ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ชังชาติ"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
สร้างหน้าด้วย " ผู้เรียบเรียง รองศาสตราจารย์ ดร.อรรถสิทธิ์ พานแก้ว ผู..."
 
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
บรรทัดที่ 6: บรรทัดที่ 6:
'''ความนำ'''
'''ความนำ'''


            หลังจากที่คำว่า “ชังชาติ” หรือ “ลัทธิชังชาติ” ถูกผลิตขึ้นในฐานะวาทกรรมทางการเมืองเพื่อตอบโต้ปรากฏการณ์เพลง “[[ประเทศกูมี]]” ในช่วงปลายปี พ.ศ.2561 วาทกรรมดังกล่าวได้ถูกใช้เรื่อยมาเพื่อตอบโต้กับกระแสต่อต้านรัฐบาล กลุ่มผู้เคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย และโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือกลุ่มผู้สนับสนุนข้อเสนอเพื่อเปลี่ยนแปลงการเมืองของพรรคอนาคตใหม่ โดยภายใต้สภาวะทางการเมืองของความขัดแย้งแบ่งข้างดังที่เป็นอยู่ ความหมายของคำว่า “ชังชาติ” หรือ “ลัทธิชังชาติ” จึงเป็นสิ่งที่ขึ้นอยู่กับความเข้าใจหรือโลกทัศน์ทางการเมือง ตลอดจนการตีความของแต่ละฝ่าย
            หลังจากที่คำว่า “ชังชาติ” หรือ “ลัทธิชังชาติ” ถูกผลิตขึ้นในฐานะวาทกรรมทางการเมืองเพื่อตอบโต้ปรากฏการณ์เพลง “[[ประเทศกูมี|ประเทศกูมี]]” ในช่วงปลายปี พ.ศ.2561 วาทกรรมดังกล่าวได้ถูกใช้เรื่อยมาเพื่อตอบโต้กับกระแสต่อต้านรัฐบาล กลุ่มผู้เคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย และโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือกลุ่มผู้สนับสนุนข้อเสนอเพื่อเปลี่ยนแปลงการเมืองของพรรคอนาคตใหม่ โดยภายใต้สภาวะทางการเมืองของความขัดแย้งแบ่งข้างดังที่เป็นอยู่ ความหมายของคำว่า “ชังชาติ” หรือ “ลัทธิชังชาติ” จึงเป็นสิ่งที่ขึ้นอยู่กับความเข้าใจหรือโลกทัศน์ทางการเมือง ตลอดจนการตีความของแต่ละฝ่าย


 
 
บรรทัดที่ 62: บรรทัดที่ 62:
'''บรรณานุกรม'''
'''บรรณานุกรม'''


ก้าวไกล ซัดกลับบิ๊กแดง ชังชาติ คือ โรคที่ผู้บ้าอำนาจเป็นแล้วไม่มีวันหาย." '''ข่าวสดออนไลน์'''. (5 สิงหาคม 2563). เข้าถึงจาก <https://www.khaosod.co.th/politics/news_4650397>. เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2563.
ก้าวไกล ซัดกลับบิ๊กแดง ชังชาติ คือ โรคที่ผู้บ้าอำนาจเป็นแล้วไม่มีวันหาย." '''ข่าวสดออนไลน์'''. (5 สิงหาคม 2563). เข้าถึงจาก <[https://www.khaosod.co.th/politics/news_4650397 https://www.khaosod.co.th/politics/news_4650397]>. เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2563.


เกษียร เตชะพีระ. "ทำไมประเทศกูถึงมี “ลัทธิชังชาติ”." สัมภาษณ์โดย ทวีศักดิ์ เกิดโภคา และกาญจนพงค์
เกษียร เตชะพีระ. "ทำไมประเทศกูถึงมี “ลัทธิชังชาติ”." สัมภาษณ์โดย ทวีศักดิ์ เกิดโภคา และกาญจนพงค์
บรรทัดที่ 68: บรรทัดที่ 68:
รินสินธุ์. '''ประชาไท'''. (10 พฤศจิกายน 2561). เข้าถึงจาก
รินสินธุ์. '''ประชาไท'''. (10 พฤศจิกายน 2561). เข้าถึงจาก


&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; <https://prachatai.com/journal/2018/11/79551>. เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2563.
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; <[https://prachatai.com/journal/2018/11/79551 https://prachatai.com/journal/2018/11/79551]>. เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2563.


"เข้าใจตามนี้นะ!'ดร.เสรี'เฉลยใครคือพวก'ชังชาติ'." '''ไทยโพสต์ออนไลน์'''. (7 สิงหาคม 2562). เข้าถึงจาก <https://www.thaipost.net/main/detail/73677>. เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2563.
"เข้าใจตามนี้นะ!'ดร.เสรี'เฉลยใครคือพวก'ชังชาติ'." '''ไทยโพสต์ออนไลน์'''. (7 สิงหาคม 2562). เข้าถึงจาก <[https://www.thaipost.net/main/detail/73677 https://www.thaipost.net/main/detail/73677]>. เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2563.


"ชังชาติคืออะไร? วิจารณ์รัฐบาลเรียกชังชาติไหม? เมื่อนักการเมืองสองวัยมองชังชาติต่างกัน." '''The Matter'''. (19 ธันวาคม 2562). เข้าถึงจาก <https://thematter.co/social/left-right-national-critics-view/94942>. เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2563.
"ชังชาติคืออะไร? วิจารณ์รัฐบาลเรียกชังชาติไหม? เมื่อนักการเมืองสองวัยมองชังชาติต่างกัน." '''The Matter'''. (19 ธันวาคม 2562). เข้าถึงจาก <[https://thematter.co/social/left-right-national-critics-view/94942 https://thematter.co/social/left-right-national-critics-view/94942]>. เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2563.


ธนกร วงษ์ปัญญา. "หมอวรงค์ นำไทยภักดีประกาศจุดยืน หวั่นลูกหลานเป็น ‘ยุวชนชังชาติ’ เรียกร้องมหาวิทยาลัยปิดพื้นที่นักวิชาการชังชาติ ขอนักการเมืองปฏิรูปตัวเอง." '''The Standard'''. (31 สิงหาคม 2563). เข้าถึงจาก <https://thestandard.co/thai-pakdee-group-rally-310863/>. เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2563.
ธนกร วงษ์ปัญญา. "หมอวรงค์ นำไทยภักดีประกาศจุดยืน หวั่นลูกหลานเป็น ‘ยุวชนชังชาติ’ เรียกร้องมหาวิทยาลัยปิดพื้นที่นักวิชาการชังชาติ ขอนักการเมืองปฏิรูปตัวเอง." '''The Standard'''. (31 สิงหาคม 2563). เข้าถึงจาก <[https://thestandard.co/thai-pakdee-group-rally-310863/ https://thestandard.co/thai-pakdee-group-rally-310863/]>. เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2563.


