ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อาณานิคมบนดวงจันทร์"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Trikao (คุย | ส่วนร่วม)
สร้างหน้าด้วย " '''ผู้เรียบเรียง :''' รองศาสตราจารย์ ดร.วิชุดา สาธิตพร แล..."
 
Trikao (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
บรรทัดที่ 108: บรรทัดที่ 108:
</div> <div id="ftn10">
</div> <div id="ftn10">
[[#_ftnref10|[10]]] Space. (2022). China's next moon missions get the green light. Retrieved from [https://www.space.com/china-moon-exploration-chang-e-missions-approved https://www.space.com/china-moon-exploration-chang-e-missions-approved]
[[#_ftnref10|[10]]] Space. (2022). China's next moon missions get the green light. Retrieved from [https://www.space.com/china-moon-exploration-chang-e-missions-approved https://www.space.com/china-moon-exploration-chang-e-missions-approved]
</div> </div>
</div> </div>  
[[Category:สารานุกรม คำศัพท์ต่าง ๆ]]

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 15:35, 14 มิถุนายน 2567

ผู้เรียบเรียง : รองศาสตราจารย์ ดร.วิชุดา สาธิตพร และธีทัต จันทราพิชิต

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต

 

อาณานิคมบนดวงจันทร์

          การตั้งอาณานิคมบนดวงจันทร์เป็นความคิดในการล่าอาณานิคมอวกาศที่ต้องการจะตั้งถิ่นฐานบนดวงจันทร์ ในทางกฎหมายไม่มีประเทศใดสามารถอ้างสิทธิเหนือพื้นที่ดาวเคราะห์และดาวบริวารต่าง ๆ ได้ รวมไปถึงดวงจันทร์ด้วย ทำให้การปักธงสหรัฐฯ บนดวงจันทร์ในภารกิจอพอลโล 11 ไม่สามารถอ้างสิทธิเหนือดวงจันทร์ได้

 

Colony on the Moon (1).jpg
Colony on the Moon (1).jpg

ภาพ : นักบินอวกาศ บัซซ์ อัลดริน บนดวงจันทร์[1]

 

ที่มา

          ความคิดในการเดินทางไปดวงจันทร์มีมานานหลายศตวรรษ กระทั่งในศตวรรษที่ 20 ที่เกิดการแข่งขันด้านอวกาศระหว่างสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตทำให้ดวงจันทร์เป็นเป้าหมายสำคัญในการเดินทาง โดยทั้งสหรัฐฯ และสหภาพโซเวียตต่างมีความพยายามที่จะส่งคนเดินทางไปให้ถึงดวงจันทร์ หากแต่โครงการการเดินทางไปยังดวงจันทร์สหรัฐอเมริกาให้ความสนใจอย่างเปิดเผยและชัดเจนกว่าของสหภาพโซเวียต โดยประธานาธิบดี จอห์น เอฟ. เคนเนดี้ ของสหรัฐอเมริกา ได้ประกาศว่าสหรัฐฯ จะส่งมนุษย์ไปยังดวงจันทร์ภายในปลายทศวรรษที่ 1960[2]

          ซึ่งนำมาสู่การพัฒนาโครงการอวกาศสามโครงการซึ่งโครงการแรกดำเนินไปก่อนการประกาศของ จอห์น เอฟ. เคนเนดี้ นั่นก็คือโครงการเมอร์คิวรี่ หลังประกาศของเคนเนดี้ จึงมีโครงการเจมินี่ และโครงการอพอลโลตามมา

 

Colony on the Moon (2).jpg
Colony on the Moon (2).jpg
Colony on the Moon (3).jpg
Colony on the Moon (3).jpg
Colony on the Moon (4).jpg
Colony on the Moon (4).jpg
นักบินอวกาศโครงการเมอร์คิวรี่ นักบินอวกาศโครงการเจมินี่ นักบินอวกาศโครงการอพอลโล

 

          โดยโครงการเมอร์คิวรี่เป็นโครงการที่วิจัยเกี่ยวกับการส่งมนุษย์ขึ้นสู่อวกาศ ดำเนินงานช่วงปี ค.ศ. 1958-1963 โดยมีวัตถุประสงค์หลักด้วยกัน 3 ประการ
          1. เพื่อส่งยานอวกาศที่มีมนุษย์โดยสารออกสู่อวกาศ
          2. เพื่อทดสอบศักยภาพของมนุษย์ในอวกาศ
          3. เพื่อทำให้ยานอวกาศและมนุษย์กลับสู่พื้นโลกโดยปลอดภัย[3]

