ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จตุสดมภ์"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Suksan (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Suksan (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 12: บรรทัดที่ 12:
จตุสดมภ์ หมายถึง “หลักทั้งสี่” มีองค์ประกอบที่สำคัญดังนี้  
จตุสดมภ์ หมายถึง “หลักทั้งสี่” มีองค์ประกอบที่สำคัญดังนี้  


''' 1.กรมเวียง''' มีหน้าที่ดูแลเมืองหลวงในทุกกิจการ ดูแลสถานที่สำคัญ รักษาความสงบในราชธานี มีกองตระเวนและศาลขึ้นอยู่ใต้การบังคับบัญชา มีศาลนครบาลสำหรับการพิพากษาคดีในพระนคร และดูแลเสภาพระนคร (เรือนจำ เสภาแปลว่าคุก) โดยมีกรมย่อยที่ขึ้นกับกรมเวียงเช่น กรมกองตระเวนขวา กรมกองตระเวนซ้าย
''' 1.[[กรมเวียง]]''' มีหน้าที่ดูแลเมืองหลวงในทุกกิจการ ดูแลสถานที่สำคัญ รักษาความสงบในราชธานี มีกองตระเวนและศาลขึ้นอยู่ใต้การบังคับบัญชา มีศาลนครบาลสำหรับการพิพากษาคดีในพระนคร และดูแลเสภาพระนคร (เรือนจำ เสภาแปลว่าคุก) โดยมีกรมย่อยที่ขึ้นกับกรมเวียงเช่น กรมกองตระเวนขวา กรมกองตระเวนซ้าย


เมื่อมีการปฏิรูปการปกครองแผ่นดินในสมัย[[สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ]] กรมเวียงเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น[[กรมนครบาล]] มี[[พระยายมราชอินทราธิบดีศรีวิชัยบริรักษ์โลกากร]] เป็นเสนาบดี ศักดินา 10,000 ไร่
เมื่อมีการปฏิรูปการปกครองแผ่นดินในสมัย[[สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ]] กรมเวียงเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น[[กรมนครบาล]] มี[[พระยายมราชอินทราธิบดีศรีวิชัยบริรักษ์โลกากร]] เป็นเสนาบดี ศักดินา 10,000 ไร่


''' 2.กรมวัง''' มีหน้าที่บังคับกิจการในพระราชวัง ดูแลพระราชฐาน ควบคุมการรับจ่ายในวัง รับผิดชอบงานพระราชพิธี บังคับบัญชาคนในวังยกเว้นคนของกรมมหาดเล็ก
''' 2.[[กรมวัง]]''' มีหน้าที่บังคับกิจการในพระราชวัง ดูแลพระราชฐาน ควบคุมการรับจ่ายในวัง รับผิดชอบงานพระราชพิธี บังคับบัญชาคนในวังยกเว้นคนของกรมมหาดเล็ก


กรมวังยังมีหน้าที่รับผิดชอบในเรื่องการยุติธรรม เพราะคติที่ถือว่าพระเจ้าแผ่นดินเป็นต้นของความยุติธรรมในสังคม กรมวังมีหน้าที่ดูแลศาลหลวง และการแต่งตั้งยกกระบัตรไปทำหน้าที่ดูและความยุติธรรมหรือเป็นหัวหน้าศาลในหัวเมือง
กรมวังยังมีหน้าที่รับผิดชอบในเรื่องการยุติธรรม เพราะคติที่ถือว่าพระเจ้าแผ่นดินเป็นต้นของความยุติธรรมในสังคม กรมวังมีหน้าที่ดูแล[[ศาลหลวง]] และการแต่งตั้ง[[ยกกระบัตร]]ไปทำหน้าที่ดูและความยุติธรรมหรือเป็นหัวหน้าศาลในหัวเมือง