"บิ๊กแดง มาแล้ว! สอนรุ่นน้อง เป็นโควิดหายได้ แต่โรคชังชาติรักษาไม่หาย." '''ข่าวสดออนไลน์'''. (5 สิงหาคม 2563). เข้าถึงจาก <https://www.khaosod.co.th/politics/news_4647079>. เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2563.
"บิ๊กแดง มาแล้ว! สอนรุ่นน้อง เป็นโควิดหายได้ แต่โรคชังชาติรักษาไม่หาย." '''ข่าวสดออนไลน์'''. (5 สิงหาคม 2563). เข้าถึงจาก <[https://www.khaosod.co.th/politics/news_4647079 https://www.khaosod.co.th/politics/news_4647079]>. เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2563.


"มือปราบลัทธิชังชาติ “หมอวรงค์” ชี้เปรี้ยง 5 สิ่งเลวร้ายปลูกฝังประชาชน." '''ผู้จัดการออนไลน์'''. (25 พฤษจิกายน 2562). เข้าถึงจาก <https://mgronline.com/politics/detail/9620000113029>. เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2563.
"มือปราบลัทธิชังชาติ “หมอวรงค์” ชี้เปรี้ยง 5 สิ่งเลวร้ายปลูกฝังประชาชน." '''ผู้จัดการออนไลน์'''. (25 พฤษจิกายน 2562). เข้าถึงจาก <[https://mgronline.com/politics/detail/9620000113029 https://mgronline.com/politics/detail/9620000113029]>. เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2563.


"รุมจวก บิ๊กแดง พูดเรื่องชังชาติ ซัดไร้มารยาท-เห็นคนรุ่นใหม่เป็นศัตรู." '''ข่าวสดออนไลน์'''. (5 สิงหาคม 2563). เข้าถึงจาก <https://www.khaosod.co.th/politics/news_4646922>. เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2563.
"รุมจวก บิ๊กแดง พูดเรื่องชังชาติ ซัดไร้มารยาท-เห็นคนรุ่นใหม่เป็นศัตรู." '''ข่าวสดออนไลน์'''. (5 สิงหาคม 2563). เข้าถึงจาก <[https://www.khaosod.co.th/politics/news_4646922 https://www.khaosod.co.th/politics/news_4646922]>. เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2563.


"สงครามต่างลัทธิ! กล่าวหา “ธนาธร” ลัทธิชังชาติ “สุเทพ-หมอวรงค์” ก็ลัทธิชิงชาติ." '''มติชนสุดสัปดาห์ออนไลน์'''. (24 ธันวาคม 2562). เข้าถึงจาก
"สงครามต่างลัทธิ! กล่าวหา “ธนาธร” ลัทธิชังชาติ “สุเทพ-หมอวรงค์” ก็ลัทธิชิงชาติ." '''มติชนสุดสัปดาห์ออนไลน์'''. (24 ธันวาคม 2562). เข้าถึงจาก


&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; <https://www.matichonweekly.com/column/article_258126>. เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2563.
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; <[https://www.matichonweekly.com/column/article_258126 https://www.matichonweekly.com/column/article_258126]>. เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2563.


"‘ไอติม’ โต้วาทกรรม ‘ชังชาติ’ ลั่นชาติไม่ใช่ 'กองทัพ-รัฐบาล'." '''กรุงเทพธุรกิจออนไลน์'''. (6 สิงหาคม 2563). เข้าถึงจาก <https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/892559>. เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2563.
"‘ไอติม’ โต้วาทกรรม ‘ชังชาติ’ ลั่นชาติไม่ใช่ 'กองทัพ-รัฐบาล'." '''กรุงเทพธุรกิจออนไลน์'''. (6 สิงหาคม 2563). เข้าถึงจาก <[https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/892559 https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/892559]>. เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2563.


