ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หัวเมืองประเทศราช"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Suksan (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Suksan (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 10: บรรทัดที่ 10:
==การแบ่งหัวเมืองในสมัยสุโขทัย อยุธยาและรัตนโกสินทร์ตอนต้น==  
==การแบ่งหัวเมืองในสมัยสุโขทัย อยุธยาและรัตนโกสินทร์ตอนต้น==  
   
   
การจัดการปกครองในสมัยสุโขทัย อยุธยาและรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีการแบ่งหัวเมืองออกเป็นชั้นๆ ตามลำดับความสำคัญของเมือง โดยการแบ่งหัวเมืองเช่นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการจัดระบอบการปกครอง จัดความสัมพันธ์ระหว่างหัวเมืองกับเมืองหลวง เพราะรัฐไม่มีกำลังทหารเพียงพอที่จะไปปกครองโดยตรง   
การจัดการปกครองในสมัยสุโขทัย อยุธยาและรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีการแบ่งหัวเมืองออกเป็นชั้นๆ ตามลำดับความสำคัญของเมือง โดยการแบ่งหัวเมืองเช่นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการจัดระบอบการปกครอง จัดความสัมพันธ์ระหว่างหัวเมืองกับเมืองหลวง เพราะรัฐไม่มีกำลังทหารเพียงพอที่จะไปปกครองโดยตรง<ref>สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี, บันทึกเรื่องการปกครองของไทยสมัยอยุธยาและต้นรัตนโกสินทร์,(กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549),หน้า 32. </ref>  
   
   
การจัดระเบียบความสัมพันธ์ทางการปกครองระหว่างราชธานีกับหัวเมืองจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆคือ
การจัดระเบียบความสัมพันธ์ทางการปกครองระหว่างราชธานีกับหัวเมืองจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆคือ
บรรทัดที่ 16: บรรทัดที่ 16:
1.เมืองที่ปกครองจากราชธานีโดยตรง โดยราชธานีจะส่งผู้ปกครองไปจากส่วนกลาง รูปแบบการปกครองจำลองจากส่วนกลางไปสู่ส่วนภูมิภาค การแบ่งประเภทหัวเมืองแล้วแต่ยุคสมัย เช่น สมัย[[สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ]]แบ่งออกเป็น[[หัวเมืองชั้นใน]] คือ[[เมืองลูกหลวง]] และ[[หัวเมืองชั้นนอก]]ไกลออกจากราชธานีจะเป็น[[เมืองพระยามหานคร]] สมัย[[สมเด็จพระนเรศวร]]แบ่งเป็น[[หัวเมืองชั้นเอก]] โท ตรี
1.เมืองที่ปกครองจากราชธานีโดยตรง โดยราชธานีจะส่งผู้ปกครองไปจากส่วนกลาง รูปแบบการปกครองจำลองจากส่วนกลางไปสู่ส่วนภูมิภาค การแบ่งประเภทหัวเมืองแล้วแต่ยุคสมัย เช่น สมัย[[สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ]]แบ่งออกเป็น[[หัวเมืองชั้นใน]] คือ[[เมืองลูกหลวง]] และ[[หัวเมืองชั้นนอก]]ไกลออกจากราชธานีจะเป็น[[เมืองพระยามหานคร]] สมัย[[สมเด็จพระนเรศวร]]แบ่งเป็น[[หัวเมืองชั้นเอก]] โท ตรี


2.เมืองที่ปกครองตนเอง มีการสืบตำแหน่งผู้ปกครองของตนเองแต่แสดงตนว่ายอมอ่อนน้อมต่อราชธานีโดยการส่งเครื่องราชบรรณาการเช่นต้นไม้เงิน ต้นไม้ทอง ส่วยและผลประโยชน์อย่างอื่น เพื่อแสดงว่ายอมเป็นเมืองขึ้น เมืองเหล่านี้มักเป็นเมืองต่างชาติ ต่างภาษา ดังที่[[สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ]]ทรงนิพนธ์ถึงเมืองประเทศราชไว้ว่า “..ลักษณะการปกครองแบบเดิมนั้น นิยมให้เป็นอย่างประเทศราชาธิราช (Empire) อันมีเมืองคนต่างชาติต่างภาษาเป็นเมืองขึ้นอยู่ในพระราชอาณาเขต”   
2.เมืองที่ปกครองตนเอง มีการสืบตำแหน่งผู้ปกครองของตนเองแต่แสดงตนว่ายอมอ่อนน้อมต่อราชธานีโดยการส่งเครื่องราชบรรณาการเช่นต้นไม้เงิน ต้นไม้ทอง ส่วยและผลประโยชน์อย่างอื่น เพื่อแสดงว่ายอมเป็นเมืองขึ้น เมืองเหล่านี้มักเป็นเมืองต่างชาติ ต่างภาษา ดังที่[[สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ]]ทรงนิพนธ์ถึงเมืองประเทศราชไว้ว่า “..ลักษณะการปกครองแบบเดิมนั้น นิยมให้เป็นอย่างประเทศราชาธิราช (Empire) อันมีเมืองคนต่างชาติต่างภาษาเป็นเมืองขึ้นอยู่ในพระราชอาณาเขต”<ref>สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ, นิทานโบราณคดี, (กรุงเทพมหานคร, ศิลปะบรรณาคาร, 2509), หน้า 20. </ref>  
   
   
เมืองประเทศราชมักจะเป็นเมืองที่ห่างไกลจากราชธานีและมีอำนาจทางการเมืองของตน  ในกฎมณเฑียรบาลใน[[กฎหมายตราสามดวง]]กล่าวว่า มีเมืองกษัตริย์แต่ได้ถวายต้นไม้เงิน ต้นไม้ทอง 20 เมือง คือ เมืองทางเหนือ 16 เมือง ได้แก่ เมืองนครหลวง (กัมพูชา) ศรีสัตนาคนหุต เชียงใหม่ ตองอู เชียงไกร เชียงกราน เชียงแสน เชียงรุ้ง เชียงราย แสนหวี เขมราช แพร่ น่าน ใต้ทอง โคตรบอง และแรวแกว ทางใต้ 4 เมืองคือ อุยองตะหนะ มะละกา มลายูและวรวารี  
เมืองประเทศราชมักจะเป็นเมืองที่ห่างไกลจากราชธานีและมีอำนาจทางการเมืองของตน  ในกฎมณเฑียรบาลใน[[กฎหมายตราสามดวง]]กล่าวว่า มีเมืองกษัตริย์แต่ได้ถวายต้นไม้เงิน ต้นไม้ทอง 20 เมือง คือ เมืองทางเหนือ 16 เมือง ได้แก่ เมืองนครหลวง (กัมพูชา) ศรีสัตนาคนหุต เชียงใหม่ ตองอู เชียงไกร เชียงกราน เชียงแสน เชียงรุ้ง เชียงราย แสนหวี เขมราช แพร่ น่าน ใต้ทอง โคตรบอง และแรวแกว ทางใต้ 4 เมืองคือ อุยองตะหนะ มะละกา มลายูและวรวารี<ref>สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี, บันทึกเรื่องการปกครองของไทยสมัยอยุธยาและต้นรัตนโกสินทร์,หน้า 30. </ref>


==การส่งเครื่องราชบรรณาการ==
==การส่งเครื่องราชบรรณาการ==
บรรทัดที่ 24: บรรทัดที่ 24:
การปกครองของเมืองประเทศราชจะมีการปกครองที่ค่อนจะเป็นอิสระแต่ต้องมีการแสดงความอ่อนน้อมและจงรักภักดีต่อราชธานีโดยการส่งเครื่องราชบรรณาการ ซึ่งประกอบด้วย
การปกครองของเมืองประเทศราชจะมีการปกครองที่ค่อนจะเป็นอิสระแต่ต้องมีการแสดงความอ่อนน้อมและจงรักภักดีต่อราชธานีโดยการส่งเครื่องราชบรรณาการ ซึ่งประกอบด้วย


