ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ"
สร้างหน้าด้วย " ผู้เรียบเรียง รองศาสตราจารย์ ดร.อรรถสิทธิ์ พานแก้ว ผู..." |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 30: | บรรทัดที่ 30: | ||
การก่อตั้งพรรค พลังประชารัฐเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2561 ถือเป็นการส่งสัญญาณว่ากำลังจะมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเวลาอันใกล้ ไม่เพียงเพราะว่าพรรคพลังประชารัฐถูกมองในฐานะที่เป็นพรรคการเมืองสืบทอดอำนาจของรัฐบาล คสช. เท่านั้น หากยังเกิดปรากฏการณ์ “เลือดไหล” หรือ สมาชิกของพรรคการเมืองที่ต่อต้านรัฐบาล โดยเฉพาะพรรคเพื่อไทย ได้ย้ายขั้วไปสังกัดพรรคพลังประชารัฐอย่างต่อเนื่อง[[#_ftn8|[8]]] เมื่อถึงช่วงปลายปี 2561 ซึ่งรัฐบาล คสช. ได้ทุ่มวงเงินอนุมัติดำเนินโครงการลงไปในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐประมาณ 81,979 ล้านบาท จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจแต่อย่างใดที่พรรคการเมืองและกลุ่มการเมืองฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลจะมองว่านี่คือแผนการ “ประชานิยมแบบทหาร” ซึ่งอาศัยกลไกของรัฐเอาใจประชาชนผู้มีรายได้น้อยและหวังที่จะแปลเปลี่ยนให้เป็นคะแนนเสียงเมื่อถึงเวลาจะให้มีการเลือกตั้ง นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ขณะนั้น ได้วิจารณ์นโยบายนี้อย่างตรงไปตรงมาว่า | การก่อตั้งพรรค พลังประชารัฐเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2561 ถือเป็นการส่งสัญญาณว่ากำลังจะมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเวลาอันใกล้ ไม่เพียงเพราะว่าพรรคพลังประชารัฐถูกมองในฐานะที่เป็นพรรคการเมืองสืบทอดอำนาจของรัฐบาล คสช. เท่านั้น หากยังเกิดปรากฏการณ์ “เลือดไหล” หรือ สมาชิกของพรรคการเมืองที่ต่อต้านรัฐบาล โดยเฉพาะพรรคเพื่อไทย ได้ย้ายขั้วไปสังกัดพรรคพลังประชารัฐอย่างต่อเนื่อง[[#_ftn8|[8]]] เมื่อถึงช่วงปลายปี 2561 ซึ่งรัฐบาล คสช. ได้ทุ่มวงเงินอนุมัติดำเนินโครงการลงไปในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐประมาณ 81,979 ล้านบาท จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจแต่อย่างใดที่พรรคการเมืองและกลุ่มการเมืองฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลจะมองว่านี่คือแผนการ “ประชานิยมแบบทหาร” ซึ่งอาศัยกลไกของรัฐเอาใจประชาชนผู้มีรายได้น้อยและหวังที่จะแปลเปลี่ยนให้เป็นคะแนนเสียงเมื่อถึงเวลาจะให้มีการเลือกตั้ง นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ขณะนั้น ได้วิจารณ์นโยบายนี้อย่างตรงไปตรงมาว่า | ||
''...เป็นบัตรที่ทำให้ประชาชนสับสนและเอื้อประโยชน์ให้กับบางพรรคการเมืองนี่สะท้อนให้เห็นอะไรหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความต้องการจะเอาชนะของผู้มีอำนาจรัฐ ทำทุกวิถีทางไม่ให้เกิดการเสียของเหมือนเมื่อครั้งรัฐประหาร ''''19 กันยาฯ พอกลับมาเลือกตั้งแล้วก็ยังพ่ายแพ้ พรรคอนาคตใหม่มีความกังวลว่านี่อาจเป็นการเลือกตั้งที่สกปรกที่สุดในประวัติศาสตร์''[[#_ftn9|[9]]] | ''...เป็นบัตรที่ทำให้ประชาชนสับสนและเอื้อประโยชน์ให้กับบางพรรคการเมืองนี่สะท้อนให้เห็นอะไรหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความต้องการจะเอาชนะของผู้มีอำนาจรัฐ ทำทุกวิถีทางไม่ให้เกิดการเสียของเหมือนเมื่อครั้งรัฐประหาร ''''19 กันยาฯ พอกลับมาเลือกตั้งแล้วก็ยังพ่ายแพ้ พรรคอนาคตใหม่มีความกังวลว่านี่อาจเป็นการเลือกตั้งที่สกปรกที่สุดในประวัติศาสตร์'''''<b>[[#_ftn9|[9]]]</b> | ||
| | ||
บรรทัดที่ 36: | บรรทัดที่ 36: | ||
นอกจากนั้นแล้ว มาตรการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ยังถูก วิพากษ์วิจารณ์ว่า ก่อให้เกิดการสูญเสียงบประมาณมหาศาล โดยไม่ก่อให้เกิดความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจของประเทศอย่างแท้จริง เพราะแม้ดูเหมือน ว่าเม็ดเงินที่ใส่ลงไปในบัตรจะถูกกระจายไปสู่ประชาชนผู้มีรายได้น้อยซึ่งต้องนำไปจับจ่ายใช้สอยอย่างร้านค้าของผู้ประกอบการรายย่อยก็ตาม แต่ท้ายที่สุดแล้วเม็ดเงินจำนวนมหาศาลก็จะไปกระจุกตัวอยู่ที่นายทุนรายใหญ่ไม่กี่ราย จึงเท่ากับเป็นการช่วย “เจ้าสัว” มากกว่าที่จะช่วยคนจน ตามเป้าหมายการดำเนินการของโครงการที่ได้ชี้แจงไว้แก่สาธารณชน[[#_ftn10|[10]]] อย่างไรก็ตาม ภายหลังการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2562 และพรรคพลังประชารัฐเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล โดยมีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการแถลงยืนยันว่ามาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ยังคงเป็นนโยบายหลักของรัฐบาล[[#_ftn11|[11]]] | นอกจากนั้นแล้ว มาตรการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ยังถูก วิพากษ์วิจารณ์ว่า ก่อให้เกิดการสูญเสียงบประมาณมหาศาล โดยไม่ก่อให้เกิดความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจของประเทศอย่างแท้จริง เพราะแม้ดูเหมือน ว่าเม็ดเงินที่ใส่ลงไปในบัตรจะถูกกระจายไปสู่ประชาชนผู้มีรายได้น้อยซึ่งต้องนำไปจับจ่ายใช้สอยอย่างร้านค้าของผู้ประกอบการรายย่อยก็ตาม แต่ท้ายที่สุดแล้วเม็ดเงินจำนวนมหาศาลก็จะไปกระจุกตัวอยู่ที่นายทุนรายใหญ่ไม่กี่ราย จึงเท่ากับเป็นการช่วย “เจ้าสัว” มากกว่าที่จะช่วยคนจน ตามเป้าหมายการดำเนินการของโครงการที่ได้ชี้แจงไว้แก่สาธารณชน[[#_ftn10|[10]]] อย่างไรก็ตาม ภายหลังการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2562 และพรรคพลังประชารัฐเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล โดยมีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการแถลงยืนยันว่ามาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ยังคงเป็นนโยบายหลักของรัฐบาล[[#_ftn11|[11]]] | ||