&nbsp;
&nbsp;
บรรทัดที่ 92: บรรทัดที่ 92:
----
----
<div id="ftn1">
<div id="ftn1">
[[#_ftnref1|<sup><sup>[1]</sup></sup>]] เกษียร เตชะพีระ, "ทำไมประเทศกูถึงมี “ลัทธิชังชาติ”," สัมภาษณ์โดย ทวีศักดิ์ เกิดโภคา และกาญจนพงค์ รินสินธุ์, '''ประชาไท''', (10 พฤศจิกายน 2561). เข้าถึงจาก <https://prachatai.com/journal/2018/11/79551>. เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2563.
[[#_ftnref1|<sup><sup>[1]</sup></sup>]] เกษียร เตชะพีระ, "ทำไมประเทศกูถึงมี “ลัทธิชังชาติ”," สัมภาษณ์โดย ทวีศักดิ์ เกิดโภคา และกาญจนพงค์ รินสินธุ์, '''ประชาไท''', (10 พฤศจิกายน 2561). เข้าถึงจาก <[https://prachatai.com/journal/2018/11/79551 https://prachatai.com/journal/2018/11/79551]>. เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2563.
</div> <div id="ftn2">
</div> <div id="ftn2">
[[#_ftnref2|<sup><sup>[2]</sup></sup>]] "สงครามต่างลัทธิ! กล่าวหา “ธนาธร” ลัทธิชังชาติ “สุเทพ-หมอวรงค์” ก็ลัทธิชิงชาติ," '''มติชนสุดสัปดาห์ออนไลน์''', (24 ธันวาคม 2562). เข้าถึงจาก <https://www.matichonweekly.com/column/article_258126>. เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2563.
[[#_ftnref2|<sup><sup>[2]</sup></sup>]] "สงครามต่างลัทธิ! กล่าวหา “ธนาธร” ลัทธิชังชาติ “สุเทพ-หมอวรงค์” ก็ลัทธิชิงชาติ," '''มติชนสุดสัปดาห์ออนไลน์''', (24 ธันวาคม 2562). เข้าถึงจาก <[https://www.matichonweekly.com/column/article_258126 https://www.matichonweekly.com/column/article_258126]>. เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2563.
</div> <div id="ftn3">
</div> <div id="ftn3">
[[#_ftnref3|<sup><sup>[3]</sup></sup>]] "สงครามต่างลัทธิ! กล่าวหา “ธนาธร” ลัทธิชังชาติ “สุเทพ-หมอวรงค์” ก็ลัทธิชิงชาติ," '''มติชนสุดสัปดาห์ออนไลน์''', (24 ธันวาคม 2562). เข้าถึงจาก <https://www.matichonweekly.com/column/article_258126>. เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2563.
[[#_ftnref3|<sup><sup>[3]</sup></sup>]] "สงครามต่างลัทธิ! กล่าวหา “ธนาธร” ลัทธิชังชาติ “สุเทพ-หมอวรงค์” ก็ลัทธิชิงชาติ," '''มติชนสุดสัปดาห์ออนไลน์''', (24 ธันวาคม 2562). เข้าถึงจาก <[https://www.matichonweekly.com/column/article_258126 https://www.matichonweekly.com/column/article_258126]>. เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2563.
</div> <div id="ftn4">
</div> <div id="ftn4">
[[#_ftnref4|<sup><sup>[4]</sup></sup>]] "ชังชาติคืออะไร? วิจารณ์รัฐบาลเรียกชังชาติไหม? เมื่อนักการเมืองสองวัยมองชังชาติต่างกัน," '''The Matter''', (19 ธันวาคม 2562). เข้าถึงจาก <https://thematter.co/social/left-right-national-critics-view/94942>. เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2563.
[[#_ftnref4|<sup><sup>[4]</sup></sup>]] "ชังชาติคืออะไร? วิจารณ์รัฐบาลเรียกชังชาติไหม? เมื่อนักการเมืองสองวัยมองชังชาติต่างกัน," '''The Matter''', (19 ธันวาคม 2562). เข้าถึงจาก <[https://thematter.co/social/left-right-national-critics-view/94942 https://thematter.co/social/left-right-national-critics-view/94942]>. เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2563.
</div> <div id="ftn5">
</div> <div id="ftn5">
[[#_ftnref5|<sup><sup>[5]</sup></sup>]] "มือปราบลัทธิชังชาติ “หมอวรงค์” ชี้เปรี้ยง 5 สิ่งเลวร้ายปลูกฝังประชาชน," '''ผู้จัดการออนไลน์''', (25 พฤษจิกายน 2562). เข้าถึงจาก <https://mgronline.com/politics/detail/9620000113029>. เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2563.
[[#_ftnref5|<sup><sup>[5]</sup></sup>]] "มือปราบลัทธิชังชาติ “หมอวรงค์” ชี้เปรี้ยง 5 สิ่งเลวร้ายปลูกฝังประชาชน," '''ผู้จัดการออนไลน์''', (25 พฤษจิกายน 2562). เข้าถึงจาก <[https://mgronline.com/politics/detail/9620000113029 https://mgronline.com/politics/detail/9620000113029]>. เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2563.
</div> <div id="ftn6">
</div> <div id="ftn6">
[[#_ftnref6|<sup><sup>[6]</sup></sup>]] "สงครามต่างลัทธิ! กล่าวหา “ธนาธร” ลัทธิชังชาติ “สุเทพ-หมอวรงค์” ก็ลัทธิชิงชาติ," '''มติชนสุดสัปดาห์ออนไลน์''', (24 ธันวาคม 2562). เข้าถึงจาก <https://www.matichonweekly.com/column/article_258126>. เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2563.
[[#_ftnref6|<sup><sup>[6]</sup></sup>]] "สงครามต่างลัทธิ! กล่าวหา “ธนาธร” ลัทธิชังชาติ “สุเทพ-หมอวรงค์” ก็ลัทธิชิงชาติ," '''มติชนสุดสัปดาห์ออนไลน์''', (24 ธันวาคม 2562). เข้าถึงจาก <[https://www.matichonweekly.com/column/article_258126 https://www.matichonweekly.com/column/article_258126]>. เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2563.
</div> <div id="ftn7">
</div> <div id="ftn7">
[[#_ftnref7|<sup><sup>[7]</sup></sup>]] "บิ๊กแดง มาแล้ว! สอนรุ่นน้อง เป็นโควิดหายได้ แต่โรคชังชาติรักษาไม่หาย," '''ข่าวสดออนไลน์''', (5 สิงหาคม 2563). เข้าถึงจาก <https://www.khaosod.co.th/politics/news_4647079>. เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2563.
[[#_ftnref7|<sup><sup>[7]</sup></sup>]] "บิ๊กแดง มาแล้ว! สอนรุ่นน้อง เป็นโควิดหายได้ แต่โรคชังชาติรักษาไม่หาย," '''ข่าวสดออนไลน์''', (5 สิงหาคม 2563). เข้าถึงจาก <[https://www.khaosod.co.th/politics/news_4647079 https://www.khaosod.co.th/politics/news_4647079]>. เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2563.
</div> <div id="ftn8">
</div> <div id="ftn8">
[[#_ftnref8|<sup><sup>[8]</sup></sup>]] "ก้าวไกล ซัดกลับบิ๊กแดง ชังชาติ คือ โรคที่ผู้บ้าอำนาจเป็นแล้วไม่มีวันหาย," '''ข่าวสดออนไลน์''', (5 สิงหาคม 2563). เข้าถึงจาก <https://www.khaosod.co.th/politics/news_4650397>. เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2563.
[[#_ftnref8|<sup><sup>[8]</sup></sup>]] "ก้าวไกล ซัดกลับบิ๊กแดง ชังชาติ คือ โรคที่ผู้บ้าอำนาจเป็นแล้วไม่มีวันหาย," '''ข่าวสดออนไลน์''', (5 สิงหาคม 2563). เข้าถึงจาก <[https://www.khaosod.co.th/politics/news_4650397 https://www.khaosod.co.th/politics/news_4650397]>. เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2563.
</div> <div id="ftn9">
</div> <div id="ftn9">