มีกรมย่อยที่ขึ้นกับกรมวังคือ
มีกรมย่อยที่ขึ้นกับกรมวังคือ


1.กรมตำรวจวังซ้าย ขวา
1.[[กรมตำรวจวังซ้าย ขวา]]


2.กรมพระราชยาน
2.[[กรมพระราชยาน]]


3.กรมพิมานอากาศ (เครื่องสูง)
3.[[กรมพิมานอากาศ (เครื่องสูง)]]


4.กรมช่างทอง ช่างเงิน
4.[[กรมช่างทอง ช่างเงิน]]


5.กรมพระสุคนธ์
5.[[กรมพระสุคนธ์]]


6.กรมพระแสงใน
6.[[กรมพระแสงใน]]


7.คลังข้าวสาร
7.[[คลังข้าวสาร]]


8.กรมศุภรัตน์
8.[[กรมศุภรัตน์]]


เมื่อมีการปฏิรูปการปกครองแผ่นดินในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ กรมวังเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นกรมธรรมาธิกรณ์ มีพระยาธรรมาธิบดีศรีวิริยพงษวงษภักดีบดินทรเดโชชัยมไหสุริยาธิบดีศรีรันมณเทียรบาล เป็นเสนาบดี ศักดินา 10,000 ไร่
เมื่อมีการปฏิรูปการปกครองแผ่นดินในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ กรมวังเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น[[กรมธรรมาธิกรณ์]] มี[[พระยาธรรมาธิบดีศรีวิริยพงษวงษภักดีบดินทรเดโชชัยมไหสุริยาธิบดีศรีรันมณเทียรบาล]] เป็นเสนาบดี ศักดินา 10,000 ไร่


''' 3.กรมคลัง''' มีหน้าที่หน้าที่ควบคุมรายรับ รายจ่าย มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลการค้าสำเภา ติดต่อการค้ากับต่างประเทศและดูแลรับรองคณะทูตจากต่างประเทศและควบคุมดูแลชาวต่างชาติที่เข้ามาอาศัยอยู่ในอยุธยา
''' 3.[[กรมคลัง]]''' มีหน้าที่หน้าที่ควบคุมรายรับ รายจ่าย มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลการค้าสำเภา ติดต่อการค้ากับต่างประเทศและดูแลรับรองคณะทูตจากต่างประเทศและควบคุมดูแลชาวต่างชาติที่เข้ามาอาศัยอยู่ในอยุธยา


กรมคลังมีกรมในสังกัดคือ กรมพระคลังสินค้า กรมท่าซ้ายและท่าขวา
กรมคลังมีกรมในสังกัดคือ กรมพระคลังสินค้า กรมท่าซ้ายและท่าขวา


เมื่อมีการปฏิรูปการปกครองแผ่นดินในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ กรมคลังเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นกรมโกษาธิบดี มีพระยาศรีธรรมราชเดชชาติอำมาตยานุชิตพิพิธรัตนราชโกษาธิบดี เป็นเสนาบดี ศักดินา 10,000 ไร่
เมื่อมีการปฏิรูปการปกครองแผ่นดินในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ กรมคลังเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น[[กรมโกษาธิบดี]] มี[[พระยาศรีธรรมราชเดชชาติอำมาตยานุชิตพิพิธรัตนราชโกษาธิบดี]] เป็นเสนาบดี ศักดินา 10,000 ไร่