'''1.เครื่องราชบรรณาการ''' เป็นเครื่องหมายของการยอมอยู่ใต้อำนาจ หากไม่ส่งจะถือว่าเป็น[[กบฏ]] เครื่องราชบรรณาการประกอบด้วยสิ่งสำคัญคือ ต้นไม้ทองและต้นไม้เงิน ขนาดเท่ากัน 1 คู่ และสิ่งของอีกจำนวนหนึ่งตามความเหมาะสม โดยไม่จำกัดชนิดและจำนวน  หลักฐานในสมัยรัชกาลที่ 4 พบส่งต้นไม้เงินทองเงินสูง 3 ศอกคืบ 7 ชั้น และไม้ขอนสัก 300 ต้น หรือบางปีส่งน้ำรักแทนในจำนวน 150 หรือ 300 กระบอก ต้นไม้เงินต้นไม้ทองที่ส่งมาถวายไม่มีค่าทางเศรษฐกิจเมื่อเทียบกับส่วยและการเกณฑ์สิ่งของที่มีมูลค่าสูงกว่ามาก   
'''1.เครื่องราชบรรณาการ''' เป็นเครื่องหมายของการยอมอยู่ใต้อำนาจ หากไม่ส่งจะถือว่าเป็น[[กบฏ]] เครื่องราชบรรณาการประกอบด้วยสิ่งสำคัญคือ ต้นไม้ทองและต้นไม้เงิน ขนาดเท่ากัน 1 คู่ และสิ่งของอีกจำนวนหนึ่งตามความเหมาะสม โดยไม่จำกัดชนิดและจำนวน  หลักฐานในสมัยรัชกาลที่ 4 พบส่งต้นไม้เงินทองเงินสูง 3 ศอกคืบ 7 ชั้น และไม้ขอนสัก 300 ต้น หรือบางปีส่งน้ำรักแทนในจำนวน 150 หรือ 300 กระบอก ต้นไม้เงินต้นไม้ทองที่ส่งมาถวายไม่มีค่าทางเศรษฐกิจเมื่อเทียบกับส่วยและการเกณฑ์สิ่งของที่มีมูลค่าสูงกว่ามาก<ref>สรัสวดี อ๋องสกุล, ประวัติศาสตร์ล้านนา, (กรุงเทพมหานคร : อมรินทร์, 2556), หน้า 361. </ref>  


กำหนดที่เมืองประเทศราชจะส่งเครื่องราชบรรณาการแล้วแต่ระยะทางใกล้ไกลและความสำคัญของแต่ละเมือง  บางเมืองต้องถวายบรรณาการทุกปี แต่โดยปกติแล้วจะส่งสามปีต่อครั้ง โดยคำนึงถึงระยะทางและความไว้วางใจ
กำหนดที่เมืองประเทศราชจะส่งเครื่องราชบรรณาการแล้วแต่ระยะทางใกล้ไกลและความสำคัญของแต่ละเมือง  บางเมืองต้องถวายบรรณาการทุกปี แต่โดยปกติแล้วจะส่งสามปีต่อครั้ง โดยคำนึงถึงระยะทางและความไว้วางใจ
   
   
การถวายต้นไม้เงิน ต้นไม้ทอง มาจากความเชื่อในลัทธิไศเลนทร์ที่ว่าพระเจ้าแผ่นดินเป็นพระศิวะ ซึ่งประทับบนเขาไกรลาส และเมืองขึ้นก็เปรียบเหมือนต้นไม้เงิน ต้นไม้ทองในป่าหิมพานต์เชิงเขาไกลาส  
การถวายต้นไม้เงิน ต้นไม้ทอง มาจากความเชื่อในลัทธิไศเลนทร์ที่ว่าพระเจ้าแผ่นดินเป็นพระศิวะ ซึ่งประทับบนเขาไกรลาส และเมืองขึ้นก็เปรียบเหมือนต้นไม้เงิน ต้นไม้ทองในป่าหิมพานต์เชิงเขาไกลาส<ref>สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี, บันทึกเรื่องการปกครองของไทยสมัยอยุธยาและต้นรัตนโกสินทร์ ,หน้า 28. </ref>
   
   
ลักษณะรูปแบบสำคัญของต้นไม้เงิน ต้นไม้ทองที่ใช้เป็นเครื่องราชบรรณาการ สมัยรัตนโกสินทร์มีลักษณะที่สำคัญคือ ต้องจัดทำเป็นคู่ ทำด้วยเงินแท้ทั้งต้น ต้นไม้ทองทำด้วยทองคำแท้ตั้งต้น น้ำหนักของต้นไม้ทองคำและต้นไม้เงิน ที่เป็นคู่กันต้องมีน้ำหนักเท่ากัน มีลำต้น กิ่งก้าน กาบดอก และใบครบถ้วนสมบูรณ์ รูปร่างลักษณะและความสูงต่ำของต้นไม้ ที่เป็นคู่กันต้องเหมือนหรือเท่ากัน มีกระถางหรือแจกันรองรับ เหมือนกัน เป็นคู่กัน ความสวยงาม ความประณีต และแบบต้นไม้ จะเป็นอย่างไรนั้นสุดแต่เมืองนั้นๆ จะคิดและประดิษฐ์  ส่วนมากมักจะมีครอบแก้ว ครอบต้นไม้เงิน ต้นไม้ทองมาด้วย เพื่อป้องกันการชำรุดเสียหายระหว่างทางและสะดวกในการเก็บรักษาทำความสะอาด  
ลักษณะรูปแบบสำคัญของต้นไม้เงิน ต้นไม้ทองที่ใช้เป็นเครื่องราชบรรณาการ สมัยรัตนโกสินทร์มีลักษณะที่สำคัญคือ ต้องจัดทำเป็นคู่ ทำด้วยเงินแท้ทั้งต้น ต้นไม้ทองทำด้วยทองคำแท้ตั้งต้น น้ำหนักของต้นไม้ทองคำและต้นไม้เงิน ที่เป็นคู่กันต้องมีน้ำหนักเท่ากัน มีลำต้น กิ่งก้าน กาบดอก และใบครบถ้วนสมบูรณ์ รูปร่างลักษณะและความสูงต่ำของต้นไม้ ที่เป็นคู่กันต้องเหมือนหรือเท่ากัน มีกระถางหรือแจกันรองรับ เหมือนกัน เป็นคู่กัน ความสวยงาม ความประณีต และแบบต้นไม้ จะเป็นอย่างไรนั้นสุดแต่เมืองนั้นๆ จะคิดและประดิษฐ์  ส่วนมากมักจะมีครอบแก้ว ครอบต้นไม้เงิน ต้นไม้ทองมาด้วย เพื่อป้องกันการชำรุดเสียหายระหว่างทางและสะดวกในการเก็บรักษาทำความสะอาด<ref>สมศักดิ์  ฤทธิ์ภักดี ,(2557), ต้นไม้เงิน ต้นไม้ทองสมัยรัตนโกสินทร์, ค้นเมื่อ  10 กรกฎาคม 2557 จาก http://emuseum.treasury.go.th/article/238-goldtree-a-sivertree.html</ref>


ในสมัยรัชกาลที่ 5 เครื่องราชบรรณาการจากไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู มีต้นไม้เงิน 1 ต้นไม้ทอง 1 แต่ละต้นสูง 6 ศอก มีกิ่งไม้ 8 ชั้น มีดอกไม้เงิน ทอง รวม 638 ดอก ใบไม้เงิน ทอง 980 ใบ มีงู 2 คู่ เงินคู่ ทองคู่ นกอีก 4 ตัว และกวางเงิน 2 บนยอดมีดอกไม้เงิน ทองใหญ่อย่างละ 1 มีกลีบเป็น 3 ชั้น  
ในสมัยรัชกาลที่ 5 เครื่องราชบรรณาการจากไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู มีต้นไม้เงิน 1 ต้นไม้ทอง 1 แต่ละต้นสูง 6 ศอก มีกิ่งไม้ 8 ชั้น มีดอกไม้เงิน ทอง รวม 638 ดอก ใบไม้เงิน ทอง 980 ใบ มีงู 2 คู่ เงินคู่ ทองคู่ นกอีก 4 ตัว และกวางเงิน 2 บนยอดมีดอกไม้เงิน ทองใหญ่อย่างละ 1 มีกลีบเป็น 3 ชั้น<ref>สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี, บันทึกเรื่องการปกครองของไทยสมัยอยุธยาและต้นรัตนโกสินทร์ , หน้า 136. </ref>
 
