ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สุขาภิบาลกรุงเทพฯ"
สร้างหน้าด้วย " เรียบเรียงโดย : ดร.ชาติชาย มุกสง นายภาณุพงศ์ สิทธิสารผู..." |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 1: | บรรทัดที่ 1: | ||
เรียบเรียงโดย : ดร.ชาติชาย มุกสง นายภาณุพงศ์ | เรียบเรียงโดย : ดร.ชาติชาย มุกสง นายภาณุพงศ์ สิทธิสาร | ||
| ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : รศ.ดร.นิยม รัฐอมฤต | ||
---- | |||
'''สุขาภิบาลกรุงเทพฯ''' | '''สุขาภิบาลกรุงเทพฯ''' | ||
<br/> พ.ศ.2440 | <br/> พ.ศ.2440 มีการจัดตั้ง[[กรมสุขาภิบาล]]ขึ้นเพื่อดูแลความเป็นระเบียบเรียบร้อย ป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ และบริการด้านสาธารณสุข โดยเน้นเรื่องความสะอาดและอนามัย มีหน้าที่ดูแลขยะ การขับถ่ายของประชาชน โรงเรือนที่ทำให้เกิดโรค และขนย้ายสิ่งสกปรกออกจากเมือง ซึ่งได้ทำการจัดตั้งสุขาภิบาลกรุงเทพฯ ขึ้นเป็นแห่งแรกก่อน เพื่อทำหน้าที่พิทักษ์รักษาความสะอาดงดงามของพื้นที่เขตพระนครเป็นสำคัญ [[#_ftn1|[1]]] ก่อนที่จะมีการจัดตั้งสุขาภิบาลขยายออกไปตามหัวเมืองต่าง ๆ ให้สอดรับกับความก้าวหน้าของรูปแบบการปกครองบ้านเมือง | ||
<u>การจัดตั้งสุขาภิบาลกรุงเทพฯ</u> | <u>การจัดตั้งสุขาภิบาลกรุงเทพฯ</u> | ||
| [[การปฏิรูปการปกครอง]]ของ[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] เพื่อรวม[[อำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง]] (centralization) ด้วยกระบวนการต่าง ๆ อาทิ การจัดตั้งกระทรวง ทบวง กรมขึ้นดูแลรับผิดชอบตามภาระหน้าที่ที่รัฐมอบหมายจัดสรรให้ เช่นเดียวกับเมื่อ พ.ศ.2440 หรือ ร.ศ.116 ขณะที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสยุโรป และ[[สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี]] พระอรรคราชเทวี ทรงเป็น[[ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์]] ได้มีพระราชเสาวนีต่อการจัดตั้งกรมสุขาภิบาล สังกัดกระทรวงนครบาลขึ้นสำหรับ | ||
''...ป้องกันโรคภยันตราย ในกรุงเทพฯ แลให้สืบสวนตรวจตรา การที่เกี่ยวในทางโรคภัยของมหาชนทั่วไป (และ)...รักษาความสอาด ป้องกันไม่ให้เกิดโรคภัย กับทั้งจะให้เป็นระเบียบเรียบร้อยแลงดงาม ให้เปนที่เจริญทั่วไปตลอดเขตรแขวงพระนครนั้น'' [[#_ftn2|[2]]] | ''...ป้องกันโรคภยันตราย ในกรุงเทพฯ แลให้สืบสวนตรวจตรา การที่เกี่ยวในทางโรคภัยของมหาชนทั่วไป (และ)...รักษาความสอาด ป้องกันไม่ให้เกิดโรคภัย กับทั้งจะให้เป็นระเบียบเรียบร้อยแลงดงาม ให้เปนที่เจริญทั่วไปตลอดเขตรแขวงพระนครนั้น'' [[#_ftn2|[2]]] | ||
ในการนี้ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ | ในการนี้ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้[[พระยาเทเวศรวงษ์วิฒน์]] ([[หลาน กุญชร|ม.ร.ว.หลาน กุญชร]]) เป็นผู้บัญชาการกรมสุขาภิบาล คอยเรียกประชุมเจ้าพนักงานของกรม แก้ไขปัญหา ตั้งงบประมาณ และรายงานผลการดำเนินงานของกรมต่อกระทรวงนครบาล [[#_ftn3|[3]]] | ||
<u>พระราชกำหนดสุขาภิบาลกรุงเทพฯ</u> | <u>พระราชกำหนดสุขาภิบาลกรุงเทพฯ</u> |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:16, 14 ธันวาคม 2560