'''4.กรมนา''' มีหน้าที่ ดูแลที่ดิน รังวัด ถือทะเบียนที่ดิน ใบเหยียบย่ำ ตราจอง โฉนด คอยควบคุมการทำนา รวมสถิติน้ำฝน ต้นข้าวไว้กราบบังคมทูลเวลาเสด็จออกว่าราชการ หาพันธ์ข้าวและควายให้ราษฎร รวมทั้งมีหน้าที่ในการจัดพระราชพิธีแรกนา ซึ่งเป็นธรรมเนียมที่รับมาจากอินเดีย โดยพระยาพลเทพเป็นผู้ทำการแทนพระเจ้าแผ่นดิน
'''4.[[กรมนา]]''' มีหน้าที่ ดูแลที่ดิน รังวัด ถือทะเบียนที่ดิน ใบเหยียบย่ำ ตราจอง โฉนด คอยควบคุมการทำนา รวมสถิติน้ำฝน ต้นข้าวไว้กราบบังคมทูลเวลาเสด็จออกว่าราชการ หาพันธ์ข้าวและควายให้ราษฎร รวมทั้งมีหน้าที่ในการจัด[[พระราชพิธีแรกนา]] ซึ่งเป็นธรรมเนียมที่รับมาจากอินเดีย โดย[[พระยาพลเทพ]]เป็นผู้ทำการแทนพระเจ้าแผ่นดิน


กรมนามีศาลสำหรับตัดสอนคดีเกี่ยวกับที่นา สัตว์พาหนะ
กรมนามีศาลสำหรับตัดสอนคดีเกี่ยวกับที่นา สัตว์พาหนะ
บรรทัดที่ 54: บรรทัดที่ 54:
กรมนายังมีหน้าที่ควบคุมกรมฉางหลวง คอยซื้อข้าวตลอดจนอาหาร สัตว์พาหนะ ของป่า งาช้าง หนังสัตว์ และมีหน้าที่เกณฑ์สัตว์พาหนะจากราษฎรในเวลามีศึกสงคราม
กรมนายังมีหน้าที่ควบคุมกรมฉางหลวง คอยซื้อข้าวตลอดจนอาหาร สัตว์พาหนะ ของป่า งาช้าง หนังสัตว์ และมีหน้าที่เกณฑ์สัตว์พาหนะจากราษฎรในเวลามีศึกสงคราม


เมื่อมีการปฏิรูปการปกครองแผ่นดินในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ กรมนาเปลี่ยนชื่อเป็นกรมเกษตราธิการ มีพระยาพลเทพราชเสนาบดี ศรีไชยนพรัตน์เกษตราธิบดี ถือศักดินา 10,000 ไร่
เมื่อมีการปฏิรูปการปกครองแผ่นดินในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ กรมนาเปลี่ยนชื่อเป็น[[กรมเกษตราธิการ]] มี[[พระยาพลเทพราชเสนาบดี ศรีไชยนพรัตน์เกษตราธิบดี]] ถือศักดินา 10,000 ไร่


==การปฏิรูปการปกครองแผ่นดินในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ==
==การปฏิรูปการปกครองแผ่นดินในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ==


สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 8 ของกรุงศรีอยุธยา พระองค์ทรงครองราชสมบัติเป็นเวลานานที่สุดในบรรดาพระมหากษัตริย์ของกรุงศรีอยุธยาคือ 40 ปี (พ.ศ.1991-2031) พระองค์มีบทบาทสำคัญในทางการเมือง การปกครองคือเป็นผู้รวมอาณาจักรสุโขทัยเข้ากับอาณาจักรอยุธยา และทรงปฏิรูปการปกครองแผ่นดินโดยการเปลี่ยนระบบจตุสดมภ์ (เวียง วัง คลัง นา) ไปเป็นระบบที่ซับซ้อนขึ้น
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 8 ของกรุงศรีอยุธยา พระองค์ทรงครองราชสมบัติเป็นเวลานานที่สุดในบรรดาพระมหากษัตริย์ของกรุงศรีอยุธยาคือ 40 ปี (พ.ศ.1991-2031) พระองค์มีบทบาทสำคัญในทางการเมือง การปกครองคือเป็นผู้รวมอาณาจักรสุโขทัยเข้ากับอาณาจักรอยุธยา และทรงปฏิรูปการปกครองแผ่นดินโดยการเปลี่ยนระบบ[[จตุสดมภ์]] (เวียง วัง คลัง นา) ไปเป็นระบบที่ซับซ้อนขึ้น