 
จากหนังสือสยามประเภทของนาย ก.ศ.ร. กุหลาบ สยามประเภท เล่ม 2 ตอน 17. วันที่ 1 ส.ค. ร.ศ.118 เรื่องต้นเหตุเมืองแขกมะละกาขึ้นกับไทย ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้กล่าวถึงต้นไม้เงินต้นไม้ทอง ที่เป็นเครื่องราชบรรณาการ ในสมัยอยุธยาไว้ว่า ราว พ.ศ.2045 ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าบรมราชามหาพุทธางกูร สยามเป็นไมตรีกับโปรตุเกส โปรตุเกสขอกำลังกองทัพเรือไทยไปช่วยตีเมืองมะละกา เพราะชาวมะละกาทำร้ายพ่อค้าโปรตุเกสที่เข้าไปค้าขาย กองทัพเรืออยุธยาตีเมืองมะละกาได้ พระเจ้าแผ่นดินสยามขณะนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าราชบุตรแขกเมืองมะละกาเป็นเจ้าเมืองสืบแทนพระบิดา ให้มีพระนามว่า จ้าวมะหะหมัดรัตนะรายามหาราช และให้เป็นเมืองประเทศราชถวายดอกไม้เงินทองสิ่งของเครื่องราชบรรณาการแก่กรุงศรีอยุธยาตามประเพณีมีมาแต่โบราณ  
จากหนังสือสยามประเภทของนาย ก.ศ.ร. กุหลาบ สยามประเภท เล่ม 2 ตอน 17. วันที่ 1 ส.ค. ร.ศ.118 เรื่องต้นเหตุเมืองแขกมะละกาขึ้นกับไทย ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้กล่าวถึงต้นไม้เงินต้นไม้ทอง ที่เป็นเครื่องราชบรรณาการ ในสมัยอยุธยาไว้ว่า ราว พ.ศ.2045 ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าบรมราชามหาพุทธางกูร สยามเป็นไมตรีกับโปรตุเกส โปรตุเกสขอกำลังกองทัพเรือไทยไปช่วยตีเมืองมะละกา เพราะชาวมะละกาทำร้ายพ่อค้าโปรตุเกสที่เข้าไปค้าขาย กองทัพเรืออยุธยาตีเมืองมะละกาได้ พระเจ้าแผ่นดินสยามขณะนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าราชบุตรแขกเมืองมะละกาเป็นเจ้าเมืองสืบแทนพระบิดา ให้มีพระนามว่า จ้าวมะหะหมัดรัตนะรายามหาราช และให้เป็นเมืองประเทศราชถวายดอกไม้เงินทองสิ่งของเครื่องราชบรรณาการแก่กรุงศรีอยุธยาตามประเพณีมีมาแต่โบราณ<ref>สมศักดิ์  ฤทธิ์ภักดี ,(2557), ต้นไม้เงิน ต้นไม้ทองสมัยรัตนโกสินทร์ , ค้นเมื่อ  10 กรกฎาคม 2557 จาก http://emuseum.treasury.go.th/article/238-goldtree-a-sivertree.html</ref>
 
 
'''2.ส่วย''' เป็นสิ่งของที่ต้องส่งทุกปีในอัตราที่ค่อนข้างแน่นอน เช่นส่วยที่สำคัญที่เชียงใหม่ต้องส่งคือ ไม้ขอนสัก ตามหลักฐานสมัยรัชกาลที่ 3 เชียงใหม่ส่งไม้ขอนสัก 500 ต้น น่าน 4000 ต้น ลำปาง 400 ต้น แพร่ 200ต้น ลำพูน 200 ต้น  
'''2.ส่วย''' เป็นสิ่งของที่ต้องส่งทุกปีในอัตราที่ค่อนข้างแน่นอน เช่นส่วยที่สำคัญที่เชียงใหม่ต้องส่งคือ ไม้ขอนสัก ตามหลักฐานสมัยรัชกาลที่ 3 เชียงใหม่ส่งไม้ขอนสัก 500 ต้น น่าน 4000 ต้น ลำปาง 400 ต้น แพร่ 200ต้น ลำพูน 200 ต้น<ref>ปริศนา ศิรินาม, ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและประเทศราชในหัวเมืองล้านนาไทย สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น, วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต (บัณฑิตวิทยาลัย : วิทยาลัยการศึกษาประสานมิตร ,2516),หน้า 105. </ref>


''' 3.การเกณฑ์สิ่งของ''' เมื่อมีงานพระราชพิธี เช่นพระบรมศพ จะมีการเกณฑ์สิ่งของ พระราชพิธีพระบรมศพรัชกาลที่ 1 พ.ศ.2352 เชียงใหม่ถูกเกณฑ์ส่งกระดาษหัว 20,000 แผ่น ลำปางส่งกระดาษหัว 15,000 แผ่น ลำพูน 5,000 แผ่น แพร่ 20,000 แผ่น ป่าน 5 หาบ และเมืองน่านส่งกระดาษหัว 3,000 แผ่น ป่าน 5 หาบหรือเมื่อรัชกาลที่ 4 ทรงสร้างพระราชวังที่ลพบุรี ลำปางส่งไม้สัก 1,000 ต้น   
''' 3.การเกณฑ์สิ่งของ''' เมื่อมีงานพระราชพิธี เช่นพระบรมศพ จะมีการเกณฑ์สิ่งของ พระราชพิธีพระบรมศพรัชกาลที่ 1 พ.ศ.2352 เชียงใหม่ถูกเกณฑ์ส่งกระดาษหัว 20,000 แผ่น ลำปางส่งกระดาษหัว 15,000 แผ่น ลำพูน 5,000 แผ่น แพร่ 20,000 แผ่น ป่าน 5 หาบ และเมืองน่านส่งกระดาษหัว 3,000 แผ่น ป่าน 5 หาบหรือเมื่อรัชกาลที่ 4 ทรงสร้างพระราชวังที่ลพบุรี ลำปางส่งไม้สัก 1,000 ต้น<ref>เพิ่งอ้าง, หน้า 10. </ref>  
   
   
''' 4.การเกณฑ์ไพร่พลในราชการสงคราม''' ยามมีศึกสงครามเมืองประเทศราชจะถูกเกณฑ์กำลังทหารเข้าร่วมในกองทัพ เช่น การเกณฑ์ประเทศราชฝ่ายเหนือเข้าร่วมกับกองทัพสยามในคราวกบฏเจ้าอนุวงศ์ พ.ศ.2369 นอกจากนี้เมืองประเทศราชอยู่ในสภาวะที่ต้องเตรียมพร้อมป้องกันบ้านเมืองเสมอ   
''' 4.การเกณฑ์ไพร่พลในราชการสงคราม''' ยามมีศึกสงครามเมืองประเทศราชจะถูกเกณฑ์กำลังทหารเข้าร่วมในกองทัพ เช่น การเกณฑ์ประเทศราชฝ่ายเหนือเข้าร่วมกับกองทัพสยามในคราวกบฏเจ้าอนุวงศ์ พ.ศ.2369 นอกจากนี้เมืองประเทศราชอยู่ในสภาวะที่ต้องเตรียมพร้อมป้องกันบ้านเมืองเสมอ<ref>สรัสวดี อ๋องสกุล,ประวัติศาสตร์ล้านนา, หน้า 364. </ref>  