ทั้งนี้ คำวิจารณ์ที่มีต่อความไม่คุ้มค่าของบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการประชารัฐสวัสดิการ ภายใต้การดำเนินงานของรัฐบาล คสช. นั้น สอดคล้องกับผลการตรวจสอบของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ที่ได้เปิดเผยเมื่อต้นปี 2563 โดยมีประเด็น ดังนี้[[#_ftn12|[12]]] ''ประการแรก'' การจัดทำฐานข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย (ซึ่งก็คือ ผู้มีรายได้น้อย) ยังไม่ครอบคลุมกว้างขวางเพียงพอ ทั้งยังมีความคลาดเคลื่อนและไม่เป็นปัจจุบัน ส่งผลให้ผู้ที่ไม่ได้มีรายได้น้อยกลับได้รับความช่วยเหลือ ทำให้การใช้จ่ายงบประมาณเกิดความไม่คุ้มค่าไปไม่น้อยกว่า 2,000 ล้านบาท ขณะเดียวกัน ผู้ที่มีรายได้น้อย หรือ คนที่อยู่ในสภาวะยากจน กลับต้องเสียโอกาสที่จะได้รับความช่วยเหลือ จึงแสดงให้เห็นว่าโครงการฯ ไม่ได้บรรลุผลสำเร็จตามเจตนารมณ์ที่ตั้งไว้ ''ประการที่สอง'' การพัฒนาคุณภาพชีวิตประชากรยากจนโดยมีแรงจูงใจในการเพิ่มวงเงินนั้น กลุ่มเป้าหมายไม่ได้เข้าฝึกอบรมพัฒนาทักษะอาชีพภายในระยะเวลาที่กำหนด (ธันวาคม 2561) ทำให้การจัดอบรมสำหรับผู้ที่ต้องการจะเข้าร่วมอย่างแท้จริงต้องชะลอออกไป และยังปรากฏผู้ที่ไม่อยู่ในกลุ่มเป้าหมายแต่ต้องการเข้าร่วมอบรมจำนวนมาก ในแง่นี้ รัฐจึงต้องจ่ายงบประมาณอย่างไม่คุ้มค่าไปไม่น้อยกว่า 32,000 ล้านบาท ที่สำคัญ ก็คือ รัฐไม่สามารถใช้ข้อมูลที่มีอยู่เพื่อลดความเหลื่อมล้ำได้ตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ''ประการที่สาม'' การช่วยเหลือผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐบางรายการยังไม่ก่อให้เกิดประโยชน์และยังเพิ่มความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงด้วย เช่น การเข้าถึงไฟฟ้า ประปา รถไฟ และรถ บขส. เป็นต้น นี่ยังไม่กล่าวถึง สินค้าอุปโภคบริโภคในร้านค้าธงฟ้าประชารัฐ ซึ่งมีราคาไม่แตกต่างจากท้องตลาด จึงไม่สามารถลดค่าครองชีพของประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้ | ทั้งนี้ คำวิจารณ์ที่มีต่อความไม่คุ้มค่าของบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการประชารัฐสวัสดิการ ภายใต้การดำเนินงานของรัฐบาล คสช. นั้น สอดคล้องกับผลการตรวจสอบของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ที่ได้เปิดเผยเมื่อต้นปี 2563 โดยมีประเด็น ดังนี้[[#_ftn12|[12]]] | ||
'' ประการแรก'' การจัดทำฐานข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย (ซึ่งก็คือ ผู้มีรายได้น้อย) ยังไม่ครอบคลุมกว้างขวางเพียงพอ ทั้งยังมีความคลาดเคลื่อนและไม่เป็นปัจจุบัน ส่งผลให้ผู้ที่ไม่ได้มีรายได้น้อยกลับได้รับความช่วยเหลือ ทำให้การใช้จ่ายงบประมาณเกิดความไม่คุ้มค่าไปไม่น้อยกว่า 2,000 ล้านบาท ขณะเดียวกัน ผู้ที่มีรายได้น้อย หรือ คนที่อยู่ในสภาวะยากจน กลับต้องเสียโอกาสที่จะได้รับความช่วยเหลือ จึงแสดงให้เห็นว่าโครงการฯ ไม่ได้บรรลุผลสำเร็จตามเจตนารมณ์ที่ตั้งไว้ | |||
'' ประการที่สอง'' การพัฒนาคุณภาพชีวิตประชากรยากจนโดยมีแรงจูงใจในการเพิ่มวงเงินนั้น กลุ่มเป้าหมายไม่ได้เข้าฝึกอบรมพัฒนาทักษะอาชีพภายในระยะเวลาที่กำหนด (ธันวาคม 2561) ทำให้การจัดอบรมสำหรับผู้ที่ต้องการจะเข้าร่วมอย่างแท้จริงต้องชะลอออกไป และยังปรากฏผู้ที่ไม่อยู่ในกลุ่มเป้าหมายแต่ต้องการเข้าร่วมอบรมจำนวนมาก ในแง่นี้ รัฐจึงต้องจ่ายงบประมาณอย่างไม่คุ้มค่าไปไม่น้อยกว่า 32,000 ล้านบาท ที่สำคัญ ก็คือ รัฐไม่สามารถใช้ข้อมูลที่มีอยู่เพื่อลดความเหลื่อมล้ำได้ตามวัตถุประสงค์ของโครงการ | |||
'' ประการที่สาม'' การช่วยเหลือผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐบางรายการยังไม่ก่อให้เกิดประโยชน์และยังเพิ่มความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงด้วย เช่น การเข้าถึงไฟฟ้า ประปา รถไฟ และรถ บขส. เป็นต้น นี่ยังไม่กล่าวถึง สินค้าอุปโภคบริโภคในร้านค้าธงฟ้าประชารัฐ ซึ่งมีราคาไม่แตกต่างจากท้องตลาด จึงไม่สามารถลดค่าครองชีพของประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้ | |||
ด้วยเหตุนี้ สตง. จึงเสนอให้มีการปรับปรุงระบบจัดเก็บข้อมูลเชิงลึกให้ถูกต้องถ้วนและเป็นปัจจุบัน มีระบบอุทธรณ์สิทธิ์ให้แก่ประชาชนและผู้มีข้อจำกัดในการเข้าถึงกระบวนการของรัฐ ทำการประชาสัมพันธ์ให้แก่หน่วยงานประชาชนและสังคมวงกว้าง พร้อมทั้งมีการทบทวนติดตามการดำเนินงานให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล[[#_ftn13|[13]]] | ด้วยเหตุนี้ สตง. จึงเสนอให้มีการปรับปรุงระบบจัดเก็บข้อมูลเชิงลึกให้ถูกต้องถ้วนและเป็นปัจจุบัน มีระบบอุทธรณ์สิทธิ์ให้แก่ประชาชนและผู้มีข้อจำกัดในการเข้าถึงกระบวนการของรัฐ ทำการประชาสัมพันธ์ให้แก่หน่วยงานประชาชนและสังคมวงกว้าง พร้อมทั้งมีการทบทวนติดตามการดำเนินงานให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล[[#_ftn13|[13]]] | ||
บรรทัดที่ 42: | บรรทัดที่ 48: | ||
| | ||
'''นัยสำคัญต่อการเมืองไทย : ความท้าทายของนโยบายสาธารณะ''' | '''นัยสำคัญต่อการเมืองไทย : ความท้าทายของนโยบายสาธารณะ''' | ||
