ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แผนปฏิบัติราชการ"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Suksan (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Suksan (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 3: บรรทัดที่ 3:
'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' : รศ.ดร.ปธาน สุวรรณมงคล
'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' : รศ.ดร.ปธาน สุวรรณมงคล
----
----
แผนปฏิบัติราชการหมายถึงแผนสี่ปี่ที่จัดทำโดยส่วนราชการซึ่งสอดคล้องกับแผนการบริหารราชการแผ่นดิน ในแต่ละปีงบประมาณส่วนราชการจะจัดทำแผนปฏิบัติราชการ ประกอบด้วยนโยบายการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ เป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของงาน ประมาณการรายได้และรายจ่ายและทรัพยากรอื่นที่จะต้องใช้ โดยแผนปฏิบัติราชการจะต้องเสนอต่อรัฐมนตรี
แผนปฏิบัติราชการหมายถึงแผนสี่ปี่ที่จัดทำโดยส่วนราชการซึ่งสอดคล้องกับ[[แผนการบริหารราชการแผ่นดิน]] ในแต่ละปีงบประมาณส่วนราชการจะจัดทำ[[แผนปฏิบัติราชการ]] ประกอบด้วยนโยบายการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ เป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของงาน ประมาณการรายได้และรายจ่ายและทรัพยากรอื่นที่จะต้องใช้ โดยแผนปฏิบัติราชการจะต้องเสนอต่อรัฐมนตรี


==ความสำคัญ==
==ความสำคัญ==


การปฏิรูประบบราชการในพ.ศ. 2545 ได้นำแนวคิดการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ได้แก่ การบริหารราชการเพื่อบรรลุเป้าหมาย ดังต่อไปนี้   
[[การปฏิรูประบบราชการในพ.ศ. 2545]] ได้นำแนวคิด[[การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี]] ได้แก่ การบริหารราชการเพื่อบรรลุเป้าหมาย ดังต่อไปนี้   


1) เกิดประโยชน์สุขของประชาชน
1) เกิดประโยชน์สุขของประชาชน
บรรทัดที่ 23: บรรทัดที่ 23:
7) มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ
7) มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ


เพื่อให้การบริหารราชการเกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ จึงได้กำหนดให้ส่วนราชการต้องจัดทำแผนปฏิบัติราชการไว้เป็นการล่วงหน้าโดยมีรายละเอียดของขั้นตอน ระยะเวลาและงบประมาณที่จะต้องใช้ในการดำเนินการของแต่ละขั้นตอน กำหนดเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของภารกิจ และตัวชี้วัดความสำเร็จของภารกิจ
เพื่อให้การบริหารราชการเกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ จึงได้กำหนดให้ส่วนราชการต้องจัดทำแผนปฏิบัติราชการไว้เป็นการล่วงหน้าโดยมีรายละเอียดของขั้นตอน ระยะเวลาและงบประมาณที่จะต้องใช้ในการดำเนินการของแต่ละขั้นตอน กำหนดเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของภารกิจ และ[[ตัวชี้วัดความสำเร็จของภารกิจ]]


ส่วนราชการต้องจัดให้มีการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติราชการ โดยมีหลักเกณฑ์และวิธีการที่ส่วนราชการกำหนดขึ้น ซึ่งต้องสอดคล้องกับมาตรฐานที่ ก.พ.ร. กำหนด แผนปฏิบัติราชการที่เมื่อนำไปปฏิบัติแล้วเกิดผลกระทบต่อประชาชน ให้ส่วนราชการดำเนินการแก้ไขหรือบรรเทาผลกระทบนั้น หรือดำเนินการเปลี่ยนแผนปฏิบัติราชการให้เหมาะสม เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐและประโยชน์สุขของประชาชนซึ่งหมายถึง การปฏิบัติราชการที่มีเป้าหมายเพื่อให้เกิดความผาสุกและความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน ความสงบและปลอดภัยของสังคมส่วนรวม ตลอดจนประโยชน์สูงสุดของประเทศ โดยถือว่าประชาชนเป็นศูนย์กลางที่จะได้รับการบริการจากรัฐ
ส่วนราชการต้องจัดให้มี[[การติดตามและประเมินผลการปฏิบัติราชการ]] โดยมีหลักเกณฑ์และวิธีการที่ส่วนราชการกำหนดขึ้น ซึ่งต้องสอดคล้องกับมาตรฐานที่ [[ก.พ.ร.]] กำหนด แผนปฏิบัติราชการที่เมื่อนำไปปฏิบัติแล้วเกิดผลกระทบต่อประชาชน ให้ส่วนราชการดำเนินการแก้ไขหรือบรรเทาผลกระทบนั้น หรือดำเนินการเปลี่ยนแผนปฏิบัติราชการให้เหมาะสม เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐและประโยชน์สุขของประชาชนซึ่งหมายถึง การปฏิบัติราชการที่มีเป้าหมายเพื่อให้เกิดความผาสุกและความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน ความสงบและปลอดภัยของสังคมส่วนรวม ตลอดจนประโยชน์สูงสุดของประเทศ โดยถือว่าประชาชนเป็นศูนย์กลางที่จะได้รับการบริการจากรัฐ


