category:ความรู้เกี่ยวกับรัฐสภาไทย|ขเข้าชื่อเสนอกฎหมาย]]
[[category:ความรู้เกี่ยวกับรัฐสภาไทย|ขเข้าชื่อเสนอกฎหมาย]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:34, 20 พฤศจิกายน 2552

ผู้เรียบเรียง ชงคชาญ สุวรรณมณี

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จเร พันธุ์เปรื่อง


ในระบบการเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตยนั้น กฎหมายมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งต่อการดำเนินการต่าง ๆ ภายในรัฐ โดยเฉพาะในรัฐประชาธิปไตยที่ยึดหลักการปกครองภายใต้กฎหมาย (The Rule of Law) เนื่องจากกฎหมายเป็นเครื่องมือในการบริหารและการปกครองประเทศ ทั้งยังเป็นการกำหนดขอบเขตการใช้อำนาจของผู้ปกครอง เป็นการจัดระเบียบของสังคม เป็นหลักประกันสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาคของประชาชนและก่อให้เกิดความชอบธรรมให้เกิดขึ้นในสังคม

ภายใต้หลักการที่ว่าอำนาจสูงสุดเป็นของประชาชน ดังนั้น กฎหมายที่ออกมาบังคับแก่ประชาชนจะต้องมาจากประชาชน คำว่า “มาจากประชาชน” นั้นหมายถึง การเสนอร่างกฎหมายโดยประชาชน ซึ่งเป็นหนึ่งในกลไกที่สำคัญของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยทางตรงที่ได้มีการบัญญัติในรัฐธรรมนูญของหลายประเทศ โดยให้สิทธิแก่ประชาชนให้สามารถร่วมกันเข้าชื่อเสนอร่างกฎหมายได้ เช่น รัฐธรรมนูญของประเทศสวิสเซอร์แลนด์ และรัฐธรรมนูญของมลรัฐในประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นต้น[1]

สำหรับในประเทศไทยนั้นแต่เดิมการเสนอร่างพระราชบัญญัติโดยทั่วไปมักกระทำโดยคณะรัฐมนตรี และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ต่อมาในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ที่เรียกกันว่ารัฐธรรมนูญฉบับประชาชนได้มีบทบัญญัติที่รับรองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนในการมีส่วนร่วมทางการเมืองไว้หลายประการด้วยกัน ที่สำคัญ คือ การให้ประชาชนมีสิทธิเข้าชื่อเสนอกฎหมายได้เป็นครั้งแรกโดยบัญญัติในมาตรา 170 กำหนดให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่าห้าหมื่นคน เข้าชื่อร้องขอต่อประธานรัฐสภาได้เพื่อให้รัฐสภาพิจารณากฎหมายตามที่กำหนดไว้ในหมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทยและหมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ต่อมาเมื่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ถูกยกเลิกไป เมื่อมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้มีการปรับปรุงให้การเข้าชื่อเสนอกฎหมายโดยประชาชนทำได้ง่ายขึ้น โดยลดจำนวนประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในการเข้าชื่อเสนอกฎหมายจากเดิมไม่น้อยกว่าห้าหมื่นคน เหลือไม่น้อยกว่าหนึ่งหมื่นคน

วิธีการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย

ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 กำหนดให้วิธีการเข้าชื่อเสนอกฎหมายไว้ 2 วิธี คือ[2]

1. การเข้าชื่อเสนอกฎหมายโดยประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งหมื่นคน ยื่นเรื่องร้องขอต่อประธานรัฐสภา โดยมีหลักเกณฑ์และวิธีการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ. 2542 และ ประกาศรัฐสภา เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีดำเนินการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย

วิธีการยื่นคำขอเข้าชื่อเสนอกฎหมาย ให้ผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมาย ลงลายมือชื่อลงในแบบแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อ ที่อยู่ ลายมือชื่อของผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมาย และกรอกข้อมูลตามที่ระบุไว้ในแบบฟอร์มดังกล่าวให้ครบถ้วนชัดเจนพร้อมเอกสารประกอบการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย ดังนี้

(1) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน บัตรประจำตัวประชาชนที่หมดอายุ หรือบัตร หรือหลักฐานอื่นใดของทางราชการที่มีรูปถ่ายสามารถแสดงตนได้

(2) สำเนาทะเบียนบ้านโดยเอกสารดังกล่าว ต้องเป็นเอกสารที่มีความชัดเจนและเป็นปัจจุบัน ซึ่งจะทำให้เกิดความสะดวกรวดเร็วในการตรวจสอบ

2. การเข้าชื่อเสนอกฎหมายโดยประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ซึ่งมีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยคน ร้องขอให้คณะกรรมการการเลือกตั้งจัดให้มีการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย

ผู้มีสิทธิเข้าชื่อเสนอกฎหมาย

ผู้มีสิทธิเข้าชื่อเสนอกฎหมาย ได้แก่ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และจะต้องไม่เป็นผู้เสียสิทธิตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2550 ทั้งนี้เมื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้ใดร่วมลงชื่อเสนอกฎหมายโดยถูกต้องแล้วจะถอนชื่อภายหลังมิได้[3]

รูปแบบของร่างกฎหมายที่จะเสนอให้รัฐสภาพิจารณา

กฎหมายที่จะเสนอให้รัฐสภาพิจารณาต้องจัดทำในรูปแบบ ร่างพระราชบัญญัติ ซึ่งต้องมีหลักการเกี่ยวกับเรื่องที่บัญญัติไว้ในกฎหมายไว้ในหมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย หรือหมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พร้อมกับต้องแบ่งเป็นมาตราที่ชัดเจน และต้องมีบันทึกประกอบ ดังนี้ 1. หลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ 2. เหตุผลในการเสนอร่างพระราชบัญญัติ 3. บันทึกวิเคราะห์สรุปสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ

การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ

ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งร่วมกันเข้าชื่อเสนอกฎหมายกันเอง และการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเสนอเข้ามาโดยการจัดการของคณะกรรมการการเลือกตั้งนั้น จะดำเนินการตามกระบวนการตราพระราชบัญญัติเช่นเดียวกับร่างพระราชบัญญัติที่คณะรัฐมนตรีและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเสนอ โดยที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรจะพิจารณาเป็น 3 วาระ ซึ่งในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาต้องให้ผู้แทนของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เข้าชื่อเสนอร่างพระราชบัญญัตินั้นชี้แจงหลักการของร่างพระราชบัญญัติและคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวจะต้องประกอบด้วยผู้แทนของประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งที่เข้าชื่อเสนอร่างพระราชบัญญัตินั้น จำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนกรรมาธิการทั้งหมด[4] เมื่อร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวผ่านความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎรแล้ว ก็จะส่งให้วุฒิสภาพิจารณาเป็น 3 วาระเช่นกัน เมื่อร่างพระราชบัญญัติผ่านความเห็นชอบของทั้งสองสภาแล้ว นายกรัฐมนตรีจะนำขึ้นทูลเกล้าฯ พระมหากษัตริย์เพื่อทรง ลงพระปรมาภิไธย จากนั้นจะนำไปประกาศในราชกิจจานุเบกษาและบังคับใช้เป็นกฎหมายต่อไป

การเข้าชื่อเสนอกฎหมายโดยประชาชน เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งสามารถรวมตัวกันเพื่อแสดงออกถึงสิทธิเสรีภาพในการปกป้องพิทักษ์รักษาผลประโยชน์ของตนหรือของชุมชนท้องถิ่น ทำให้คณะรัฐมนตรีหรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ทราบถึงความต้องการที่แท้จริงของประชาชน หากเกิดผลเป็นกฎหมายแล้วจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศชาติ ก็จะช่วยผลักดันและสนับสนุนให้ร่างพระราชบัญญัตินั้นผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาจนประกาศใช้เป็นกฎหมายทำให้ประชาชนมีกฎหมายที่ตรงกับความต้องการของตนเอง นำไปสู่การแก้ไขปัญหาและความขัดแย้งระหว่างประชาชนกับประชาชนและประชาชนกับเจ้าหน้าที่ของรัฐได้

อ้างอิง

  1. แนวทางแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเรื่องการเข้าชื่อเสนอกฎหมายโดยประชาชน. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2549. หน้า 21.
  2. เอกสารเผยแพร่ เรื่อง สิทธิของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในการเข้าชื่อเสนอกฎหมายและเข้าชื่อเสนอญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ, กลุ่มงานเข้าชื่อเสนอกฎหมาย สำนักการประชุม สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
  3. แนวทางแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเรื่องการเข้าชื่อเสนอกฎหมายโดยประชาชน. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2549. หน้า 30.
  4. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 163, ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 124 ตอนที่ 47 ก, 24 สิงหาคม 2550, หน้า 61.

บรรณานุกรม

การเข้าชื่อเสนอกฎหมาย, กลุ่มงานเข้าชื่อเสนอกฎหมาย สำนักการประชุม สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพฯ 2546

พรพิมล ถิรคุณโกวิท, การใช้สิทธิเข้าชื่อเสนอกฎหมายของประชาชน : การศึกษาปัญหาและอุปสรรค. นักศึกษาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 42 ประจำปีการศึกษา พุทธศักราช 2542-2543.

แนวทางการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ เรื่องการเข้าชื่อเสนอกฎหมายโดยประชาชน. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้ทนราษฎร, 2549.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. สำนักประชาสัมพันธ์. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. กรุงเทพมหานคร : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2540

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. สำนักประชาสัมพันธ์. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. กรุงเทพมหานคร : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2550

เอกสารเผยแพร่ เรื่อง การเข้าชื่อเสนอกฎหมายโดยประชาชน, กลุ่มงานเข้าชื่อเสนอกฎหมาย สำนักการประชุม สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

เอกสารเผยแพร่ เรื่อง สิทธิของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในการเข้าชื่อเสนอกฎหมายและเข้าชื่อเสนอญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ, กลุ่มงานเข้าชื่อเสนอกฎหมาย สำนักการประชุม สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

ดูเพิ่มเติม

จันทิมา ทองชาติ. การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน ศึกษาเฉพาะกรณีการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ, 2551

วนิดา แสงสารพันธ์. การเข้าชื่อเสนอกฎหมายโดยประชาชน, คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพมหานคร 2543

วนิดา แสงสารพันธ์. หลักรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมายโดยประชาชน, วิญญูชน, กรุงเทพมหานคร 2548

วราเทพ รัตนากร, พ.ร.บ.ว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ. 2542, สถาบันพระปกเกล้า, นนทบุรี, 2542

สิทธิชัย พิมเสน. การพัฒนากระบวนการนิติบัญญัติของสภาผู้แทนราษฎรศึกษาเฉพาะกรณีการเข้าชื่อเสนอกฎหมายโดยประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งเอกสารวิชาการกรณีศึกษาส่วนบุคคล, รัฐสภา, กรุงเทพมหานคร, 2549