สาเหตุของการปฏิรูปการปกครองแผ่นดินมาจากปัญหาบางประการกล่าวคือ  
สาเหตุของการปฏิรูปการปกครองแผ่นดินมาจากปัญหาบางประการกล่าวคือ  
บรรทัดที่ 66: บรรทัดที่ 66:
2.อาณาจักรอยุธยาที่แผ่ขยายออกไปเรื่อยๆ รวมถึงการผนวกอาณาจักรสุโขทัยเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยาในปี พ.ศ.1981 ทำให้ต้องปฏิรูปการปกครองแผ่นดินเพื่อให้มีประสิทธิภาพและความมั่นคงยิ่งขึ้น
2.อาณาจักรอยุธยาที่แผ่ขยายออกไปเรื่อยๆ รวมถึงการผนวกอาณาจักรสุโขทัยเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยาในปี พ.ศ.1981 ทำให้ต้องปฏิรูปการปกครองแผ่นดินเพื่อให้มีประสิทธิภาพและความมั่นคงยิ่งขึ้น


3.สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเมื่อทรงดำรงพระยศเป็นพระราเมศวรเป็นพระมหาอุปราชครองเมือง พิษณุโลก ทรงสนพระทัยรูปแบบการปกครองของอาณาจักรสุโขทัย และนำแนวความคิดดังกล่าวมาปฏิรูปการปกครองของอาณาจักรอยุธยา
3.สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเมื่อทรงดำรงพระยศเป็น[[พระราเมศวร]]เป็น[[พระมหาอุปราช]]ครองเมือง พิษณุโลก ทรงสนพระทัยรูปแบบการปกครองของ[[อาณาจักรสุโขทัย]] และนำแนวความคิดดังกล่าวมาปฏิรูปการปกครองของอาณาจักรอยุธยา


4.สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงลดบทบาทของอัครมหาเสนาบดีที่เดิมคุมทั้งทหารและพลเรือน ให้แยกอำนาจโดยให้สมุหพระกลาโหมคุมอำนาจทหารและสมุหนายกคุมอำนาจพลเรือน
4.สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงลดบทบาทของ[[อัครมหาเสนาบดี]]ที่เดิมคุมทั้งทหารและพลเรือน ให้แยกอำนาจโดยให้สมุหพระกลาโหมคุมอำนาจทหารและสมุหนายกคุมอำนาจพลเรือน


การปฏิรูปการปกครองแผ่นดินในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถคือทรงตั้งกรมใหญ่อีก 2 กรมคือ กรมกลาโหมและกรมมหาดไทยโดยทั้งสองกรมมีอัครมหาเสนาบดีเป็นผู้บังคับบัญชาและมีอำนาจเหนือ เสนาบดีจตุสดมภ์
การปฏิรูปการปกครองแผ่นดินในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถคือทรงตั้งกรมใหญ่อีก 2 กรมคือ [[กรมกลาโหม]]และ[[กรมมหาดไทย]]โดยทั้งสองกรมมีอัครมหาเสนาบดีเป็นผู้บังคับบัญชาและมีอำนาจเหนือ เสนาบดีจตุสดมภ์