[[#_ftnref9|<sup><sup>[9]</sup></sup>]] "ก้าวไกล ซัดกลับบิ๊กแดง ชังชาติ คือ โรคที่ผู้บ้าอำนาจเป็นแล้วไม่มีวันหาย," '''ข่าวสดออนไลน์''', (5 สิงหาคม 2563). เข้าถึงจาก <https://www.khaosod.co.th/politics/news_4650397>. เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2563.
[[#_ftnref9|<sup><sup>[9]</sup></sup>]] "ก้าวไกล ซัดกลับบิ๊กแดง ชังชาติ คือ โรคที่ผู้บ้าอำนาจเป็นแล้วไม่มีวันหาย," '''ข่าวสดออนไลน์''', (5 สิงหาคม 2563). เข้าถึงจาก <[https://www.khaosod.co.th/politics/news_4650397 https://www.khaosod.co.th/politics/news_4650397]>. เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2563.
</div> <div id="ftn10">
</div> <div id="ftn10">
[[#_ftnref10|<sup><sup>[10]</sup></sup>]] "รุมจวก บิ๊กแดง พูดเรื่องชังชาติ ซัดไร้มารยาท-เห็นคนรุ่นใหม่เป็นศัตรู," '''ข่าวสดออนไลน์''', (5 สิงหาคม 2563). เข้าถึงจาก <https://www.khaosod.co.th/politics/news_4646922>. เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2563.
[[#_ftnref10|<sup><sup>[10]</sup></sup>]] "รุมจวก บิ๊กแดง พูดเรื่องชังชาติ ซัดไร้มารยาท-เห็นคนรุ่นใหม่เป็นศัตรู," '''ข่าวสดออนไลน์''', (5 สิงหาคม 2563). เข้าถึงจาก <[https://www.khaosod.co.th/politics/news_4646922 https://www.khaosod.co.th/politics/news_4646922]>. เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2563.
</div> <div id="ftn11">
</div> <div id="ftn11">
[[#_ftnref11|<sup><sup>[11]</sup></sup>]] "รุมจวก บิ๊กแดง พูดเรื่องชังชาติ ซัดไร้มารยาท-เห็นคนรุ่นใหม่เป็นศัตรู," '''ข่าวสดออนไลน์''', (5 สิงหาคม 2563). เข้าถึงจาก <https://www.khaosod.co.th/politics/news_4646922>. เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2563.
[[#_ftnref11|<sup><sup>[11]</sup></sup>]] "รุมจวก บิ๊กแดง พูดเรื่องชังชาติ ซัดไร้มารยาท-เห็นคนรุ่นใหม่เป็นศัตรู," '''ข่าวสดออนไลน์''', (5 สิงหาคม 2563). เข้าถึงจาก <[https://www.khaosod.co.th/politics/news_4646922 https://www.khaosod.co.th/politics/news_4646922]>. เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2563.
</div> <div id="ftn12">
</div> <div id="ftn12">
[[#_ftnref12|<sup><sup>[12]</sup></sup>]] ธนกร วงษ์ปัญญา, "หมอวรงค์ นำไทยภักดีประกาศจุดยืน หวั่นลูกหลานเป็น ‘ยุวชนชังชาติ’ เรียกร้องมหาวิทยาลัยปิดพื้นที่นักวิชาการชังชาติ ขอนักการเมืองปฏิรูปตัวเอง," '''The Standard''', (31 สิงหาคม 2563). เข้าถึงจาก <https://thestandard.co/thai-pakdee-group-rally-310863/>. เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2563.
[[#_ftnref12|<sup><sup>[12]</sup></sup>]] ธนกร วงษ์ปัญญา, "หมอวรงค์ นำไทยภักดีประกาศจุดยืน หวั่นลูกหลานเป็น ‘ยุวชนชังชาติ’ เรียกร้องมหาวิทยาลัยปิดพื้นที่นักวิชาการชังชาติ ขอนักการเมืองปฏิรูปตัวเอง," '''The Standard''', (31 สิงหาคม 2563). เข้าถึงจาก <[https://thestandard.co/thai-pakdee-group-rally-310863/ https://thestandard.co/thai-pakdee-group-rally-310863/]>. เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2563.
</div> <div id="ftn13">
</div> <div id="ftn13">
[[#_ftnref13|<sup><sup>[13]</sup></sup>]] "เข้าใจตามนี้นะ!'ดร.เสรี'เฉลยใครคือพวก'ชังชาติ'," '''ไทยโพสต์ออนไลน์''', (7 สิงหาคม 2562). เข้าถึงจาก <https://www.thaipost.net/main/detail/73677>. เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2563.
[[#_ftnref13|<sup><sup>[13]</sup></sup>]] "เข้าใจตามนี้นะ!'ดร.เสรี'เฉลยใครคือพวก'ชังชาติ'," '''ไทยโพสต์ออนไลน์''', (7 สิงหาคม 2562). เข้าถึงจาก <[https://www.thaipost.net/main/detail/73677 https://www.thaipost.net/main/detail/73677]>. เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2563.
</div> <div id="ftn14">
</div> <div id="ftn14">
[[#_ftnref14|<sup><sup>[14]</sup></sup>]] "ชังชาติคืออะไร? วิจารณ์รัฐบาลเรียกชังชาติไหม? เมื่อนักการเมืองสองวัยมองชังชาติต่างกัน," '''The Matter''', (19 ธันวาคม 2562). เข้าถึงจาก <https://thematter.co/social/left-right-national-critics-view/94942>. เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2563.
[[#_ftnref14|<sup><sup>[14]</sup></sup>]] "ชังชาติคืออะไร? วิจารณ์รัฐบาลเรียกชังชาติไหม? เมื่อนักการเมืองสองวัยมองชังชาติต่างกัน," '''The Matter''', (19 ธันวาคม 2562). เข้าถึงจาก <[https://thematter.co/social/left-right-national-critics-view/94942 https://thematter.co/social/left-right-national-critics-view/94942]>. เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2563.
</div> <div id="ftn15">
</div> <div id="ftn15">
[[#_ftnref15|<sup><sup>[15]</sup></sup>]] "‘ไอติม’ โต้วาทกรรม ‘ชังชาติ’ ลั่นชาติไม่ใช่ 'กองทัพ-รัฐบาล'," '''กรุงเทพธุรกิจออนไลน์''', (6 สิงหาคม 2563). เข้าถึงจาก <https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/892559>. เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2563.
[[#_ftnref15|<sup><sup>[15]</sup></sup>]] "‘ไอติม’ โต้วาทกรรม ‘ชังชาติ’ ลั่นชาติไม่ใช่ 'กองทัพ-รัฐบาล'," '''กรุงเทพธุรกิจออนไลน์''', (6 สิงหาคม 2563). เข้าถึงจาก <[https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/892559 https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/892559]>. เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2563.
</div> <div id="ftn16">
</div> <div id="ftn16">
[[#_ftnref16|<sup><sup>[16]</sup></sup>]] เกษียร เตชะพีระ, "ทำไมประเทศกูถึงมี “ลัทธิชังชาติ”," สัมภาษณ์โดย ทวีศักดิ์ เกิดโภคา และกาญจนพงค์ รินสินธุ์, '''ประชาไท''', (10 พฤศจิกายน 2561). เข้าถึงจาก <https://prachatai.com/journal/2018/11/79551>. เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2563.
[[#_ftnref16|<sup><sup>[16]</sup></sup>]] เกษียร เตชะพีระ, "ทำไมประเทศกูถึงมี “ลัทธิชังชาติ”," สัมภาษณ์โดย ทวีศักดิ์ เกิดโภคา และกาญจนพงค์ รินสินธุ์, '''ประชาไท''', (10 พฤศจิกายน 2561). เข้าถึงจาก <[https://prachatai.com/journal/2018/11/79551 https://prachatai.com/journal/2018/11/79551]>. เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2563.
</div> </div>
</div> </div>  
[[Category:เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองไทย สมัย พ.ศ. 2520-ปัจจุบัน]]