==รายละเอียดของแผนปฏิบัติราชการ==
==รายละเอียดของแผนปฏิบัติราชการ==


ภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรีได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาแล้ว ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงบประมาณ ร่วมกันจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน เสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อรัฐสภา โดยแผนบริหารราชการแผ่นดินเป็นแผนสี่ปี ที่นำนโยบายของรัฐบาลที่แถลงต่อรัฐสภามาพิจารณาดำเนินการให้สอดคล้องกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และแผนพัฒนาประเทศด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง   
ภายหลังจากที่[[คณะรัฐมนตรี]]ได้[[แถลงนโยบายต่อรัฐสภา]]แล้ว ให้[[สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี]] [[สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี]] [[สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ]] และ[[สำนักงบประมาณ]] ร่วมกันจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน เสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อรัฐสภา โดยแผนบริหารราชการแผ่นดินเป็นแผนสี่ปี ที่นำนโยบายของ[[รัฐบาล]]ที่แถลงต่อรัฐสภามาพิจารณาดำเนินการให้สอดคล้องกับ[[แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ]] ตามบทบัญญัติของ[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย]] และ[[แผนพัฒนาประเทศ]]ด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง   
ภายหลังจากการจัดทำแผนบริหารราชการแผ่นดินแล้ว ให้ส่วนราชการดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ โดยจัดทำแผนเป็น 2 ประเภท คือ
ภายหลังจากการจัดทำแผนบริหารราชการแผ่นดินแล้ว ให้ส่วนราชการดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ โดยจัดทำแผนเป็น 2 ประเภท คือ


1) แผนปฏิบัติราชการสี่ปี  
1) [[แผนปฏิบัติราชการสี่ปี]]


เป็นแผนปฏิบัติราชการที่ส่วนราชการ (กระทรวง/กรม) จัดทำให้สอดคล้องกับแผนการบริหารราชการแผ่นดิน โดยจัดทำเป็นแผนสี่ปี เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ของรัฐบาล โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับ นโยบายการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ เป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของงาน ประมาณการรายได้และรายจ่ายและทรัพยากรอื่นที่จะต้องใช้ โดยส่วนราชการจะต้องจัดทำแผนปฏิบัติราชการเสนอต่อรัฐมนตรีภายในหกสิบวันนับแต่วันที่แผนการบริหารราชการแผ่นดินประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เป็นแผนปฏิบัติราชการที่ส่วนราชการ (กระทรวง/กรม) จัดทำให้สอดคล้องกับแผนการบริหารราชการแผ่นดิน โดยจัดทำเป็นแผนสี่ปี เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ของรัฐบาล โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับ นโยบายการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ เป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของงาน ประมาณการรายได้และรายจ่ายและทรัพยากรอื่นที่จะต้องใช้ โดยส่วนราชการจะต้องจัดทำแผนปฏิบัติราชการเสนอต่อรัฐมนตรีภายในหกสิบวันนับแต่วันที่แผน[[การบริหารราชการแผ่นดิน]]ประกาศใน[[ราชกิจจานุเบกษา]]


2) แผนปฏิบัติราชการประจำปี
2) [[แผนปฏิบัติราชการประจำปี]]


เป็นแผนปฏิบัติราชการที่ส่วนราชการ (กระทรวง/กรม) จัดทำ เพื่อแสดงให้เห็นถึงแผนที่ส่วนราชการจะดำเนินการในแต่ละปีงบประมาณ  โดยส่วนราชการจะจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีก่อนเสนองบประมาณรายจ่ายประจำปี  โดยแผนปฏิบัติราชการประจำปีจะระบุนโยบายการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ เป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของงาน รวมทั้งประมาณการรายได้และรายจ่ายและทรัพยากรอื่นที่จะต้องใช้เสนอต่อรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบ  
เป็นแผนปฏิบัติราชการที่ส่วนราชการ (กระทรวง/กรม) จัดทำ เพื่อแสดงให้เห็นถึงแผนที่ส่วนราชการจะดำเนินการในแต่ละปีงบประมาณ  โดยส่วนราชการจะจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีก่อนเสนองบประมาณรายจ่ายประจำปี  โดยแผนปฏิบัติราชการประจำปีจะระบุนโยบายการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ เป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของงาน รวมทั้งประมาณการรายได้และรายจ่ายและทรัพยากรอื่นที่จะต้องใช้เสนอต่อรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบ  
บรรทัดที่ 50: บรรทัดที่ 50:
เมื่อสิ้นปีงบประมาณให้ทุกส่วนราชการจัดทำรายงานแสดงผลสัมฤทธิ์ของแผนปฏิบัติราชการประจำปีเสนอต่อคณะรัฐมนตรี
เมื่อสิ้นปีงบประมาณให้ทุกส่วนราชการจัดทำรายงานแสดงผลสัมฤทธิ์ของแผนปฏิบัติราชการประจำปีเสนอต่อคณะรัฐมนตรี


