ผลต่างระหว่างรุ่นของ "16 กันยายน พ.ศ. 2491"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าที่ถูกสร้างด้วย ''''ผู้เรียบเรียง''' ศาสตราจารย์พิเศษ นรนิติ เศรษฐบุต...'
 
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
บรรทัดที่ 12: บรรทัดที่ 12:
ที่จริงในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณในตอนต้นเดือนกันยายน พ.ศ. 2491 นั้น ปรากฏว่าในตัวร่างพระราชบัญญัติงบประมาณดังกล่าวได้มีรายการจ่ายเงินเพิ่มพิเศษของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอยู่ด้วย เป็นเงินคนละพันบาทต่อเดือน ขณะที่พิจารณาเรื่องนี้ได้มีการถกเถียงกันมาก ทั้ง ๆ ที่เป็นผลประโยชน์ที่จะได้แก่ผู้แทนราษฎรทุกคนไม่ว่าจะเป็น[[ฝ่ายรัฐบาล]]หรือ[[ฝ่ายค้าน]] แต่สภาก็มีมติผ่านไปตามที่เสนอและ[[หัวหน้าพรรคฝ่ายค้าน]]ก็เห็นชอบด้วย
ที่จริงในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณในตอนต้นเดือนกันยายน พ.ศ. 2491 นั้น ปรากฏว่าในตัวร่างพระราชบัญญัติงบประมาณดังกล่าวได้มีรายการจ่ายเงินเพิ่มพิเศษของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอยู่ด้วย เป็นเงินคนละพันบาทต่อเดือน ขณะที่พิจารณาเรื่องนี้ได้มีการถกเถียงกันมาก ทั้ง ๆ ที่เป็นผลประโยชน์ที่จะได้แก่ผู้แทนราษฎรทุกคนไม่ว่าจะเป็น[[ฝ่ายรัฐบาล]]หรือ[[ฝ่ายค้าน]] แต่สภาก็มีมติผ่านไปตามที่เสนอและ[[หัวหน้าพรรคฝ่ายค้าน]]ก็เห็นชอบด้วย


หลังจากการลาออกจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพราะมีการขึ้นเงินเดือนได้ประมาณ  2 เดือน [[จอมพล ป.พิบูลสงคราม]] นายกรัฐมนตรีก็ได้ไปชวน ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เข้ามาเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ และการเข้ามาเป็นรัฐมนตรีครั้งนี้ของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์  ปราโมช ก็ได้สร้างความไม่พอใจให้แก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจนมี[[การเปิดอภิปรายในสภาผู้แทนราษฎร]]ว่าท่านลาออกจากสมาชิกสภาไปเพราะมีการขึ้นเงินเดือนให้แก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแล้วทำไมกลับมาเป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลชุดที่ขึ้นเงินเดือน การอภิปรายที่แสดงออกถึง[[การประท้วง]]นี้ทำท่าว่าจะ[[รุนแรง]] และก็เป็นแรงกดดันให้ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ยอมลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีในเวลานั้น
หลังจากการลาออกจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพราะมีการขึ้นเงินเดือนได้ประมาณ  2 เดือน [[แปลก พิบูลสงคราม|จอมพล ป.พิบูลสงคราม]] นายกรัฐมนตรีก็ได้ไปชวน ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เข้ามาเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ และการเข้ามาเป็นรัฐมนตรีครั้งนี้ของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์  ปราโมช ก็ได้สร้างความไม่พอใจให้แก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจนมี[[การเปิดอภิปรายในสภาผู้แทนราษฎร]]ว่าท่านลาออกจากสมาชิกสภาไปเพราะมีการขึ้นเงินเดือนให้แก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแล้วทำไมกลับมาเป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลชุดที่ขึ้นเงินเดือน การอภิปรายที่แสดงออกถึง[[การประท้วง]]นี้ทำท่าว่าจะ[[รุนแรง]] และก็เป็นแรงกดดันให้ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ยอมลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีในเวลานั้น
 
 
ตอนที่ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์  ปราโมช ลาออกจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎร คือ [[นายเกษม บุญศรี]] และนายกรัฐมนตรี คือ จอมพล ป.พิบูลสงคราม
ตอนที่ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์  ปราโมช ลาออกจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎร คือ [[เกษม บุญศรี|นายเกษม บุญศรี]] และนายกรัฐมนตรี คือ จอมพล ป.พิบูลสงคราม




[[หมวดหมู่:เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองไทย สมัย พ.ศ. 2475-2500]]
[[หมวดหมู่:เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองไทย สมัย พ.ศ. 2475-2500]]

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 09:35, 15 ตุลาคม 2557

ผู้เรียบเรียง ศาสตราจารย์พิเศษ นรนิติ เศรษฐบุตร


ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต


วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2491 เป็นวันที่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวน 2 คน ลาออกจากตำแหน่งเพื่อประท้วงที่สภาผู้แทนราษฎร มีมติให้จ่ายเงินเพิ่มรายเดือนแก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรดังที่ประเสริฐ ปัทมสุคนธ์ อดีตเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรได้บันทึกเล่าว่าในใบลาของผู้แทนฯ ทั้งสองมีความตอนหนึ่งดังนี้

“ตามที่สภาผู้แทนได้ลงมติให้จ่ายเงินเพิ่มแก่สมาชิกสภาผู้แทน เดือนละ 1,000 บาทนั้น ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ด้วยความไว้วางใจของประชาชนได้อีกต่อไป จึงขอลาออกจากตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน” สมาชิกสภาผู้แทน 2 ท่านนี้ คนหนึ่งก็คือ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนคร เป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ที่ตอนนั้นเป็นฝ่ายค้าน ส่วนอีกท่านหนึ่งก็คือ ร.ท.สัมพันธ์ ขันธชวนะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งไม่สังกัดพรรค

ที่จริงในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณในตอนต้นเดือนกันยายน พ.ศ. 2491 นั้น ปรากฏว่าในตัวร่างพระราชบัญญัติงบประมาณดังกล่าวได้มีรายการจ่ายเงินเพิ่มพิเศษของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอยู่ด้วย เป็นเงินคนละพันบาทต่อเดือน ขณะที่พิจารณาเรื่องนี้ได้มีการถกเถียงกันมาก ทั้ง ๆ ที่เป็นผลประโยชน์ที่จะได้แก่ผู้แทนราษฎรทุกคนไม่ว่าจะเป็นฝ่ายรัฐบาลหรือฝ่ายค้าน แต่สภาก็มีมติผ่านไปตามที่เสนอและหัวหน้าพรรคฝ่ายค้านก็เห็นชอบด้วย

หลังจากการลาออกจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพราะมีการขึ้นเงินเดือนได้ประมาณ 2 เดือน จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีก็ได้ไปชวน ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เข้ามาเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ และการเข้ามาเป็นรัฐมนตรีครั้งนี้ของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ก็ได้สร้างความไม่พอใจให้แก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจนมีการเปิดอภิปรายในสภาผู้แทนราษฎรว่าท่านลาออกจากสมาชิกสภาไปเพราะมีการขึ้นเงินเดือนให้แก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแล้วทำไมกลับมาเป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลชุดที่ขึ้นเงินเดือน การอภิปรายที่แสดงออกถึงการประท้วงนี้ทำท่าว่าจะรุนแรง และก็เป็นแรงกดดันให้ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ยอมลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีในเวลานั้น

ตอนที่ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ลาออกจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎร คือ นายเกษม บุญศรี และนายกรัฐมนตรี คือ จอมพล ป.พิบูลสงคราม