กรมกลาโหมมีอัครมหาเสนาบดีตำแหน่งสมุหพระกลาโหม มียศและราชทินนามว่า เจ้าพระยามหาเสนาบดีวิริยะภักดีนรินทรสุรินทรฤาชัย ถือศักดินา 10,000 ไร่ มีหน้าที่ว่าราชการฝ่ายทหารทั้งในราชธานีและ หัวเมืองต่างๆ ควบคุมดูแลกรมต่างๆที่เป็นกรมฝ่ายทหาร เช่น กรมอาสาขวา กรมอาสาซ้าย กรมแขนทองขวา กรมแขนทองซ้าย กรมทวนทองขวา กรมทวนทองซ้าย กรมช่างสิบหมู่เป็นต้น
กรมกลาโหมมีอัครมหาเสนาบดีตำแหน่งสมุหพระกลาโหม มียศและราชทินนามว่า [[เจ้าพระยามหาเสนาบดีวิริยะภักดีนรินทรสุรินทรฤาชัย]] ถือศักดินา 10,000 ไร่ มีหน้าที่ว่าราชการฝ่ายทหารทั้งในราชธานีและ หัวเมืองต่างๆ ควบคุมดูแลกรมต่างๆที่เป็นกรมฝ่ายทหาร เช่น [[กรมอาสาขวา]] [[กรมอาสาซ้าย]] [[กรมแขนทองขวา]] [[กรมแขนทองซ้าย]] [[กรมทวนทองขวา]] [[กรมทวนทองซ้าย]] [[กรมช่างสิบหมู่]]เป็นต้น


กรมมหาดไทย มีอัครมหาเสนาบดีตำแหน่งสมุหนายก มียศและราชทินนามว่า เจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์สมุหนายกอัครมหาเสนาธิบดี ถือศักดินา 10,000 ไร่ เป็นผู้บังคับบัญชากิจการพลเรือนทุกหัวเมือง ควบคุมกรมต่างๆฝ่ายพลเรือน เช่น กรมจตุสดมภ์
กรมมหาดไทย มีอัครมหาเสนาบดีตำแหน่งสมุหนายก มียศและราชทินนามว่า [[เจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์สมุหนายกอัครมหาเสนาธิบดี]] ถือศักดินา 10,000 ไร่ เป็นผู้บังคับบัญชากิจการพลเรือนทุกหัวเมือง ควบคุมกรมต่างๆฝ่ายพลเรือน เช่น กรมจตุสดมภ์


ผลของการปฏิรูปที่แยกอำนาจของฝ่ายทหารและพลเรือนออกจากกันจึงเป็นการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง ทำให้ราชธานีเป็นศูนย์กลางแห่งอำนาจ
ผลของการปฏิรูปที่แยกอำนาจของฝ่ายทหารและพลเรือนออกจากกันจึงเป็นการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง ทำให้ราชธานีเป็นศูนย์กลางแห่งอำนาจ

รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:56, 3 พฤศจิกายน 2557

เรียบเรียงโดย : อาจารย์บุญเกียรติ การะเวกพันธุ์ และคณะ

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : รศ.ดร.ปธาน สุวรรณมงคล


การปกครองแบบจตุสดมภ์เป็นการปกครองที่เริ่มในสมัยกรุงศรีอยุธยาโดยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ได้ปรับปรุงระบอบการปกครองในส่วนกลางเสียใหม่ตามแบบอย่างของขอม โดยมีกษัตริย์เป็นศูนย์กลาง และมีเสนาบดี 4 ฝ่าย คือ ขุนเมือง ขุนวัง ขุนคลัง ขุนนา

รูปแบบการปกครองนี้ถูกใช้ตั้งแต่ต้นราชอาณาจักรอยุธยาไปสิ้นสุดเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปฏิรูปการปกครองโดยยกเลิกจตุสดมภ์และสถาปนากระทรวง 12 กระทรวงในวันที่ 1 เมษายน 2435

องค์ประกอบของ “จตุสดมภ์”

จตุสดมภ์ หมายถึง “หลักทั้งสี่” มีองค์ประกอบที่สำคัญดังนี้

1.กรมเวียง มีหน้าที่ดูแลเมืองหลวงในทุกกิจการ ดูแลสถานที่สำคัญ รักษาความสงบในราชธานี มีกองตระเวนและศาลขึ้นอยู่ใต้การบังคับบัญชา มีศาลนครบาลสำหรับการพิพากษาคดีในพระนคร และดูแลเสภาพระนคร (เรือนจำ เสภาแปลว่าคุก) โดยมีกรมย่อยที่ขึ้นกับกรมเวียงเช่น กรมกองตระเวนขวา กรมกองตระเวนซ้าย

