ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Teeraphan (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
(ไม่แสดง 3 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน)
บรรทัดที่ 1: บรรทัดที่ 1:
'''พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย'''
'''ผู้เรียบเรียง''' รศ.ดร.นิยม รัฐอมฤต


พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย เป็นพรรคในแนวอุดมการณ์ ยึดมั่นในลัทธิมาร์กซ เลนิน และความคิดเหมา โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความเสมอภาคทางชนชั้น  ชี้นำสังคมโดยพรรคคอมมิวนิสต์ และต่อสู้เอาชนะระบบ[[ทุนนิยม]]ด้วยวิธีการ[[ป่าล้อมเมือง]] พรรคคอมมิวนิสต์ก่อตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2485 โดยมีนายพิชิต ณ สุโขทัย (พายัพ อังคะสิงห์) เป็น[[เลขาธิการพรรค]]
----
 
'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' รศ.ดร.ปธาน สุวรรณมงคล
 
----
 
'''พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย''' เป็นพรรคในแนวอุดมการณ์ ยึดมั่นในลัทธิมาร์กซ เลนิน และความคิดเหมา โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความเสมอภาคทางชนชั้น  ชี้นำสังคมโดยพรรคคอมมิวนิสต์ และต่อสู้เอาชนะระบบ[[ทุนนิยม]]ด้วยวิธีการ[[ป่าล้อมเมือง]] พรรคคอมมิวนิสต์ก่อตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2485 โดยมีนายพิชิต ณ สุโขทัย (พายัพ อังคะสิงห์) เป็น[[เลขาธิการพรรค]]


ในระยะเริ่มแรก พรรคมีบทบาทในการต่อต้านการรุกรานของญี่ปุ่นในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง และเคลื่อนไหวต่อสู้ทางการเมืองในระบบรัฐสภาในยุคหลังสงครามโลก แต่ต้องเปลี่ยนรูปแบบการต่อสู้จากบนดินเป็นใต้ดิน เมื่อมีการรัฐประหาร 2490 และสหรัฐอเมริกาได้ขยายบทบาทเข้าสู่ประเทศไทย  ในปี 2494 พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยประกาศให้การสนับสนุน[[การปฏิวัติ]]ประชาชนด้วยวิธีรุนแรงหรือการทำสงครามยืดเยื้อ โดยในขั้นต้นจะต้องปลดปล่อยมวลชนในชนบท และด้วยวิธีการดังกล่าวจะทำให้คนในชนบทสามารถล้อมเมือง  
ในระยะเริ่มแรก พรรคมีบทบาทในการต่อต้านการรุกรานของญี่ปุ่นในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง และเคลื่อนไหวต่อสู้ทางการเมืองในระบบรัฐสภาในยุคหลังสงครามโลก แต่ต้องเปลี่ยนรูปแบบการต่อสู้จากบนดินเป็นใต้ดิน เมื่อมีการรัฐประหาร 2490 และสหรัฐอเมริกาได้ขยายบทบาทเข้าสู่ประเทศไทย  ในปี 2494 พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยประกาศให้การสนับสนุน[[การปฏิวัติ]]ประชาชนด้วยวิธีรุนแรงหรือการทำสงครามยืดเยื้อ โดยในขั้นต้นจะต้องปลดปล่อยมวลชนในชนบท และด้วยวิธีการดังกล่าวจะทำให้คนในชนบทสามารถล้อมเมือง  
บรรทัดที่ 10: บรรทัดที่ 16:


ภายหลังเหตุการณ์ [[14 ตุลาคม 2516]] และเหตุการณ์ [[6 ตุลาคม 2519]] นักศึกษา ชาวนา และกรรมกร ได้หลบหนีการปราบปรามของฝ่ายขวาเข้าร่วม[[ขบวนการคอมมิวนิสต์]] ทำให้จำนวนสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว  แต่ขอได้เปรียบดังกล่าวเป็นอยู่ได้ไม่นานเมื่อเหตุการณ์ภายในและภายนอกประเทศคลี่คลายไปในทางไม่เอื้อต่อการดำรงอยู่ของพรรค เหตุการณ์ภายในได้แก่การสิ้นสุดลงของ[[รัฐบาล]]นายธานินทร์ที่มีนโยบายปราบปราม[[คอมมิวนิสต์]]อย่างรุนแรง และแทนที่ด้วย[[รัฐบาลเกรียงศักดิ์]] และ[[รัฐบาลเปรม]] ที่ดำเนินนโยบายปรองดองภายในชาติ และนโยบายการเมืองนำการทหาร ทำให้ผู้เข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์ถอนตัวกลับสู่เมือง ในส่วนของเหตุการณ์ภายนอก พรรคคอมมิวนิสต์จีนแตกกับพรรคคอมมิวนิสต์เวียตนาม ทำให้เกิดความแตกแยกภายในพรรคคอมมิวนิสต์ และเป็นปัญหาในการขอความช่วยเหลือจากลาวและเขมร ซึ่งถูกควบคุมโดยพรรคคอมมิวนิสต์เวียตนาม ในขณะที่จีนต้องการผูกมิตรกับไทย พร้อมจะตัดความช่วยเหลือพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ทำให้พรรค[[คอมมิวนิสต์]]ไทยอ่อนกำลังลง และยุติบทบาทการสู้รบกับรัฐบาลไทยในที่สุด
ภายหลังเหตุการณ์ [[14 ตุลาคม 2516]] และเหตุการณ์ [[6 ตุลาคม 2519]] นักศึกษา ชาวนา และกรรมกร ได้หลบหนีการปราบปรามของฝ่ายขวาเข้าร่วม[[ขบวนการคอมมิวนิสต์]] ทำให้จำนวนสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว  แต่ขอได้เปรียบดังกล่าวเป็นอยู่ได้ไม่นานเมื่อเหตุการณ์ภายในและภายนอกประเทศคลี่คลายไปในทางไม่เอื้อต่อการดำรงอยู่ของพรรค เหตุการณ์ภายในได้แก่การสิ้นสุดลงของ[[รัฐบาล]]นายธานินทร์ที่มีนโยบายปราบปราม[[คอมมิวนิสต์]]อย่างรุนแรง และแทนที่ด้วย[[รัฐบาลเกรียงศักดิ์]] และ[[รัฐบาลเปรม]] ที่ดำเนินนโยบายปรองดองภายในชาติ และนโยบายการเมืองนำการทหาร ทำให้ผู้เข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์ถอนตัวกลับสู่เมือง ในส่วนของเหตุการณ์ภายนอก พรรคคอมมิวนิสต์จีนแตกกับพรรคคอมมิวนิสต์เวียตนาม ทำให้เกิดความแตกแยกภายในพรรคคอมมิวนิสต์ และเป็นปัญหาในการขอความช่วยเหลือจากลาวและเขมร ซึ่งถูกควบคุมโดยพรรคคอมมิวนิสต์เวียตนาม ในขณะที่จีนต้องการผูกมิตรกับไทย พร้อมจะตัดความช่วยเหลือพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ทำให้พรรค[[คอมมิวนิสต์]]ไทยอ่อนกำลังลง และยุติบทบาทการสู้รบกับรัฐบาลไทยในที่สุด
 
รศ.ดร.นิยม รัฐอมฤต
[[หมวดหมู่: สารานุกรมการเมืองไทย]]
[[หมวดหมู่:รายชื่อพรรคการเมืองไทย]]

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 10:45, 28 พฤษภาคม 2555

ผู้เรียบเรียง รศ.ดร.นิยม รัฐอมฤต


ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รศ.ดร.ปธาน สุวรรณมงคล


พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย เป็นพรรคในแนวอุดมการณ์ ยึดมั่นในลัทธิมาร์กซ เลนิน และความคิดเหมา โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความเสมอภาคทางชนชั้น ชี้นำสังคมโดยพรรคคอมมิวนิสต์ และต่อสู้เอาชนะระบบทุนนิยมด้วยวิธีการป่าล้อมเมือง พรรคคอมมิวนิสต์ก่อตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2485 โดยมีนายพิชิต ณ สุโขทัย (พายัพ อังคะสิงห์) เป็นเลขาธิการพรรค