การออกนโยบายสาธารณะจำเป็นต้องคำนึงถึงความคุ้มค่าทั้งในทางเศรษฐกิจและทางสังคมควบคู่กันไป เนื่องจากการจัดทำนโยบายและการนำนโยบายไปปฏิบัตินั้นวางอยู่บนพื้นฐานของการใช้งบประมาณสาธารณะซึ่งส่วนใหญ่แล้วมาจากภาษีของประชาชน ทั้งนี้ ความแตกต่างระหว่างนโยบายที่ให้ประโยชน์กับประชาชนกับ “นโยบายประชานิยม” (populist policy) อยู่ที่ นโยบายอย่างแรกมีเป้าหมายหลักก็เพื่อต้องการแก้ไขปัญหาหรือพัฒนายกระดับคุณภาพชีวิตของประชากรของประเทศโดยคำนึงถึงความคุ้มค่าและผลกระทบเชิงลบอย่างรอบด้านให้อยู่ในระดับที่ไม่ส่งผลเสียต่อการบริหารราชการ วินัยทางการคลัง และงบประมาณโดยรวม ขณะที่นโยบายอย่างหลังในความสำคัญไปที่การเอาใจประชาชนและมุ่งหวังที่จะแปลเปลี่ยนความพึงพอใจดังกล่าวเป็นคะแนนนิยมในการเลือกตั้ง โดยละเลยการพิจารณาประเด็นอื่นๆ อย่างรอบด้าน หรือกล่าวได้ว่า “นโยบายประชานิยม” ให้ความสำคัญความเป็นการเมืองมากกว่าผลประโยชน์ที่ตกอยู่กับประชาชนและประเทศชาติโดยรวม | การออกนโยบายสาธารณะจำเป็นต้องคำนึงถึงความคุ้มค่าทั้งในทางเศรษฐกิจและทางสังคมควบคู่กันไป เนื่องจากการจัดทำนโยบายและการนำนโยบายไปปฏิบัตินั้นวางอยู่บนพื้นฐานของการใช้งบประมาณสาธารณะซึ่งส่วนใหญ่แล้วมาจากภาษีของประชาชน ทั้งนี้ ความแตกต่างระหว่างนโยบายที่ให้ประโยชน์กับประชาชนกับ “นโยบายประชานิยม” (populist policy) อยู่ที่ นโยบายอย่างแรกมีเป้าหมายหลักก็เพื่อต้องการแก้ไขปัญหาหรือพัฒนายกระดับคุณภาพชีวิตของประชากรของประเทศโดยคำนึงถึงความคุ้มค่าและผลกระทบเชิงลบอย่างรอบด้านให้อยู่ในระดับที่ไม่ส่งผลเสียต่อการบริหารราชการ วินัยทางการคลัง และงบประมาณโดยรวม ขณะที่นโยบายอย่างหลังในความสำคัญไปที่การเอาใจประชาชนและมุ่งหวังที่จะแปลเปลี่ยนความพึงพอใจดังกล่าวเป็นคะแนนนิยมในการเลือกตั้ง โดยละเลยการพิจารณาประเด็นอื่นๆ อย่างรอบด้าน หรือกล่าวได้ว่า “นโยบายประชานิยม” ให้ความสำคัญความเป็นการเมืองมากกว่าผลประโยชน์ที่ตกอยู่กับประชาชนและประเทศชาติโดยรวม | ||
บรรทัดที่ 52: | บรรทัดที่ 58: | ||
'''บรรณานุกรม''' | '''บรรณานุกรม''' | ||
“แจกบัตรคนจนเพิ่มอีก 3 ล้านใบเริ่มใช้สิทธิต้นปีหน้า." '''มติชนออนไลน์''' (18 ธันวาคม 2561). เข้าถึงจาก <https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_1278014>. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2563. | “แจกบัตรคนจนเพิ่มอีก 3 ล้านใบเริ่มใช้สิทธิต้นปีหน้า." '''มติชนออนไลน์''' (18 ธันวาคม 2561). เข้าถึงจาก <[https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_1278014 https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_1278014]>. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2563. | ||
“บัตรคนจน ทีเด็ดเลือกตั้ง ประชานิยมฉบับทหาร." '''สยามรัฐ''' (16 ธันวาคม 2561). เข้าถึงจาก <https://siamrath.co.th/n/57105>. เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2563. | “บัตรคนจน ทีเด็ดเลือกตั้ง ประชานิยมฉบับทหาร." '''สยามรัฐ''' (16 ธันวาคม 2561). เข้าถึงจาก <[https://siamrath.co.th/n/57105 https://siamrath.co.th/n/57105]>. เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2563. | ||
""บิ๊กตู่" แถลงนโยบายชู12นโยบายหลัก-12นโยบายเร่งด่วน." '''โพสต์ทูเดย์''' (25 กรกฎาคม 2562). เข้าถึงจาก <https://www.posttoday.com/politic/news/595852>. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2563. | ""บิ๊กตู่" แถลงนโยบายชู12นโยบายหลัก-12นโยบายเร่งด่วน." '''โพสต์ทูเดย์''' (25 กรกฎาคม 2562). เข้าถึงจาก <[https://www.posttoday.com/politic/news/595852 https://www.posttoday.com/politic/news/595852]>. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2563. | ||
““เพื่อไทย" เลือดไหลหนัก ไม่ต่ำกว่า 30 คน ซบ "พลังประชารัฐ"." '''ไทยรัฐออนไลน์ '''(27 พฤศจิกายน 2561). เข้าถึงจาก <https://www.thairath.co.th/news/politic/1431398>. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2563. | ““เพื่อไทย" เลือดไหลหนัก ไม่ต่ำกว่า 30 คน ซบ "พลังประชารัฐ"." '''ไทยรัฐออนไลน์ '''(27 พฤศจิกายน 2561). เข้าถึงจาก <[https://www.thairath.co.th/news/politic/1431398 https://www.thairath.co.th/news/politic/1431398]>. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2563. | ||
“ละลายงบ 2พันล.! ฉบับเต็ม สตง.สอบโครงการประชารัฐสวัสดิการ ยุค คสช. ลดความเหลื่อมล้ำไม่ได้." '''สำนักข่าวอิศรา''' (5 มีนาคม 2563). เข้าถึงจาก <https://www.isranews.org/isranews-scoop/86176-report-86176.html>. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2563. | “ละลายงบ 2พันล.! ฉบับเต็ม สตง.สอบโครงการประชารัฐสวัสดิการ ยุค คสช. ลดความเหลื่อมล้ำไม่ได้." '''สำนักข่าวอิศรา''' (5 มีนาคม 2563). เข้าถึงจาก <[https://www.isranews.org/isranews-scoop/86176-report-86176.html https://www.isranews.org/isranews-scoop/86176-report-86176.html]>. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2563. | ||
“‘สมคิด'โต้'เจ๊หน่อย'เจ็บ! ทำการบ้านก่อนวิจารณ์ด้วย 'บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ'ไม่ใช่'บัตรคนจน'." '''แนวหน้าออนไลน์''' (17 ตุลาคม 2561). เข้าถึงจาก <https://www.naewna.com/politic/370918?fb_comment_id= 1609429355827982_1609470565823861>. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2563. | “‘สมคิด'โต้'เจ๊หน่อย'เจ็บ! ทำการบ้านก่อนวิจารณ์ด้วย 'บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ'ไม่ใช่'บัตรคนจน'." '''แนวหน้าออนไลน์''' (17 ตุลาคม 2561). เข้าถึงจาก <[https://www.naewna.com/politic/370918?fb_comment_id= https://www.naewna.com/politic/370918?fb_comment_id=] 1609429355827982_1609470565823861>. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2563. | ||
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. (2561). '''วารสารไทยคู่ฟ้า''' (เมษายน – มิถุนายน). | สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. (2561). '''วารสารไทยคู่ฟ้า''' (เมษายน – มิถุนายน). | ||