เมื่อมีการปฏิรูปการปกครองแผ่นดินในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ กรมเวียงเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นกรมนครบาล มีพระยายมราชอินทราธิบดีศรีวิชัยบริรักษ์โลกากร เป็นเสนาบดี ศักดินา 10,000 ไร่

2.กรมวัง มีหน้าที่บังคับกิจการในพระราชวัง ดูแลพระราชฐาน ควบคุมการรับจ่ายในวัง รับผิดชอบงานพระราชพิธี บังคับบัญชาคนในวังยกเว้นคนของกรมมหาดเล็ก

กรมวังยังมีหน้าที่รับผิดชอบในเรื่องการยุติธรรม เพราะคติที่ถือว่าพระเจ้าแผ่นดินเป็นต้นของความยุติธรรมในสังคม กรมวังมีหน้าที่ดูแลศาลหลวง และการแต่งตั้งยกกระบัตรไปทำหน้าที่ดูและความยุติธรรมหรือเป็นหัวหน้าศาลในหัวเมือง

มีกรมย่อยที่ขึ้นกับกรมวังคือ

1.กรมตำรวจวังซ้าย ขวา

2.กรมพระราชยาน

3.กรมพิมานอากาศ (เครื่องสูง)

4.กรมช่างทอง ช่างเงิน

5.กรมพระสุคนธ์

6.กรมพระแสงใน

7.คลังข้าวสาร

8.กรมศุภรัตน์

เมื่อมีการปฏิรูปการปกครองแผ่นดินในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ กรมวังเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นกรมธรรมาธิกรณ์ มีพระยาธรรมาธิบดีศรีวิริยพงษวงษภักดีบดินทรเดโชชัยมไหสุริยาธิบดีศรีรันมณเทียรบาล เป็นเสนาบดี ศักดินา 10,000 ไร่

3.กรมคลัง มีหน้าที่หน้าที่ควบคุมรายรับ รายจ่าย มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลการค้าสำเภา ติดต่อการค้ากับต่างประเทศและดูแลรับรองคณะทูตจากต่างประเทศและควบคุมดูแลชาวต่างชาติที่เข้ามาอาศัยอยู่ในอยุธยา

กรมคลังมีกรมในสังกัดคือ กรมพระคลังสินค้า กรมท่าซ้ายและท่าขวา

เมื่อมีการปฏิรูปการปกครองแผ่นดินในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ กรมคลังเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นกรมโกษาธิบดี มีพระยาศรีธรรมราชเดชชาติอำมาตยานุชิตพิพิธรัตนราชโกษาธิบดี เป็นเสนาบดี ศักดินา 10,000 ไร่

4.กรมนา มีหน้าที่ ดูแลที่ดิน รังวัด ถือทะเบียนที่ดิน ใบเหยียบย่ำ ตราจอง โฉนด คอยควบคุมการทำนา รวมสถิติน้ำฝน ต้นข้าวไว้กราบบังคมทูลเวลาเสด็จออกว่าราชการ หาพันธ์ข้าวและควายให้ราษฎร รวมทั้งมีหน้าที่ในการจัดพระราชพิธีแรกนา ซึ่งเป็นธรรมเนียมที่รับมาจากอินเดีย โดยพระยาพลเทพเป็นผู้ทำการแทนพระเจ้าแผ่นดิน

กรมนามีศาลสำหรับตัดสอนคดีเกี่ยวกับที่นา สัตว์พาหนะ

ในการเก็บภาษีที่นา กรมนาจะตั้งข้าหลวงเสนาทำหน้าที่ประเมินภาษี เก็บภาษีในที่นาโดยนาที่ถูกเก็บภาษี จะแบ่งเป็น นาฟางลอย คือนาที่อาศัยน้ำท่วม ผลผลิตที่ได้ไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำ เก็บภาษีได้เฉพาะเวลาที่ทำนาได้ และนาคู่โค เป็นนาดีที่ควรจะทำนาได้ผลทุกปี อยู่ในที่ดี เป็นนาดำมีการชลประทานดี เก็บภาษีตามเนื้อที่ดิน