เรียบเรียงโดย : ดร.ชาติชาย มุกสง นายภาณุพงศ์ สิทธิสาร
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : รศ.ดร.นิยม รัฐอมฤต
สุขาภิบาลกรุงเทพฯ
พ.ศ.2440 มีการจัดตั้งกรมสุขาภิบาลขึ้นเพื่อดูแลความเป็นระเบียบเรียบร้อย ป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ และบริการด้านสาธารณสุข โดยเน้นเรื่องความสะอาดและอนามัย มีหน้าที่ดูแลขยะ การขับถ่ายของประชาชน โรงเรือนที่ทำให้เกิดโรค และขนย้ายสิ่งสกปรกออกจากเมือง ซึ่งได้ทำการจัดตั้งสุขาภิบาลกรุงเทพฯ ขึ้นเป็นแห่งแรกก่อน เพื่อทำหน้าที่พิทักษ์รักษาความสะอาดงดงามของพื้นที่เขตพระนครเป็นสำคัญ [1] ก่อนที่จะมีการจัดตั้งสุขาภิบาลขยายออกไปตามหัวเมืองต่าง ๆ ให้สอดรับกับความก้าวหน้าของรูปแบบการปกครองบ้านเมือง
การจัดตั้งสุขาภิบาลกรุงเทพฯ
การปฏิรูปการปกครองของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง (centralization) ด้วยกระบวนการต่าง ๆ อาทิ การจัดตั้งกระทรวง ทบวง กรมขึ้นดูแลรับผิดชอบตามภาระหน้าที่ที่รัฐมอบหมายจัดสรรให้ เช่นเดียวกับเมื่อ พ.ศ.2440 หรือ ร.ศ.116 ขณะที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสยุโรป และสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระอรรคราชเทวี ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ได้มีพระราชเสาวนีต่อการจัดตั้งกรมสุขาภิบาล สังกัดกระทรวงนครบาลขึ้นสำหรับ
...ป้องกันโรคภยันตราย ในกรุงเทพฯ แลให้สืบสวนตรวจตรา การที่เกี่ยวในทางโรคภัยของมหาชนทั่วไป (และ)...รักษาความสอาด ป้องกันไม่ให้เกิดโรคภัย กับทั้งจะให้เป็นระเบียบเรียบร้อยแลงดงาม ให้เปนที่เจริญทั่วไปตลอดเขตรแขวงพระนครนั้น [2]
ในการนี้ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาเทเวศรวงษ์วิฒน์ (ม.ร.ว.หลาน กุญชร) เป็นผู้บัญชาการกรมสุขาภิบาล คอยเรียกประชุมเจ้าพนักงานของกรม แก้ไขปัญหา ตั้งงบประมาณ และรายงานผลการดำเนินงานของกรมต่อกระทรวงนครบาล [3]
พระราชกำหนดสุขาภิบาลกรุงเทพฯ
พระราชกำหนดสุขาภิบาลกรุงเทพฯ มีเนื้อหาแบ่งออกเป็น 4 หมวด คือ [4] หมวดที่ 1 ว่าด้วยการแต่งตั้งเจ้าพนักงานแพทย์ สำหรับตรวจโรค และช่างใหญ่ (หมายถึงวิศวกร) สำหรับตรวจรักษาความสะอาด หมวดที่ 2 ว่าด้วยงานที่ต้องกระทำโดยเร่งด่วนหลังประกาศพระราชกำหนดนี้ เช่น การกำจัดขยะมูลฝอย การจัดสถานที่ขับถ่ายให้แก่ราษฎรอย่างถูกสุขลักษณะ และห้ามมิให้ก่อสิ่งปลูกสร้างที่อาจเป็นบ่อเกิดของโรค หมวดที่ 3 ว่าด้วยการจะขยายการจัดตั้งสุขาภิบาลออกไปยังจังหวัดต่าง ๆ และหมวดที่ 4 ว่าด้วยข้อความเบ็ดเตล็ดในพระราชกำหนด
หน้าที่ของกรมสุขาภิบาล
ตามที่ได้มีพระราชกำหนดจัดตั้งกรมสุขาภิบาลขึ้นนั้น นอกจากจะมีหน้าที่คอยดูแลความสะอาดของบ้านเมืองแล้ว อีกโสดหนึ่งยังเป็นการรักษาความเรียบร้อยในพระนคร ดังจะเห็นได้จากประกาศกรมสุขาภิบาลที่ออกมาอย่างต่อเนื่อง เช่น ห้ามมิให้ราษฎรปลูกเพิงล้ำออกมายังแนวถนน ซึ่งจะกีดขวางทางรถ ม้า และผู้คนที่สัญจรไปมา โดยมีเจ้าพนักงานคอยว่ากล่าวตักเตือนให้รื้อถอน หรือเก็บค่าปรับตามพิกัดอัตราที่ตั้งไว้ หรือห้ามมิให้เด็กหรือผู้ใหญ่ขีดเขียนสาธารณสมบัติที่ราษฎรต้องใช้ร่วมกันเป็นอันขาด หากฝ่าฟื้นมีโทษปรับหรือจำคุก [5] กระนั้น งานสุขาภิบาลกรุงเทพฯ ยังคอยประกาศแจ้งความต่าง ๆ อันเนื่องจากกรมสุขาภิบาล อาทิ แจ้งความผู้รับทำถนนทางเดินเท้าในพระนคร [6] ตลอดจนการโยกย้ายตำแหน่ง หรือลาออกของเจ้าพนักงานของกรม