สำนักพัฒนาฐานข้อมูลและตัวชี้วัดภาวะสังคม. 2560. "รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย ปี 2559." กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการสภาการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. | สำนักพัฒนาฐานข้อมูลและตัวชี้วัดภาวะสังคม. 2560. "รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย ปี 2559." กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการสภาการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. | ||
<div>อ้างอิง | <div>อ้างอิง | ||
---- | ---- | ||
<div id="ftn1"> | <div id="ftn1"> | ||
[[#_ftnref1|[1]]] "'สมคิด'โต้'เจ๊หน่อย'เจ็บ! ทำการบ้านก่อนวิจารณ์ด้วย 'บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ'ไม่ใช่'บัตรคนจน'," '''แนวหน้าออนไลน์''' (17 ตุลาคม 2561), เข้าถึงจาก<https://www.naewna.com/politic/370918?fb_comment_id<br/> =1609429355827982_1609470565823861>. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2563. | [[#_ftnref1|[1]]] "'สมคิด'โต้'เจ๊หน่อย'เจ็บ! ทำการบ้านก่อนวิจารณ์ด้วย 'บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ'ไม่ใช่'บัตรคนจน'," '''แนวหน้าออนไลน์''' (17 ตุลาคม 2561), เข้าถึงจาก<[https://www.naewna.com/politic/370918?fb_comment_id https://www.naewna.com/politic/370918?fb_comment_id]<br/> =1609429355827982_1609470565823861>. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2563. | ||
</div> <div id="ftn2"> | </div> <div id="ftn2"> | ||
[[#_ftnref2|[2]]] โปรดดูรายละเอียดใน สำนักพัฒนาฐานข้อมูลและตัวชี้วัดภาวะสังคม, "รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย ปี 2559," (กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการสภาการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2560). | [[#_ftnref2|[2]]] โปรดดูรายละเอียดใน สำนักพัฒนาฐานข้อมูลและตัวชี้วัดภาวะสังคม, "รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย ปี 2559," (กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการสภาการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2560). | ||
บรรทัดที่ 82: | บรรทัดที่ 88: | ||
[[#_ftnref6|[6]]] สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี, '''วารสารไทยคู่ฟ้า''', 13. | [[#_ftnref6|[6]]] สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี, '''วารสารไทยคู่ฟ้า''', 13. | ||
</div> <div id="ftn7"> | </div> <div id="ftn7"> | ||
[[#_ftnref7|[7]]] "แจกบัตรคนจนเพิ่มอีก 3 ล้านใบเริ่มใช้สิทธิต้นปีหน้า," '''มติชนออนไลน์''' (18 ธันวาคม 2561), เข้าถึงจาก <https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_1278014>. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2563. | [[#_ftnref7|[7]]] "แจกบัตรคนจนเพิ่มอีก 3 ล้านใบเริ่มใช้สิทธิต้นปีหน้า," '''มติชนออนไลน์''' (18 ธันวาคม 2561), เข้าถึงจาก <[https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_1278014 https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_1278014]>. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2563. | ||
</div> <div id="ftn8"> | </div> <div id="ftn8"> | ||
[[#_ftnref8|[8]]] ""เพื่อไทย" เลือดไหลหนัก ไม่ต่ำกว่า 30 คน ซบ "พลังประชารัฐ"," '''ไทยรัฐออนไลน์ '''(27 พฤศจิกายน 2561), เข้าถึงจาก <https://www.thairath.co.th/news/politic/1431398>. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2563. | [[#_ftnref8|[8]]] ""เพื่อไทย" เลือดไหลหนัก ไม่ต่ำกว่า 30 คน ซบ "พลังประชารัฐ"," '''ไทยรัฐออนไลน์ '''(27 พฤศจิกายน 2561), เข้าถึงจาก <[https://www.thairath.co.th/news/politic/1431398 https://www.thairath.co.th/news/politic/1431398]>. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2563. | ||
</div> <div id="ftn9"> | </div> <div id="ftn9"> | ||
[[#_ftnref9|[9]]] "บัตรคนจน ทีเด็ดเลือกตั้ง ประชานิยมฉบับทหาร," '''สยามรัฐ''' (16 ธันวาคม 2561), เข้าถึงจาก <https://siamrath.co.th/n/57105>. เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2563. | [[#_ftnref9|[9]]] "บัตรคนจน ทีเด็ดเลือกตั้ง ประชานิยมฉบับทหาร," '''สยามรัฐ''' (16 ธันวาคม 2561), เข้าถึงจาก <[https://siamrath.co.th/n/57105 https://siamrath.co.th/n/57105]>. เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2563. | ||
</div> <div id="ftn10"> | </div> <div id="ftn10"> | ||
[[#_ftnref10|[10]]] "บัตรคนจน ทีเด็ดเลือกตั้ง ประชานิยมฉบับทหาร," '''สยามรัฐ''' (16 ธันวาคม 2561), เข้าถึงจาก <https://siamrath.co.th/n/57105>. เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2563. | [[#_ftnref10|[10]]] "บัตรคนจน ทีเด็ดเลือกตั้ง ประชานิยมฉบับทหาร," '''สยามรัฐ''' (16 ธันวาคม 2561), เข้าถึงจาก <[https://siamrath.co.th/n/57105 https://siamrath.co.th/n/57105]>. เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2563. | ||
</div> <div id="ftn11"> | </div> <div id="ftn11"> | ||
[[#_ftnref11|[11]]] ""บิ๊กตู่" แถลงนโยบายชู12นโยบายหลัก-12นโยบายเร่งด่วน," '''โพสต์ทูเดย์''' (25 กรกฎาคม 2562), เข้าถึงจาก <https://www.posttoday.com/politic/news/595852>. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2563. | [[#_ftnref11|[11]]] ""บิ๊กตู่" แถลงนโยบายชู12นโยบายหลัก-12นโยบายเร่งด่วน," '''โพสต์ทูเดย์''' (25 กรกฎาคม 2562), เข้าถึงจาก <[https://www.posttoday.com/politic/news/595852 https://www.posttoday.com/politic/news/595852]>. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2563. | ||