กรมนายังมีหน้าที่ควบคุมกรมฉางหลวง คอยซื้อข้าวตลอดจนอาหาร สัตว์พาหนะ ของป่า งาช้าง หนังสัตว์ และมีหน้าที่เกณฑ์สัตว์พาหนะจากราษฎรในเวลามีศึกสงคราม

เมื่อมีการปฏิรูปการปกครองแผ่นดินในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ กรมนาเปลี่ยนชื่อเป็นกรมเกษตราธิการ มีพระยาพลเทพราชเสนาบดี ศรีไชยนพรัตน์เกษตราธิบดี ถือศักดินา 10,000 ไร่

การปฏิรูปการปกครองแผ่นดินในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ

สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 8 ของกรุงศรีอยุธยา พระองค์ทรงครองราชสมบัติเป็นเวลานานที่สุดในบรรดาพระมหากษัตริย์ของกรุงศรีอยุธยาคือ 40 ปี (พ.ศ.1991-2031) พระองค์มีบทบาทสำคัญในทางการเมือง การปกครองคือเป็นผู้รวมอาณาจักรสุโขทัยเข้ากับอาณาจักรอยุธยา และทรงปฏิรูปการปกครองแผ่นดินโดยการเปลี่ยนระบบจตุสดมภ์ (เวียง วัง คลัง นา) ไปเป็นระบบที่ซับซ้อนขึ้น

สาเหตุของการปฏิรูปการปกครองแผ่นดินมาจากปัญหาบางประการกล่าวคือ

1.ปัญหาอำนาจการปกครองเมืองที่ค่อนข้างเป็นอิสระของเมืองลูกหลวง ก่อให้เกิดปัญหาการแย่งชิงอำนาจทางการเมืองตลอดช่วงต้นของอาณาจักรอยุธยา

2.อาณาจักรอยุธยาที่แผ่ขยายออกไปเรื่อยๆ รวมถึงการผนวกอาณาจักรสุโขทัยเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยาในปี พ.ศ.1981 ทำให้ต้องปฏิรูปการปกครองแผ่นดินเพื่อให้มีประสิทธิภาพและความมั่นคงยิ่งขึ้น

3.สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเมื่อทรงดำรงพระยศเป็นพระราเมศวรเป็นพระมหาอุปราชครองเมือง พิษณุโลก ทรงสนพระทัยรูปแบบการปกครองของอาณาจักรสุโขทัย และนำแนวความคิดดังกล่าวมาปฏิรูปการปกครองของอาณาจักรอยุธยา

4.สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงลดบทบาทของอัครมหาเสนาบดีที่เดิมคุมทั้งทหารและพลเรือน ให้แยกอำนาจโดยให้สมุหพระกลาโหมคุมอำนาจทหารและสมุหนายกคุมอำนาจพลเรือน

การปฏิรูปการปกครองแผ่นดินในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถคือทรงตั้งกรมใหญ่อีก 2 กรมคือ กรมกลาโหมและกรมมหาดไทยโดยทั้งสองกรมมีอัครมหาเสนาบดีเป็นผู้บังคับบัญชาและมีอำนาจเหนือ เสนาบดีจตุสดมภ์

กรมกลาโหมมีอัครมหาเสนาบดีตำแหน่งสมุหพระกลาโหม มียศและราชทินนามว่า เจ้าพระยามหาเสนาบดีวิริยะภักดีนรินทรสุรินทรฤาชัย ถือศักดินา 10,000 ไร่ มีหน้าที่ว่าราชการฝ่ายทหารทั้งในราชธานีและ หัวเมืองต่างๆ ควบคุมดูแลกรมต่างๆที่เป็นกรมฝ่ายทหาร เช่น กรมอาสาขวา กรมอาสาซ้าย กรมแขนทองขวา กรมแขนทองซ้าย กรมทวนทองขวา กรมทวนทองซ้าย กรมช่างสิบหมู่เป็นต้น

