SpaceX

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า

ผู้เรียบเรียง : รองศาสตราจารย์ ดร.วิชุดา สาธิตพร และธีทัต จันทราพิชิต

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต

 

          Space Exploration Technologies Corp. หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า SpaceX เป็นบริษัทเอกชนที่ทำธุรกิจส่งดาวเทียมและมนุษย์ขึ้นอวกาศ ซึ่งในที่นี้หมายรวมไปถึงลูกยานอวกาศจากนาซ่า

 

SpaceX (1).jpg
SpaceX (1).jpg

founder of Space Exploration Technologies Corp. [1]

 

การก่อตั้ง

          SpaceX ก่อตั้งโดย อีลอน มัสก์ นักธุรกิจชาวอเมริกันที่เปิดในแอฟริกาใต้ หลังจากที่มัสก์ก่อตั้งและทำให้ธุรกิจอย่าง Zip2 และ Pay Pal ประสบความสำเร็จ และสามารถทำกำไรจากการขาย Zip2 ได้ 300 ล้านดอลล่าร์ ในปี 1999 และขาย Pay Pal ได้ 1,500 ล้านดอลลาร์ ในปี 2002 มักซ์ได้ทำการขายธุรกิจดังกล่าวและเริ่มสนใจในการทำธุรกิจสำหรับสำรวจอวกาศ

          โดยมัสก์มีความคิดจะทำให้ดาวอังคารสามารถอยู่อาศัยได้ด้วยการเพิ่มชั้นบรรยากาศ โดยเป้าหมาย คือ การหันเหความสนใจไปที่การสำรวจดาวอังคารพร้อมกับตั้งฐานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่ดาวอังคาร แต่พบว่าใช้ทรัพยากรและงบประมาณมากเกินไป มัสก์จึงได้หันมาทำบริษัทสำหรับการบินอวกาศอย่าง Space Exploration Technologies Corp. หรือ SpaceX ขึ้น โดยในช่วงแรกมัสก์ได้ใช้จ่ายเงินกว่าหนึ่งร้อยล้านเหรียญสหรัฐเพื่อดำเนินธุรกิจอวกาศของเขา แต่ในช่วงแรกล้มเหลวโดยสิ้นเชิง

 

ฟอลคอน 1

          มัสก์ได้เริ่มทำธุรกิจโดยเข้าหาลูกค้าคนสำคัญก็คือ นาซ่า ซึ่งมีงบประมาณและความต้องการในการใช้จรวด โดยเป้าหมายของมัสก์ คือ การสร้างจรวดที่สามารถเข้าสู่วงโคจรได้โดยเอกชนขึ้นเป็นครั้งแรก โดยมัสก์ได้ตั้งชื่อจรวดนั้นว่าฟอลคอน ซึ่งเขาได้รับแรงบันดาลใจจากยานมิลเลนเนียม ฟอลคอน จากชุดภาพยนตร์สตาร์วอร์[2]

          นอกจากเงินลงทุนของมัสก์ SpaceX ยังได้รับเงินสนับสนุนจากนาซ่าเป็นจำนวนกว่า 278 ล้านเหรียญสหรัฐ หากแต่การยิงจรวดฟอลคอน 1 นั้นประสบความล้มเหลวถึง 4 ครั้ง และเกือบทำให้บริษัทล้มละลาย[3] กระทั่งในปี ค.ศ. 2008-2009 จึงสามารถยิง ฟอลคอน 1 ขึ้นไปยังชั้นบรรยากาศได้สำเร็จ และภายหลังการยิงจรวดฟอลคอน ครั้งที่ 5 ในปี 2009 ฟอลคอน 1 ก็ถูกปลดระวางและเปลี่ยนไปใช้จรวดอื่นแทน

 

ฟอลคอน 9

          บริษัท SpaceX ได้มีการพัฒนาจรวดอีกหลายครั้ง กระทั่งมาถึงฟอลคอน 9 ซึ่งเป็นจรวดที่มีจุดขายตรงที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ โดยฟอลคอน 9 เป็นจรวดที่ใช้ส่งดราก้อนขึ้นไปยังอวกาศเพื่อเติมสเบียงให้กับนักบินอวกาศ ณ สถานีอวกาศ ทั้งนี้ฟอลคอน 9 มีอุบัติเหตุในช่วงปี 2015 และปี 2016 ทำให้เกิดเหตุระเบิดขึ้น [4]

