ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กรอบรูปโปรไฟล์เฟสบุ๊กกับการเมืองไทย"
สร้างหน้าด้วย " '''ผู้เรียบเรียง :''' ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต จันทร์โ..." |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 1: | บรรทัดที่ 1: | ||
'''ผู้เรียบเรียง :''' ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ และ นน ศุภสาร | '''ผู้เรียบเรียง :''' ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ และ นน ศุภสาร | ||
'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' ''':''' ดร.สติธร ธนานิธิโชติ | '''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' ''':''' ดร.สติธร ธนานิธิโชติ | ||
บรรทัดที่ 6: | บรรทัดที่ 6: | ||
| | ||
กระแสความขัดแย้งทางการเมืองและการเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาล[[ประยุทธ์_จันทร์โอชา]] ในพื้นที่ออนไลน์ผ่านโซเชียลมีเดีย เช่น ทวิตเตอร์ หรือเฟสบุ๊ก ได้ปรากฏให้เห็นและเป็นที่รับรู้ในวงกว้าง เช่น การนัดหมาย การระดมคนและเชิญชวนให้คนเข้าร่วมการชุมนุม การเผยแพร่ส่งต่อข่าวสารเกี่ยวกับการชุมนุม หรือสร้างความตระหนักรับรู้ นอกจากการใช้แฮชแท็ก (Hashtag) ในทวิตเตอร์ ในลักษณะที่เรียกว่า Hashtag Activism การใช้แอปพลิเคชัน [[แอปพลิเคชันคลับเฮาส์กับการเมืองไทย|Clubhouse]] ยังมีการใช้งานฟังก์ชัน '''“กรอบรูปโปรไฟล์”''' โดยผู้ใช้งานเฟสบุ๊กในการตกแต่งภาพโปรไฟล์บัญชีเฟสบุ๊กของตนด้วยข้อความหรือรูปภาพกราฟฟิก ซึ่งผู้ที่ใช้งานกรอบรูปโปรไฟล์นี้มีตั้งแต่บุคคลทั่วไป กลุ่มเคลื่อนไหวหรือพรรคการเมือง ไปจนถึงหน่วยงานรัฐได้ใช้กรอบรูปโปรไฟล์เพื่อรณรงค์แสดงถึงจุดยืนหรือความคิดทางการเมือง หรือการรณรงค์-ประชาสัมพันธ์กิจกรรมหรือข้อเรียกร้องในประเด็นต่าง ๆ ด้วยกัน | กระแสความขัดแย้งทางการเมืองและการเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาล[[ประยุทธ์_จันทร์โอชา|ประยุทธ์_จันทร์โอชา]] ในพื้นที่ออนไลน์ผ่านโซเชียลมีเดีย เช่น ทวิตเตอร์ หรือเฟสบุ๊ก ได้ปรากฏให้เห็นและเป็นที่รับรู้ในวงกว้าง เช่น การนัดหมาย การระดมคนและเชิญชวนให้คนเข้าร่วมการชุมนุม การเผยแพร่ส่งต่อข่าวสารเกี่ยวกับการชุมนุม หรือสร้างความตระหนักรับรู้ นอกจากการใช้แฮชแท็ก (Hashtag) ในทวิตเตอร์ ในลักษณะที่เรียกว่า Hashtag Activism การใช้แอปพลิเคชัน [[แอปพลิเคชันคลับเฮาส์กับการเมืองไทย|Clubhouse]] ยังมีการใช้งานฟังก์ชัน '''“กรอบรูปโปรไฟล์”''' โดยผู้ใช้งานเฟสบุ๊กในการตกแต่งภาพโปรไฟล์บัญชีเฟสบุ๊กของตนด้วยข้อความหรือรูปภาพกราฟฟิก ซึ่งผู้ที่ใช้งานกรอบรูปโปรไฟล์นี้มีตั้งแต่บุคคลทั่วไป กลุ่มเคลื่อนไหวหรือพรรคการเมือง ไปจนถึงหน่วยงานรัฐได้ใช้กรอบรูปโปรไฟล์เพื่อรณรงค์แสดงถึงจุดยืนหรือความคิดทางการเมือง หรือการรณรงค์-ประชาสัมพันธ์กิจกรรมหรือข้อเรียกร้องในประเด็นต่าง ๆ ด้วยกัน | ||
| | ||
บรรทัดที่ 16: | บรรทัดที่ 16: | ||
ในช่วงแรก เฟสบุ๊กเป็นผู้สร้างกรอบโปรไฟล์และเชิญชวนให้ผู้ใช้งานเฟสบุ๊กใช้กรอบเหล่านั้น เช่น กรอบโปรไฟล์สนับสนุนกลุ่มคนหลากหลายทางเพศ (LGBT) กรอบโปรไฟล์ร่วมให้กำลังใจจากเหตุก่อการร้ายในกรุงปารีส ฝรั่งเศส เมื่อปี 2558 | ในช่วงแรก เฟสบุ๊กเป็นผู้สร้างกรอบโปรไฟล์และเชิญชวนให้ผู้ใช้งานเฟสบุ๊กใช้กรอบเหล่านั้น เช่น กรอบโปรไฟล์สนับสนุนกลุ่มคนหลากหลายทางเพศ (LGBT) กรอบโปรไฟล์ร่วมให้กำลังใจจากเหตุก่อการร้ายในกรุงปารีส ฝรั่งเศส เมื่อปี 2558 | ||
ต่อมา ในปี 2559 เฟสบุ๊กได้พัฒนาให้ผู้ใช้งานเฟสบุ๊กทั่วไปสามารถสร้างกรอบโปรไฟล์เพื่อใช้เองและเผยแพร่ให้ผู้ใช้งานรายอื่นสามารถค้นหาและนำไปใช้งานได้[[#_ftn1|[1]]]ซึ่งกรอบรูปโปรไฟล์ได้ถูกนำไปใช้ในโอกาสต่าง ๆ เช่น ในการหาเสียงหรือการเลือกตั้ง การแสดงความสนับสนุนบุคคลหรือพรรคการเมือง สโมสรหรือทีมกีฬา หรือการประชาสัมพันธ์โฆษณาหรือกิจกรรม รวมไปถึงกรอบภาพโปรไฟล์ในโอกาสหรือเทศกาลต่าง ๆ เช่น วันคริสต์มาส หรือวันปีใหม่ | ต่อมา ในปี 2559 เฟสบุ๊กได้พัฒนาให้ผู้ใช้งานเฟสบุ๊กทั่วไปสามารถสร้างกรอบโปรไฟล์เพื่อใช้เองและเผยแพร่ให้ผู้ใช้งานรายอื่นสามารถค้นหาและนำไปใช้งานได้[[#_ftn1|[1]]] ซึ่งกรอบรูปโปรไฟล์ได้ถูกนำไปใช้ในโอกาสต่าง ๆ เช่น ในการหาเสียงหรือการเลือกตั้ง การแสดงความสนับสนุนบุคคลหรือพรรคการเมือง สโมสรหรือทีมกีฬา หรือการประชาสัมพันธ์โฆษณาหรือกิจกรรม รวมไปถึงกรอบภาพโปรไฟล์ในโอกาสหรือเทศกาลต่าง ๆ เช่น วันคริสต์มาส หรือวันปีใหม่ | ||
ในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 เฟสบุ๊กได้จำกัดการสร้างและเผยแพร่กรอบโปรไฟล์ไว้เฉพาะบุคคล หน่วยงาน หรือองค์กรที่ได้รับการรับรอง หรือมีหน้าที่ในการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการระบาดของโรคโควิด-19 เท่านั้น โดยกรอบโปรไฟล์จากผู้ใช้งานที่ไม่ได้รับการรับรองที่มีอยู่เดิมจะถูกนำออกจากระบบ แต่รูปภาพโปรไฟล์ของผู้ใช้งานที่ใช้กรอบโปรไฟล์ก่อนหน้านี้จะยังคงปรากฏให้เห็นกรอบอยู่ตามเดิม[[#_ftn2|[2]]]การกระทำนี้สัมพันธ์กับการดำเนินการของเฟสบุ๊กในการควบคุม-จัดการการเผยแพร่ข้อมูลโดยกลุ่มต่อต้านการรับวัคซีน (anti-vaxxer) ซึ่งเผยแพร่ข้อมูลและแสดงจุดยืนในการไม่รับวัคซีนผ่านการสร้างและใช้งานกรอบรูปโปรไฟล์[[#_ftn3|[3]]] | ในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 เฟสบุ๊กได้จำกัดการสร้างและเผยแพร่กรอบโปรไฟล์ไว้เฉพาะบุคคล หน่วยงาน หรือองค์กรที่ได้รับการรับรอง หรือมีหน้าที่ในการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการระบาดของโรคโควิด-19 เท่านั้น โดยกรอบโปรไฟล์จากผู้ใช้งานที่ไม่ได้รับการรับรองที่มีอยู่เดิมจะถูกนำออกจากระบบ แต่รูปภาพโปรไฟล์ของผู้ใช้งานที่ใช้กรอบโปรไฟล์ก่อนหน้านี้จะยังคงปรากฏให้เห็นกรอบอยู่ตามเดิม[[#_ftn2|[2]]] การกระทำนี้สัมพันธ์กับการดำเนินการของเฟสบุ๊กในการควบคุม-จัดการการเผยแพร่ข้อมูลโดยกลุ่มต่อต้านการรับวัคซีน (anti-vaxxer) ซึ่งเผยแพร่ข้อมูลและแสดงจุดยืนในการไม่รับวัคซีนผ่านการสร้างและใช้งานกรอบรูปโปรไฟล์[[#_ftn3|[3]]] | ||