==ประโยชน์ที่หัวเมืองประเทศราชได้รับ==
==ประโยชน์ที่หัวเมืองประเทศราชได้รับ==


1.การได้รับความคุ้มครองจากราชธานี การเป็นเมืองประเทศราชจะได้รับการแผ่อิทธิพลทางการเมืองของราชธานีเพื่อคุ้มครอง ถ้าเมืองประเทศราชถูกรุกรานจากรัฐอื่น หรือมีสงครามให้เมืองประเทศราชแจ้งราชธานีเพื่อจะส่งกำลังไปช่วยเหลือ  
1.การได้รับความคุ้มครองจากราชธานี การเป็นเมืองประเทศราชจะได้รับการแผ่อิทธิพลทางการเมืองของราชธานีเพื่อคุ้มครอง ถ้าเมืองประเทศราชถูกรุกรานจากรัฐอื่น หรือมีสงครามให้เมืองประเทศราชแจ้งราชธานีเพื่อจะส่งกำลังไปช่วยเหลือ<ref>เพิ่งอ้าง, หน้า 364. </ref>


2.รายได้ของผู้ปกครอง มีดังนี้
2.รายได้ของผู้ปกครอง มีดังนี้<ref>ชวลีย์ ณ ถลาง, ประเทศราชของสยามในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว,(กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.2541), หน้า 10. </ref>
   
   
(1) รายได้จากภาษีอากร ซึ่งอยู่ในรูปของเงินหรือผลิตผล เช่น ข้าว  
(1) รายได้จากภาษีอากร ซึ่งอยู่ในรูปของเงินหรือผลิตผล เช่น ข้าว  
บรรทัดที่ 60: บรรทัดที่ 60:
(6) เมื่อประชาชนตายและไม่มีผู้สืบมรดกให้ทรัพย์สินตกเป็นของคลังหลวง
(6) เมื่อประชาชนตายและไม่มีผู้สืบมรดกให้ทรัพย์สินตกเป็นของคลังหลวง


3.การได้รับสิ่งของพระราชทาน เมื่อเมืองประเทศราชส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวาย ราชธานีจะพระราชทานสิ่งของตอบแทนผ่านผู้คุมบรรณาการ ดังตัวอย่างที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกพระราชทานสิ่งของให้กับเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่เมื่อมาถวายราชบรรณาการใน พ.ศ.2435 ดังนี้  
3.การได้รับสิ่งของพระราชทาน เมื่อเมืองประเทศราชส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวาย ราชธานีจะพระราชทานสิ่งของตอบแทนผ่านผู้คุมบรรณาการ ดังตัวอย่างที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกพระราชทานสิ่งของให้กับเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่เมื่อมาถวายราชบรรณาการใน พ.ศ.2435 ดังนี้<ref>สรัสวดี อ๋องสกุล,ประวัติศาสตร์ล้านนา, หน้า 362. </ref>
   
   
ปืนนกคุ้มกระสุน 2 นิ้ว 2 กระบอก
ปืนนกคุ้มกระสุน 2 นิ้ว 2 กระบอก
บรรทัดที่ 82: บรรทัดที่ 82:
==ความสัมพันธ์ทางการปกครองกับราชธานี==
==ความสัมพันธ์ทางการปกครองกับราชธานี==
   
   
เมืองประเทศราชจะมีการปกครองอิสระของตนเอง โดยแสดงความอ่อนน้อมและจงรักภักดีโดยการถวายเครื่องราชบรรณาการตามกำหนด ซึ่งเมืองประเทศราชที่ไม่ได้ส่งเครื่องราชบรรณาการจะอยู่ในสถานะความเป็นกบฏและจะได้รับโทษขั้นรุนแรง ดังปรากฏกฎหมายลักษณะกระบดศึกว่า...อนึ่งพระเจ้าอยู่หัวให้ผู้ใดไปรั้งเมืองครองเมืองแลมิได้เอาสุวรรณบุปผาเข้ามาบังคมถวายแลแขวงเมือง อนึ่งผู้ใดเอาใจไปเผื่อแผ่ข้าศึกศัตรู นัดแนะให้ยกเข้ามาเบียดเบียนพระนครขอบขัณฑเสมาธานีน้อยใหญ่ ถ้าผู้ใดกระทำดังกล่าวมานี้ โทษผู้นั้นเปนอุกฤษฐโทษ 3 สถาน ๆ หนึ่ง ให้ริบราชบาทฆ่าเสียให้สิ้นทังโคตร สถานหนึ่ง ให้ริบราชบาทฆ่าเสีย 7 ชั่วโคตร สถานหนึ่ง ให้ริบราชบาตรแล้วให้ฆ่าเสีย โคตรนั้นอย่าให้เลี้ยงสืบไปเลย เมื่อประหารชีวิตนั้น ให้ได้ 7 วันจึงให้สิ้นชีวิต เมื่อประหารนั้นอย่าให้โลหิตแลอาศภตกลงในแผ่นดิน ให้ใส่แพลอยเสียตามกระแสน้ำ  
เมืองประเทศราชจะมีการปกครองอิสระของตนเอง โดยแสดงความอ่อนน้อมและจงรักภักดีโดยการถวายเครื่องราชบรรณาการตามกำหนด ซึ่งเมืองประเทศราชที่ไม่ได้ส่งเครื่องราชบรรณาการจะอยู่ในสถานะความเป็นกบฏและจะได้รับโทษขั้นรุนแรง ดังปรากฏกฎหมายลักษณะกระบดศึกว่า...อนึ่งพระเจ้าอยู่หัวให้ผู้ใดไปรั้งเมืองครองเมืองแลมิได้เอาสุวรรณบุปผาเข้ามาบังคมถวายแลแขวงเมือง อนึ่งผู้ใดเอาใจไปเผื่อแผ่ข้าศึกศัตรู นัดแนะให้ยกเข้ามาเบียดเบียนพระนครขอบขัณฑเสมาธานีน้อยใหญ่ ถ้าผู้ใดกระทำดังกล่าวมานี้ โทษผู้นั้นเปนอุกฤษฐโทษ 3 สถาน ๆ หนึ่ง ให้ริบราชบาทฆ่าเสียให้สิ้นทังโคตร สถานหนึ่ง ให้ริบราชบาทฆ่าเสีย 7 ชั่วโคตร สถานหนึ่ง ให้ริบราชบาตรแล้วให้ฆ่าเสีย โคตรนั้นอย่าให้เลี้ยงสืบไปเลย เมื่อประหารชีวิตนั้น ให้ได้ 7 วันจึงให้สิ้นชีวิต เมื่อประหารนั้นอย่าให้โลหิตแลอาศภตกลงในแผ่นดิน ให้ใส่แพลอยเสียตามกระแสน้ำ<ref>สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี, บันทึกเรื่องการปกครองของไทยสมัยอยุธยาและต้นรัตนโกสินทร์ , หน้า 41-42. </ref>