 

ดราก้อน

          ดราก้อน 1 เป็นวัตถุอวกาศของเอกชนที่ใช้ในการลำเลียงสเบียงไปยังสถานีอวกาศและทำให้ SpaceX และนาซ่ามีสัญญาทางการค้าต่อกันมากขึ้น ต่อมา ดราก้อน 1 ถูกปลดระวาง และแทนที่ด้วย ดราก้อน 2 ซึ่งสามารถลำเลียงผู้โดยสารขึ้นไปด้วยได้[5]

 

ความสัมพันธ์ของนาซ่ากับ SpaceX

          แต่เดิมนั้นโครงการอวกาศเป็นโครงการที่ดำเนินการโดยรัฐ หากแต่ SpaceX เป็นบริษัทเอกชนรายแรก ๆ ที่เข้าไปมีส่วนในโครงการอวกาศได้ และเป็นเอกชนรายแรกที่สามารถส่งนักบินอวกาศขึ้นสู่อวกาศได้

          แม้ SpaceX จะประสบความสำเร็จในด้านการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศ แต่ SpaceX ก็ไม่ได้ตั้งตัวเป็นคู่แข่งกับนาซ่า ความสัมพันธ์ระหว่าง SpaceX กับนาซ่ามีลักษณะเป็นความสัมพันธ์แบบพึ่งพิงกัน หรือกล่าวได้อีกนัยว่าเป็นผู้ให้บริการกับผู้รับบริการ

          แม้ว่านาซ่าจะเคยทำโครงการอวกาศจำนวนมากและประสบความสำเร็จในโครงการเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นโครงการเมอร์คิวรี่ โครงการเจมินี่ และที่สำคัญที่สุดคือโครงการอพอลโล แต่ภายหลังจากการเหยียบพื้นผิวดวงจันทร์ในภารกิจอพอลโล 11 รัฐบาลก็เริ่มลดความสนใจในการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและลดงบประมาณการพัฒนาด้านนี้[6]

          SpaceX เป็นธุรกิจที่ต้องใช้ทรัพยากรจำนวนมากและเป็นธุรกิจที่ถูกละเลยโดยภาครัฐ เช่น การสำรวจอวกาศในสมัยประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู. บุช ก็ได้มีการพยายามสร้างโครงการอวกาศอย่างการส่งมนุษย์กลับไปยังดวงจันทร์ซึ่งทำให้เกิดการสร้างยานอวกาศรุ่นใหม่ชื่อ โอไรออน (Orion) ขึ้น แต่การสร้างโอไรออนเป็นไปอย่างล้าช้าและงบบานปลาย[7] เมื่อเทียบกับ SpaceX แม้จะประสบความล้มเหลวในการทดสอบปล่อยจรวดหลายครั้ง แต่ก็นับว่าใช้ต้นทุนที่ต่ำกว่าต้นทุนของนาซ่ามาก เพื่อประหยัดเงินในการลงทุนโดยภาครัฐ นาซ่าจึงได้พึ่ง SpaceX ในการดำเนินโครงการสำรวจอวกาศ ขณะเดียวกัน SpaceX ก็มีนาซ่าเป็นลูกค้ารายใหญ่ และทำให้ทั้งสองกลุ่มได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน[8]

 

SpaceX กับประเทศไทย

          พัฒนาการอย่างก้าวกระโดดของเทคโนโลยีอวกาศ เป็นส่วนสำคัญที่ผลักดันให้เศรษฐกิจอวกาศเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยวันที่ 22 พฤศจิกายน 2564 ดร.ปกรณ์ อาภาพันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA พร้อมทีมผู้บริหาร GISTDA ได้มีการหารือร่วมกับ บริษัท SpaceX และ บริษัท ไทยคม จำกัด (Thaicom) เกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงานร่วมกันในอนาคต เพื่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมอวกาศรวมถึงนวัตกรรมอวกาศ[9] ในปัจจุบัน ความสำเร็จที่เกิดจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนการสำรวจอวกาศของนานาประเทศ ผลักดันให้เกิดบริการรูปแบบใหม่หรือการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศในอุตสาหกรรมที่หลากหลาย อาทิ การพยากรณ์อากาศ การสำรวจแหล่งพลังงาน การสื่อสารทางไกล การประกันภัย การขนส่ง การเดินเรือ การบิน การท่องเที่ยว รวมถึงการพัฒนาเมือง เป็นต้น ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้จะนำไปสู่ผลประโยชน์ทางเศรฐกิจและสังคม หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ เมื่ออุตสาหกรรมอวกาศเติบโตก้าวหน้าย่อมจะสนับสนุนส่งเสริมให้อุตสาหกรรมอื่น ๆ เติบโตก้าวหน้าตามไปด้วย[10]