| | ||
บรรทัดที่ 24: | บรรทัดที่ 24: | ||
<span style="font-size:x-large;">'''การใช้กรอบรูปโปรไฟล์เฟสบุ๊กในไทย'''</span> | <span style="font-size:x-large;">'''การใช้กรอบรูปโปรไฟล์เฟสบุ๊กในไทย'''</span> | ||
ผู้ใช้งานเฟสบุ๊กในประเทศไทยได้ใช้กรอบรูปโปรไฟล์เฟสบุ๊กในโอกาสต่าง ๆ เช่น รณรงค์สนับสนุนกลุ่ม LGBT ให้กำลังใจจากเหตุการณ์ก่อการร้ายในฝรั่งเศสใน ปี 2558 ถวายความอาลัยต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เมื่อคราวสวรรคต ระหว่าง ปี 2559-2560 นอกจากนี้ยังมีการใช้กรอบเพื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรมอื่น ๆ โดยทั่วไป เช่น กรอบประชาสัมพันธ์กิจกรรมภายในมหาวิทยาลัย เช่น งานฟุตบอลประเพณี การเลือกตั้งหาเสียง การรำลึกวันก่อตั้งองค์กรหรือสถาบัน การทำกรอบรุ่นจากสถานศึกษา กรอบประชาสัมพันธ์โฆษณาทั่วไป กรอบรณรงค์ในโอกาสต่าง ๆ เช่น วันเอดส์โลก[[#_ftn4|[4]]]หรือการบริจาคเลือด[[#_ftn5|[5]]]เป็นต้น | ผู้ใช้งานเฟสบุ๊กในประเทศไทยได้ใช้กรอบรูปโปรไฟล์เฟสบุ๊กในโอกาสต่าง ๆ เช่น รณรงค์สนับสนุนกลุ่ม LGBT ให้กำลังใจจากเหตุการณ์ก่อการร้ายในฝรั่งเศสใน ปี 2558 ถวายความอาลัยต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เมื่อคราวสวรรคต ระหว่าง ปี 2559-2560 นอกจากนี้ยังมีการใช้กรอบเพื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรมอื่น ๆ โดยทั่วไป เช่น กรอบประชาสัมพันธ์กิจกรรมภายในมหาวิทยาลัย เช่น งานฟุตบอลประเพณี การเลือกตั้งหาเสียง การรำลึกวันก่อตั้งองค์กรหรือสถาบัน การทำกรอบรุ่นจากสถานศึกษา กรอบประชาสัมพันธ์โฆษณาทั่วไป กรอบรณรงค์ในโอกาสต่าง ๆ เช่น วันเอดส์โลก[[#_ftn4|[4]]] หรือการบริจาคเลือด[[#_ftn5|[5]]]เป็นต้น | ||
ในด้านการเมืองมีการใช้รูปโปรไฟล์ในการเมืองไทยที่รู้จักกันในวงกว้าง คือการเปลี่ยนภาพโปรไฟล์เป็นข้อความ '''“คัดค้าน พ.ร.บ นิรโทษกรรม”''' เป็นตัวอักษรสีขาวบนพื้นหลังรูปสี่เหลี่ยมสีดำ ในการเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาล[[ยิ่งลักษณ์_ชินวัตร]] ในปี 2556 | ในด้านการเมืองมีการใช้รูปโปรไฟล์ในการเมืองไทยที่รู้จักกันในวงกว้าง คือการเปลี่ยนภาพโปรไฟล์เป็นข้อความ '''“คัดค้าน พ.ร.บ นิรโทษกรรม”''' เป็นตัวอักษรสีขาวบนพื้นหลังรูปสี่เหลี่ยมสีดำ ในการเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาล[[ยิ่งลักษณ์_ชินวัตร|ยิ่งลักษณ์_ชินวัตร]] ในปี 2556 | ||
ส่วนของการใช้กรอบรูปโปรไฟล์ถูกนำมาใช้โดยพรรคการเมืองที่ใช้เฟสบุ๊กในการสื่อสารทางการเมืองในการประชาสัมพันธ์พรรค ประชาสัมพันธ์การรณรงค์หรือแคมเปญของพรรค ไปจนถึงการหาเสียง เช่น กรอบ “'''อยู่ไม่เป็น”''' ของพรรคอนาคตใหม่ที่เผยแพร่ในเดือนพฤศจิกายน 2562[[#_ftn6|[6]]]กรอบของพรรคเพื่อไทยที่ใช้ประชาสัมพันธ์กิจกรรมรณรงค์ '''“ลงมติประชาชน รวมพลไล่ประยุทธ์'''”[[#_ftn7|[7]]] รวมไปถึงการใช้กรอบโปรไฟล์ในการหาเสียงในระดับท้องถิ่น[[#_ftn8|[8]]] | ส่วนของการใช้กรอบรูปโปรไฟล์ถูกนำมาใช้โดยพรรคการเมืองที่ใช้เฟสบุ๊กในการสื่อสารทางการเมืองในการประชาสัมพันธ์พรรค ประชาสัมพันธ์การรณรงค์หรือแคมเปญของพรรค ไปจนถึงการหาเสียง เช่น กรอบ “'''อยู่ไม่เป็น”''' ของพรรคอนาคตใหม่ที่เผยแพร่ในเดือนพฤศจิกายน 2562[[#_ftn6|[6]]] กรอบของพรรคเพื่อไทยที่ใช้ประชาสัมพันธ์กิจกรรมรณรงค์ '''“ลงมติประชาชน รวมพลไล่ประยุทธ์'''”[[#_ftn7|[7]]] รวมไปถึงการใช้กรอบโปรไฟล์ในการหาเสียงในระดับท้องถิ่น[[#_ftn8|[8]]] | ||
นอกจากพรรคการเมืองแล้ว กลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองก็ได้สร้างและเผยแพร่เชิญชวนให้ใช้กรอบภาพโปรไฟล์ เช่น กลุ่ม Re-Solution ที่เชิญชวนให้ใช้กรอบโปรไฟล์เพื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรม '''“ขอคนละชื่อรื้อระบอบประยุทธ์”'''[[#_ftn9|[9]]]หรือกลุ่มเยาวชนปลดแอก หรือสหภาพนักเรียน นิสิตนักศึกษา แห่งประเทศไทย ต่างก็สร้างกรอบโปรไฟล์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวทางการเมืองด้วยเช่นกัน[[#_ftn10|[10]]] | นอกจากพรรคการเมืองแล้ว กลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองก็ได้สร้างและเผยแพร่เชิญชวนให้ใช้กรอบภาพโปรไฟล์ เช่น กลุ่ม Re-Solution ที่เชิญชวนให้ใช้กรอบโปรไฟล์เพื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรม '''“ขอคนละชื่อรื้อระบอบประยุทธ์”'''[[#_ftn9|[9]]] หรือกลุ่มเยาวชนปลดแอก หรือสหภาพนักเรียน นิสิตนักศึกษา แห่งประเทศไทย ต่างก็สร้างกรอบโปรไฟล์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวทางการเมืองด้วยเช่นกัน[[#_ftn10|[10]]] | ||