==การยกเลิกหัวเมืองประเทศราช==
==การยกเลิกหัวเมืองประเทศราช==
 
 
ในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ประเทศสยามเผชิญกับการคุกคามของการล่าอาณานิคมจากประเทศตะวันตก เมืองประเทศราชหลายๆเมืองตกเป็นเมืองขึ้นของตะวันตก เช่น การเสียเมืองประเทศราชทางฝั่งขวาของแม่น้ำโขง อันได้แก่หลวงพระบาง เวียงจันทน์ให้กับฝรั่งเศส ในหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ค.ศ.1904  การเสียประเทศราชในกัมพูชา อันได้แก่พระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณให้กับฝรั่งเศส ในหนังสือสัญญาระหว่างพระเจ้าแผ่นดินสยาม กับ เปรสิเดนต์แห่งรีปับลิกฝรั่งเศส ค.ศ.1907  การเสียมลายูให้กับอังกฤษใน สัญญาในระหว่างกรุงสยามกับกรุงอังกฤษ ลงชื่อกันที่กรุงเทพฯ ณ วันที่ 10 มีนาคม รัตนโกสินทร์ ศก 127   
ในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ประเทศสยามเผชิญกับการคุกคามของการล่าอาณานิคมจากประเทศตะวันตก เมืองประเทศราชหลายๆเมืองตกเป็นเมืองขึ้นของตะวันตก เช่น การเสียเมืองประเทศราชทางฝั่งขวาของแม่น้ำโขง อันได้แก่หลวงพระบาง เวียงจันทน์ให้กับฝรั่งเศส ในหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ค.ศ.1904<ref>ชาญวิทย์ เกษตรศิริ , ลัทธิชาตินิยมไทย/สยามกับกัมพูชา : และกรณีศึกษาปราสาทเขาพระวิหาร, (กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์,2552), หน้า 201-208. </ref> การเสียประเทศราชในกัมพูชา อันได้แก่พระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณให้กับฝรั่งเศส ในหนังสือสัญญาระหว่างพระเจ้าแผ่นดินสยาม กับ เปรสิเดนต์แห่งรีปับลิกฝรั่งเศส ค.ศ.1907<ref>เพิ่งอ้าง,หน้า 219-222</ref> การเสียมลายูให้กับอังกฤษใน สัญญาในระหว่างกรุงสยามกับกรุงอังกฤษ ลงชื่อกันที่กรุงเทพฯ ณ วันที่ 10 มีนาคม รัตนโกสินทร์ ศก 127<ref>ชวลีย์ ณ ถลาง.ประเทศราชของสยามในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว.(กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.2541) , หน้า 340-342. </ref>  
 
 
ในส่วนที่เหลือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเริ่ม[[ปฏิรูปการปกครอง]]โดยการรวมเมืองประเทศราชทางเหนือ เช่น นครเชียงใหม่, นครน่าน, นครลำปาง, นครลำพูน, แพร่, เถิน เข้าเป็นมณฑลลาวเฉียง และทรงแต่งตั้งพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นพิชิตปรีชากร เป็นข้าหลวงต่างพระองค์ประจำนครเชียงใหม่ ใน พ.ศ.2427  รวมเมือง อุดรธานี, ขอนแก่น, นครพนม, สกลนคร, เลย, หนองคาย เป็นมณฑลลาวพวน รวมอุบลราชธานี, นครจำปาศักดิ์, ศรีสะเกษ, สุรินทร์, ร้อยเอ็ด, มหาสารคาม, กาฬสินธุ์ เป็นมณฑลลาวกาว  
ในส่วนที่เหลือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเริ่ม[[ปฏิรูปการปกครอง]]โดยการรวมเมืองประเทศราชทางเหนือ เช่น นครเชียงใหม่, นครน่าน, นครลำปาง, นครลำพูน, แพร่, เถิน เข้าเป็นมณฑลลาวเฉียง และทรงแต่งตั้งพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นพิชิตปรีชากร เป็นข้าหลวงต่างพระองค์ประจำนครเชียงใหม่ ใน พ.ศ.2427<ref>ธันยวัฒน์ รัตนสัค, การบริหารราชการไทย,(เชียงใหม่ : สำนักวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2555), หน้า 78-79. </ref> รวมเมือง อุดรธานี, ขอนแก่น, นครพนม, สกลนคร, เลย, หนองคาย เป็นมณฑลลาวพวน รวมอุบลราชธานี, นครจำปาศักดิ์, ศรีสะเกษ, สุรินทร์, ร้อยเอ็ด, มหาสารคาม, กาฬสินธุ์ เป็นมณฑลลาวกาว<ref>สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ, พระราชพงศาวดารรัชกาลที่ 5. (กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มติชน, 2545), หน้า 185-191. </ref>
ใน พ.ศ.2437 ทรงจัดทั้ง[[มณฑลเทศาภิบาล]]ขึ้น เมืองประเทศราชกลายเป็นส่วนหนึ่งของพระราชอาณาจักร  เมืองประเทศราชทางเหนือ คือ นครเชียงใหม่,นครน่าน,นครลำปาง,นครลำพูน,แพร่ กลายเป็นมณฑลพายัพ เมืองประเทศราชทางใต้คือ ปัตตานี ยะลา ระแงะ(ภายหลังรวมกับอำเภอบางนรา แล้วเปลี่ยนชื่อ เป็น นราธิวาส) กลายเป็นมณฑลปัตตานี เมืองประเทศราชทางทิศตะวันออกกลายเป็นมณฑลอุดรและมณฑลอีสานหรืออุบล ถือเป็นการสิ้นสุดหัวเมืองประเทศราช
ใน พ.ศ.2437 ทรงจัดทั้ง[[มณฑลเทศาภิบาล]]ขึ้น เมืองประเทศราชกลายเป็นส่วนหนึ่งของพระราชอาณาจักร  เมืองประเทศราชทางเหนือ คือ นครเชียงใหม่,นครน่าน,นครลำปาง,นครลำพูน,แพร่ กลายเป็นมณฑลพายัพ เมืองประเทศราชทางใต้คือ ปัตตานี ยะลา ระแงะ(ภายหลังรวมกับอำเภอบางนรา แล้วเปลี่ยนชื่อ เป็น นราธิวาส) กลายเป็นมณฑลปัตตานี เมืองประเทศราชทางทิศตะวันออกกลายเป็นมณฑลอุดรและมณฑลอีสานหรืออุบล ถือเป็นการสิ้นสุดหัวเมืองประเทศราช
   
   
ดังที่สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงแสดงไว้ว่า...เมื่อเป็นพระราชอาณาเขตแล้ว จึงเลิกประเพณีที่เมืองประเทศราชถวายต้นไม้ทอง ต้นไม้เงิน และให้เปลี่ยนนามมณฑลลาวเฉียงเป็นมณฑลพายัพ เปลี่ยนนามมณฑลลาวพวนเป็นมณฑลอุดร และเปลี่ยนนามมณฑลลาวกาวเป็นมณฑลอีสาน ทั้งให้เลิกเรียกชาวมณฑลทั้ง 3 ว่าลาวด้วย   
ดังที่สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงแสดงไว้ว่า...เมื่อเป็นพระราชอาณาเขตแล้ว จึงเลิกประเพณีที่เมืองประเทศราชถวายต้นไม้ทอง ต้นไม้เงิน และให้เปลี่ยนนามมณฑลลาวเฉียงเป็นมณฑลพายัพ เปลี่ยนนามมณฑลลาวพวนเป็นมณฑลอุดร และเปลี่ยนนามมณฑลลาวกาวเป็นมณฑลอีสาน ทั้งให้เลิกเรียกชาวมณฑลทั้ง 3 ว่าลาวด้วย<ref>ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ , ความเป็นมาของทฤษฎีแบ่งแยกดินแดนในภาคใต้ไทย, (กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์,2555) ,หน้า22-23. </ref>  


==บรรณานุกรม==
==บรรณานุกรม==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:26, 7 ธันวาคม 2557

เรียบเรียงโดย : อาจารย์บุญยเกียรติ การะเวกพันธุ์ และคณะ

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : รศ.ดร.ปธาน สุวรรณมงคล


ความหมายของหัวเมืองประเทศราช

หัวเมืองประเทศราช เป็นเมืองที่อยู่ห่างไกลจากราชธานี อยู่นอกพระราชอาณาเขต มีการปกครองที่เป็นอิสระเป็นของตนเอง เมืองเหล่านี้มีรูปแบบการปกครองตามวัฒนธรรมเดิมของตน เจ้าผู้ปกครองมีสิทธิ์ขาดในการปกครองดินแดนของตน แต่ต้องแสดงตนว่ายอมอ่อนน้อมหรือยอมเป็นเมืองประเทศราช โดยการส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายตามกำหนดเป็นการแสดงความจงรักภักดี ต้องส่งส่วยและเมื่อเกิดศึกสงครามก็ส่งกำลังและเสบียงอาหารมาช่วยราชธานี หัวเมืองประเทศราชที่สำคัญของไทย เช่น เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน น่าน แพร่ มลายู ลาวและกัมพูชา