</div> <div id="ftn12"> | </div> <div id="ftn12"> | ||
[[#_ftnref12|[12]]] "ละลายงบ 2พันล.! ฉบับเต็ม สตง.สอบโครงการประชารัฐสวัสดิการ ยุค คสช. ลดความเหลื่อมล้ำไม่ได้," '''สำนักข่าวอิศรา''' (5 มีนาคม 2563), เข้าถึงจาก <https://www.isranews.org/isranews-scoop/86176-report-86176.html>. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2563. | [[#_ftnref12|[12]]] "ละลายงบ 2พันล.! ฉบับเต็ม สตง.สอบโครงการประชารัฐสวัสดิการ ยุค คสช. ลดความเหลื่อมล้ำไม่ได้," '''สำนักข่าวอิศรา''' (5 มีนาคม 2563), เข้าถึงจาก <[https://www.isranews.org/isranews-scoop/86176-report-86176.html https://www.isranews.org/isranews-scoop/86176-report-86176.html]>. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2563. | ||
</div> <div id="ftn13"> | </div> <div id="ftn13"> | ||
[[#_ftnref13|[13]]] "ละลายงบ 2พันล.! ฉบับเต็ม สตง.สอบโครงการประชารัฐสวัสดิการ ยุค คสช. ลดความเหลื่อมล้ำไม่ได้," '''สำนักข่าวอิศรา''' (5 มีนาคม 2563), เข้าถึงจาก <https://www.isranews.org/isranews-scoop/86176-report-86176.html>. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2563. | [[#_ftnref13|[13]]] "ละลายงบ 2พันล.! ฉบับเต็ม สตง.สอบโครงการประชารัฐสวัสดิการ ยุค คสช. ลดความเหลื่อมล้ำไม่ได้," '''สำนักข่าวอิศรา''' (5 มีนาคม 2563), เข้าถึงจาก <[https://www.isranews.org/isranews-scoop/86176-report-86176.html https://www.isranews.org/isranews-scoop/86176-report-86176.html]>. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2563. | ||
</div> </div> | </div> </div> | ||
[[Category:เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองไทย สมัย พ.ศ. 2520-ปัจจุบัน]] |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 14:34, 20 ตุลาคม 2563
ผู้เรียบเรียง รองศาสตราจารย์ ดร.อรรถสิทธิ์ พานแก้ว
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รศ.ดร.ยุทธพร อิสรชัย
บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือ “บัตรคนจน” ภายใต้โครงการประชารัฐสวัสดิการ เป็นมาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย ซึ่งขึ้นทะเบียนไว้กับกระทรวงการคลัง ประมาณ 14.6 ล้านคน ในสมัยรัฐบาล ที่มีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) โครงการฯ เริ่มต้นดำเนินการตั้งแต่เดือนตุลาคม 2560 เป็นต้นมา ทั้งนี้ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐมีเป้าหมายเพื่อช่วยเหลือค่าครองชีพแก่ผู้มีรายได้น้อยให้พ้นจากความยากจน ในรูปแบบการให้ผู้ถือสิทธิตามบัตร สามารถใช้เพื่อลดหย่อนค่าสินค้าอุปโภคบริโภค บริการ และค่าเดินทาง อย่างไรก็ตาม เมื่อ มาตราการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ได้รับการตรวจสอบจากสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ในปี 2563 กลับพบว่าทำให้สูญเสียงบประมาณแผ่นดินจำนวนมากโดยไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง ทั้งยังถูกกระแสวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็น “นโยบายประชานิยม” ที่รัฐบาลยุค คสช. ต้องการดึงคะแนนความนิยมจากประชาชนเพื่อเตรียมการ “สืบทอดอำนาจ” ก่อนที่จะจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป หลังจากว่างเว้นมาเป็นระยะเวลาเกือบ 5 ปี
“บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ” แก้โจทย์ความยากจน
บัตรนี้มีประโยชน์ เพราะช่วยคนยากไร้ คนแก่ เราดูแลไม่ให้มีการรั่วไหล มีการตรวจสอบคุณสมบัติของคนที่มีบัตร ว่ายากไร้จริงหรือไม่ ไม่มีใครเขาเรียกบัตรคนจน ...หาข้อมูลหน่อยนะครับ ทำการบ้านหน่อยนะ ถ้าจะทำ ก็พยายามทำให้ดีกว่าบัตรสวัสดิการแห่งรัฐด้วย[1]
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์
รองนายกรัฐมนตรี
17 ตุลาคม 2561
ความยากจน (poverty) และความเหลื่อมล้ำ (inequality) เป็นปัญหาเรื้อรังของประเทศกำลังพัฒนาทั่วโลก ไม่เว้นแม้แต่ประเทศไทยความยากจนและความเหลื่อมล้ำเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมมาอย่างยาวนาน ถึงแม้ว่า รายงานประจำปี 2559 ของสำนักงานคณะกรรมการสภาการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จะระบุว่า ตลอดสามทศวรรษที่ผ่านมา ภาพรวมความยากจนในภายประเทศไทยมีแนวโน้มที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องจากร้อยละ 65.17 ในปี 2531 เหลือร้อยละ 8.6 ในปี 2559 หรือคิดเป็นประชากรยากจนจำนวน 5.81 ล้านคน และเมื่อรวมกับ "คนเกือบจน" พบว่ามีจำนวนทั้งสิ้น 11.6 ล้านคน หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 17.2 ของประชากรประเทศ ทว่าในจำนวนนี้ยังมีประชากรยากจนเรื้อรัง (chronic poverty) (คิดเป็นร้อยละ 2.88) อันเป็นกลุ่มที่มีโอกาสหลุดพ้นจากความยากจนได้ยากที่สุด จึงมีความจำเป็นต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาให้เกิดการเข้าถึงสวัสดิการและบริการพื้นฐานของรัฐให้ครอบคลุมทั่วถึง ทั้งยังเปิดโอกาสให้เกิดการกระจายรายได้อย่างเท่าเทียมมากยิ่งขึ้นเพื่อลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำได้อย่างเกิดประสิทธิผล[2]