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 10:30, 27 กรกฎาคม 2564

ผู้เรียบเรียง รองศาสตราจารย์ ดร.อรรถสิทธิ์ พานแก้ว

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองศาสตราจารย์ ดร.ยุทธพร อิสรชัย

ความนำ

            หลังจากที่คำว่า “ชังชาติ” หรือ “ลัทธิชังชาติ” ถูกผลิตขึ้นในฐานะวาทกรรมทางการเมืองเพื่อตอบโต้ปรากฏการณ์เพลง “ประเทศกูมี” ในช่วงปลายปี พ.ศ.2561 วาทกรรมดังกล่าวได้ถูกใช้เรื่อยมาเพื่อตอบโต้กับกระแสต่อต้านรัฐบาล กลุ่มผู้เคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย และโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือกลุ่มผู้สนับสนุนข้อเสนอเพื่อเปลี่ยนแปลงการเมืองของพรรคอนาคตใหม่ โดยภายใต้สภาวะทางการเมืองของความขัดแย้งแบ่งข้างดังที่เป็นอยู่ ความหมายของคำว่า “ชังชาติ” หรือ “ลัทธิชังชาติ” จึงเป็นสิ่งที่ขึ้นอยู่กับความเข้าใจหรือโลกทัศน์ทางการเมือง ตลอดจนการตีความของแต่ละฝ่าย

 

ข้อกล่าวหาชังชาติในกระแสต่อต้านรัฐบาลและเรียกร้องประชาธิปไตย

            ในช่วงเวลาก่อนหน้าที่จะมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป พ.ศ.2562 ปรากฎการณ์ทางการเมืองหนึ่งที่สังคมให้ความสนใจและพูดถึงกันมากที่สุดคงหนีไม่พ้นปรากฏการณ์เพลง “ประเทศกูมี” ที่จัดทำโดยกลุ่มศิลปิน RAP AGAINST DICTATORSHIP เนื้อหาเพลงประกอบมิวสิกวิดีโอ (music video) มีลักษณะเสียดสีสังคมและการบริหารงานของรัฐบาลของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) โดยเมื่อเพลงและมิวสิกวิดีโอดังกล่าวถูกเผยแพร่ผ่านทางสื่อออนไลน์ยูทูป (YouTube) ก็ได้มีผู้ที่สนใจกดเข้าดูและส่งต่อกันอย่างแพร่หลาย ความนิยมของเพลงส่วนหนึ่งเกิดจากเนื้อหาของเพลงที่สอดรับและกระตุ้นเร้าอารมณ์และความรู้สึกนึกคิดทางการเมืองของประชาชน โดยเฉพาะผู้ที่มีมุมมองต่อต้านการบริหารงานของรัฐบาลของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ดังที่มีสื่อได้วิเคราะห์ไว้ว่า “เนื้อเพลงแต่ละถ้อยคำถูกร้องอยู่ในหัวของคนจำนวนหนึ่งมานานแล้ว เพียงแต่เขาไม่กล้าพูดมันออก และเมื่อมีคนมาพูดแทน พวกเขาก็พร้อมจะที่ฟังมันและส่งต่อ”[1] แต่ขณะเดียวกันก็มีปฏิกริยาตอบโต้จากฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองหรือกลุ่มผู้ที่สนับสนุนรัฐบาล ด้วยการกล่าวหาผู้ที่เคลื่อนไหวทางการเมืองในแนวทางต่อต้านรัฐบาล ผู้ที่เคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย และโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือกลุ่มผู้ที่สนับสนุนแนวทางของพรรคอนาคตใหม่ว่าเป็นพวก “ชังชาติ” หรือเป็น “ลัทธิชังชาติ”[2]

            กระแสตอบโต้พลังทางการเมืองที่ต่อต้านรัฐบาลหรือเรียกร้องประชาธิปไตยดำเนินไปอย่างเป็นระบบ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ในฐานะที่ปรึกษาพรรครวมพลังประชาชาติไทย ได้ออกมาพูดถึงลัทธิชังชาติ
            ในหลักสูตร “อุดมการณ์ และการสื่อสารทางการเมือง”[3] โดยได้ร่วมกับนายแพทย์วรงค์ เดชกิจวิกรม อดีตแกนนำพรรคประชาธิปัตย์ที่ได้ลาออกมาอยู่กับพรรครวมพลังประชาชาติไทย (ต่อมาได้ลาออกมาจัดตั้งกลุ่มการเมืองชื่อ “ไทยภักดี”) ประกาศตั้งเวทีบรรยายปราศรัยทั่วประเทศ ซึ่งนายสุเทพได้กล่าวถึงสาเหตุที่ออกมาเคลื่อนไหวว่าเพื่อเป็นการต่อสู้ทางความคิดกับพรรคอนาคตใหม่โดยตรง[4] นายแพทย์วรงค์ซึ่งประกาศที่จะต่อสู้กับลัทธิชังชาติด้วยการใช้ความจริงเป็นอาวุธ[5] ได้กล่าวถึงนิยามความหมายของลัทธิชังชาติไว้ตอนหนึ่งในการปราศรัยอบรมเรื่อง “อุดมการณ์และการสื่อสารทางการเมือง” ที่จัดขึ้นที่จังหวัดพิษณุโลก โดยชี้ถึงการกระทำของลัทธิชังชาติที่แบ่งออกเป็น 5 ข้อ ได้แก่

1. จาบจ้วงสถาบันพระมหากษัตริย์

2. ไม่เอาศาสนาและเอาศาสนามาสร้างความขัดแย้ง

3. ดูถูกวัฒนธรรมประเพณี ดูถูกประเทศตัวเอง

4. ชักศึกเข้าบ้าน มีปัญหาอะไรก็ไปฟ้องต่างชาติ

5. ไม่ยอมรับกระบวนการยุติธรรม

นายแพทย์วรงค์ได้ชี้ว่าลักษณะทั้ง 5 ข้อข้างต้น จะทำให้คนไทยเกลียดกันเอง ดูถูกประเทศตนเองซึ่งไม่เป็นผลดีกับประเทศ ฉะนั้นจึงเป็นความจำเป็นที่ตนเองจะต้องนำความจริงไปชี้แจงต่อประชาชน ซึ่งเชื่อว่าประชาชนเริ่มมีความเข้าใจมากขึ้น[6]

 