การแบ่งหัวเมืองในสมัยสุโขทัย อยุธยาและรัตนโกสินทร์ตอนต้น

การจัดการปกครองในสมัยสุโขทัย อยุธยาและรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีการแบ่งหัวเมืองออกเป็นชั้นๆ ตามลำดับความสำคัญของเมือง โดยการแบ่งหัวเมืองเช่นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการจัดระบอบการปกครอง จัดความสัมพันธ์ระหว่างหัวเมืองกับเมืองหลวง เพราะรัฐไม่มีกำลังทหารเพียงพอที่จะไปปกครองโดยตรง[1]

การจัดระเบียบความสัมพันธ์ทางการปกครองระหว่างราชธานีกับหัวเมืองจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆคือ

1.เมืองที่ปกครองจากราชธานีโดยตรง โดยราชธานีจะส่งผู้ปกครองไปจากส่วนกลาง รูปแบบการปกครองจำลองจากส่วนกลางไปสู่ส่วนภูมิภาค การแบ่งประเภทหัวเมืองแล้วแต่ยุคสมัย เช่น สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแบ่งออกเป็นหัวเมืองชั้นใน คือเมืองลูกหลวง และหัวเมืองชั้นนอกไกลออกจากราชธานีจะเป็นเมืองพระยามหานคร สมัยสมเด็จพระนเรศวรแบ่งเป็นหัวเมืองชั้นเอก โท ตรี

2.เมืองที่ปกครองตนเอง มีการสืบตำแหน่งผู้ปกครองของตนเองแต่แสดงตนว่ายอมอ่อนน้อมต่อราชธานีโดยการส่งเครื่องราชบรรณาการเช่นต้นไม้เงิน ต้นไม้ทอง ส่วยและผลประโยชน์อย่างอื่น เพื่อแสดงว่ายอมเป็นเมืองขึ้น เมืองเหล่านี้มักเป็นเมืองต่างชาติ ต่างภาษา ดังที่สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงนิพนธ์ถึงเมืองประเทศราชไว้ว่า “..ลักษณะการปกครองแบบเดิมนั้น นิยมให้เป็นอย่างประเทศราชาธิราช (Empire) อันมีเมืองคนต่างชาติต่างภาษาเป็นเมืองขึ้นอยู่ในพระราชอาณาเขต”[2]

เมืองประเทศราชมักจะเป็นเมืองที่ห่างไกลจากราชธานีและมีอำนาจทางการเมืองของตน ในกฎมณเฑียรบาลในกฎหมายตราสามดวงกล่าวว่า มีเมืองกษัตริย์แต่ได้ถวายต้นไม้เงิน ต้นไม้ทอง 20 เมือง คือ เมืองทางเหนือ 16 เมือง ได้แก่ เมืองนครหลวง (กัมพูชา) ศรีสัตนาคนหุต เชียงใหม่ ตองอู เชียงไกร เชียงกราน เชียงแสน เชียงรุ้ง เชียงราย แสนหวี เขมราช แพร่ น่าน ใต้ทอง โคตรบอง และแรวแกว ทางใต้ 4 เมืองคือ อุยองตะหนะ มะละกา มลายูและวรวารี[3]

การส่งเครื่องราชบรรณาการ

การปกครองของเมืองประเทศราชจะมีการปกครองที่ค่อนจะเป็นอิสระแต่ต้องมีการแสดงความอ่อนน้อมและจงรักภักดีต่อราชธานีโดยการส่งเครื่องราชบรรณาการ ซึ่งประกอบด้วย

1.เครื่องราชบรรณาการ เป็นเครื่องหมายของการยอมอยู่ใต้อำนาจ หากไม่ส่งจะถือว่าเป็นกบฏ เครื่องราชบรรณาการประกอบด้วยสิ่งสำคัญคือ ต้นไม้ทองและต้นไม้เงิน ขนาดเท่ากัน 1 คู่ และสิ่งของอีกจำนวนหนึ่งตามความเหมาะสม โดยไม่จำกัดชนิดและจำนวน หลักฐานในสมัยรัชกาลที่ 4 พบส่งต้นไม้เงินทองเงินสูง 3 ศอกคืบ 7 ชั้น และไม้ขอนสัก 300 ต้น หรือบางปีส่งน้ำรักแทนในจำนวน 150 หรือ 300 กระบอก ต้นไม้เงินต้นไม้ทองที่ส่งมาถวายไม่มีค่าทางเศรษฐกิจเมื่อเทียบกับส่วยและการเกณฑ์สิ่งของที่มีมูลค่าสูงกว่ามาก[4]

กำหนดที่เมืองประเทศราชจะส่งเครื่องราชบรรณาการแล้วแต่ระยะทางใกล้ไกลและความสำคัญของแต่ละเมือง บางเมืองต้องถวายบรรณาการทุกปี แต่โดยปกติแล้วจะส่งสามปีต่อครั้ง โดยคำนึงถึงระยะทางและความไว้วางใจ

การถวายต้นไม้เงิน ต้นไม้ทอง มาจากความเชื่อในลัทธิไศเลนทร์ที่ว่าพระเจ้าแผ่นดินเป็นพระศิวะ ซึ่งประทับบนเขาไกรลาส และเมืองขึ้นก็เปรียบเหมือนต้นไม้เงิน ต้นไม้ทองในป่าหิมพานต์เชิงเขาไกลาส[5]

ลักษณะรูปแบบสำคัญของต้นไม้เงิน ต้นไม้ทองที่ใช้เป็นเครื่องราชบรรณาการ สมัยรัตนโกสินทร์มีลักษณะที่สำคัญคือ ต้องจัดทำเป็นคู่ ทำด้วยเงินแท้ทั้งต้น ต้นไม้ทองทำด้วยทองคำแท้ตั้งต้น น้ำหนักของต้นไม้ทองคำและต้นไม้เงิน ที่เป็นคู่กันต้องมีน้ำหนักเท่ากัน มีลำต้น กิ่งก้าน กาบดอก และใบครบถ้วนสมบูรณ์ รูปร่างลักษณะและความสูงต่ำของต้นไม้ ที่เป็นคู่กันต้องเหมือนหรือเท่ากัน มีกระถางหรือแจกันรองรับ เหมือนกัน เป็นคู่กัน ความสวยงาม ความประณีต และแบบต้นไม้ จะเป็นอย่างไรนั้นสุดแต่เมืองนั้นๆ จะคิดและประดิษฐ์ ส่วนมากมักจะมีครอบแก้ว ครอบต้นไม้เงิน ต้นไม้ทองมาด้วย เพื่อป้องกันการชำรุดเสียหายระหว่างทางและสะดวกในการเก็บรักษาทำความสะอาด[6]

ในสมัยรัชกาลที่ 5 เครื่องราชบรรณาการจากไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู มีต้นไม้เงิน 1 ต้นไม้ทอง 1 แต่ละต้นสูง 6 ศอก มีกิ่งไม้ 8 ชั้น มีดอกไม้เงิน ทอง รวม 638 ดอก ใบไม้เงิน ทอง 980 ใบ มีงู 2 คู่ เงินคู่ ทองคู่ นกอีก 4 ตัว และกวางเงิน 2 บนยอดมีดอกไม้เงิน ทองใหญ่อย่างละ 1 มีกลีบเป็น 3 ชั้น[7]