อย่างไรก็ตาม สุขาภิบาลกรุงเทพฯ มีความสัมพันธ์กับการขยายพื้นที่ความเป็นเมืองของตัวพระนครหรือกรุงเทพฯ งานของกรมสุขาภิบาลจึงครอบคลุมโครงสร้างพื้นฐานหลายประเภทของการสร้างระบบความเป็นเมือง ซึ่งผู้เชี่ยวชาญชาวตะวันตกทั้งในกองแพทย์ กองช่าง และการไฟฟ้า ล้วนสังกัดกรมสุขาภิบาลเป็นจำนวนมาก [7] เมื่อการพัฒนาเมืองที่เริ่มต้นจากกรุงเทพฯ บังเกิดผลในระดับหนึ่งแล้ว จึงเริ่มขยายพื้นที่จัดตั้งสุขาภิบาลออกสู่ตามหัวเมืองต่างจังหวัด เพื่อพัฒนาพื้นที่ใช้สอยและความเป็นอยู่ของประชาชนให้มีความสะอาด ปลอดโรค และเรียบร้อยแลดูงามตาสมกับเป็นบ้านเมืองที่มีความเจริญ
บรรณานุกรม
แจ้งความกรมสุขาภิบาล เรื่อง มีผู้รับทำถนนเดินเท้าประกอบถนนหลวงให้รัฐบาล, (122, 24 มกราคม), ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 20, ตอนที่ 43, หน้า 748.
ประกาศกรมศุขาภิบาล, (117, 8 พฤษภาคม), ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 15, ตอนที่ 6, หน้า 53 – 54.
พระบรมราชโองการ ประกาศตั้งผู้บัญชาการกรมศุขาภิบาล, (116, 1 กุมภาพันธ์), ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 14, ตอนที่ 44 ฉบับพิเศษ, หน้า 763.
พระราชกำหนดศุขาภิบาลกรุงเทพฯ ร.ศ.116, (116, 21 พฤศจิกายน), ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 14, ตอน ที่ 34, หน้า 517 – 525.
ภิญญพันธ์ พจนะลาวัณย์, เทศบาล': พื้นที่ เมือง และกาลเวลา', กรุงเทพฯ: สยามปริทัศน์, 2560.
หนังสืออ่านเพิ่มเติม
เมธีพัชญ์ จงวโรทัย. สุขาภิบาล': การปกครองท้องที่สยาม พ.ศ.2440 – 2476'. วิทยานิพนธ์ อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549.
สุวัสดี โภชน์พันธุ์. เทศบาลและผลกระทบต่ออำนาจท้องถิ่น พ.ศ. 2476-2500. วิทยานิพนธ์ อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543.
อ้างอิง
[1] สุวัสดี โภชน์พันธุ์ (2543) อ้างถึงใน ภิญญพันธ์ พจนะลาวัณย์, เทศบาล': พื้นที่ เมือง และกาลเวลา', (กรุงเทพฯ: สยามปริทัศน์, 2560), หน้า 33 – 34.
[2] พระราชกำหนดศุขาภิบาลกรุงเทพฯ ร.ศ.116, (116, 21 พฤศจิกายน), ราชกิจจานุเบกษา, (เล่ม 14, ตอนที่ 34), หน้า 517 – 525.
[3] พระบรมราชโองการ ประกาศตั้งผู้บัญชาการกรมศุขาภิบาล, (116, 1 กุมภาพันธ์), ราชกิจจานุเบกษา, (เล่ม 14, ตอนที่ 44 ฉบับพิเศษ), หน้า 763.
[4] พระราชกำหนดศุขาภิบาลกรุงเทพฯ ร.ศ.116, (116, 21 พฤศจิกายน), ราชกิจจานุเบกษา, เล่มเดิม, หน้าเดิม.
[5] ประกาศกรมศุขาภิบาล, (117, 8 พฤษภาคม), ราชกิจจานุเบกษา, (เล่ม 15, ตอนที่ 6), หน้า 53 – 54.
[6] แจ้งความกรมสุขาภิบาล เรื่อง มีผู้รับทำถนนเดินเท้าประกอบถนนหลวงให้รัฐบาล, (122, 24 มกราคม), ราชกิจจานุเบกษา, (เล่ม 20, ตอนที่ 43), หน้า 748.
[7] เมธีพัชญ์ จงวโรทัย (2549) อ้างถึงใน ภิญญพันธ์ พจนะลาวัณย์, เล่มเดิม, หน้า 34.