แม้กระทั่งกลุ่ม[[ไทยภักดี]]ซึ่งเป็นกลุ่มอนุรักษนิยม-ชาตินิยมก็ได้สร้างกรอบโปรไฟล์ที่ปรากฏสัญลักษณ์ของกลุ่มอยู่บนภาพกรอบ และเชิญชวนให้เปลี่ยนภาพโปรไฟล์เป็นภาพที่มีกรอบนี้ ภายหลังจากการเปิดตัวกลุ่ม[[#_ftn11|[11]]]ส่วนกลุ่มที่เคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาล คสช. ก่อนการเลือกตั้งใน ปี 2562 ก็ได้มีการใช้กรอบรูปโปรไฟล์มาก่อนแล้ว เช่น กรอบอยากเลือกตั้ง[[#_ftn12|[12]]]กรอบต่อต้านการเลื่อนเลือกตั้ง[[#_ftn13|[13]]]กรอบประเทศกูมี[[#_ftn14|[14]]]เป็นต้น | แม้กระทั่งกลุ่ม[[ไทยภักดี|ไทยภักดี]]ซึ่งเป็นกลุ่มอนุรักษนิยม-ชาตินิยมก็ได้สร้างกรอบโปรไฟล์ที่ปรากฏสัญลักษณ์ของกลุ่มอยู่บนภาพกรอบ และเชิญชวนให้เปลี่ยนภาพโปรไฟล์เป็นภาพที่มีกรอบนี้ ภายหลังจากการเปิดตัวกลุ่ม[[#_ftn11|[11]]] ส่วนกลุ่มที่เคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาล คสช. ก่อนการเลือกตั้งใน ปี 2562 ก็ได้มีการใช้กรอบรูปโปรไฟล์มาก่อนแล้ว เช่น กรอบอยากเลือกตั้ง[[#_ftn12|[12]]] กรอบต่อต้านการเลื่อนเลือกตั้ง[[#_ftn13|[13]]] กรอบประเทศกูมี[[#_ftn14|[14]]]เป็นต้น | ||
ในช่วงการเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลใน ปี 2563-2564 รวมถึงในช่วงของการระบาดของโรคโควิด-19 ฝ่ายต่อต้านรัฐบาล ได้ผลิตกรอบรูปโปรไฟล์ออกมาเผยแพร่โดยบางกรอบถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายและเป็นที่รู้จักกว้างขวาง โดยเนื้อหาและลักษณะที่ปรากฏก็มีความแตกต่างกันออกไป เช่น กรอบที่ปรากฏตัวอักษรที่เป็นวลีสำคัญหรือประเด็นที่ปรากฏในการเคลื่อนไหว เช่น '''“อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน”'''[[#_ftn15|[15]]] “You F-ck With The Wrong Generation”[[#_ftn16|[16]]] “No God, No King, Only Human”[[#_ftn17|[17]]] '''“หยุดคุกคามประชาชน”''' และยกเลิกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ[[#_ftn18|[18]]]หรือกรอบที่ปรากฏภาพกราฟฟิกสี่เหลี่ยมสามชิ้นต่อกันที่สื่อถึงสัญลักษณ์การชูสามนิ้ว[[#_ftn19|[19]]]หรือวลีล้อเลียนที่นำมามาจากบุคคลสำคัญ[[#_ftn20|[20]]]หรือเป็นการล้อเลียนถ้อยคำหรือคำพูดของผู้บริหารประเทศ เช่น นายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา[[#_ftn21|[21]]]หรือเป็นถ้อยคำที่เป็นประเด็นในเวลานั้น เช่น กรอบที่เป็นคำพูดที่อ้างอิงมาจากบุคลากรฝ่ายสาธารณสุขที่เกี่ยวกับการนำเข้าวัคซีน[[#_ftn22|[22]]]หรือเป็นวลีที่เรียบง่ายตรงไปตรงมาที่เป็นข้อเรียกร้องให้นายกฯ ลาออก[[#_ftn23|[23]]] | ในช่วงการเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลใน ปี 2563-2564 รวมถึงในช่วงของการระบาดของโรคโควิด-19 ฝ่ายต่อต้านรัฐบาล ได้ผลิตกรอบรูปโปรไฟล์ออกมาเผยแพร่โดยบางกรอบถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายและเป็นที่รู้จักกว้างขวาง โดยเนื้อหาและลักษณะที่ปรากฏก็มีความแตกต่างกันออกไป เช่น กรอบที่ปรากฏตัวอักษรที่เป็นวลีสำคัญหรือประเด็นที่ปรากฏในการเคลื่อนไหว เช่น '''“อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน”'''[[#_ftn15|[15]]] “You F-ck With The Wrong Generation”[[#_ftn16|[16]]] “No God, No King, Only Human”[[#_ftn17|[17]]] '''“หยุดคุกคามประชาชน”''' และยกเลิกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ[[#_ftn18|[18]]] หรือกรอบที่ปรากฏภาพกราฟฟิกสี่เหลี่ยมสามชิ้นต่อกันที่สื่อถึงสัญลักษณ์การชูสามนิ้ว[[#_ftn19|[19]]] หรือวลีล้อเลียนที่นำมามาจากบุคคลสำคัญ[[#_ftn20|[20]]] หรือเป็นการล้อเลียนถ้อยคำหรือคำพูดของผู้บริหารประเทศ เช่น นายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา[[#_ftn21|[21]]] หรือเป็นถ้อยคำที่เป็นประเด็นในเวลานั้น เช่น กรอบที่เป็นคำพูดที่อ้างอิงมาจากบุคลากรฝ่ายสาธารณสุขที่เกี่ยวกับการนำเข้าวัคซีน[[#_ftn22|[22]]] หรือเป็นวลีที่เรียบง่ายตรงไปตรงมาที่เป็นข้อเรียกร้องให้นายกฯ ลาออก[[#_ftn23|[23]]] | ||
นอกจากนี้ ยังมีการใช้กรอบในลักษณะที่เป็นข้อเรียกร้องหรือประชาสัมพันธ์ เช่น กรอบเรียกร้องให้รัฐบาลนำเข้าวัคซีน mRNA เพื่อใช้กับประชาชนและบุคลากรสาธารณสุข[[#_ftn24|[24]]]กรอบรณรงค์กฎหมายสมรสเท่าเทียม[[#_ftn25|[25]]]กรอบต่อต้านนิคมอุตสาหกรรมจะนะ[[#_ftn26|[26]]]ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน[[#_ftn27|[27]]]หรือการเรียกร้องในเชิงประชดประชันขบขัน เช่น กรอบเรียกร้องวัคซีนซิโนแวคให้กองทัพ[[#_ftn28|[28]]] | นอกจากนี้ ยังมีการใช้กรอบในลักษณะที่เป็นข้อเรียกร้องหรือประชาสัมพันธ์ เช่น กรอบเรียกร้องให้รัฐบาลนำเข้าวัคซีน mRNA เพื่อใช้กับประชาชนและบุคลากรสาธารณสุข[[#_ftn24|[24]]] กรอบรณรงค์กฎหมายสมรสเท่าเทียม[[#_ftn25|[25]]] กรอบต่อต้านนิคมอุตสาหกรรมจะนะ[[#_ftn26|[26]]] ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน[[#_ftn27|[27]]]หรือการเรียกร้องในเชิงประชดประชันขบขัน เช่น กรอบเรียกร้องวัคซีนซิโนแวคให้กองทัพ[[#_ftn28|[28]]] | ||
กรอบบางรูปแบบยังเป็นกรอบที่มาจากสิ่งของหรือประเด็นที่เป็นกระแสในขณะนั้น เช่น กรอบหมุดคณะราษฎร 2563[[#_ftn29|[29]]]กรอบที่มีข้อความและตัวเลขที่สื่อถึงงบประมาณด้านวัคซีน[[#_ftn30|[30]]]หรือกรอบที่มีถ้อยความในลักษณะจริงจังเกี่ยวกับความสูญเสียจากการระบาดของโรคโควิด-19[[#_ftn31|[31]]] | กรอบบางรูปแบบยังเป็นกรอบที่มาจากสิ่งของหรือประเด็นที่เป็นกระแสในขณะนั้น เช่น กรอบหมุดคณะราษฎร 2563[[#_ftn29|[29]]] กรอบที่มีข้อความและตัวเลขที่สื่อถึงงบประมาณด้านวัคซีน[[#_ftn30|[30]]] หรือกรอบที่มีถ้อยความในลักษณะจริงจังเกี่ยวกับความสูญเสียจากการระบาดของโรคโควิด-19[[#_ftn31|[31]]] | ||