รัฐบาลจึงมีแนวคิดเบื้องต้นในอันที่จะโอนเงินสวัสดิการของรัฐเข้าสู่บัญชีผู้มีรายได้น้อยผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ แต่ก็ต้องเผชิญกับข้อจำกัดด้านข้อมูลที่ซ้ำซ้อนและไม่ทันสมัย กระทรวงการคลังจึงเริ่มเปิดให้มีการลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อยครั้งแรกในปี 2559 ซึ่งพบว่ามีผู้มาลงทะเบียนประมาณ 8 ล้านคน ต่อมาเมื่อถึงกลางปี 2560 มีการเปิดลงทะเบียนเพิ่มเติมระหว่างวันที่ 3 เมษายน - 15 พฤษภาคม 2560 เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการจัดสวัสดิการสังคมและบริการภาครัฐ จนเพิ่มขึ้นเป็น 14 ล้านคน แต่เมื่อตรวจสอบคุณสมบัติแล้วพบว่ามีผู้ที่ผ่านเกณฑ์คุณสมบัติทั้งหมด 11.4 ล้านคน[3] สำหรับเกณฑ์คุณสมบัติที่กระทรวงการคลังใช้ในการพิจารณาผู้ลงทะเบียนนั้น ได้แบ่งประชากรออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มประชากรอยากจน ซึ่งมีรายได้ต่ำกว่า 30,000 บาทต่อปี หรือมีรายได้ประมาณ 2,000 กว่าบาทต่อเดือน และกลุ่มผู้มีรายได้น้อย ซึ่งมีรายได้ต่ำกว่า 100,000 บาทต่อปี หรือมีรายได้ 6,000-7,000 บาทต่อเดือน ทั้งนี้ นายพรชัย ฐีระเวช ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะรองโฆษกกระทรวงการคลัง ได้สัมภาษณ์ว่า “บัตรสวัสดิการแห่งรัฐจึงเกิดขึ้นมารองรับกับข้อมูลปัจจุบัน และยังเป็นการแสดงตัวตนได้ด้วยว่าเป็นตัวจริง เป็นผู้ที่ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติมาแล้ว เพื่อที่การโอนเงินสวัสดิการจะได้มีประสิทธิภาพ คือจ่ายตรงให้กับผู้ที่มีสิทธิจริงๆ ทำให้ต้องมีการจัดลงทะเบียนเกิดขึ้น”[4]
สำหรับมาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยระยะแรกนั้น รัฐบาลได้ใส่เงินเข้าไปในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โดยผู้มีรายได้ต่ำกว่า 30,000 บาทต่อปี จะได้รับเงิน 300 บาทต่อเดือน ขณะที่ผู้มีรายได้ 30,001-100,000 บาทต่อปี จะได้รับเงิน 200 บาทต่อเดือน เพื่อนำไปซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นที่ร้าน "ธงฟ้าประชารัฐ" หรือร้านค้าอื่นๆ ที่กระทรวงพาณิชย์กำหนด ทั้งสองกลุ่มจะได้รับส่วนลดค่าซื้อแก๊สหุงต้มคนละ 45 บาทต่อ 3 เดือน ทั้งยังได้รับส่วนลดค่าเดินทางในขนส่งมวลชนสาธารณะ ได้แก่ ค่ารถเมล์รถไฟฟ้า เดือนละ 500 บาท ค่าไฟ เดือนละ 500 บาท และค่ารถ บขส. เดือนละ 500 บาท[5] ต่อมาวันที่ 9 มกราคม 2561 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ได้มีมติเห็นชอบมาตรการช่วยเหลือระยะที่ 2 (มีนาคม ถึง ธันวาคม 2561) เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตแก่ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนางานและทักษะอาชีพ ทั้งนี้ รัฐบาลจึงได้พัฒนาระบบที่เรียกว่า "ผู้ดูแลผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ" (Account Officer: AO) ซึ่งมีคณะทำงานพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐประจำอำเภอ หรือ "ทีมหมอประชารัฐสุขใจ" คอยเก็บรวบรวมข้อมูลผู้ประสงค์จะฝึกฝนทักษะอาชีพและจัดสรรตำแหน่งงานให้ตรงกับความสนใจของผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ พร้อมกับเพิ่มเงินในบัตรจาก 300 บาท เป็น 500 บาท แก่ผู้มีรายได้ต่ำกว่า 30,000 บาทต่อปี และจาก 200 บาท เป็น 300 บาท สำหรับผู้มีรายได้ 30,001-100,000 บาทต่อปี หากไม่ทำตามสัญญาก็จะยุติการเพิ่มเงินผ่านบัตร และจะหักเงินส่วนที่เพิ่มไปแล้วจากยอดที่ได้รับปกติ[6]
กระทั่งปลายปี 2561 ซึ่งเกิดกระแสเรียกร้องกดดันรัฐบาล คสช. ให้มีการจัดการเลือกตั้งขึ้นภายหลังจากว่างเว้นมาเกือบ 5 ปี ในช่วงเวลานี้เองที่รัฐบาลได้ประกาศมาตรการขยายสิทธิผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐให้แก่กลุ่มผู้พิการ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง ที่ไม่สามารถเดินทางมาลงทะเบียนในครั้งแรกได้ ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐจึงเพิ่มขึ้นจาก 11.4 ล้านคน เป็น 14.5 ล้านคน พร้อมทั้งเพิ่มการช่วยเหลือในหลายประการผ่านการใช้สิทธิใน 2 ประเภท อันได้แก่ 1) สิทธิในกระเป๋าวงเงิน ซึ่งเป็นวงเงินสำหรับอุปโภคบริโภค เงินส่วนลดแก๊สหุงต้ม และเงินค่าเดินทางขนส่งสาธารณะในวงเงินเท่ากับที่เคยดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2560 และ 2) สิทธิในกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Money) ซึ่งมีตั้งแต่การมอบเงินสนับสนุนค่าใช้จ่ายช่วงปีใหม่ 2562 คนละ 500 บาท (จ่ายครั้งเดียว) เงินช่วยเหลือภาระค่าไฟฟ้าไม่เกิน 230 บาท/ครัวเรือน/เดือน และค่าน้ำประปาไม่เกิน 100 บาทต่อครัวเรือนต่อเดือน สำหรับผู้สูงอายุนั้น ผู้มีสิทธิจะได้รับเงินสงเคราะห์เพื่อยังชีพ เงินช่วยเหลือด้านค่าเช่าบ้าน เงินช่วยเหลือค่าเดินทางไปรับการรักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายอื่นเกี่ยวกับสุขภาพ เป็นต้น[7]
“ประชานิยมแบบทหาร” กับการติดตามตรวจสอบ “บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ”
การก่อตั้งพรรค พลังประชารัฐเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2561 ถือเป็นการส่งสัญญาณว่ากำลังจะมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเวลาอันใกล้ ไม่เพียงเพราะว่าพรรคพลังประชารัฐถูกมองในฐานะที่เป็นพรรคการเมืองสืบทอดอำนาจของรัฐบาล คสช. เท่านั้น หากยังเกิดปรากฏการณ์ “เลือดไหล” หรือ สมาชิกของพรรคการเมืองที่ต่อต้านรัฐบาล โดยเฉพาะพรรคเพื่อไทย ได้ย้ายขั้วไปสังกัดพรรคพลังประชารัฐอย่างต่อเนื่อง[8] เมื่อถึงช่วงปลายปี 2561 ซึ่งรัฐบาล คสช. ได้ทุ่มวงเงินอนุมัติดำเนินโครงการลงไปในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐประมาณ 81,979 ล้านบาท จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจแต่อย่างใดที่พรรคการเมืองและกลุ่มการเมืองฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลจะมองว่านี่คือแผนการ “ประชานิยมแบบทหาร” ซึ่งอาศัยกลไกของรัฐเอาใจประชาชนผู้มีรายได้น้อยและหวังที่จะแปลเปลี่ยนให้เป็นคะแนนเสียงเมื่อถึงเวลาจะให้มีการเลือกตั้ง นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ขณะนั้น ได้วิจารณ์นโยบายนี้อย่างตรงไปตรงมาว่า