เมื่อลัทธิชังชาติถูกขยายซ้ำ

            “ลัทธิชังชาติ” ได้กลายเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันอย่างร้อนแรงอีกครั้ง เมื่อบุคคลที่อยู่ในตำแหน่งสำคัญอย่างพลเอกอภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารบก ได้กล่าวถึงเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ.2563 เนื่องในงานวันพระราชทานกำเนิดโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ครบรอบ 133 ปี ที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จังหวัดนครนายก โดยในระหว่างเดินตรวจการแต่งกายชุดพระราชฐาน ของนักเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ชั้นปีที่ 4 และ 5 พลเอกอภิรัชต์ได้สอบถามถึงความรู้สึกของรุ่นน้องว่า หวาดกลัวโรคโควิด-19 หรือไม่ พร้อมกล่าวว่า "โรคโควิด นี้เป็นแล้วหาย แต่ที่เป็นแล้วไม่หายคือโรคชังชาติ เกลียดชาติบ้านเมืองตัวเอง นี่เป็นไม่หาย เพราะว่ามีการเหน็บแนมประเทศตัวเอง"[7] จากคำพูดดังกล่าวของพลเอกอภิรัชต์ได้ก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงและได้กลายมาเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันในสังคมอีกครั้งหนึ่ง

            กระแสตอบโต้จากฝ่ายการเมือง อาทิ นายณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ โฆษกพรรคก้าวไกลได้ออกมาโพสต์เฟสบุ๊ค (Facebook) กล่าวโต้ตอบพลเอกอภิรัชต์โดยมีข้อความว่า “อาการมันเป็นยังไงครับ โรคชังชาติ แต่โรคที่เป็นแล้วเรื้อรังและติดผ่านทางผู้บ้าอำนาจเป็นแล้วไม่มีวันหายแถมอาการจะหนักขึ้นเรื่อยๆ ช่วงใกล้เกษียณคือ ‘โรคเห็นตัวเองเป็นชาติ’ ใครด่า ใครว่า ตัวเอง จะหาว่าเค้าเหล่านั้นชังชาติไปหมด”[8] ขณะที่นายรังสิมันต์ โรม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคก้าวไกล ก็ได้โพสต์เฟสบุ๊คกล่าวตอบโต้เช่นกันโดยมีข้อความว่า ““ชังชาติ” คือวาทกรรมของคนที่ได้ประโยชน์จากโครงสร้างทางการเมืองแบบเก่าที่ตัวเองได้รับมรดกสืบทอดมา ใช้โจมตีคนส่วนใหญ่ของประเทศที่ถูกครอบงำกดขี่ ประชาชนทุกคนมีความรักต่อชาติของเขาอยู่แล้ว ที่เขาชังไม่ใช่ชาติ แต่คือคนที่เข้าใจว่าตัวเองใหญ่ราวกับเป็นชาติเสียเองแล้วกัดกินบ้านเมืองอยู่ตลอดมาต่างหาก”[9] เป็นต้น

            ขณะที่ศิลปินแห่งชาติอย่างนายสุชาติ สวัสดิ์ศรี ก้ได้แสดงความคิดเห็นต่อประเด็นคำพูดของพลเอก
อภิรัชต์ผ่านทางเฟสบุ๊คของตนเองโดยกล่าวว่า “คำหนึ่งก็ชังชาติ สองคำก็ชังชาติ ในกบาลมีแต่คำว่าชังชาติ เห็นคนรุ่นลูกรุ่นหลานเป็นศัตรูไปตั้งแต่เมื่อใด”[10] ส่วนความคิดเห็นของนักวิชาอย่างผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้โดยกล่าวว่า “ไม่มีประเทศใดในโลก - ยกเว้นประเทศด้อยพัฒนาทางการเมือง 2-3 ประเทศในแอฟริกา, เอเชีย - ที่กองทัพเข้ามายุ่งเกี่ยวทางการเมืองมากเท่าของไทย และไม่มีผู้นำกองทัพในประเทศใดจะออกมาพูดเรื่องการเมือง โจมตีปชช.ในชาติของตนเอง เพราะเป็นสิ่งที่ผิดมารยาท ไม่สมควร และขัดหลักการที่กองทัพต้องรับใช้ ปชช.”[11]

 

ลัทธิชังชาติกับพื้นที่ของการตีความ

            เมื่อวาทกรรมว่าด้วยลัทธิชังชาติถูกจุดขึ้น กระแสสังคมตลอดถึงการตีความก็ได้แบ่งออกเป็น 2 แนวทาง กล่าวคือฝ่ายหนึ่งพยายามตอกย้ำว่าลัทธิดังกล่าวมีอยู่จริง เป็นลัทธิความเชื่อทีเป็นอันตรายต่อชาติบ้านเมือง ขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งมองว่าลัทธิชังชาติเป็นเพียงวาทกรรมที่ถูกผลิตขึ้นเพื่อมุ่งโจมตีพรรคการเมืองหรือกลุ่มพลังทางการเมืองในฝ่ายประชาธิปไตย สำหรับฝ่ายแรกนั้น ทางด้านนายแพทย์วรงค์ เดชกิจวิกรม ซึ่งได้ออกมาจัดตั้งและเป็นแกนนำกลุ่มไทยภักดี ได้เน้นย้ำถึงความอันตรายของลัทธิชังชาติทั้งต่อสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ โดยมองว่าลัทธิดังกล่าวเป็นการ “ล้างสมอง” โดยพยายามเจาะเข้ายังกลุ่มยุวชนจนทำให้กลายเป็น “ยุวชนชังชาติ” การล้างสองนี้คล้ายกับการล้างสมองที่จีนและเขมรแดงที่ผลิตสร้าง “ยุวชนเรดการ์ด” หรือ “ยุวชนเขมรแดง”[12] ที่นิยมความรุนแรง ทางด้านรองศาสตราจารย์ ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชนและการตลาด และผู้ร่วมก่อตั้งสถาบันทิศทางไทย ได้มีการโพสต์เฟสบุ๊คระบุว่า “อย่าบิดเบือนว่ามีการว่าคนคิดต่างว่าชังชาติ คิดต่างไม่ใช่ชังชาติ แต่ถ้าคุณด่าประเทศไทยและจาบจ้วงล่วงละเมิดสถาบันสูงสุดของประเทศ นั่นแหละชังชาติ เข้าใจตามนี้นะ”[13]

