ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สนับสนุนนโยบายเกรียงศักดิ์"
ลไม่มีความย่อการแก้ไข |
ลไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 14: | บรรทัดที่ 14: | ||
รัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้บัญญัติให้มีการตั้ง[[พรรคการเมือง]]ได้ (มาตรา 38) แต่ที่สำคัญก็คือ ในมาตรา 94, 95 ระบุว่า “คุณสมบัติหนึ่งของ[[ผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง]]เป็น[[สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร]]ก็คือจะต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมือง” ซึ่ง “พรรคการเมืองที่มีสิทธิส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งจะต้องส่งผู้สมัครไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมดที่จะพึงมีในการเลือกตั้งครั้งนั้น” นั่นจึง หมายความว่าผู้ไม่สังกัดพรรคใดจะลงสมัครรับเลือกตั้งไม่ได้ อย่างไรก็ดีในช่วงเวลา 4 ปี แรกยังไม่จำเป็นต้องใช้ข้อบังคับที่ระบุ | รัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้บัญญัติให้มีการตั้ง[[พรรคการเมือง]]ได้ (มาตรา 38) แต่ที่สำคัญก็คือ ในมาตรา 94, 95 ระบุว่า “คุณสมบัติหนึ่งของ[[ผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง]]เป็น[[สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร]]ก็คือจะต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมือง” ซึ่ง “พรรคการเมืองที่มีสิทธิส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งจะต้องส่งผู้สมัครไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมดที่จะพึงมีในการเลือกตั้งครั้งนั้น” นั่นจึง หมายความว่าผู้ไม่สังกัดพรรคใดจะลงสมัครรับเลือกตั้งไม่ได้ อย่างไรก็ดีในช่วงเวลา 4 ปี แรกยังไม่จำเป็นต้องใช้ข้อบังคับที่ระบุ | ||
ในวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2522 รัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ จึงได้จัดให้มีการเลือกตั้ง[[สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร]]จำนวน 301 คน และในวันเดียวกันนั้นก็มีการแต่งตั้งวุฒิสมาชิกจำนวน 3 ใน 4 ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งจากการที่การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในครั้งนี้ยังไม่จำเป็นต้องให้ ส.ส.ต้องสังกัดพรรคการเมือง (เพราะบทเฉพาะกาลระบุว่าจะใช้เมื่อ 4 ปีหลังจากมีการตั้งวุฒิสมาชิก) การเลือกตั้งครั้งนี้จึงมีผู้ลงรับสมัครที่ไม่สังกัดพรรคจำนวนถึง 615 คน (จากจำนวนนี้ได้รับเลือกตั้ง 63 คน) และยังเกิดพรรคจำนวนมากที่ไม่ได้จัดตั้งอย่างเป็นทางการ ซึ่งรวมถึงพรรคสนับสนุนนโยบายเกรียงศักดิ์ด้วย ซึ่งประกาศตัวว่าไม่ว่า พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์จะมีนโยบายใดหรือต้องการเสียงสนับสนุน[[ | ในวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2522 รัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ จึงได้จัดให้มีการเลือกตั้ง[[สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร]]จำนวน 301 คน และในวันเดียวกันนั้นก็มีการแต่งตั้งวุฒิสมาชิกจำนวน 3 ใน 4 ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งจากการที่การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในครั้งนี้ยังไม่จำเป็นต้องให้ ส.ส.ต้องสังกัดพรรคการเมือง (เพราะบทเฉพาะกาลระบุว่าจะใช้เมื่อ 4 ปีหลังจากมีการตั้งวุฒิสมาชิก) การเลือกตั้งครั้งนี้จึงมีผู้ลงรับสมัครที่ไม่สังกัดพรรคจำนวนถึง 615 คน (จากจำนวนนี้ได้รับเลือกตั้ง 63 คน) และยังเกิดพรรคจำนวนมากที่ไม่ได้จัดตั้งอย่างเป็นทางการ ซึ่งรวมถึงพรรคสนับสนุนนโยบายเกรียงศักดิ์ด้วย ซึ่งประกาศตัวว่าไม่ว่า พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์จะมีนโยบายใดหรือต้องการเสียงสนับสนุน[[กฎหมาย]]ใดก็ตามก็จะยินดียกมือสนับสนุนด้วยทั้งหมด พรรคสนับสนุนนโยบายเกรียงศักดิ์ส่งผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งจำนวน 28 คน และได้รับเลือกตั้งจำนวน 1 คน | ||