...เป็นบัตรที่ทำให้ประชาชนสับสนและเอื้อประโยชน์ให้กับบางพรรคการเมืองนี่สะท้อนให้เห็นอะไรหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความต้องการจะเอาชนะของผู้มีอำนาจรัฐ ทำทุกวิถีทางไม่ให้เกิดการเสียของเหมือนเมื่อครั้งรัฐประหาร '19 กันยาฯ พอกลับมาเลือกตั้งแล้วก็ยังพ่ายแพ้ พรรคอนาคตใหม่มีความกังวลว่านี่อาจเป็นการเลือกตั้งที่สกปรกที่สุดในประวัติศาสตร์[9]
นอกจากนั้นแล้ว มาตรการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ยังถูก วิพากษ์วิจารณ์ว่า ก่อให้เกิดการสูญเสียงบประมาณมหาศาล โดยไม่ก่อให้เกิดความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจของประเทศอย่างแท้จริง เพราะแม้ดูเหมือน ว่าเม็ดเงินที่ใส่ลงไปในบัตรจะถูกกระจายไปสู่ประชาชนผู้มีรายได้น้อยซึ่งต้องนำไปจับจ่ายใช้สอยอย่างร้านค้าของผู้ประกอบการรายย่อยก็ตาม แต่ท้ายที่สุดแล้วเม็ดเงินจำนวนมหาศาลก็จะไปกระจุกตัวอยู่ที่นายทุนรายใหญ่ไม่กี่ราย จึงเท่ากับเป็นการช่วย “เจ้าสัว” มากกว่าที่จะช่วยคนจน ตามเป้าหมายการดำเนินการของโครงการที่ได้ชี้แจงไว้แก่สาธารณชน[10] อย่างไรก็ตาม ภายหลังการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2562 และพรรคพลังประชารัฐเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล โดยมีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการแถลงยืนยันว่ามาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ยังคงเป็นนโยบายหลักของรัฐบาล[11]
ทั้งนี้ คำวิจารณ์ที่มีต่อความไม่คุ้มค่าของบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการประชารัฐสวัสดิการ ภายใต้การดำเนินงานของรัฐบาล คสช. นั้น สอดคล้องกับผลการตรวจสอบของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ที่ได้เปิดเผยเมื่อต้นปี 2563 โดยมีประเด็น ดังนี้[12]
ประการแรก การจัดทำฐานข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย (ซึ่งก็คือ ผู้มีรายได้น้อย) ยังไม่ครอบคลุมกว้างขวางเพียงพอ ทั้งยังมีความคลาดเคลื่อนและไม่เป็นปัจจุบัน ส่งผลให้ผู้ที่ไม่ได้มีรายได้น้อยกลับได้รับความช่วยเหลือ ทำให้การใช้จ่ายงบประมาณเกิดความไม่คุ้มค่าไปไม่น้อยกว่า 2,000 ล้านบาท ขณะเดียวกัน ผู้ที่มีรายได้น้อย หรือ คนที่อยู่ในสภาวะยากจน กลับต้องเสียโอกาสที่จะได้รับความช่วยเหลือ จึงแสดงให้เห็นว่าโครงการฯ ไม่ได้บรรลุผลสำเร็จตามเจตนารมณ์ที่ตั้งไว้
ประการที่สอง การพัฒนาคุณภาพชีวิตประชากรยากจนโดยมีแรงจูงใจในการเพิ่มวงเงินนั้น กลุ่มเป้าหมายไม่ได้เข้าฝึกอบรมพัฒนาทักษะอาชีพภายในระยะเวลาที่กำหนด (ธันวาคม 2561) ทำให้การจัดอบรมสำหรับผู้ที่ต้องการจะเข้าร่วมอย่างแท้จริงต้องชะลอออกไป และยังปรากฏผู้ที่ไม่อยู่ในกลุ่มเป้าหมายแต่ต้องการเข้าร่วมอบรมจำนวนมาก ในแง่นี้ รัฐจึงต้องจ่ายงบประมาณอย่างไม่คุ้มค่าไปไม่น้อยกว่า 32,000 ล้านบาท ที่สำคัญ ก็คือ รัฐไม่สามารถใช้ข้อมูลที่มีอยู่เพื่อลดความเหลื่อมล้ำได้ตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประการที่สาม การช่วยเหลือผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐบางรายการยังไม่ก่อให้เกิดประโยชน์และยังเพิ่มความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงด้วย เช่น การเข้าถึงไฟฟ้า ประปา รถไฟ และรถ บขส. เป็นต้น นี่ยังไม่กล่าวถึง สินค้าอุปโภคบริโภคในร้านค้าธงฟ้าประชารัฐ ซึ่งมีราคาไม่แตกต่างจากท้องตลาด จึงไม่สามารถลดค่าครองชีพของประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้
ด้วยเหตุนี้ สตง. จึงเสนอให้มีการปรับปรุงระบบจัดเก็บข้อมูลเชิงลึกให้ถูกต้องถ้วนและเป็นปัจจุบัน มีระบบอุทธรณ์สิทธิ์ให้แก่ประชาชนและผู้มีข้อจำกัดในการเข้าถึงกระบวนการของรัฐ ทำการประชาสัมพันธ์ให้แก่หน่วยงานประชาชนและสังคมวงกว้าง พร้อมทั้งมีการทบทวนติดตามการดำเนินงานให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล[13]
นัยสำคัญต่อการเมืองไทย : ความท้าทายของนโยบายสาธารณะ
การออกนโยบายสาธารณะจำเป็นต้องคำนึงถึงความคุ้มค่าทั้งในทางเศรษฐกิจและทางสังคมควบคู่กันไป เนื่องจากการจัดทำนโยบายและการนำนโยบายไปปฏิบัตินั้นวางอยู่บนพื้นฐานของการใช้งบประมาณสาธารณะซึ่งส่วนใหญ่แล้วมาจากภาษีของประชาชน ทั้งนี้ ความแตกต่างระหว่างนโยบายที่ให้ประโยชน์กับประชาชนกับ “นโยบายประชานิยม” (populist policy) อยู่ที่ นโยบายอย่างแรกมีเป้าหมายหลักก็เพื่อต้องการแก้ไขปัญหาหรือพัฒนายกระดับคุณภาพชีวิตของประชากรของประเทศโดยคำนึงถึงความคุ้มค่าและผลกระทบเชิงลบอย่างรอบด้านให้อยู่ในระดับที่ไม่ส่งผลเสียต่อการบริหารราชการ วินัยทางการคลัง และงบประมาณโดยรวม ขณะที่นโยบายอย่างหลังในความสำคัญไปที่การเอาใจประชาชนและมุ่งหวังที่จะแปลเปลี่ยนความพึงพอใจดังกล่าวเป็นคะแนนนิยมในการเลือกตั้ง โดยละเลยการพิจารณาประเด็นอื่นๆ อย่างรอบด้าน หรือกล่าวได้ว่า “นโยบายประชานิยม” ให้ความสำคัญความเป็นการเมืองมากกว่าผลประโยชน์ที่ตกอยู่กับประชาชนและประเทศชาติโดยรวม