            ขณะที่ในอีกฝ่ายหนึ่งอย่างนายรังสิมันต์ โรม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคก้าวไกล ได้พยายามชี้ให้เห็นว่าปัญหาของคำว่า “ชังชาติ” นั้นเกิดขึ้นจากการตีความและให้ความหมายที่ผิดเพี้ยนไปจากจุดประสงค์เดิม โดยเขากล่าวพาดพิงถึงทัศนะคำว่าชังชาติในแบบของนายแพทย์วรงค์ที่มักจะมองคนที่ออกมาวิพากษ์วิจารณ์การเมืองว่าเป็นพวกที่ชอบทำให้ชาติตัวเองดูด้อยกว่าชาติอื่นๆ หรือตั้งตัวเป็นปฏิปักษ์กับประเทศ ทั้งที่ในความเป็นจริงการพูดถึงปัญหาอย่างตรงไปตรงมาเป็นเพราะพวกเขาต้องการแก้ไขปัญหาที่มีอยู่ เพื่อให้ประเทศพัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้น[14] ในทำนองเดียวกัน นายพริษฐ์ วัชรสินธุ อดีตสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ และอดีตแกนนำกลุ่ม New Dem ก็ได้แสดงความคิดเห็นผ่านทางเฟสบุ๊คของตนเองเกี่ยวกับประเด็นเรื่องลัทธิชังชาติว่า “วาทกรรม #ชังชาติ มักถูกใช้โดยคนที่มองว่าความคิดตัวเองเป็นใหญ่ โดยการ
            1.ผูกขาด คำว่า ‘ชาติ’ ‘ชาติ’ ไม่ใช่ รัฐบาล กองทัพ หรือ ตนเอง แต่คือ คุณภาพชีวิตของประชาชนในประเทศ การที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลไม่ได้หมายถึงการไม่รักชาติ ถ้าเราคิดว่าข้อเสนอของรัฐบาลจะไม่ทำให้คุณภาพชีวิตของคนในประเทศดีขึ้น การเสนอทางเลือกอื่นหรือคัดค้านรัฐบาลต่างหากคือการทำเพื่อชาติ ในการปกป้องผลประโยชน์ของประชาชนในความคิดของเรา

            2. ผูกขาดคำว่า ‘รัก’ คนสองคนอาจ ‘รัก’ และหวังดีต่อประเทศเท่ากัน แต่พวกเพียงมองต่างกันว่าอะไรคือแนวทางที่ดีที่สุดสำหรับประเทศ การที่มีคนเห็นต่างจากคุณไม่ได้หมายถึงเขารักชาติน้อยกว่าคุณ”[15]

            จากปัญหาความเข้าใจหรือการตีความ “ชาติ” และ “ชังชาติ” ที่แตกต่างกัน ศาสตราจารย์ ดร.เกษียร เตชะพีระ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้วิเคราะห์ถึงวาทกรรมว่าด้วยลัทธิชังชาติผ่านบทสัมภาษณ์ในเว็บไซด์ประชาไท โดยชี้ให้เห็นความหมายของชาติที่เป็นชุมชนจินตกรรม (imagined community) ดังที่ศาสตราจารย์เกียรติคุณเบเนดิกต์ แอนเดอร์สัน (Benedict Anderson) ได้เสนอไว้ นั่นคือการที่คนที่อยู่ในพื้นที่ชุมชนมีความร่วมกันใน 3 เรื่องหลักประกอบด้วย

1.การมีอดีตร่วมกัน (imagined common past)

2. การมีพื้นที่ร่วมกัน (imagined common place) และ

3.การมีสายสัมพันธ์บางอย่างร่วมกัน (imagined common tie)

            โดยที่ทั้ง 3 สิ่งนี้ล้วนอยู่ในจินตนาการทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นปัญหาจึงอยู่ที่การที่คนเรามีจินตนาการถึงชาติไม่เหมือนกัน โดยเฉพาะฝ่ายรัฐกับฝ่ายประชาชนที่มีจินตาการแตกต่างกัน
            โดยในทัศนะของศาสตราจารย์ ดร.เกษียร นั้นหากกล่าวอย่างถึงที่สุดแล้ว ผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นพวกลัทธิชังชาติโดยแท้ที่จริงก็เป็นพวกที่รักชาติ และพวกเขาอยากจะช่วยเหลือแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงชาติ เพราะพวกเขาเชื่อว่าชาติสามารถที่จะดีกว่านี้ได้[16]

 

บรรณานุกรม

ก้าวไกล ซัดกลับบิ๊กแดง ชังชาติ คือ โรคที่ผู้บ้าอำนาจเป็นแล้วไม่มีวันหาย." ข่าวสดออนไลน์. (5 สิงหาคม 2563). เข้าถึงจาก <https://www.khaosod.co.th/politics/news_4650397>. เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2563.

เกษียร เตชะพีระ. "ทำไมประเทศกูถึงมี “ลัทธิชังชาติ”." สัมภาษณ์โดย ทวีศักดิ์ เกิดโภคา และกาญจนพงค์

รินสินธุ์. ประชาไท. (10 พฤศจิกายน 2561). เข้าถึงจาก

         <https://prachatai.com/journal/2018/11/79551>. เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2563.

"เข้าใจตามนี้นะ!'ดร.เสรี'เฉลยใครคือพวก'ชังชาติ'." ไทยโพสต์ออนไลน์. (7 สิงหาคม 2562). เข้าถึงจาก <https://www.thaipost.net/main/detail/73677>. เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2563.

"ชังชาติคืออะไร? วิจารณ์รัฐบาลเรียกชังชาติไหม? เมื่อนักการเมืองสองวัยมองชังชาติต่างกัน." The Matter. (19 ธันวาคม 2562). เข้าถึงจาก <https://thematter.co/social/left-right-national-critics-view/94942>. เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2563.

ธนกร วงษ์ปัญญา. "หมอวรงค์ นำไทยภักดีประกาศจุดยืน หวั่นลูกหลานเป็น ‘ยุวชนชังชาติ’ เรียกร้องมหาวิทยาลัยปิดพื้นที่นักวิชาการชังชาติ ขอนักการเมืองปฏิรูปตัวเอง." The Standard. (31 สิงหาคม 2563). เข้าถึงจาก <https://thestandard.co/thai-pakdee-group-rally-310863/>. เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2563.

"บิ๊กแดง มาแล้ว! สอนรุ่นน้อง เป็นโควิดหายได้ แต่โรคชังชาติรักษาไม่หาย." ข่าวสดออนไลน์. (5 สิงหาคม 2563). เข้าถึงจาก <https://www.khaosod.co.th/politics/news_4647079>. เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2563.

"มือปราบลัทธิชังชาติ “หมอวรงค์” ชี้เปรี้ยง 5 สิ่งเลวร้ายปลูกฝังประชาชน." ผู้จัดการออนไลน์. (25 พฤษจิกายน 2562). เข้าถึงจาก <https://mgronline.com/politics/detail/9620000113029>. เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2563.

"รุมจวก บิ๊กแดง พูดเรื่องชังชาติ ซัดไร้มารยาท-เห็นคนรุ่นใหม่เป็นศัตรู." ข่าวสดออนไลน์. (5 สิงหาคม 2563). เข้าถึงจาก <https://www.khaosod.co.th/politics/news_4646922>. เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2563.