จากหนังสือสยามประเภทของนาย ก.ศ.ร. กุหลาบ สยามประเภท เล่ม 2 ตอน 17. วันที่ 1 ส.ค. ร.ศ.118 เรื่องต้นเหตุเมืองแขกมะละกาขึ้นกับไทย ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้กล่าวถึงต้นไม้เงินต้นไม้ทอง ที่เป็นเครื่องราชบรรณาการ ในสมัยอยุธยาไว้ว่า ราว พ.ศ.2045 ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าบรมราชามหาพุทธางกูร สยามเป็นไมตรีกับโปรตุเกส โปรตุเกสขอกำลังกองทัพเรือไทยไปช่วยตีเมืองมะละกา เพราะชาวมะละกาทำร้ายพ่อค้าโปรตุเกสที่เข้าไปค้าขาย กองทัพเรืออยุธยาตีเมืองมะละกาได้ พระเจ้าแผ่นดินสยามขณะนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าราชบุตรแขกเมืองมะละกาเป็นเจ้าเมืองสืบแทนพระบิดา ให้มีพระนามว่า จ้าวมะหะหมัดรัตนะรายามหาราช และให้เป็นเมืองประเทศราชถวายดอกไม้เงินทองสิ่งของเครื่องราชบรรณาการแก่กรุงศรีอยุธยาตามประเพณีมีมาแต่โบราณ[8]

2.ส่วย เป็นสิ่งของที่ต้องส่งทุกปีในอัตราที่ค่อนข้างแน่นอน เช่นส่วยที่สำคัญที่เชียงใหม่ต้องส่งคือ ไม้ขอนสัก ตามหลักฐานสมัยรัชกาลที่ 3 เชียงใหม่ส่งไม้ขอนสัก 500 ต้น น่าน 4000 ต้น ลำปาง 400 ต้น แพร่ 200ต้น ลำพูน 200 ต้น[9]

3.การเกณฑ์สิ่งของ เมื่อมีงานพระราชพิธี เช่นพระบรมศพ จะมีการเกณฑ์สิ่งของ พระราชพิธีพระบรมศพรัชกาลที่ 1 พ.ศ.2352 เชียงใหม่ถูกเกณฑ์ส่งกระดาษหัว 20,000 แผ่น ลำปางส่งกระดาษหัว 15,000 แผ่น ลำพูน 5,000 แผ่น แพร่ 20,000 แผ่น ป่าน 5 หาบ และเมืองน่านส่งกระดาษหัว 3,000 แผ่น ป่าน 5 หาบหรือเมื่อรัชกาลที่ 4 ทรงสร้างพระราชวังที่ลพบุรี ลำปางส่งไม้สัก 1,000 ต้น[10]

4.การเกณฑ์ไพร่พลในราชการสงคราม ยามมีศึกสงครามเมืองประเทศราชจะถูกเกณฑ์กำลังทหารเข้าร่วมในกองทัพ เช่น การเกณฑ์ประเทศราชฝ่ายเหนือเข้าร่วมกับกองทัพสยามในคราวกบฏเจ้าอนุวงศ์ พ.ศ.2369 นอกจากนี้เมืองประเทศราชอยู่ในสภาวะที่ต้องเตรียมพร้อมป้องกันบ้านเมืองเสมอ[11]

ประโยชน์ที่หัวเมืองประเทศราชได้รับ

1.การได้รับความคุ้มครองจากราชธานี การเป็นเมืองประเทศราชจะได้รับการแผ่อิทธิพลทางการเมืองของราชธานีเพื่อคุ้มครอง ถ้าเมืองประเทศราชถูกรุกรานจากรัฐอื่น หรือมีสงครามให้เมืองประเทศราชแจ้งราชธานีเพื่อจะส่งกำลังไปช่วยเหลือ[12]

2.รายได้ของผู้ปกครอง มีดังนี้[13]

(1) รายได้จากภาษีอากร ซึ่งอยู่ในรูปของเงินหรือผลิตผล เช่น ข้าว

(2) รายได้จากทรัพยากร เช่น แร่ธาตุ สัตว์น้ำ สัตว์ป่า ไม้สัก ซึ่งถือเป็นของหลวง ผู้ที่เก็บได้จะต้องเสียบางส่วนเข้าท้องพระคลัง

(3) รายได้จากการปรับไหม ได้จากการปรับไหมผู้ที่ถูกพิจารณาตัดสินลงโทษโดยการปรับไหม

(4) รายได้จากส่วยไร หรือบรรณาการเมืองขึ้น ซึ่งเจ้าเมืองจะเก็บจากเมืองบริวาร

(5) รายได้จากการทำสงคราม หลังจากที่ส่งกองทัพไปร่วมรบ เมื่อรบชนะแล้วยึดทรัพย์สิน ตลอดจนจับผู้คนเป็นเชลย

(6) เมื่อประชาชนตายและไม่มีผู้สืบมรดกให้ทรัพย์สินตกเป็นของคลังหลวง

3.การได้รับสิ่งของพระราชทาน เมื่อเมืองประเทศราชส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวาย ราชธานีจะพระราชทานสิ่งของตอบแทนผ่านผู้คุมบรรณาการ ดังตัวอย่างที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกพระราชทานสิ่งของให้กับเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่เมื่อมาถวายราชบรรณาการใน พ.ศ.2435 ดังนี้[14]

ปืนนกคุ้มกระสุน 2 นิ้ว 2 กระบอก

ปืนเล็กกระสุน 3 นิ้ว 2 กระบอก

กระสุนปืนใหญ่ 3,4,5 นิ้ว 2,500 ลูก

ดีบุก 5 หาบ

สุพันถัน 3 หาบ

ฉาบพล 2,000 ใบ

กระทะเหล็ก 7 ใบ

ทองคำเปลว 5,000 แผ่น

กระจก 10 หาบ

ความสัมพันธ์ทางการปกครองกับราชธานี

เมืองประเทศราชจะมีการปกครองอิสระของตนเอง โดยแสดงความอ่อนน้อมและจงรักภักดีโดยการถวายเครื่องราชบรรณาการตามกำหนด ซึ่งเมืองประเทศราชที่ไม่ได้ส่งเครื่องราชบรรณาการจะอยู่ในสถานะความเป็นกบฏและจะได้รับโทษขั้นรุนแรง ดังปรากฏกฎหมายลักษณะกระบดศึกว่า...อนึ่งพระเจ้าอยู่หัวให้ผู้ใดไปรั้งเมืองครองเมืองแลมิได้เอาสุวรรณบุปผาเข้ามาบังคมถวายแลแขวงเมือง อนึ่งผู้ใดเอาใจไปเผื่อแผ่ข้าศึกศัตรู นัดแนะให้ยกเข้ามาเบียดเบียนพระนครขอบขัณฑเสมาธานีน้อยใหญ่ ถ้าผู้ใดกระทำดังกล่าวมานี้ โทษผู้นั้นเปนอุกฤษฐโทษ 3 สถาน ๆ หนึ่ง ให้ริบราชบาทฆ่าเสียให้สิ้นทังโคตร สถานหนึ่ง ให้ริบราชบาทฆ่าเสีย 7 ชั่วโคตร สถานหนึ่ง ให้ริบราชบาตรแล้วให้ฆ่าเสีย โคตรนั้นอย่าให้เลี้ยงสืบไปเลย เมื่อประหารชีวิตนั้น ให้ได้ 7 วันจึงให้สิ้นชีวิต เมื่อประหารนั้นอย่าให้โลหิตแลอาศภตกลงในแผ่นดิน ให้ใส่แพลอยเสียตามกระแสน้ำ[15]

การยกเลิกหัวเมืองประเทศราช

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประเทศสยามเผชิญกับการคุกคามของการล่าอาณานิคมจากประเทศตะวันตก เมืองประเทศราชหลายๆเมืองตกเป็นเมืองขึ้นของตะวันตก เช่น การเสียเมืองประเทศราชทางฝั่งขวาของแม่น้ำโขง อันได้แก่หลวงพระบาง เวียงจันทน์ให้กับฝรั่งเศส ในหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ค.ศ.1904[16] การเสียประเทศราชในกัมพูชา อันได้แก่พระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณให้กับฝรั่งเศส ในหนังสือสัญญาระหว่างพระเจ้าแผ่นดินสยาม กับ เปรสิเดนต์แห่งรีปับลิกฝรั่งเศส ค.ศ.1907[17] การเสียมลายูให้กับอังกฤษใน สัญญาในระหว่างกรุงสยามกับกรุงอังกฤษ ลงชื่อกันที่กรุงเทพฯ ณ วันที่ 10 มีนาคม รัตนโกสินทร์ ศก 127[18]