อนึ่งมีพรรคการเมืองที่ลงเลือกตั้งในเวลาเดียวกันนี้อีกพรรคหนึ่งที่มีชื่อพรรคใกล้เคียงกัน คือพรรคสนับสนุนเกรียงศักดิ์ | อนึ่งมีพรรคการเมืองที่ลงเลือกตั้งในเวลาเดียวกันนี้อีกพรรคหนึ่งที่มีชื่อพรรคใกล้เคียงกัน คือพรรคสนับสนุนเกรียงศักดิ์ |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 14:30, 14 สิงหาคม 2556
ผู้เรียบเรียง พิสิษฐิกุล แก้วงาม
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร และ รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต
พรรคสนับสนุนนโยบายเกรียงศักดิ์
หลังจากที่นายธานินทร์ กรัยวิเชียร (พ.ศ. 2517) เป็นนายกรัฐมนตรีก็ได้แสดงความประสงค์จะค่อย ๆ ปรับปรุงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่มั่นคง โดยระบุว่าจะใช้ระยะเวลา 12 ปี แต่ด้วยลักษณะการแสดงความคิดส่วนตัวของนายธานินท์ ทำให้มีการกล่าวกันว่านายธานินทร์เป็นคนขวาจัด ต่อต้านคอมมิวนิสต์เกินความพอดีทำให้เกิดการแตกสามัคคีภายในชาติมากยิ่งขึ้น ในวันที่ 26 มีนาคม 2520 คณะทหารนำโดยคณะปฏิวัติที่เชื่อว่าเป็นผู้ใกล้ชิดของ พล ร.อ. สงัด ชะลออยู่ (ที่เพิ่งยึดอำนาจเมื่อ 20 ตุลาคม 2519) เข้ายึดอำนาจแล้วตั้งตั้ง พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อ 10 พฤศจิกายน 2520 รัฐบาลของ พล.อ.เกรียงศักดิ์ได้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่และประกาศใช้เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ.2521
รัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้บัญญัติให้มีการตั้งพรรคการเมืองได้ (มาตรา 38) แต่ที่สำคัญก็คือ ในมาตรา 94, 95 ระบุว่า “คุณสมบัติหนึ่งของผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก็คือจะต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมือง” ซึ่ง “พรรคการเมืองที่มีสิทธิส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งจะต้องส่งผู้สมัครไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมดที่จะพึงมีในการเลือกตั้งครั้งนั้น” นั่นจึง หมายความว่าผู้ไม่สังกัดพรรคใดจะลงสมัครรับเลือกตั้งไม่ได้ อย่างไรก็ดีในช่วงเวลา 4 ปี แรกยังไม่จำเป็นต้องใช้ข้อบังคับที่ระบุ
ในวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2522 รัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ จึงได้จัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวน 301 คน และในวันเดียวกันนั้นก็มีการแต่งตั้งวุฒิสมาชิกจำนวน 3 ใน 4 ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งจากการที่การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในครั้งนี้ยังไม่จำเป็นต้องให้ ส.ส.ต้องสังกัดพรรคการเมือง (เพราะบทเฉพาะกาลระบุว่าจะใช้เมื่อ 4 ปีหลังจากมีการตั้งวุฒิสมาชิก) การเลือกตั้งครั้งนี้จึงมีผู้ลงรับสมัครที่ไม่สังกัดพรรคจำนวนถึง 615 คน (จากจำนวนนี้ได้รับเลือกตั้ง 63 คน) และยังเกิดพรรคจำนวนมากที่ไม่ได้จัดตั้งอย่างเป็นทางการ ซึ่งรวมถึงพรรคสนับสนุนนโยบายเกรียงศักดิ์ด้วย ซึ่งประกาศตัวว่าไม่ว่า พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์จะมีนโยบายใดหรือต้องการเสียงสนับสนุนกฎหมายใดก็ตามก็จะยินดียกมือสนับสนุนด้วยทั้งหมด พรรคสนับสนุนนโยบายเกรียงศักดิ์ส่งผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งจำนวน 28 คน และได้รับเลือกตั้งจำนวน 1 คน
อนึ่งมีพรรคการเมืองที่ลงเลือกตั้งในเวลาเดียวกันนี้อีกพรรคหนึ่งที่มีชื่อพรรคใกล้เคียงกัน คือพรรคสนับสนุนเกรียงศักดิ์
ที่มา
เสนีย์ คำสุข, “ข้อมูลพื้นฐานพรรคการเมืองไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475-2544,” รัฐสภาสาร ปีที่49 ฉบับที่ 11 (พฤศจิกายน 2544) หน้า 17-69