ในระยะเริ่มแรก พรรคมีบทบาทในการต่อต้านการรุกรานของญี่ปุ่นในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง และเคลื่อนไหวต่อสู้ทางการเมืองในระบบรัฐสภาในยุคหลังสงครามโลก แต่ต้องเปลี่ยนรูปแบบการต่อสู้จากบนดินเป็นใต้ดิน เมื่อมีการรัฐประหาร 2490 และสหรัฐอเมริกาได้ขยายบทบาทเข้าสู่ประเทศไทย ในปี 2494 พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยประกาศให้การสนับสนุนการปฏิวัติประชาชนด้วยวิธีรุนแรงหรือการทำสงครามยืดเยื้อ โดยในขั้นต้นจะต้องปลดปล่อยมวลชนในชนบท และด้วยวิธีการดังกล่าวจะทำให้คนในชนบทสามารถล้อมเมือง

ในปี 2508 เป็นปีที่มีความสำคัญในทางอุดมการณ์ของพรรคคอมมิวนิสต์ เป็นปีที่พรรคสั่งเปลี่ยนนโยบายให้ทุกหน่วยใช้กำลังเข้าต่อสู้ เพื่อโค่นล้มรัฐบาลปฏิกิริยาและขับไล่จักรวรรดินิยมอเมริกาออกไป

ตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2512 เป็นต้นมา พรรคพยายามสร้างความเป็นปึกแผ่นให้กับสมาคมชาวนา และองค์กรแนวร่วมทั้งหลายทั่วประเทศ โดยให้อยู่ภายใต้การดูแลของแนวร่วมผู้รักชาติไทย และจัดตั้งกองทัพปลดแอกประชาชนแห่งประเทศไทย (ทปท.) สู้รบกับกองกำลังของรัฐบาลด้วยกำลังอาวุธ และออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงในจีนตอนใต้และในพื้นที่ควบคุมของลาวโจมตีรัฐบาลไทยว่าเป็นสุนัขรับใช้จักรวรรดินิยมอเมริกา

ภายหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 นักศึกษา ชาวนา และกรรมกร ได้หลบหนีการปราบปรามของฝ่ายขวาเข้าร่วมขบวนการคอมมิวนิสต์ ทำให้จำนวนสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ขอได้เปรียบดังกล่าวเป็นอยู่ได้ไม่นานเมื่อเหตุการณ์ภายในและภายนอกประเทศคลี่คลายไปในทางไม่เอื้อต่อการดำรงอยู่ของพรรค เหตุการณ์ภายในได้แก่การสิ้นสุดลงของรัฐบาลนายธานินทร์ที่มีนโยบายปราบปรามคอมมิวนิสต์อย่างรุนแรง และแทนที่ด้วยรัฐบาลเกรียงศักดิ์ และรัฐบาลเปรม ที่ดำเนินนโยบายปรองดองภายในชาติ และนโยบายการเมืองนำการทหาร ทำให้ผู้เข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์ถอนตัวกลับสู่เมือง ในส่วนของเหตุการณ์ภายนอก พรรคคอมมิวนิสต์จีนแตกกับพรรคคอมมิวนิสต์เวียตนาม ทำให้เกิดความแตกแยกภายในพรรคคอมมิวนิสต์ และเป็นปัญหาในการขอความช่วยเหลือจากลาวและเขมร ซึ่งถูกควบคุมโดยพรรคคอมมิวนิสต์เวียตนาม ในขณะที่จีนต้องการผูกมิตรกับไทย พร้อมจะตัดความช่วยเหลือพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ทำให้พรรคคอมมิวนิสต์ไทยอ่อนกำลังลง และยุติบทบาทการสู้รบกับรัฐบาลไทยในที่สุด