กรมมหาดไทย มีอัครมหาเสนาบดีตำแหน่งสมุหนายก มียศและราชทินนามว่า เจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์สมุหนายกอัครมหาเสนาธิบดี ถือศักดินา 10,000 ไร่ เป็นผู้บังคับบัญชากิจการพลเรือนทุกหัวเมือง ควบคุมกรมต่างๆฝ่ายพลเรือน เช่น กรมจตุสดมภ์

ผลของการปฏิรูปที่แยกอำนาจของฝ่ายทหารและพลเรือนออกจากกันจึงเป็นการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง ทำให้ราชธานีเป็นศูนย์กลางแห่งอำนาจ

การปรับปรุงการปกครองในสมัยอยุธยาตอนปลาย

ในสมัยพระเพทราชา มีปัญหาจาก เสนาบดีฝ่ายกลาโหมและมหาดไทยแย่งชิงอำนาจกัน พระเพทราชาได้ปรับปรุงการปกครอง โดยให้สมุหพระกลาโหม บังคับบัญชากิจการทางด้านทหารและพลเรือนในหัวเมืองฝ่ายเหนือ สมุหนายกบังคับบัญชากิจการทางด้านทหารและพลเรือนในหัวเมืองฝ่ายใต้ เจ้าพระยาพระคลังบังคับบัญชาหัวเมืองชายทะเลตะวันออก ซึ่งเป็นเมืองท่าการค้า

การสิ้นสุดของการปกครองแบบจตุสดมภ์

การปกครองแบบจตุสดมภ์ที่ใช้ในการบริหารราชการแผ่นดินตั้งแต่เริ่มอาณาจักรอยุธยาได้สิ้นสุดในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อพระองค์ทรงปฏิรูปการปกครองแผ่นดินในปี พ.ศ.2435 ซึ่งมีปัจจัยที่สำคัญดังนี้คือ

1.การแผ่ขยายของลัทธิจักรวรรดินิยมและการทำสนธิสัญญาเบาวริง ทำให้สยามต้องมีการปรับปรุงระบบการค้า การจัดเก็บภาษี และระบบยุติธรรม

2.การเกิดรัฐชาติ (Nation State) ทำให้อาณาจักรสยามขยายตัวออกไปเป็นอันมาก ระบบการปกครองแบบจตุสดมภ์จึงล้าสมัยและขาดประสิทธิภาพ

3.ความซับซ้อนของสังคม ทำให้มีภาระงานที่เพิ่มมากขึ้น การจัดการปกครองแบบจตุสดมภ์ไม่เพียงพอต่อการบริหารราชการแผ่นดิน

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงยกเลิกการปกครองแบบจตุสดมภ์และตั้งกระทรวงจำนวน 12กระทรวงในวันที่ 1 เมษายน 2435 เพื่อทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน คือ

1.กระทรวงมหาดไทย

2.กระทรวงนครบาล

3.กระทรวงโยธาธิการ

4.กระทรวงธรรมการ

5.กระทรวงเกษตรพานิชการ

6.กระทรวงยุติธรรม

7.กระทรวงมุรธาธร

8.กระทรวงยุทธนาธิการ

9.กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ

10.กระทรวงการต่างประเทศ

11.กระทรวงกลาโหม

12.กระทรวงวัง

หนังสืออ่านประกอบ

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี, บันทึกเรื่องการปกครองของไทยสมัยอยุธยาและต้นรัตนโกสินทร์, (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549).

ลิขิต ธีรเวคิน, วิวัฒนาการการเมืองการปกครองไทย,(พิมพ์ครั้งที่ 9), (กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2548).