ในด้านของฝ่ายสนับสนุนรัฐบาล-อนุรักษนิยม ก็ได้มีการสร้างและใช้กรอบโปรไฟล์เช่นกัน โดยมีลักษณะเป็นกรอบที่แสดงความจงรักภักดีต่อสถาบันกษัตริย์หรือสนับสนุนรัฐบาล ไปจนถึงมีลักษณะที่ถูกสังเกตและถูกมองว่าเป็นการตอบโต้กับการใช้กรอบโปรไฟล์ของฝ่ายต่อต้านรัฐบาล[[#_ftn32|[32]]] เช่น กรอบ '''“รักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์”''' ที่มีลักษณะคล้ายกับกรอบ '''“อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน”''' ที่ปรากฏออกมาและมีกระแสการใช้และเชิญชวนให้ใช้งานกรอบดังกล่าวโดยฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลนับจากเดือนสิงหาคม 2563[[#_ftn33|[33]]]ซึ่งถูกนำไปล้อเลียนโดยฝ่ายต่อต้านรัฐบาลที่ดัดแปลงไปในเชิงขบขัน โดยการดัดแปลงให้วรรคสุดท้ายเป็นสิ่งของต่าง ๆ หรืออ้างอิงจากวัฒนธรรมร่วมสมัย[[#_ftn34|[34]]] | ในด้านของฝ่ายสนับสนุนรัฐบาล-อนุรักษนิยม ก็ได้มีการสร้างและใช้กรอบโปรไฟล์เช่นกัน โดยมีลักษณะเป็นกรอบที่แสดงความจงรักภักดีต่อสถาบันกษัตริย์หรือสนับสนุนรัฐบาล ไปจนถึงมีลักษณะที่ถูกสังเกตและถูกมองว่าเป็นการตอบโต้กับการใช้กรอบโปรไฟล์ของฝ่ายต่อต้านรัฐบาล[[#_ftn32|[32]]] เช่น กรอบ '''“รักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์”''' ที่มีลักษณะคล้ายกับกรอบ '''“อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน”''' ที่ปรากฏออกมาและมีกระแสการใช้และเชิญชวนให้ใช้งานกรอบดังกล่าวโดยฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลนับจากเดือนสิงหาคม 2563[[#_ftn33|[33]]] ซึ่งถูกนำไปล้อเลียนโดยฝ่ายต่อต้านรัฐบาลที่ดัดแปลงไปในเชิงขบขัน โดยการดัดแปลงให้วรรคสุดท้ายเป็นสิ่งของต่าง ๆ หรืออ้างอิงจากวัฒนธรรมร่วมสมัย[[#_ftn34|[34]]] | ||
กรอบแสดงความจงรักภักดีนี้ยังมีลักษณะอื่น ๆ เช่น มีลวดลายธงชาติไทย มีข้อความอื่น หรือจัดวางองค์ประกอบที่แตกต่างออกไป[[#_ftn35|[35]]]กรอบสนับสนุนการใช้กฎหมายอาญา มาตรา 112[[#_ftn36|[36]]]มีการเชิญชวนให้ใช้กรอบที่แสดงถึงความจงรักภักดีเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา[[#_ftn37|[37]]] | กรอบแสดงความจงรักภักดีนี้ยังมีลักษณะอื่น ๆ เช่น มีลวดลายธงชาติไทย มีข้อความอื่น หรือจัดวางองค์ประกอบที่แตกต่างออกไป[[#_ftn35|[35]]] กรอบสนับสนุนการใช้กฎหมายอาญา มาตรา 112[[#_ftn36|[36]]] มีการเชิญชวนให้ใช้กรอบที่แสดงถึงความจงรักภักดีเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา[[#_ftn37|[37]]] | ||
ในส่วนของฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลยังเชิญชวนให้ใช้กรอบที่มีเนื้อหาให้กำลังใจ นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 (ศบค.) ที่ถูกโจมตีวิพากษ์วิจารณ์จากการปฏิบัติหน้าที่[[#_ftn38|[38]]]หน่วยงานรัฐก็ยังได้สร้างกรอบโปรไฟล์เพื่อเชิญชวนให้ประชาชนปฏิบัติตามมาตรการรัฐในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 เช่น กรอบ '''“อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ”''' กรอบให้กำลังใจบุคลากรสาธารณสุข หรือกรอบที่เชิญชวนให้ประชาชนฉีดวัคซีนในช่วงที่มีกระแสวิพากษ์วิจารณ์ถึงคุณภาพของวัคซีนที่รัฐจัดหาในเบื้องต้น[[#_ftn39|[39]]] ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลก็ได้นำเอากรอบโปรไฟล์ที่มีที่มาจากฝ่ายสนับสนุนรัฐบาล-อนุรักษนิยมมาใช้ในเชิงขบขัน-ประชดประชันด้วยเช่นกัน[[#_ftn40|[40]]] | ในส่วนของฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลยังเชิญชวนให้ใช้กรอบที่มีเนื้อหาให้กำลังใจ นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 (ศบค.) ที่ถูกโจมตีวิพากษ์วิจารณ์จากการปฏิบัติหน้าที่[[#_ftn38|[38]]] หน่วยงานรัฐก็ยังได้สร้างกรอบโปรไฟล์เพื่อเชิญชวนให้ประชาชนปฏิบัติตามมาตรการรัฐในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 เช่น กรอบ '''“อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ”''' กรอบให้กำลังใจบุคลากรสาธารณสุข หรือกรอบที่เชิญชวนให้ประชาชนฉีดวัคซีนในช่วงที่มีกระแสวิพากษ์วิจารณ์ถึงคุณภาพของวัคซีนที่รัฐจัดหาในเบื้องต้น[[#_ftn39|[39]]] ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลก็ได้นำเอากรอบโปรไฟล์ที่มีที่มาจากฝ่ายสนับสนุนรัฐบาล-อนุรักษนิยมมาใช้ในเชิงขบขัน-ประชดประชันด้วยเช่นกัน[[#_ftn40|[40]]] | ||
| | ||
บรรทัดที่ 80: | บรรทัดที่ 80: | ||
[[#_ftnref12|[12]]] อานนท์ นำภา, ''Facebook'', (15 กุมภาพันธ์ 2561). เข้าถึงจาก [https://www.facebook.com/photo/?fbid=1863096907065030&set=a.145139335527471 https://www.facebook.com/photo/?fbid=1863096907065030&set=a.145139335527471]. เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2565. | [[#_ftnref12|[12]]] อานนท์ นำภา, ''Facebook'', (15 กุมภาพันธ์ 2561). เข้าถึงจาก [https://www.facebook.com/photo/?fbid=1863096907065030&set=a.145139335527471 https://www.facebook.com/photo/?fbid=1863096907065030&set=a.145139335527471]. เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2565. | ||
</div> <div id="ftn13"> | </div> <div id="ftn13"> | ||
[[#_ftnref13|[13]]] Start Up People : Thai, ''Facebook,'' (12 มกราคม 2562). เข้าถึงจาก [https://www.facebook.com/544999515697871/photos/a.545001902364299/1014048485459636/ https://www.facebook.com/544999515697871/photos/a.545001902364299/1014048485459636/]. เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2565. | [[#_ftnref13|[13]]] Start Up People : Thai, ''Facebook,'' (12 มกราคม 2562). เข้าถึงจาก [https://www.facebook.com/544999515697871/photos/a.545001902364299/1014048485459636/ https://www.facebook.com/544999515697871/photos/a.545001902364299/1014048485459636/]. เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2565. | ||