ในส่วนที่เหลือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเริ่มปฏิรูปการปกครองโดยการรวมเมืองประเทศราชทางเหนือ เช่น นครเชียงใหม่, นครน่าน, นครลำปาง, นครลำพูน, แพร่, เถิน เข้าเป็นมณฑลลาวเฉียง และทรงแต่งตั้งพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นพิชิตปรีชากร เป็นข้าหลวงต่างพระองค์ประจำนครเชียงใหม่ ใน พ.ศ.2427[19] รวมเมือง อุดรธานี, ขอนแก่น, นครพนม, สกลนคร, เลย, หนองคาย เป็นมณฑลลาวพวน รวมอุบลราชธานี, นครจำปาศักดิ์, ศรีสะเกษ, สุรินทร์, ร้อยเอ็ด, มหาสารคาม, กาฬสินธุ์ เป็นมณฑลลาวกาว[20]

ใน พ.ศ.2437 ทรงจัดทั้งมณฑลเทศาภิบาลขึ้น เมืองประเทศราชกลายเป็นส่วนหนึ่งของพระราชอาณาจักร เมืองประเทศราชทางเหนือ คือ นครเชียงใหม่,นครน่าน,นครลำปาง,นครลำพูน,แพร่ กลายเป็นมณฑลพายัพ เมืองประเทศราชทางใต้คือ ปัตตานี ยะลา ระแงะ(ภายหลังรวมกับอำเภอบางนรา แล้วเปลี่ยนชื่อ เป็น นราธิวาส) กลายเป็นมณฑลปัตตานี เมืองประเทศราชทางทิศตะวันออกกลายเป็นมณฑลอุดรและมณฑลอีสานหรืออุบล ถือเป็นการสิ้นสุดหัวเมืองประเทศราช

ดังที่สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงแสดงไว้ว่า...เมื่อเป็นพระราชอาณาเขตแล้ว จึงเลิกประเพณีที่เมืองประเทศราชถวายต้นไม้ทอง ต้นไม้เงิน และให้เปลี่ยนนามมณฑลลาวเฉียงเป็นมณฑลพายัพ เปลี่ยนนามมณฑลลาวพวนเป็นมณฑลอุดร และเปลี่ยนนามมณฑลลาวกาวเป็นมณฑลอีสาน ทั้งให้เลิกเรียกชาวมณฑลทั้ง 3 ว่าลาวด้วย[21]

บรรณานุกรม

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ , ลัทธิชาตินิยมไทย/สยามกับกัมพูชา : และกรณีศึกษาปราสาทเขาพระวิหาร, กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์,2552.

ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ , ความเป็นมาของทฤษฎีแบ่งแยกดินแดนในภาคใต้ไทย, กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2555.

ธันยวัฒน์ รัตนสัค, การบริหารราชการไทย, เชียงใหม่ : สำนักวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2555.

ชวลีย์ ณ ถลาง, ประเทศราชของสยามในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.2541.

ปริศนา ศิรินาม, ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและประเทศราชในหัวเมืองล้านนาไทย สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น, วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ,บัณฑิตวิทยาลัย : วิทยาลัยการศึกษาประสานมิตร ,2516.

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี, บันทึกเรื่องการปกครองของไทยสมัยอยุธยาและต้นรัตนโกสินทร์, กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549.

สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ, นิทานโบราณคดี, กรุงเทพมหานคร, ศิลปะบรรณาคาร, 2509.

สรัสวดี อ๋องสกุล, ประวัติศาสตร์ล้านนา, กรุงเทพมหานคร : อมรินทร์, 2556.

สมศักดิ์ ฤทธิ์ภักดี ,(2557), ต้นไม้เงิน ต้นไม้ทองสมัยรัตนโกสินทร์, ค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2557 จาก http://emuseum.treasury.go.th/article/238-goldtree-a-sivertree.html

หนังสือแนะนำอ่านเพิ่มเติม

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี, บันทึกเรื่องการปกครองของไทยสมัยอยุธยาและต้นรัตนโกสินทร์, กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549.

ชวลีย์ ณ ถลาง, ประเทศราชของสยามในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.2541.

สรัสวดี อ๋องสกุล, ประวัติศาสตร์ล้านนา, กรุงเทพมหานคร : อมรินทร์, 2556.

  1. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี, บันทึกเรื่องการปกครองของไทยสมัยอยุธยาและต้นรัตนโกสินทร์,(กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549),หน้า 32.
  2. สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ, นิทานโบราณคดี, (กรุงเทพมหานคร, ศิลปะบรรณาคาร, 2509), หน้า 20.
  3. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี, บันทึกเรื่องการปกครองของไทยสมัยอยุธยาและต้นรัตนโกสินทร์,หน้า 30.
  4. สรัสวดี อ๋องสกุล, ประวัติศาสตร์ล้านนา, (กรุงเทพมหานคร : อมรินทร์, 2556), หน้า 361.
  5. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี, บันทึกเรื่องการปกครองของไทยสมัยอยุธยาและต้นรัตนโกสินทร์ ,หน้า 28.
  6. สมศักดิ์ ฤทธิ์ภักดี ,(2557), ต้นไม้เงิน ต้นไม้ทองสมัยรัตนโกสินทร์, ค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2557 จาก http://emuseum.treasury.go.th/article/238-goldtree-a-sivertree.html
  7. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี, บันทึกเรื่องการปกครองของไทยสมัยอยุธยาและต้นรัตนโกสินทร์ , หน้า 136.
  8. สมศักดิ์ ฤทธิ์ภักดี ,(2557), ต้นไม้เงิน ต้นไม้ทองสมัยรัตนโกสินทร์ , ค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2557 จาก http://emuseum.treasury.go.th/article/238-goldtree-a-sivertree.html
  9. ปริศนา ศิรินาม, ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและประเทศราชในหัวเมืองล้านนาไทย สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น, วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต (บัณฑิตวิทยาลัย : วิทยาลัยการศึกษาประสานมิตร ,2516),หน้า 105.
  10. เพิ่งอ้าง, หน้า 10.
  11. สรัสวดี อ๋องสกุล,ประวัติศาสตร์ล้านนา, หน้า 364.
  12. เพิ่งอ้าง, หน้า 364.
  13. ชวลีย์ ณ ถลาง, ประเทศราชของสยามในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว,(กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.2541), หน้า 10.
  14. สรัสวดี อ๋องสกุล,ประวัติศาสตร์ล้านนา, หน้า 362.
  15. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี, บันทึกเรื่องการปกครองของไทยสมัยอยุธยาและต้นรัตนโกสินทร์ , หน้า 41-42.
  16. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ , ลัทธิชาตินิยมไทย/สยามกับกัมพูชา : และกรณีศึกษาปราสาทเขาพระวิหาร, (กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์,2552), หน้า 201-208.
  17. เพิ่งอ้าง,หน้า 219-222
  18. ชวลีย์ ณ ถลาง.ประเทศราชของสยามในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว.(กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.2541) , หน้า 340-342.
  19. ธันยวัฒน์ รัตนสัค, การบริหารราชการไทย,(เชียงใหม่ : สำนักวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2555), หน้า 78-79.
  20. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ, พระราชพงศาวดารรัชกาลที่ 5. (กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มติชน, 2545), หน้า 185-191.
  21. ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ , ความเป็นมาของทฤษฎีแบ่งแยกดินแดนในภาคใต้ไทย, (กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์,2555) ,หน้า22-23.