เมื่อนายกรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง ให้หัวหน้าส่วนราชการมีหน้าที่สรุปผลการปฏิบัติราชการและให้ข้อมูลต่อนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ตามที่นายกรัฐมนตรีคนใหม่ สั่งการ ทั้งนี้ เพื่อนายกรัฐมนตรีคนใหม่จะได้ใช้เป็นข้อมูลในการพิจารณากำหนด นโยบายการบริหารราชการแผ่นดินต่อไป
เมื่อนายกรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง ให้หัวหน้าส่วนราชการมีหน้าที่สรุปผลการปฏิบัติราชการและให้ข้อมูลต่อ[[นายกรัฐมนตรี]]คนใหม่ ตามที่นายกรัฐมนตรีคนใหม่ สั่งการ ทั้งนี้ เพื่อนายกรัฐมนตรีคนใหม่จะได้ใช้เป็นข้อมูลในการพิจารณากำหนด นโยบายการบริหารราชการแผ่นดินต่อไป


==หนังสืออ่านประกอบ==
==หนังสืออ่านประกอบ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:51, 21 ตุลาคม 2557

เรียบเรียงโดย : อาจารย์บุญเกียรติ การะเวกพันธุ์ และคณะ

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : รศ.ดร.ปธาน สุวรรณมงคล


แผนปฏิบัติราชการหมายถึงแผนสี่ปี่ที่จัดทำโดยส่วนราชการซึ่งสอดคล้องกับแผนการบริหารราชการแผ่นดิน ในแต่ละปีงบประมาณส่วนราชการจะจัดทำแผนปฏิบัติราชการ ประกอบด้วยนโยบายการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ เป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของงาน ประมาณการรายได้และรายจ่ายและทรัพยากรอื่นที่จะต้องใช้ โดยแผนปฏิบัติราชการจะต้องเสนอต่อรัฐมนตรี

ความสำคัญ

การปฏิรูประบบราชการในพ.ศ. 2545 ได้นำแนวคิดการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ได้แก่ การบริหารราชการเพื่อบรรลุเป้าหมาย ดังต่อไปนี้

1) เกิดประโยชน์สุขของประชาชน

2) เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ

3) มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ

4) ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น

5) มีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อสถานการณ์

6) ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ

7) มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ

เพื่อให้การบริหารราชการเกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ จึงได้กำหนดให้ส่วนราชการต้องจัดทำแผนปฏิบัติราชการไว้เป็นการล่วงหน้าโดยมีรายละเอียดของขั้นตอน ระยะเวลาและงบประมาณที่จะต้องใช้ในการดำเนินการของแต่ละขั้นตอน กำหนดเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของภารกิจ และตัวชี้วัดความสำเร็จของภารกิจ

ส่วนราชการต้องจัดให้มีการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติราชการ โดยมีหลักเกณฑ์และวิธีการที่ส่วนราชการกำหนดขึ้น ซึ่งต้องสอดคล้องกับมาตรฐานที่ ก.พ.ร. กำหนด แผนปฏิบัติราชการที่เมื่อนำไปปฏิบัติแล้วเกิดผลกระทบต่อประชาชน ให้ส่วนราชการดำเนินการแก้ไขหรือบรรเทาผลกระทบนั้น หรือดำเนินการเปลี่ยนแผนปฏิบัติราชการให้เหมาะสม เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐและประโยชน์สุขของประชาชนซึ่งหมายถึง การปฏิบัติราชการที่มีเป้าหมายเพื่อให้เกิดความผาสุกและความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน ความสงบและปลอดภัยของสังคมส่วนรวม ตลอดจนประโยชน์สูงสุดของประเทศ โดยถือว่าประชาชนเป็นศูนย์กลางที่จะได้รับการบริการจากรัฐ

รายละเอียดของแผนปฏิบัติราชการ

ภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรีได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาแล้ว ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงบประมาณ ร่วมกันจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน เสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อรัฐสภา โดยแผนบริหารราชการแผ่นดินเป็นแผนสี่ปี ที่นำนโยบายของรัฐบาลที่แถลงต่อรัฐสภามาพิจารณาดำเนินการให้สอดคล้องกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และแผนพัฒนาประเทศด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ภายหลังจากการจัดทำแผนบริหารราชการแผ่นดินแล้ว ให้ส่วนราชการดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ โดยจัดทำแผนเป็น 2 ประเภท คือ