          ส่วนโครงการต่อมาอย่างโครงการเจมินี่ ที่ดำเนินงานในช่วงปี ค.ศ. 1965-1966 เป็นโครงการที่ตระเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อมต่อการเดินทางไปยังดวงจันทร์ โดยมีวัตถุประสงค์ระบุไว้ทั้งสิ้น 4 ประการ ได้แก่

          1. เพื่อทดลองการบินระยะยาวในอวกาศของมนุษย์โดยในที่นี้คือ การปฏิบัติการในอวกาศนานอย่างน้อยสองสัปดาห์

          2. เพื่อสร้างความเข้าใจในเรื่องการเข้าสู่วงโคจรและลงจอดบนดวงจันทร์ของยานอวกาศ

          3. หาวิธีลงจอดที่สมบูรณ์แบบ

          4. เข้าใจผลของการปฏิบัติการในอวกาศระยะยาวที่เกิดขึ้นกับตัวนักบินอวกาศ [4]

          เมื่อโครงการเจมินี่แล้วเสร็จจึงนำมาสู่โครงการอพอลโล คือ โครงการส่งมนุษย์ไปยังดวงจันทร์ ซึ่งโครงการอพอลโลเป็นโครงการเดียวในปัจจุบันที่ส่งมนุษย์ไปยังดวงจันทร์ โดยการส่งครั้งสุดท้ายเป็นการส่งไปในภารกิจ อพอลโล 17

          ภายหลังโครงการอพอลโลที่ส่งมนุษย์ไปเหยียบพื้นผิวดวงจันทร์ได้สำเร็จ ได้มีการเสนอแผนการดำเนินงานโครงการอวกาศต่อไป คือ การเดินทางไปยังดาวอังคาร โดยมีข้อเสนอให้ตั้งฐานบนดวงจันทร์เพื่อใช้ในการเดินทางไปยังดาวอังคาร

          ทว่าด้วยปัญหาทั้งภายในและภายนอกประเทศทำให้รัฐบาลกลางสหรัฐฯ ลดงบประมาณของนาซ่าและพับโครงการเกี่ยวกับดวงจันทร์ และการสำรวจอวกาศทั้งหมดส่งผลให้ภารกิจอพอลโลถูกลดจำนวนครั้งลงจากที่จะดำเนินการจนถึงภารกิจ อพอลโล 20 เหลือแค่ภารกิจ อพอลโล 17 [5]และสหรัฐฯ รวมถึงประเทศอื่นก็ไม่ได้ส่งคนไปยังดวงจันทร์อีกเลยนับตั้งแต่ ปี 1972

          แม้จะมีความพยายามส่งมนุษย์ไปยังดวงจันทร์โดยสหรัฐอเมริกาอีกหลายครั้ง แต่ก็ยังไม่ได้มีการดำเนินงาน ทั้งนี้หลายประเทศมีการทำภารกิจบนดวงจันทร์ แต่เป็นการส่งหุ่นยนต์และดาวเทียมไปสำรวจ โดยที่มีประเทศเช่น สหรัฐฯ จีน รัสเซีย อินเดีย ในการส่งสำรวจ

 

ปัจจุบัน

          ในต้นศตวรรษที่ 21 โครงการที่พยายามจะส่งมนุษย์ไปยังดวงจันทร์หลายโครงการ เช่นในสมัยของประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู. บุช มีการผลักดันให้ส่งมนุษย์ไปเหยียบดวงจันทร์อีกครั้งนับตั้งแต่ที่เกิดการเหยียบดวงจันทร์ครั้งสุดท้ายในภารกิจ อพอลโล 17 โดยมีกรอบเวลาให้ส่งมนุษย์ไปเหยียบดวงจันทร์ใน ปี ค.ศ. 2015 และภารกิจทั้งหมดจะแล้วเสร็จในปี 2020 เพื่อให้สามารถทำการสำรวจจุดอื่นเพิ่มเติมได้อีก[6]