เมื่อพิจารณาถึงนโยบาย “บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ” ของรัฐบาล คสช. แล้ว บางช่วงเวลาที่นโยบายนี้ออกมา (ตุลาคม 2561) ความรัดกุมในการนำไปปฏิบัติจำนวนเม็ดเงินงบประมาณที่อัดฉีดเข้าไปในโครงการ รวมถึงท่าทีทางการเมืองของผู้นำรัฐบาล ก็มีความโน้มเอียงไปในทาง “ นโยบายประชานิยม” มากกว่านโยบายเพื่อประชาชน อย่างไรก็ตาม การจำกัดผลกระทบเชิงลบย่อมสามารถทำได้ด้วยการคัดกรองผู้ลงทะเบียนที่มีรายได้น้อยอย่างแท้จริง ตลอดจนการคำนึงถึงสัมฤทธิ์ผลเชิงนโยบายที่ต้องการยกระดับคุณภาพชีวิตของบรรดาผู้มีรายได้น้อยให้พ้นจากเส้นความยากจน สำหรับการเมืองไทยแล้ว นับตั้งแต่กลางทศวรรษ 2530 ซึ่งการเลือกตั้งได้กลายเป็นที่ยอมรับมากขึ้นในหมู่ชนชั้นนำว่าเป็นหนทางในการขึ้นสู่อำนาจ ทุกรัฐบาล (ไม่ว่าจะมาจากการเลือกตั้งหรือไม่ก็ตาม) ล้วนมีนโยบายที่เข้าข่ายประชานิยมด้วยกันทั้งสิ้น หากแต่นโยบายนั้นจะดำเนินการอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ และเกิดประโยชน์กับประชาชนอย่างแท้จริงมากน้อยเพียงใดเหล่านี้ล้วนเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ทำให้นโยบายและรัฐบาลนั้นๆ มีความชอบธรรมทางการเมือง
บรรณานุกรม
“แจกบัตรคนจนเพิ่มอีก 3 ล้านใบเริ่มใช้สิทธิต้นปีหน้า." มติชนออนไลน์ (18 ธันวาคม 2561). เข้าถึงจาก <https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_1278014>. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2563.
“บัตรคนจน ทีเด็ดเลือกตั้ง ประชานิยมฉบับทหาร." สยามรัฐ (16 ธันวาคม 2561). เข้าถึงจาก <https://siamrath.co.th/n/57105>. เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2563.
""บิ๊กตู่" แถลงนโยบายชู12นโยบายหลัก-12นโยบายเร่งด่วน." โพสต์ทูเดย์ (25 กรกฎาคม 2562). เข้าถึงจาก <https://www.posttoday.com/politic/news/595852>. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2563.
““เพื่อไทย" เลือดไหลหนัก ไม่ต่ำกว่า 30 คน ซบ "พลังประชารัฐ"." ไทยรัฐออนไลน์ (27 พฤศจิกายน 2561). เข้าถึงจาก <https://www.thairath.co.th/news/politic/1431398>. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2563.
“ละลายงบ 2พันล.! ฉบับเต็ม สตง.สอบโครงการประชารัฐสวัสดิการ ยุค คสช. ลดความเหลื่อมล้ำไม่ได้." สำนักข่าวอิศรา (5 มีนาคม 2563). เข้าถึงจาก <https://www.isranews.org/isranews-scoop/86176-report-86176.html>. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2563.
“‘สมคิด'โต้'เจ๊หน่อย'เจ็บ! ทำการบ้านก่อนวิจารณ์ด้วย 'บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ'ไม่ใช่'บัตรคนจน'." แนวหน้าออนไลน์ (17 ตุลาคม 2561). เข้าถึงจาก <https://www.naewna.com/politic/370918?fb_comment_id= 1609429355827982_1609470565823861>. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2563.
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. (2561). วารสารไทยคู่ฟ้า (เมษายน – มิถุนายน).
สำนักพัฒนาฐานข้อมูลและตัวชี้วัดภาวะสังคม. 2560. "รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย ปี 2559." กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการสภาการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
[1] "'สมคิด'โต้'เจ๊หน่อย'เจ็บ! ทำการบ้านก่อนวิจารณ์ด้วย 'บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ'ไม่ใช่'บัตรคนจน'," แนวหน้าออนไลน์ (17 ตุลาคม 2561), เข้าถึงจาก<https://www.naewna.com/politic/370918?fb_comment_id
=1609429355827982_1609470565823861>. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2563.
[2] โปรดดูรายละเอียดใน สำนักพัฒนาฐานข้อมูลและตัวชี้วัดภาวะสังคม, "รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย ปี 2559," (กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการสภาการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2560).
[3] สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี, วารสารไทยคู่ฟ้า (เมษายน - มิถุนายน, 2561): 9.
[4] สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี, วารสารไทยคู่ฟ้า, 11.
[5] สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี, วารสารไทยคู่ฟ้า, 7.
[6] สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี, วารสารไทยคู่ฟ้า, 13.
[7] "แจกบัตรคนจนเพิ่มอีก 3 ล้านใบเริ่มใช้สิทธิต้นปีหน้า," มติชนออนไลน์ (18 ธันวาคม 2561), เข้าถึงจาก <https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_1278014>. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2563.
[8] ""เพื่อไทย" เลือดไหลหนัก ไม่ต่ำกว่า 30 คน ซบ "พลังประชารัฐ"," ไทยรัฐออนไลน์ (27 พฤศจิกายน 2561), เข้าถึงจาก <https://www.thairath.co.th/news/politic/1431398>. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2563.
[9] "บัตรคนจน ทีเด็ดเลือกตั้ง ประชานิยมฉบับทหาร," สยามรัฐ (16 ธันวาคม 2561), เข้าถึงจาก <https://siamrath.co.th/n/57105>. เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2563.
[10] "บัตรคนจน ทีเด็ดเลือกตั้ง ประชานิยมฉบับทหาร," สยามรัฐ (16 ธันวาคม 2561), เข้าถึงจาก <https://siamrath.co.th/n/57105>. เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2563.
[11] ""บิ๊กตู่" แถลงนโยบายชู12นโยบายหลัก-12นโยบายเร่งด่วน," โพสต์ทูเดย์ (25 กรกฎาคม 2562), เข้าถึงจาก <https://www.posttoday.com/politic/news/595852>. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2563.
[12] "ละลายงบ 2พันล.! ฉบับเต็ม สตง.สอบโครงการประชารัฐสวัสดิการ ยุค คสช. ลดความเหลื่อมล้ำไม่ได้," สำนักข่าวอิศรา (5 มีนาคม 2563), เข้าถึงจาก <https://www.isranews.org/isranews-scoop/86176-report-86176.html>. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2563.
[13] "ละลายงบ 2พันล.! ฉบับเต็ม สตง.สอบโครงการประชารัฐสวัสดิการ ยุค คสช. ลดความเหลื่อมล้ำไม่ได้," สำนักข่าวอิศรา (5 มีนาคม 2563), เข้าถึงจาก <https://www.isranews.org/isranews-scoop/86176-report-86176.html>. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2563.