1) แผนปฏิบัติราชการสี่ปี

เป็นแผนปฏิบัติราชการที่ส่วนราชการ (กระทรวง/กรม) จัดทำให้สอดคล้องกับแผนการบริหารราชการแผ่นดิน โดยจัดทำเป็นแผนสี่ปี เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ของรัฐบาล โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับ นโยบายการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ เป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของงาน ประมาณการรายได้และรายจ่ายและทรัพยากรอื่นที่จะต้องใช้ โดยส่วนราชการจะต้องจัดทำแผนปฏิบัติราชการเสนอต่อรัฐมนตรีภายในหกสิบวันนับแต่วันที่แผนการบริหารราชการแผ่นดินประกาศในราชกิจจานุเบกษา

2) แผนปฏิบัติราชการประจำปี

เป็นแผนปฏิบัติราชการที่ส่วนราชการ (กระทรวง/กรม) จัดทำ เพื่อแสดงให้เห็นถึงแผนที่ส่วนราชการจะดำเนินการในแต่ละปีงบประมาณ โดยส่วนราชการจะจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีก่อนเสนองบประมาณรายจ่ายประจำปี โดยแผนปฏิบัติราชการประจำปีจะระบุนโยบายการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ เป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของงาน รวมทั้งประมาณการรายได้และรายจ่ายและทรัพยากรอื่นที่จะต้องใช้เสนอต่อรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบ

แผนปฏิบัติราชการจะต้องเสนอให้รัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ จากนั้นสำนักงบประมาณจะดำเนินการจัดสรรงบประมาณตามแผนปฏิบัติราชการนั้น เพื่อปฏิบัติงานให้บรรลุผลสำเร็จในแต่ละภารกิจตามแผนปฏิบัติราชการ

การจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีจึงเป็นหน้าที่ที่สำคัญของทุกส่วนราชการ เพราะส่วนราชการที่มิได้เสนอแผนปฏิบัติราชการหรือแผนปฏิบัติราชการไม่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรี สำนักงบประมาณจะไม่จัดสรรงบประมาณสำหรับภารกิจนั้น

เพื่อให้ส่วนราชการดำเนินการตามแผนปฏิบัติราชการประจำปี เมื่อมีการกำหนดงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามแผนปฏิบัติราชการแล้ว จะไม่สามารถโอนงบประมาณจากภารกิจที่กำหนดในแผนปฏิบัติราชการไปดำเนินการอย่างอื่นหรือนำไปใช้ในภารกิจใหม่ที่มิได้กำหนดในแผนปฏิบัติราชการ เพราะจะทำให้ภารกิจไม่บรรลุเป้าหมาย การโอนงบประมาณจะกระทำได้เมื่อคณะรัฐมนตรีอนุมัติให้มีการปรับแผนปฏิบัติราชการ โดยการปรับแผนจะกระทำได้เมื่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้วเห็นว่าภารกิจนั้นไม่อาจดำเนินการตามวัตถุประสงค์ต่อไปได้ หรือหมดความจำเป็นหรือไม่เป็นประโยชน์ หรือหากดำเนินการต่อไปจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเกินความจำเป็น หรือมีความจำเป็นอย่างอื่นอันไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ที่จะต้องเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญของแผนปฏิบัติราชการ

เมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้ปรับแผนปฏิบัติราชการแล้ว จะต้องดำเนินการแก้ไขแผนการบริหารราชการแผ่นดินให้สอดคล้องกัน

เมื่อสิ้นปีงบประมาณให้ทุกส่วนราชการจัดทำรายงานแสดงผลสัมฤทธิ์ของแผนปฏิบัติราชการประจำปีเสนอต่อคณะรัฐมนตรี

เมื่อนายกรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง ให้หัวหน้าส่วนราชการมีหน้าที่สรุปผลการปฏิบัติราชการและให้ข้อมูลต่อนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ตามที่นายกรัฐมนตรีคนใหม่ สั่งการ ทั้งนี้ เพื่อนายกรัฐมนตรีคนใหม่จะได้ใช้เป็นข้อมูลในการพิจารณากำหนด นโยบายการบริหารราชการแผ่นดินต่อไป

หนังสืออ่านประกอบ

วรเดช จันทรศร,แผนปฏิรูประบบราชการ : การสร้างการยอมรับและความสำเร็จในการนำไปปฏิบัติ, (กรุงเทพมหานคร : โครงการเอกสารและตำรา คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ 2544).