          ต่อมาสหรัฐอเมริกาได้เริ่มทำโครงการสำรวจดวงจันทร์ใหม่อีกครั้งโดยตั้งชื่อโครงการว่าโครงการอาเทมิส[7] ซึ่งเป็นชื่อเทพธิดาน้องสาวของเทพอพอลโล ภารกิจในโครงการอาเทมิส คือ ภารกิจส่งคนไปยังดวงจันทร์เหมือนภารกิจ อพอลโล หากแต่มีความแตกต่างที่จะส่งคนไปยังดวงจันทร์เพื่อทำการตั้งอาณานิคมที่นั้น โดยภารกิจอาเทมิสได้รับการสนับสนุนจากประเทศอื่นนอกเหนือจากสหรัฐฯ และได้รับความร่วมมือจากเอกชน เช่น SpaceX และ Blue Origin ในการทำภารกิจ ทั้งนี้ภารกิจอาเทมิสได้เริ่มดำเนินงานตั้งแต่ช่วงปลายทศวรรษที่ 2010 และจะส่งมนุษย์ไปเหยียบดวงจันทร์ใน ปี 2024 แล้วจะดำเนินการตั้งฐาน ก่อนจะเริ่มมุ่งเป้าไปที่ดาวอังคารต่อไป

 

Colony on the Moon (5).png
Colony on the Moon (5).png

ภาพ : โครงการอาเทมิส[8]

          ทั้งนี้นอกจากสหรัฐฯ แล้วยังมีประเทศอื่นที่มีโครงการส่งมนุษย์ไปยังดวงจันทร์ เช่น ประเทศจีนก็มีโครงการสำรวจดวงจันทร์ของตัวเองชื่อว่าโครงการชางเอ่อ โดยมีเป้าหมายในการส่งมนุษย์ไปเหยียบพื้นผิวดวงจันทร์ และตั้งสถานีวิจัยบนดวงจันทร์ภายในทศวรรษที่ 2030[9] [10]

 

บรรณานุกรม

NASA. (2019). 50 Years Ago: After Apollo, What? Space Task Group Report to President Nixon. Retrieved from https://www.nasa.gov/feature/50-years-ago-after-apollo-what-space-task-group-report-to-president-nixon

NASA. (n.d.). About Project Mercury. Retrieved from https://www.nasa.gov/mission_pages/mercury/missions/program-toc.html

NASA. (n.d.). Bridge to The Moon. Retrieved from https://www.nasa.gov/specials/gemini_gallery/

NASA. (2004). President Bush Offers New Vision For NASA. Retrieved from https://www.nasa.gov/missions/solarsystem/bush_vision.html

National Air and Space Museum (2023). What Was the Space Race?. Retrieved from https://airandspace.si.edu/stories/editorial/what-was-space-race

Space. (2022). China's next moon missions get the green light. Retrieved from https://www.space.com/china-moon-exploration-chang-e-missions-approved

Space. (2023). 'We're in a space race.' NASA chief says US 'better watch out' for China's moon goals. Retrieved from https://www.space.com/nasa-bill-nelson-china-space-race-moon

 

อ้างอิง

[2] National Air and Space Museum (2023). What Was the Space Race?. Retrieved from https://airandspace.si.edu/stories/editorial/what-was-space-race

[3] NASA. (n.d.). About Project Mercury. Retrieved from https://www.nasa.gov/mission_pages/mercury/missions/program-toc.html

[4] NASA. (n.d.). Bridge to The Moon. Retrieved from https://www.nasa.gov/specials/gemini_gallery/

[5] NASA. (2019). 50 Years Ago: After Apollo, What? Space Task Group Report to President Nixon. Retrieved from https://www.nasa.gov/feature/50-years-ago-after-apollo-what-space-task-group-report-to-president-nixon

[6] NASA. (2004). President Bush Offers New Vision For NASA. Retrieved from https://www.nasa.gov/missions/solarsystem/bush_vision.html

[7] อ่านแผนการโครงการอาเทมิสได้ที่ https://www.nasa.gov/sites/default/files/atoms/files/artemis_plan-20200921.pdf

[9] Space. (2023). 'We're in a space race.' NASA chief says US 'better watch out' for China's moon goals. Retrieved from https://www.space.com/nasa-bill-nelson-china-space-race-moon

[10] Space. (2022). China's next moon missions get the green light. Retrieved from https://www.space.com/china-moon-exploration-chang-e-missions-approved