</div> <div id="ftn14"> | </div> <div id="ftn14"> | ||
[[#_ftnref14|[14]]] Start Up People : Thai, ''Facebook,'' (27 ตุลาคม 2561). เข้าถึงจาก [https://www.facebook.com/544999515697871/posts/966114810253004/ https://www.facebook.com/544999515697871/posts/966114810253004/]. เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2565. | [[#_ftnref14|[14]]] Start Up People : Thai, ''Facebook,'' (27 ตุลาคม 2561). เข้าถึงจาก [https://www.facebook.com/544999515697871/posts/966114810253004/ https://www.facebook.com/544999515697871/posts/966114810253004/]. เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2565. | ||
</div> <div id="ftn15"> | </div> <div id="ftn15"> | ||
[[#_ftnref15|[15]]] พริษฐ์ ชิวารักษ์, ''Facebook,'' (20 กรกฎาคม 2563). เข้าถึงจาก [https://www.facebook.com/photo/?fbid=2667688136824580&set=a.1453339561592783 https://www.facebook.com/photo/?fbid=2667688136824580&set=a.1453339561592783].เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2565. | [[#_ftnref15|[15]]] พริษฐ์ ชิวารักษ์, ''Facebook,'' (20 กรกฎาคม 2563). เข้าถึงจาก [https://www.facebook.com/photo/?fbid=2667688136824580&set=a.1453339561592783 https://www.facebook.com/photo/?fbid=2667688136824580&set=a.1453339561592783].เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2565. | ||
บรรทัดที่ 100: | บรรทัดที่ 100: | ||
[[#_ftnref22|[22]]] Panusaya Sithijirawattanakul'', Facebook'', (5 กรกฎาคม 2564). เข้าถึงจาก [https://www.facebook.com/photo/?fbid=4112606595453272&set=a.128579190522719 https://www.facebook.com/photo/?fbid=4112606595453272&set=a.128579190522719]. เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2565. | [[#_ftnref22|[22]]] Panusaya Sithijirawattanakul'', Facebook'', (5 กรกฎาคม 2564). เข้าถึงจาก [https://www.facebook.com/photo/?fbid=4112606595453272&set=a.128579190522719 https://www.facebook.com/photo/?fbid=4112606595453272&set=a.128579190522719]. เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2565. | ||
</div> <div id="ftn23"> | </div> <div id="ftn23"> | ||
[[#_ftnref23|[23]]] พริษฐ์ ชิวารักษ์'', | [[#_ftnref23|[23]]] พริษฐ์ ชิวารักษ์'', '''Facebook, (10 กรกฎาคม 2564). เข้าถึงจาก [https://www.facebook.com/photo?fbid=2957356284524429&set=a.1453339561592783 https://www.facebook.com/photo?fbid=2957356284524429&set=a.1453339561592783]. เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2565. | ||
</div> <div id="ftn24"> | </div> <div id="ftn24"> | ||
[[#_ftnref24|[24]]] Bird Parinya,''Facebook'', (11 กรกฎาคม 2564). เข้าถึงจาก [https://www.facebook.com/photo?fbid=3610136685878622&set=a.1375322166026763 https://www.facebook.com/photo?fbid=3610136685878622&set=a.1375322166026763]. เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2565. | [[#_ftnref24|[24]]] Bird Parinya,''Facebook'', (11 กรกฎาคม 2564). เข้าถึงจาก [https://www.facebook.com/photo?fbid=3610136685878622&set=a.1375322166026763 https://www.facebook.com/photo?fbid=3610136685878622&set=a.1375322166026763]. เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2565. | ||
บรรทัดที่ 138: | บรรทัดที่ 138: | ||
| | ||
</div> </div> | </div> </div> | ||
[[Category:การมีส่วนร่วมทางการเมือง]][[Category:เหตุการณ์สำคัญทางการเมือง]][[Category:เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองไทย สมัย พ.ศ. 2520-ปัจจุบัน]][[Category:ว่าด้วยเหตุการณ์สำคัญทางการเมือง]] | [[Category:การมีส่วนร่วมทางการเมือง]] [[Category:เหตุการณ์สำคัญทางการเมือง]] [[Category:เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองไทย สมัย พ.ศ. 2520-ปัจจุบัน]] [[Category:ว่าด้วยเหตุการณ์สำคัญทางการเมือง]] |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 16:43, 21 กรกฎาคม 2565
ผู้เรียบเรียง : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ และ นน ศุภสาร
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : ดร.สติธร ธนานิธิโชติ
กระแสความขัดแย้งทางการเมืองและการเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลประยุทธ์_จันทร์โอชา ในพื้นที่ออนไลน์ผ่านโซเชียลมีเดีย เช่น ทวิตเตอร์ หรือเฟสบุ๊ก ได้ปรากฏให้เห็นและเป็นที่รับรู้ในวงกว้าง เช่น การนัดหมาย การระดมคนและเชิญชวนให้คนเข้าร่วมการชุมนุม การเผยแพร่ส่งต่อข่าวสารเกี่ยวกับการชุมนุม หรือสร้างความตระหนักรับรู้ นอกจากการใช้แฮชแท็ก (Hashtag) ในทวิตเตอร์ ในลักษณะที่เรียกว่า Hashtag Activism การใช้แอปพลิเคชัน Clubhouse ยังมีการใช้งานฟังก์ชัน “กรอบรูปโปรไฟล์” โดยผู้ใช้งานเฟสบุ๊กในการตกแต่งภาพโปรไฟล์บัญชีเฟสบุ๊กของตนด้วยข้อความหรือรูปภาพกราฟฟิก ซึ่งผู้ที่ใช้งานกรอบรูปโปรไฟล์นี้มีตั้งแต่บุคคลทั่วไป กลุ่มเคลื่อนไหวหรือพรรคการเมือง ไปจนถึงหน่วยงานรัฐได้ใช้กรอบรูปโปรไฟล์เพื่อรณรงค์แสดงถึงจุดยืนหรือความคิดทางการเมือง หรือการรณรงค์-ประชาสัมพันธ์กิจกรรมหรือข้อเรียกร้องในประเด็นต่าง ๆ ด้วยกัน