"สงครามต่างลัทธิ! กล่าวหา “ธนาธร” ลัทธิชังชาติ “สุเทพ-หมอวรงค์” ก็ลัทธิชิงชาติ." มติชนสุดสัปดาห์ออนไลน์. (24 ธันวาคม 2562). เข้าถึงจาก

         <https://www.matichonweekly.com/column/article_258126>. เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2563.

"‘ไอติม’ โต้วาทกรรม ‘ชังชาติ’ ลั่นชาติไม่ใช่ 'กองทัพ-รัฐบาล'." กรุงเทพธุรกิจออนไลน์. (6 สิงหาคม 2563). เข้าถึงจาก <https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/892559>. เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2563.

 

อ้างอิง

[1] เกษียร เตชะพีระ, "ทำไมประเทศกูถึงมี “ลัทธิชังชาติ”," สัมภาษณ์โดย ทวีศักดิ์ เกิดโภคา และกาญจนพงค์ รินสินธุ์, ประชาไท, (10 พฤศจิกายน 2561). เข้าถึงจาก <https://prachatai.com/journal/2018/11/79551>. เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2563.

[2] "สงครามต่างลัทธิ! กล่าวหา “ธนาธร” ลัทธิชังชาติ “สุเทพ-หมอวรงค์” ก็ลัทธิชิงชาติ," มติชนสุดสัปดาห์ออนไลน์, (24 ธันวาคม 2562). เข้าถึงจาก <https://www.matichonweekly.com/column/article_258126>. เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2563.

[3] "สงครามต่างลัทธิ! กล่าวหา “ธนาธร” ลัทธิชังชาติ “สุเทพ-หมอวรงค์” ก็ลัทธิชิงชาติ," มติชนสุดสัปดาห์ออนไลน์, (24 ธันวาคม 2562). เข้าถึงจาก <https://www.matichonweekly.com/column/article_258126>. เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2563.

[4] "ชังชาติคืออะไร? วิจารณ์รัฐบาลเรียกชังชาติไหม? เมื่อนักการเมืองสองวัยมองชังชาติต่างกัน," The Matter, (19 ธันวาคม 2562). เข้าถึงจาก <https://thematter.co/social/left-right-national-critics-view/94942>. เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2563.

[5] "มือปราบลัทธิชังชาติ “หมอวรงค์” ชี้เปรี้ยง 5 สิ่งเลวร้ายปลูกฝังประชาชน," ผู้จัดการออนไลน์, (25 พฤษจิกายน 2562). เข้าถึงจาก <https://mgronline.com/politics/detail/9620000113029>. เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2563.

[6] "สงครามต่างลัทธิ! กล่าวหา “ธนาธร” ลัทธิชังชาติ “สุเทพ-หมอวรงค์” ก็ลัทธิชิงชาติ," มติชนสุดสัปดาห์ออนไลน์, (24 ธันวาคม 2562). เข้าถึงจาก <https://www.matichonweekly.com/column/article_258126>. เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2563.

[7] "บิ๊กแดง มาแล้ว! สอนรุ่นน้อง เป็นโควิดหายได้ แต่โรคชังชาติรักษาไม่หาย," ข่าวสดออนไลน์, (5 สิงหาคม 2563). เข้าถึงจาก <https://www.khaosod.co.th/politics/news_4647079>. เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2563.

[8] "ก้าวไกล ซัดกลับบิ๊กแดง ชังชาติ คือ โรคที่ผู้บ้าอำนาจเป็นแล้วไม่มีวันหาย," ข่าวสดออนไลน์, (5 สิงหาคม 2563). เข้าถึงจาก <https://www.khaosod.co.th/politics/news_4650397>. เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2563.

[9] "ก้าวไกล ซัดกลับบิ๊กแดง ชังชาติ คือ โรคที่ผู้บ้าอำนาจเป็นแล้วไม่มีวันหาย," ข่าวสดออนไลน์, (5 สิงหาคม 2563). เข้าถึงจาก <https://www.khaosod.co.th/politics/news_4650397>. เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2563.

[10] "รุมจวก บิ๊กแดง พูดเรื่องชังชาติ ซัดไร้มารยาท-เห็นคนรุ่นใหม่เป็นศัตรู," ข่าวสดออนไลน์, (5 สิงหาคม 2563). เข้าถึงจาก <https://www.khaosod.co.th/politics/news_4646922>. เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2563.

[11] "รุมจวก บิ๊กแดง พูดเรื่องชังชาติ ซัดไร้มารยาท-เห็นคนรุ่นใหม่เป็นศัตรู," ข่าวสดออนไลน์, (5 สิงหาคม 2563). เข้าถึงจาก <https://www.khaosod.co.th/politics/news_4646922>. เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2563.

[12] ธนกร วงษ์ปัญญา, "หมอวรงค์ นำไทยภักดีประกาศจุดยืน หวั่นลูกหลานเป็น ‘ยุวชนชังชาติ’ เรียกร้องมหาวิทยาลัยปิดพื้นที่นักวิชาการชังชาติ ขอนักการเมืองปฏิรูปตัวเอง," The Standard, (31 สิงหาคม 2563). เข้าถึงจาก <https://thestandard.co/thai-pakdee-group-rally-310863/>. เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2563.

[13] "เข้าใจตามนี้นะ!'ดร.เสรี'เฉลยใครคือพวก'ชังชาติ'," ไทยโพสต์ออนไลน์, (7 สิงหาคม 2562). เข้าถึงจาก <https://www.thaipost.net/main/detail/73677>. เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2563.

[14] "ชังชาติคืออะไร? วิจารณ์รัฐบาลเรียกชังชาติไหม? เมื่อนักการเมืองสองวัยมองชังชาติต่างกัน," The Matter, (19 ธันวาคม 2562). เข้าถึงจาก <https://thematter.co/social/left-right-national-critics-view/94942>. เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2563.

[15] "‘ไอติม’ โต้วาทกรรม ‘ชังชาติ’ ลั่นชาติไม่ใช่ 'กองทัพ-รัฐบาล'," กรุงเทพธุรกิจออนไลน์, (6 สิงหาคม 2563). เข้าถึงจาก <https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/892559>. เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2563.

[16] เกษียร เตชะพีระ, "ทำไมประเทศกูถึงมี “ลัทธิชังชาติ”," สัมภาษณ์โดย ทวีศักดิ์ เกิดโภคา และกาญจนพงค์ รินสินธุ์, ประชาไท, (10 พฤศจิกายน 2561). เข้าถึงจาก <https://prachatai.com/journal/2018/11/79551>. เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2563.