 

SpaceX (2).jpg
SpaceX (2).jpg
SpaceX (3).jpg
SpaceX (3).jpg

ภาพ : การประชุม GISTDA ประชุมหารือกับบริษัท SpaceX และ Thaicom เพื่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอุตสาหกรรมอวกาศ[11]

 

          ที่ผ่านมา อัตราการเติบโตของธุรกิจและอุตสาหกรรมอวกาศในระดับโลก มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนในประเทศไทย พบว่า ปัจจุบันมีกิจการที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอวกาศและอุตสาหกรรมต่อเนื่องจำนวนมากกว่า 35,600 กิจการ โดยกิจการเหล่านี้ได้ก่อให้เกิดผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสามารถสร้างรายได้ให้แก่ประเทศไทยราว 56,122 ล้านบาทต่อปี นอกจากนี้ นักวิเคราะห์บางท่านยังคาดการณ์ว่าในอนาคตอุตสาหกรรมอวกาศโลก จะสามารถพัฒนากลายเป็นอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าสูงถึง 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐได้ภายในปี 2040[12]

 

บรรณานุกรม

สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ. (2564). GISTDA ประชุมหารือกับบริษัท SpaceX และ Thaicom เพื่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมอวกาศ และนวัตกรรมอวกาศของประเทศ. Retrieved 16 กันยายน 2566, from https://www.gistda.or.th/news_view.php?n_id=5253&lang=TH

Grace Kay and Morgan McFall-Johnsen. (2023). 14 big moments in the history of Elon Musk's SpaceX — from nearly going bankrupt in 2008 to the fiery Starship explosion. Retrieved from https://www.businessinsider.com/spacex-history-biggest-moments-elon-musk-2022-12#spacex-first-rocket-falcon-1-was-unveiled-in-2005-2

NASA. (2019). 50 Years Ago: After Apollo, What? Space Task Group Report to President Nixon. Retrieved from https://www.nasa.gov/feature/50-years-ago-after-apollo-what-space-task-group-report-to-president-nixon

The Planetary Society. (2020). Why do we need NASA when we have SpaceX?. Retrieved from https://www.planetary.org/articles/nasa-versus-spacex

Space. (2022) SpaceX: Facts about Elon Musk's private spaceflight company. Retrieved from https://www.space.com/18853-spacex.html

 

อ้างอิง

[2] Grace Kay and Morgan McFall-Johnsen. (2023). 14 big moments in the history of Elon Musk's SpaceX — from nearly going bankrupt in 2008 to the fiery Starship explosion. Retrieved from https://www.businessinsider.com/spacex-history-biggest-moments-elon-musk-2022-12#spacex-first-rocket-falcon-1-was-unveiled-in-2005-2

[3] Ibid.

[4] Grace Kay and Morgan McFall-Johnsen. (2023). 14 big moments in the history of Elon Musk's SpaceX — from nearly going bankrupt in 2008 to the fiery Starship explosion. Retrieved from https://www.businessinsider.com/spacex-history-biggest-moments-elon-musk-2022-12#spacexs-dragon-spacecraft-reached-the-international-space-station-in-2012-5

[5] Ibid.

[6] NASA. (2019). 50 Years Ago: After Apollo, What? Space Task Group Report to President Nixon. Retrieved from https://www.nasa.gov/feature/50-years-ago-after-apollo-what-space-task-group-report-to-president-nixon

[7] The Planetary Society. (2020). Why do we need NASA when we have SpaceX?. Retrieved from https://www.planetary.org/articles/nasa-versus-spacex

[8] Ibid.

[9] สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ. (2564). GISTDA ประชุมหารือกับบริษัท SpaceX และ Thaicom
เพื่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมอวกาศ และนวัตกรรมอวกาศของประเทศ. Retrieved 16 กันยายน 2566, from https://www.gistda.or.th/news_view.php?n_id=5253&lang=TH

[10] เพิ่งอ้าง.

[11]  เพิ่งอ้าง.

[12] เรื่องเดียวกัน