ที่มาของการใช้กรอบรูปโปรไฟล์เฟสบุ๊ก
กรอบรูปโปรไฟล์เฟสบุ๊ก (Facebook Frame, Profile Frame) เป็นฟังก์ชันของเฟสบุ๊กที่ผู้ใช้งานสามารถใช้เพื่อปรับแต่งภาพโปรไฟล์ของตนโดยการเลือกใช้กรอบที่มี โดยเมื่อใช้กรอบผู้ใช้งานจะเห็นภาพกราฟฟิกหรือตัวอักษรข้อความของกรอบที่เลือกใช้นั้น ๆ ปรากฏอยู่บนภาพโปรไฟล์เดิม
ในช่วงแรก เฟสบุ๊กเป็นผู้สร้างกรอบโปรไฟล์และเชิญชวนให้ผู้ใช้งานเฟสบุ๊กใช้กรอบเหล่านั้น เช่น กรอบโปรไฟล์สนับสนุนกลุ่มคนหลากหลายทางเพศ (LGBT) กรอบโปรไฟล์ร่วมให้กำลังใจจากเหตุก่อการร้ายในกรุงปารีส ฝรั่งเศส เมื่อปี 2558
ต่อมา ในปี 2559 เฟสบุ๊กได้พัฒนาให้ผู้ใช้งานเฟสบุ๊กทั่วไปสามารถสร้างกรอบโปรไฟล์เพื่อใช้เองและเผยแพร่ให้ผู้ใช้งานรายอื่นสามารถค้นหาและนำไปใช้งานได้[1] ซึ่งกรอบรูปโปรไฟล์ได้ถูกนำไปใช้ในโอกาสต่าง ๆ เช่น ในการหาเสียงหรือการเลือกตั้ง การแสดงความสนับสนุนบุคคลหรือพรรคการเมือง สโมสรหรือทีมกีฬา หรือการประชาสัมพันธ์โฆษณาหรือกิจกรรม รวมไปถึงกรอบภาพโปรไฟล์ในโอกาสหรือเทศกาลต่าง ๆ เช่น วันคริสต์มาส หรือวันปีใหม่
ในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 เฟสบุ๊กได้จำกัดการสร้างและเผยแพร่กรอบโปรไฟล์ไว้เฉพาะบุคคล หน่วยงาน หรือองค์กรที่ได้รับการรับรอง หรือมีหน้าที่ในการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการระบาดของโรคโควิด-19 เท่านั้น โดยกรอบโปรไฟล์จากผู้ใช้งานที่ไม่ได้รับการรับรองที่มีอยู่เดิมจะถูกนำออกจากระบบ แต่รูปภาพโปรไฟล์ของผู้ใช้งานที่ใช้กรอบโปรไฟล์ก่อนหน้านี้จะยังคงปรากฏให้เห็นกรอบอยู่ตามเดิม[2] การกระทำนี้สัมพันธ์กับการดำเนินการของเฟสบุ๊กในการควบคุม-จัดการการเผยแพร่ข้อมูลโดยกลุ่มต่อต้านการรับวัคซีน (anti-vaxxer) ซึ่งเผยแพร่ข้อมูลและแสดงจุดยืนในการไม่รับวัคซีนผ่านการสร้างและใช้งานกรอบรูปโปรไฟล์[3]
การใช้กรอบรูปโปรไฟล์เฟสบุ๊กในไทย
ผู้ใช้งานเฟสบุ๊กในประเทศไทยได้ใช้กรอบรูปโปรไฟล์เฟสบุ๊กในโอกาสต่าง ๆ เช่น รณรงค์สนับสนุนกลุ่ม LGBT ให้กำลังใจจากเหตุการณ์ก่อการร้ายในฝรั่งเศสใน ปี 2558 ถวายความอาลัยต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เมื่อคราวสวรรคต ระหว่าง ปี 2559-2560 นอกจากนี้ยังมีการใช้กรอบเพื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรมอื่น ๆ โดยทั่วไป เช่น กรอบประชาสัมพันธ์กิจกรรมภายในมหาวิทยาลัย เช่น งานฟุตบอลประเพณี การเลือกตั้งหาเสียง การรำลึกวันก่อตั้งองค์กรหรือสถาบัน การทำกรอบรุ่นจากสถานศึกษา กรอบประชาสัมพันธ์โฆษณาทั่วไป กรอบรณรงค์ในโอกาสต่าง ๆ เช่น วันเอดส์โลก[4] หรือการบริจาคเลือด[5]เป็นต้น
ในด้านการเมืองมีการใช้รูปโปรไฟล์ในการเมืองไทยที่รู้จักกันในวงกว้าง คือการเปลี่ยนภาพโปรไฟล์เป็นข้อความ “คัดค้าน พ.ร.บ นิรโทษกรรม” เป็นตัวอักษรสีขาวบนพื้นหลังรูปสี่เหลี่ยมสีดำ ในการเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลยิ่งลักษณ์_ชินวัตร ในปี 2556
ส่วนของการใช้กรอบรูปโปรไฟล์ถูกนำมาใช้โดยพรรคการเมืองที่ใช้เฟสบุ๊กในการสื่อสารทางการเมืองในการประชาสัมพันธ์พรรค ประชาสัมพันธ์การรณรงค์หรือแคมเปญของพรรค ไปจนถึงการหาเสียง เช่น กรอบ “อยู่ไม่เป็น” ของพรรคอนาคตใหม่ที่เผยแพร่ในเดือนพฤศจิกายน 2562[6] กรอบของพรรคเพื่อไทยที่ใช้ประชาสัมพันธ์กิจกรรมรณรงค์ “ลงมติประชาชน รวมพลไล่ประยุทธ์”[7] รวมไปถึงการใช้กรอบโปรไฟล์ในการหาเสียงในระดับท้องถิ่น[8]
นอกจากพรรคการเมืองแล้ว กลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองก็ได้สร้างและเผยแพร่เชิญชวนให้ใช้กรอบภาพโปรไฟล์ เช่น กลุ่ม Re-Solution ที่เชิญชวนให้ใช้กรอบโปรไฟล์เพื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรม “ขอคนละชื่อรื้อระบอบประยุทธ์”[9] หรือกลุ่มเยาวชนปลดแอก หรือสหภาพนักเรียน นิสิตนักศึกษา แห่งประเทศไทย ต่างก็สร้างกรอบโปรไฟล์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวทางการเมืองด้วยเช่นกัน[10]
แม้กระทั่งกลุ่มไทยภักดีซึ่งเป็นกลุ่มอนุรักษนิยม-ชาตินิยมก็ได้สร้างกรอบโปรไฟล์ที่ปรากฏสัญลักษณ์ของกลุ่มอยู่บนภาพกรอบ และเชิญชวนให้เปลี่ยนภาพโปรไฟล์เป็นภาพที่มีกรอบนี้ ภายหลังจากการเปิดตัวกลุ่ม[11] ส่วนกลุ่มที่เคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาล คสช. ก่อนการเลือกตั้งใน ปี 2562 ก็ได้มีการใช้กรอบรูปโปรไฟล์มาก่อนแล้ว เช่น กรอบอยากเลือกตั้ง[12] กรอบต่อต้านการเลื่อนเลือกตั้ง[13] กรอบประเทศกูมี[14]เป็นต้น
ในช่วงการเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลใน ปี 2563-2564 รวมถึงในช่วงของการระบาดของโรคโควิด-19 ฝ่ายต่อต้านรัฐบาล ได้ผลิตกรอบรูปโปรไฟล์ออกมาเผยแพร่โดยบางกรอบถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายและเป็นที่รู้จักกว้างขวาง โดยเนื้อหาและลักษณะที่ปรากฏก็มีความแตกต่างกันออกไป เช่น กรอบที่ปรากฏตัวอักษรที่เป็นวลีสำคัญหรือประเด็นที่ปรากฏในการเคลื่อนไหว เช่น “อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน”[15] “You F-ck With The Wrong Generation”[16] “No God, No King, Only Human”[17] “หยุดคุกคามประชาชน” และยกเลิกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ[18] หรือกรอบที่ปรากฏภาพกราฟฟิกสี่เหลี่ยมสามชิ้นต่อกันที่สื่อถึงสัญลักษณ์การชูสามนิ้ว[19] หรือวลีล้อเลียนที่นำมามาจากบุคคลสำคัญ[20] หรือเป็นการล้อเลียนถ้อยคำหรือคำพูดของผู้บริหารประเทศ เช่น นายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา[21] หรือเป็นถ้อยคำที่เป็นประเด็นในเวลานั้น เช่น กรอบที่เป็นคำพูดที่อ้างอิงมาจากบุคลากรฝ่ายสาธารณสุขที่เกี่ยวกับการนำเข้าวัคซีน[22] หรือเป็นวลีที่เรียบง่ายตรงไปตรงมาที่เป็นข้อเรียกร้องให้นายกฯ ลาออก[23]
นอกจากนี้ ยังมีการใช้กรอบในลักษณะที่เป็นข้อเรียกร้องหรือประชาสัมพันธ์ เช่น กรอบเรียกร้องให้รัฐบาลนำเข้าวัคซีน mRNA เพื่อใช้กับประชาชนและบุคลากรสาธารณสุข[24] กรอบรณรงค์กฎหมายสมรสเท่าเทียม[25] กรอบต่อต้านนิคมอุตสาหกรรมจะนะ[26] ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน[27]หรือการเรียกร้องในเชิงประชดประชันขบขัน เช่น กรอบเรียกร้องวัคซีนซิโนแวคให้กองทัพ[28]
กรอบบางรูปแบบยังเป็นกรอบที่มาจากสิ่งของหรือประเด็นที่เป็นกระแสในขณะนั้น เช่น กรอบหมุดคณะราษฎร 2563[29] กรอบที่มีข้อความและตัวเลขที่สื่อถึงงบประมาณด้านวัคซีน[30] หรือกรอบที่มีถ้อยความในลักษณะจริงจังเกี่ยวกับความสูญเสียจากการระบาดของโรคโควิด-19[31]
ในด้านของฝ่ายสนับสนุนรัฐบาล-อนุรักษนิยม ก็ได้มีการสร้างและใช้กรอบโปรไฟล์เช่นกัน โดยมีลักษณะเป็นกรอบที่แสดงความจงรักภักดีต่อสถาบันกษัตริย์หรือสนับสนุนรัฐบาล ไปจนถึงมีลักษณะที่ถูกสังเกตและถูกมองว่าเป็นการตอบโต้กับการใช้กรอบโปรไฟล์ของฝ่ายต่อต้านรัฐบาล[32] เช่น กรอบ “รักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์” ที่มีลักษณะคล้ายกับกรอบ “อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน” ที่ปรากฏออกมาและมีกระแสการใช้และเชิญชวนให้ใช้งานกรอบดังกล่าวโดยฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลนับจากเดือนสิงหาคม 2563[33] ซึ่งถูกนำไปล้อเลียนโดยฝ่ายต่อต้านรัฐบาลที่ดัดแปลงไปในเชิงขบขัน โดยการดัดแปลงให้วรรคสุดท้ายเป็นสิ่งของต่าง ๆ หรืออ้างอิงจากวัฒนธรรมร่วมสมัย[34]
กรอบแสดงความจงรักภักดีนี้ยังมีลักษณะอื่น ๆ เช่น มีลวดลายธงชาติไทย มีข้อความอื่น หรือจัดวางองค์ประกอบที่แตกต่างออกไป[35] กรอบสนับสนุนการใช้กฎหมายอาญา มาตรา 112[36] มีการเชิญชวนให้ใช้กรอบที่แสดงถึงความจงรักภักดีเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา[37]
ในส่วนของฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลยังเชิญชวนให้ใช้กรอบที่มีเนื้อหาให้กำลังใจ นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 (ศบค.) ที่ถูกโจมตีวิพากษ์วิจารณ์จากการปฏิบัติหน้าที่[38] หน่วยงานรัฐก็ยังได้สร้างกรอบโปรไฟล์เพื่อเชิญชวนให้ประชาชนปฏิบัติตามมาตรการรัฐในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 เช่น กรอบ “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ” กรอบให้กำลังใจบุคลากรสาธารณสุข หรือกรอบที่เชิญชวนให้ประชาชนฉีดวัคซีนในช่วงที่มีกระแสวิพากษ์วิจารณ์ถึงคุณภาพของวัคซีนที่รัฐจัดหาในเบื้องต้น[39] ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลก็ได้นำเอากรอบโปรไฟล์ที่มีที่มาจากฝ่ายสนับสนุนรัฐบาล-อนุรักษนิยมมาใช้ในเชิงขบขัน-ประชดประชันด้วยเช่นกัน[40]
อนาคตของกรอบรูปโปรไฟล์เฟสบุ๊ก
การใช้กรอบเฟสบุ๊กเพื่อรณรงค์ทางการเมืองและประเด็นทางสังคมจะยังถูกใช้ต่อไป ตราบเท่าที่เฟสบุ๊กยังเป็นที่นิยมไม่ว่าจะเป็น เจน x, y, หรือ z ต่างใช้เฟสบุ๊กอยู่ แม้จะมีข้อบ่งชี้ว่า เจน y และ z หันไปใช้ทวิตเตอร์และอินสตาแกรม แต่ทั้งสองแพลตฟอร์มยังสามารถเชื่อมต่อกับเฟสบุ๊กได้ ทำให้ความนิยมใช้กรอบโปรไฟล์เพื่อรณรงค์ทางการเมืองจะดำรงอยู่ต่อไปอีกระยะ จนกว่าจะมีสื่อสังคมออนไลน์แพลตฟอร์มใหม่มาแทนที่
อ้างอิง
[1] Bhubeth Bhajanavorakul, “Facebook เปิดให้ผู้ใช้งานสามารถสร้างเฟรมสำหรับภาพ Profile ได้แล้ว,” DIGIT DAY, (11 ธันวาคม 2559). เข้าถึงจาก https://www.digitday.com/facebook-support-custom-frame/.; “Facebook ให้สร้างกรอบรูปได้เองแล้ว,” ไทยเฟสบุ๊ค, เข้าถึงจาก http://www.thai-fb.com/2016/12/facebook-camera-effect/. เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2565.
[2] “Changes To Profile Frame on Facebook,” Facebook for Government, Politics, and Advocacy, (18 กุมภาพันธ์ 2565). เข้าถึงจาก https://www.facebook.com/gpa/blog/changes-to-profile-frames-on-facebook. เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2565.
[3] “Anti-Vaxxers Just Killed Facebook Profile Frames,” Mashable SE Asia, (19 กุมภาพันธ์ 2565). เข้าถึงจาก https://sea.mashable.com/tech/19394/anti-vaxxers-just-killed-facebook-profile-frames. เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2565.
[4] Thai Red Cross Society, Facebook, (26 พฤศจิกายน 2562). เข้าถึงจาก https://www.facebook.com/ThaiRedCrossSociety/posts/2865384290161882. เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2565.
[5] “กาชาดชวนให้เลือด สุขภาพดี โลกน่าอยู่ เนื่องในวันผู้บริจาคโลหิตโลก 2563,” ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย, (11 มิถุนายน 2563). เข้าถึงจาก https://blooddonationthai.com/th/กาชาดชวนให้เลือด-สุขภาพ/. เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2565.
[6] อนาคตใหม่ – Future Forward, Facebook, (14 พฤศจิกายน 2562). เข้าถึงจาก https://www.facebook.com/FWPthailand/posts/2577410122334566. เมื่อวันที่
[7] “‘เพื่อไทย’ โหมแคมเปญไล่ประยุทธ์ ปลุกเปลี่ยนโปรไฟล์โซเชียล-ติดโบว์ดำ-แต่งดำเปลี่ยนายกฯ,” Voice Online, (26 สิงหาคม 2564). เข้าถึงจาก https://www.voicetv.co.th/read/hzEKOl_Ix. เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2565.
[8] “ทันสมัย! ผู้สมัครนายก อบจ.-ส.อบจ. หันใช้สื่อออนไลน์หาเสียง ชี้ถึงกลุ่มเป้าหมาย-ประหยัดงบ,” ผู้จัดการออนไลน์, (8 พฤศจิกายน 2563). เข้าถึงจาก https://mgronline.com/local/detail/9630000115589. เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2565.
[9] Re-Solution ถึงเวลารัฐธรรมนูญใหม่, Facebook, (19 พฤษภาคม 2564). เข้าถึงจาก https://www.facebook.com/112486793957041/posts/257476426124743/. เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2565.
[10] สหภาพนักเรียน นิสิต นักศึกษา แห่งประเทศไทย – Student Union of Thailand, Facebook, (28 เมษายน 2563). เข้าถึงจาก https://www.facebook.com/studentunion.thailand/posts/1982636091868039/.; เยาวชนปลดแอก – Free YOUTH, Facebook, (22 มีนาคม 2564). https://www.facebook.com/FreeYOUTHth/posts/478936230222106. เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2565.
[11] พรรคไทยภักดี, Facebook, (24 สิงหาคม 2563). เข้าถึงจาก https://www.facebook.com/thaipakdee01/posts/103006581531802. เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2565.
[12] อานนท์ นำภา, Facebook, (15 กุมภาพันธ์ 2561). เข้าถึงจาก https://www.facebook.com/photo/?fbid=1863096907065030&set=a.145139335527471. เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2565.
[13] Start Up People : Thai, Facebook, (12 มกราคม 2562). เข้าถึงจาก https://www.facebook.com/544999515697871/photos/a.545001902364299/1014048485459636/. เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2565.
[14] Start Up People : Thai, Facebook, (27 ตุลาคม 2561). เข้าถึงจาก https://www.facebook.com/544999515697871/posts/966114810253004/. เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2565.
[15] พริษฐ์ ชิวารักษ์, Facebook, (20 กรกฎาคม 2563). เข้าถึงจาก https://www.facebook.com/photo/?fbid=2667688136824580&set=a.1453339561592783.เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2565.
[16] Ohm Anawat, Facebook, (17 ตุลาคม 2563). เข้าถึงจาก https://www.facebook.com/photo/?fbid=10215947397910061&set=a.1350578896781. เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2565.
[17] Panusaya Sithijirawattanakul, Facebook, (14 กุมภาพันธ์ 2564). เข้าถึงจาก 2565.https://www.facebook.com/photo/?fbid=3700022983378304&set=a.128579190522719. เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2565.
[18] Panusaya Sithijirawattanakul, Facebook, (10 ธันวาคม 2563). เข้าถึงจาก https://www.facebook.com/photo/?fbid=3527746753939262&set=a.128579190522719. เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2565.
[19] Tattep Ruangprapaikitseree, Facebook, (8 พฤศจิกายน 2563). เข้าถึงจาก https://www.facebook.com/photo/?fbid=3791388597580476&set=a.123484417704264. เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2565.
[20] Nattanan Duongriwong, Facebook, (3 กันยายน 2563). เข้าถึงจาก https://www.facebook.com/photo/?fbid=3605289709482404&set=a.156535574357852. เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2565.
[21] ชัยชาญ ปรางค์ประทานพร, Facebook, (23 มิถุนายน 2561). เข้าถึงจาก https://www.facebook.com/photo?fbid=1683520571697432&set=a.122472861135552. เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2565.
[22] Panusaya Sithijirawattanakul, Facebook, (5 กรกฎาคม 2564). เข้าถึงจาก https://www.facebook.com/photo/?fbid=4112606595453272&set=a.128579190522719. เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2565.
[23] พริษฐ์ ชิวารักษ์, 'Facebook, (10 กรกฎาคม 2564). เข้าถึงจาก https://www.facebook.com/photo?fbid=2957356284524429&set=a.1453339561592783. เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2565.
[24] Bird Parinya,Facebook, (11 กรกฎาคม 2564). เข้าถึงจาก https://www.facebook.com/photo?fbid=3610136685878622&set=a.1375322166026763. เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2565.
[25] Swing Thailand,Facebook, (7 กรกฎาคม 2563). เข้าถึงจาก https://www.facebook.com/swing.thailand.1/posts/1403865353137059/. เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2565.
[26] Panusaya Sithijirawattanakul,Facebook, (10 กรกฎาคม 2563). เข้าถึงจาก https://www.facebook.com/photo/?fbid=3080285542018721&set=a.128579190522719. เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2565.
[27] พริษฐ์ ชิวารักษ์, Facebook, (1 พฤษภาคม 2563). เข้าถึงจาก https://www.facebook.com/photo/?fbid=2599438363649558&set=a.1453339561592783. เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2565.
[28] พริษฐ์ ชิวารักษ์, Facebook, (24 กรกฎาคม 2564). เข้าถึงจาก https://www.facebook.com/photo?fbid=2967215166871874&set=a.1453339561592783. เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2565.
[29] Panusaya Sithijirawattanakul, Facebook, (20 กันยายน 2563). เข้าถึงจาก https://www.facebook.com/photo/?fbid=3295136820533591&set=a.128579190522719. เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2565.
[30] Panusaya Sithijirawattanakul, Facebook, (3 มิถุนายน 2564). เข้าถึงจาก https://www.facebook.com/photo/?fbid=4020559061324693&set=a.128579190522719. เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2565.
[31] Sirabhob Attohi, Facebook, (28 กรกฎาคม 2564). เข้าถึงจาก https://www.facebook.com/photo/?fbid=4375551725821216&set=a.138857072824057. เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2565.
[32] Teepagorn Champ Wuttipitiyamongkol, Facebook, (28 สิงหาคม 2563). เข้าถึงจาก https://www.facebook.com/teepagorn/posts/10157945309869926. เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2565.
[33] เฮฮาการเมือง, Twitter, (20 สิงหาคม 2563). เข้าถึงจาก https://twitter.com/political_drama/status/1296369953205964800. เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2565.
[34] Design For Life ออกแบบเพื่อชีวิต, Facebook, (26 สิงหาคม 2563). https://www.facebook.com/design4lifeofficial/posts/127581379048482. เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2565.
[35] เพจ เรารักในหลวง รัชกาลที่ 9 และ 10, Facebook, (22 สิงหาคม 2563). เข้าถึงจาก https://www.facebook.com/1700272936864287/posts/2570810863143819/; รวมพลังปกป้องพ่อหลวง, Facebook, (22 ตุลาคม 2563). เข้าถึงจาก https://www.facebook.com/101001603323821/posts/3360365854054030/. เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2565.
[36] Zorion Zuberi, Facebook, (1 พฤศจิกายน 2564). เข้าถึงจาก https://www.facebook.com/photo/?fbid=283346940463604&set=a.114435530688080. เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2565.
[37] Jantajed Man Panachai, ใน เครือข่ายสถาบันทิศทางไทย, Facebook, (27 กรกฎาคม 2564). เข้าถึงจาก https://www.facebook.com/groups/545424559527302/posts/998698914199862/. เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2565.
[38] ประเทศไทยต้องชนะ, Facebook, (30 เมษายน 2563). เข้าถึงจาก https://www.facebook.com/thaimustwin/posts/128282055493987. เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2565.
[39] ไทยรู้สู้โควิด, Facebook, (19 พฤษภาคม 2564). เข้าถึงจาก https://www.facebook.com/108669090743003/posts/311839787092598/. เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2565.
[40] ชัยชาญ ปรางค์ประทานพร, Facebook, (19 สิงหาคม 2563). เข้าถึงจาก https://www.facebook.com/photo/?fbid=3117565454959596&set=a.122472861135552. เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2565.